หลักธรรมของจริตแต่ละประเภท

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย แสนสวาท, 20 ตุลาคม 2011.

  1. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    มรณานุสติกรรมฐาน
    มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดา
    ของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความ
    ตายนี้รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่วไป ท่านผู้อ่านจะสงสัยว่า เมื่อความตายเป็นของ
    ธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ทราบว่าตัวจะต้องตาย แล้วพระพุทธเจ้ามาสอนให้นึกถึงความตายเพื่อประโยชน์
    อะไร ? ปัญหาข้อนี้ตอบไม่ยาก เพราะธรรมดาของคนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นของธรรมดา
    จริง แต่ทว่า เห็นว่าเป็นธรรมดาสำหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนเองหรือญาติ
    คนที่รักของตนเข้า ก็ดิ้นรนเอะอะโวยวายไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายาม
    ทุกทางที่จะไม่ยอมตายปกติของคนเป็นอย่างนี้ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่ว่าใคร
    จะหนีความตายไม่ได้ การดิ้นรน เอะอะโวยวายต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้เป็นการดิ้นรนเหนือ
    ธรรมดาไม่มีทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไร ความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดา
    เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ความ
    ตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดาไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสาม
    อย่างด้วยกัน คือ
    ๑. สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ท่านเสร็จ
    กิจแห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับ
    ท่านให้เกิดอีกไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่า
    ตายขาดตอนไม่กลับมาเกิดอีก
    ๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็กๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับ หรือการ
    เคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอดคือ
    ตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออกและเกิด
    ต่อทุกๆ ลมหายใจเข้า
    อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราวเมื่อสิ้นอำนาจ
    ของอาหารเก่า ร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทนแต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทด
    แทนชีวิตก็จะต้องดับ ชีวิตที่ทรงอยู่ได้ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหาร
    เก่า ท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระ
    หนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลม
    หายใจออกแล้ว ไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันที ที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็
    เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่ามี
    ความตายเป็นปกติทุกวันเวลาอย่างนี้ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือ
    ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ
    ๓. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลก
    นิยม
    เรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายใน
    โอกาสที่ยัง
    ไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้น
    ให้ตาย
    การตายประเภทหลังนี้พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมใน
    อดีต จะต่อให้เลยพอดี
    นั้นไม่ได้ พวกตายตามแบบกาลมรณะตายไปแล้วเสวยผลกรรมทันที แต่
    พวกที่ตายตามแบบอกาลมรณะนี้ ตายแล้วยังไม่ไปเสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหา
    ที่เกิดก่อน คือรอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำ
    ไว้ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้นต้องลำบากในเรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความ
    ต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า ตายโหงนั่นเอง เช่น ถูกฆ่าตายคลอด
    ลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่าตายแบบผิดปกติ ไม่ใช่ป่วยตายตาม
    ธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนด ตายทั้งนั้น การตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วย
    เหลือสามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่า สะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุ การสะเดาะ-
    เคราะห์หรือต่ออายุนั้น ต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงใช้ได้
    แต่ถ้าต่อแบบหมอต่อยัง
    มืดมนท์ด้วยกิเลสแล้วไม่มีทางสำเร็จผล ไม่ต่อดีกว่า ขืนต่อก็เท่ากับไปต่อชีวิตหมอให้มีความสุข
    ส่วนผู้ต่อกลายเป็น ผู้ต่อทุกข์ไป เรื่องต่ออายุนี้มีเรื่องมาในพระสูตรคือเรื่องของท่าน อายุ-
    วัฒนสามเณร

    เรื่องย่อดังนี้
    วันหนึ่ง บิดามารดาพาท่านเมื่อยังเกิดไม่กี่เดือนไปหาพระพุทธเจ้า (ขอเล่าลัด ๆ) เมื่อบิดา
    ลาพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า "ทีฆายุโก โหตุ" แปลว่า ขอเธอจงมีอายุยืนนาน พอแม่เข้าลา
    ท่านก็ว่าอย่างนั้น ตอนท้าย สองผัวเมียให้ลูกชายกราบลาท่าน ท่านไม่พูด คือท่านเฉยเสีย สองผัว
    เมียแปลกใจ ถามว่า เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันสองผัวเมียกราบลา พระองค์ให้พรว่าขอเธอจงมีอายุ
    ยืนนาน แต่พอเกล้ากระหม่อมฉันให้ลูกชายลา พระองค์ทรงนิ่ง เหตุอะไรจะมีแก่บุตรชายเกล้า
    กระหม่อมฉันทั้งสองหรือพระพุทธเจ้าข้า
    พระองค์ตรัสตอบว่า เพราะบุตรชายของเธอจะตายภายใน ๗ วันนี้ ตถาคตจึงไม่กล่าวอย่างนั้น
    สองผัวเมียฟังแล้วตกใจ ขอให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์สั่งให้ไปปลูกโรงพิธีกลางลานบ้าน แล้ว
    ให้เอาพระไปนั่งล้อมเด็กสวดพระปริตครบ ๗ คืน ๗ วัน พอวันที่ ๗ เป็นวันตายของเด็ก เพราะยักษ์
    จะมาเอาชีวิตวันนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จเอง เมื่อพระองค์เสด็จ พรหมและเทวดาผู้ใหญ่มามาก ยักษ์
    เข้าไม่ถึง พอครบเวลาที่ยักษ์จะเอาชีวิต หมายความว่า ถ้าเลยเวลาเขาทำไม่ได้ เขาทำตามกฎของ
    กรรมว่าจะให้ตายเวลาเท่าใด เวลาเท่านั้นเขาจะต้องทำให้ได้ ถ้าเลยเวลาแล้วเขาก็ไม่ทำ พอเลย
    เวลาที่เด็กจะต้องตาย พระพุทธเจ้าท่านก็พาพระกลับ เลิกพิธี ก่อนกลับพระองค์ให้พรแก่เด็กว่า
    ทีฆายุโกโหตุต่อมาเด็กคนนั้นมาบวชเณรเมื่ออายุ ๗ ปี ได้สำเร็จพระอรหันต์ ท่านมีอายุครบ ๑๒๐
    ปี จึงนิพพาน
    พวกอกาลมรณะนี้ต่อได้อย่างนี้ แต่การต่อต้องเป็นผู้รู้จริง ทำถูกต้องจริง และการทำให้ต้อง
    ไม่ปรารภสินจ้างรางวัล ทำเพื่อการสงเคราะห์จริงๆ จึงเกิดผลว่า จะพูดเรื่องตายเป็นกรรมฐาน
    แอบมาเป็นหมอต่ออายุเสียแล้วขอวกกลับไปเรื่องมรณานุสสติใหม่

    นึกถึงความตายมีประโยชน์
    ประโยชน์ของการนึกถึงความตาย ทำให้เป็นคนไม่ประมาท เพราะรู้ตัวว่าจะตายจะได้
    แสวงหาความดีใส่ตัวโดยรู้ตัวว่า ชาตินี้จนเพราะชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ถ้าชาติหน้าไม่ยากจนอีก ก็
    พยายามให้ทานเสมอ ๆ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะให้ได้ และอย่าให้จนหมดตัว จะเกินพอดี ต้องให้พอ
    เหมาะพอดี ไม่เดือดร้อนภายหลังนั่นแหละจึงจะควร
    รู้ตัวว่ามีโรคมาก ป่วยไข้ไม่สบายเสมอๆ ของหายบ่อย ๆ รูปร่างสวยน้อยไปคนในบังคับ
    บัญชาดื้อด้าน วาจาไม่ศักดิ์สิทธิ์ อารมณ์ความจำเสื่อม ถ้าต้องการให้สิ่งบกพร่องเหล่านี้สมบูรณ์ใน
    ชาติหน้าจะได้พยายามรักษาศีล ๕ให้บริสุทธิ์ครบถ้วนแล้ว ก็จะได้รับอานิสงส์ มีอายุยืน รูปสวย ไม่มี
    โรคภัยรบกวน ไม่มีภัยจากโจรรบกวนทรัพย์สมบัติ คนในบังคับบัญชาอยู่ในโอวาทเป็นอันดี ไม่มีใคร
    ดื้อด้าน มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรเป็นนั่น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ก็ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์
    ถ้าเห็นว่า มีปัญญาน้อย ไม่ใคร่ทันเพื่อน ก็พยายามเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน
    พอมีฌานมีญาณเล็กน้อย ในชาติต่อไปก็จะเป็นคนมีปัญญาเลิศ
    ถ้าเห็นว่า ความเกิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เพราะการเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร มีตระกูล
    สูงส่งประการใดก็ตาม ต้องประสบกับความทุกข์อย่างมหันต์ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต้องการความ
    เกิดอีก ก็เร่งรัดเจริญสมถะให้ได้ฌานต้น แล้วเจริญวิปัสสนาญาณให้จบกิจพระศาสนา ซึ่งเป็นของ
    ไม่หนักเลยสำหรับท่านที่นึกถึงความตายเป็นปกติ หรือที่เรียกว่า เจริญมรณานุสสติกรรมฐาน
    เพราะกรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานหลักสำหรับเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านจะได้ดี เป็นเทวดา เป็น
    พรหม เป็นพระอรหันต์ ก็ต้องอาศัยการปรารภความตายเป็นปกติ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เอง พระองค์แม้แต่จะเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ทิ้งมรณานุสสติกรรมฐาน คือนึกถึงความตาย
    เป็นอารมณ์ วันหนึ่งพระองค์ตรัสถามพระอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวัน
    ละกี่ครั้ง พระอานนท์กราบทูลตอบว่า นึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้งพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ยัง
    ห่างมากอานนท์ ตถาคตนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก การนึกถึงความตายเป็นปกติเป็น
    ของดี แม้แต่พระพุทธเจ้ายังเฝ้าคิดถึงความตาย เพราะผู้ที่คิดถึงความตายรู้ตัวว่าจะตายแล้ว
    ย่อมไม่สั่งสมความชั่ว
    คอยปลีกตัวออกจากความชั่วและมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวในเมื่อความตาย
    มาถึงแล้ว เพราะคิดอยู่รู้อยู่เสมอแล้วว่าเราต้องตายแน่ ความตายนี้หานิมิตเครื่องหมายไม่ได้
    กำหนดการเกิดหมอบอกได้แต่กำหนด เวลาตายไม่มีใครกำหนดได้แน่นอนสำหรับปุถุชน
    คนธรรมดา
    สำหรับพระอริยเจ้าหรือท่านที่ชำนาญในอานาปานุสสติกรรมฐานท่านสามารถบอก
    เวลาตายที่แน่นอนของท่านได้ พระอริยาเจ้าที่จะบอกเวลาตายได้ ก็ต้องเป็นท่านที่ได้ วิชชาสาม
    เป็นอย่างน้อย ถ้ามีความรู้พิเศษต่ำกว่านั้น ท่านก็กำหนดเวลาตายไม่ได้เหมือนกัน ท่านเปรียบชีวิต
    ไว้คล้ายกับขีดเส้นบนผิวน้ำ ขีดพอปรากฏว่ามีเส้นแล้วในทันทีเส้นที่ขีดนั้นก็พลันสูญไปชีวิตของ
    สัตว์ที่เกิดมาก็เช่นเดียวกันความตายรออยู่แค่ปลายจมูกถ้าสิ้นลมปราณเมื่อไร ก็สิ้นภาวะเมื่อนั้น
    เอาความยั่งยืนไม่ได้เลย
    ท่านเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อท่านคิดถึงความตายเป็นปกติ จนเห็นความตายเป็น
    ปกติธรรมดา เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์คือ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาพอสมควรแก่ความ
    ต้องการแล้ว ถ้าคิดให้ไกลไปอีกสักนิดว่า ความตายเป็นของมีแน่ เราไม่หนักใจแล้ว ความเกิดต่อไป
    ก็มีแน่ จะเกิดเป็นอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความทุกข์ หนีทุกข์ไม่พ้น เราไม่ต้องการความเกิดอันเป็น
    เหยื่อของวัฏฏะอีก แม้แต่ร่างกายอันเป็นที่หวงแหนยิ่ง จะต้องพังทลายเรายังไม่มีเยื่อใย ก็สมบัติอะไร
    ในโลกีย์ที่เราต้องการ เราไม่ต้องการอะไรอีก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ สิ่งที่พอใจที่สุดก็
    คือพระนิพพาน ทำใจให้ว่างจากความเกิด ความเกาะในชาติภพ ปรารภพระนิพพานเป็นปกติ อย่างนี้
    ท่านมีหวังสิ้นชาติสิ้นภพ ประสบผลอย่างยอด คือถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันแน่นอน
     
  2. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    อุปสมานุสสติ การระลึกถึงนิพพานเปนอารมณ์

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=ZpqTdgnyXGU]อุปสมานุสสติ (12/18) หลวงพ่อฤาษีลิงดำ - YouTube[/ame]
     
  3. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    อาหารเรปฏิกูลสัญญา
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=C7-gBNLTEeY&feature=related]อาหาเรปฏิกูล (15/18) หลวงพ่อฤาษีลิงดำ - YouTube[/ame]
     
  4. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    จตุธาตววัตถาน ๔
    จตุธาตววัตถาน
    แปลว่า ธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ๑ ธาตุน้ำ ๑ ธาตุลม ๑ ธาตุไฟ ๑
    ธาตุ ๔ นี้ เป็นโครงร่างเป็นที่อาศัยของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และจิตที่มีอำนาจบัญชา
    การในความคิดต่างๆ ความคิดอ่านต่าง ๆ เป็นเรื่องของจิต ความรับรู้ที่เรียกว่ารู้สึกว่า หนาว ร้อน หิว
    กระหาย เปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด รู้การสัมผัสว่าอ่อนแข็งนิ่ม อย่างนี้เป็นต้น เป็นความรู้สึกของวิญญาณ
    ที่ได้รับบัญชามาจากจิต โดยจิตบัญชาว่า อย่างนั้นเป็นอะไร วิญญาณก็รับทราบตามนั้นความจดจำ
    เรื่องราวต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของสัญญา รวมความแล้วธาตุ ๔ ที่เป็นเรือนร่างอาศัย ไม่มีความรับรู้
    อะไรเลย มีสภาพเหมือนบ้านเรือนที่มีคนอาศัย บ้านจะสวย หรือจะผุพัง บ้านเรือนไม่มีทุกข์ แต่
    เจ้าของบ้านคือคนที่อาศัยอยู่ในบ้านนั่นเองเป็นผู้ทุกข์ ธาตุ ๔ ที่เป็นเรือนร่างของจิตและอุปกรณ์
    ต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วก็เช่นเดียวกัน ความรู้สึกสุขทุกข์ร่างกายที่สร้างด้วยธาตุ ๔ ไม่รู้เรื่องเลย
    ดังเราจะเห็นว่า เมื่อจิตไม่รับรู้อาการของทางกายบางขณะ เช่นว่าหลับ หรือมีความเพลิดเพลิน
    อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่างกายไม่ยอมรับรู้ทุกข์ เช่นนอนหลับ จิตสงบจากอารมณ์ภายนอก ตอนนั้นจิต
    ไม่รับรู้เรื่องใด ๆ ใครจะมาด่า นินทาให้ได้ยิน แม้จะพูดจนใกล้ ร่างกายก็เฉยไม่รับรู้รับทราบ
    หรือเมื่อจิตออกจากร่าง คือ ตาย ใครจะทำอะไร จะด่า เอามีดมาฟัน จะเอาไฟมาเผา กายไม่รู้
    เรื่องปล่อยทำตามอารมณ์ ความสุขความทุกข์ที่ปรากฏ เป็นอาการของจิต พระพุทธเจ้าทรงสอน
    ให้ทราบเรื่องของร่างกายก็เพราะจะได้ทราบตามความ เป็นจริง จะได้ไม่หลงผิดอันเป็นการมัวเมา
    ในร่างกายเกินควร และเป็นเหตุให้ถอนความรู้สึกว่าเป็นเรา เป็นของเราได้ง่าย ร่างกายอันเกิด
    จากธาตุ ๔ นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้

    ๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน ธาตุดินที่มีในร่างกายนั้น ก็คือของแข็งที่เป็นก้อนเป็นแท่งในเรือนร่าง
    เช่น กระดูก เนื้อ ลำไส้ และอวัยวะทั้งหมดที่มีเนื้อ เส้นเอ็น รวมความว่า สิ่งที่เป็นก้อนเป็นแท่ง
    ในร่างกายจัดว่าเป็นธาตุดินทั้งหมด

    ๒. เตโชธาตุ ธาตุไฟ ได้แก่ความอบอุ่นที่ปรากฏภายในเรือนร่าง ท่านเรียกว่าธาตุไฟ

    ๓. วาโยธาตุ ธาตุลม ได้แก่สิ่งที่พัดไปมาในร่างกาย มีลมหายใจเป็นต้น เรียกว่า ธาตุลม

    ๔. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ สิ่งที่เอิบอาบ ไหลไปมาในร่างกาย มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง
    เสลด น้ำลาย ปัสสาวะ เป็นต้น เรียกว่า ธาตุน้ำ

    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริงว่า เรือนร่างของเรานี้เป็นธาตุ ๔ ประชุม
    กันขึ้น เป็นเรือนร่างชั่วคราว เป็นของไม่จีรังยั่งยืน มีเสื่อมและสลายตัวในที่สุด ไม่มีอะไรสะอาดน่ารัก
    น่าชม เป็นของน่าเกลียดโสโครก เป็นแดนรับทุกข์เพราะจิตหลงผิดยึดเรือนร่างว่า เป็นเราเป็นของเรา
    คิดว่าร่างกายจะทรงความเจริญตลอดกาลตลอดสมัย คิดว่าจะไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย หลงว่าสวยสด
    งดงาม ในมหาสติปัฏฐานท่านสอนให้แยกร่างกายออกเป็น ๔ ส่วน โดยให้พิจารณาโคที่ถูกนายโคฆาต
    คือคนฆ่าโคฆ่าตายแล้ว ให้เอาเนื้อกระดูกและไส้พุงตับไตไปกองไว้ส่วนหนึ่ง เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง
    ส่วนหนึ่ง แล้วพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่พอจะเห็นว่าสวยสดงดงาม พิจารณาแล้วจะเห็นว่า ไม่มีอะไรสวย
    เลย แล้วท่านให้พิจารณาตัวเองเช่นเดียวกับโคที่ถูกฆ่านั้น ให้เห็นว่าร่างกายเราก็ดี ใครก็ตามที่เรา
    เห็นว่าเป็นเรือนร่างที่สวยสดงดงาม น่ารักน่าชม ให้พิจารณาหาความจริงว่า ในเมื่อร่างนี้เป็นเพียง
    ธาตุ ๔ ผสมตัวกันชั่วคราว มีเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองที่หลั่งไหลอยู่ภายในตลอดร่าง จะมีอะไรสวยงาม
    จงพิจารณาหาความจริงตามนี้ จนอารมณ์จิตมีความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างแต่ละร่างเป็นธาตุที่รวมตัวกัน
    เลอะเทอะด้วยของโสโครกน่าเกลียด ไม่น่ารักเลย นอกจากน่าเกลียดแล้ว ยังไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน
    มีการก่อตัวขึ้นแล้วยังเป็นรังที่อาศัยของโรคภัยไข้เจ็บ มีโรครบกวนเป็นปกติ หาความสุขสบายแม้แต่
    นิดหนึ่งไม่มีเลย ร่างนี้ยังต้องบริหารด้วยการออกกำลังกาย การบำรุงรักษาอาหารมาบำรุงบำเรอ ต้อง
    บริหาร ด้วยอาการต่าง ๆ เป็นปกติ ถึงกระนั้นจะทำให้สิ้นทุกข์หาได้ไม่ เพียงแต่ระงับทุกข์ชั่วคราว
    เท่านั้น แล้วในที่สุดความเสื่อมโทรมของธาตุ ๔ ก็จะค่อยทวีตัวมากขึ้น ในที่สุดธาตุ ๔ ก็ค่อย ๆ
    คลายตัวจากความเข้มแข็ง เป็นอ่อนสลวยและสิ้นกำลังในที่สุด เป็นจุดดับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น
    อนัตตา คือบังคับไม่ให้ดับสลายไม่ได้ ท่านสอนให้พิจารณาให้รู้ ให้เข้าใจ จนจิตมีความรู้สึกเป็นอารมณ์
    ประจำตามที่ท่านเรียกตามแบบว่า เป็นเอกัคคตารมณ์ คือ อารมณ์เห็นอย่างนั้นเป็นปกติ จนหมด
    ความเมาในเรือนร่าง หมดความเมาในความเป็นอยู่ รู้อยู่เสมอว่าเราต้องตาย ธาตุที่รวมตัวนี้ต้อง
    สลาย และสลายตัวอยู่เป็นปกติทุกวันเวลาที่เคลื่อนไป ตัดความห่วงอาลัยในธาตุที่ประชุมเป็นเรือนร่าง
    เสีย เห็นเป็นอนัตตาเป็นปกติ คิดรู้อยู่เสมอโดยมีความคิดเป็นปกติว่า ร่างสิ้นไป เราคือจิตจะอาศัย
    ร่างชั่วคราว เมื่อสิ้นร่าง เราก็ไม่ยึดแดนใดเป็นที่เกิดต่อไป เพราะการเกิดเป็นการแสวงหาความ
    ทุกข์ ถ้าไม่เกิด ก็ไม่มีทุกข์ แดนที่เรียกว่าไม่เกิด คือแดนพระนิพพาน พระนิพพานที่จะไปถึงได้
    ก็อาศัยความไม่ยึดถือร่างกายที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ นี้ว่า เป็นเรา เป็นของเรา มีความเห็นว่ากายสลาย
    ตัวในที่สุด จนตัดความรักความพอใจในโลกเสียได้ บัดนี้เราเห็นแล้วว่าร่างกายและโลกทั้งโลกเป็น
    แดนทุกข์ เราตัดความยึดมั่นได้แล้ว เราตัดตัณหา คือความปรารถนาในความเกิดต่อไปแล้ว เราตัด
    ความยึดถือในสรรพวัตถุที่เป็นเหตุของทุกข์ได้แล้ว ความสิ้นเชื้อในความเกิดได้มีแล้ว เราสิ้นรักด้วย
    อำนาจราคะที่เป็นเชื้อให้เกิดแล้ว เราตัดพยาบาท อันเป็นปัจจัยให้วนเวียนในวัฏฏะได้แล้ว เราตัด
    ความหลงผิดที่เห็นว่าร่างกายเป็นเราได้แล้ว เพราะทราบว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา คิดอย่างนี้จนเป็น
    อารมณ์ จนจิตมีความรู้สึกตัดความคิดว่าโลกเป็นสุข เห็นโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ได้แล้ว ก็ชื่อว่า
    ท่านชนะตัณหาได้แล้ว ท่านจบกิจในพรหมจรรย์แล้ว ท่านไม่ต้องเกิดต่อไป ท่านมีพระนิพพานเป็นที่
    ไปในที่สุด ชื่อว่าท่านหมดทุกข์สมความปรารถนาแล้ว การพิจารณาอย่างนี้ เรียกว่าพิจารณาทั้งสมถะ
    และวิปัสสนาร่วมกัน
     
  5. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ปัญญาจริต
    หลักธรรมะที่ใช้กับคนที่มีปัญญาเปนตัวนำ อนุตตริยะ ๖
    อนุตตริยสูตร

    ทสฺสนานุตฺตริยํ ลทฺธา สวนญฺจ อนุตฺตรํ
    ลาภานุตฺตริยํ ลทฺธา สิกฺขานุตฺตริเย รตา
    อุปฏฺฐิตา ปาริจริเย ภาวยนฺติ อนุสฺสตึ
    วิเวกปฏิสญฺญุตฺตํ เขมํ อมตคามินึ
    อปฺปมาเท ปมุทิตา นิปกา สีลสํวุตา
    เตเว กาเลน ปจฺจนฺติ ยตฺถ ทุกฺขํ นิรุชฺฌตีติ ฯ
     
  6. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    อนุตตริยะ ๖

    สิ่งที่ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยมว่าสิ่งที่ชาวโลกยึดถือกันโดยทั่ว
    เพราะ นำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ กล่าวถึง
    การเห็น การฟัง การได้ การศึกษา การบำรุงรับใช้ และการระลึกถึงอะไรที่ยอดเยี่ยม มี ๖ ประการ คือ

    ๑.ทัสสนาสุตตริยะ การเก็นอันยอดเยี่ยมคือ การเห็นพระพุทธเจ้า และลูกศิษย์ของพระองค์
    ๒.สวนานุตตริยะ การฟังอันยอดเยี่ยมคือ การฟังธรรมของพระพุทธเจ้าและจากศษย์ของพระพุทธเจ้า
    ๓.ลาภานุตตริยะ การได้อันยอดเยี่ยมคือ การมีศรัทธาในพระพุทธเจ้าและลูกศิษย์ของพระองค์
    ๔.สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันยอดเยี่ยมคือ การได้ฝึกฝนพัฒนาให้มีศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่ง ๆขึ้นไป
    ๕.ปาริจริยานุตตริยะ การบำเรออันยอดเยี่ยมคือ การบำรุงรับใช้พระพุทธเจ้าและลูกศิษย์ของพระองค์
    ๖.อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอนยอดเยี่ยมคือ การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าและลูกศษย์ของพระองค์

    จากหนังสือสัตตาภิธรรม หนังสือเรียนของชมรมศิษย์สุวรรณโคมคำ
     
  7. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    มารยาจริต

    ธรรมะ ที่เปนหลักธรรมประจำคนที่เปนมารยาจริต
    คือ จรณะ ๑๕ เปนข้อปฏิบัติให้ถึงความพ้นทุกข์ แบ่งเปน ๓ หมวด

    หมวดที่ ๑ สีลสัมปทา ๑ และ อปัณณกปฏิปทา ๓
    ๑. สีลสัมปทา มีระเบียบวินัย
    ๒. อินทรียสังวร ระวังไม่ให้สิ่งอกุศลที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
    ๓. โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารแต่พอดี
    ๔. ชาคริยานุโยค ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เสมอ มีความพร้อมตลอดเวลาที่จะทำงานให้ก้าวหน้า

    หมวดที่ ๒ สัทธรรม๗
    ๕. ศรัทธา มีความเชื่อมั่น
    ๖. หิริ มีความละอายต่อการทำความชั่ว
    ๗. โอตตัปปะ มีความเกรงกลัวต่อบาป เพราะรู้ปลแห่งบาป
    ๘. พาหุสัจจะ มีความเปนผู้ใฝ่ศึกษา และรู้มากศึกษามาก
    ๙. วิริยะ มีความเพียรพยายาม
    ๑๐. สติ มีสติระลึกได้
    ๑๑. ปัญญา มีความรอบรู้ รูจักวินิจฉัยถูกผิด ชั่วดี

    หมวดที่ ๓ รูปฌาน ๔
    ๑๒. ปฐมฌาน มีสมาธิแน่วแน่ระดับแรก (ฌานที่ ๑)
    ๑๓. ทุติยฌาน มีสมาธิแน่วแน่ระดับที่สอง (ฌานที่ ๒)
    ๑๔. ตติยฌาน มีสมาธิแน่วแน่ระดับที่สาม (ฌานที่ ๓)
    ๑๕. จตตุถฌาน มีสมาธิแน่วแน่ระดับที่สี (ฌานที่ ๔)
     
  8. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    นับว่า เปนการแสดงหลักธรรมครบถ้วนทุกจริต ๖
    และเพิ่มเติม ในด้านปัญญาจริต และมารยาจริต ตามคัมภีร์สุวรรณโคมคำ

    หากท่านต้องการทราบจริตของตน ให้เข้าไปดูที่ กระทู้
    http://palungjit.org/threads/จริต-๖-เพื่อฝึกกรรมฐานที่เหมาะสม.310598/page-19
    และทำตามกติกาที่ระบุไว้ก่อน เพื่อจะได้ทราบชัดว่า
    ตนมีจริตเช่นไรแน่ ทีนี้ก็ปฏิบัติกันได้ไม่หลงทางไปทางอื่น
    ไปตรงตามจริตแห่งตน

    หวังว่า ข้อมูลนี้ จะเปนประโยชน์กับทุกท่านที่แสวงหาสัจจธรรม
    ละทิ้งความเปนตัวตนลงบ้างก็จะได้ประโยชน์ไม่น้อย
    สาธุการ

    แสนสวาท
     
  9. kapooklukz

    kapooklukz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +87
    อนุโมทนาสาธุด้วยคะคุณแสนสวาท
     

แชร์หน้านี้

Loading...