วีรบุรุษ ผู้ไม่ยอมรับว่าตนเป็นวีรบุรุษ

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 27 สิงหาคม 2023.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    คุยคุ้ยคน | โชคดี ชัยยะเจริญ ตำรวจนักรบ Season2 | 538 ศึกที่ยอมไม่ได้ EP.6




    ที่มา https://www.youtube.com/@kongkapan
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589


    "พีระพันธุ์" ไม่สนเสียงโจมตี! เร่งออกกฎหมายค้าน้ำมัน ตรึงราคาค่าไฟเพื่อคนไทยทั้งชาติ

    ที่มา https://www.youtube.com/@TOPNEWSLIVE77
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ผู้นำที่เป็นวีรบุรุษ จะไม่ใช้ชีวิตมวลชน ไม่ใช้ศรัทธาของมวลชน มาปกป้องตนเอง

    และ วีรบุรุษ ยอมให้ได้แม้ชีวิตตนเอง เพื่อสลายอันตราย สลายความขัดแย้ง
    สลายความทุกข์ของหมู่ชน ให้ได้มากที่สุด
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    “เราไม่ได้เป็นตำรวจแค่เพราะเราได้แต่งเครื่องแบบ แต่เราเป็นตำรวจเพราะมันอยู่ในจิตวิญญาณ”


    [​IMG]



    อดีตนายตำรวจ ชีวิต ความคิด ความฝันกับความมุ่งมั่นที่ยังคงอยู่

    หรือเปลวไฟที่มอดดับหมดแล้ว

    อาจารย์โต้ง–รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล ตัดสินใจยอมทิ้งเครื่องแบบและอุดมการณ์ของตัวเองไปเป็น ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

    กับวันที่ต้องเลือกระหว่าง “ตำรวจอาชีพ” และ “นักวิชาการ”

    เป็นคำตอบที่บอกเหตุผลทุกอย่างว่า ทำไมองค์กรสีกากีต้องสูญเสียบุคลากรคุณภาพไปอีกคน

    วัยเด็กอยากเป็นทหาร ก่อนเปลี่ยนใจเลือกเข้ารั้วสามพราน

    ย้อนเส้นทางชีวิต รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล เกิดที่กรุงเทพมหานคร แต่ไปเติบโตอยู่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เนื่องจากแม่ทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ที่นั่น ส่วนพ่อเป็นเชฟโรงแรมโอเรียลเต็ล เริ่มต้นเรียนประถมในเมืองโอ่ง พอเข้าสู่วัยมัธยมครอบครัววางแผนส่งลูกที่กรุงเทพมหานคร ด้วยความหวังอยากให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดี มีอนาคต

    เจ้าตัวเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามแบบฉบับที่พ่อแม่เขาวาดหวังไว้ เพราะเห็ตบุคคลสำคัญเป็นผู้นำมีชื่อเสียงหลายคนจบจากรั้วโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์เล่าว่า ตอนเด็กอยากเป็นทหาร ชอบปั้นดินน้ำมันเป็นตุ๊กตาทาหารต่อสู้คนร้าย เวลาเปิดทีวีฟังเพลงชาติเช้าและเย็นต้องยืนตรง ทำให้ซึมซับ

    [​IMG]กระนั้นก็ตาม พอสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารได้ กลับเปลี่ยนใจเลือกเหล่าตำรวจ เหตุผลเพราะมีคนแนะนำว่า ถ้าเป็นทหารวันหนึ่งประเทศไทยไม่ได้รบกับใครก็จะอยู่แต่ในกรมกอง ผิดกับตำรวจจะมีบทบาทมากกว่าในการแก้ปัญหาสังคมที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน “คุณพ่อกับคุณแม้ให้แง่คิดไว้ด้วยว่า ถ้าลูกอยากจะทำงานเพื่อจะดูแลแก้ปัญหาสังคม ตำรวจนี่แหละ น่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่า พูดให้ผมได้ข้อคิด สุดท้ายตัดสินใจเลือกเหล่าตำรวจ”



    เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 51 มุ่งตามหาความสำเร็จในชีวิตจริง

    รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์บอกกับตัวเองว่า หากสอบครั้งแรกไม่ติดจะเปลี่ยนไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เพราะสมัยนั้นเด็กสวนกุหลาบสวนใหญ่จะไปเข้าวิศวะ ไม่ก็จะไปสอบเป็นหมอ แต่อาจจะเป็นดวงเขาเรา ที่สอบติดเตรียมหาร ทั้งที่ตัวเอง พ่อ แม่ไม่ได้รับราชการ เป็นลูกพลเรือน เป็นจังหวะชีวิตที่ว่าจะต้องมาเป็นตำรวจ เดิมพันด้วยสร้อยคอทองคำของพี่ชายที่เอาไปจำนำเอาเงินมาส่งไปเรียนกวดวิชา ดังนั้น ต้องสอบให้ได้

    เข้าเรียนเตรียมทหารรุ่น 35 เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 51 ต้องปรับตัวจากการใช้ชีวิตพลเรือนไปเป็นนักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนายร้อยตำรวจ เจ้าตัวรู้สึกภูมิใจที่จบจากสถาบันทั้ง 2 แห่งที่ปลูกฝังความเสียสละ ความอุทิศตน ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้อยู่ในสายเลือดเลย เพียงแต่ตอนจบออกมาแล้ว แต่ละคนไปเจอเรื่องราวที่ต่างกัน มีประสบการณ์ อะไรมากมาย ดังนั้น วิธีคิด รูปแบบการทำงานมันอาจจะแตกต่างกัน ไม่เหมือนกับตอนอยู่ในโรงเรียนได้รับการปลูกฝังมา

    “เหมือนการฉีดวัคซีน พอมีไข้หวัดใหญ่ ต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พอมาเป็นโควิด-19 ต้องเป็นวัคซีนโควิด-19 ฉีดเข็ม 1-3 แล้วก็ต้องมี เข็ม 4-5 ก็เหมือนกันการปลูกฝัง แต่พอจบออกมาแล้ว บางทีเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเติมวัคซีนเข้าไปอีก การให้ภูมิคุ้มกันกับคนๆ หนึ่ง จะต้องเน้นไปในเรื่องไหน เรื่องการอบรม การปลูกฝังอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านั้นไม่ค่อยมีในส่วนของตำรวจ หรือว่ามี แต่น้อยมาก ทว่าในมาตรฐานสากล คุณธรรม จริยธรรม ความเป็นตำรวจอาชีพจะสอดแทรกได้ด้วยการผ่านการฝึกอบรม” อดีตนายตำรวจนักวิชาการแสดงความเห็น

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG][​IMG]











    ประเดิมบทผู้หมวดติดอาร์มกองปราบ กำราบอิทธิพลคดีดังสารพัด

    เริ่มต้นชีวิตเครื่องแบบสีกากีติดอาร์มกองปราบปราม ลงบรรจุตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปราม เขาเลือกเพราะคิดว่า ตำรวจกองปราบปรามทำงานส่วนกลางน่าจะเป็นอะไรที่เป็นกลาง ตามคำแนะนำของนายตำรวจรุ่นพี่ที่เคยเป็นสารวัตรป้องกันปราบปรามโรงพักบ้านโป่งอย่าง จิรสันต์ แก้วแสงเอก และน่าจะโดนผู้มีอิทธิพลแทรกแซงได้น้อยที่สุด แต่ในโลกของความเป็นจริง การทำงานทุกเรื่องจะมีปัญหาตามมา ในการทำงานเป็นตำรวจจริงอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคิด

    ปฐมบทร้อยตำรวจตรีจบใหม่มีโอกาสทำคดีสำคัญให้หน่วยหลายคดี อาทิ คดีทุจริตลำไยอบแห้ง คดีเกี่ยวกับผู้อิทธิพลในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง คดีปลอมแปลงบัตรประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐร่วมกับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ติดตามจับมือปืนดักยิงเหยื่อ คดีกรรโชกทรัพย์ และอีกหลากหลาย แต่ไม่เท่าความทรงจำที่ยังฝังอยู่ในความคิด

    อดีตผู้หมวดกองปราบเล่าว่า ด้วยความที่เพิ่งจบมาใหม่ ไฟยังแรง ระหว่างเข้าเวรมีคนมาแจ้งเบาะแสบ่อนการพนันในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี บอกแม้กระทั่งว่า เห็นนายตำรวจกองปราบไปคุยอยู่กับเจ้าของบ่อนด้วย บอกชื่อยศตำแหน่งหมด อยู่กองเดียวกับเรา แถมเป็นผู้บังคับบัญชา “ผมขอเบอร์โทรศัพท์กดไปหาเจ้าของบ่อนเลย ฝั่งนั้นปฏิเสธทันที ไม่มีบ่อน พอรุ่งเช้าอีกวัน ผมเข้าไปเคาะประตูขอคุยกับนายตำรวจรุ่นพี่คนนั้นว่า มีคนมาแจ้งเรื่องที่พี่ไปที่บ่อนเมื่อวาน เขาก็ปฏิเสธเหมือนกัน”



    [​IMG] [​IMG]

    ไฟแรงอุดมการณ์สูงเกิน เมื่อเผชิญสิ่งไม่ถูกต้องกลับเจออุปสรรค

    “อาจด้วยความที่ไฟแรง ผมก็ถามไปตรง ๆ แต่ว่าก็พอได้รับคำตอบอย่างนั้น ผมยังไม่หยุดสืบสวน พาลูกน้องปลอมตัวไปพิสูจน์เองว่า มีบ่อนจริงไหม พอรู้ว่า มีจริง ผมกลับมาทำตามระบบวางแผนจับกุม เหมือนที่ได้ทำงานในเชิงปฏิบัติการนอกเครื่องแบบหลายครั้ง บุกจับการพนันได้คาหนังคาเขาบ้าง หนีจนต้องวิ่งไล่กวดแบบในหนังก็มีบ้าง แต่สนุก ไม่สนหรอกว่าจะเป็นแกะดำหรือเปล่า เพราะเรายังมีอุดมการณ์อยู่”

    รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ย้ำคำเดิมว่า แต่ในโลกของความเป็นจริงแตกต่างกันสิ้นเชิงกับสิ่งที่เราได้รับการปลูกฝังมาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สมัยอยู่กองปราบปราบปราม บางทีไปเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราอยากจะจับให้ได้ ปรากฏจะมีเสียงมาว่า อันนี้อาจจะต้องชะลอหน่อย เช่น จะมีการไปค้นแรงงานต่างด้าวในตลาด เรามีลิสต์อยู่ว่าในพื้นที่ไหนบ้างที่เรารับผิดชอบ แต่จะมีคำสั่งมาว่า เว้นแต่ไม่ต้องไปค้น จะมีคำว่าเว้นแต่ เป็นอะไรที่เราตั้งคำถามในใจทำไม ต้องเว้นแต่

    ทำงานหามรุ่งหามค่ำจนเข้าตาผู้ใหญ่ทาบทามให้เป็นนายตำรวจติดตามนายอาทิตย์ อุไรรัตน์รัฐมนตรีวว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมในสมัยนั้น เขายอมรับว่า ไม่เคยมีความคิดต้องไปทำงานกับนักการเมือง ขอไปปรึกษากับที่บ้านก่อน เพราะส่วนตัวไม่ชอบนักการเมือง ชอบความเป็นตำรวจมากกว่า ปรึกษากับแม่ได้รับคำตอบว่า ไปอยู่กับท่านอาทิตย์ดีนะ เพราะท่านเป็นคนดี ทำให้ตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางไปเป็นนายตำรวจติดตามรัฐมนตรี

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    บินไปศึกษาต่อเอาวิชา หวังเป็นอาวุธทางปัญญาไปถ่ายทอดตำรา

    เก็บเกี่ยวประสบการณ์นาน 2 ปี แล้วย้ายกลับไปทำงานกองบังคับการปราบปรามตามเดิม แต่ไปปฏิบัติงานสำนักงานรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถึงปี 2548 มีสั่งย้ายไปสังกัดกองบังคับการตำรวจจราจร แค่ปีเดียวลาไปศึกษาต่อเพิ่มอาวุธทางปัญญานาน 5 ปี ตั้งแต่ปริญญาโท Master of Research in Sociology, School of Social Science, University of Aberdeen, United Kingdom และคณะศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาเอก Ph.D. in Sociology, School of Social Science, University of Aberdeen, United Kingdom และอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

    “ตอนนั้นต่อสู้ดิ้นรนพอสมควรนะ ชีวิตผมไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่ได้เป็นลูกเจ้าสัวมาก่อน ต้องดิ้นรน หาเงินเรียน เสร็จแล้วสมัครใจอยู่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ คือ เลือกเส้นทางแล้ว ถ้าเลือกทางวิชาการน่าจะไปเป็นอาจารย์ที่ดีได้ มารายงานตัวที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจว่าจะกลับมาเป็นอาจารย์ก็เป็นเรื่องที่แปลกที่คนที่เกี่ยวข้องบอกว่า ยังเป็นไม่ได้ ต้องรอคำสั่งแต่งตั้งก่อน”

    เขาบินกลับมาตำแหน่งเก่าอยู่กองบังคับการตำรวจจราจร ปฏิบัติราชการสำนักงาน พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผู้บังคับการตำรวจจราจรในขณะนั้น ก่อนโยกเป็นผู้ช่วยนายเวร พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เห็นสัจธรรมการรับราชการตำรวจ เขามองว่า ถ้ายังรับราชการตำรวจด้วยระบบอย่างนี้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชาที่สั่งการเรา คิดไว้ตั้งแต่ตอนนั้นถ้าจะการเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับนาย ก็ต้องรับราชการไปแบบนี้ทั้งชีวิต ต้องทำงานใกล้นาย เราคิดกลับกันว่า ทำไมเราต้องเข้าหานาย ทำไมนายไม่เข้าหาเราในแง่ที่ว่า มาขอความรู้ ความคิดเห็นจากเรา

    สมัครใจขอย้ายไปอาจารย์ สร้างตำนานทายาทรุ่นใหม่

    [​IMG] กลายเป็นมูลเหตุให้สมัครใจไปเป็นอาจารย์คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ท่านวรพงษ์ถามอยู่ 2 รอบเขาว่า แน่ใจหรือ ขอร้องไม่ต้องไปได้ไหม เพราะไม่ได้เอาทุนไปเรียน ไม่ติดเงื่อนไขอะไร อดีตนายตำรวจหนุ่มยืนยันตามเจตนารมณ์เดิม จนคำสั่งออกมาให้ไปรายงานตัว โรงเรียนนายร้อยตำรวจยังให้เขียนด้วยลายมือว่า สมัครใจมาเป็นอาจารย์ด้วย เพราะปกติ ไม่เคยมีผู้ช่วยนายเวรผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กลัวจะมีปัญหาภายหลัง

    ทำหน้าที่เป็นอาจารย์คณะตำรวจศาสตร์อยู่ 7 ปี นักเรียนรู้จักสนิทสนมเรียกอาจารย์โต้ง นำเอาประสบการณ์หลายอย่างไปสอนลูกศิษย์ “สิ่งที่ทำให้ผมอยากไปเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจเพราะมองว่า จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนปลง คือ เราต้องสร้างคน น้องๆ รุ่นใหม่เหล่านี้จะเป็นอนาคตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เราต้องปลูกฝังแนวคิด สิ่งที่ถูกต้องให้ก่อน อย่างน้อยๆ เราต้องเป็นภูมิคุ้มกันให้ ดีใจนะที่ตอนหลังน้องๆ หลายคนมีแนวคิดที่อยากจะกลับไปเป็นอาจารย์ ก่อนหน้านี้ต้องยอมรับว่า น้อยที่คนจะสมัครใจมาเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ นี่แหละองค์กรตำรวจจะเปลี่ยนแปลงได้ จุดที่สำคัญ คือ จะต้องส่งไม้ต่อจากรุ่นสู่รุ่น ในการปลูกฝัง เราเพาะเมล็ดพันธุ์ไว้จะมีต้นกล้าต้นใหม่เติบโตขึ้นมา แล้ววันหนึ่งองค์กรจะดีขึ้น เพราะว่ามันจะระเบิดจากข้างใน ความที่อยากจะเป็นตำรวจที่ดี”



    เจอแรงกดดันทำให้หันหลังคิดใหม่ ยื่นใบลาออกจากอาชีพผู้พิทักษ์สันติราษฎร์

    กระทั่งถึงช่วงเลี้ยวหัวต่อของชีวิตราชการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ตัดสินใจยื่นใบลาออก รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์สารภาพถึงเหตุผลว่า ตอนนั้นระบบตำรวจ องค์กรตำรวจมองเรื่องความเป็นทหารมากขึ้น ความเป็นวิชาการมีความสำคัญในแง่ที่ว่า จะพัฒนาความเป็นมืออาชีพ ต้องใช้องค์ความรู้ โดยเฉพาะความเป็นมาตรฐานสากลน้อยลง “ จำได้มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมไปนำเสนอบทความเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของโรงเรียนนายร้อยตำรวจในต่างประเทศนำเสนอต่ออาจารย์ในสหรัฐอเมริกา ออกค่าใช้จ่ายส่วนตัวทั้งหมดเลย โรงเรียนนายร้อยก็สนับสนุน เพราะอยากให้อาจารย์ไปแลกเปลี่ยนความรู้ อะไรต่างๆ แต่ระหว่างที่ลาไปเรียนในช่วงนั้น ปรากฏว่ามีการตรวจทรงผม”

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] “เป็นช่วงที่เดินทางกลับมาพอดี ไม่รู้ว่ามีตรวจทรงผมกัน มีคำสั่งให้ไปตรวจก่อน 8 โมง ผมต้องออกจากบ้าน ตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อไปดักรอเจอผู้บังคับบัญชาเพียงเพื่อตรวจทรงผม รู้สึกว่า มันไม่ใช่ ความเป็นตำรวจควรที่จะเน้นเรื่องวิชาการ ความเป็นมืออาชีพ การตรวจทรงผมมันก็ดี เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ควรให้มันอยู่ในความสมดุล ความพอประมาณ ตำรวจไม่ได้ไว้ผมยาว แบบฮิปปี้ คือ แต่งเครื่องแบบให้ดูเรียบร้อย ไม่ใช่เข้มงวดมากเหลือเกิน เข้มงวดมากขึ้นจนผมรู้สึกว่าจะทำให้เราสูญเสียความเป็นวิชาการ ขณะเดียวกัน ยังมีผู้บังคับบัญชามาติง ในสิ่งที่เรานำเสนอความเห็นผ่านสื่อในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงองค์กรตำรวจ”

    รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์มองเป็นเรื่องความกดดันในชีวิตรับราชการทั้งเรื่องระเบียบวินัยของตำรวจและวัฒนธรรมองค์กร ทั้งที่ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ มีอยู่มาตราระบุไว้สั้น ๆ ว่า อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจมีอิสระ และเสรีภาพทางวิชาการ เป็นกฎหมายคุ้มกัน แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วไม่ใช่ “ ผู้บังคับบัญชามาพูดให้รู้สึกอึดอัด ผมคิดว่า อยากจะทำอะไรให้กับตำรวจ คิดในใจว่า เราจำเป็นจะต้องรับราชการตำรวจต่อไปกับการที่เราจำเป็นต้องเลือกการที่เราจะต้องสูญเสียตัวตนไป กับการที่จะเป็นตำรวจต่อไปแล้วเจริญก้าวหน้า กับการที่เลือกจะเดินออกมา แล้วทำงานด้านวิชาการแล้วยังทำงานกับตำรวจได้ไหม”



    ยอมรับคิดหนักกับการตัดสินใจ ยศหยุดไปแต่วิญญาณยังอยู่

    เขาหันไปปรึกษาแฟนสาวที่กำลังคบหากันอยู่ว่า ถ้าวันหนึ่งไม่ได้เป็นตำรวจแล้วยังอยากจะคบกันอยู่ไหม ยังอยากแต่งงานกันไหม เพราะชีวิตไม่แน่นอนแล้ว สุดท้ายแฟนสาวสนับสนุน เขาเลยตัดสินใจลาออก แต่โรงเรียนนายร้อยตำรวจระงับใบลาออก อยากให้อยู่เป็นอาจารย์ต่อ คณบดีและผู้บังคับบัญชาเรียกไปพูดคุย อยากให้ช่วยพัฒนาโรงเรียนนายร้อยตำรวจต่อไป

    “ตอนลาออก คิดหนักเหมือนกันนะ เพราะว่าจากตอนเด็กๆ ผมตั้งใจจะมาเป็นตำรวจ เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ ชอบความเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ เหมือนว่า มันอยู่ในจิตวิญญาณความเป็นตำรวจ แต่เพราะว่า วันหนึ่งต้องตัดสินใจแล้ว คิดว่า เราไม่ได้เป็นตำรวจแค่เพราะเราได้แต่งเครื่องแบบ แต่เราเป็นตำรวจเพราะมันอยู่ในจิตวิญญาณ นั่นหมายความว่า ถึงแม้ไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจ ยศหยุดไว้แล้ว ก็ยังมีจิตวิญญาณความเป็นตำรวจอยู่” รองศาสตราจารย์พันตำรวจระบายความรู้สึก

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]ถึงแม้ไม่ได้เป็นตำรวจสวมเครื่องแบบสีกากีอีกแล้ว แต่เจ้าตัวยินดีกับเพื่อนพี่น้องจะได้เป็นนายพลเห็นการเจริญเติบโตตามวิถีของแต่ละคน สำหรับเขายังทำงานตามบทบาทหน้าที่ในความเป็นนักวิชาการด้วยความภาคภูมิใจ ภายใน ดร.อาทิตยฺ อุไรรัตน์ เจ้าของมหาวิทยาลัยรังสิต ชักชวนมาทำงานเป็นอาจารย์สอนหลักสูตรอาชญวิทยาในระดับปริญญาโท ท่ามกลางความงุนงงของเพื่อนสนิทมิตรสหายสอบถามกันจ้าละหวั่น แม้กระทั่งสำนักงานรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่สงสัยสาเหตุการลาออก



    มองกลับไปยังองค์กรเก่า รู้สึกเศร้าและเห็นใจเสียงอึดอัด

    “พอออกมาจากกรอบได้มองกลับเข้าไปในองค์กรตำรวจอีกครั้งจะเป็นอีกแบบหนึ่ง เป็นรูปแบบของงานวิชาการที่อยู่ในกรอบของนักวิชาการที่เป็นตำรวจ เป็นนักวิชาการของมหาวิทยาลัย หลักการทำงานคล้ายๆ กัน แต่ว่า ความคิดเห็นจะสะท้อนในแง่มุมที่เป็นความเป็นจริงได้มากกว่า แล้วอีกอย่างคือ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการตำรวจที่เจอปัญหาแล้วพูดไม่ได้จะสะท้อนข้อมูลให้ผม พวกเขาอึดอัดกับระบบหลายๆ อย่างมาก ทำให้ผมรู้สึกว่า ลึกๆ แล้วตำรวจน่าเห็นใจนะ จริงๆ อยากจะทำอะไรหลายๆ อย่างมากเ แต่โดยระบบ โดยโครงสร้าง ทำให้พวกเขาทำไม่ได้ แล้วจะพูดให้ใครฟังก็ไม่ได้ พวกเขาติดไปด้วยเรื่องระเบียบ ด้วยวินัย อะไรต่างๆ”

    ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิตบอกว่า อาจจะเป็นเรื่องที่จะต้องมาดูตำรวจต้องการอะไร แล้วประชาชนต้องการอะไรจากตำรวจ ทั้งสองอย่างต้องจูนเข้ามากัน ต้องปลดล็อกการทำงานของตำรวจ อย่างที่พูดอยู่เสมอ คือจะต้องปรับโครงสร้างองค์กรตำรวจ ต้องปรับเปลี่ยนระบบ แล้วต้องสนับสนุนคนทำงาน คนทำดี หลักคิดง่ายๆ สำหรับตำรวจ คือตำรวจที่ทำงานดี ตั้งใจทำงาน ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ต้องให้ก้าวหน้า ตอบแทนพวกเขา ในทางกลับกันตำรวจที่อาจจะไม่ได้สนใจในสิ่งเหล่านี้ หรืออาจจะสนใจน้อยไปหน่อยหนึ่งอาจจะมีวิธีการดูแลอีกแบบ

    เจ้าตัวยืนยันไม่เฉพาะองค์กรตำรวจ แต่เชื่อว่า ระบบข้าราชการส่วนใหญ่ทุกองค์กร ทุกหน่วยงานจะเหมือนกัน ฟันเฟืองทั้งหมดอยู่ตรงนี้ ในส่วนตัวเคยทำงานทั้งในระบบราชการ ภาคประชาสังคม เอกชน เราเห็นในหลากหลายมิติ เอกชนจะมีวิธีการคิดอีกแบบหนึ่ง การบริหารการจัดการจะไวกว่าระบบราชการ หน่วยงานรัฐต้องดูรูปแบบการทำงานของเอกชน มาศึกษา มาแลกเปลี่ยน มาดูตัวอย่าง แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น



    ตำรวจต้องฉีกระบบเดิม อย่าเพิ่มความเป็นทหารส่งกระทบต่อภาพ

    เขายังมองภาพอาชญากรรมกับการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการทำงานของตำรวจว่า ว่า อาชญากรรมทุกวันนี้มีความหลากหลาย สลับซับซ้อน มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น มีความแตกต่างจากอดีตที่ผ่านมามากขึ้น หมายความว่า ถ้าตำรวจยังทำงานและบริหารงานด้วยรูปแบบเดิม ระบบเดิม การแต่งตั้งโยกย้ายแบบเดิมจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ไม่สามารถรับมือกับปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นได้ สุดท้ายจะส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กร ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อองค์กรตำรวจ ตรงนี้เชื่อว่า ตำรวจคงไม่สบายใจ

    [​IMG] [​IMG]

    “ ถึงแม้ว่าปัจจุบันผมจะไม่ได้รับราชการตำรวจ ผมก็ไม่สบายใจทุกครั้งที่มีเสียงสะท้อนออกมาถึงตำรวจว่า ตำรวจเอาอีกแล้ว เสียงสะท้อนที่นำเสนอผ่านตัวเอง แม้ตัวเองไม่ได้อยู่ในองค์กรแล้ว เชื่อว่า เพื่อนพี่น้องตำรวจจะได้เข้าใจในปัญหา และเข้าใจในเจตนาผมจะพูด ผมจะไม่ด่า ไม่ว่า ไม่ตำหนิ แต่จะเน้นในเชิงข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ไขปรับปรุง และสิ่งที่นำเสนอ เชื่อว่าตำรวจส่วนใหญ่ เห็นตรงกัน เพราะสิ่งที่ได้กล่าวไป พวกเขาไม่สามารถพูดได้ สะท้อนได้ เพราะติดขัดด้วยระเบียบ ด้วยวินัย อะไรต่างๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องการแต่งตั้ง โยกย้าย ก็ยังเป็นเหมือนเดิม แม้กระทั่งเรื่องระบบ พวกเขาอยากจะดูแลทุกข์สุขของประชาชน ได้ทำงานใกล้ชิดกับปัญหาอาชญากรรมแล้วได้แก้ไขปัญหา กลายเป็นว่า ต้องมาเหมือนกับรับระบบการสั่งการแบบทหาร ในโลกของการเป็นมืออาชีพของตำรวจ พวกเขามองว่า ถ้าตำรวจสากล เป็นมืออาชีพจริงๆ ต้องลดความเป็นทหารลงให้มากๆ” รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ว่า



    อาจารย์โต้งเปรียบเทียบตำรวจในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์เหนือ หรือหลายประเทศทวีปยุโรปจะลดความเป็นทหารลง เพราะมองว่า การมีความเป็นทหารยิ่งทำให้การทำงานของตำรวจห่างกับประชาชน และประชาชนไม่สามารถสะท้อนปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นได้ เพราะตำรวจจะฟังแต่เจ้านายตัวเอง ฟังจากผู้บังคับบัญชา ฟังเสียงของประชาชนน้อยลงไปเรื่อยๆ ตรงนี้เป็นปัญหาแล้วจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธา เปลี่ยนเป็นการโจมตีองค์กร กระแทกไปถึงผู้กำกับดูแลองค์กรตำรวจปฏิเสธไม่ได้ก็คือรัฐบาล กระแทกไปยังหน่วยงานข้างเคียงทั้งหมดว่า ใครรับผิดชอบ หน่วยงานด้านความมั่นคงต่างๆ



    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา อยู่ที่กล้ายอมรับแค่ไหน

    อดีตนายตำรวจนักวิชาการมั่นใจว่า ทุกอย่างเปลี่ยนได้ แต่ต้องใช้เวลา หากเราศึกษาความเป็นมาขององค์กรตำรวจ ได้ดูงานตำรวจในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ต้องใช้เวลาทั้งนั้น แต่จะช้าจะเร็วขึ้นอยูกับการเมือง ขึ้นอยู่กับคนที่จะเข้ามาปกครองประเทศ ขึ้นอยู่กับตัวตำรวจ วัฒนธรรมองค์กร การไม่ยอมรับในสิ่งเหล่านี้ ตำรวจก็ต้องทนที่จะได้รับฟังเสียงก่นด่าของประชาชนอยู่อย่างนี้ไปได้เรื่อยๆ

    เขาอธิบายต่อไปว่า อีกส่วนคือ ประชาชนต้องช่วยกันในการนำเสนอแนวคิด แนวทาง เหมือนเป็นลักษณะของการพูดเพื่อการพัฒนา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดี เช่น บางคนอาจจะเก่งในเรื่องข้อกฎหมายต้องเสนอว่าจะต้องแก้กฎหมาย บางคนอาจจะมีเครือข่าย รู้จัก ส.ส. หรือ ส.ว.ก็ผลักดันออกมาในประเด็นเหล่านี้ หลายฝ่ายต้องขับเคลื่อน ถ้าทำได้ย่อมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

    “ ปัญหาของตำรวจในปัจจุบัน เป็นระบบตำรวจ คุณไม่รู้จักใครใช่ไหม ต้องไปอยู่สอบสวน ทำงานไม่ฟังผู้บังคับบัญชาใช่ไหม ก็เป็น ร.ต.อ.ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องขึ้นเป็นสารวัตร นี่คือ ความเป็นจริง เพราะฉะนั้น คนทำงานก็ขาดขวัญและกำลังใจ หน้างานต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชน แต่ความก้าวหน้าของพวกเขา เขากลับต้องดูแลไปผู้บังคับบัญชา ต้องฟังผู้บังคับบัญชา ไม่งั้นขึ้นตำแหน่งไม่ได้ ประชาชนไม่สามารถให้ตำรวจขึ้นตำแหน่งได้นะ เว้นแต่ ผู้มีอิทธิพล รู้จักนักการเมือง อันนี้อาจจะมีการซัพพอร์ต หรือสนับสนุนได้” รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์สะท้อน



    ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้าย จุดทำลายวัฒนธรรมองค์กร

    “ต้องบอกว่า เราจะเอาความจริงมาพูดกันมากน้อยแค่ไหนจะบอกมีความโปร่งใสเป็นธรรม แล้วทำไมเวลาช่วงใกล้แต่งตั้งตำรวจ หรือว่าแต่งตั้งเสร็จจะมีสื่อนำเสนอว่า คนนี้ลงทำเลทองสะท้อนอะไร สะท้อนว่า ทุกคนรู้อยู่แล้ว ทำไมต้องมีทำเลทอง ทำไมไม่เท่ากันหมด ต้องไปดูตรงนี้ ไปดูสื่อย้อนหลังได้ ยิ่งช่วงหลังแต่งตั้งจะบอกว่า สายนี้มาจากใคร ถ้าไปลงทำเลทอง ถ้าคนทั่วไปคงจะตั้งคำถามว่า ทำเลทอง คืออะไร มีแต่ทองหรืออย่างไรจึงเป็นตำรวจทำเลทอง แล้วคนที่ไม่ได้ทำเลทอง คือยังไง”

    [​IMG] นักวิชาการหนุ่มอดีตนายตำรวจระดับรองศาสตราจารย์ย้ำหลักคิดการแก้ปัญหาว่า ต้องมีการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจด้วยระบบคุณธรรม ประชาชนต้องมีเสียงสะท้อนในการให้ความเห็นได้ ตำรวจจะได้ทำงานให้ประชาชนได้มากยิ่งขึ้น ส่วนการปฏิรูปตำรวจที่กำลังถกเถียงกัน เท่าที่ทราบ เหมือนกับท่านนายกรัฐมนตรียังเป็นประธานคณะกรรมการของตำรวจอยู่ ระบบนี้เรียกว่า ระบบรวมศูนย์อำนาจ คล้ายๆ เดิม คือเป็นการรวมศูนย์อำนาจ บางคนก็ให้ความเห็นว่า เหล้าเก่าในขวดใหม่ ต้องยอมรับว่า ไม่ค่อยได้เปลี่ยนแปลงอะไร

    ถามว่าถ้าได้มีโอกาสกลับไปใหม่จะเปลี่ยนใจลาออกหรือไม่ เจ้าตัวบอกว่า เมื่อได้มาทำงานวิชาการ น่าจะมาถึงในจุดที่เรามีความพอใจที่จะสะท้อนปัญหาถึงตัวข้าราชการตำรวจเองด้วย แล้วเสียงสะท้อนจากประชาชนด้วย เราจะอยู่ตรงกลาง จะให้ความเห็นในฐานะนักวิชาการ ที่ไม่สามารถจะไปจินตนาการ แต่ต้องเป็นข้อมูลที่เราฟังมาอย่างรอบด้าน ประกอบกับองค์ความรู้ที่เราได้ศึกษามาจากการวิจัยด้วย รวมถึงความรู้ที่เราได้ศึกษาเล่าเรียนมาเป็นข้อเสนอไป



    ยืนยันยังเป็นตำรวจอยู่ในดีเอ็นเอ อยากทุกคนเททิ้งประโยชน์ส่วนตัวทิ้งไป

    “หมายความว่า ผมทำงานตรงนี้ ก็เหมือนยังเป็นตำรวจอยู่ แต่เป็นตำรวจที่ไม่ได้รับการแต่งตั้ง โยกย้าย ไม่ได้มีชั้นยศ เป็นตำรวจด้วยจิตวิญญาณ มีความเป็นตำรวจที่อยู่ในดีเอ็นเอ ไม่สามารถเอาไปจากเราได้ ยกเว้นเราตาย ก็จบกัน” รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์น้ำเสียงจริงจัง

    ฝากทิ้งท้ายถึงบุคลากรในองค์กรเก่าด้วยว่า ขอให้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นตัวตั้ง ต้องคิดว่าทำอะไรให้สังคมดีขึ้น ประเทศชาติดีขึ้น เพราะถ้าเราคิดเอาผลประโยชน์ของตัวเองเป็นตัวตั้ง สังคมเราก็จะไม่พัฒนา องค์กรตำรวจก็เช่นเดียวกัน

    “ใครมาอยู่ในจุดไหน ต้องคิดว่า ตำรวจจะต้องทำอะไรแล้ว ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจะดีมาก จะเกิดประโยชน์กับองค์กรได้มาก เหมือนคำถามว่าตำรวจจะเปลี่ยนแปลงได้ไหม ขอยืนยันว่า เปลี่ยนได้ แต่ต้องใช้เวลา” อดีตนายตำรวจคนดังระบุ

    ที่มา https://www.cops-magazine.com/topic/89286/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF4619.jpg
      DSCF4619.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18 KB
      เปิดดู:
      6
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    “เราไม่ได้เป็นตำรวจแค่เพราะเราได้แต่งเครื่องแบบ แต่เราเป็นตำรวจเพราะมันอยู่ในจิตวิญญาณ”


    ?temp_hash=ccc4abe7bba6c8e9d8da1733f2f33695.jpg



    อดีตนายตำรวจ ชีวิต ความคิด ความฝันกับความมุ่งมั่นที่ยังคงอยู่

    หรือเปลวไฟที่มอดดับหมดแล้ว

    อาจารย์โต้ง–รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล ตัดสินใจยอมทิ้งเครื่องแบบและอุดมการณ์ของตัวเองไปเป็น ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

    กับวันที่ต้องเลือกระหว่าง “ตำรวจอาชีพ” และ “นักวิชาการ”

    เป็นคำตอบที่บอกเหตุผลทุกอย่างว่า ทำไมองค์กรสีกากีต้องสูญเสียบุคลากรคุณภาพไปอีกคน

    วัยเด็กอยากเป็นทหาร ก่อนเปลี่ยนใจเลือกเข้ารั้วสามพราน

    ย้อนเส้นทางชีวิต รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล เกิดที่กรุงเทพมหานคร แต่ไปเติบโตอยู่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เนื่องจากแม่ทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ที่นั่น ส่วนพ่อเป็นเชฟโรงแรมโอเรียลเต็ล เริ่มต้นเรียนประถมในเมืองโอ่ง พอเข้าสู่วัยมัธยมครอบครัววางแผนส่งลูกที่กรุงเทพมหานคร ด้วยความหวังอยากให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดี มีอนาคต

    เจ้าตัวเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามแบบฉบับที่พ่อแม่เขาวาดหวังไว้ เพราะเห็ตบุคคลสำคัญเป็นผู้นำมีชื่อเสียงหลายคนจบจากรั้วโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์เล่าว่า ตอนเด็กอยากเป็นทหาร ชอบปั้นดินน้ำมันเป็นตุ๊กตาทาหารต่อสู้คนร้าย เวลาเปิดทีวีฟังเพลงชาติเช้าและเย็นต้องยืนตรง ทำให้ซึมซับ

    DSCF4658-200x300.jpg กระนั้นก็ตาม พอสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารได้ กลับเปลี่ยนใจเลือกเหล่าตำรวจ เหตุผลเพราะมีคนแนะนำว่า ถ้าเป็นทหารวันหนึ่งประเทศไทยไม่ได้รบกับใครก็จะอยู่แต่ในกรมกอง ผิดกับตำรวจจะมีบทบาทมากกว่าในการแก้ปัญหาสังคมที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน “คุณพ่อกับคุณแม้ให้แง่คิดไว้ด้วยว่า ถ้าลูกอยากจะทำงานเพื่อจะดูแลแก้ปัญหาสังคม ตำรวจนี่แหละ น่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่า พูดให้ผมได้ข้อคิด สุดท้ายตัดสินใจเลือกเหล่าตำรวจ”



    เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 51 มุ่งตามหาความสำเร็จในชีวิตจริง

    รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์บอกกับตัวเองว่า หากสอบครั้งแรกไม่ติดจะเปลี่ยนไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เพราะสมัยนั้นเด็กสวนกุหลาบสวนใหญ่จะไปเข้าวิศวะ ไม่ก็จะไปสอบเป็นหมอ แต่อาจจะเป็นดวงเขาเรา ที่สอบติดเตรียมหาร ทั้งที่ตัวเอง พ่อ แม่ไม่ได้รับราชการ เป็นลูกพลเรือน เป็นจังหวะชีวิตที่ว่าจะต้องมาเป็นตำรวจ เดิมพันด้วยสร้อยคอทองคำของพี่ชายที่เอาไปจำนำเอาเงินมาส่งไปเรียนกวดวิชา ดังนั้น ต้องสอบให้ได้

    เข้าเรียนเตรียมทหารรุ่น 35 เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 51 ต้องปรับตัวจากการใช้ชีวิตพลเรือนไปเป็นนักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนายร้อยตำรวจ เจ้าตัวรู้สึกภูมิใจที่จบจากสถาบันทั้ง 2 แห่งที่ปลูกฝังความเสียสละ ความอุทิศตน ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้อยู่ในสายเลือดเลย เพียงแต่ตอนจบออกมาแล้ว แต่ละคนไปเจอเรื่องราวที่ต่างกัน มีประสบการณ์ อะไรมากมาย ดังนั้น วิธีคิด รูปแบบการทำงานมันอาจจะแตกต่างกัน ไม่เหมือนกับตอนอยู่ในโรงเรียนได้รับการปลูกฝังมา

    “เหมือนการฉีดวัคซีน พอมีไข้หวัดใหญ่ ต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พอมาเป็นโควิด-19 ต้องเป็นวัคซีนโควิด-19 ฉีดเข็ม 1-3 แล้วก็ต้องมี เข็ม 4-5 ก็เหมือนกันการปลูกฝัง แต่พอจบออกมาแล้ว บางทีเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเติมวัคซีนเข้าไปอีก การให้ภูมิคุ้มกันกับคนๆ หนึ่ง จะต้องเน้นไปในเรื่องไหน เรื่องการอบรม การปลูกฝังอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านั้นไม่ค่อยมีในส่วนของตำรวจ หรือว่ามี แต่น้อยมาก ทว่าในมาตรฐานสากล คุณธรรม จริยธรรม ความเป็นตำรวจอาชีพจะสอดแทรกได้ด้วยการผ่านการฝึกอบรม” อดีตนายตำรวจนักวิชาการแสดงความเห็น

    135266662_10218441048042058_3360102347093179216_n-300x220.jpg 135628671_10218441045762001_7191713898973513676_n-300x222.jpg

    CS-03427996895_n-223x300.jpg 136041957_10218441047242038_559742837274144972_n-300x220.jpg











    ประเดิมบทผู้หมวดติดอาร์มกองปราบ กำราบอิทธิพลคดีดังสารพัด

    เริ่มต้นชีวิตเครื่องแบบสีกากีติดอาร์มกองปราบปราม ลงบรรจุตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปราม เขาเลือกเพราะคิดว่า ตำรวจกองปราบปรามทำงานส่วนกลางน่าจะเป็นอะไรที่เป็นกลาง ตามคำแนะนำของนายตำรวจรุ่นพี่ที่เคยเป็นสารวัตรป้องกันปราบปรามโรงพักบ้านโป่งอย่าง จิรสันต์ แก้วแสงเอก และน่าจะโดนผู้มีอิทธิพลแทรกแซงได้น้อยที่สุด แต่ในโลกของความเป็นจริง การทำงานทุกเรื่องจะมีปัญหาตามมา ในการทำงานเป็นตำรวจจริงอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคิด

    ปฐมบทร้อยตำรวจตรีจบใหม่มีโอกาสทำคดีสำคัญให้หน่วยหลายคดี อาทิ คดีทุจริตลำไยอบแห้ง คดีเกี่ยวกับผู้อิทธิพลในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง คดีปลอมแปลงบัตรประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐร่วมกับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ติดตามจับมือปืนดักยิงเหยื่อ คดีกรรโชกทรัพย์ และอีกหลากหลาย แต่ไม่เท่าความทรงจำที่ยังฝังอยู่ในความคิด

    อดีตผู้หมวดกองปราบเล่าว่า ด้วยความที่เพิ่งจบมาใหม่ ไฟยังแรง ระหว่างเข้าเวรมีคนมาแจ้งเบาะแสบ่อนการพนันในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี บอกแม้กระทั่งว่า เห็นนายตำรวจกองปราบไปคุยอยู่กับเจ้าของบ่อนด้วย บอกชื่อยศตำแหน่งหมด อยู่กองเดียวกับเรา แถมเป็นผู้บังคับบัญชา “ผมขอเบอร์โทรศัพท์กดไปหาเจ้าของบ่อนเลย ฝั่งนั้นปฏิเสธทันที ไม่มีบ่อน พอรุ่งเช้าอีกวัน ผมเข้าไปเคาะประตูขอคุยกับนายตำรวจรุ่นพี่คนนั้นว่า มีคนมาแจ้งเรื่องที่พี่ไปที่บ่อนเมื่อวาน เขาก็ปฏิเสธเหมือนกัน”



    DSCF4741-300x212.jpg DSCF4742-200x300.jpg

    ไฟแรงอุดมการณ์สูงเกิน เมื่อเผชิญสิ่งไม่ถูกต้องกลับเจออุปสรรค

    “อาจด้วยความที่ไฟแรง ผมก็ถามไปตรง ๆ แต่ว่าก็พอได้รับคำตอบอย่างนั้น ผมยังไม่หยุดสืบสวน พาลูกน้องปลอมตัวไปพิสูจน์เองว่า มีบ่อนจริงไหม พอรู้ว่า มีจริง ผมกลับมาทำตามระบบวางแผนจับกุม เหมือนที่ได้ทำงานในเชิงปฏิบัติการนอกเครื่องแบบหลายครั้ง บุกจับการพนันได้คาหนังคาเขาบ้าง หนีจนต้องวิ่งไล่กวดแบบในหนังก็มีบ้าง แต่สนุก ไม่สนหรอกว่าจะเป็นแกะดำหรือเปล่า เพราะเรายังมีอุดมการณ์อยู่”

    รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ย้ำคำเดิมว่า แต่ในโลกของความเป็นจริงแตกต่างกันสิ้นเชิงกับสิ่งที่เราได้รับการปลูกฝังมาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สมัยอยู่กองปราบปราบปราม บางทีไปเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราอยากจะจับให้ได้ ปรากฏจะมีเสียงมาว่า อันนี้อาจจะต้องชะลอหน่อย เช่น จะมีการไปค้นแรงงานต่างด้าวในตลาด เรามีลิสต์อยู่ว่าในพื้นที่ไหนบ้างที่เรารับผิดชอบ แต่จะมีคำสั่งมาว่า เว้นแต่ไม่ต้องไปค้น จะมีคำว่าเว้นแต่ เป็นอะไรที่เราตั้งคำถามในใจทำไม ต้องเว้นแต่

    ทำงานหามรุ่งหามค่ำจนเข้าตาผู้ใหญ่ทาบทามให้เป็นนายตำรวจติดตามนายอาทิตย์ อุไรรัตน์รัฐมนตรีวว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมในสมัยนั้น เขายอมรับว่า ไม่เคยมีความคิดต้องไปทำงานกับนักการเมือง ขอไปปรึกษากับที่บ้านก่อน เพราะส่วนตัวไม่ชอบนักการเมือง ชอบความเป็นตำรวจมากกว่า ปรึกษากับแม่ได้รับคำตอบว่า ไปอยู่กับท่านอาทิตย์ดีนะ เพราะท่านเป็นคนดี ทำให้ตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางไปเป็นนายตำรวจติดตามรัฐมนตรี

    DSCF4761-200x300.jpg DSCF4736-200x300.jpg DSCF4722-200x300.jpg

    บินไปศึกษาต่อเอาวิชา หวังเป็นอาวุธทางปัญญาไปถ่ายทอดตำรา

    เก็บเกี่ยวประสบการณ์นาน 2 ปี แล้วย้ายกลับไปทำงานกองบังคับการปราบปรามตามเดิม แต่ไปปฏิบัติงานสำนักงานรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถึงปี 2548 มีสั่งย้ายไปสังกัดกองบังคับการตำรวจจราจร แค่ปีเดียวลาไปศึกษาต่อเพิ่มอาวุธทางปัญญานาน 5 ปี ตั้งแต่ปริญญาโท Master of Research in Sociology, School of Social Science, University of Aberdeen, United Kingdom และคณะศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาเอก Ph.D. in Sociology, School of Social Science, University of Aberdeen, United Kingdom และอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

    “ตอนนั้นต่อสู้ดิ้นรนพอสมควรนะ ชีวิตผมไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่ได้เป็นลูกเจ้าสัวมาก่อน ต้องดิ้นรน หาเงินเรียน เสร็จแล้วสมัครใจอยู่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ คือ เลือกเส้นทางแล้ว ถ้าเลือกทางวิชาการน่าจะไปเป็นอาจารย์ที่ดีได้ มารายงานตัวที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจว่าจะกลับมาเป็นอาจารย์ก็เป็นเรื่องที่แปลกที่คนที่เกี่ยวข้องบอกว่า ยังเป็นไม่ได้ ต้องรอคำสั่งแต่งตั้งก่อน”

    เขาบินกลับมาตำแหน่งเก่าอยู่กองบังคับการตำรวจจราจร ปฏิบัติราชการสำนักงาน พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผู้บังคับการตำรวจจราจรในขณะนั้น ก่อนโยกเป็นผู้ช่วยนายเวร พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เห็นสัจธรรมการรับราชการตำรวจ เขามองว่า ถ้ายังรับราชการตำรวจด้วยระบบอย่างนี้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชาที่สั่งการเรา คิดไว้ตั้งแต่ตอนนั้นถ้าจะการเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับนาย ก็ต้องรับราชการไปแบบนี้ทั้งชีวิต ต้องทำงานใกล้นาย เราคิดกลับกันว่า ทำไมเราต้องเข้าหานาย ทำไมนายไม่เข้าหาเราในแง่ที่ว่า มาขอความรู้ ความคิดเห็นจากเรา

    สมัครใจขอย้ายไปอาจารย์ สร้างตำนานทายาทรุ่นใหม่

    280035441_10221080365903355_7294367645360906749_n-225x300.jpg กลายเป็นมูลเหตุให้สมัครใจไปเป็นอาจารย์คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ท่านวรพงษ์ถามอยู่ 2 รอบเขาว่า แน่ใจหรือ ขอร้องไม่ต้องไปได้ไหม เพราะไม่ได้เอาทุนไปเรียน ไม่ติดเงื่อนไขอะไร อดีตนายตำรวจหนุ่มยืนยันตามเจตนารมณ์เดิม จนคำสั่งออกมาให้ไปรายงานตัว โรงเรียนนายร้อยตำรวจยังให้เขียนด้วยลายมือว่า สมัครใจมาเป็นอาจารย์ด้วย เพราะปกติ ไม่เคยมีผู้ช่วยนายเวรผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กลัวจะมีปัญหาภายหลัง

    ทำหน้าที่เป็นอาจารย์คณะตำรวจศาสตร์อยู่ 7 ปี นักเรียนรู้จักสนิทสนมเรียกอาจารย์โต้ง นำเอาประสบการณ์หลายอย่างไปสอนลูกศิษย์ “สิ่งที่ทำให้ผมอยากไปเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจเพราะมองว่า จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนปลง คือ เราต้องสร้างคน น้องๆ รุ่นใหม่เหล่านี้จะเป็นอนาคตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เราต้องปลูกฝังแนวคิด สิ่งที่ถูกต้องให้ก่อน อย่างน้อยๆ เราต้องเป็นภูมิคุ้มกันให้ ดีใจนะที่ตอนหลังน้องๆ หลายคนมีแนวคิดที่อยากจะกลับไปเป็นอาจารย์ ก่อนหน้านี้ต้องยอมรับว่า น้อยที่คนจะสมัครใจมาเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ นี่แหละองค์กรตำรวจจะเปลี่ยนแปลงได้ จุดที่สำคัญ คือ จะต้องส่งไม้ต่อจากรุ่นสู่รุ่น ในการปลูกฝัง เราเพาะเมล็ดพันธุ์ไว้จะมีต้นกล้าต้นใหม่เติบโตขึ้นมา แล้ววันหนึ่งองค์กรจะดีขึ้น เพราะว่ามันจะระเบิดจากข้างใน ความที่อยากจะเป็นตำรวจที่ดี”



    เจอแรงกดดันทำให้หันหลังคิดใหม่ ยื่นใบลาออกจากอาชีพผู้พิทักษ์สันติราษฎร์

    กระทั่งถึงช่วงเลี้ยวหัวต่อของชีวิตราชการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ตัดสินใจยื่นใบลาออก รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์สารภาพถึงเหตุผลว่า ตอนนั้นระบบตำรวจ องค์กรตำรวจมองเรื่องความเป็นทหารมากขึ้น ความเป็นวิชาการมีความสำคัญในแง่ที่ว่า จะพัฒนาความเป็นมืออาชีพ ต้องใช้องค์ความรู้ โดยเฉพาะความเป็นมาตรฐานสากลน้อยลง “ จำได้มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมไปนำเสนอบทความเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของโรงเรียนนายร้อยตำรวจในต่างประเทศนำเสนอต่ออาจารย์ในสหรัฐอเมริกา ออกค่าใช้จ่ายส่วนตัวทั้งหมดเลย โรงเรียนนายร้อยก็สนับสนุน เพราะอยากให้อาจารย์ไปแลกเปลี่ยนความรู้ อะไรต่างๆ แต่ระหว่างที่ลาไปเรียนในช่วงนั้น ปรากฏว่ามีการตรวจทรงผม”

    DSCF4658-200x300.jpg DSCF4689-200x300.jpg DSCF4688-200x300.jpg “เป็นช่วงที่เดินทางกลับมาพอดี ไม่รู้ว่ามีตรวจทรงผมกัน มีคำสั่งให้ไปตรวจก่อน 8 โมง ผมต้องออกจากบ้าน ตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อไปดักรอเจอผู้บังคับบัญชาเพียงเพื่อตรวจทรงผม รู้สึกว่า มันไม่ใช่ ความเป็นตำรวจควรที่จะเน้นเรื่องวิชาการ ความเป็นมืออาชีพ การตรวจทรงผมมันก็ดี เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ควรให้มันอยู่ในความสมดุล ความพอประมาณ ตำรวจไม่ได้ไว้ผมยาว แบบฮิปปี้ คือ แต่งเครื่องแบบให้ดูเรียบร้อย ไม่ใช่เข้มงวดมากเหลือเกิน เข้มงวดมากขึ้นจนผมรู้สึกว่าจะทำให้เราสูญเสียความเป็นวิชาการ ขณะเดียวกัน ยังมีผู้บังคับบัญชามาติง ในสิ่งที่เรานำเสนอความเห็นผ่านสื่อในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงองค์กรตำรวจ”

    รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์มองเป็นเรื่องความกดดันในชีวิตรับราชการทั้งเรื่องระเบียบวินัยของตำรวจและวัฒนธรรมองค์กร ทั้งที่ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ มีอยู่มาตราระบุไว้สั้น ๆ ว่า อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจมีอิสระ และเสรีภาพทางวิชาการ เป็นกฎหมายคุ้มกัน แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วไม่ใช่ “ ผู้บังคับบัญชามาพูดให้รู้สึกอึดอัด ผมคิดว่า อยากจะทำอะไรให้กับตำรวจ คิดในใจว่า เราจำเป็นจะต้องรับราชการตำรวจต่อไปกับการที่เราจำเป็นต้องเลือกการที่เราจะต้องสูญเสียตัวตนไป กับการที่จะเป็นตำรวจต่อไปแล้วเจริญก้าวหน้า กับการที่เลือกจะเดินออกมา แล้วทำงานด้านวิชาการแล้วยังทำงานกับตำรวจได้ไหม”



    ยอมรับคิดหนักกับการตัดสินใจ ยศหยุดไปแต่วิญญาณยังอยู่

    เขาหันไปปรึกษาแฟนสาวที่กำลังคบหากันอยู่ว่า ถ้าวันหนึ่งไม่ได้เป็นตำรวจแล้วยังอยากจะคบกันอยู่ไหม ยังอยากแต่งงานกันไหม เพราะชีวิตไม่แน่นอนแล้ว สุดท้ายแฟนสาวสนับสนุน เขาเลยตัดสินใจลาออก แต่โรงเรียนนายร้อยตำรวจระงับใบลาออก อยากให้อยู่เป็นอาจารย์ต่อ คณบดีและผู้บังคับบัญชาเรียกไปพูดคุย อยากให้ช่วยพัฒนาโรงเรียนนายร้อยตำรวจต่อไป

    “ตอนลาออก คิดหนักเหมือนกันนะ เพราะว่าจากตอนเด็กๆ ผมตั้งใจจะมาเป็นตำรวจ เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ ชอบความเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ เหมือนว่า มันอยู่ในจิตวิญญาณความเป็นตำรวจ แต่เพราะว่า วันหนึ่งต้องตัดสินใจแล้ว คิดว่า เราไม่ได้เป็นตำรวจแค่เพราะเราได้แต่งเครื่องแบบ แต่เราเป็นตำรวจเพราะมันอยู่ในจิตวิญญาณ นั่นหมายความว่า ถึงแม้ไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจ ยศหยุดไว้แล้ว ก็ยังมีจิตวิญญาณความเป็นตำรวจอยู่” รองศาสตราจารย์พันตำรวจระบายความรู้สึก

    CS-1128441284_n-300x180.jpg 285666973_10221223914811988_5242369127421052036_n-300x200.jpg 282159981_10221164578408615_4482471981198585679_n-204x300.jpg ถึงแม้ไม่ได้เป็นตำรวจสวมเครื่องแบบสีกากีอีกแล้ว แต่เจ้าตัวยินดีกับเพื่อนพี่น้องจะได้เป็นนายพลเห็นการเจริญเติบโตตามวิถีของแต่ละคน สำหรับเขายังทำงานตามบทบาทหน้าที่ในความเป็นนักวิชาการด้วยความภาคภูมิใจ ภายใน ดร.อาทิตยฺ อุไรรัตน์ เจ้าของมหาวิทยาลัยรังสิต ชักชวนมาทำงานเป็นอาจารย์สอนหลักสูตรอาชญวิทยาในระดับปริญญาโท ท่ามกลางความงุนงงของเพื่อนสนิทมิตรสหายสอบถามกันจ้าละหวั่น แม้กระทั่งสำนักงานรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่สงสัยสาเหตุการลาออก



    มองกลับไปยังองค์กรเก่า รู้สึกเศร้าและเห็นใจเสียงอึดอัด

    “พอออกมาจากกรอบได้มองกลับเข้าไปในองค์กรตำรวจอีกครั้งจะเป็นอีกแบบหนึ่ง เป็นรูปแบบของงานวิชาการที่อยู่ในกรอบของนักวิชาการที่เป็นตำรวจ เป็นนักวิชาการของมหาวิทยาลัย หลักการทำงานคล้ายๆ กัน แต่ว่า ความคิดเห็นจะสะท้อนในแง่มุมที่เป็นความเป็นจริงได้มากกว่า แล้วอีกอย่างคือ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการตำรวจที่เจอปัญหาแล้วพูดไม่ได้จะสะท้อนข้อมูลให้ผม พวกเขาอึดอัดกับระบบหลายๆ อย่างมาก ทำให้ผมรู้สึกว่า ลึกๆ แล้วตำรวจน่าเห็นใจนะ จริงๆ อยากจะทำอะไรหลายๆ อย่างมากเ แต่โดยระบบ โดยโครงสร้าง ทำให้พวกเขาทำไม่ได้ แล้วจะพูดให้ใครฟังก็ไม่ได้ พวกเขาติดไปด้วยเรื่องระเบียบ ด้วยวินัย อะไรต่างๆ”

    ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิตบอกว่า อาจจะเป็นเรื่องที่จะต้องมาดูตำรวจต้องการอะไร แล้วประชาชนต้องการอะไรจากตำรวจ ทั้งสองอย่างต้องจูนเข้ามากัน ต้องปลดล็อกการทำงานของตำรวจ อย่างที่พูดอยู่เสมอ คือจะต้องปรับโครงสร้างองค์กรตำรวจ ต้องปรับเปลี่ยนระบบ แล้วต้องสนับสนุนคนทำงาน คนทำดี หลักคิดง่ายๆ สำหรับตำรวจ คือตำรวจที่ทำงานดี ตั้งใจทำงาน ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ต้องให้ก้าวหน้า ตอบแทนพวกเขา ในทางกลับกันตำรวจที่อาจจะไม่ได้สนใจในสิ่งเหล่านี้ หรืออาจจะสนใจน้อยไปหน่อยหนึ่งอาจจะมีวิธีการดูแลอีกแบบ

    เจ้าตัวยืนยันไม่เฉพาะองค์กรตำรวจ แต่เชื่อว่า ระบบข้าราชการส่วนใหญ่ทุกองค์กร ทุกหน่วยงานจะเหมือนกัน ฟันเฟืองทั้งหมดอยู่ตรงนี้ ในส่วนตัวเคยทำงานทั้งในระบบราชการ ภาคประชาสังคม เอกชน เราเห็นในหลากหลายมิติ เอกชนจะมีวิธีการคิดอีกแบบหนึ่ง การบริหารการจัดการจะไวกว่าระบบราชการ หน่วยงานรัฐต้องดูรูปแบบการทำงานของเอกชน มาศึกษา มาแลกเปลี่ยน มาดูตัวอย่าง แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น



    ตำรวจต้องฉีกระบบเดิม อย่าเพิ่มความเป็นทหารส่งกระทบต่อภาพ

    เขายังมองภาพอาชญากรรมกับการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการทำงานของตำรวจว่า ว่า อาชญากรรมทุกวันนี้มีความหลากหลาย สลับซับซ้อน มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น มีความแตกต่างจากอดีตที่ผ่านมามากขึ้น หมายความว่า ถ้าตำรวจยังทำงานและบริหารงานด้วยรูปแบบเดิม ระบบเดิม การแต่งตั้งโยกย้ายแบบเดิมจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ไม่สามารถรับมือกับปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นได้ สุดท้ายจะส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กร ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อองค์กรตำรวจ ตรงนี้เชื่อว่า ตำรวจคงไม่สบายใจ

    274090533_10220695975493835_7600180424615279550_n-300x200.jpg 124280864_10218074507958785_4547884642229795895_n-300x225.jpg

    “ ถึงแม้ว่าปัจจุบันผมจะไม่ได้รับราชการตำรวจ ผมก็ไม่สบายใจทุกครั้งที่มีเสียงสะท้อนออกมาถึงตำรวจว่า ตำรวจเอาอีกแล้ว เสียงสะท้อนที่นำเสนอผ่านตัวเอง แม้ตัวเองไม่ได้อยู่ในองค์กรแล้ว เชื่อว่า เพื่อนพี่น้องตำรวจจะได้เข้าใจในปัญหา และเข้าใจในเจตนาผมจะพูด ผมจะไม่ด่า ไม่ว่า ไม่ตำหนิ แต่จะเน้นในเชิงข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ไขปรับปรุง และสิ่งที่นำเสนอ เชื่อว่าตำรวจส่วนใหญ่ เห็นตรงกัน เพราะสิ่งที่ได้กล่าวไป พวกเขาไม่สามารถพูดได้ สะท้อนได้ เพราะติดขัดด้วยระเบียบ ด้วยวินัย อะไรต่างๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องการแต่งตั้ง โยกย้าย ก็ยังเป็นเหมือนเดิม แม้กระทั่งเรื่องระบบ พวกเขาอยากจะดูแลทุกข์สุขของประชาชน ได้ทำงานใกล้ชิดกับปัญหาอาชญากรรมแล้วได้แก้ไขปัญหา กลายเป็นว่า ต้องมาเหมือนกับรับระบบการสั่งการแบบทหาร ในโลกของการเป็นมืออาชีพของตำรวจ พวกเขามองว่า ถ้าตำรวจสากล เป็นมืออาชีพจริงๆ ต้องลดความเป็นทหารลงให้มากๆ” รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ว่า



    อาจารย์โต้งเปรียบเทียบตำรวจในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์เหนือ หรือหลายประเทศทวีปยุโรปจะลดความเป็นทหารลง เพราะมองว่า การมีความเป็นทหารยิ่งทำให้การทำงานของตำรวจห่างกับประชาชน และประชาชนไม่สามารถสะท้อนปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นได้ เพราะตำรวจจะฟังแต่เจ้านายตัวเอง ฟังจากผู้บังคับบัญชา ฟังเสียงของประชาชนน้อยลงไปเรื่อยๆ ตรงนี้เป็นปัญหาแล้วจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธา เปลี่ยนเป็นการโจมตีองค์กร กระแทกไปถึงผู้กำกับดูแลองค์กรตำรวจปฏิเสธไม่ได้ก็คือรัฐบาล กระแทกไปยังหน่วยงานข้างเคียงทั้งหมดว่า ใครรับผิดชอบ หน่วยงานด้านความมั่นคงต่างๆ



    49898365_10213227111176895_5755040822684811264_n-300x200.jpg 50558637_10213227109936864_8562675581328556032_n-300x200.jpg 73141108_10215125195747823_1373927177195618304_n-300x200.jpg 122042764_10217931500383685_218253500521716895_n-300x225.jpg

    ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา อยู่ที่กล้ายอมรับแค่ไหน

    อดีตนายตำรวจนักวิชาการมั่นใจว่า ทุกอย่างเปลี่ยนได้ แต่ต้องใช้เวลา หากเราศึกษาความเป็นมาขององค์กรตำรวจ ได้ดูงานตำรวจในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ต้องใช้เวลาทั้งนั้น แต่จะช้าจะเร็วขึ้นอยูกับการเมือง ขึ้นอยู่กับคนที่จะเข้ามาปกครองประเทศ ขึ้นอยู่กับตัวตำรวจ วัฒนธรรมองค์กร การไม่ยอมรับในสิ่งเหล่านี้ ตำรวจก็ต้องทนที่จะได้รับฟังเสียงก่นด่าของประชาชนอยู่อย่างนี้ไปได้เรื่อยๆ

    เขาอธิบายต่อไปว่า อีกส่วนคือ ประชาชนต้องช่วยกันในการนำเสนอแนวคิด แนวทาง เหมือนเป็นลักษณะของการพูดเพื่อการพัฒนา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดี เช่น บางคนอาจจะเก่งในเรื่องข้อกฎหมายต้องเสนอว่าจะต้องแก้กฎหมาย บางคนอาจจะมีเครือข่าย รู้จัก ส.ส. หรือ ส.ว.ก็ผลักดันออกมาในประเด็นเหล่านี้ หลายฝ่ายต้องขับเคลื่อน ถ้าทำได้ย่อมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

    “ ปัญหาของตำรวจในปัจจุบัน เป็นระบบตำรวจ คุณไม่รู้จักใครใช่ไหม ต้องไปอยู่สอบสวน ทำงานไม่ฟังผู้บังคับบัญชาใช่ไหม ก็เป็น ร.ต.อ.ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องขึ้นเป็นสารวัตร นี่คือ ความเป็นจริง เพราะฉะนั้น คนทำงานก็ขาดขวัญและกำลังใจ หน้างานต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชน แต่ความก้าวหน้าของพวกเขา เขากลับต้องดูแลไปผู้บังคับบัญชา ต้องฟังผู้บังคับบัญชา ไม่งั้นขึ้นตำแหน่งไม่ได้ ประชาชนไม่สามารถให้ตำรวจขึ้นตำแหน่งได้นะ เว้นแต่ ผู้มีอิทธิพล รู้จักนักการเมือง อันนี้อาจจะมีการซัพพอร์ต หรือสนับสนุนได้” รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์สะท้อน



    ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้าย จุดทำลายวัฒนธรรมองค์กร

    “ต้องบอกว่า เราจะเอาความจริงมาพูดกันมากน้อยแค่ไหนจะบอกมีความโปร่งใสเป็นธรรม แล้วทำไมเวลาช่วงใกล้แต่งตั้งตำรวจ หรือว่าแต่งตั้งเสร็จจะมีสื่อนำเสนอว่า คนนี้ลงทำเลทองสะท้อนอะไร สะท้อนว่า ทุกคนรู้อยู่แล้ว ทำไมต้องมีทำเลทอง ทำไมไม่เท่ากันหมด ต้องไปดูตรงนี้ ไปดูสื่อย้อนหลังได้ ยิ่งช่วงหลังแต่งตั้งจะบอกว่า สายนี้มาจากใคร ถ้าไปลงทำเลทอง ถ้าคนทั่วไปคงจะตั้งคำถามว่า ทำเลทอง คืออะไร มีแต่ทองหรืออย่างไรจึงเป็นตำรวจทำเลทอง แล้วคนที่ไม่ได้ทำเลทอง คือยังไง”

    131423887_10218321650577196_1460681656425095662_n-201x300.jpg นักวิชาการหนุ่มอดีตนายตำรวจระดับรองศาสตราจารย์ย้ำหลักคิดการแก้ปัญหาว่า ต้องมีการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจด้วยระบบคุณธรรม ประชาชนต้องมีเสียงสะท้อนในการให้ความเห็นได้ ตำรวจจะได้ทำงานให้ประชาชนได้มากยิ่งขึ้น ส่วนการปฏิรูปตำรวจที่กำลังถกเถียงกัน เท่าที่ทราบ เหมือนกับท่านนายกรัฐมนตรียังเป็นประธานคณะกรรมการของตำรวจอยู่ ระบบนี้เรียกว่า ระบบรวมศูนย์อำนาจ คล้ายๆ เดิม คือเป็นการรวมศูนย์อำนาจ บางคนก็ให้ความเห็นว่า เหล้าเก่าในขวดใหม่ ต้องยอมรับว่า ไม่ค่อยได้เปลี่ยนแปลงอะไร

    ถามว่าถ้าได้มีโอกาสกลับไปใหม่จะเปลี่ยนใจลาออกหรือไม่ เจ้าตัวบอกว่า เมื่อได้มาทำงานวิชาการ น่าจะมาถึงในจุดที่เรามีความพอใจที่จะสะท้อนปัญหาถึงตัวข้าราชการตำรวจเองด้วย แล้วเสียงสะท้อนจากประชาชนด้วย เราจะอยู่ตรงกลาง จะให้ความเห็นในฐานะนักวิชาการ ที่ไม่สามารถจะไปจินตนาการ แต่ต้องเป็นข้อมูลที่เราฟังมาอย่างรอบด้าน ประกอบกับองค์ความรู้ที่เราได้ศึกษามาจากการวิจัยด้วย รวมถึงความรู้ที่เราได้ศึกษาเล่าเรียนมาเป็นข้อเสนอไป



    ยืนยันยังเป็นตำรวจอยู่ในดีเอ็นเอ อยากทุกคนเททิ้งประโยชน์ส่วนตัวทิ้งไป

    “หมายความว่า ผมทำงานตรงนี้ ก็เหมือนยังเป็นตำรวจอยู่ แต่เป็นตำรวจที่ไม่ได้รับการแต่งตั้ง โยกย้าย ไม่ได้มีชั้นยศ เป็นตำรวจด้วยจิตวิญญาณ มีความเป็นตำรวจที่อยู่ในดีเอ็นเอ ไม่สามารถเอาไปจากเราได้ ยกเว้นเราตาย ก็จบกัน” รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์น้ำเสียงจริงจัง

    ฝากทิ้งท้ายถึงบุคลากรในองค์กรเก่าด้วยว่า ขอให้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นตัวตั้ง ต้องคิดว่าทำอะไรให้สังคมดีขึ้น ประเทศชาติดีขึ้น เพราะถ้าเราคิดเอาผลประโยชน์ของตัวเองเป็นตัวตั้ง สังคมเราก็จะไม่พัฒนา องค์กรตำรวจก็เช่นเดียวกัน

    “ใครมาอยู่ในจุดไหน ต้องคิดว่า ตำรวจจะต้องทำอะไรแล้ว ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจะดีมาก จะเกิดประโยชน์กับองค์กรได้มาก เหมือนคำถามว่าตำรวจจะเปลี่ยนแปลงได้ไหม ขอยืนยันว่า เปลี่ยนได้ แต่ต้องใช้เวลา” อดีตนายตำรวจคนดังระบุ

    ที่มา https://www.cops-magazine.com/topic/89286/
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...