พระสมเด็จ

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย phaderm, 13 สิงหาคม 2006.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    สมเด็จ 2408 ผมเจอแต่หน้าเดียวเลยครับ ไม่เคยเจอสองหน้าและมีกริ่งสักทีครับ แล้วก็มีหลายเนื้อ ใช่ไหมครับ สำหรับหนังสือผมใช้กล้องถ่ายเอาครับ ไม่ได้สแกนหรอกครับ ถ้าพี่คนเก่าสนใจผมจะลองหาวิธีดูครับ อ่านๆดูแล้วก็น่าสนใจดีครับ
     
  2. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    แถมครับ พระพิมพ์นี้ของสมเด็จท่าน มีจริงไหมครับ ด้านหลังจะเขียนไว้ว่า " ใครปลอม
    จักวิบัติ
    ยศ
    สม2411เด็จ
    พระยศเศรษฐี "
    ใช่พิมพ์ที่ท่านแช่งไว้ไหมครับ รู้สึกว่าจะมีหลายเนื้อเหมือนกัน เลยสงสัยอยู่ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT9078.JPG
      PICT9078.JPG
      ขนาดไฟล์:
      337.1 KB
      เปิดดู:
      1,324
    • PICT9087.JPG
      PICT9087.JPG
      ขนาดไฟล์:
      308.4 KB
      เปิดดู:
      996
  3. นักรบโบราณ

    นักรบโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +973
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">รูปแบบหรือพิมพ์ต่างๆในวัตถุมงคลของสมเด็จฯท่านจะเป็นปริศนาธรรมหรือบอกเล่าบางสิ่งบางอย่างเสมอครับ สุดแล้วแต่ใครจะพิจารณาหรือมีปัญญาเท่าใด แต่ที่บางท่านคิดว่าในเรื่องการสร้างวัตถุมงคลขององค์ท่านน่าจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ท่านไม่กดพระพิมพ์เอง ไม่โขลกหรือตำผงพระเอง เป็นต้นนี้ ผมอยากเรียนว่าอย่าเอาความรู้สึกนึกคิดของปุถุชนธรรมดาไปคาดเดาจริยาวัตรหรือการกระทำของพระอริยสงฆ์เลยครับ ไม่มีทางรู้ความจริงได้ตรงหรอก เพราะเป็นสิ่งเกิน"มนุษย์วิสัย" สมเด็จพระยศเศรษฐี2411องค์นี้ทันท่านแน่นอน มีหนังสือเก่าๆของคุณ สนิท กัลยาณมิตรเคยลงภาพให้ดูแต่เป็นภาพขาว-ดำ ผมแนะนำอย่างหนึ่งให้พยายามรักษาศีลแล้วฝึกสัมผัสพลังจากวัตถุมงคลที่แม่ชีณัฐทิพย์ท่านแนะนำไว้ในwebนี้ ถ้าพอมีอดีตสั่งสมมาบ้างไม่ช้าก็พอรู้และจะรู้ต่อไปอีกหลายอย่างเพราะยังมีสิ่งลี้ลับอีกมากมายที่จิตมนุษย์ไม่ได้ฝึกไม่อาจรู้ได้ เอาใจช่วยครับ
    </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. โคมฉาย

    โคมฉาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    3,058
    ค่าพลัง:
    +26,744
    สมเด็จแหวกม่าน
    แหวกออกจากปัญหาอุปสรรค์
    ไปสู่ความสำเร็จ
    ดูแล้วช่วยวิจารณ์หน่อยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00531.jpg
      DSC00531.jpg
      ขนาดไฟล์:
      647 KB
      เปิดดู:
      746
  5. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    สมเด็จยศเศรษฐี ไม่เคยเห็นครับ แต่ดูผิวพรรณแล้วชอบ ท่าทางเนื้อแกร่งเข้าตำรา น่าเก็บก่อนไว้เหมือนกัน หากตัวเลขแบบเตรียมอนุบาล

    ส่วนสมเด็จแหวกม่าน รูปไม่ชัดเท่าที่ควร แต่ลักษณะทำนองนี้ผมว่าผมมีเก็บไว้เหมือนกัน ดูเหมือนได้มาประมาณองค์ละ 20 บาท

    สมเด็จพิมพ์พิเศษที่ทำเทียมขึ้นมาขายก็มีนะครับ เอาผงของเดิมที่แตกหักมาบดผสมไปก็มี ใช่ว่าจะไม่มีทำขึ้นใหม่เสียเลย ถ้าคิดเก็บจากแผง ต้องไม่มองว่าเป็นสมบัติทางโลก อย่าโลภ อย่าคิดหวังรวย ต้องยึดมั่นในหลักความจริงว่า

    1.คนทั่วไปถือเป็นของสนาม จงให้ราคาแบบของสนาม ไม่เช่นนั้นมันจะหัวเราะเยาะเอา ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เขาหากินด้วยการโป้ปดหลอกลวง โดยเฉพาะการขายพระสมเด็จปลอม

    2.ของวิเศษหายากย่อมเป็นสมบัติของคนมีเชื้อแห่งความวิเศษอยู่บ้าง คือความดีมีศีลธรรม ถามตัวเองว่าเราดีพอหรือยัง ถ้ายัง ก็อย่าไปหา จะเสียเงินเปล่า หรือถ้ามองเป็นสมบัติ ตามเก็บหวังกักตุน หวังเผื่อฟลุ้ก ต่อไปเกิดนิยมแพร่หลายราคาแพง จะได้ขายให้รวย คิดอย่างนี้น่ะดีพอแล้วหรือ

    ผมเองก็ใช่ว่าจะไม่เคยโดน โลภทีไรโดนทุกทีเหมือนกัน แต่ถ้าตั้งใจไปหาของแจกพุทธบริษัท ท่านก็จะเมตตาให้ได้ของแท้

    เป็นกฎธรรมชาติหลักการเดียวกับการได้ทิพยอำนาจ หากความอยากนั้นยังข้องอยู่ในจิตก็จะเป็นนิวรณ์ ขัดขวางมิให้มีผล หากละความอยากลงได้ จิตตั้งมั่นในด้านกุศล จิตสะอาดผ่องใสเป็นฌาน ทิพยอำนาจย่อมเกิดได้ ฉันใดก็ฉันนั้น
     
  6. นักรบโบราณ

    นักรบโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +973
    พระของคุณโคมฉาย เท่าที่ทราบ ไม่ได้เรียก สมเด็จแหวกม่านครับ เพราะเป็นวิมาน แล้วพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญสมาธิประทับอยู่ในวิมานซึ่งก็หมายถึงพระนิพพาน เป็นบรมสุขครับ
     
  7. นักรบโบราณ

    นักรบโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +973
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off"></TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">ส่วนพระของคุณคนเก่านั้นเท่าที่พอทราบบ้างเล็กน้อยคือที่บรรจุอยู่ด้านในไม่ใช่เม็ดกริ่งธรรมดาแต่เป็นพระธาตุหรือเหล็กไหลครับ พลังกฤติยาจึ่งเสมือนคูณสอง พระสวยมากครับยินดีด้วยที่ได้ครอบครอง เป็นไปตามกำลังบารมีของแต่ละคนบางคนมีกำลังทรัพย์แต่ก็ไม่สามารถเสาะหาได้ วัตถุมงคลต่างๆพระอริยเจ้าท่านสร้างไว้เป็นเครื่องผูกจิตมนุษย์ให้อยู่ในคุณงามความดีครับ
    </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  8. boko0121

    boko0121 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +7,736
  9. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    ขอบคุณครับ เคยมีผู้ตาดีดูว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุครับ
     
  10. เอกวัฒน์

    เอกวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    359
    ค่าพลัง:
    +2,431
    ว่างๆน่าไปเดินท่าพระจันทร์กันเนอะ พระเยอะดี
     
  11. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    พระของผมที่โพสมาทั้งหมด ผ่านการตรวจพลังอิทธิคุณ จากอาจารย์ตาดีของผมทุกองค์ครับ ใครรู้จักท่าน เห็นรูปแล้วร้อง อ๋อ ครับ... จะบอกให้นะครับ พระสนามองค์ละ 10-20 เนี่ยแหละครับ พลังอิทธิคุณเต็มเปี่ยม ที่เห็นออกมาเต็มเยอะแยะเนี่ย เพราะว่า คนที่เอาไปเก็บไว้เป็นคันรถๆ สมัยบูรณะวัดพระแก้ว หาที่ปล่อยไม่ได้แล้ว ได้มาฟรีเลยต้องออกตัวในราคาแค่นี้ เพราะเซียนพระก็ไม่มีใครเอาครับ ปั่นราคาก็ไม่ได้พระเยอะมาก หาจุดจำกัดไม่ไหว อันนี้ผมไม่ได้คิดเอาเองนะครับ อาจารย์ตาดีท่านบอกครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2007
  12. นักรบโบราณ

    นักรบโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +973
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">อนุโมทนาครับคุณ tg22072 ครูบาอาจารย์สร้างสิ่งสูงค่าไว้มากมาย สุดแต่ใครจะรู้ค่า รู้ประโยชน์เท่าไหร่ เพียงไรเท่านั้น จงรู้จักคุณค่าและประโยชน์ของสมมติ แต่อย่าติดสมมติเพราะจะทำให้ไม่พบวิมุตติ
    </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    ชิๆ รู้แล้วมาหลอกถามชาวบ้านอีก ระวังนา ถ้าอาจารย์ตาดีท่านทรงความเป็นพระอริยะ เท่ากับปรามาสพระได้ง่ายๆ

    แต่ยังไงก็สู้ผมไม่ได้ อิๆ ผมได้ต่ำสุดเพียงองค์ละ 4 บาทเอง ไปจ้างทำอาจได้ไม่ถูกเท่านี้ แถมดูไม่เก่าอีกตะหาก ต้องเสียค่าทำเก่าอีก
     
  14. ไอ้ใบ้

    ไอ้ใบ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2005
    โพสต์:
    2,252
    ค่าพลัง:
    +7,241
    อ้อยก็ได้พระพิมพ์แบบนี้เหมือนกันค่ะ ในราคา 200 บาทแต่ภูมิใจเพราะเงินเข้าวัดค่ะ
     
  15. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    แหะ ๆ อย่าเคืองน่า... พี่คนเก่า ตอนแรกผมก็ไม่รู้หรอก ว่าดีหรือเปล่า โพสแล้วผมก้อ เอาไปให้อาจารย์ตาดี ท่านตรวจอ่ะครับ พอดีผมไปเจอ ประวัติสมเด็จโต โดย มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) เข้าเดี๋ยวจะมาโพสให้อ่านกันนะครับ

    ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    · คำปรารภและอนุมานสันนิษฐานว่า ประวัติเรื่องความเป็นไปของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) <o:p></o:p>
    ครั้งในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพฯ นั้นมีความเป็นมาประการใด เพราะเจ้าพระคุณองค์นี้เป็นที่ฤาชาปรากฏเกียรติศัพท์เกียรติคุณเกียรติยศ ขจรขจายไปหลายทิศหลายแคว มหาชนพากันสรรเสริญออกเซ็งแซ่กึกก้องซ้องสาธุการ บางคนก็บ่นร่ำรำพรรณประสานขาน ประกาศกรุ่นกล่าวถึงบุญคุณสมบัติ จริยสมบัติ ของท่านเป็นนิตกาลนานมา ทุกทิวาราตรีมิรู้มีความจะจืดจางฯ<o:p></o:p>
    · อนึ่งพระพุทธรูปของที่ท่านสร้างไว้ในวัดเกตุไชโย ใหญ่ก็ใหญ่โตก็โต วัดหน้าตักกว้างถึงแปด<o:p></o:p>
    เศษนิ้ว เป็นพระก็ก็สูงลิ่ว เป็นพระนั่งทั้งศักดิ์สิทธิ์ ดูรุ่งเรื่องกระเดื่องฤทธิ์มหิศรเดชานุภาพ พระองค์นี้เป็นที่ทราบทั่วกันแล้วตลอดประเทศว่าเป็นพระที่มีคุณพิเศษสามารถอาจจะบันดาลดับระงับทุกข์ภัยไข้ป่วยช่วยป้องกันอันตรายได้ จึงดลอกดลใจให้ประชาชนคนเป็นอันมาก หากมาอภิวันทนาการ สักการะบูชาพลีกรรม บรรณาการเส้นสรวงบวงบล บางคนมาเผดียงเสี่ยงสัตย์อธิษฐาน ก็อาจสำเร็จเสร็จสมปณิธานที่มุ่งมาตร์ปรารถนา จึงเป็นเหตุให้มีสวะนะเจตนาแก่มหาชนจำนวนมากว่าร้อยคน คิดใคร่จะรู้ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม บ้างก็คืบเที่ยวสืบถามความเป็นไปแต่หลังๆ แต่คราวครั้งดั้งเดิม เริ่มแรกต้นสกุลวงศ์เทือกเถาเหล่ากอ พงษ์พันธุ์พวกพ้อง พื้นภูมิฐาน บ้านช่องข้องแขว แควจังหวัด เป็นบัญญัติของสมเด็จนั้นเป็นประการใดนานมาแล้วจะถามใครๆ ไม่ได้ความ หามีใครตอบตรงคำถามให้ถ่องแท้ จึงได้พากันตรงแร่เข้ามาหา นาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><st1:personName w:st="on" ProductID="พร้อม สุดดีพงศ์">พร้อม สุดดีพงศ์</st1:personName> ตลาดไชโย เมืองอ่างทอง จึงได้รีบล่องลงมาสู่หา ท่านพระมหาสว่าง วัดสระเกษ นมัสการแล้วยกเหตุขึ้นไต่ถาม ตามเนื้อความที่ชนหมู่มากอยากจะรู้ จะดูจะฟังเรื่องราวแต่คราวครั้งต้นเดิมวงศ์สกุล ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) นั้นเป็นฉันใด ขอพระคุณให้สำแดงให้แจ้งด้วยฯ<o:p></o:p>
    · ตั้งแต่เดิมเริ่มแรก ต้นเดิมวงศ์สกุลของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) องค์นี้ตั้งคฤหสถานภูมิลำเนา<o:p></o:p>
    สืบวงศ์พงศ์เผ่า พืชพันธุ์พวกพ้อง เป็นพี่น้องต่อแนวเนื่องกันมาแต่ครั้งเก่าบุราณนานมา ณ แถบแถวที่ใกล้ใต้เมืองกำแพงเพชร เป็นชนชาวกำแพงเพชรมาช้านาน ครั้นถึงปีระกา สัปตศกจุลศักราช ๑๑๒๗ ปี จึงพระเจ้าแผ่นดินอังวะ ภุกามประเทศยกพลพยุหประเวสน์สู่พระราชอาณาเขตต์ประเทศสยามนี้ กองทัพพม่ามาราวี ตีหัวเมืองเอกโทตรีจัตวา ไล่ลุกเข้ามาทุกทิศทุกทางทั้งบกทั้งเรือ ทั้งปากใต้ฝ่ายเมืองเหนือและทางตะวันตก ยกเว้นไว้แต่ทิศตะวันออกหัวเมืองชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นโท ต่อรบต้านทานทัพพม่าไม่ไหว ก็ต้องล่าร้างหลบหนีซ่อนเร้นเอาตัวรอด ราษฎรก็พากันทอดทิ้งภูมิลำเนาสถานบ้านเรือน เหลี่ยมหลี้หนีหายพรัดพรากกระจายไป คนละทิศคนละทางห่างๆวันกัน ในปีระกาศกนั้น จำเพาะพระยาตาก(สิน) เจ้าเมืองกำแพงเพชรก็หาได้อยู่ดูแลรักษาเมืองไม่ มีราชการเข้าไปรับสัญญาบัตรเลื่อนที่เป็นพระยาวชิรปราการ แล้วยังมิได้กลับมา พอทราบข่าวศึกพม่าเสนาบดีให้รอรับพม่าอยู่ในกรุงนั้น ครั้นทัพหน้าพม่ารุกเข้ามาถึงกรุง พระยาวชิรปราการก็ต้องคุมพลรบพุ่งต้านทานรบรับทัพพม่า พม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยานั้นไว้ กองทัพพม่ามาล้อมกรุงเก่าคราวนั้นเกือบสามปีฯ<o:p></o:p>
    · ครั้นถึงปีกุนนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ ปี ถึง ณ วันอังคารเดือนห้า แรมเก้าค่ำ เวลาบ่ายสามโมงเย็น พม่าจึงนำปืนใหญ่เข้าระดมยิงพระมหานคร พระมหานครก็แตกเสียแก่พม่าในวันอังคาร เดือนห้า ขึ้นเก้าค่ำ ปีกุนศกนั้นฯ<o:p></o:p>
    · ฝ่ายพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรได้ถือพล ๕000 ช่วยป้องกัน พระมหานคร ครั้นเห็นว่าชาตากรุงขาด ไม่สามารถจะต่อสู้พม่าได้ก็พาพล ๕000 นั้น ฝ่าฟันหนีออกไปทางทิศตะวันตก ข้ามไปทางเพนียดคล้องช้าง เดินทางไปเข้าเขตเมืองนครนายก แล้วข้ามฟากไปแย่งเอาเมืองจันทรบุรี ตีได้แล้วก็เข้าตั้งมั่นบำรุงพลพาหนะลำเลียงเสบียงอาหาร สรรพศาสตราวุธยุทธภัณฑ์ไว้พร้อมมูลบริบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็ตั้งตัวเป็นเจ้าชาวเมืองเรียกว่าพระยาตาก ตั้งอยู่เมืองจันทรบุรีก๊กหนึ่งในคราวนั้นฯ<o:p></o:p>
    · ครั้นถึงปีชวดสัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๑๓0 ปี พระเจ้าตาก(สิน) ได้ยกพลโยธีแสนยากรเป็นกองทัพ เข้าบุกบั่นรับทัพพม่า ตั้งแต่เมืองปากใต้ฝ่ายตะวันตกวกเข้าตีกองทัพพม่ามาถึงกรุงเก่า กองทัพพม่าสู้มิได้ก็แตกฉานล่าถอยขึ้นไปทางหัวเมืองฝ่ายเหนือแล้วก็เข้าชิงเอากรุงเก่าคืนจากเงื้อมือพม่าข้าศึกได้แล้ว ลอยขบวนมาตั้งราชธานีที่เมืองธนบุรี ตำบลที่วัดมะกอกนอก เหนือคลองบางกอกใหญ่ ใต้คลองคูวัดระฆังโฆสิตาราม ทรงขนานนามเมืองว่ากรุงธนบุรี พระนามาภิธัยว่า พระเจ้ากรุธนบุรี แต่ปีชวดศกนั้นมาฯ<o:p></o:p>
     
  16. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    · จีงหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ออกไปตั้งคฤหสถานบ้านเรือนครอบครองทรัพย์สมบัติอยู่ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ได้เข้ามาพร้อมด้วยเอกะภรรยาและน้องแลบุตรทั้ง ๔ เข้ามารับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรี ๆ ได้ทรงตั้งให้หลวงยกกระบัตรเป็นที่พระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ถือศักดินา ๑๖00 ไร่ จึงตั้งคฤหสถานบ้านเรือนอยู่เหนือพรราชวังหลวง ใต้วัดบางว้าใหญ่(คือวัดระฆังในบัดนี้) ในปีชวดศกนั้นเองพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานเกียรติยศเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ ยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าพิมายมีชัยชำนะกลับลงมา ทรงพระกรุณาเลื่อนขึ้นเป็นที่พระยาอภัยรณฤทธิ์จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ทรงศักดินา ๓000ไร่ ครั้นถึงปีขาลโทศก ๑๑๓๒ ปี พระเจ้ากรุงธนบุรีรับสั่งให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ ถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบเจ้าพระฝาง เมืองสวางคบุรี ตีกองทัพเจ้าพระฝางแตก จับตัวเจ้าพระฝางได้พร้อมทั้งช้างพังเผือกกับลูกดำ จับตัวและพรรคพวกและช้างลงมาถวาย ส่วนพระยาอภัยรณฤทธิ์รั้งหลังเพือจัดการบ้านเมืองฝ่ายเหนือป่าวร้องให้อาณาประชาราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้รวมเข้ามาเป็นหมวดหมู่ตั้งอยู่ดังเก่า ตามภูมิลำเนาเดิมของตน ที่ขัดขวางยากจนก็แจกจ่ายให้ปันพอเป็นกำลังสำหรับให้ตั้งตัวต่อไปในภายหน้า เมื่อขณะนี้เองชาวเมืองเหนือจึงได้พากันนิยมสวามิภักดี ต่อท่านพระยาอภัยรณฤทธิ์ รักใคร่สนิทแต่คราวนั้นเป็นต้นเป็นเดิมมา เมื่อกองทัพกลับแล้ว พวกราษฎรชาวเมืองเหนือบางครัว จึงได้พากันมาอยู่ในกรุงเก่าบ้าง เมืองอ่างทองบ้าง เมืองปทุมบ้าง เมืองนนบุรีบ้าง เมืองพระประแดงบ้าง ในกรุงธนบุรีบ้าง ในบางขุนพรหมบ้าง ต่างจับจองจำนองที่ดินซื้อหา ตามกำลังและวาสนาของตนๆ เป็นต้นเหตุ ที่มีผู้คนคับขันขึ้น ทั้งในกรุงและหัวเมืองแน่นหนาขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นลำดับมาฯ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    · ส่วนพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงเลื่อนที่ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ขึ้นเป็นเจ้าพระยายมราชเสนาบดีที่จตุสดมภ์ กรมพระนครบาล ทรงศักดินา ๑0000 ไร่ พรรษายุกาลได้ ๓๔ ปี ในปลายปีขาลศกนั้นเอง พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเลื่อนที่ เจ้าพระยมราชขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก อรรคมหาเสนาบดี กระทรวงมหาดไทยทรงศักดินา ๑0000 ไร่ฯ<o:p></o:p>
    · ครั้นถึงปีเถาะตรีศกจุลศักราช ๑๑๓๓ ปี พระเจ้ากรุงธนบุรี มีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ต่างพระองค์ ยกกองทัพใหญ่ออกไปปราบปรามเมืองเขมรกัมพูชาประเทศก็มีชัยชำนะเรียบร้อยกลับมา ได้รับพระราชทานรางวัลพิเศษฯ<o:p></o:p>
    · ครั้นถึงปีมะเมียฉศก จุลศักราช ๑๑๓๖ ปี มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ ยกกองทัพใหญ่ขึ้นไปล้อมเมืองเชียงใหม่ที่พม่ารักษาอยู่นั้น พม่าซึ่งรักษาเมืองเชียงใหม่ได้ความอดอยากยากแค้นเข้าก็พากันละทิ้งเมืองเชียงใหม่เสียแล้วหนีไปสิ้น ก็ได้เมืองเชียงใหม่โดยสะดวกง่ายดาย ในปลายปีมะเมียฉศกนั้นเอง อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าอายุ ๗๒ ปี เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ในพระเจ้ามังระ กรุงอังวะ ครั้งนั้นพระเจ้าอังวะ มีพระราชโองการรับสั่งให้อะแซหวุ่นกี้ถืออาญาสิทธิ์ยกทัพใหญ่เดินกองทัพเข้ามาถึงด่านเมืองตาก แล้วให้พม่าล่ามถามนายด่านว่า พระยาเสืออยู่รักษาเมืองหรือไม่ นายด่านตอบว่าพระยาเสือไม่อยู่ยังไม่กลับฯ<o:p></o:p>
    · อะแซหวุ่นกี้จึงหยุดกองทัพหน้าไว้นอกด่าน แล้วประกาศว่าให้เจ้าเมืองเขากลับมารักษาเมืองเสียก่อน จึงจะยกเข้าตีด่าน เลยเข้าตีเมืองพิษณุโลกทีเดียวฯ (เขียนตามพงศาวดารพม่า)<o:p></o:p>
    · สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงทราบข่าวศึก จึงกรีฑาทัพหลวงขึ้นไปรักษาเมืองพระพิษณุโลกไว้ แล้วให้หากองทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่ ครั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ทราบว่ากองทัพพม่าอยู่ปลายด่านเมืองตาก และทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกรีฑาทัพหลวงขึ้นมาประทับอยู่เพื่อป้องกันรักษาเมืองพิษณุโลกด้วย จึงรีบยกกองทัพกลับ ครั้นถึงเมืองพิษณุโลกแล้วเข้าเฝ้าถวายบังคมเจ้าพระยาจักรีอยู่จัดการเมืองเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว ได้เลยตั้งข้าหลวงไปพูดจาปลอบโยนชี้แจงแนะนำเจ้าเมืองแพร่ เจ้าเมืองน่าน เจ้าเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำพูน เป็นต้นเหล่านี้ ยอมสวามิภักดีต่อกรุงเทพฯ ขอพึ่งพระบารมีโพธิสมภารเป็นข้าขอบขัณฑสีมาสืบไปตลอดกาลนาน เจ้าพระยาจักรีจึงได้เลิกทัพพาเจ้าลาวและพระยาลาวทั้งปวง ลงมาถึงเมืองพิษณุโลก เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลพร้อมกัน ณ เมืองพิษณุโลกนั้นฯ<o:p></o:p>
    · สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระโสมนัสนัก จึงได้พระราชทานฐานันดรศักดิ์เจ้าลาว พระยาลาวทั้งปวงนั้นให้กลับขึ้นไปรักษาเมืองดังเก่า แล้วจึงพระราชทานรางวัลเป็นอันมากแก่เจ้าพระยาสุรสีห์นั้น ได้ออกไปรักษาด่านหน้าเมืองตากโดยแข็งแรงกวดขันมั่นคงทุกประการฯ<o:p></o:p>
     
  17. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    • ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพใหญ่พม่า ทราบว่าเจ้าพระยาเสือกลับมาแล้ว ออกมารักษาด่านอยู่ จึงสั่งให้มังเรยางู แม่ทัพหน้าพม่าเข้าตีด่าน ฝ่ายทหารรักษาด่านต้านทานทหารพม่าไม่ไหวก็ร่นเข้ามา กองทัพพม่าก็ตีรุกเข้าไปแล้วตั้งค่ายมั่นลงภายในด่านถึง ๓0 ค่ายฯ
    • ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีทราบว่า กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์เสียด่านร่นเข้ามา จึงกราบบังคมทูลรับอาสาช่วยเจ้าพระยาสุรสีห์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระราชโองการรับสั่งว่า ข้าก็อยากเห็นความคิดสติปัญญาของเจ้าและฝีมือของเจ้าว่าจะเข้มแข็งสักเพียงใด ข้าจะขอดูด้วย จงรีบออกไปช่วยสุรสีห์เถิดฯ
    • เจ้าพระยาจักรีกราบถวายบังคมลา ออกมาจัดขบวนทัพพร้อมสรรพ์ แล้วยกออกไปถึงค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ แล้วจึงเจรจาว่า เจ้าถึงแม้ว่าจะเป็นขุนนางผู้ใหญ่ก็จริงอยู่ แต่เจ้าเป็นขุนนางบ้านนอก อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่านั้น เขาเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่อยู่ในเมืองหลวงพม่าทั้งเขากอปรด้วยความคิดสติปัญญาเยี่ยมยิ่งอยุ่ ความรู้ก็พอตัวที่จะรบเอง ต่อแต่นั้นมา เจ้าพระยาจักรีก็จัดทัพออกรุกรับรบพุ่งกับกองทัพอะแซหวุ่นกี้เป็นหลายครั้ง ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ล่วงวันและเวลาช้านานมา จนถึงเดือนห้าเดือนหก ปีมะแมสัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ ปี เป็นปีที่๘ ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ
    • ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่า ก็คิดขยาดระอิดระอา ทั้งทางเมืองพม่าก็ชักจะวุ่นวายขึ้น ทั้งเสบียงอาหารก็บกพร่องจวนเจียนไม่พอจ่าย จึงคิดเพทุบายถามว่า ใครผู้ใดออกมาเป็นแม่ทัพใหญ่บัญชาการ ทหารไทยบอกไปว่าเจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ อะแซหวุ่นกี้จึงประกาศหย่าทัพ ขอดูตัวแม่ทัพไทยฯ
    • ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี ก็สั่งสงบชั่ววันกำหนด เจ้าพระยาจักรีก็จัดขบวนยืนทัพเสด็จ ส่วนเจ้าพระยาจักรีก็แต่งตัวอย่างจอมโยธาเต็มที่ ขี่ม้าสีแดง เหน็บกระบี่กั้นกรด ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งของที่ได้รับพระราชทานทั้งนั้นฯ
    • เวลานั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จทอดพระเนตรอยู่ในค่ายนั้นด้วยได้ทรงทอดพระเนตรเห็นกิริยาท่าทางสุภาพองอาจ และท่วงทีรูปโฉมของเจ้าพระยาจักรี เมื่อแต่งตัวออกยืนทัพรับอะแซหวุ่นกี้คราวนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระเกษมสันต์โสมนัสปราโมทย์ถึงกับออกพระโอษฐรับสั่งชมว่า งามเป็นเจ้าพระยากษัตริย์ศึกเจียวหนอ แต่นั้นมานามอันนี้ จึงเป็นนามที่แม่ทัพนายกองแลทหารทั้งปวงพากันนิยมเรียกว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึกแต่คราวนั้นมา ในกองทัพพม่าก็พลอยเรียกว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึก ตลอดจนไปถึงทางราชการฝ่ายพม่า ก็ได้จดหมายเหตุลงพงศาวดารไว้ว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพฝ่ายไทยได้รบกับอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่า ที่เมืองพระพิษณุโลก เมื่อปีมะเมียถึงปีมะแมสัปตศกจุลศักราช ๑๑๓๗ ปี ครั้นเมื่อทอดพระเนตรแลทรงชมเชยแล้ว ก็ยาตรากระบวนออกยืนม้าหน้าพลเสนา ณ สนามกลางหน้าค่ายทั้งสองฝ่ายฯ
    • ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ก็จัดกระบวนแต่งตัวเต็มที่อย่างจอมโยธา ออกยืนอยู่หน้ากระบวน ณ กลางสนาม หน้าค่ายทั้งสองฝ่ายเช่นเดียวกัน (ตอนดูตัวนี้ความพิศดารมีแจ้งอยุ่ในพระราชพงศาวดาร) ครั้นอะแซหวุ่นกี้ ได้เห็นได้เจรจาชมเชย พูดจาประเปรยตามชั้นเชิงพิชัยสงครามแล้วก็นัดรบต่อไป แต่อะแซหวุ่นกี้ คิดจะล่าทัพถอยกลับกรุงอังวะเป็นอย่างมากกว่าจะคิดแข็งใจรบเอาเมืองพิษณุโลก แต่แตกแล้วก็ร่นถอยล่าไปออกทางพระเจดีย์ ๓ องค์ ทำกิริยาท่าทางเหมือนจะไปชิงเอาเมืองกำแพงเพชร ทำให้แม่ทัพฝ่ายไทยต้องแบ่งออกเป็นหลายกองติดตามตีพม่า ก้าวสกัดหน้าตีวกหลังตามเชิงกลยุทธ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็เสด็จกลับเข้ากรุงธนบุรีป้องกันพระราชธานีต่อไปฯ
    • ฝ่ายพระยาจักรีนั้น ครั้นส่งเสด็จแล้วจึงจัดกองทัพออกติดตามสกัดจับพม่าตีรุกหลังพม่าแตกฉานเป็นหลายทัพจับได้ลี้พลช้างม้าเป็นอันมาก ทั้งตัวเจ้าพระยาจักรีเอง ก็ยกทัพหนุนไปด้วยจนถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วจัดการพิทักษ์รักษาเมืองโดยกวดขันส่วนตัวของท่านเจ้าพระยาเอง ก็ออกขี่ม้าสำรวจตรวจตรากองทัพน้อยๆ ทั่วไป เพราะใส่ใจต่อหน้าที่ราชการจนพม่าไม่กล้าหาญชิงเอาเมืองเหนือได้ ต้องส่งออกไปยังด่านชั้นนอกพ้นเขตแดนสยามกองทัพไทยไล่จับพม่าที่ล้าหลังได้ไว้เป็นกำลังราชการเป็นอันมาก ทัพอะแซหวุ่นกี้ล่าทัพออกพ้นประเทศอาณาเขตสยามในคราวนี้ ตามกำหนดมีว่าเดือน ๗ ปีมะแม สัปตศกจุลศักราช ๑๑๓๗ ปีฯ
    • ครั้นนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าวกลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพงจำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้ข้ากินสักขันเถิด นาวสาวคนนั้นจึงวิ่งด่วนเข้าไปในห้องหยิบได้ขันล้างหน้าใบหนึ่งแล้วจ้วงตักน้ำในหม้อลั่น แล้วล้วงไปหักดอกบัวหลวงในหนองน้อยข้างโรงนั้นสองสามดอก แล้วฉีกกลีบเด็ดเอาแต่เกษรบัวโรยลงไปในขันน้ำนั้นจนเต็ม แล้วนำไปส่งให้บนหลังม้า เจ้าคุณแม่ทัพรับเอามาเป่าเกษรเพื่อแหวกหาช่องน้ำแล้วต้องเอาริมฝีปากเบื้องบนเม้มเกษรไว้ แล้วดูดดื่มน้ำจนหมดขันด้วยอยากกระหายน้ำ ครั้นดื่มน้ำหมดแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพจึงถามนางสาวคนนั้นว่า เราอยากกระหายน้ำ สู้อุตส่าห์บากหน้ามาขอน้ำเจ้ากิน เหตุไฉนจึงแกล้งเราเอาเกษรบัวโรยลงส่งให้ เรากินน้ำของเจ้าลำบากนัก เจ้าแกล้งทำเล่นแก่เราหรือฯ
    • นางสาวคนนั้นตอบว่า ดิฉันจะได้คิดแกล้งท่านก็หาไม่ ที่ดิฉันเอาเกษรบัวโรยลงในขันน้ำให้เต็มนั้น เพราะดิฉันเห็นว่าผากแดดแผดลมเหนื่อยมา และกระหายน้ำด้วยก็เพื่อจะป้องกันเสียซึ่งอันตรายแห่งท่าน เพื่อจะกันสำลักน้ำและสะอึกน้ำ และกันจุกแน่นแห่งท่านผู้ดื่มน้ำของดิฉัน ถ้าท่านไม่มีอันตรายในการดื่มน้ำแล้ว น้ำจะได้ทำประโยชน์แก้กระหายแห่งท่าน ดิฉันจะพลอยได้ประโยชน์เพราะให้น้ำแก่ท่าน ท่านสมปรารถนาแล้วก็จะเป็นบุญแก่ดิฉัน เหตุนี้ดิฉันจึงโรยเกษร เจ้าคุณแม่ทัพฟังนางสาวตอบอย่างไพเราะอ่อนหวาน ถ้อยคำที่ให้การมานั้นก็พอฟัง จึงลงมาจากหลังม้าแล้วถามว่า ตัวของเจ้าก็เป็นสาวเป็นเนื้อแล้วมีใครๆ มาหมั้นหมายผูกสมัครรักใคร่เจ้าบ้างหรือยัง นางสาวบอกว่ายังไม่เห็นมีใครๆ มารักใคร่หมั้นหมายดิฉัน และดิฉันก็ยังไม่ได้ไปเที่ยวบอกใครว่าเป็นสาวมัวแต่หลบหัวซ่อนตัวอยุ่ ด้วยบ้านเมืองเกิดยุ่งนุงถุงมานานจนกาลบัดนี้ จึงมิได้มีใครเห็นว่าดิฉันเป็นสาว เจ้าคุณแม่ทัพว่า ถ้ากระนั้นเราเองเป็นผู้ที่ได้มาเห็นเจ้าเป็นสาวก่อนคน เจ้าต้องยอมตกลงเป็นคู่รักของเรา เราจะต้องเป็นคู่ร่วมรักของเจ้าสืบไป เจ้าจะพร้อมใจยินยอมเป็นคู่รักของเราโดยสุจริตหรือว่าประการใดฯ
    • นางสาวตอบว่า การที่ท่านจะมาเป็นคู่รักของดิฉันนั้น ก็เป็นพระเดชพระคุณยิ่งอยู่แล้ว แต่ทว่าการจะมีผัวมีเมียกันตามประเพณีนั้น ดิฉันไม่ทราบเรื่อง จะว่าประการใดแก่ท่านก็ไม่มีอะไรจะว่า เรื่องการผัวการเมียนั้นท่านต้องเจรจากับผู้ใหญ่จึงจะทราบการ เจ้าคุณแม่ทัพถามว่า ผู้ใหญ่ของเจ้าไปไหน นางสาวตอบว่าไปรดน้ำถั่วจวนจะกลับแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพขยับเดินเข้าให้ใกล้ นางสาวไพล่วิ่งปรู๋ออกแอบที่หลังโรงเลยไม่เข้าหา ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็ต้องนั่งเฝ้าโรงคอยท่านบิดามารดาของนางสาวต่อไป จนเกือบตะวันตกดินจวนค่ำฯ
    • ฝ่ายตาผล ยายลา กลับมาถึงโรงแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพได้เห็นแล้วจึงยกมือขึ้นไหว้ ตายายก็น้อมตัวก้มลงไหว้ตอบ ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็ก้มลงไหว้ให้ต่ำลงไปอีก ตายายก็หมอบลงไปไหว้อีก ท่านแม่ทัพก็หมอบไหว้อยู่นั้น ต่างคนต่างหมอบแต้วกันอยู่นั้นทั้งสองฝ่าย ฝ่ายยายแกเป็นคนปากเร็ว แกนึกขันและประหลาดใจแกจึงเปิดปากถามออกไปก่อนว่า นี่เป็นขุนนางมาแต่บางน้ำบางกอก เหตุไฉนจึงมาหมอบกราบไหว้ข้าเจ้า เป็นชาวบ้านนอกเป็นชาวทุ่งชาวป่า เป็นคนยากจน ท่านจะมาหมอบไหว้ข้าพเจ้าทำไม เจ้าคุณแม่ทัพบอกว่า ฉันจะสมัครเข้ามาเป็นลูกเขยท่านทั้งสองจ๊ะจ๊ะฯ
    • ยายถามว่าท่านเห็นดีเห็นงามอย่างไร เห็นลูกสาวฉันเป็นอย่างไร ท่านจึงจะมายอมตัวเป็นลูกเขยเล่า เจ้าคุณแม่ทัพว่า ฉันเห็นบุตรสาวท่านดีแล้วพอใจแล้วจึงเข้ามาอ่อนน้อมยอมตัวเป็นลูกเขยท่าน ท่านเจ้าคุณแม่ทัพเล่าถึงกาลแรกมาขอน้ำ และนางเอาเกษรบัวโรยลงและได้ต่อว่านางได้โต้ตอบถ้อยคำน่าฟังน่านับถือจึงทำให้เกิดความรักปราณีขึ้น และตั้งใจจะเลี้ยงดูจริงๆ จึงต้องทนอยู่คอยท่าน เพื่อจะแสดงความเคารพและขอเป็นเขย ขอให้แม่พ่อมีเมตตากรุณาเห็นแก่ไมตรีที่ได้มาอ่อนน้อมพูดจาโดยเต็มใจจริงๆ ไม่ได้มีแยบยลอะไร ตั้งใจช่วยทนุบำรุงนางสาวกับพ่อแม่ให้บริบูรณ์พูลเถิดไม่เริดร้างจริงๆ ตามวาจาที่ว่ามานี้ทุกอย่าง ขอพ่อแม่ได้โปรดอนุญาติยกนางสาวลูกนั้นให้เป็นสิทธิแก่ฉันในวันนี้ ยายตาแกร้องขึ้นด้วยความตกใจว่า โอตายจริงข้าเจ้าเป็นคนยากจนข่นแค้นและต่ำศักดิ์ ทั้งผ้าผ่อนที่หลับที่นอนก็เหม็นตืดเหม็นสาบ ทั้งเครื่งเย้ามาเรือนก็ขัดขวาง ทั้งถ้วยชามรามไหมที่ดีงามก็ไม่มีฉิบหายป่นปี้แต่ครั้นบ้านเมืองเกิดยุ่งนุงนังหลายครั้งหลายครามา แลตัวนางหนูเล่าก็ยังไม่เป็นภาษา ทั้งจริตกิริยาก็ยังป่าเถื่อนไม่เหมือนชาวใต้ จะใฝ่สูงเกินศักดิ์เกินสมควรไปละกระมังพ่อคุณฯ
    • เจ้าคุณแม่ทัพว่า ข้อนั้นพ่อแม่อย่ามีความวิตกหวาดกลัวอะไรเลย ข้อสำคัญก็คือแม่พ่อยกให้เป็นกรรมสิทธิแก่ฉันเด็ดขาดแล้ว ต่อไปเป็นหน้าที่ของฉันฝ่ายเดียว ตามที่แม่พ่อยกขึ้นเป็นทางปรารมภ์นั้น เป็นธุระของฉันหมดทุกอย่าง ขอแต่ว่าอย่าเกี่ยงงอนขัดขวางดิฉันเลยฯ
     
  18. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    • ยายลา ตาผล ขอทุเลาถามเจ้าตัวว่า มันจะอยากมีผัวหรืออย่างไรไม่ทราบ แล้วก็ออกไปตามหาที่หลังโรง ตายายพูดจากับลูกสาว ลูกสาวพูดกับพ่อกับแม่ได้ยินแต่กระจู๋กระจี๋กระเส่าๆ กระซิบกระซาบอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็กลับมา แล้วนั่งลงถามว่าในเวลานี้ท่านก็มาแต่ตัวกับม้าตัวหนึ่ง ถ้าหากว่าดิฉันทั้งสองจะพร้อมใจยกอีงุดลูกสาวฉันให้เป็นเมียท่าน ท่านจะจัดการประการใดแก่ดิฉันเพื่อให้เป็นมงคล จงว่าให้ดิฉันฟังก่อนเถิดเจ้าข้ะฯ
    • เจ้าคุณแม่ทัพ ถอดแหวนออกจากนิ้วแล้วบอกว่าแหวนวงนี้มีราคาสูง ถ้าว่าท่านบิดามารดายินยอมพร้อมใจกันยกแม่งุดให้เป็นเมียเป็นสิทธิแก่ฉันแล้ว ฉันจะยกแหวนวงนี้ ตีราคาทำสัญญาให้ไว้เป็นสินถ่าย ๒0 ชั่ง คิดเป็นทุนเป็นค่าทองหมั้นขันหมากผ้าไหว้อยู่ใน ๒0 ชั่ง ทั้งค่าเครื่องเย่าเครื่องเรือนเบี้ยเลี้ยงค่าเลี้ยงค่าดู ค่าเครื่องเส้นวักตั๊กกระแตนเสร็จในราคา ๒0 ชั่ง ด้วยแหวนวงนี้สองตายายได้ฟังดีใจ เต็มใจพร้อมใจตกลงยกลูกสาวให้ตามปรารถนา เจ้าคุณแม่ทัพก็จัดแจงยืมพานปากกระจับทองเหลืองมาแล้วเขียนสัญญาถ่ายแหวนแล้วเอาใบตองรองก้นพาน แล้ววางแหวนที่ว่านั้นลงบนใบตองรองในพาน เชิญเข้าไปคุกเข่าส่งให้ตายายๆ ก็ให้ศีลให้พรเป็นต้นว่าขอให้พ่อมีความเจริญขึ้นด้วยลาภและยศ ให้เป็นเจ้าคนนายคนเถิด แล้วจัดแจงหุงข้าวต้มแกงพล่ายำตำน้ำพริกต้มผักเผาปลาเทียบสำรับตามป่าๆ แล้วเชิญให้อาบน้ำทาดินสอพอง ยายตาก็อาบน้ำ ลูกสาวก็อาบน้ำ ตาตักน้ำให้ม้ากิน พาไปเลี้ยงให้กินหญ้า ครั้นคุณแม่ทัพอาบน้ำทาดินสีพองแล้วลูกสาวทาขมิ้นแล้ว ยายก็ยกสำรับปูเสื่อลำแพน แล้วเอาผ้าขาวม้าปูบนเสื่อลำแพน ยายเชิญเจ้าคุณแม่ทัพให้รับประทานฯ
    • ยายตาก็รับประทานพร้อมกัน นางงุดนั้นให้กินภายหลัง ครั้นรับประทานอาหารแล้วต่างคนนั่งสั่งสนทนากัน ครั้นเวลา ๔ ทุ่มจึงพาลูกสาวออกมารดน้ำรดท่าเสร็จ แล้วก็ส่งตัวมอบหมายฝากฝังตามธรรมเนียมของชาวเมืองกำแพงเพชร อันเคยทำพิธีมาแต่ก่อนฯ
    • ส่วนเจ้าคุณแม่ทัพรับตัวแล้ว ก็หลับนอนอยู่ด้วยนางงุดในกระท่อมโรงนาจนรุ่งสางสว่างฟ้าแล้ว ตื่นขึ้นอาบน้ำ รับประทานอาหารแล้วก็ลาตายายขึ้นม้ามาบัญชาการที่กองทัพ พอเวลาค่ำสั่งการเสร็จสรรพแล้ว ห่อเงิน ๒0 ชั่งมาสู่โรงบ้านปลายนา ถ่ายแหวนคืนสัญญาแล้วก็หลับนอน เช้ากลับค่ำไปหา เป็นนิยมมาดังนี้ แม่ทัพนายกองทั้งปวงจะได้ล่วงรู้และร่ำลือให้อื้อฉาวก็เป็นอันว่าหามิได้ แต่บุตรชายของเจ้าคุณแม่ทัพซึ่งนอนอยู่ในค่ายมีอายุ ๘ ขวบโดยปี จะรู้ก็เข้าใจว่าไปดูแลตรวจตราบัญชาการ แต่เป็นดังนี้นานประมาณเดือนเศษ ตามสังเกตรู้ว่านางงุดตั้งครรภ์ ต่อแต่นั้นก็เพียงแต่ไปมาถามข่าวฯ
    • ครั้นมีท้องตราหากองทัพกลับ เจ้าคุณแม่ทัพก็ไปร่ำลาและสั่งสอนกำชับกำชาโดยนานับประการ จนนางเข้าใจราชการตลอดรับคำทุกประการ แล้วท่านก็คุมกองทัพกลับกรุงธนบุรีฯ
    • ครั้นนางงุดได้แต่งงานแล้ว เมื่อเดือนแปด ปีมะแมสัปตศก แล้วก็ตั้งครรภ์ เมื่อครรภ์ยังอ่อนๆ อยู่นั้น นางงุดไปปรึกษาหารือด้วยตาผล ยายลาผู้เป็นบิดามารดาว่าจะคิดการขึ้นล่องค้าขายกรุงธนบุรีและเมืองเหนือนั้น ครั้นคนทั้งสามปรึกษาตกลงเห็นชอบพร้อมใจกันแล้ว คนทั้งสามจึงได้รวบรวมเงินต้นทุนที่ได้ไว้ปันส่วนออกเป็นค่าเรือ ค่าสินค้า ค่ารองสินค้า ค่าจ้างคน ค่าซ่อมแซมอุดยาเรือมั่นคงเรียบร้อยแล้วจึงละโรงนานั้นเสีย ส่วนนาและไร่ผักก็ให้เขาเช่าเสียแล้วพากันลงอยู่ในเรือใหญ่ จัดการซื้อสินค้าบรรทุกเรือนั้นเต็มระวางฯ
    • ครั้นถึงกำหนดล่องกรุงธนบุรี จึงเรียกคนแจวออกเรือ ล่องลงมาถึงบ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออกแห่งกรุงธนบุรีแล้ว เข้าจอดเรืออาศัยท่าหน้าบ้านนายทอง นางเพียนบางขุนพรหม เป็นคนเคยอยู่เมืองเหนือแต่ก่อน และนายทองนางเพียนได้ลงมาอยุ่บางขุนพรหม ครั้นตาผลจัดการจอดเรือเรียบร้อยแล้ว จึงผ่อนสินค้าขายส่งจนหมดลำจึงจัดซื้อสินค้าบางกอกและสินค้าเมืองปักษ์ใต้บรรทุกเรือตามระวางแล้วพอถึงวันกำหนดจึงแจวกลับขึ้นไปปากน้ำโพจำหน่ายในตลาดเมืองเหนือ ตั้งแต่เมืองนครสวรรค์ขึ้นไป จนถึงเมืองกำแพงเพชร ครั้นคนทั้งสามซื้อและขายสินค้าหมดเสร็จแล้วก็กลับบรรทุกสินค้าเมืองเหนือกลับล่องเรือลงมาจอดท่าหน้าบ้านนายทองนางเพียนบางขุนพรหม ค้าขายมาโดยนิยมดังนี้ ล่วงวันและราตรีมาถึงเก้าเดือน ได้กำไรมากพอแก่การปลูกเรือนแล้ว จึงเหมาช่างไม้ให้ปลูกเรือนแพสองหลังแฝด มีชานสำหรับผึ่งแดดพร้อมทั้งครัวไฟ บันไดเรือนบันไดน้ำจำนองที่ดินลงในถิ่นบางขุนพรหมเหนือบ้านนายทอง นางเพียนขึ้นไปสัก ๔ วาเศษ เพื่อเหตุจะได้อาศัยคลอดลูกและใช้ผูกพักผ่อนหย่อนสินค้า เห็นเป็นการสะดวกดีที่สุดฯ
    • ครั้นถึง ณ วันพุธ เดือนหก ปีวอก อัฏฐศก จุลศักราช ๑๑๓๘ ปี นางงุดปั่นป่วนครรภ์เป็นสำคัญรู้กันว่าจะคลอดบุตร จึงจัดแจงห้องนางงุดให้เป็นที่คลอดบุตรโดยฉับไว บนเรือนที่ปลูกใหม่บางขุนพรหมนั้น ครั้นได้ฤกษ์งามยามดี นางงุดก็คลอดบุตรเป็นชายที่ล่ำสัน หมู่ญาติมิตรก็ได้มาพร้อมกันช่วยอภิบาลบำรุงรักษาพยาบาลฯ
    • ครั้นบุตรนั้นเจริญวัฒนาการประมาณได้สักเดือนเศษ ญาติมิตรพากันมาสังเกตตรวจตราจับต้อง ประคองทารกน้อยขึ้นเชยชม บางคนคลำถูกกระดูกแขนเห็นเป็นแกนกระดูกเป็นท่อนเดียวกัน ก็พากันเฉลียวใจโจทย์กันไปโจทย์กันมา ครั้นช้อนทารกขึ้นนอนบนขาเพื่อจะอาบน้ำจึงพากันเห็นปานดำที่กลางหลังอยู่หนึ่งดวงต่างคนต่างก็ทักท้วงกันไปทายกันมาพูดกันไปต่างๆ นานา เป็นวาจาต่ำบ้างสูงบ้างเป็นความเห็นของคนหมู่มากทักทายหลายประการ จึงทำความรำคาญให้แก่นางงุดไม่สบายใจ เกรงไปว่าวาสนาตัวน้อยจะไม่สามารถคอยเลี้ยงลูกคนนี้ยาก นางงุดจึงออกปากอ้อนวอนบิดา นายทองและนางเพียนให้ช่วยสืบเสาะดูให้รู้ว่าพระสงฆ์องค์เจ้ารูปใดอยู่วัดไหนที่อย่างดีมีอยู่บ้างในแถวนี้ เห็นพระสงฆ์ที่ดี มีศีลธรรมวิชาภูมิรู้ปฏิบัติเคร่งครัดอยู่ในวัดใด ขอได้ช่วยพาบุตรไปถวายเป็นลูกท่านองค์นั้นในวัดนั้นด้วยเถิดฯ
    • นายทองนางเพียนจึงพากันนิ่งนึกตรึกตราไปทุกวัดในแถบนั้นจึงคิดถึงหลวงพ่อแก้ว วัดบางลำภูบน จึงบอกแก่นายผลว่า หลวงพ่ออาจารย์แก้ววัดบางลำภูบนนี้ท่านดีจริง ดีทุกสิ่งตามที่กล่าวมานั้น ทั้งเป็นพระสำคัญเคร่งครัด ปริยัติ ปฏิบัติก็ดี วิชาก็ดีมีผู้คนไปมานับถือขึ้นท่านมาก ถ้าพวกเราไปออกปากฝากถวายเจ้าหนูแก่ท่าน เห็นท่านจะไม่ขัดข้อง เพราะท่านมีอัธยาศัยกว้างขวางดี เมื่อคนทั้ง ๔ นั่งปฤกษาหารือตกลงเห็นพร้อมใจกันแล้ว จึงได้พากันลงเรือช่วยกันแจวล่องมาวัดบางลำภูบนเมื่อเวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ถึงแล้วก็พากันขึ้นวัด นางงุดอุ้มเบาะลูกอ่อนพาไปนอนแบเบาะไว้มุมโบสถ์วัดบางลำภูตอนข้างใต้หน้ากุฏิพระอาจารย์แก้ว แล้วนายทองนางเพียนจึงไปเที่ยวตามหาพระอาจารย์แก้ว เวลาเย็นนั้นท่านพระอาจารย์แก้วเคยลงกระทำกิจกวาดลานวัดทุกๆ วันเป็นนิรันดรมิได้ขาดฯ
    • นายทอง นางเพียน หามาพบหลวงพ่อ กำลังกวาดลานข้างตอนเหนืออยู่ นายทองนางเพียนจึงทรุดตัวนั่งยองยองยกมือทั้งสองขึ้นประนมไหว้แล้วออกวาจาปราศรัยบอกความตามที่ตนประสงค์มาทุกประการ ฝ่ายหลวงพ่ออาจารย์แก้ว ฟังคำนายทองนางเพียนแล้ว ตรวจนิ้วมือดูรู้ฤกษ์ยามตามตำรา ท่านจึงพิงกวาดไว้ที่ง่ามต้นไม้ แล้วก็ขึ้นมากุฏิ ออกนั่งที่สำหรับรับแขกบ้านทันทีฯ
    • ตาผล นางงุด ก็ประคองบุตรน้อยขึ้นกุฏิ เข้ากราบกรานพระอาจารย์แก้ว แล้วจึงกล่าวคำว่า กระผมเป็นตาของอ้ายหนูน้อย อีแม่มันนั้นเป็นลูกสาวของกระผมๆ กับอีแม่มันมีความยินยอมพร้อมใจกันยกอ้ายหนูน้อยถวายหลวงพ่อเป็นสิทธิขาดแต่วันนี้ ขอหลวงพ่อได้ปรานีโปรดอนุเคราะห์ รับอ้ายหนูน้อยเป็นลูกของหลวงพ่อด้วยเถิดภ่ะค่ะ ครั้นกล่าวคำเช่นนั้นแล้ว จึงพร้อมอุ้มเบาะทารกขึ้นวางบนตักหลวงพ่อพระอาจารย์แก้วแล้วก็ถอยมานั่งอยู่ห่างตามที่นั่งอยู่เดิมนั้นฯ
    • ฝ่ายพระอาจารย์แก้ว ตั้งใจรับเด็กอ่อนไว้แล้ว ท่านก็ตรวจตราพิจารณาดู ท่านก็รู้ด้วยการพิจารณา รู้ว่าเด็กคนนี้มีปัญยาสามารถ ทั้งเฉลียวฉลาดในการร่ำเรียนทั้งประกอบด้วยความเพียรและความอดทน ทั้งจะเป็นบุคคลที่เปรื่องปราชญ์อาจหาญ ทั้งจะเป็นคนที่เชี่ยวชาญวิทยาคม ทั้งจะมีแต่คนนิยมฦาชาปรากฏ ทั้งจะเป็นคนกอปรด้วยอิสริยศบริวารยศมาก ทั้งจะเป็นคนประหลาดแปลกกว่าคน ทั้งจะเจริญทฤฑชนม์มีอายุยืนนาน ครั้นพระอาจารย์แก้วตรวจวิจารณ์ชะตาราศีแล้วจึงผูกข้อมือเสกเป่าเข้าปากนวดนาบด้วยนิ้วของท่านเพื่อรักษาเหตุการณ์ตาลทราง หละ ละลอก ทรพิศม์ มิให้มีฤทธ์มารบกวนแก่กุมารน้อยต่อไป แล้วท่านก็ฝากให้นางงุดช่วยเลี้ยงกว่าจะได้สามขวบเป็นค่าจ้างค่าน้ำนมข้าวป้อนเสร็จปีละ ๑00 บาท แล้วท่านประสาทสั่งซ้ำว่า อย่าให้มารดากินของขมและของเผ็ดร้อน และของบูดแฉะเกรงขีระรสธาราจะเสีย แล้วท่านก็กำชับสั่งนายผลให้เอาใจใส่ระวังระไวคอยเตือน อย่าให้นางแม่มันเล่นเล่อเหม่อประมาทคอยขู่ตวาดนางแม่มันอย่าให้กินของแสลงตามที่เราห้าม จงทำตามทุกประการฯ
     
  19. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    • ฝ่ายตาผล นางงุด พนมมือรับปฏิญาณแล้วกราบกรานลา รับเบาะลูกน้อยมาแล้วลงกุฏิ พากันมาลงเรือปู้แหระ ช่วยกันแจวแชะแชะมาจนถึงเรือใหญ่ท่าหน้าบ้านบางขุนพรหมแล้วก็รออยู่พอหายเหนื่อย จนอายุเด็กเจริญขึ้นได้ ๓ เดือน จึงหาฤกษ์โกนผมไฟในเดือน ๙ ปีวอก ฉศกนั้น ครั้นกำหนดวันฤกษ์แล้วจึงนายผลออกไปวัดบางลำภูบนนิมนต์ท่านพระอาจารย์แก้ว แล้วขอเผดียงสงฆ์อีก ๔ รูปรวมเป็น ๕ เข้ามาเจริญพระปริตพุทธมนต์ในเวลาเย็น รุ่งขึ้นฤกษ์โกนผมไฟ แล้วนิมนต์รับอาหารบิณฑบาตร
    • ครั้นนายผลทราบว่า พระอาจารย์ทราบแล้ว จึงนมัสการลากลับมา เที่ยวบอกงานและจัดหาเครื่องบูชา เครื่องใช้สอย โตกถาดภาชนะ ทั้งเครื่องบุดาดอาสนะพร้อมแม่ครัว เมื่อถึงวันกำหนด พระสงฆ์มาพร้อมจึงเผดียงขึ้นสู่โรงพิธีบนเรือนแพที่ปลูกใหม่นั้น แล้วพระสงฆ์เริ่มการสวดมนต์ ครั้นสวดมนต์แล้ว พระสงฆ์กลับแล้วจึงจัดการเลี้ยงดูกันฯ
    • ครั้นรุ่งเช้าพระสงฆ์มาพร้อมนั่งอาสน์ จึงนำเด็กออกมาฟังพระสวดมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาแล้วโกนผมไฟกันไปเรื่อย แล้วจัดอาหารบิณฑบาตรอังคาสแก่พระสงฆ์แล้ว พระสงฆ์ทำภัตตกิจ อนุโมทนาแล้วกลับ จึงจัดการประพรหมเย่าเรือนจุณเจิมเรือและเรือนเสร็จฯ
    • ครั้นจัดการทำบุญให้ทานเสร็จแล้ว พักผ่อนพอหายเหนื่อย จึงจัดสรรพสินค้าเมืองปักษ์ใต้ ได้เต็มระวางแล้วจึงออกเรือไปเมืองเหนือ จำหน่ายสินค้า ก็จัดรองสินค้าเมืองเหนือมาจำหน่ายในบางกอก กระทำพานิชกรรมสัมมาอาชีวะอย่างนี้เสมอมา ก็บันดาลผลให้เกิดหนุนภูลเถามั่งคั่งสมบูรณ์ขึ้นหลายสิบเท่า พ่อค้าแม่ค้าทั้งปวงก็รู้จักมักคุ้นมากขึ้นเป็นลำดับมา ตาผล ยายลา นางงุด จึงได้ละถิ่นฐานทางเมืองกำแพงเพชรเสียลงมาจับจองจำนองหาที่ดินเหนือเมืองพิจิตร ปลูกคฤหสถานตระหง่านงามตามวิสัย มีเรือนอยู่ หอนั่ง ครัวไฟ บันไดเรือน บันไดน้ำ โรงสี โรงกระเดื่อง โรงพักสินค้า โรงเรือ รั้วล้อมบ้าน ประตูหน้าบ้าน ประตูหลังบ้าน ได้ทำบุญให้ทานที่วัดใหญ่ในเมืองพิจิตรนั้น จึงได้มีความชอบชิดสนิทกับท่านพระครูใหญ่ วัดใหญ่นั้น มีธุระปะปังอันใดก็ได้สังสรรไปหาทายกแจกฎีกาไม่ว่าการอะไร มาถึงแล้วไม่ผลักยินดีรักในการทำบุญการกุศล เลยเป็นบุคคลมีหน้าปรากฏในเมืองพิจิตรสืบไปฯ
    • ท่านพระครูใหญ่ วัดใหญ่ในเมืองพิจิตรนั้น ท่านองค์นี้ดีมากในทางรู้วิชาคาถาอาคมก็ขลังมาก วิชาฝ่ายนักเลงต่างๆ พอใช้ เป็นที่เคารพยำเกรงของหมู่นักเลงขยั้นเกรงกลัวท่านมาก ท่านพระครูใหญ่วัดใหญ่พระองค์นี้ เชี่ยวชาญชำนาญชอบรู้ในคัมภีร์มูลประกรณ์ทั้ง ๕ คัมภึร์หาผู้มีเปรียบเทียบเท่าท่านในเมืองนั้นในคราวนั้นมิได้ใช่แต่เท่านั้นท่านขลังในอาคมทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีทางภูตทางผีทางปีศาจก็เก่งพร้อมห้ามเสือห้ามจรเข้ ห้ามสัตว์ร้ายก็ได้ ป่าเสกให้คนและสัตว์ร้ายอ่อนเพลียเสียกำลัง ยืนงงนั่งจังงังก็ทำได้ พระสงฆ์ในเมืองพิจิตรเกรงกลัวท่านมากตลอดแขวงตลอดคุ้ม ไม่มีวัดไหนล่วงบัญญัติกัตติสัญญาณาบัติเลย ทั้งเจ้าเมืองกรมการก็ยำเกรงขามท่านพระครูวัดใหญ่มาก ใช่แต่เท่านั้น ท่านกอปรด้วยเมตตากรุณาอนุกูล สัปปุรุส อุบาสิกา สานุศิษย์ มิตรญาติ สงเคราะห์อนุเคราะห์ อารีอารอบทั่วไป มีอัธยาศรัยกว้างขวางเผื่อแผ่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลคนที่ควรสงเคราะห์ไม่จำเพาะบุคคล ข่มขี่ขัดเกลากิเลสด้วยไม่โลภโมห์โทสันต์ ขันติธรรมก็พอใช้ วินัยก็พอชม มีผู้นิยมสู่หามาไปมิได้ขาด ทั้งฉลาดในข้อปฏิสันฐานการวัดก็จัดจ้านเอาใจใส่ การปฏิสังขรก็เข้าใจปะติปะต่อก่อปรุงถาวรวัตถุกรรม แนะนำภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา ให้รู้จักกิจถือพระพุทธศาสนาให้กอปรด้วยประสาทะศรัทธามั่นคง จำนงแน่ในพระรัตนตรัยหมั่นเอาใจใส่สอนศิษ์ให้รู้ทางประโยชน์ดีฯ
    • เมื่อตาผล ยายลา นางงุด จะล่องลงมาค้าขาย ก็ต้องออกไปร่ำลารดน้ำมนต์รับน้ำมาพรหมสินค้า และพรหมเรือพรหมคนแจว พรหมบ้านเรือน เพื่อให้พ้นภัยอันตรายให้ซื้อง่ายขายคล่อง เวลาตาผลนางงุดกลับ ก็ต้องขึ้นสักการะท่านพระครู จึงบันดาลให้มีผู้นิยมรักแรงแข็งขอบไปทั้งเมืองเหนือเมืองใต้ มีคนเกรงใจเชื่อหน้าถือตา เมื่อจะค้าก็ไม่ต้องลงทุนได้ผ่อนทรัพย์ออกไปหมุนหาดอกเบี้ย และปัวเปียเข้าหุ้นกับพ่อค้าใหญ่ๆ ก็ได้ทำกำไรงอกงาม ตามประวัติการแห่งพานิชกรรมร่ำมาด้วยประการดังนี้ฯ
    • ครั้นถึงปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ แผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรีสิ้นอำนาจแล้ว เป็นปีที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชย์ปราบดาภิเษกเปลี่ยนเป็นปฐมบรมจักรีพระองค์แรก และย้ายพระมหานครมาข้างฝั่งตะวันออกแห่งกรุงธนบุรี ตรงหัวแหลมระหว่างวัดโพธิ์และวัดสลัก เป็นวัดเก่ามากทั้ง ๒ วัด เป็นคราวผลัดแผ่นดินใหม่ ทรงขนานนามพระนครใหม่ว่า กรุงเทพพระมหานคร ฯลฯ พระบรมราชนามาภิไธยว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ กรุงเทพฯ ทรงตั้งเจ้าพระยาสุรสีห์น้องชาย เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามหาสุรสีหนาทกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงตั้งพระมเหสีเดิม เป็นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงตั้งพระราชโอรสที่ ๔ อันมีพระชนม์พรรษาได้ ๑๖ พรรษา เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงตั้งสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์เทเวศร์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าภคิเณยราช กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายพระราชวังหลังรับพระราชบัญชาฯ
    • ฝ่ายหนูโตบุตรชายของนางงุดเมืองพิจิตรนั้น มีชนมายุได้ ๗ ขวบ ครั้นการบ้านเมืองสงบเรียบร้อยเป็นปกติแล้ว นางงุดจึงได้นำหนูโต อายุ ๗ ขวบ นั้นเข้าไปถวายท่านพระครูใหญ่เมืองพิจิตรให้เป็นศิษย์เรียนหนังสือไทยหนังสือขอมและกิริยามารยาทและขนบธรรมเนียมการวัด การบ้าน การเมือง การโยธา การเรือน การค้าขาย เลขวิธีการของผู้อยู่การของผู้ไป การรับการส่ง การที่เจ้าจะใช้นายจะวาน การไว้ท่าวางทาง ทำท่วงทำทีสำหรับผู้ลากมากดี ในสำนักนี้ ท่านพระครูใหญ่วัดใหญ่นั้นฯ
    • คั้นถึงปีวอกสัมฤธิศก จุลศักราช ๑๑๕0 อายุหนูโตได้ ๑๓ ขวบ เป็นคราวที่จะทำการโกนจุกแล้ว ตาผล นางงุดจึงรับเข้าพักอยู่ที่บ้าน เพื่อระวังเหตุการณ์ แล้วจึงจัดบ้านช่องค้ำจุนหนุนเตาหม้อ ก่อเตาไฟ ซ่อมบันได เตรียมเครื่องครัวพร้อม กำหนดวันฤกษ์งามยามดี หนีกาฬกิณีตามวิธีโหราจารย์บุราณประเพณีได้วันดีแล้วในเดือน ๖ ข้างขึ้น จึงเผดียงท่านพระครูใหญ่ พระอาจารย์ พระเจ้า อธิการวัด พระฐานา พระที่เป็นญาติ และพระที่เป็นมิตรรวม ๑๑ รูป กำหนดวันเวลาแล้วเผดียงสวดมนต์ฉันเช้า และเชิญท่านเจ้าเมืองกรรมการผู้ใหญ่ พ่อค้า แม่ค้า คฤหบดี คฤหปตานี เจ้าภาษีนายอากร อำเภอ กำนัน พันทะนายบ้าน นายกองขุนตำบล และคณะญาติผู้ใหญ่ผู้น้อยรอบคอบแล้ว จัดกระจายใบบัวบรรจุขนมของกินและผลาผลกับปิยจรรหรรมัจฉมังสาหาร เป็นเครื่องไทยทาน ถวายแถมพกตอนเช้า ผ้าไตรจีวรถวายตอนเย็น หาเสภามาขับตลอดกลางคืน หาละครสมโภชในตอนทำขวัญ แล้วบุดาษมุงบัง ปู ปัด จัดตั้ง พร้อมทุกสิ่งทุกประการฯ
    • ครั้นถึงวันกำหนด พระสงฆ์มา แขกก็มา จัดบุคคลที่สมควรรับรองเชื้อเชิญ นั่งลุกตามขนบธรรมเนียมอย่างชาวเหนือในเวลานั้น เริ่มการสวดมนต์ตั้งหม้อเต้าน้ำสังข์มังสี มีดโกนด้ามสามกษัตริย์ บัตรบายศรีมีพร้อมในโรงพิธี บนหอนั่งเป็นที่เอิกเกริก สวดมนต์พระสงฆ์แล้วก็จัดแจงเลี้ยงดูกันอิ่มหนำสำราญ พอตกพลบค่ำ ก็จุดตามประทีปโคมไฟไสวสว่างมีเสภารำต่อไปฯ
    • ครั้นเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น พระสงฆ์มาพร้อมตามเวลา แขกที่เชิญมานั่งพร้อมตามกำหนดนัด นำหนูโตออกจากเรือน มานั่งในโรงพิธีที่หอนั่ง ฟังพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาแล้ว ได้เวลากำหนดฤกษ์ พระสวดชะยันโต ท่านเจ้าเมืองหยิบกรรไกรยกกระบัตรแหวกจุกผูกสามจอมเรียกว่า ไตรสิงขร พระสวดถึง(ปัลลังเกสีเส) ท่านเจ้าเมืองลงกรรไกรคีบจุกขาดออกทั้งสามจอมแล้วโกนด้วยมีดด้ามนาก ด้ามเงิน ด้ามทอง เรียกว่ามีดสามกษัตริย์
    • ครั้นพนักงานโกนผมที่ศีรษะหนูโตหมดแล้ว จึงอุ้มหนูโตออกไปนั่งเตียงเบญจาท่านเจ้าเมืองรดน้ำมนต์ด้วยสังข์ก่อนแล้วบรรดาแขกที่เชิญมาและคณะญาติมิตรก็ช่วยลดน้ำหลั่นกันลงไป เสร็จการรดน้ำแล้วก็อุ้มหนูโตเข้าเรือนจัดแจงเปลี่ยนเสื้อผ้าต่อไปฯ
    • ฝ่ายพนักงานยกสำรับก็ยกมา พวกใส่บาตรก็ใส่ไป เสร็จแล้วก็ยกประเคนพระ พระลงมือฉัน ครั้นพระเสร็จการภัตตกิจแล้ว เจ้าของงานก็จัดแจงถวายเครื่องไทยทานตามที่จัดไว้ และเพิ่มเติมค่าจตุปัจจัยตามสมควร พระอนุโมทนาแล้วกลับไปฯ
    • ฝ่ายจ้างงานก็จัดแจงเลี้ยงดูปูเสื่อกันเสร็จ แล้วจึงตั้งระเบียบบายศรี แว่นเวียนแวดล้อมญาติมิตรคนเชิญขวัญก็มานั่ง จึงอุ้มหนูโตออกมานั่งกลางหอนั่งให้คอยฟังคนเชิญขวัญร่ำรำพรรณ พรรณาสิ้นวาระ ๓ จบแล้ว ก็ออกเทียน แว่นที่มีรูปหอยออกก่อนเวียนเป็นทักษินาวัฏ ๓ รอบแล้ว ผู้อวยพรก็รับมาเศกวิศณุเวทย์มนตราคมน์ เป่าลมแล้วระบายควันดับเทียนนั้นเป่าควันให้กุมารได้รับสัมผัส แล้วผจงผลัดผ้าหุ้มคลุมบายศรี หยิบเครื่องพลี มีกุ้งพล่าและปลายำ สิ่งละคำคลุกเข่าป้อน เปิดมะพร้าวอ่อน ช้อนตักน้ำนำให้ซดจุณจันทน์บทกระแจะเจิมเสกส่งเสริมสวัสดี ตามพิธีไสยศาสตร์ พวกพิณพาทย์บรรเลงเพลงครื้นเครงครึกโครม เสียงส่งสำเนียงโห่สนั่น เมื่อทำขวัญกุมารโตเป็นทะโหราดิเรกเป็นเอ้เอก อึกกระธึก ที่ระลึกทั่วไป สำหรับให้เป็นตัวอย่างคนลางบางในภายหลังจะได้ฟังเป็นการดี ครั้นทำพิธีทำขวัญแล้ว เป็นที่แผ้วผ่องภิญโญ กุมารโตจึงส่งผ้าให้มารดารับไว้เก็บเข้าไปในเรือนพลัน พวกลงขันยื่นเงินตราให้เสื้อผ้าตามฐานะ ไม่เกณฑ์กะเป็นอัตราเคยมีมาแต่โบราณฯ
    • ครั้นการนั้นเสร็จแล้ว โดยสะดวกเรียบร้อยทุกประการ พวกละครรำก็โหมโรงเล่นไปวันหนึ่งจึงเลิกงาน แล้วเลี้ยงดูกันสำราญในเวลาเย็นอีกคราวหนึ่ง ครั้นล่วงมาอีก ๗ วัน นางงุดจึงนำกุมารโตบุตรออกไปมอบถวายท่านพระครูวัดใหญ่ในเมืองพิจิตรอีก แล้วให้ท่านสอนสามเณรสิกขา นาสะนังคะให้รู้ข้อปฏิบัติในวัตรทางสามเณรภูมิต่อไปฯ
    • ครั้นถึงเดือน ๘ ปีวอกนั้นเอง นางงุดมารดาและคณาญาติใหญ่น้อย นางงุดมารดา และคณาญาติใหญ่น้อย ได้จัดบริขารไตรจีวร และย้อมรัดประคตของบิดา ที่ได้กำชับมอบหมายไว้แต่เดิมนั้นเป็นองคะพันธะบริขารพร้อมทั้งบาตร์โอตะลุ่ม เสื่อมุ้งน้ำมันมะพร้าวตะเกียง กับเครื่องถวายพระอุปัชฌาย์ และถวายพระอันดับอีก ๔ องค์ แล้วพากันออกไปที่วัด อาราธนาท่านพระครูให้ประทานบรรพชาแก่กุมารโตและขอสงฆ์นั่งปรกอีก ๔ องค์รวมเป็น ๕ ทั้งพระอุปัชฌาย์ลงโบสถ์ พระครูก็อนุมัติตามทุกประการ ฯ
     
  20. tg22070

    tg22070 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +601
    จะถูกผิดประการใด ขอไม่วิจารณ์นะครับ เพราะไม่ได้แก้ไขใดๆ ยกเว้นคำผิด ประวัติท่านมีหลายฉบับ เดี๋ยวผมมีของ อ.ประถม มาลงให้อ่านดูอีกครับ เป็นบทวิเคราะห์ครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...