เสียงธรรม พระธรรมตามพระไตรปิฎก / พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ในห้อง 'ธรรมเพื่อความหลุดพ้น' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 14 สิงหาคม 2020.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    โลภมูลจิต (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Jan 19, 2021
    ปัฏฐาน - ปัจจยวิภังควาโร

    พุทธมนต์ Puttamon
    มหาปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่ 7 ของพระอภิธรรม เป็นคัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า จะสูญสิ้นเป็นคัมภีร์แรก เพราะเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้ง มหาปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องราวความเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน โดยนัยมากมายทั้งพิสดารและละเอียดสุขุมลึกซึ้งยิ่งนัก เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาพระอภิธรรม 7 คัมภีร์อยู่นั้น เมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ 1 คือ ธัมมสังคณี จนถึงคัมภีร์ที่ 6 คือ ยมก มาตามลำดับมิได้มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น ต่อเมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ 7 คือ ปัฏฐาน จึงได้เกิดรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายถึง 6 สี (หรือที่เรียกว่า ฉัพพรรณรังสี)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2021
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    #พุทธวงศ์ (บาลี: พุทฺธวํส) หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า
    พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ 24 พระองค์ เพราะ 24 พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 25 พระองค์ในพุทธวงศ์ #อาจารย์สมบัตินันทิโก
    วงศ์ที่ 01 พระทีปังกรพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 02 พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 03 พระมังคลพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 04 พระสุมนพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 05 พระเรวตพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 06 พระโสภิตพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 07 พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 08 พระปทุมพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 09 พระนารทพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 10 พระปทุมุตตรพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 11 พระสุเมธพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 12 พระสุชาตพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 13 พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 14 พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 15 พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 16 พระสิทธัตถพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 17 พระติสสพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 18 พระปุสสพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 19 พระวิปัสสีพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 20 พระสิขีพุทธเจ้า
    งศ์ที่ 21 พระเวสสภูพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 22 พระกกุสันธพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 23 พระโกนาคมนพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 24 พระกัสสปพุทธเจ้า
    วงศ์ที่ 25 พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
    บรรยายโดย อาจารย์สมบัติ นันทิโก
    ทุกคนควรจะกินอิ่มอร่อยและนอนหลับอย่างสงบโดยไม่ต้องกลัวสิ่งใด.. ทุกคนน่าจะให้อภัยกันได้ ความรักและเมตตาดั่งมารดารักบุตรคือลมหายใจของจิตวิญญาณ นี่คือความรักอันบริสุทธิ์ที่ค้ำจุนจักรวาลนี้..
    ขอให้ท่านทั้งหลาย มีความสุขกับการรับชมและรับฟัง..และหลับ..ก็ให้สุขกาย..สบายใจ..สงบเย็น...มีปัญญา..สมาธิ........คิดสิ่งใด..ปรารถนาสิ่งใด..ก็ให้สมหวังดั่งใจปรารถนาน่ะครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2024
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    โทสมูลจิต,โมหมูลจิต (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาที่ตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา ข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ดย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้ว ก็ฉันนั้น ย่อมมีผลมากผลไพศาล คนดีมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ให้เป็นสุข บำรุงสมณะพรหมาจารย์ให้เป็นสุข เปรียบเสมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อย สะอาดเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ มหาชนย่อมได้อาศัย นำไปอาบดื่มและใช้สอยตามต้องการโภคทรัพย์ของคนดีย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่ ”
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ธัมมที่ช่วยอบรมอินทรีย์ให้น้อมไปแก่การปฏิบัติ (พระอาจารยสมบัติ นันทิโก)

    อวิชชาเหตุให้เกิดสังสารวัฎมีมาแต่หนไหนจะแก้ได้ด้วยหนทางใด (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Jun 27, 2018


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2021
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พิจารณาจิต ๑๖ ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Feb 3, 2021
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ชัด ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมี โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่ หลุดพ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิต บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่. จบ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก) * มหาหัตถิปโทปมสูตร

    รัตนะนาถะ (R T)
    * มหาหัตถิปโทปมสูตร อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง * กุศลธรรมทั้งหมดสงเคราะห์ลงในอริยสัจสี่นั้นเป็นไฉน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งแห่งสัตว์ ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นของใหญ่ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในอริยสัจสี่ ฉันนั้นเห็นเหมือนกันแล. ในอริยสัจสี่เหล่าไหน? คือ ใน ทุกขอริยสัจ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ ในทุกขนิโรธอริยสัจ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พุทธวจนปฏิจจสมุปบาท พระสมบัติ นันทิโก (ไม่ฟังไม่ได้)

    Nor. Nunt.
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พิจารณาจิต ทั้งภายในภายนอก ความเกิดและความเสื่อม (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    สาติภิกษุ ผู้เห็นผิดว่าจิตวิญญาณนั้นเที่ยง ล่องลอยเที่ยวไปในที่ต่างๆได้ (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Feb 10, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2021
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมในมหากุศล โครงการถวายวิทยุธรรมะเสียงพระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

    ศรัทธาเป็นทรัพย์ ศีลเป็นทรัพย์ (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    อริยทรัพย์ 7

    1. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ)
    2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม )
    3. หิริ (ความละอายใจต่อการทำความชั่ว )
    4. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อความชั่ว )
    5. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก )
    6. จาคะ (ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ )
    7. ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ )
    อริยทรัพย์ เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะไม่มีผู้ใดแย่งชิง ไม่สูญหายไปด้วยภัยอันตรายต่างๆ ทำใจให้ไม่อ้างว้าง ยากจน และเป็นทุนสร้างทรัพย์ภายนอกได้ด้วย
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    รัตนะนาถะ (R T)
    Mar 4, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2021
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    วงจรขันธ์อันเป็นกองแห่งทุกข์ที่เป็นไปในวัฏฏะ (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    มองภาพการศึกษาพระธัมมให้เข้าใจเพื่อการปฏิบัติ (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Mar 26, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2021
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ตัวอย่างพระผู้เจริญกุศลธรรมจนบรรลุมรรคผลนิพพาน (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    เจตนาที่ยินดีเพลินในอารมณ์คือตัวแสวงหาภพใหม่ (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Apr 12, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2021
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    วิปัสสนาต้องเป็นปัจจุบันอารมณ์หรือสิ่งที่กำลังปรากฏเท่านั้นถูกหรือไม่ (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    พระผู้เป็นพหูสูตรทรงพระไตรปิฏกแต่ตกอเวจีมหานรก (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Apr 27, 2021
    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔ . ตัณหาวรรควรรณนา . เรื่องปลาชื่อกปิละ
    แจกหนังสือธัมมเรื่องกรรมและวิบาก ฟรี โดยพันเอกธงชัยแสงรัตน์ผู้เรียบเรียงและจัดส่ง หนังสือเล่มนี้อธิบายเรื่องกรรมว่าทำงานอย่างไร เมื่อไหร่กรรมดีจะส่งผล เมื่อไหร่กรรมชั่วจะส่งผล ,ผู้บริจาคเงินร่วมพิมพ์มี24ท่านรายชื่ออยู่ด้านในปกหลัง ท่านใดต้องการ ระบุจำนวนที่ต้องการ ส่งชื่อที่อยู่มาที่่ เฟชบุ๊ค เพจ trisikkha ไตรสิกขา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2021
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เจริญเมตตา (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    เข้าใจคำว่า โลก , แนะการตรึกพุทธคุณ (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    May 10, 2021
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2021
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ลักษณะถีนมิทธะและเหตุให้ละถีนมิทธะ (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    ตอบผู้ถามเรื่องการเริ่มต้นเจริญสติปัฏฐาน (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    May 25, 2021
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พระปฏาจาราเถรี (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Jun 1, 2021
    (บุคคลใดในโลกนี้เล่า จะเคยมีความทุกข์ใจเท่านางปฏาจารา)

    ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า
    ‘เธออย่าเศร้าโศกถึงบุตรเลย
    จงผ่อนคลายบ้างเถิด จงแสวงหาตนเองเถิด
    จะเดือดร้อนอย่างไร้ประโยชน์ไปทำไม
    บุตร ธิดา ญาติและพวกพ้อง
    มีไว้เพื่อต้านทานคนผู้ถึงที่ตายไม่ได้เลย
    บรรดาหมู่ญาติ ผู้ที่จะต้านทานได้ก็ไม่มี’
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พระไตรปิฏกคืออะไรสำคัญอย่างไร

    บรรยายโดย ท่านอาจารย์ทรงเกียรติ ลิ้มนันทรักษ์

    พิจารณา รูป (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Jun 17, 2021

     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พิจารณา เวทนา, สัญญา (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    [​IMG]
    รัตนะนาถะ (R T)

    Jun 24, 2021
    เวทนา 9 สุขเวทนา ,ทุกขเวทนา,อุเบกขาเวทนา ,สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส ,ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิส, อุเบกขาเวทนาที่เจือด้วยอามิส ,สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส ,ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส ,อุเบกขาเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส /.
    สัญญา 6 รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา /.

     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พิจารณาสังขาร วิญญาณ (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    เหตุเกิดและความดับของขันธ์ห้าที่ผู้ปฏิบัติควรเข้าใจให้ถูกต้อง (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Jul 2, 2021
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เพราะไม่ได้สดับคำสอนจึงเห็นผิดในขันธ์ห้า (พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก)

    รัตนะนาถะ (R T)
    Jul 17, 2021
    สักกายทิฏฐิ ๒๐

    ๑. เห็นรูปเป็นตน คือ ขณะที่เห็นผิดยึดถือว่า รูปร่างกายเป็นเรา (ตน) อุปมา เหมือนเห็นเปลวไฟและสีของเปลวไฟเป็นอย่างเดียวกัน
    ๒. เห็นตนมีรูป คือ ขณะที่ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเราที่มีรูปร่างกาย อุปมา เหมือนเห็นต้นไม้มีเงา
    ๓. เห็นรูปในตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเรา และรูปอยู่ในนามที่เรา อุปมาเหมือนกลิ่นในดอกไม้
    ๔. เห็นตนในรูป คือ ขณะที่ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเราที่อยู่ในรูปร่างกาย อุปมา เหมือนแก้วมณีในขวด
    ๕. เห็นเวทนาเป็นตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า ความรู้สึกเป็นเรา (ตน) อุปมาโดยนัยเดียวกันกับรูป
    ๖. เห็นตนมีเวทนา คือ ขณะที่ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นเรา และเรามีเวทนา
    ๗. เห็นเวทนาในตน คือ ขณะที่ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และมีเวทนาในเรา
    ๘. เห็นตนในเวทนา คือ ขณะที่ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีอยู่ในเวทนา
    ๙. เห็นสัญญาเป็นตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า ความจำเป็นเรา (ตน)
    ๑๐. เห็นตนมีสัญญา คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีสัญญา
    ๑๑. เห็นสัญญาในตน คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และมีสัญญาในเรา
    ๑๒. เห็นตนในสัญญา คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีอยู่ในสัญญา
    ๑๓. เห็นสังขารเป็นตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า สังขารตัวปรุงแต่งเป็นเรา
    ๑๔. เห็นตนมีสังขาร คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีสังขาร
    ๑๕. เห็นสังขารในตน คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น เรา และมีสังขารในเรา
    ๑๖. เห็นตนในสังขาร คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีอยู่ในสังขาร
    ๑๗. เห็นวิญญาณเป็นตน คือในขณะที่ยึดถือว่า วิญญาณเป็นเรา (ตน)
    ๑๘. เห็นตนมีวิญญาณ คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็น เรา และเรามีวิญญาณ
    ๑๙. เห็นวิญญาณในตน คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็น เรา และมีวิญญาณในเรา
    ๒๐. เห็นตนในวิญญาณ คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็น เรา และเรามีอยู่ในวิญญาณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...