ประวัติ และการดูเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย นิลศิลป์, 11 กรกฎาคม 2008.

  1. ทอดาว

    ทอดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,150
    ค่าพลัง:
    +2,696
    รุ่นนูโวเลยอ่ะพี่นิลศิลป์ ตัวนี้ผมขอตีแค่หลวงพ่อสายยุคต้นก็พอ
     
  2. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    ลองเทียบ จาร กอหญ้าดูครับพี่
    เสือพี่หล่อดีอะ
     
  3. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    มาตรฐานเสือของหลวงพ่อปาน คือ เสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า ซึ่งมีทั้งเสือหุบปาก และเสืออ้าปาก

    คาถาที่หลวงพ่อปาน ใช้ปลุกเสือ นำไปใช้กันได้ครับ

    ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วว่า

    "โอม พยัคโฆ พยักฆา สูญญา ลัพพะติ

    อิติ ฮัม ฮัม ฮึม ฮึม" (ว่าคาถา 3 จบ แล้วอฐิษฐานเลยครับ ตอนว่าคาถา ฮัม

    ฮัม ฮึม ฮึม ให้ออกเสียงน่าเกรงขามหน่อยจะดีครับ ปลุกตนไปด้วย)


    นอกจากเสือหลวงพ่อปาน แล้วยังมีเสือของหลวงพ่อเรือน ด้วยเพราะท่านไปเรียนวิชาทำเสือมาพร้อมกัน

    เสือหลวงพ่อปาน หลวงพ่อเรือนนี่จะยุค ร.5 ถ้ามาหลวงพ่อนก ก็จะยุค ร .7 ก็เก่าเหมือนกันนะ แต่ท่านจะจารคนละแบบ พอแยกแยะได้ นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อสาย และหลวงพ่อทอง จะสร้างต่อๆมาอีก ซึ่งเนื้อจะยังไม่จัดเท่าหลวงพ่อปาน

    ค่อยๆคุยกันครับ ว่าจะเขียนเรื่องรอยจาร และ เนื้อเขี้ยว สีเขี้ยว ซึ่งดูยังไงว่าถึงยุคหลวงพ่อปานนะครับ และวิธีดูรอยกลวงของเขี้ยวเสือ ว่าดูยังไงเป็นเขี้ยวเสือ อันไหนเป็นเขี้ยวอย่างอื่น และฝีมือช่างยุคหลวงพ่อปานนี่เอกลักษณ์จะไม่ทิ้งกันครับ ใครมีข้อมูล รูปภาพอะไร มาแลกเปลี่ยนความรู้ กันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2009
  4. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยนี่ จะต้องทำจากเขี้ยวเสืออย่างเดียวเท่านั้น จะไม่ใช่เขี้ยวชนิดอื่นๆ จะมีทั้งเต็มเขี้ยว และเขี้ยวซีก มีคุณสมบัติทึบแสง

    อือ ลืมบอกไป เขี้ยวสัตว์ที่ถือว่าเป็นของทนสิทธิ์ ในตัว ถ้าเป็นเขี้ยวหมูจะต้องตัน ซึ่งเขี้ยวหมูตันจะหายาก ถ้าเป็นเขี้ยวเสือต้องกลวงครับ เขี้ยวเสือกลวงจะมีอำนาจในตัวมากครับ บางท่านเรียก เขี้ยวโปร่งฟ้า ครับ เป็นเขี้ยวของพญาเสือโคร่ง มีอำนาจ มีตบะมาก แค่จ้องสัตว์ สัตว์จะเหมือนถูกตรึงอยู่กับที่ แทบหมดเรี่ยวแรงที่จะหนีเลย

    เนื่องจากเขี้ยวเสือนั้น จะหายากมาก แม้ในยุค ร. 5 เสือยังมีชุกอยู่ในไทยก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆนะครับ ดังนั้น เมื่อได้เขี้ยวมาจึงนำเขี้ยวมาแบ่ง เขียว 1 เขี้ยวถ้าเป็นเสือตัวใหญ่จะแบ่งได้ถึง 5 ท่อน สามารถนำมาแกะเสือได้ 5 เสือ ทีเดียว

    ถ้าแบ่งเป็นเขี้ยวซีกก็จะมาแกะได้เสือได้มากกว่า 5 เสือ โดยแบ่งเขี้ยวเป็นครึ่งๆ เมื่อนำมาแกะจะได้เสือตัวเล็กใหญ่แตกต่างกันออกไป

    พูดถึงการจารยันต์ของหลวงพ่อปานนี่ ถ้าจารแบบครบสูตรจริงๆ

    จะมีดังนี้ครับ

    1. จารที่ขาหน้าใต้คาง 2 ข้าง ซึ่งอักขระที่ ลง มักจะเป็นตัว อุ ซึ่ง มีทั้ง อุ หัวคว่ำ และอุ หัวหงาย ลายมือดูจะเป็นธรรมชาติมาก และจะมีเอกลักษณ์ของท่านเอง

    2. จารที่บริเวณสีข้างเสือ บริเวณด้านข้าง ไม่ใช่สีข้างทีเดียว ท่านจะลงบริเวณ สโลบด้านข้างระหว่างสีข้าง กับหลัง อาจลงข้างละ 2 ตัว รวม 2 ข้างลงอักขระ 4 ตัว ท่านมักจะลงยันต์ เป็นลักษณะคล้าย เลข 7 ไทย หรือเลข 3 ไทย มี 3 ขยัก หางตวัด การวาง และการลงเหล็กจาร จะเขียนตัวเอียงๆ และเรียบร้อย การลงเส้นหนักเบาจะแลดูเป็นธรรมชาติ ถ้าเป็นขีดๆ แบบเลข 7 แต่มี 4 หรือ5 ขยัก และลงแบบดูไม่รู้เรื่อง จะไม่ใช่ ระวังให้ดี ครับ

    3. บริเวณกลางหลังเสือ ท่านจะลงจารอักขระอีกหลายตัวเป็นแถวลงมา จากหัวถึงหาง

    4. บริเวณใต้ฐาน จะจารยันต์กอหญ้า และถ้ามีพื้นที่มาก ท่านจะลงยันต์กอหญ้า 2 ตัว ตรงข้ามกัน และถ้าเต็มสูตรท่านจะลงตัว ฤ ฤา และตัวอุ ด้วย และลงรอยขีดขีด 2 เส้นขนานกัน ถ้ามีพื้นที่น้อยจะลงยันต์กอหญ้าเพียงตัวเดียว ลายยันต์กอหญ้านี่แหละที่เป็นตัววัดว่าใช้เสือหลวงพ่อปานไหม ต้องจำลายมือท่านให้แม่น + องค์ประกอบอื่นๆด้วย

    มีเสือบางเสือ ที่ ท่านจารยันต์เต็มไปหมดทั้งตัวเลยก็มี น่าจะเป็นยุคต้นที่ท่านยังมีเวลามาก

    แค่นี้ก่อนครับพี่น้อง

    ว่าแต่เสือคุณทอดาวมีจารด้านข้างไหม ชัดๆนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2009
  5. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    มาแลกเปลี่ยนความรู้กันต่อไปครับ...

    การดูสีเขี้ยว

    สีของเขี้ยวขึ้นอยู่กับการใช้ หรือการเก็บ ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยวเต็ม หรือเขี้ยวซีก ตามธรรมชาติ สีของเขี้ยวจะไม่เสมอกันเด็ดขาด สีของเนื้อเขี้ยวด้านที่อยู่ใกล้รูตรงกลางจะมีสีอ่อนกว่าสีเขี้ยวที่อยู่ริม นั่นแสดงว่าเขี้ยวซีกที่ผ่าครึ่งเช่นกัน ด้านหนึ่งต้องสีอ่อน ด้านหนึ่งสีแก่ ถ้าสีเท่าๆกัน อาจเป็นเขี้ยวทอดน้ำมันได้ หรือย้อมสีได้

    รูเขี้ยว

    ตามธรรมชาติ รูของเขี้ยวเสือหลวงพ่อปานจะต้องเป็นรูปวงรี หรือกลม แบบธรรมชาติ (ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นวงรี) ยาวทะลุผ่านตลอดจากบนลงล่างตลอดแนวเขี้ยว ไม่มีขุย ไม่มีรอยเจาะ ไม่มีรอยตะไบ รอดปาด ไม่มีการใช้สว่านเจาะเด็ดขาด ของปลอมมักจะใช้สว่านเจาะ และถ้ารูเป็นรูป 3 เหลี่ยม มักเป็นเขี้ยวหมี หรือถ้ารูแปลกๆก็จะเป็นรูเขี้ยวสัตว์ประเภทอื่นๆครับ

    แถมท้าย พิมพ์ของเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์มาตรฐานที่ถูกต้อง ขาด้านหน้า 2 ขาจะใหญ่ และการแกะเท้าจะเป็นลักษณะเหมือนจิกลงพื้น ส่วนหางนั้นจะแกะพันไปด้านข้าง บางตัวถ้าพื้นที่น้อย หางจะแกะพาดไปบนหลัง และบางตัวเล็กๆ หรือพื้นที่เขี้ยวไม่พอ หางจะไม่แกะ หรือแกะก็ไม่ชัดนักก็ได้

    การแกะเขี้ยวเสือนั้นสมัยก่อนจะใช้มีดแกะทั้งนั้น ถ้าเป็นเสือที่แกะเรียบร้อยเกิน เขาจะใช้เครื่องกรอฟันทันสมัยแกะ ซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีครับ ลองสังเกตุรอยแกะเขี้ยวให้ดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2009
  6. ทอดาว

    ทอดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,150
    ค่าพลัง:
    +2,696
    "ว่าแต่เสือคุณทอดาวมีจารด้านข้างไหม ชัดๆนะครับ "

    มีนะครับพี่ดูดีๆ มันจางไปเยอะแล้วอ่ะ
     
  7. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ครับคุณทอดาว รอยจารมองไม่ชัดคงต้องดูองค์จริง

    ความจริงเสือของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ปัจจุบันนี้ผมขึ้นคออยู่ 1 องค์ เป็นส่วนของปลายเขี้ยวบน หน้าเสือจะเชิดขึ้นตามลักษณะธรรมชาติของปลายเขี้ยว ซึ่งปลายเขี้ยวนี่จะหายาก และเขานิยมกันมาก เพราะตามเคล็ดถือว่าเป็นส่วนที่คมสุดของเขี้ยว และเป็นส่วนที่เสือใช้ฝัง และกัดสิ่งต่างๆ องค์ผมยังสมบูรณ์ สวยอยู่มาก เพราะบางครั้งเสือทั่วไป ชำรุดมาก หูหายมั่ง หน้าหายมั่ง ไม่สมบูรณ์

    องค์ที่ผมขึ้นคอนี้เป็นเสือหุบปาก การแกะปราณีต ละเอียดครับ ไม่เพี้ยน เข้าสูตรเสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า มีจารครบสูตรตามสูตรเขี้ยวเสือหลวงพ่อปานเลย แต่ต้องให้เพื่อนถ่ายรูปให้เพื่อนไม่อยู่ กล้องผมถ่ายมาโครไม่ดีนัก องค์นี้เนื้อจัดครับ เขี้ยวเสือของผมนี้ อดีตเขาใส่ไว้ในตลับสีผึ้งมาก่อนครับ มีรอยลานของเขี้ยว และรอยแตกระแหงตามผิวเหมือนตาสับปะรด สีออกสีน้ำตาลปานกลาง สีจะจัดกว่าคุณทอดาวครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2009
  8. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    บทความมีประโยชน์ เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ในมุมมองของคุณเพชร ท่าพระจันทร์

    [​IMG]

    เครื่องรางของขลัง ชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจใคร่รู้อย่างยิ่งของนักนิยมสะสมพระเครื่อง รางขลังตั้งแต่ในอดีตจนถึงทุกวันนี้ก็คือ “เสือ” ของ หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า วัดบางเหี้ย อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ

    ภาพ "เสือ" ที่เห็นนี้ เป็นชิ้นสุดยอดที่ได้คัดเลือกมาให้ชม ประเภท เห็นกันเป็นครั้งแรก ตามนโยบายที่วางไว้ และสำคัญที่สุดคือ เป็น "เสือแท้" ในรอบหลายปีที่วนเข้ามาให้นักเล่นได้มีสิทธิ์ครอบครองกัน

    "เสือ" หลวงพ่อปาน ตัวนี้ ครั้งแรกที่ได้เห็น ยังอยู่ในมือนักนิยมพระท่านหนึ่ง ซึ่งได้เลี่ยมจับขอบทองเอาไว้ ทำให้เห็นทรวดทรงตัวเสือไม่ค่อยถนัดนัก ภายหลังเมื่อมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันแล้ว เจ้าของใหม่ได้แกะทองที่เลี่ยมเอาไว้ออก เพื่อเอาท่านใส่ตลับทองคำ ตอนนี้เองที่ทำให้เห็นตัวจริงองค์จริงของท่าน ซึ่งทำไมท่านจึงมีลักษณะดังนั้น...

    [​IMG][​IMG]


    " เสือ" ตัวนี้ เป็นเสือที่ถูกแกะขึ้น ภายใต้ศัพท์ที่นักเล่นเรียกหา คือ เสือเขี้ยวซีก ก็ด้วยเหตุที่ "เขี้ยวเสือ" เป็นวัตถุอาถรรพณ์ และเสือจริงสมัยก่อน รวมทั้งสมัยนี้เป็นที่รู้กันว่าหาได้ยากยิ่ง

    เสือรุ่นแรก จึงมักใช้วัสดุเท่าที่มี ซึ่งจำกัดมาก หาได้เท่าไรก็ให้หลวงพ่อลงจาร หรือทำให้เท่านั้น การแกะเสือยุคแรกๆ ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ตัวหลวงพ่อ เมื่อได้เขี้ยวเสือมา จึงมักแบ่งเขี้ยวออกเป็นสองส่วน แล้วจึงให้ช่างแกะเป็นตัวเสือให้

    อีกกรณีหนึ่งคือ ประเภทได้เขี้ยวเสือมา แต่เป็นเขี้ยวชำรุด หรือบิ่นแตก ด้วยเชื่อว่าตัวเสือเจ้าของเขี้ยวค่อนข้างดุ ขบกัดฉีกกินเหยื่อต่างๆ มานับไม่ถ้วน หรืออาจกัดทำร้ายกันเอง ทำให้เขี้ยวเสือหักกร่อน ข้างหนึ่งดี อีกข้างบิ่น สูงยาวไม่เท่ากัน เมื่อถึงมือช่าง จึงมักถูกแต่งทิ้ง ด้านที่อาจบิ่น หรือชำรุดออกไป ดังนั้นในยุคแรกๆ ของการแกะเสือ จึงมักเจอ เสือเขี้ยวซีก กันบ่อยครั้ง

    ต่อมาเมื่อ เสือหลวงพ่อปาน เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง บรรดาเจ้าสัว นายหัว คุณท่าน ต่างก็จ้างคนสืบหาเขี้ยวเสือที่ค่อนข้างใหญ่และงาม นำมาให้ช่างแกะ บรรดาลูกศิษย์วัดต่างส่งข่าวหาเขี้ยวกัน เพื่อนำมาแกะเป็นวัตถุมงคล รูปเสือ กันอย่างกว้างขวาง จนมีเรื่องเล่าว่า ค่าตัวของเสือหลวงพ่อปานสมัยนั้น (เมื่อร้อยปีมาแล้ว) มีราคาตั้งแต่ ๑ บาท ๒ บาท จนถึง ๓ บาท นั่นคือราคาที่แพงที่สุด แต่ก็มีเรื่องเล่า (อีก) ที่ว่า มีคหบดีท่านหนึ่งให้ราคาเสือถึง ๕ บาท เพื่อให้ช่างหาเขี้ยวและนำมาแกะเป็นตัวเสือ

    ดังนั้น "เสือ" เมื่อก่อนจะมาถึงมือของ หลวงพ่อปาน ก็มีราคาค่าตัวสูงอยู่แล้ว เมื่อท่านเมตตา ประสิทธิประสาท ปลุกเสกคาถาอาคมให้ และมอบเสือให้ศิษย์ รวมทั้งผู้เคารพศรัทธาในตัวท่านแล้ว เสือหลวงพ่อปาน จึงมีราคาค่านิยมสูงมาก มาตั้งแต่สมัยนั้น เรื่องที่จะได้ "เสือ" ราคาถูกๆ จึงไม่มีมาตั้งแต่สมัยเก่าก่อนแล้ว

    มาถึงทุกวันนี้ เมื่อต่างรู้ว่าใครมี เสือหลวงพ่อปาน ราคาค่าตัวจึงถูกประมูล และผู้ที่มีไว้ครอบครองส่วนใหญ่ต้องให้ราคาค่อนข้างสูงกว่าปกติทั่วไป จึงจะได้สิทธิครอบครองเสือจริง

    ส่วนที่ได้ราคาถูก หรือมีด้วยเสือเช่นกัน มักเป็น เสือหิว เสือโหย เสียเป็นส่วนใหญ่ เสือลักษณะนี้ แค่ได้ยินชื่อ ท่านทั้งหลายก็คงไม่คิดอยากจะเอาไว้ใกล้ตัว ลักษณะเป็นอย่างไร เดี๋ยวว่ากันต่อ

    ค่าเขี้ยวเสือ ค่าโกลนขึ้นรูปเสือ แม้มีราคามากแล้ว แต่ขั้นตอนการได้เสือยุ่งยากกว่ามาก ด้วยท่านกว่าจะทำเสือ ลงจารเสือ ปลุกเสกสำเร็จ จิปาถะ ฯลฯ ก็ต้องผ่านพิธีกรรมหลายขั้นตอน

    เสือหลวงพ่อปาน ตัวที่ท่านกำลังเห็นอยู่นี้ เมื่อจำเป็นจะต้องใช้เขี้ยวซีกแล้ว ทราบว่าต้องให้ช่างคนหนึ่งแกะสลักให้ ในบรรดาช่างที่มีฝีมือ อาทิ ช่างฟัก ช่างชม ช่างนิล ช่างมาก และช่างมา อาจจะเป็นคนเดียวกันก็ได้

    ช่างแกะเขี้ยวซีก ผู้มีความเก่งกล้าสามารถมากท่านหนึ่ง แม้จะจำชื่อท่านไม่ได้ แต่จำฝีมือท่านได้แม่น ด้วยส่วนใหญ่ท่านจะแกะแบบ เสือนิยม นั่งหุบปาก ตาเนื้อ รวมความแล้วเป็นแบบ เสือหน้าแมวแต่ดุ ด้วยเนื้อที่น้อย จำกัดลักษณะ จึงมักทิ้งเนื้อที่ใต้ฐานเสือนั่งเอาไว้ เพราะไม่มีเนื้อที่เหลือไว้ให้หลวงพ่อลงเหล็กจารอักขระยันต์ใต้ฐานล่างได้ แต่เพราะความเป็นช่างผู้มากด้วยประสบการณ์ และเป็นเรื่องต้องทราบ ด้วยหลวงพ่อต้องลงอักขระเลขยันต์ในการสร้างเสือขึ้นมาทุกครั้ง นายช่างท่านนี้จึงมักจะเหลือพื้นที่ใต้เสือนั่ง ฝั่งซ้าย-ขวาเอาไว้ เพื่อให้หลวงพ่อมีเนื้อที่ลงอักขระเลขยันต์ได้ตามสูตร

    ดังนั้น เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ฝีมือชั้นเชิงช่าง และสิ่งที่เหลือ ลายมือหลวงพ่อ ในเสือหลวงพ่อปาน จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเก็บรักษาดูแลเป็นอย่างยิ่ง

    เรื่องสูตรจารตัว “เสือ” ของหลวงพ่อปาน ตามสูตรท่านลงแบบ ยันต์ตรีนิสิงเห คือตัวเลขต่างๆ ที่เห็นในภาพ รวมทั้ง ยันต์กอหญ้า ยันต์ฤษีเลื่องลือ

    เสือหลวงพ่อปาน ที่เห็นในภาพนี้ เป็น ยันต์นะปถมัง ยันต์สูตรนี้เมื่อเรียนจบแล้ว ยังต้องรู้ว่า ลงแล้วดีอย่างไร ในหนังสือของ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เขียนเรื่องนี้ไว้ว่า

    ในบุราณคัมภีร์ ท่านได้วางแบบนะอักขรวิเศษต่างๆ ไว้มาก ดังที่ท่านเรียกกันว่า นะ ๑๐๘ แต่แท้ที่จริง บรรดานะอักขรวิเศษเหล่านั้น ท่านแยกออกมาจากสูตรปถมังทั้งนั้น เป็นแต่ผิดเพี้ยนรูปกันไป และคาถาที่ปลุกเสก ก็ต่างออกไป ตามแต่ความมุ่งหมายของชื่อนะเหล่านั้น เช่น เป็นนะทางคงกระพัน ถ้าเป็นเมตตา ก็เสกด้วยคาถาบทที่ว่าด้วยเมตตา

    แต่ปัญหาสำคัญในการที่จะเขียนนะอักขรวิเศษเหล่านั้น จำเป็นจะต้องเขียนขึ้นจากสูตรปถมังพินธุทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นนะเช่นไร ชนิดใดก็ตาม การลงเบื้องแรก จำต้องเริ่มจาก พินธุ ทัณฑะ เภทะ อังกุ สิระ เป็นลำดับกันไป และเมื่อสำเร็จเป็นรูปนะแล้ว จึงค่อยปลุกเสกตามคาถา ที่พึงปรารถนาจะให้เป็นไป เพราะเหตุที่สูตรปถมังพินธุ เป็นรากเง่าใหญ่ของการลงนะทั้งปวง จึงได้มีคำพังเพยของปราชญ์โบราณท่านกล่าวไว้ว่า “ปถมังพินธุ ผู้ใดได้เรียนแล้วนะมิต้องพักขอก็มาเอง”

    ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมเสือหลวงพ่อปาน จึงมีค่านิยมสูงนัก

    ขอขอบคุณเพชร ท่าพระจันทร์ มา ณ. โอกาสนี้ ทำให้ได้รับทราบมุมมองที่ต่างออกไป และข้อมูลที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งมีประโยชน์มากต่อผู้ไม่รู้โดยทั่วไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2009
  9. fluke-za

    fluke-za สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
  10. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    เสือครับ เป็นส่วนปลายเขี้ยว สูง 2 ซ.ม. ก่อนหน้านี้เก็บไว้ในตลับสีผึ้งครับ ของผมเอง วานให้เพื่อนถ่ายให้

    เสือตัวนี้ลงจารครบสูตร ขาหน้าใต้คางลง อุ ข้างละ 1 อักขระ สีข้างด้านละ 2 อักขระ กลางหลังก็ลงไล่จากหัวลงสู่หาง ใต้ฐานลงยันต์กอหญ้า 2 อักขระ และมีการลงลายขีดๆด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2009
  11. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ลงอีกครั้ง ด้านฐาน สังเกตุรอยลานของเขี้ยวครับ ยันต์กอหญ้า จัดแสงไม่ค่อยชัด ยันต์เลยไม่ค่อยเห็น องค์จริงจารลึกมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ใครมีเสือ ลงให้ดูกันได้ครับ
     
  13. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    คุณทอดาวพอแกะกระเช้าออกมาแล้วหล่อดีนะครับสวย
    เสือคุณนิลศิลป์ เสือมีขน^^ สวยงามครับ
     
  14. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ขอบคุณครับ คุณขอบพระคุณ เสือคุณทอดาวหล่อดีใช่ไหมครับ

    เสือมีขนนี่ เขาว่ากันที่รอยจาร (บางท่านว่ารอยลาน ดูเหมือนขน) นะครับ บางเสือจารเต็มไปทั้งตัวเลย รอยจารเท่าที่ผมศึกษามาจากตำราต่างๆ อักขระจะจารเอียงๆครับ ลึกดูมีน้ำหนัก บางเสือจารเป็นอักขระยันต์เลยก็มี

    เสือตัวนี้ ตัวจะเล็กครับ เพราะเป็นปลายเขี้ยว แต่สังเกตุการแกะ จะแกะด้วยมีด และอาจมีเครื่องมือประกอบอื่นๆบ้าง เมื่อต้องแกะจุดที่มีสัณฐานกลมๆนะครับ รอยลานของเขี้ยวเสือต้องลานจากบนลงล่าง ถ้าลานจากซ้ายไปขวาในแนวขวาง จะเป็นเขี้ยวหมี หรือเขี้ยวสัตว์อื่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2009
  15. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    สวัสดีครับ คุณ นิลศิลป์ ผมก็รอจังหวะ กะว่าจะมาแจมหลายครั้งแล้ว แต่ไม่รู้จะเอากล้องที่ไหน ^^" พอดีวันนี้เพื่อนมาที่บ้าน เอาคอมมาให้ผมลง Windowsให้ เหลือบไปเห็นในกระเป๋าสะพาย เย้ยย..นั้นกล้องนี่หว่า(อารมณ์ดีใจสุดๆ ^^) มีภาพแล้ว เย้... จะมาขอแนะนำติชมด้วยคนครับ ได้เต็มที่เลย
     
  16. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    ตัวนี้เป็นตัวแรกๆที่ผมได้มาครับ แห้ง เก่า ใหญ่ สวย ดี ทรงอ้าปากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2009
  17. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    ตัวนี้เป็นตัวแรกๆที่ผมได้มาครับ แห้ง เก่า ใหญ่ สวย ดี ทรงอ้าปากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2009
  18. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    อีกข้าง ได้แสง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2009
  19. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    ด้านหลังครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2009
  20. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    พี่ใหญ่ กับ น้องเล็ก ^^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0451-1.JPG
      IMG_0451-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      94.1 KB
      เปิดดู:
      2,315

แชร์หน้านี้

Loading...