ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    1A83FD1A-A87A-4999-BEF4-18ED35496D74.jpeg
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    027A651F-B02D-4AB5-BF7E-BF1939934C69.jpeg

    เราจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ถ้าจิตเรามันตื่นผ่องใสได้ ธรรมที่เราได้ประพฤติปฏิบัติไว้ในความเพียร ในการเจริญมนต์เจริญภาวนาแล้ว ในขณะจิตที่เราสงบปัญญามันจะมารวมตัวกันในขณะนั้น นั้นอย่าได้ทอดทิ้งในการที่เราจะได้ฝึกจิต

    ในจิตที่เราว่างจากความคิดว่างจากอุปาทานเป็นอย่างไร ไอ้ความคิดที่มีความอยาก..อยากจะประพฤติปฏิบัติ อยากจะต้องการหลุดพ้น อยากจะทำความดี อยากจะช่วยเหลือใครๆเหล่านี้ สิ่งความอยากตรงนี้มันไม่ใช่กิเลส มันเป็นเพียงความอยากที่ไปในทางเดินแห่งมรรค อย่างนี้เค้าเรียกว่าความอยากของอริยชน ผู้ที่จะก้าวล่วงการพ้นทุกข์ในคราวต่อไป..

    แต่ว่ากิเลสที่มีความอยากที่เป็นกิเลสนั้น คือความอยากทะยานให้จิตนั้นมันฟุ้งซ่านรำคาญใจ ทำจิตให้ฟุ้งซ่าน ทำจิตให้วุ่นวาย อย่างนี้เรียกว่ากิเลส ทำจิตให้มันโลภ ทำจิตให้โกรธ ทำจิตให้หลง..อย่างนี้เรียกกิเลส ถ้าจิตปราศจากสิ่งเหล่านี้ แต่มีความปรารถนาอยากพ้นทุกข์ อยากประพฤติปฏิบัติ อยากอบรมบ่มจิต อยากจะแก้ไขตนให้พ้น รู้เท่าทันกิเลส แต่ก็ยังไม่สามารถเอาชนะกิเลสได้ เหล่านี้แลเค้าเรียกเป็นผู้มีญาณทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นคนประพฤติปฏิบัติธรรมมาแล้วไม่ว่าจะกี่ภพกี่ชาติแล้วเมื่อสะสมมา เค้าจึงบอกว่าอย่าไปประมาทหรือปรามาสผู้ทรงญาณผู้ทรงสมาธิ เราไม่ได้รู้เลยว่าเค้ามีญาณอะไรมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นคำว่าญาณคือการล่วงรู้ในความเบื่อหน่ายแห่งการเกิด ความล่วงรู้ในสิ่งทั้งปวง แต่เรายังไม่สามารถจะออกจากสิ่งนั้นได้ เค้าเรียกว่ารู้..แต่ว่าเวลามันยังไม่ถึง

    นั่นก็หมายถึงว่าเป็นเพราะอำนาจแห่งกรรมที่ไม่มีใครสามารถจะหลีกเลี่ยงได้ และฝ่าฝืนได้ คือจะต้องชดใช้ คือต้องสนองในกรรมนั้นก่อน แม้ว่าจะเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบารมี พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ถึงเวลาที่จะต้องชดใช้กรรมก็ต้องเสวยในกรรมนั้น หาว่าจะได้หลีกเลี่ยงได้..ไม่มี

    ดังนั้นผู้มีญาณก็คือรู้ว่าการเกิดมาเป็นทุกข์..นี่คือตัวรู้ รู้ว่าสิ่งที่ทำไปแล้วมันจะให้ผลอย่างไร..นี่เป็นผู้มีญาณทั้งนั้น แต่ทำไมเมื่อรู้อย่างนั้นแต่ก็ยังทำ..เพราะอำนาจแห่งกรรมโดยแท้ เมื่อเรารู้แต่ไม่สามารถที่จะข้ามกรรมนั้นได้ ก็เพราะเหตุว่าเรานั้นยังไม่รู้โทษรู้คุณมันอย่างแท้จริง

    ถ้าเรารู้โทษรู้คุณมันอย่างแท้จริงแล้ว ไอ้คำว่ารู้แล้ว..เราจะไม่สงสัยในตัวรู้นั้น เมื่อไม่สงสัยข้ามตัวรู้ไปได้นี่แลเค้าเรียกตัวปัญญา ตัววิมุติมันก็แจ้งมันก็เกิด เมื่อมันแจ้งกับจิตแล้ว ความลังเลสงสัยใดๆที่เรานั้นจะสงสัยก็จักไม่มีอีกต่อไป ในการที่เราจะประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึงทาน ศีล ภาวนา ว่าการอบรมบ่มจิตให้รู้จักการสละรู้จักการให้นั้นมีอานิสงส์อย่างไร

    ทำจิตให้ตั้งมั่นเบิกบานผ่องใสเพื่อเข้าถึงศีลนั้นมันเป็นอย่างไร ด้วยการเจริญภาวนาและอบรมบ่มจิต ให้เกิดปัญญาตัวรู้รอบแล้วในกองสังขารในกองทุกข์มันเป็นอย่างไร อย่างนี้เค้าเรียกว่าเป็นผู้มีญาณ เหมือนที่โยมมาประพฤติปฏิบัติธรรมก็หวังว่าจักได้วิชาก็ดี จักสะสมบารมี ผู้ที่อยากประพฤติปฏิบัติเหล่านี้เป็นผู้มีญาณทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    คือไม่ใช่ว่าจะไม่เข้าใจว่าไอ้ตัวญาณเป็นอย่างไร ญาณคือตัวหยั่งรู้..หยั่งรู้การเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ยังไม่สามารถออกไปได้ แต่ก็รู้ เช่นเห็นคนทุกอย่างเป็นทุกข์ ก็อยากปรารถนาจะช่วยเหลือเค้า คือการสงเคราะห์โลก สงเคราะห์สัตว์ อย่างนี้แลเรียกว่าเป็นผู้มีญาณ เห็นภัยในวัฏฏะ

    แต่ว่ามนุษย์ผู้ใดก็ตามเมื่อยังไม่ถึงวาระกรรมบารมีเต็ม ยังไงก็ต้องเสวยวิบากกรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ผู้ที่มีญาณที่ล่วงรู้แล้วนี่แล หากกรรมมันจะหนักมันก็จะเป็นเบา เพราะเป็นผู้ที่มีตัวรู้คือยังมีสติกำหนดรู้ได้ คือจะไม่ทำอะไรที่เป็นกรรมนั้นหนักจนเกินไปอย่างนี้

    นั้นการฝึกญาณให้หยั่งรู้ก็คือ..หยั่งรู้ในกายนี้ว่ากายนี้เป็นทุกข์เพียงใด การเกิดเป็นทุกข์เพียงใด เมื่อเรามีญาณอย่างแท้จริง ญาณของเรานั้นมันเข้มแข็งแล้ว การจะละในกายก็ดี ละความเพลิดเพลินพอใจก็ดี เหล่านี้มันจะเหลือน้อยลง นั่นก็หมายถึงว่าการเข้าถึงจิตวิญญาณอย่างแท้จริง..

    ยิ่งเราลดปัจจัยในการที่ครองเรือนให้เหลือน้อย อยู่ในปัจจัย ๔ แล้วไซร้ สุขมันก็มีมาก ทุกข์มันก็เหลือน้อย นั่นก็คือภาระหน้าที่ที่เราจะต้องรับผิดชอบ ปัจจัย ๔ มีอะไรบ้าง ที่อยู่อาศัยนี่ใช่ปัจจัย ๔ มั้ย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค อาหาร น้ำนี่ถือเป็นอาหารมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นค่ะ) เหล่านี้..

    แต่เมื่อผู้มีญาณแล้วเมื่อไม่ข้องติดกับสิ่งใด ก็แค่จะเหลือแต่อาหารที่จะหล่อเลี้ยงกายสังขาร ก็เรียกว่าเค้าจะละลงไปลงไป แต่ผู้ที่ข้องอยู่อยู่ในโลกนี้ก็ย่อมเป็นทุกข์เป็นธรรมดา เมื่อรู้ว่าโลกนี้เป็นทุกข์เพียงใดแล้วนั่นแลเค้าถึงจะละออก เค้าเรียกว่าถือเพศพรหมจรรย์ก็ดี

    แล้วถามว่าการถือเพศพรหมจรรย์นี้มีคุณมีสมบัติมีประโยชน์อย่างไร ก็เมื่อโยมมีความเชื่อมั่นศรัทธาในทางเดินแห่งมรรค ทางเดินของโยมนั้น..อุปสรรคมันก็น้อย แต่ถ้าโยมยังครองเรือนอยู่มันก็เป็นธรรมดา..อุปสรรคมันก็มาก นั้นศีลที่เราจะอยู่ด้วยกันนั้นมันก็ต้องมีความเสมอภาคกัน เมื่อเสมอภาคกันแล้ว..ทานในการให้มันก็ต้องทำมาพอๆกัน ศรัทธามันก็ไปในทางเดียวกัน ในความคิดมันก็ต้องไปในทางเดียวกัน

    คำว่าไปทางเดียวกันเสมอกัน..คือไปในทางเหมือนๆกัน คล้ายๆกันนั่นแล ดังนั้นแล้วถ้าทางใดเราหาแบบนั้นไม่ได้ ขอให้เราเลือกเดินคนเดียวไปคนเดียวโดยลำพัง เพราะเมื่อถึงเวลาแล้วเราเกิดมาผู้เดียวเราก็ต้องตายผู้เดียว อย่างที่ฉันบอกเมื่อเรานั้นช่วยเหลือตัวเองได้ เราจะย้อนกลับไปช่วยใครก็ยังได้ แต่ถ้าเรายังช่วยตัวเองไม่ได้..แม้คนที่จะให้เราช่วยอยู่ตรงหน้าเรา เราก็ช่วยอะไรเค้าไม่ได้

    แม้โยมจะมีคุณวิเศษมีตาทิพย์ญาณทิพย์อะไรก็ตาม..ว่าไอ้บุคคลนี้อีกไม่นานเค้าต้องมีวาระกรรมที่มาพิพากษา เกิดอุบัติเหตุแห่งกรรมก็ดี แต่ถึงแม้โยมรู้แต่ก็ช่วยเค้าไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าอาจจะตายต่อหน้าเราก็ได้ มีอยู่หนึ่งอย่างที่ว่าเราจะช่วยเค้าได้ ก็คือเมื่อรู้ว่าวาระกรรมเค้าจะมาถึงให้เราแผ่เมตตาให้เค้าเสีย เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่เป็นสิ่งที่เราช่วยได้

    ถ้าโยมไปบอกเค้าว่าเค้าจะต้องเจอเหตุการณ์อย่างนี้ กรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่มีใครฟังใครได้ เพราะกรรมมีอำนาจเหนือกว่า เข้าใจมั้ยจ๊ะ เราก็ไม่สามารถรับแทนเค้าได้ ถ้าฟ้าผ่ามาตรงนั้นพร้อมกัน หากเราไม่มีกรรมเกี่ยวพันกับเค้า เราก็ไม่มีที่จะต้องไปมีอุบัติเหตุกรรมกับเค้าได้ แต่ถ้าเราเคยร่วมกรรมกันมา..ยังไงมันก็ต้องดึงให้เรานั้นไปรับเสวยกรรมเหมือนกับเค้า

    ดังนั้นแล้วการเป็นผู้ที่รู้และมีญาณหยั่งรู้มันก็ดีอย่างหนึ่ง คืออย่างน้อยให้ช่วยเหลือตัวเองให้พ้นจากทุกข์นั่นเอง เมื่อเรามีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะขวนขวายพากเพียรในการปฏิบัติ แล้วไม่มีการยี่หร่ะย่อท้อในการประพฤติปฏิบัติ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    A2953D8F-385B-41C0-8DA9-B1E5C3E4E56C.jpeg

    เราสอนคนอื่นน่ะ..เคยสอนตัวเองได้บ้างรึยัง เราต้องสอนตัวเองให้ได้ ไม่ใช่เที่ยวไปพร่ำสอนคนอื่น เราต้องสอนตัวเอง เตือนตัวเอง ตำหนิตัวเองให้ได้ ลดละอารมณ์อัตตาตัวเองให้ได้ ถ้าตัวยังพองเหมือนอึ่งอยู่ยังใช้ไม่ได้ พอมีความโกรธมีผัสสะมากระทบหน่อยมีอารมณ์น่ะ..เค้าเรียกว่าเหมือนอึ่งทำตัวใหญ่

    มันต้องเท่าทันอารมณ์ ผู้นักปฏิบัติ..ต้องไม่มีพิษไม่มีหนาม คือต้องมีเมตตามีพรหมวิหารเป็นเครื่องอยู่ ใครไม่มีพรหมวิหารเป็นเครื่องอยู่นี่..แม้จะมีการรักษาศีลก็ตาม เจริญซัก ๑๐๐ ปี..ศีลก็ยังด่างพร้อยอยู่อย่างนั้น เพราะพรหมวิหาร ๔ เป็นที่รองรับศีล เป็นที่รองรับธรรม เป็นที่รองรับปัญญาวิปัสสนา เป็นที่รองรับพระนิพพานทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นพรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง เมตตาเรามีให้กับคนอื่น มีให้กับตัวเอง เราอยากให้ตัวเองนั้นพ้นทุกข์ เราเองก็อยากมีสุข ถ้าเราเป็นอย่างนั้น เราก็อยากให้คนอื่นมีเหมือนแบบเราอย่างนั้น..นี่เรียกมีความเมตตา มีเมตตามีกรุณาเป็นอย่างไร อยากช่วยเหลือถ้าใครเป็นทุกข์ มุทิตาเป็นยังไงจ๊ะ มีความยินดีกับคนอื่นเค้า อย่างนี้เค้าเรียกว่ามุทิตา ไม่อิจฉาไม่ริษยา ไม่อาฆาตไม่พยาบาท นี่เค้าเรียกมุทิตา จนนำไปสู่การวางเฉยได้ถ้าเราช่วยใครไม่ได้..

    ถ้าเราพอที่จะช่วยได้ ยื่นมือช่วยได้ นั่นเรียกว่ามุทิตาทั้งนั้น อยากช่วยเหลืออยากสงเคราะห์คือมีความกรุณา มันเป็นอย่างนั้นรึเปล่าผู้นักปฏิบัติ ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นเรายังห่างไกลจากการเป็นผู้บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ยังไม่ใช่สมณชีพราหมณ์ แสดงว่าเป็นพวกอลัชชีทั้งนั้น..

    รู้จักอลัชชีมั้ยจ๊ะ ฉันถามว่าอลัชชีพวกโยมรู้จักรึเปล่า ต่อไปมันจะมีอลัชชีมาก อลัชชีนั้นหมายถึงว่าปฏิบัติตามมรรคข้อปฏิบัติ อ้างข้อปฏิบัติแต่ทำไม่ได้ นี่เรียกเป็นพวกอลัชชี ตั้งกฏมามากมายแต่ปฏิบัติไม่ได้เลย ฉันถึงบอกว่าโยมต้องมีพรหมวิหาร ๔

    แล้วคนที่ประพฤติปฏิบัติมากๆเข้าแล้วจะเรียกว่าใกล้เข้าถึงสวรรค์ เข้าถึงนรก บุคคลผู้นั้นแลจะพ้นจากนรกสวรรค์ เข้าแดนนิพพานทั้งหมด..เพราะอะไร เพราะมนุษย์นั้นเชื่อเรื่องกรรมดี เชื่อเรื่องกรรมชั่ว เชื่อว่าเมื่อทำดีไปสวรรค์ เมื่อทำชั่วต้องลงนรก พวกนี้จะมีหิริโอตัปปะ

    แต่ถ้าพวกโยมไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มันมีจริง พวกนั้นจะไม่มีหิริโอตัปปะ นั้นฉันบอกว่าบุญคือความสุข คือความเย็นจิตเย็นใจ คือความสบายใจ กุศลคือความฉลาดของจิต นั้นสิ่งใดที่โยมทำอยู่แม้จะเป็นความคิด คิดดี คิดปรารถนาดีกับคนอื่น จิตใจเราจะเร่าร้อนหรือมีความสงบ เคยรู้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : มีความสงบค่ะ) เมื่อเราคิดพยาบาทใครอิจฉาใครจิตใจเราเป็นยังไง (ลูกศิษย์ : เร่าร้อน) เออ..เราไม่ต้องให้ใครตรวจ เราก็ตรวจของเราได้อยู่แล้ว ใช่มั้ยจ๊ะ

    ถ้าเกิดสภาวะแบบนั้นต้องทำอย่างไร เคยเพ่งโทษมันรึเปล่าจ๊ะ ต้องตรวจดูหรือว่าต้องไปอาฆาตพยาบาทแก้แค้นไอ้คนนั้นมัน ที่มันเกินหน้าเกินตาเรา แสดงว่านรกกับสวรรค์นี่มันอยู่ที่ไหนจ๊ะ (ลูกศิษย์ : อยู่ที่ใจเจ้าค่ะ) แสดงว่าอยู่ใครที่จะไปที่จะเลือก..อยู่ที่เรามั้ยจ๊ะ มนุษย์เลือกได้ สร้างสวรรค์นรกได้ คนที่สร้างสวรรค์นรกคือมนุษย์เป็นผู้สร้างนะจ๊ะ อยู่ที่โยมจะไป..

    บางคนก็สร้างเมืองนิพพานเอา..อยู่ที่การเกิดเป็นมนุษย์ทั้งนั้น ที่จะสามารถเลือกสวรรค์ พระนิพพาน แม้แต่นรกอเวจี มนุษย์สามารถเลือกได้ ความเป็นมนุษย์มันเหนือกว่าเทพเทวดาตรงนี้ ถ้าโยมเป็นมนุษย์แล้วไม่ไขว่คว้าโอกาสตรงนี้ที่มีกายสังขาร เพราะเรามีกายนี้ ยังมีกายเทพ พรหม เทวดา มนุษย์ เปรต อสุรกาย และต่ำลงไปกว่านั้น มีทั้งหมดอยู่ในนี้..

    โยมฝึกจิตให้เป็นอย่างไร โยมก็สามารถสื่อสารกับสิ่งเหล่านั้นได้ ฝึกจิตให้เป็นเทพเทวดา โยมก็สามารถคุยกับเทพเทวดาเค้าได้ เพราะว่าเมื่อจิตมันเสมอเหมือนกัน เรียกว่าศีลมันเสมอเหมือนกัน ศักดิ์มันเหมือนกันเท่ากัน มันก็คุยกันได้ คนที่จิตใจเป็นอกุศลมันก็จะมีแต่สิ่งที่ไม่ดีคอยมาบอกมากล่าวให้ทำอย่างนั้น..

    จิตเราเนี่ยะฝึกได้ โยมอยากเป็นอรหันต์โยมก็ต้องฝึกจิตให้เป็นอรหันต์ จิตพระอรหันต์เค้าทำยังไง โยมตอบไม่ได้เพราะไม่เคยเป็นพระอรหันต์..หรือยังไง จิตเทวดาเป็นยังไง (ลูกศิษย์ : มีหิริโอตัปปะ) อืม..อันนี้อาจจะเคยเป็นได้บ้าง แต่ส่วนมากเทวดาอยู่บนสวรรค์ได้ไม่ค่อยนาน ร่วงมาหมด..อยากเกิด นั้นเราอยากจะเป็นอะไรเราก็ฝึกจิตให้เป็นสิ่งนั้น

    แสดงว่ามนุษย์นี้มีโอกาสมากมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : มากครับ) แต่ส่วนมากพวกโยมไม่ค่อยเห็นโอกาส แต่ชอบทำลายโอกาส ฉันถึงบอกว่าคนที่มาเจริญทาน ศีล ภาวนา มาสวดมนต์ มาอบรมบ่มจิต ได้รักษาศีล ได้เจริญเมตตา ได้สวดมนต์ ได้ฟังธรรม เป็นบุญยิ่งนัก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    C870AA83-8369-4924-8190-11D2D2E9CCA8.jpeg

    หลังชีวิตที่โยมจะตายไปนี้ มีแต่บุญเท่านั้นที่จะรองรับ คอยหนุน คอยส่งคอยเสริม เหมือนเสบียงเหมือนอาหารเมื่อยามเราหิว แม้แต่ในขณะปัจจุบันแห่งภพนี้ กรรมในอดีตที่เป็นกรรมชั่วที่เราทำไว้ แต่เมื่อเราทำกรรมดีไว้นี่แล มันจะช่วยไปค้ำจุนผดุงกรรมในกรรมในอดีตไว้ได้ ไม่ให้มันลุกลามบานปลาย แม้จะหนักมันก็เป็นเบาได้ บุญทั้งนั้นที่โยมได้เจริญอยู่ ที่เค้าตามให้ผลอยู่..บุญทั้งนั้น

    อย่าได้ไปเรียกร้องเทพเทวดาฟ้าดินว่าเค้าไม่ช่วยเรา แต่ถามว่าโยมสร้างบุญสร้างกุศลอะไรบ้าง ช่วยเหลือตัวเองบ้างหรือยัง หรือกินแต่บุญเก่า คนที่มีโอกาสได้มาเจริญภาวนาสวดมนต์ ได้มาอบรมบ่มจิต ได้มาอยู่วิเวกสัปปายะสันโดษ โดยที่ไม่มีภาระ นี่เค้าเรียกว่าใกล้หมดเวรหมดกรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ เรียกว่าต้องมีบุญอย่างมาก เพราะถ้าไม่อย่างนั้นโยมจะภาวนาอยู่ เดี๋ยวลูกเมียลูกผัวก็รบกวน ใช่มั้ยจ๊ะ

    แต่เปล่า..ตรงกันข้ามคนที่มาบวชมาภาวนาไม่เห็นความสำคัญอย่างนั้น นั้นขอให้จำเอาไว้ โยมต้องเอาชนะใจตนเองให้ได้ ใจตนเองนี้แลถ้าเราเอาชนะไม่ได้ อย่าได้ไปดับพวกตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่มันจะมาผัสสะกระทบ..โยมดับมันไม่ได้ เพราะใจเรายังมีเหตุ ยังเร่าร้อนอยู่ ยังมีเชื้ออยู่

    ถ้าดับใจได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเมื่อจะสัมผัสอะไรมันก็ดับได้หมด..ถ้าดับใจได้ เพราะเหตุประธานแห่งกรรม เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย..มันอยู่ที่ใจของโยม คือให้รู้เท่าทันจิตเท่าทันใจ ไอ้ตาที่มันจะมาผัสสะมากระทบรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเหล่านี้ ถ้าดับที่ใจได้แล้ว รูป เวทนา สัญญา สังขาร..มันก็ดับได้

    นั้นอย่าไปตามรู้ ถ้ายิ่งตามรู้จิตยิ่งปรุงแต่ง แต่ให้กำหนดรู้ ตามรู้กับกำหนดรู้มันต่างกันแล้วทีนี้ กำหนดรู้คือตัวมีสติเฉพาะหน้าในขณะที่สิ่งที่ทำให้เรารู้ แล้วไอ้ที่เรารู้นั้นแลเราไปปรุงแต่งตัวรู้หรือไม่ แล้วที่รู้น่ะมันรู้มาอย่างไร ถ้ารู้นั้นมันเป็น..รู้ในด้านอกุศลหรือกุศล แล้วเราให้ความสำคัญให้ความพอใจให้ความเพลิดเพลินมันหรือไม่

    ถ้าเรารู้แล้ววางตัวรู้นั้นได้..นิโรธมันก็บังเกิด นั่นเรียกว่ากรรมก็ดับ ถ้าเราไม่ไปติดใจไม่ไปพอใจ ภพชาติก็ดับในตอนนั้น ฝึกแบบนี้..นี่เรียกว่าวิปัสสนา นี่เรียกว่ากรรมฐาน อย่าไปตามรู้แต่ให้กำหนดรู้ ตามรู้เป็นอย่างไร การตามรู้คือการส่งจิตออกไปภายนอก คือการปรุงแต่งของจิตของอารมณ์นั่นแลเรียกว่าตามรู้ ไม่มีทางที่จิตจะสงบได้เลย..

    นั้นกรรมฐานเจริญวิปัสสนาเนี่ยะ..ตัวรู้กับตัวสติในการกำหนดรู้เท่าทันจึงต่างกัน นั้นคนที่มีสติตั้งมั่นมีสมาธิเค้าจะกำหนดรู้ กำหนดรู้..รู้แล้ววาง ไอ้ตัววางนี่แลคือนิโรธ ถ้ามันวางไม่ได้นิโรธก็เกิดไม่ได้เช่นเดียวกัน เมื่อนิโรธเกิดไม่ได้มันดับอารมณ์นั้นไม่ได้..มันก็ค้างอยู่อย่างนั้น มันก็จะมีความลังเลสงสัย การจะไปพิจารณาธรรมวิปัสสนาเดินญาณมันก็เดินไม่ได้

    นั้นเราต้องวาง อย่าไปยึดในทุกสรรพสิ่ง รู้แล้ววาง รู้แล้วถึง..ถึงรู้แล้วทิ้งรู้ให้ได้ เพราะตัวรู้ที่แท้จริงมันไม่ใช่เกิดจากตัวเราไปคิดปรุงแต่ง เพราะตัวปัญญาตัววิปัสสนาญาณต้องรู้ด้วยจิตของมันเอง โดยที่เราไม่ต้องนึกคิด เพราะคำว่านึกยังเป็นสัญญาความจำมั่นหมายอยู่ ยังเป็นของโลกๆที่ยังไม่ข้ามสมมุติบัญญัติ คือสัญญาที่เราจำไว้ ยึดมั่นถือมั่นไว้ ไม่ว่าอดีตภพไหน

    นั้นขอให้รู้..ผู้นักปฏิบัติทั้งหลายชอบหลงตรงนี้ หลงว่าตัวเองเห็นอย่างนั้นรู้อย่างนี้ นี่เค้าเรียกว่ายังรู้ไม่จริง เพราะยังไม่รู้เท่าทันในสังขารตัวเองแห่งความคิด ว่าไอ้ความคิดนั้นมันเป็นความคิด มันเป็นสัญญา มันเป็นความจำ..แยกกันไม่ได้ เมื่อแยกไม่ได้มันยังไม่เข้าถึงวิปัสสนาญาณ ยังไม่รู้เท่าทันความคิดตัวเอง นี่เรียกความหลง มันไม่ใช่วิชชา..มันเป็นอวิชชา

    อย่างที่ฉันบอกถ้านั่งสมาธิแล้วยังมีความเคลิบเคลิ้มมีความง่วงอยู่ จิตยังไม่สว่างยังไม่ตื่นรู้ ไม่สามารถข้ามนิวรณ์ได้ โยมจะเอาอะไรมาคุยได้ว่าโยมเจริญกรรมฐานอยู่ เห็นนั่งสมาธิกันนั่งคำนับกันใหญ่เลย คำนับ ๑ คำนับ ๒ คำนับ ๓ พวกนี้หลงศาลมา ชอบคำนับ เพราะคนที่เข้าสมาธิได้จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นน่ะกายมันก็จะตั้งมั่นไปในตัว จำไว้นะจ๊ะ

    เพราะกายกับจิตนี่..เมื่อจิตมันตั้งมั่นแล้วกายมันก็ต้องตั่งมั่น อ้าว..ไม่งั้นจะเรียกว่ากาย วาจา ใจนี่มันต้องสงบ ถ้ามันยังคำนับ ๑ คำนับ ๒ อยู่เนี่ยะมันไม่ได้ตั้งมั่น สติมันยังระลึกไม่เท่าทันเลย เพราะถ้าตั้งมั่นมันต้องรู้ว่าตอนนี้มันคำนับอยู่แล้ว คำนับ ๒ คำนับ ๓ แล้ว..

    เค้าถึงบอกว่าการดูลมหายใจ สมถะดูลมนี่เค้าเรียกดูกาย แสดงว่ายังมีสติอยู่ในกาย อันดับแรกเราต้องภาวนาจิตดูลม ดูกายในกาย ดูจิตในจิตให้ได้ก่อน นี่คือวิตกวิจารคือปฐมฌานขั้นตน ทำตัวนี้ให้มันคุ้นเคยเหมือนเราเขียน ก.ไก่ ไม่ว่าโยมจะเดินเจริญฌาน ๔ วิปัสสนาอะไรก็ตาม เราต้องวิตกวิจาร..เพราะอะไร

    เพราะเราไม่ใช่นักบวช แม้นักบวชก็ยังทำไม่ได้ เพราะไม่สามารถทรงศีลได้ตลอดทั้งวี่ทั้งวัน จิตมีการแตกแขนงออกไปตลอดเวลาของอารมณ์ เพราะฉะนั้นเราต้องเกลี้ยกล่อมจิตก่อน อันดับแรกก็ต้องมีภาวนา คือการเรียกจิตเข้ามา ให้ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมมันประชุมธาตุกัน ให้จิตมันตั้งมั่นมีกำลัง เช่นว่าการภาวนา หรือกำหนดรู้วิตกของอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เอามาเป็นอารมณ์อย่างนี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    4B313F20-E3AF-4658-9DC8-597EFEF881D5.jpeg

    คำว่าปฐมฌานคือชั้นต้นของมัน เราต้องมีการภาวนา เมื่อเราภาวนาสิ่งใดอยู่..อย่างอื่นเราต้องตัดออกไปเสียให้หมด อย่าได้สนใจว่าอาจารย์นั้นสอนมาอย่างนี้..ไม่ต้องสนใจ แต่เมื่อเราทำสมาธิภาวนาจิตไปภาวนาจิตไป เมื่อถึงจิตมันสงบนิ่งแล้ววิชชาทั้งหลายที่โยมฝึกมาจะได้ใช้ตอนนั้น

    แต่ตอนขั้นต้นในปฐมฌานต้องทิ้งทุกตำรา เอามาใช้ไม่ได้ตอนนั้น จำไว้นะจ๊ะ เพราะเอามาใช้ได้อย่างไร เพราะจิตโยมยังไม่สงบ จิตไม่สงบโยมไปอ่านอะไรก็ไม่เข้าใจ แต่ถ้ามันสงบแล้วจิตมันจะสอนของมันเอง เออ..เพราะจิตมันคือตัวรู้ ไอ้ตอนที่โยมยังไม่มีสติมันยังไม่รู้อยู่น่ะ..โยมจะสอนตัวมันเองได้อย่างไร เค้าต้องมีพื้นฐานก่อน

    พื้นฐานจิต..ต้องมีอะไรก่อน จิตต้องสงบก่อน ต้องมีศีลก่อน ต้องมีทานก่อน ถึงจะรองรับภูมิธรรมภูมิปัญญา ไม่ใช่นั่งเริ่มสงบปั๊บยังไม่สงบดี ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ สวดมนต์สงบนิดๆหน่อยๆก็อยากจะนั่ง ตัวนี้เรียกว่าเป็นอุปกิเลสทั้งนั้น นั้นขอให้โยมมีทาน ศีล ภาวนาก่อน มีพื้นฐานก่อน นั้นจึงเรียกว่ากรรมฐาน เป็นฐานที่รองรับการงานของจิต ตรงนี้ต้องให้เข้าใจก่อน

    มันจึงมีสมถกรรมฐาน..คืออะไรสมถกรรมฐาน คือการดูเอาความสงบเป็นอารมณ์นี่สมถกรรมฐาน เช่นภาวนาจึงเรียกว่าสมถะ แล้วก็วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานเป็นยังไง คือการหยิบยกอารมณ์แห่งกรรมฐาน คือการพิจารณาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งให้จิตเราได้เห็นความหดหู่ ความสลดสังเวชของกายก็ดี ของอารมณ์เหล่านั้นก็ดี ให้เห็นกฏแห่งไตรลักษณ์แห่งตัวทุกข์..ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาอย่างนี้ สลับกับสมถะ

    เมื่อเราดูกาย..ดูกายสงบเราก็มาดูจิต จิตก็คือดูอารมณ์ ต้องรู้อารมณ์ของจิตของเรา..คือจริต บางคนมีราคะจริตมาก บางคนมีโทสะจริต มีโมหะจริตคือความหลง ความไม่รู้ คือต้องพิจารณาใช้ปัญญา ราคะจริตก็คืออะไร..มีความกำหนัดมาก แม้นั่งอยู่เมื่อหลับตาก็ดีก็มีความกำหนัดมีความอยาก บางคนมีความง่วงก็ดี นี่เค้าเรียกกำหนัดทั้งนั้น บางคนมีปฏิฆะพอใจในรูปในราคะนั้นอย่างนี้

    เค้าก็จึงมีวิธีให้พิจารณาให้เห็นของตรงกันข้ามของอารมณ์นั้น คือเอามาแก้กัน อย่างนี้เรียกวิปัสสนากรรมฐาน สลับกับสมถกรรมฐาน คือภาวนาเข้าไปเป็นอารมณ์อยู่อย่างนี้ นั้นเราจะเห็นแต่จิตของเราอย่างเดียว เห็นแต่อารมณ์ของเราอย่างเดียว เห็นจิตเฉพาะหน้า จิตเราจะไม่ส่งออกไปข้างนอก ทำอยู่อย่างนี้จนสงบตั้งมั่นของมัน

    แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสติสมาธิมันเริ่มมีกำลังแล้ว เมื่อเราภาวนาไปมากๆสลับกับการพิจารณาละอารมณ์ไป ละอารมณ์ไป ละอารมณ์ไป จนถึงที่สุดอารมณ์มันดับ..นิโรธบังเกิดนั่นเอง เราภาวนาไปมันจะเกิดปิติ ปิติเกิดอย่างไร รู้สึกว่ามีความซาบซ่านมีความสุข แสดงว่าจิตเราเริ่มตื่นมีกำลัง

    พอเรามีกำลังแล้วสามารถข้ามนิวรณ์ได้ แต่ก็ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เช่นข้ามความง่วงได้ ความสงสัยตอนนั้นไม่มี ราคะตอนนั้นก็ไม่มี เมื่อฌานบังเกิดสมาธิบังเกิดแล้ว จะให้มีอารมณ์ตอนนั้น..มันก็จะเฉยๆ เพราะมันจะเข้าไปในอุเบกขาฌานแล้วตอนนี้

    เค้าจึงบอกว่าให้เราพิจารณาภาวนาไป เมื่อถึงขั้นของจิตแล้ว จิตที่เข้าถึงความสงบแล้ว จิตที่จะสงบได้จิตมันต้องว่างจากความคิดให้ได้เสียก่อน ว่างจากอดีต ว่างจากอนาคต รู้อยู่แต่เฉพาะหน้าของจิตในขณะนั้น เค้าเรียกว่าเอกัคคตา..จิตตั้งมั่น

    เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว รู้ ได้ยิน สมาธิที่บอกว่าสงบ..ไม่ได้บอกว่าใครพูดอะไรแล้วไม่ได้ยิน..ได้ยิน แต่จิตไม่ยึดสิ่งที่ได้ยินมาเป็นอารมณ์ นั่นเค้าเรียกว่ามีสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิพอได้ยินแล้วจิตมีความฟุ้งซ่าน นั่นเรียกว่าจิตเรานั้นไม่เท่าทันในสิ่งที่ได้ยิน จิตยังไม่ตั้งมั่น จิตยังไม่มีกำลัง

    เพราะจิตที่วางอุเบกขาหรือจิตที่เป็นสมาธิแล้ว จิตจะไม่มีโมหะจริต ราคะจริต โทสะจริตเข้าไปเกี่ยวข้องในอารมณ์นั้น เค้าเรียกว่าสักแต่ได้ยิน สักแต่ได้รู้ แม้ความคิดก็สักแต่ว่าคิดอย่างนี้ เพราะมันอยู่ในอุเบกขาฌาน อุเบกขาแปลว่าวางเฉย ฌานคือการเพ่งของอารมณ์นั้น อย่างนี้ต้องทำอารมณ์นี้ให้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เพื่ออะไร..ที่ต้องทำอารมณ์นี้ให้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เพื่อให้จิตนั้นมันชินกับอารมณ์นี้

    เมื่อจิตมันวางอยู่บ่อยๆ จิตมันว่างอยู่บ่อยๆในความสงบอยู่บ่อยๆ จิตมันจะดื่มด่ำอมตะรสแห่งธรรมไว้ แล้วเมื่อถึงขั้นนั้นแล้วจิตมันจะสอนตัวมันเอง มันจะสลับกับการมาดูจิตแล้ววิตกอารมณ์ที่เกิดขึ้น พิจารณาธรรมของมัน ฉันจึงบอกว่าให้เรานั้นตรึกตรองพิจารณาในกายสังขาร คือสติปัฏฐาน ๔ น้อมจิตเข้าไปในสติปัฏฐาน ๔

    บุคคลที่จะตัดละสังโยชน์ในกายก็ดี ในภพชาติก็ดี ในทางเดินแห่งมรรคก็ดี เมื่อจิตเรานั้นเข้าถึงอุเบกขาฌานแล้ว ในอุเบกขาฌานนี้ถ้าเราไม่น้อมจิตมาพิจารณาธรรมมันจะวางเฉยอยู่อย่างนั้น นั้นเอาความว่างเอาความสงบนั้นแลแห่งการวางเฉย การวางเฉยไม่ได้บอกว่าเราไม่ได้สนใจอะไร แต่การวางเฉยนั้นหมายถึงว่าเราวางจิตนั้น ไม่ส่งใจออกไปภายนอก จิตที่ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญใจแล้วเหมาะกับจิตที่เราจะไปอบรมบ่มจิต คือการพิจารณาธรรม

    นั้นเราก็น้อมจิตเข้าไปในสติปัฏฐาน ๔ คือดูกายในกาย คือยังรู้ลมอยู่ในกาย แม้ลมนั้นจะละเอียดก็รู้ ปราณีตก็รู้ สัมผัสไม่ได้ก็รู้ นี่เค้าเรียกรู้กายในกาย เวทนาในเวทนาคืออะไร เมื่อรู้กายในกายแล้ว เราต้องรู้จิตว่าสภาวะจิตตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องรู้เวทนาในเวทนาของอารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้น..ตั้งอยู่ในขณะนี้ มันสงบจริงมั้ย มันว่างจริงมั้ย อย่างนี้..เราจะสามารถดูจิตเราได้

    จิตเป็นอย่างไรตอนนี้ จิตยังมีราคะอยู่มั้ย โทสะล่ะยังมีอยู่มั้ยดูซิ..นี่เค้าเรียกว่าการตรึกตรองพิจารณาในอิทธิบาท ๔ ของอารมณ์ ก็วิมังสาคือการพิจารณา เมื่อเราจดจ่อตรึกตรองของจิตแล้ว เราต้องพิจารณาอีก นี่เค้าเรียกวิปัสสนา เข้าไปใช้ญาณหยั่งรู้ในจิตเข้าไป ในขณะที่โยมพิจารณาในธรรมสภาวธรรมข้อนี้ ในสติปัฏฐาน ๔ นี้..นี่คืออยู่ในฌาน ๔ ทั้งนั้นนะ อยู่ในวิตก วิจาร ปิติ สุข เค้าเรียกว่าอยู่ในปิติและสุขอยู่ เพราะโยมถอยลงมาแล้วในอุเบกขาฌาน

    นั้นบุคคลที่จะไปพิจารณาธรรมให้ละเอียดอย่างนี้ได้ แสดงว่าฌานของโยมนั้นตั้งมั่นแล้ว สมาธิโยมตั้งมั่นแล้ว ไม่งั้นจะเห็นกายในกาย เห็นจิตในจิต เห็นเวทนาในเวทนาไม่ได้ เมื่อโยมพิจารณาอย่างนี้โยมจะเห็นธรรมเกิดขึ้น ธรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง คือธรรมสังเวช ธรรมที่เป็นกุศล ธรรมที่เป็นอกุศล นี่เค้าเรียกว่าเจริญวิปัสสนาญาณ เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    35DD1CA3-A659-4D78-981A-75E1BB0947D8.jpeg
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    B280C512-4DE0-4210-8F6A-4F6748B06320.jpeg

    วิปัสสนากรรมฐานอาศัยสมถกรรมฐานนี่แลเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง โยมจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานไม่มีสมถะไปหล่อเลี้ยง..ไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นอะไร (ลูกศิษย์ : เป็นพื้นฐานค่ะ) มันเป็นอะไรพื้นฐาน..มันเป็นรูปฌาน รู้จักรูปฌานมั้ยจ๊ะ รูปฌานคือต้องอาศัยกายมั้ยจ๊ะ ที่จะต้องรู้สึกและพิจารณาธรรมได้ รู้จักรูปฌานมั้ยจ๊ะ ฌานที่มีรูป ฌานที่อาศัยรูป แสดงว่าต้องอาศัยสมถะมั้ยจ๊ะ
    ถ้าอรูปฌานนี่..ไม่มีแล้วในรูป ไม่สามารถจับรูปได้พิจารณารูปได้ ดังนั้นแล้วถ้าอยู่ในฌาน คนที่จะเกิดปัญญามันต้องพิจารณาตรงนี้..สติปัฏฐาน ๔ ย่อมทำให้มนุษย์ทั้งหลายหรือพระอริยสงฆ์นั้นหลุดพ้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นสมถะโยมต้องฝึกให้มันมาก เมื่อมากแล้วอาศัยสมถะนี้เจริญวิปัสสนา ถ้าไม่งั้นต้องเจริญไปคู่กันสลับกันไป เมื่อสลับจนถึงจิตที่โยมว่างแล้วคือจิตที่สงบ แล้วน้อมจิตเข้ามาพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ไอ้ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี่ โยมจะรื้อค้นภพชาติได้ จะระลึกชาติเห็นภพชาติที่เกิดก็เห็นตอนนี้ได้ เห็นตอนเราพิจารณานี่..สังสารวัฏนี่ ไอ้ภพชาตินี่ ภัยในวัฏฏะนี่ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าในกายมันมีอะไร มันมีแก่นสารอะไรบ้าง มันฉาบโรยด้วยอะไรในเนื้อหนังมังสานี้ อาหารเก่า อาหารใหม่ ของหมักดองปฏิกูลทั้งหลายให้พิจารณาอย่างนี้

    เอาให้ได้ในหัวใจของกรรมฐาน ให้ละจนถึงที่สุด เมื่อถึงที่สุดแล้วโยมจะเห็นจิต แม้นจิตก็ไม่ใช่จิตแล้วตอนนี้ จะเห็นตัวธรรมปรากฏขึ้นมา นี่คือหัวใจของกรรมฐาน ถ้าโยมปฏิบัติอย่างที่ฉันบอก นี่เค้าเรียกว่าได้อมตะรสของธรรม ถ้าได้แบบนี้ แล้วพิจารณาบ่อยๆ ชื่อว่าผู้นั้นไม่ห่างไกลพระนิพพานเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าโยมนั่งเจริญสมถะแต่ไม่สามารถข้ามนิวรณ์ได้..ยังไม่พ้น ตัดภพชาติไม่ได้ ยังห่างไกลพระนิพพาน เพราะโยมไม่รู้ว่าสมถะนั่งไปทำอะไร ฌานมีไว้ทำอะไร ญาณมันคืออะไร วิปัสสนากับวิปัสสนึกมันคืออะไร ๒ อย่างเท่านั้น สมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน..นั้นต้องพิจารณาให้ได้

    บางคนนบอกว่า โอ..ฉันก็เคยพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ เนี่ยะ จริงอยู่..แล้วโยมมีกำลังของสติในการไปพิจารณามากแค่ไหน ตรงนี้ก็สำคัญ ไอ้ตอนที่โยมไปพิจารณาน่ะมันเป็นกำลังของสมาธิอ่อนๆ พอกำลังสมาธิมันหายไปเนี่ยะ มันก็พิจารณาให้เห็นจริงไม่ได้ มันแค่นึกเอา มันไม่ได้พิจารณาด้วยปัญญาหยั่งลึกลงไป ให้เห็นชัดด้วยปัญญา เห็นจากนิมิตที่เห็นกับความจำที่เราเคยไปรู้ไปนึกเอา..นั่นจึงเรียกวิปัสสนึก

    มันเป็นเพียงอุบายทำให้จิตเรานั้นละคลายอารมณ์นั้นออกไป แต่มันไม่ได้ถูกตัดด้วยปัญญาคือวิปัสสนาญาณ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ฉันจึงบอกว่าไอ้คนที่นั่งสมาธิอยู่ในฌานอยู่ในสมาธิน่ะ มีตัณหาเกิดขึ้นก็วางได้ ไม่ปรุงแต่งต่อ อ้าว..ก็ในขณะนั้นมันไม่ต่างอะไรกับหินทับหญ้า อยู่ในฌานน่ะ มีใครทำให้โกรธ หรือมีระลึกถึงความโกรธความไม่พอใจก็ยังวางเฉยได้อยู่ แล้วพอออกมาจากสมาธิล่ะ แล้วทำไมไอ้ตัณหาไม่หายไปล่ะ ความโกรธไม่หายไปล่ะ ความขี้น้อยใจไม่หายไป ทำไมมันยังอยู่ล่ะ..

    นั่งสมาธิมานับแล้วหมื่นแสนพันชั่วโมง ทำไมมันยังอยู่ล่ะ ทำไมยังตามมาอยู่ล่ะ โยมเคยคิดบ้างมั้ยจ๊ะ ทำไมตัวอกุศลพวกนี้ยังไม่ตาย..เพราะอะไร ก็นั่งกรรมฐานมาตั้งมากแล้ว ตอนนั่งอยู่ไม่โกรธใคร ไม่อยากได้อยากดีอะไรนัก แต่พอออกจากสมาธิภาวนา อ้าว..อยากอีกแล้ว หิวอีกแล้ว คันปากอีกแล้ว คอยจับผิดอีกแล้ว เป็นเพราะอะไรจ๊ะ

    เพราะเราไม่ได้เพ่งโทษหรือตัดละอารมณ์ในขันธ์ ๕ เห็นมั้ยจ๊ะ เพราะเราไม่ได้เจริญวิปัสสนาญาณ มันจึงไม่เห็นด้วยปัญญาอย่างแท้จริง คือไม่รู้โทษรู้คุณของมัน ไอ้ตอนที่โยมนั่งสมาธิอยู่ในฌานในความสงบ..ความโกรธฉันก็ไม่โกรธ มีความสุข..สุขอยู่ในสมาธิ มีราคะก็อยู่ได้ แต่พอออกจากสมาธิ..ราคะตัณหาอะไรมาหมด นั่นเป็นเพราะว่าเรานั้นไม่ได้เจริญปัญญา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    บางคนติดอยู่ในสมาธิ ไม่สามารถถอดถอนสมาธิได้ บางคนติดอยู่ในองค์ภาวนา คำว่า"ติด"คืออะไรจ๊ะ ก็มันวางไม่ได้ไง มันยึดไง ทุกอย่างเค้าให้รู้..รู้แล้ววาง พอวางแล้วเดี๋ยวไอ้ตัวรู้จะเข้ามาใหม่ เข้ามาใหม่ เข้ามาใหม่ รู้จนไม่มีอะไรรู้นั่นแล ถ้ารู้อยู่แล้วยึดรู้..ยังไม่รู้จริง ยังไม่ใช่ของจริง ยังเป็นอวิชชาอยู่ ยังเป็นสังขารปรุงแต่ง ยังมีอุปาทานแห่งขันธ์อยู่

    ถ้ารู้แล้ววางนั่นแหล่ะจ้ะ ไอ้ตัววาง..โยมจะเห็น ถ้าโยมไม่วางโยมจะไม่เห็นอะไร ต้องวางให้ได้..ก็คือการละนั่นเอง..ละอารมณ์ ถ้ายังมีอารมณ์อยู่นั่นคือสังขารยังปรุงแต่งทำงานอยู่ นิโรธจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย นั้นฉันจึงบอกว่าโยมนั่งภาวนาไม่ต้องไปสนใจว่าจะต้องสงบเมื่อไหร่ อย่าได้ไปกำหนดกฏเกณฑ์
    นั่งสมาธิอย่ากำหนดกฏเกณฑ์ว่าจะสงบเมื่อไหร่..อย่าไปกำหนดมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ไม่ต้องสนใจ อย่าไปสนใจอะไร คือการวางเฉยไม่สนใจ การไม่สนใจคือการวางเฉย โยมต้องให้เวลากับเค้า การฝึกจิตเนี่ยะไปกำหนดไม่ได้เลย เพราะว่าเวลามันเป็นของสมมุติ แต่ธรรมเป็นของจริงที่จะหลุดพ้น มันอยู่เหนือสมมุติ โยมเอาของสมมุติไปกำหนดสิ่งที่เหนือโลก มันกำหนดกันไม่ได้ เพราะเวลาไม่เท่ากัน..

    โยมนั่งสมาธิถ้าฌานโยมเกิดจริงๆ นั่งไปชั่วโมงหนึ่ง แต่โยมออกมาจากสมาธิของโยมผ่านไป ๕ ชั่วโมง เวลาไม่เท่ากัน เห็นมั้ยจ๊ะ เพราะเวลาของสมมุติกับเวลาวิมุติต่างกัน นั้นการจะนั่งสมาธิให้ได้มรรคได้ผล..อย่าสนใจ คือให้เวลาเทพพรหมเค้าไปเลย อธิษฐานบุญกุศลไปเลย คือตัดกังวล อย่านัดหมายอะไรทั้งนั้น ไม่สนใจใครจะเป็นใครจะตายน่ะ เราช่วยเค้าไม่ได้ ฟ้าถล่มดินทะลายอะไรไม่ต้องไปสนใจทั้งนั้น เอาชีวิตนั้นถวายไปเลย..

    ถ้าโยมทำอย่างนั้นได้ มันจะได้มรรคได้ผลได้ความก้าวหน้า ถ้าทำอย่างกล้าๆกลัวๆ โยมจะไม่ได้อะไร ฉันจึงถามว่าโยมนั่งสมาธิ บางคนบอกว่าโห..ฉันก็นั่งมาเป็นสิบๆปีแล้ว อ้าว..ฉันก็ถามว่าแล้วละอะไรได้บ้าง นี่..ตัวชี้วัดมันอยู่ตรงนี้ ว่าโยมน่ะละอะไรไปบ้างแล้ว ความโกรธ ความโลภ ความหลงมันเบาบางหรือเปล่า ถ้ามันยังหนาแน่นอยู่..ใช้ได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้ครับ) โยมเข้าวัดไหนวัดนั้นก็วุ่นวายถ้าอย่างนั้น

    นั้นขอให้เข้าใจว่าสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานแตกต่างกันอย่างไร แล้วเกื้อกูลกันอย่างไร แล้วก่อนที่เราจะเข้ากรรมฐานจะเจริญปัญญา เราต้องมีพื้นฐานรองรับมั้ยจ๊ะ ทาน ศีล ภาวนานั้นต้องรองรับก่อน ถึงจะเกิดภูมิธรรมภูมิปัญญา ถึงจะเกิดวิปัสสนา

    ดังนั้นโยมต้องภาวนาสมถะให้มากๆ การที่โยมสวดมนต์เป็นชั่วโมงๆน่ะ..เป็นสมถะมั้ยจ๊ะ เป็นฌานมั้ยจ๊ะ เป็นสมาธิมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นครับ) ทั้งนั้น..คือการฝึกจิตทั้งนั้น โยมขอให้จำไว้นะ โยมสวดมนต์เป็นไม่รู้เท่าไหร่ จะภาวนาไม่รู้เท่าไหร่ โยมอย่าลืมว่าโยมเกิดตายเสวยกิเลสมาก็ไม่รู้เท่าไหร่เหมือนกัน

    โยมอย่าคิดว่าฉันทำขนาดนี้แล้วทำไมกิเลสตัณหายังไม่ตาย มันจะตายได้อย่างไร..ก็โยมไม่ได้ฆ่ามัน โยมแค่พักรบกับมันเฉยๆ ใช่มั้ยจ๊ะ โยมยังไม่ได้ฆ่ามัน โยมยังไม่ได้ตัดมัน คือยังไม่ได้ตัดใจจากมัน ยังแค่บอกว่า เออ..วันนี้ฉันจะไปสวดมนต์ภาวนานะ แล้วฉันจะกลับมา ถ้าโยมไม่กลับไปสิจ๊ะ..ตัดได้ แต่นี่โยมยังกลับไปอยู่

    เมื่อเรายังละไม่ได้ทั้งหมด แต่เราต้องฝึกไว้ ฝึกให้จิตมันเคย..มีต้นทุน ถ้าโยมไม่ได้กรรมฐานฌานวิถีนี้ ชีวิตภายภาคหน้าโยมจะลำบากกันทั้งนั้น โยมจะไปต่อยุคยุคไหนโยมไปได้ยากนัก แต่ถ้าโยมมีพื้นฐานมีต้นทุนน่ะ โยมจะไปต่อยุคได้ พอโยมมีต้นทุนแล้วโยมอธิษฐานได้

    แล้วถ้าโยมไม่เร่งปฏิบัติในตอนที่โยมพอมีกำลัง พอแก่แล้วเรี่ยวแรงไม่มีแล้ว..ปฏิบัติไหวมั้ยจ๊ะ ขนาดที่โยมมีกำลังยังเกียจคร้านขนาดนี้ แล้วถ้าเราไม่ลดละอัตตาตัวตน มันจะมีมารยาสาไถยขนาดไหน..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    2135400C-9400-4B02-BFEE-0CE7C80BCE49.jpeg

    ขอให้เข้าใจว่าสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานแตกต่างกันอย่างไร แล้วเกื้อกูลกันอย่างไร แล้วก่อนที่เราจะเข้ากรรมฐานจะเจริญปัญญา เราต้องมีพื้นฐานรองรับมั้ยจ๊ะ ทาน ศีล ภาวนานั้นต้องรองรับก่อน ถึงจะเกิดภูมิธรรมภูมิปัญญา ถึงจะเกิดวิปัสสนา

    ดังนั้นโยมต้องภาวนาสมถะให้มากๆ การที่โยมสวดมนต์เป็นชั่วโมงๆน่ะ..เป็นสมถะมั้ยจ๊ะ เป็นฌานมั้ยจ๊ะ เป็นสมาธิมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เป็นครับ) ทั้งนั้น..คือการฝึกจิตทั้งนั้น โยมขอให้จำไว้นะ โยมสวดมนต์เป็นไม่รู้เท่าไหร่ จะภาวนาไม่รู้เท่าไหร่ โยมอย่าลืมว่าโยมเกิดตายเสวยกิเลสมาก็ไม่รู้เท่าไหร่เหมือนกัน

    โยมอย่าคิดว่าฉันทำขนาดนี้แล้วทำไมกิเลสตัณหายังไม่ตาย มันจะตายได้อย่างไร..ก็โยมไม่ได้ฆ่ามัน โยมแค่พักรบกับมันเฉยๆ ใช่มั้ยจ๊ะ โยมยังไม่ได้ฆ่ามัน โยมยังไม่ได้ตัดมัน คือยังไม่ได้ตัดใจจากมัน ยังแค่บอกว่า เออ..วันนี้ฉันจะไปสวดมนต์ภาวนานะ แล้วฉันจะกลับมา ถ้าโยมไม่กลับไปสิจ๊ะ..ตัดได้ แต่นี่โยมยังกลับไปอยู่

    เมื่อเรายังละไม่ได้ทั้งหมด แต่เราต้องฝึกไว้ ฝึกให้จิตมันเคย..มีต้นทุน ถ้าโยมไม่ได้กรรมฐานฌานวิถีนี้ ชีวิตภายภาคหน้าโยมจะลำบากกันทั้งนั้น โยมจะไปต่อยุคยุคไหนโยมไปได้ยากนัก แต่ถ้าโยมมีพื้นฐานมีต้นทุนน่ะ โยมจะไปต่อยุคได้ พอโยมมีต้นทุนแล้วโยมอธิษฐานได้

    แล้วถ้าโยมไม่เร่งปฏิบัติในตอนที่โยมพอมีกำลัง พอแก่แล้วเรี่ยวแรงไม่มีแล้ว..ปฏิบัติไหวมั้ยจ๊ะ ขนาดที่โยมมีกำลังยังเกียจคร้านขนาดนี้ แล้วถ้าเราไม่ลดละอัตตาตัวตน มันจะมีมารยาสาไถยขนาดไหน..

    ดังนั้นถ้าโยมสวดมนต์ภาวนากันเป็นชั่วโมง พอโยมมานั่งสมาธิจิตมันจะรวมเข้า แม้แค่แว๊บเดียวของจิต ทำให้โยมเกิดตัวรู้เกิดปัญญา..นี่มันก็วัดแค่ตรงนั้น แต่ไม่ใช่ว่าอยู่ๆแล้วโยมได้ โยมอย่าลืมว่าโยมนั่งสวดมนต์มาเป็นเวลาชั่วโมงแล้ว สะสมสมาธิฌานเพ่งอยู่แต่อารมณ์นั้น อารมณ์นั้น อารมณ์นั้น อารมณ์ของบทสวดมนต์

    ขนาดที่โยมสวดมนต์อยู่จิตยังว่อกแว่กไปข้างนอก ยังปรุงแต่งไปในอนาคต ราคะยังเกิดในขณะนั้นก็มี..เพราะอะไร นี่..เพราะแรงอกุศลมันมีมากขนาดเราสวดมนต์อยู่ เพราะเราสวดมนต์จิตยังไม่ตั้งมั่นจดจ่อ เพราะเรายังไม่ศรัทธา จิตยังไม่เป็นเอกัคคตา บางคนสวดมนต์เสียงไม่มีตกเลย จิตมีกำลัง จิตไม่ส่งออกไปภายนอก นี่ไม่นานสักพักปัญญาบังเกิดขึ้นในขณะนั้นก็มี

    จำไว้นะจ๊ะ เมื่อเราสวดมนต์ภาวนาไปแล้ว แผ่เมตตาจิตแล้ว เราต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อได้เลย จิตมันจะรวมเข้าไป ต้องทำให้ครบในทาน ศีล ภาวนา โยมอย่าคิดว่าการสวดมนต์นี้ไม่เป็นประโยชน์..เป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะอะไร..เพราะกว่าโยมจะมารวมตัวกันเข้ากรรมฐาน โยมอยู่ในศีลตลอดมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ตลอด) ถูกต้อง..เพราะจิตคนเรามนุษย์มันไม่ได้อยู่ในศีลตลอด อย่าว่าแต่มนุษย์เลย..พระคุณเจ้าก็ดีก็ยังมีพร่องในศีล

    เพราะฉะนั้นการสวดมนต์เค้าเรียกการชำระล้างจิต..ได้โดยตรงและอย่างดีทีเดียว ทำให้วาจาเราบริสุทธิ์ ทำให้จิตเราบริสุทธิ์ เพราะสิ่งที่เราพูด สวด สรรเสริญออกไปนี้เป็นมงคล เป็นวาจาที่เป็นมงคล เข้าใจมั้ยจ๊ะ เป็นการสรรเสริญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

    เทวดาทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่พิภพไหนเค้าก็จะมาโมทนา มาคอยโมทนา มาคอยโปรยดอกไม้ทิพย์ ให้พรกับสถานที่แห่งนั้น แล้วในขณะที่เราสวดมนต์อยู่ศีลเราได้บังเกิด เพราะเมื่อเราสวดอยู่ทำให้จิตเรานั้นปรกติ คือจิตเราไม่ทุจริต รู้จักจิตไม่ทุจริตมั้ย..ถึงเรียกว่าศีล

    ทุจริตคืออะไร เราไม่ได้อาฆาตใคร เราไม่ไปพยาบาทใคร เราไม่ไปอิจฉาใคร นี่เค้าเรียกว่ากายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต..เรียกศีลมั้ยจ๊ะ นั่น..ทำให้ศีลเราเกิดตอนนั้นในขณะสวดมนต์ โยมสวดไป ๒ ชั่วยาม โยมว่านานมั้ยจ๊ะ แสดงว่าโยมรักษาศีล ๒ ชั่วโมงได้ ใช่มั้ยจ๊ะ มีอานิสงส์..

    ในขณะที่โยมทรงศีลอยู่รักษาศีลอยู่..นี่รักษาศีลต้องรักษาอย่างนี้ จิตโยมเป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา แม้จะมีว่อกแว่กไปบ้างแต่ก็ชั่วขณะจิตเดียว แต่ก็ยังดึงกลับมาสวดมนต์ต่อ เมื่อเราสวดมนต์เกิดศีลเกิดขึ้น เสียงที่เราเปล่งออกไปเป็นวาจา..ยังเป็นทานของเสียง ประโยชน์แรกที่คนจะได้รับคืออะไร..คือจิตเราก่อน

    พอจิตเราได้รับเสียงสวดมนต์ จิตเราจดจ่อกับเสียงทำให้เกิดสมาธิมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เกิดครับ) อันดับแรกไม่ว่าเราจะทำกรรมชั่วกรรมดี ประโยชน์หลักแรกคนที่จะได้รับต้องเป็นตัวเราก่อน จำไว้นะจ๊ะ แม้เสียงที่เราสวดมนต์ออกไปคนที่ได้ประโยชน์ก็คือตัวเราก่อน..จิตเราจะสงบ นี่เค้าเรียกทานของเสียง ยังเป็นประโยชน์ให้จิตวิญญาณคนอื่นดวงวิญญาณคนอื่นเค้าได้รับอีก แว่วเสียงสวดมนต์ลงไปในนรกอเวจีที่เค้ามีบุพกรรมกับเรา เค้ายังพลอยได้ความสุขอีก เทพเทวดาที่เค้าชอบฟังเสียงสวดมนต์เค้าก็มีความสุข เป็นโทษมั้ยจ๊ะ..

    ดังนั้นแล้วขอให้โยมมีความเชื่อมั่น บางคนจะบรรลุธรรม เพียงแค่พอถึงเวลาที่จะสวดมนต์..แล้วมีความปิติใจเกิดขึ้น นั่นแหล่ะจ้ะเค้าเรียกบรรลุธรรมแล้ว ฌานบังเกิด สมาธิบังเกิด ศีลบังเกิด ญาณบังเกิด วิปัสสนาบังเกิด มันเกิดหมด เพราะในขณะนั้นความง่วงย่อมไม่มีกับคนนั้น ความลังเลสงสัยก็ไม่มีในคนนั้นในขณะนั้น ความหดหู่ใจความเศร้าหมองใจอะไร..ไม่มี เพราะจิตมันปิติมันมีความสุข ถ้าตายไปตอนนั้นก็ไปสวรรค์สุคติภูมิทันที

    มันอยู่ที่ใจ เค้าเรียกว่าใจถึงก่อน ใจเป็นใหญ่ ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน แม้ว่าเราจะมีตัวอวิชชากิเลสมาก แต่ขอให้โยมสู้กับมัน ค่ายนี้ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้โยมเนี่ยะมารบกับตัวเอง ถ้าเปรียบเหมือนเรานั้นอยู่ในห้อมล้อมของอริราชศัตรู การที่จะชนะศึกทั้งหลาย เมื่อถึงเวลาเราว่างเราก็ต้องหัดมั้ยจ๊ะ เพลงอาวุธต้องหัดมั้ยจ๊ะ ถ้าเราไม่หัดให้มันเคยชินเราจะไปฆ่าศัตรูทันมั้ยจ๊ะ

    ถ้าโยมไม่ยกไม่ฝึกฝนตนเอง..ก็ยากนักที่จะพ้นทุกข์ หนึ่งถ้าโยมไม่กลัวตาย มีศรัทธาในการปฏิบัติ เชี่อมั่นในครูบาอาจารย์ ๓ อย่างนี้เอาแค่ง่ายๆ ยังไงโยมก็ไปได้ แต่ถ้าไม่มีความมั่นในครูบาอาจารย์ ไม่มีความเพียรศรัทธาในการปฏิบัติ ไม่มีหลักของใจซะแล้ว ต่อให้ได้อาจารย์ดีก็ไม่มีประโยชน์อันใด..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    1F3140EE-D562-497A-9C62-335D3B1C209B.jpeg

    โยมอายุเท่าไหร่แล้วจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ๖๖ ค่ะ) แล้วอีก ๑๐ ปีเป็นเท่าไหร่จ๊ะ (ลูกศิษย์ : ๗๖ ค่ะ) ยังอยู่ไหวมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : น่าจะไหวค่ะ) อยู่บ้านอยู่เรือนอยู่ช่องน่ะ พิจาณาธรรมสังเวชปลงสังขารบ้างรึเปล่าจ๊ะ

    เวลาที่เหลืออยู่นี้..หรือว่าคนที่มีโรคภัยไข้เจ็บรุมเร้าน่ะเป็นการดีมาก เพราะว่าไปถามหาใครไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ..ไม่มีเลยในโลกนี้ ใช่มั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้ว..ต้องรีบ ใครมีโรคภัยไข้เจ็บมันเป็นธรรมดาของสังขาร ยิ่งบอกว่าต้องรีบ..รีบประพฤติปฏิบัติ ทานที่เรายังไม่เคยทำก็ต้องทำ สมาธิไม่เคยอบรมบ่มจิตเราก็ต้องทำ ภาวนาไม่เคยภาวนาเพื่อเจริญให้เกิดปัญญามันก็ต้องฝึก ถ้าฝึกแล้วมันยังไม่เป็นนิสัยมันยังไม่ชินก็ต้องทำให้มาก อย่าได้ประมาท..

    ถ้าไม่ชินไม่ติดเป็นนิสัย เมื่อเรานั้นดับกายสังขารเหลือแต่จิตวิญญาณแล้วมันจะลำบากมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ลำบากค่ะ) เพราะไม่มีกายให้เราได้สัมผัสได้รู้..ถ้ามีแต่จิตวิญญาณ แต่ถ้ามันชินแล้วมันจะติด..นี่คือมันจะเป็นสมบัติ สมบัตินี้มันจะตามติดจิตวิญญาณไปไม่ว่าอยู่ในภพภูมิใด มันจะเป็นตัวเรียกว่า"เสบียงบุญ"ของโยม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เค้าเรียกว่าเป็นวิหารธรรม..เป็นเครื่องอยู่ของจิต เพราะว่ากายสังขารนี้กายหยาบนี้ จิตนี้ที่โยมอาศัยคือกายหยาบนี้ใช่มั้ยจ๊ะ แต่ถ้ากายหยาบมันไม่อยู่แล้วเนี่ยะ โยมต้องถามต่อไปว่า..จิตน่ะมันจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าโยมยึดในภพภูมิที่ไม่มีสรณะ..มันก็ไปตามภพภูมิ เป็นเปรตวิสัย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัมภเวสีก็ดีเหล่านี้

    แต่ถ้าโยมมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะเล่า นั่นแหล่ะเค้าเรียกว่าที่ปลอดภัย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าเราเอาวิหารธรรม เอาทาน ศีล ภาวนาอบรมบ่มจิตเป็นเครื่องอยู่ของธรรม แสดงว่าจิตนี้ยังอยู่ได้มั้ยจ๊ะ..ยังอยู่ได้ แสดงว่าจิตก็สามารถประพฤติปฏิบัติต่อได้อยู่ในวิหารธรรม ก็สามารถไปฟังธรรมในศาลาธรรมได้ ยังประพฤติปฏิบัติธรรมกับพระอริยเจ้าข้างบนได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นี่แสดงว่าเรายังไม่ได้จบในภพภูมิ กายสังขารมันให้มาแค่ ๑๐๐ ปี ไม่เกินนั้นก็ต้องตาย ใช่มั้ยจ๊ะ สมเด็จฯท่านยังต้องตาย แต่ธรรมมันไม่มีวันตาย แสดงว่าธรรมมันจะไม่มีอายุ..อายุไม่มี เช่นเดียวว่าจิตไม่มีระยะทาง ไม่มีอายุขัย เค้าเรียกว่าเหนือกาลเวลา แสดงว่าตายเมื่อไหร่จิตนั้นจะต้องไปหาที่อยู่ทันที อยู่ว่างๆไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นจิตถ้าโยมไปผูกอะไรไว้ ผูกกับลูกผัวเมียทรัพย์สมบัติ มันก็ต้องไปเฝ้าในสิ่งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นโยมต้องหาหลักที่เป็นสรณะไว้ อย่าให้สิ่งอื่นมันมาสิง เพราะไอ้พวกนี้มันเห็นว่าจิตโยมน่ะแปรสภาพจากกายมนุษย์ พวกนี้น่ะ..โอปปาติกะอสุรกายมันชอบ เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันจะเอาไป..ไปสร้างประโยชน์

    ดังนั้นแล้วโยมลับจากกายมนุษย์ไป โยมต้องมีสมบัติแห่งโลกมนุษย์ติดตัวไปที่เป็นสรณะ ที่จะเป็นที่พึ่งที่จะรักษาดวงจิตของโยม ให้ได้กลับมาเกิดอีกก็ดี ถ้าไม่กลับมาเกิดก็ไปเสวยภพภูมิเป็นเทพเทวดา นางฟ้าสวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ก็ยังดี ดังนั้นแล้วก็อย่าได้ประมาท..

    อีก ๑๐ ปีนี้มันก็เพียงพอกับโยม ที่โยมจะประพฤติปฏิบัติ เพราะยิ่งอาการสังขารมันเสื่อมลงเสื่อมลง การประพฤติปฏิบัติมันก็มีอุปสรรคมากขึ้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ตอนที่เรามีกำลังพอที่จะสวดมนต์ โยมจำไว้นะจ๊ะ เมื่อเราอายุมากยิ่งขึ้นยิ่งขึ้นแล้ว เสียงแม้ว่าโยมจะตะโกนสวดมนต์แต่มันก็ยิ่งเหนื่อย จำไว้นะจ๊ะ

    เพราะอะไรจ๊ะ อ้าว..สังขารมันร่วงโรย เค้าเรียกว่ามันบั่นทอนพลังหมด แม้เสียงเราพลังก็จะเหลือน้อย ไม่เห็นเหรอจ๊ะ คนที่อายุ ๘๐-๙๐ พูดนี่ต้องเอาหูเอาปากเอาเข้าไปใกล้ๆ ใช่มั้ยจ๊ะ แทบไม่ได้ยิน ดังนั้นแล้วตอนที่เรามีกำลัง ปากเรายังพูดได้ ยังกราบไหว้พระได้ให้รีบทำ เพราะตอนที่โยมชราแล้ว มีโรคภัยไข้เจ็บเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตแล้ว สวดมนต์ไม่ได้แล้ว ทีนี้เราก็ปฏิบัติ เอาจิตเราปฏิบัติทีนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าโยมไม่เคยฝึกมา..จิตมันจะเอามั้ยจ๊ะ จิตมันจะต่อต้านความดีทันที แต่ถ้าจิตโยมสะสมความดี มันจะต่อต้านความชั่วออกไป นี่มันเป็นอย่างนี้เป็นกฏตายตัวของธรรมชาติของจิตวิญญาณ นั้นก็อยากให้โยมได้พิจารณาอย่างนี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    5D2BCF83-B1DC-4891-A698-804A7907B68B.jpeg

    เมื่อจิตของโยมนั้นเข้าถึงความสงบ โยมจะเข้าถึงตัวปัญญา จำไว้นะจ๊ะ แล้วถ้าจิตโยมไม่เข้าถึงความสงบ จิตยังฟุ้งซ่านรำคาญใจอยู่ ตัวความคิดอุปาทานแห่งขันธ์ สัญญา ความจำ หรือวิบากกรรมก็ดีในอกุศลจิตนี้ ในจิตสังขารทั้งหลายนี้ มันก็จะมารบกวน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นจิตถ้าเข้าถึงความสงบได้โยมก็เข้าถึงตัวปัญญา นั้นการจะเข้าถึงตัวความสงบได้ต้องทำยังไง..โยมต้องภาวนาไว้ เพราะว่ามันไม่อยากให้โยมนั้นเข้าถึงความดี พ้นจากเป็นทาสของพญามาร ใช่มั้ยจ๊ะ นั้นตัวองค์ภาวนาจะเป็นหลักประกันคอยคุ้มครองโยม

    เพราะในขณะที่เราภาวนาอยู่จิตเรานั้นเป็นกุศล จิตเรานั้นไม่มีเวรอาฆาตพยาบาทกับใคร จิตนั้นอยู่ในศีลมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : อยู่ค่ะ) จิตเราอยู่ในศีลอยู่ในวิหารธรรม อยู่ในเขตพัทธสีมา อยู่ในวิสุงคาราม อย่างนี้เรียกว่าเป็นที่ปลอดภัย เป็นเขตอภัยทาน เราไม่มีจิตอาฆาตพยาบาทอย่างนี้ ก็จะมีเทพยดาอารักษ์ ท้าวเวสทั้ง ๔ ทิศช่วยอุปการะดูแลพิทักษ์รักษา

    ดังนั้นแล้วเมื่อจิตเราภาวนาไปภาวนาไป เราจะว่าพุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทธังสรณังคัจฉามิก็ดี เมื่อจิตมันตกภวังค์เข้าถึงความสงบแล้วนั้นนั่นแล ด้วยธรรมชาติของจิต..ตัวปัญญาหรือจิตที่นอนก้นอยู่อนุสัยอยู่ แล้วจิตตัวญาณที่มันนิ่งอยู่ เมื่อโยมได้ไปกำหนดรู้ ไปปลุกเค้าตื่น ตัวนี้ล่ะเมื่อเค้าตื่นแล้ว..ญาณตัวนี้มันจะพัฒนาในตัวของมันเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะว่าเหมือนของที่ไม่ได้ใช้งาน โยมต้องไปฟื้นฟูเค้าหน่อย เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่นี่ที่โยมทำขึ้นมานี้ในทาน ศีล ภาวนานี้ เรียกว่าโยมฟื้นฟูอยู่ตลอดเวลา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วกายสังขารโยมทำความดี..ทำเข้าไปโดยที่ไม่ต้องมีข้อแม้ ทำจนที่ว่าร่างกายสังขารทำไม่ไหว นั่นเรียกว่าหมดสิ้นแล้วในวิบากกรรมที่จะชดใช้ ที่เหลือก็รอที่กายธาตุสังขารจะแตกดับไป แต่อย่าลืมว่าจิตของเรายังคงอยู่

    การประพฤติปฏิบัติธรรมที่เราทำมา เราได้ทำมาถึงแล้วในความเชื่อความศรัทธา นั่นแลก็เอาจิตนั้นแลประพฤติปฏิบัติต่อไปได้ ทาน กุศล บุญเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องไปไหนเลย..อยู่ที่จิตตัวเดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ที่โยมไปทำสังฆทานไปปิดทองลูกนิมิตอะไรของโยมนั้น ล้วนแล้วเป็นอุบายแห่งธรรมทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ แม้โยมจะไปปิดทั่วโลกจักรวาลนี้ ก็ไม่ได้บอกว่าพาให้โยมนั้นไปนิพพานได้ แต่เป็นเครื่องช่วยให้โยมนั้นเข้าถึงเส้นทางแห่งมรรค เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แล้วลูกนิมิต..เค้าปิดกันกี่ลูกจ๊ะ (ลูกศิษย์ ๑ : ๘ ลูกค่ะ มรรคมีองค์แปด, ลูกศิษย์ ๒ : ลูกที่ ๙ อยู่ในโบสถ์) โยมว่าลูกนิมิตเค้ามีกี่ลูกจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ๙ ค่ะ) แล้วปิดครบรึเปล่าจ๊ะ นั่นก็เป็นอุบายธรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ ลูกสุดท้ายเค้าเรียกว่าปิดจิตตัวเอง เปิดจิตตัวเอง ฝึกฝนจิตแล้วน้อมเอาทางเดินแห่งมรรค คือมรรคมีองค์แปดนั่นแล ในทาน ศีล ภาวนา ย่นย่อลงมาแล้ว..ก็คือสติ ทำให้เกิดปัญญาว่าที่เราเข้าวัดเข้าวานี้เพื่อเข้าถึงความสงบ เข้าถึงคุณงามความดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าโยมยังไม่เข้าถึงโยมก็ต้องปิด..เกิดมาปิดเกิดมาปิดอยู่อย่างนี้ เกิดตายเกิดตายอยู่อย่างนี้ วนเวียนอยู่อย่างนี้ จนกว่าญาณของโยมจะตื่น จิตมันถึงจะตื่นรู้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ การว่าตื่นรู้นี้ตื่นรู้อะไร..ตื่นรู้จากอวิชชาความลุ่มหลง แต่ตอนนี้สมัยนี้พระก็ดี วัดวาอารามก็ดี มันก็เริ่มเสื่อมลง เพราะว่าไปหลงลาภสักการะมากจนเกินไป ก็เอาเหตุทั้งหลายนี้ปัจจัยนี้แห่งบุญกุศลนี้มามอมเมาญาติโยมมากจนเกินไป แต่ก็หาว่าจะทำให้เสื่อมไม่..ถ้าคนมีปัญญาแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าวัดวาอารามไม่สร้างไม่ปฏิสังขรณ์ ไม่มีองค์พระปฏิมากร แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าศาสนามีความเจริญแบบใด ยังมีคนเชื่อยังมีคนศรัทธาอยู่ แต่สิ่งนั้นยังไม่เรียกว่าศรัทธาที่แท้จริง การจะทำให้ศรัทธาที่แท้จริงเกิดขึ้น และทำให้ศาสนานี้อยู่คงครบถ้วน ๕,๐๐๐ วัสสานี้ ก็คือต้องเดินตามรอยองค์พระศาสดา คือการประพฤติปฏิบัติ อย่างนี้แลถึงจะคงอยู่ได้..

    คงอยู่ได้เพราะอย่างไร เมื่อโยมประพฤติปฏิบัติแล้วย่อมไม่ขาดผู้รู้ในสถานที่นั้น ตรงนี้จะถ่ายทอดไปสู่รุ่นสู่รุ่น มันจึงไม่เสื่อม เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าขาดจากผู้รู้แล้ว เมื่อไม่มีผู้รู้ที่แท้จริง..แต่ไม่รู้จริงแล้วไปบอก มันผิดทางมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วไม่ว่าจะเป็นสมณะบรรพชิต พระสงฆ์องค์เจ้าก็ตามท่านจะผิดอะไรก็ตาม..นั่นเป็นเรื่องกรรมของเค้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นฉันจึงบอกว่าโยมจะรู้ได้ยังไงว่าพระองค์นี้ศีลไม่บริสุทธิ์ นั้นฉันขอถามกลับโยมบ้าง โยมบริสุทธิ์มั้ยจ๊ะถ้าอย่างนั้น (ลูกศิษย์ : ไม่บริสุทธิ์) แล้วมันจะบริสุทธิ์ตอนไหน ตอนที่โยมตั้งจิตที่จะใส่บาตรทำสังฆทานน่ะ ให้ทานน่ะ เค้าบอกให้เราตั้งจิตให้เป็นกุศล จิตเราก็บริสุทธิ์ตอนนั้น อะไรที่โยมขาดจากการตั้งจิตตั้งใจ..ไม่มีทางบริสุทธิ์เลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะจิตเรานั้นจะมีแต่ความสงสัย จะมีแต่ความโลภ มีแต่ความโกรธ มีแต่ความหลงอยู่ตลอดเวลา ขอให้ตั้งจิตเลยเมื่อเรากล่าวนะโม ๓ จบก็ดี พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ตั้งจิตอธิษฐานเลย..ข้าพเจ้าขอทำบุญตักบาตรถวายสังฆทานนี้ ทานอันเป็นมงคลอันบริสุทธิ์ของข้าพเจ้าที่หาทรัพย์มาด้วยความบริสุทธิ์นี้ ขอบุญกุศลตรงนี้ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ข้าพเจ้าขอใส่พระประพฤติดีปฏิบัติชอบ เพียงเอาร่างกายสังขารสงฆ์นั้นเป็นตัวแทน เข้าใจมั้ยจ๊ะ น้อมถวายปฏิปทา..ถวายพระสงฆ์ผู้มีคุณวิเศษ พระอรหันต์เจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ขอบุญนี้จงสำเร็จกับสรรพสัตว์ดวงวิญญาณทั้งหลาย เทพเทวดาจงมาโมทนา ทำจิตของเราให้เป็นกุศลต่างหาก ไม่ใช่ไปมองว่าพระองค์นี้ เอ๊ะ..ศีลท่านจะครบรึเปล่านะ ถ้าอย่างนี้โยมไม่ได้กุศลไม่ได้บุญหรอกจ้ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ใส่พระอีก ๑,๐๐๐ องค์อานิสงส์ก็ยังไม่เกิด

    แต่สู้คนที่ตักบาตรโดยไม่คิดอะไรเลย ไม่อธิษฐานอะไรเลย นั่นยังมีอานิสงส์มากกว่า เข้าใจมั้ยจ๊ะ อ้าว..เพราะเค้ามีจิตที่อยากปรารถนาที่จะใส่ให้ทานทำบุญโดยไม่หวังผล..แต่ดันได้ผล เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไอ้คนที่จะใส่นานๆจะใส่ที มันคิดแล้วคิดอีก โห..วันนี้ต้องเล็งพระวัดนี้ เค้าว่าดังมากเลย แล้วบางทีหาไม่เจอ..นี่มันเป็นอย่างนั้น

    นั้นทำความดีอย่าไปดูฤกษ์ดูยาม เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมดูฤกษ์ดูยามวันนั้นโยมก็ไม่ดีแล้ว นั้นการทำความดีทำได้ทุกเวลา เวลาที่โยมทำถือว่าเป็นฤกษ์มงคลทั้งนั้น แม้ว่าวันนั้นจะเป็นดาวโจรฤกษ์ก็ดี หรือฤกษ์ไม่ดีก็ดีน่ะ แต่เมื่อจิตโยมตั้งจิตไว้ที่ชอบแล้ว เป็นมงคลแล้วในการทำความดี แม้ฤกษ์นั้นไม่ดีก็ไม่มีผลอะไร..เป็นโมฆะกันทันที เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    9D376B33-699A-4112-B5B5-516111FE55B2.jpeg

    อานิสงส์การแผ่เมตตาอโหสิกรรมมันมีอานิสงส์เหมือนเราได้สร้างโบสถ์ ๑ หลัง..เหมือนได้สร้างโบสถ์ ๑ หลัง แค่เหมือนได้สร้างโบสถ์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมต้องรู้ว่าโบสถ์วิหารใช้เวลาสร้างเท่าไหร่ ใช้อัฐเบี้ยสร้างเท่าไหร่ แต่การที่เราเจริญเมตตาจิตอโหสิกรรมให้อภัยทานมีอานิสงส์เท่ากับได้สร้างโบสถ์ ๑ หลัง แสดงว่าเป็นทานที่สูงอยู่พอสมควร เข้าใจมั้ยจ๊ะ แสดงว่ามันมีอานิสงส์มหาศาลนั่นเอง

    ถ้าอานิสงส์แบบนี้ถ้าเราแผ่เมตตาจิตให้กับสัตว์ทั้งหลาย ให้กับเจ้ากรรมนายเวรคู่อาฆาตพยาบาทริษยาทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด คำว่าภพภูมิใดหมายถึงว่าเค้าจะอยู่ในภพภูมิเปรตวิสัยก็ดี สัตว์นรกก็ดี จะเป็นภพภูมิไหนก็ดี เป็นโอปปาติกะก็ดี ครึ่งผีครึ่งคนก็ดีเหล่านี้ ถ้าเค้าอยู่ในวิถีโคจรแห่งกรรมแห่งบุญวาสนาที่เราตั้งจิตออกไปแล้ว พวกนี้มันจะมีสื่อถึงกันได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เหมือนเราไปเจอหน้าใครเห็นหน้าใครที่ไม่เคยเห็นหน้ามาเลย พอเจอหน้าทีเดียวก็รู้สึกไม่ชอบ ถามว่าโยมไม่เคยเห็นกันมาก่อนรึเปล่าจ๊ะ..เปล่าเลย โยมเคยสร้างเวรสร้างกรรมพยาบาทกันมาแล้ว พอมันเห็นปุ๊บมันเลยรู้สึกไม่ชอบเลย พออีกอย่างหนึ่งพอเจอหน้าปุ๊บ โอ้..รู้สึกชอบรู้สึกประภัสสร มีความพอใจ รู้สึกพอใจกัน เกิดปฏิพัทธ์ขึ้นมา ถามว่าโยมไม่เคยเจอกันรึเปล่า หรือเจอกันครั้งนั้นครั้งเดียว..ก็เปล่าเลย โยมเคยเจอกันมาแล้ว

    ดังนั้นเค้าถึงได้บอกว่าการแผ่เมตตาจิตการอโหสิกรรมเหล่านี้มีอานิสงส์มาก ถ้าเรารู้สึกว่ามีความกลัวหดหู่ใจ แสดงว่าสิ่งเหล่านี้หรือภัยมันกำลังจะมาหาเรา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายถ้ามันอยู่ใกล้ตัวเรามากเกินไป มันจะนำแต่สิ่งที่ไม่ดีเข้ามา เข้าใจมั้ยจ๊ะ หรือเรียกว่ามนต์ดำอย่างหนึ่ง

    ดังนั้นเราจะสลัดออกไปได้อย่างไร ก็คือที่หลุมหลบภัยของเราคืออะไร..กำหนดลมหายใจ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัย พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ อธิษฐานจิตแผ่เมตตาออกไป ด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยขอแสงสว่าง อำนาจพระบารมีพระรัตนตรัยทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ได้โปรดอนุเคราะห์เกื้อกูลปกปักรักษาอภิบาลให้ข้าพเจ้า และบุญกุศลนี้จงสำเร็จประโยชน์กับดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่เคยอาฆาตพยาบาทมาดร้ายกันมา ไม่ว่าจะอยู่ภพภูมิใดก็ตาม จงมาโมทนาอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้า ช่วยเปิดทางเปิดแสงสว่าง..

    อย่างนี้..จิตในขณะที่โยมกำหนดลงไป เมื่อเราถอนออกมาจากสิ่งที่เราตั้งจิตไปอธิษฐานไป เค้าก็ไปจากเรา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วจำไว้ว่าเมื่อขณะใดจิตเรานั้นมีความกลัวขึ้นมา มีความหดหู่ขึ้นมา แล้วไม่เชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ขอให้โยมตั้งสัจจะตั้งจิตอธิษฐานใหม่ อธิษฐานอะไร..อธิษฐานบุญให้เค้ามาโมทนา แสดงว่าบุญที่เราทำยังไม่มีใครมาโมทนา..

    เมื่อไม่มีใครมาโมทนา เมื่อโยมไม่มีบริวาร โยมรู้สึกเหนื่อยล้า ท้อแท้ หดหู่ แล้วก็ไม่ค่อยเชื่อมั่นแล้วตอนนี้ พอไม่เชื่อมั่น พอมีคนมาพูด เออ..จริงของมึงว่ะ เห็นมั้ยจ๊ะ พวกคนเหล่านี้มักไม่มีหลัก มักจะขาดปัญญา พลาดโอกาสได้เจอของดีพวกนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นขอให้โยมอธิษฐานบุญบ่อยๆ ให้เค้ามาโมทนากับเรา

    พอเค้ามาโมทนากับเรา ไม่ว่าเราจะทำอะไร สวดมนต์ก็ให้เค้ามาโมทนากับเรา ภาวนาจิตแผ่เมตตาก็ให้เค้ามาโมทนากับเรา ทำอะไรในสิ่งที่ดีในความคิดที่ดี..แค่ความคิดที่โยมจะทำ ช่วยเหลือใคร เมตตาใคร อนุเคราะห์เกื้อกูลใครก็ดีเหล่านี้ หรือเราตั้งใจจะเป็นคนดีถือศีลภาวนาอะไรก็ตาม ให้เทพยดาเจ้าทั้งหลายทั่วทุกนภากาศที่เราอยู่ นั่งอยู่ที่ใดมีเทพยดาศักดิ์สิทธิทั้งนั้น มีควงจิตวิญญาณไม่มีที่ว่างเว้นเลย แม้ขณะช่องว่างของอากาศ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ล้วนแล้วเราอธิษฐานให้มาโมทนากับเราได้ทั้งนั้น

    เพราะอะไร..ให้เค้ามาเป็นบริวาร บุญที่เราทำจะมีกำลัง เข้าใจมั้ยจ๊ะ บอกพระแม่ธรณีให้เค้ารับรู้ มาเป็นพยานรับรองในบุญของข้าพเจ้าที่ได้กระทำในวันนี้ ขอเทพยดาเจ้าทั้งหลายเมื่อรับรู้แล้ว ได้รู้เห็นแล้วในความสัตย์ของข้าพเจ้า ก็ขอให้มาโมทนาอนุเคราะห์เกื้อกูล ช่วยปกปักรักษาอุดหนุนค้ำชูให้ข้าพเจ้า จะทำการสิ่งใดขอให้บุญกุศลบารมีนี้ไปสำเร็จประโยชน์ถึงดวงจิตของผู้ที่มีบุญวาสนา มาร่วมบุญวาสนากับข้าพเจ้า ให้ตั้งจิตอธิษฐานไปเหล่านี้..

    เมื่อถึงเวลาเค้าจะมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่ว่าจะเป็นโชคลาภก็ดี ให้เราตั้งจิตอธิษฐานไป ขอบุญกุศลทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้วในขณะนี้ก็ดี หรือที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้วก็ดี ขอเบิกบุญกุศลนี้เป็นทรัพย์เป็นโชคเป็นวาสนา อย่างนี้..มันอยู่ที่เราแปรสินทรัพย์เป็นอริยทรัพย์ แปรอริยทรัพย์เป็นโชคเป็นลาภได้ทั้งหมด เพราะสิ่งที่ฉันกล่าวมานี้มันล้วนแล้วแต่เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เป็นของสมมุติบัญญัติ เราสามารถบัญญัติขึ้นมาได้ทั้งนั้น อยู่ที่อำนาจจิตของเราทั้งนั้น เค้าเรียกว่าสำเร็จด้วยใจดวงเดียว แต่ใจดวงนั้นต้องตั้งมั่นเป็นหนึ่ง เข้าถึงในพระรัตนตรัยแล้ว เราถึงจะเปิดสามโลกได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    B310002B-FF7C-49BA-A592-721553CC8618.jpeg
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    190DFFFB-F3A5-4CB7-8FC2-373632EAFAE2.jpeg

    คนที่จะเกิดมรรคเกิดผลในการประพฤติปฏิบัติ ในการเจริญสมาธิภาวนานี้ มันต้องเกิดปัญญาเห็นวิเวกแห่งธรรม นั่นก็คืออะไร..คือความสงบสงัดทำให้เกิดตัวปัญญา เรียกว่าธรรมสังเวช ธรรมที่เป็นกุศล ธรรมที่เป็นอกุศล นั่นก็คือสภาวะแห่งความไม่เที่ยง เมื่อเห็นความไม่เที่ยงอยู่บ่อยๆก็พิจารณาในอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่มันเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..และดับไปนั่นแล เรียกว่าสภาวะความไม่เที่ยง ว่ามันเป็นทุกข์ สิ่งเหล่านี้เราไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    เมื่อเรารู้ว่าไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เหตุทั้งหลายทั้งปวงที่เราไปยึดที่ทำให้เราเป็นทุกข์..มันก็เกิดอยู่ที่เราไปติดอยู่ในรูป รส เสียง สัมผัสทั้งหลาย เค้าเรียกว่ารูป เวทนา สัญญา สังขารในขันธ์ ๕ ในธรรมารมณ์ที่มากระทบจิต ที่เรานั้นไม่สามารถจะตัดละวางจากอารมณ์นั้นไปได้..เหล่านี้แล

    เมื่อจิตเรายังฟุ้งซ่านรำคาญใจอยู่อย่างนี้ วิบากกรรมในทุกข์ทั้งหลายมันก็บังเกิดขึ้น ดังนั้นถ้าเราจะตัดกรรมวงจรทั้งหลายทั้งปวง ลดอาฆาตพยาบาททั้งหลาย ฉันมีเคล็ดลับมาบอก..ก็ขอให้สดับฟังไว้แล้วลองไปพิจารณาตาม แล้วลองใช้ในขณะนี้เลยก็ได้

    นั่นหมายถึงว่าบุญกุศลเหล่าใดที่เราทำมาแล้วในอดีต ในปัจจุบัน ด้วยอำนาจแห่งทาน ศีล ภาวนา บุญกุศลอันใดก็ตามที่เราพอจะนึกได้ ขอจงมารวมเป็นตบะบารมี เดชเดชาในขณะนี้ ขอบุญนี้จงสำเร็จประโยชน์กับสรรพวิญญาณ ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามทีในภพชาติใด..

    ก็ขอให้บุญกุศลเหล่านั้นจงหนุนนำดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่เสวยทุกข์อยู่..ให้พ้นจากทุกข์ ให้มีความสุข ให้พ้นจากวิบากภัยในวัฏฏะ อาศัยอำนาจแห่งพระรัตนตรัย..แสงสว่างแห่งธรรม แห่งดวงจิตของข้าพเจ้านี้ จงนำทางเป็นสะพานเชื่อมต่อให้ดวงจิตเหล่านั้นพ้นจากทุกข์ พ้นจากภัย อย่าได้มีเวรอาฆาตพยาบาทต่อกันอีกต่อไปเลย..

    เมื่อเราทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆ วิญญาณหรือเจ้ากรรมนายเวรที่เคยอาฆาตพยาบาทเรา เมื่อเค้ามีสุขแล้ว..คนที่มีสุขอยู่อุปมาว่าเค้าจะไม่มีความเดือดร้อนใจ ที่จะมาคิดอาฆาตพยาบาทกับใคร แล้วเมื่อเราแผ่เมตตาอย่างนี้อยู่บ่อยๆ มันเป็นการตัดกระแสกรรมวิบากกรรมคือความอาฆาตพยาบาท เหล่านี้แลเรียกว่าตัดอุปสรรคในทางโลก ตัดอุปสรรคทางธรรม ทำให้เรานั้นมีเวลามาประพฤติปฏิบัติธรรมเมื่อทางโลกเราคล่องตัวนี้แล..นี่ก็เป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่ง

    ขอให้โยมนั้นจงได้สดับและพิจารณา นำไปประพฤติปฏิบัติให้บ่อยๆ คือการเจริญเมตตาภาวนา แผ่เมตตาจิตออกไปให้สรรพวิญญาณดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่มีอาฆาตพยาบาท ที่เรานั้นยังมีโทสะจริต โมหะจริต ราคะจริตทั้งหลายทั้งปวง ที่เรานั้นรู้เท่าไม่ถึงอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงนี้..

    ก็ขอให้กำหนดรู้ให้เท่าทัน ที่ธรรมารมณ์มาผัสสะมากระทบ เป็นการได้ยิน..ในทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเหล่านี้ ยิ่งเป็นตัวบ่อเกิดแห่งวิญญาณที่มาผัสสะเข้ามาสิง ดังนั้นแล้วเราต้องมีสติเท่าทันทวารหรือช่องประตู หรือช่องกรรมที่มันจะเข้ามา แต่ถ้าเมื่อมันเข้ามาแล้วทำให้จิตเราหดหู่เศร้าหมองใจ ก็ขอให้กำหนดรู้ว่าจิตในขณะนี้เราเป็นอย่างไร เมื่อกำหนดรู้แล้วแล้วเพ่งดูในอารมณ์นั้น ขณะที่เราเพ่งกำหนดดูนั้นแล เมื่อเราเท่าทันในอารมณ์นั้น..อารมณ์นั้นมันจะดับของมันไปเอง

    แต่ว่าอารมณ์ทั้งหลายที่มันจะดับลงไปได้ มันก็ต้องอยู่ที่ว่า..ในวิบากกรรมที่เรานั้นไปติดไปพอใจมาเนิ่นนาน เสพมันมานานเท่าไร ถ้ามันมีไม่มากกำลัง..ไม่นานนักมันก็คลายจางหายไป แต่ถ้าหากมันมีกำลังมากมันก็จะเข้ามามีอำนาจบ่อยๆ เราก็ต้องมีสติเท่าทันมันอยู่บ่อยๆ ให้รู้เท่าทันในอารมณ์ที่เกิดขึ้น..จนละวางอารมณ์นั้นได้

    แล้วเราไม่ไปสนใจ ไม่ไปติด ไม่ไปพอใจ เมื่อเราไม่ไปติดใจเค้าเรียกว่ากรรมนั้นทั้งหลายก็ยุติลงได้ ดังนั้นแล้วด้วยการเราเจริญอธิษฐานแผ่เมตตาจิตอยู่บ่อยๆ เมื่อพวกนั้นเค้ามีสุขแล้ว ความสุขความเพลิดเพลินอันยาวนานของจิตวิญญาณนั้น เค้าก็จะไม่มาจองเวรจองกรรมกับเรา เพราะว่าเหมือนคนเรามีสุขอยู่ เวลาเราสุขนั้นจิตเรานั้นไม่ปรารถนาร้ายกับใคร อุปมาก็เป็นเช่นนั้นแล..ก็อยากให้โยมทั้งหลายได้ใช้วิชาเคล็ดลับนี้

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    3B9C5DA5-07F4-4B47-938D-5FAD101FFCF6.jpeg

    เมื่อเราประพฤติปฏิบัติในพรหมจรรย์ ในทาน ศีล ภาวนา ขอให้ระลึกถึงบุญอยู่บ่อยๆ การระลึกถึงบุญคืออะไร บุญเกิดจากที่ใด..บุญเกิดจากจิตที่เราตั้งมั่นในความดี ที่ไม่ปรารถนาจะมีความอาฆาตพยาบาทใคร บุญเกิดจากจิตที่เราปรารถนาจะให้ อนุเคราะห์ช่วยเหลือ ยินดีกับบุคคลที่เค้านั้นมีความสุข อย่างนี้แล..บุญเกิดสำเร็จด้วยการให้ทาน เกิดด้วยการรักษาศีล เกิดจากการภาวนา เกิดจากการเจริญปัญญา เหล่านี้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความดีแล้ว..เรียกว่าบุญทั้งนั้น

    ขึ้นชื่อว่าบุญคือความสุขที่จะนำมาให้ ขึ้นชื่อว่าความทุกข์ทั้งปวงนั้นเรียกว่าบาปกรรม ในวิบากในอดีตที่เรานั้นได้ทำมา มันจึงส่งผลให้เรานั้นหนักใจ ทุกข์ใจ ขัดข้องใจ เศร้าหมองใจ หดหู่ใจ แล้วมีเวรพยาบาทตามมา ดังนั้นแลขอให้โยมพิจารณาหลักนี้เป็นสำคัญ..

    อันว่าในอดีตแห่งกรรมทั้งหลายทั้งปวง..เราไม่สามารถจะไปตัดไปบั่นทอนแก้ไขมันได้ หรือย้อนเวลาไปได้ในอดีตแห่งกรรม แต่มันสามารถแก้ไขในกรรมปัจจุบันได้ ไม่ให้อดีตแห่งกรรมนั้นมีกำลังฮึกเหิม เรียกว่าผดุงกรรมไว้ในปัจจุบัน เมื่อเราผดุงกรรมไว้มากๆแล้ว ในกรรมในปัจจุบันมันส่งผลมีกำลังแล้ว เราก็สามารถกำหนดกรรมในอนาคตให้เป็นไปตามเราได้..ก็ด้วยในขณะปัจจุบันนี้แล

    ขอให้จงแก้ไขกรรมและวิบากกรรมด้วยการเจริญเมตตา เมื่อเราแผ่เมตตาออกไปแล้ว ก็เรียกเป็นการอุทิศบุญ ระลึกถึงบิดามารดาผู้ให้กำเนิดลมหายใจในกายสังขาร ครูบาอาจารย์ ทวดบรรพบุรุษหญิงชายทั้งหลาย วีรบุรุษผู้กล้า กษัตราธิราชเจ้าทั้งหลาย ผู้ที่เสียสละมีบุญญาธิการและรักษาแผ่นดินให้เรานั้นได้เหยียบได้ย่ำ ได้สร้างบุญกุศลบารมี ได้สืบศาสนาในคุณงามความดีบุญบารมีเพื่อให้พ้นจากทุกข์ภัยนี้..

    ขอบุญกุศลเหล่านี้จงสำเร็จประโยชน์กับดวงจิตวิญญาณเหล่านั้น ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสุข สุขกายสบายใจ ให้มีบารมีสูงๆยิ่งขึ้นไป พ้นจากพ้นภัยจากวัฏฏะ บ่วงกรรมวิบากกรรมทั้งหลาย ขอบุญตรงนี้จงหนุนนำให้เค้าเหล่านั้นจงมาโมทนา และเห็นกระแสบุญกระแสจิตของข้าพเจ้า ให้เป็นกระแสเดียวกับแสงสว่างแห่งพระรัตนตรัย ให้เข้าถึงพระนิพพานในกาลข้างหน้านี้ด้วยเทอญ เราก็ตั้งจิตอธิษฐานไป..

    แล้วเราจะรู้ได้ยังไง..ว่ากระแสบุญกุศลนี้เค้าจะได้รับแล้ว สัญญาณจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรานั้นมีปิติสุขเกิดขึ้น ขนลุกขนพอง ทำให้จิตเราตื่นรู้ หลุดจากความง่วงเหงาหาวนอนทั้งหลาย จิตมันมีปิติโสมนัส ยินดีพอใจในบุญกุศลที่เราได้กระทำในขณะนี้ นี่แหล่ะเค้าเรียกว่ากำลังจิตเรามีกำลังมาก ก็ขอให้เสวยอารมณ์นี้ตั้งอยู่ตราบนานเท่านานที่จิตเรานั้นจะปรารถนาให้เกิดขึ้น

    เมื่อถึงความพอใจแล้ว ก็ขอให้ถอนจากอารมณ์นั้นลงมา ก็คือกำหนดรู้ที่ลมหายใจ เพราะเราเข้าเราเอาลมเข้า เมื่อเราจะออกเราก็ต้องเอาลมเข้าแล้วเอาลมออก..แล้วกำหนดรู้ แล้ววางจิตไว้อยู่ในกาย ทำความรู้สึกให้ทั่วตัวนั้นแล แล้วรู้สึกว่ากายเราสบายแล้วนั่นแล ก็เหมือนเรานั่งพักผ่อนแต่มีสติรู้อยู่ กำกับอยู่ว่าในขณะนี้เราทำอะไร แล้วขณะก่อนหน้านี้เราทำอะไร..อย่างนี้แล

    จิตเราในขณะนี้เป็นอย่างไร ยังมีความเอิบอิ่มกับบุญกุศลกับที่เราได้ส่งไปที่มอบให้ไปแล้วนั้น ถ้าเรามีปิติมากแสดงว่าเค้านั้นก็ได้รับบุญกุศลนั้นได้มากนั่นเอง ดังนั้นถ้าทุกครั้งเมื่อโยมมีโอกาส ไม่ว่าจะเจริญอยู่ในเรือนเคหสถาน หรือสำนักไหนสำนักหนึ่งก็ดี ที่มีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติในกรรมฐานในฌานวิถี ในทาน ศีล ภาวนานี้ ก็ขอให้ตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาอย่างนี้อยู่บ่อยๆ

    เมื่อใดคราใดที่เราได้ประพฤติปฏิบัติในสถานที่ใด แสดงว่าสถานที่นั้นเป็นที่เกิดที่ตาย ที่ให้คุณกับเรา ให้เราอธิษฐานแบบนี้บ่อยๆ แล้วก็จะเป็นที่ให้เรานั้นเข้าไปแก้ชดใช้ในกรรมนั้น เพราะต้องอธิษฐานแบบนี้บ่อยๆ เมื่อเค้าได้มีสุขมากๆขึ้นยิ่งแล้วนั่นแล เค้าก็ไม่ต้องมาขัดขวางเป็นมารเป็นพยาบาทกับเรา เราก็จะมีความคล่องตัวในทางโลก

    เมื่อมีความคล่องตัวในทางโลกแล้ว มันก็จะเกื้อหนุนในทางธรรม..ให้เรานั้นมีเวลา มีโอกาสได้สร้างบุญกุศลและบารมียิ่งๆขึ้นไปนั้นเอง..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    CEFF688D-8ED7-48E3-9D47-D60203647962.jpeg

    อันว่านิพพานแท้ที่จริงแล้วก็ไม่ได้อยู่ที่ไหน ขอให้โยมพิจารณาตามในสิ่งที่ได้ยิน เมื่อเราสำรวมความสงบด้วยกาย วาจา ใจตั้งมั่นดีแล้ว..ก็กำหนดสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจอานาปานสติเข้า-ออก จนรู้ว่าลมนั้นสงบแล้ว สงบที่ใดในกายก็วางลมนั้น ณ ที่แห่งนั้น

    เมื่อเราวางแล้วเห็นว่าสงบดีแล้ว สิ่งอื่นใดทั้งหลาย..ไม่ว่าจะเป็นเสียงอันใดก็ขอให้รู้ได้ยินแล้วก็วางเฉย นั่นก็เรียกว่าเราต้องดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ คือไม่สนใจ คือวางอุเบกขาให้มันเกิดขึ้น นั้นก็เรียกว่าอันดับแรกเราต้องวิตกในอารมณ์ก่อน คือวิตกอารมณ์ก็คือลมหายใจของเรานี้แล เมื่อเราวิตกแล้วกำหนดลมเข้าออก ล้างลมเสียออกจากปอดแล้ว..

    เมื่อลมมันสงบนิ่งในขณะนี้ ก็เอาความสงบนิ่งของลมนั่นแลดูอยู่ที่กาย การดูอยู่ที่กายดูอย่างไร ดูที่กาย..คือดูความรู้สึกของกายของใจเรานี้ เมื่อมันสงบแล้วให้เราวางเฉยในความสงบนั้น ให้นิ่งสงบ จิตนั้นไม่ส่งออกไปภายนอก หยุดความคิดปรุงแต่งในอดีต หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าคืออนาคต รู้เฉพาะในปัจจุบันของจิต กำหนดจิตอยู่ในกาย

    เมื่อรู้กายแล้วก็รู้ว่าเราอาศัยกายอยู่ แต่ว่าการจะไปนิพพาน การดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ล้วนแล้วทำให้เกิดเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ดังนั้นลองพิจารณาดูง่ายๆ ตั้งแต่เราเกิดมาถึงปัจจุบันนี้มีอะไรเป็นเรื่องเป็นสุข เป็นเรื่องเป็นราวมีแก่นสารหรือไม่ ความทุกข์อะไรที่บีบคั้นเรา ความน่าละอายสิ่งใดที่ทำให้เรานั้นขาดจากความเป็นมนุษย์ ขาดจากศีลจากธรรม

    ให้ระลึกรู้ว่าสิ่งที่เราทำมาอะไรนั้นมันมีแก่นสารหรือไม่ พิจารณาดูซิว่าเราเสวยสุขหรือทุกข์มากกว่ากัน เมื่อเห็นว่าสิ่งที่เราผ่านมาพิจารณาแล้วไม่มีสาระแก่นสารอันใดเลย อย่างนี้แล้วเราก็จะละออกจากกาย..

    การละออกจากกายก็คือการดับรูป การดับรูปคืออะไร ก็เรียกว่าเมื่อจิตเราเพ่งรู้อยู่ในกายในความสงบ ก็เห็นความสงบนั้นอารมณ์นั้นเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป ก็กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์นั้น ให้เท่าทันในอารมณ์นั้นแล้ววางเฉย เรียกว่าวางเฉยอยู่ในกาย เรียกว่าไม่ต้องสนใจกาย..แต่รู้อยู่ในกาย

    เมื่อรู้อยู่ในกายแล้วก็ทำความรู้นั้นให้แจ้งด้วยปัญญา เอาปัญญานั้นไปพิจารณาอะไร พิจารณาความเสื่อมของสังขาร ความตายที่จะเกิดขึ้น ความไม่แน่นอน สิ่งทั้งหลายนั้นเป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตาคือความว่าง เมื่อจิตที่ว่างจากความคิดนี้แลเค้าเรียกว่านิพพานชั่วขณะ

    แต่ว่าจิตที่เราจะว่างจากความคิดมันเป็นอย่างไร มันต้องว่างจากอารมณ์ที่เราไปยึดมั่นถือมั่นของกาย ของสังขาร การจะถอนอุปาทานจากขันธ์นี้เราต้องเพ่งโทษในกายเสียก่อน เห็นว่ากายนี้เป็นที่รังของโรค อัตภาพนี้มันมีสุขน้อยมีทุกข์มาก ไม่ช้าไม่นานกายสังขารนี้ก็ต้องแตกสลายไป เพราะว่ามันประกอบขึ้นมาด้วยดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ จิตวิญญาณธาตุ

    เมื่อมันมีแต่ธาตุ มันมีแต่เกิดขึ้นมาปรุงแต่ง อย่างนี้..เมื่อถึงฆาตถึงเวลากายสังขารจะต้องแตกดับออกไปแยกออกจากกัน ก็หามีประโยชน์อันใดไม่ เหมือนท่อนไม้ท่อนฟืนอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็แสดงว่ากายสังขารนี้มันไม่ใช่ของเรา สิ่งไหนที่เราบังคับบัญชามันไม่ได้..สิ่งนั้นไม่ควรยึด เพราะเมื่อยึดแล้วมันก็จะเป็นทุกข์

    เมื่อกายสังขารมันไม่ใช่ของเรา แต่ทำไมเรียกว่าเป็นเรา ที่ว่าเรียกเป็นเรา เป็นกู เป็นมึง เพราะเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ตอนนี้เราไม่อยากเป็นมัน เราไม่อยากเป็นเรา แต่เราต้องอยากรู้เรา..ว่าสิ่งที่เราอาศัยอยู่นี้แท้ที่จริงแล้วมันคืออะไร เมื่อเราเห็นตามความเป็นจริงได้ว่ากายสังขารนี้เป็นเพียงกายชั่วคราวที่เราได้มาอาศัยจุติ ได้สร้างบุญสร้างกุศลสร้างบารมี

    ดังนั้นเราจะเอากายสังขารนี้ได้ใช้ประโยชน์เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเห็นว่ากายสังขารนี้มันมีแต่ทุกข์ มีความตายรออยู่เบื้องหน้า ก็ให้เพ่งโทษในกายจนถึงที่สุด ของที่สุดของอารมณ์เป็นอย่างไร..อารมณ์เหล่าใดที่เราเจริญแล้วระลึกแล้วนั้นทำให้เราเกิดการสละ เกิดการปลงสังเวชเสียได้อย่างนี้ ด้วยการถอดถอนจากอุปาทานแห่งขันธ์ของจิตที่ยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้ได้ นั่นแล..ไม่นานนิโรธมันก็บังเกิด

    นิโรธก็คือการเห็นอารมณ์เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป เห็นสภาวะความไม่เที่ยงของอารมณ์ของจิต อย่างนี้แล้วก็เรียกว่านิโรธมันก็บังเกิด ผลจากเห็นอย่างนี้ของจิตที่เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป เห็นสภาวะความไม่เที่ยงอยู่บ่อยๆ ก็เรียกว่ามรรคมันก็บังเกิด เมื่อมันเป็นอย่างนี้แม้จิตเราเองก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น..

    ก็เมื่อเหลือแต่จิตแล้วตอนนี้ ถ้าหากว่ากายมันดับไปเมื่อพิจารณาไปแล้ว ก็เอาอารมณ์ของจิตนั้นแล ที่มันเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปนั้นแลมาพิจารณา จนว่าอารมณ์ทั้งหลายนั้นมันดับไปไม่เหลือ ไม่นานสมาธิมันก็บังเกิด เมื่อสมาธิบังเกิด ฌานมันก็บังเกิด วิปัสสนาญาณมันก็บังเกิด เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก็เพราะว่าอวิชชาแห่งความไม่รู้

    เมื่อเราไปพิจารณากำหนดรู้ในกายเสียได้ว่า กายนี้ที่แท้จริงแล้วมันเป็นของชั่วคราว อัตภาพนี้มันมีแต่ทุกข์ที่ว่าอาศัยอยู่ เมื่อเราเห็นโทษภัยในกายสังขารนี้ว่าไม่ช้าไม่นานกายสังขารนี้ก็ต้องดับสลายไป เหมือนกับทุกๆคน ไม่ว่าจะเกิดมามากน้องเพียงใดก็ต้องตายหมดเท่านั้น อย่างนี้แล้วชื่อว่าความเป็นจริงได้เกิดขึ้น ได้ประจักษ์ขึ้นกับในจิต

    เมื่อเห็นอย่างนี้ได้ เราก็จะวางกายนี้คือไม่สนกาย ไม่ยึดกาย แต่จะอาศัยกายนี้ประคองจิต จนว่าจิตนั้นมันรู้แจ้งแล้ว จิตมันสงบแล้ว ก็จะวางธาตุขันธ์นี้ไว้ตามฐานะของมันอย่างนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เรียกว่าเรากำหนดอยู่ในกาย นี้แล..จิตคือความรู้สึกไปกำหนดอยู่ในกาย จิตนั้นกับกายได้แยกกันอยู่แล้ว เพราะว่าจิตนั้นได้กำหนดรู้ว่านี่คือกาย..แต่ไม่ได้ยึดกาย

    แม้อารมณ์จะเกิดขึ้นในนเวทนาของกาย ก็สักแต่ว่าเป็นเวทนาเป็นความรู้สึก เราก็วาง..นี้แลเค้าเรียกว่าอุเบกขามันก็บังเกิด เมื่อจิตมันถอนอุปาทานแห่งขันธ์ก็เรียกว่ายกจิตขึ้นมา เมื่อจิตมันมีกำลังก็ยกจิตขึ้นมาไว้กลางหน้าผาก ในขณะนี้ถ้าเมื่อเรายกขึ้นมาได้ ก็จะเห็นว่าร่างกายก็ดี ความรู้สึกก็ดีมีความเสียววาบเสียวซ่านไปทั่วทั้งส่วนสรรพางค์กายนี้แล

    ก็ให้เราประคองจิตวางจิต คือวางเฉยของจิตนี้ เพ่งรู้อยู่แต่ที่กลางหน้าผาก ทำความรู้สึกให้มันสงบนิ่ง ประคองจิตไว้ ถ้าเมื่อประคองแล้วมันยังไม่นิ่งก็ให้กลับมากำหนดลมเข้าไปใหม่ แล้วก็วางจิตที่มันสงบนี้อยู่ในกาย เมื่อสงบจิตมันตั้งมั่น..ก็ยกขึ้นไปใหม่ ทำอยู่อย่างนี้ เรียกว่ามีวิตกอยู่ในกาย วิตกในอารมณ์ วิจารละอารมณ์ดับแล้ว เมื่ออารมณ์มันสงบก็ยกขึ้นไปใหม่ ทำอยู่อย่างนี้

    เมื่อผู้ใดเรายกขึ้นไปได้ สำรวมจิตไว้ที่กลางหน้าผากได้ ขอให้ประคองจิตอยู่อย่างนี้ให้นิ่ง เพราะโดยธรรมชาติของจิต ของทวารของจิต..ตัวปัญญาตัวญาณมันจะเกิดตัวรู้ทางนี้ ถ้าจิตที่ตั้งมั่นสงบนิ่งมากมันจะระงับทุกอย่าง แม้ความหนาวเหน็บความหนาวเย็นสิ่งใด เสียงอันใดก็ตาม จิตมันจะมีความละเอียดมากขึ้น..มากขึ้น..มากขึ้น

    เมื่อจิตมีความละเอียดมากขึ้นมากขึ้น แม้เสียงอันใดก็ตามที่เราได้ยินมันก็จะเบาบางลง จนเสียงนั้นดับไป นิ่งไป สงบไป ทีนี้แล้วจิตมันก็จะมีแต่ความสงบ อาศัยสมาธินี้แล อาศัยฌานที่เราจดจ่อเพ่งรู้อยู่เป็นอารมณ์เป็นเอกัคคตา จิตและลมหายใจเป็นหนึ่งแล้ว..ก็เรียกว่าจิตมันสงบระงับ

    คำว่าระงับก็คือนิโรธมันบังเกิด เห็นอารมณ์เหล่าใดเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปมันก็วาง เห็นจิตอะไรที่มันเข้าไปกระทบผัสสะ..ก็รู้แล้วก็วางอยู่อย่างนี้ รู้แล้ววาง เห็นแล้ววาง ผัสสะมากระทบก็วาง..นี้แลเรียกว่าจิตไม่เข้าไปยึดไม่ไปปรุงแต่ง จิตที่ไม่เข้าไปยึดไม่ไปปรุงแต่งนี้แล เค้าเรียกว่าว่างจากความคิด ว่างจากอุปาทานแห่งขันธ์ ว่างจากชรา ว่างจากมรณาอย่างนี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    2AB83059-C502-40C3-A075-527CC79F0FD2.jpeg

    จงสร้างบารมีคือความเชื่อมั่นให้ถึงในพระรัตนตรัย ไม่มีอะไรจะวิเศษเท่ากับแก้ว ๓ ประการอีกแล้ว ถ้าใครได้แก้ว ๓ ประการแล้ว..แล้วโยมรวมเป็นหนึ่ง..แล้วโยมอธิษฐาน โยมจะได้ทุกอย่างสมปรารถนา เค้าเรียกว่าแก้วสารพัดนึก..คืออะไรเล่าจ๊ะ คือ"ดวงจิต"ของโยมนั่นเอง คือ"แก้วสารพัดนึก"

    ถ้ายังนึกอยู่..อย่าเพิ่งขอ เมื่อโยมเลิกนึกเมื่อไหร่เลิกคิดเมื่อไหร่นั่นแล..จิตสงบ..ให้โยมขอ ตั้งจิตอธิษฐานพรขึ้นมา ถ้ายังนึกอยู่ยังคิดอยู่..อย่าไปขอ จิตโยมจะไม่สงบ มันเป็นสรรพอารมณ์เค้าเรียกกิเลสขึ้นมา แต่ถ้าจิตโยมสงบแล้ว จิตมันตั้งมั่นแล้วนั่นแล จิตสว่างแล้ว จิตเกิดสุขแล้ว จิตน้อมจิตนั้นแล้ว..โยมอธิษฐานขอพรต่อพระรัตนตรัยได้ ต่อลูกแก้วของโยม

    ทุกคนมีลูกแก้วเป็นของตัวเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ คนที่เดินทางมาด้วยการเจริญพระกรรมฐาน เมื่อบำเพ็ญไปภาวนาจิตไป..ลูกแก้วดวงนี้มันจะเกิดขึ้นมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่เค้าเรียกว่าคนที่มีต้นทุนบุญกุศลในพระกรรมฐานฌานวิถีแล้ว จะมีลูกแก้ว..บารมีลูกแก้วสารพัดนึกของตัวเอง

    เมื่อโยมระลึกอยู่บ่อยๆ เพ่งดูลูกแก้วรู้อยู่บ่อยๆแล้ว ลูกแก้วนี้เมื่อโยมเห็นแล้ว โยมจะเห็นในความสว่างว่าลูกแก้วที่โยมเห็นนี้มันเป็นอะไร พรที่โยมขอไประลึกไปมันก็จะเป็นอย่างที่โยมปรากฏที่โยมระลึกถึง เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันจะเป็นไปตามที่โยมระลึกถึงตามที่โยมปรารถนา

    เพราะว่าสิ่งที่มนุษย์ได้ระลึกแล้ว..นั่นคือมนุษย์ได้รู้ล่วงหน้าไว้อยู่แล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ไม่สามารถจะกระทำให้เห็นได้อย่างนั้นได้ เพราะยังไม่เข้าถึงในสิ่งที่รู้ คือที่ยังไม่รู้จริง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้ารู้จริงแล้วสิ่งทั้งหลายก็จะปรากฏให้เห็นได้

    ดังนั้นแล้วการนั่งสมาธิอะไรก็ตามภาวนาอะไรก็ตาม..อย่าไปรู้อะไร อย่าไปเห็นอะไร ให้รู้กาย รู้จิต รู้อารมณ์ของตัวเอง แล้วถ้าโยมดับจิตดับตัวรู้ดับความคิดได้..สิ่งที่โยมอยากรู้อยากเห็นจะปรากฏให้เห็นทั้งหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นของที่ดีมันก็มีอยู่ในกายแล้ว นั้นเราเอาลูกแก้วมาขัดอยู่บ่อยๆ พอมันขุ่นโยมก็ค่อยๆปัดมันรักษามัน คือรักษาดวงจิตดวงใจไว้ อย่าให้มันขุ่นอย่าให้มันหมอง อะไรอารมณ์ใดที่จะทำให้จิตเราหมองแล้วใจเรามันขุ่น..ก็คือไอ้โลภ โกรธ หลงนั่นแหล่ะจ้ะ ที่มันทำให้หมอง ทำให้ขุ่น ทำให้ร้อน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าโทสะมันมีมากร่างกายโยมก็จะเสื่อมโทรมได้ไว พลังจิตโยมก็จะอ่อน แต่พลังจิตจะอยู่ในการแช่แข็งหรือการทรงฌานอยู่ในปิรามิดนี่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะสมาธิมันจะเป็นความเย็นอย่างหนึ่ง เป็นการชะลอวัยอย่างหนึ่ง อย่างนี้นั่นแหล่ะจ้ะ นั้นโยมอย่าทำให้ลูกแก้วในบารมีของโยมมันเร่าร้อน อย่าให้สกปรก เพราะสกปรกแล้วจิตโยมจะบอด เมื่อมันจะมีเภทมีภัยอะไรเค้าก็จะไม่เห็น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นพยายามรักษาดวงจิตดวงใจให้มันสว่างบ่อยๆ ถ้าดวงจิตดวงใจโยมสว่างแล้วจะมีเทพเทวดามาคอยรักษา เช่นบ้านเรือนบ้านเรือนใดคอยทำความสะอาดรักษา บ้านเรือนนั้นก็จะมีเทพเทวดาชอบไปอยู่ จิตใจมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรามีศีลมีธรรมเทพเทวดาเค้าก็มาอยู่อาศัย ระลึกถึงอะไร เราลำบากอะไร เค้าจะประทานให้สิ่งนั้นให้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    CA4BC972-2279-444D-B3D1-C9A962ECD953.jpeg
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    193386F1-2208-4FC5-B151-358B20BB2C86.jpeg

    หลวงปู่ : เย็นสบายดีมั้ยจ๊ะ
    ลูกศิษย์ : สบายดีเจ้าค่ะ
    หลวงปู่ : รู้สึกว่ากายสบาย..แล้วใจสบายหรือเปล่าจ๊ะ
    ลูกศิษย์ : สบายเจ้าค่ะ

    หลวงปู่ : สิ่งนี้เค้าเรียกว่าเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ไอ้ที่ว่ารู้สึกสบายกายสบายใจ..ก็เป็นเวทนาอย่างหนึ่ง เมื่อมีลมความเย็นมากระทบผัสสะกายแล้วรู้สึกคือความพอใจ มันก็เรียกความเคลิบเคลิ้มอย่างหนึ่ง แต่เมื่อกายสบายแล้ว..ใจเล่าสบายหรือยัง จิตเราได้ปล่อยวางหรือยัง ความกังวลใดๆเราตัดออกไปหรือยัง การคาดหวังในการจะประพฤติปฏิบัติเราได้ปล่อยวางหรือยัง

    แม้ว่าร่างกายสังขารจะรู้สึกสบายเกิดความพอใจ..ก็เพียงว่าแค่รู้สึก ก็เอาความสุขที่ว่าเป็นสุขให้มันเกิดขึ้นกับใจเรา คือมีความพอใจมีปิติและสุข ที่จะเอากำลังใจให้บังเกิดขึ้นเพื่อจะประพฤติปฏิบัติธรรม นั่นก็เรียกว่าเมื่ออะไรมันเป็นใจให้เราแล้ว มันก็เปิดทางเปิดช่อง..ก็ควรเอาสิ่งนั้นแลให้เกิดกำลังใจบารมี อธิษฐานตั้งจิตตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ว่ามาอยู่ในสถานที่สบายแต่เกิดความเพลิดเพลินเกิดความเคลิบเคลิ้ม..ขาดจากสติ

    นั้นเราต้องกำหนดรู้ว่าในขณะนี้เรากำลังจะทำอะไร อยู่กับกายวาจาที่สงบ อยู่กับใจที่สงบ ใจที่สงบเป็นอย่างไร ใจที่ไม่มีความคิดความฟุ้งซ่าน ไม่มีอนาคต ไม่มีอดีต รู้แต่ปัจจุบันนั่นแลจึงเรียกว่าใจที่สงบ เมื่อใจที่สงบมันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมัน สติมันก็ตั้งมั่น สมาธิมันก็บังเกิด เมื่อเราเพ่งอยู่แต่อารมณ์แห่งความสงบนั้น ฌานมันก็บังเกิด..

    เมื่อฌานบังเกิดวิปัสสนามันก็บังเกิด นั้นก็ลองน้อมจิตเข้าไปในกาย..สำรวมกายวาจาใจให้ตั้งมั่น เมื่อกายวาจาและใจนี้ตั้งมั่นแล้วก็เรียกว่าเราอยู่ในการทรงศีล ลองสำรวมกาย..กำหนดลมดูอานาปานสติ การเจริญอานาปานสติคือตั้งจิตตั้งมั่นรู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจ..ลมหายใจมันเกิดที่ใด ก็คือเกิดที่กาย..นี่เค้าเรียกว่าสำรวมกาย คือกำหนดรู้ลมหายใจ

    สิ่งใดที่มาผัสสะมากระทบก็สักแต่ว่าได้รู้ เย็นสบายเป็นอย่างไร..ก็วาง ถ้าเรารู้แล้วในความเย็นนั้น..แล้วยังปรารถนาในความเย็นให้มากระทบอีก เพื่อให้มันรู้สึกดีกว่านั้นอีก..นี่เค้าเรียกว่าเป็นความเพลิน ความเคลิบเคลิ้มจิตเคลิบเคลิ้มใจ ก็เป็นกามคุณอย่างหนึ่ง นั้นยิ่งรู้ว่ากายเรามีสุขมีความพอใจ..นั้นเราต้องละอารมณ์เหล่านี้ คือไม่สนใจมัน ก็เรียกว่ากายนั้นมันสบายแล้ว ก็ทำจิตทำใจให้มันสบายไปด้วย

    คือทำจิตทำใจให้สบายเป็นอย่างไร ให้มันปลอดโปร่งผ่องใส อย่าได้กังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่ล่วงไปแล้วในกรรมชั่วใดๆ ไม่ว่าเราจะกระทำอะไรมา ใครทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจก็ดี ในขณะนี้ข้าพเจ้าขอตั้งอยู่ในกองบุญกองกุศล ที่จะเจริญอานาปานสติ เจริญสติมหาปัฏฐาน สติอันใหญ่อยู่ในกาย วาจา ใจ อยู่ในฐานทั้ง ๔ ของสติปัฏฐาน ๔ คือการดูกาย เวทนา จิต ธรรมนี้ให้ตั้งมั่น

    ก็คือการพิจารณาธรรมให้เข้าถึงว่าจิตจะตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ นั้นเป็นอย่างไร ก็มีก็ว่าการสำรวมอินทรีย์คือวาจา ความไม่เพลิดเพลินในเสียงที่ได้ยินก็ดี การไม่คลุกคลีกับหมู่คณะก็ดี การรู้จักบริโภคในการทานอาหารก็ดี การรู้จักปริมาณในการหลับนอนก็ดี อย่างนี้ก็เรียกเป็นการว่าถ้าบุคคลใดจะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ย่อมตั้งมั่นได้นานได้คงทน

    เมื่อจิตเราตั้งมั่นจดจ่อแต่อารมณ์แห่งธรรมแล้ว ธรรมแห่งปิติก็บังเกิดทำให้เรานั้นมีความเพียร ความเพียรคือทำให้เรามีความพอใจในอิทธิบาท ๔ มีความใคร่ครวญตรึกตรองจดจ่อในอารมณ์แห่งจิตที่เป็นสมาธิ ก็อาศัยความสงบแห่งธรรม แห่งธรรมชาติของจิต แห่งธรรมชาติของโลกนี้แล ที่เรียกว่าไม่ขัดข้องแล้ว ไม่วุ่นวายแล้ว..นั่นเรียกว่าจิตที่ปล่อยวาง

    จิตที่ปล่อยวางคือจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร แม้กายก็ดี แม้สิ่งใดก็ดีที่เรายังเป็นกังวลอยู่..ก็ควรตัดละออกไปเสียตอนนี้ ให้เป็นทาน..ก็เรียกว่าเป็นบุญกุศลในการให้ คือให้อภัยทาน ให้อโหสิกรรม นี่เรียกว่าการเจริญเมตตาธรรมจักบังเกิดขึ้น เมื่อนั้นแล้วความห่วงใยใดๆในโลกนี้มันก็จะถูกตัดออกไป ก็เหลือจิตที่วางเฉยเป็นอุเบกขา

    ดังนั้นถ้าเรามีจิตที่ยังมีความง่วงก็ดี ความหดหู่ ความเคลิบเคลิ้มก็ดี ให้เราล้างลมเสียออกจากปอด แล้วกักลมไว้กึ่งหนึ่ง แล้วกำหนดดูที่ท้องน้อยเหนือสะดือ จนรู้สึกว่าจิตนิ่ง..ค่อยๆผ่อนลมไป ในขณะที่จะผ่อนลมให้ทำความรู้สึกให้ทั่วตัว ให้เกิดสติสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อมสติเฉพาะหน้า คือรู้อยู่ในกาย สติมหาปัฏฐานดังนี้แล

    วางจิตไว้ในกายในฐานทั้ง ๔ ในกาย เวทนา อารมณ์ จิต..ให้รู้จิต ในขณะนี้สภาวธรรมอะไรที่เกิดขึ้น จิตหดหู่เป็นอย่างไร จิตเศร้าหมองเป็นอย่างไร จิตที่ตื่นรู้เป็นยังไง จิตที่ปล่อยวางเป็นยังไง จิตที่วางเฉยเป็นยังไง อาการมันเป็นยังไง อย่างนี้เค้าเรียกว่าเจริญสติคือเจริญตัวระลึกรู้ได้

    เมื่อระลึกรู้ได้แล้วมันก็เป็นการเบิกทาง เปิดทางในการที่เรานั้นจะเจริญบารมีธรรมให้เกิดขึ้น ถ้ายังกำจัดสิ่งเหล่านี้ คือความหดหู่ ความเศร้าหมอง หรือเรียกว่านิวรณ์ทั้ง ๕ ที่เป็นข้าศึกแห่งสมาธิยังไม่ได้ อย่างนี้แล้วจะเข้าถึงความบริสุทธิ์แห่งจิตนี้ แห่งความพรหมจรรย์..มันก็ทำได้ยาก

    ดังนั้นต้องทำอย่างไร ก็ให้เรานั้นมีองค์ภาวนากำกับจิต เพื่อดึงสติให้มาจดจ่อตั้งมั่นอย่างนี้แล เพราะเราไม่ได้สำรวมอินทรีย์ได้อยู่ตลอดเวลา นั่นก็คือการเจริญศีลรักษาศีลได้ตลอดเวลา มันมีอะไรมากระทบจิตก็เป็นของธรรมดา ดังนั้นก็เรียกว่าการวิตกของอารมณ์ และวิจารคือละอารมณ์นั้น นั่นก็คือเมื่ออารมณ์เหล่าใดเกิดขึ้นก็ให้กำหนดรู้ มีความง่วงก็ดีก็ให้รู้ มีความหดหู่ความเคลิบเคลิ้มก็ต้องรู้ ไอ้ตัวรู้ตัวนี้แลเมื่อรู้มากๆเข้าจิตมันจะตื่นของมันเอง

    เมื่อจิตตื่นมาก เมื่อรู้มากเท่าไหร่..มันก็จะเบิกบาน จิตมันก็จะสว่างไสวเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ ดังนั้นในขณะนี้เราต้องปลุกจิตวิญญาณ ปลุกธาตุขันธ์ทั้ง ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลมนั้นให้มันเสมอ ให้มาประชุมธาตุขันธ์ว่าตอนนี้ว่าเราจะทำอะไร นั่นก็คือการอธิษฐานจิตแผ่เมตตาแผ่บุญกุศล และตั้งจิตอธิษฐานสำรวมกายวาจา อินทรีย์ พละทั้ง ๕ ให้บังเกิดขึ้น ให้เข้าถึงความศรัทธา ความเพียร ให้เข้าถึงสติตัวระลึกรู้ได้ว่าเราทำอะไรอยู่ ให้เข้าถึงสมาธิคือจิตที่ตั้งมั่น ให้เข้าถึงตัวปัญญาคือให้รอบรู้ในกองสังขารของตน

    การรอบรู้ในกองสังขารของตนคือรอบรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นของจิตนั่นแล ดังนั้นขอให้พิจารณาอย่างนี้ เมื่อจิตมันตื่นรู้แล้วก็ให้น้อมจิตเข้าไป ให้จิตนั้นมันเกิดธรรมสังเวชให้มันเกิดขึ้น เพื่อปลงละอารมณ์ในกาย ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ..คือให้มันดับ

    ไอ้ตัววิญญาณที่มันดับคือดับอารมณ์ ให้นิโรธมันเกิด คือสภาวะที่เราเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปของจิตนั่นแล เมื่อเห็นอย่างนี้ก็จะเห็นสภาวะความไม่เที่ยง เมื่อเห็นสภาวะความไม่เที่ยงได้ จิตมันจะเริ่มเบื่อหน่ายคลายจากความกำหนัด จิตก็จะตื่นรู้จากวังวน จากความหดหู่ความเศร้าหมองทั้งหลายทั้งปวง นี่แหล่ะมันถึงจะไปเจริญไปพิจารณา หรือเรียกว่าวิปัสสนาญาณได้..

    ดังนั้นก็อาศัยฌานคือสมถะแห่งลมก็ดี สมถะแห่งกายที่สงบก็ดี กรรมฐานที่ใจเราปล่อยวางแล้วก็ดี เหล่านี้เรียกว่าสมถกรรมฐาน คือเป็นการงานของจิตที่เพ่งอยู่แต่อารมณ์แห่งความสงบ จดจ่อตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ อยู่ในการงานของจิตนี้..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    11185756-C1B8-4A38-88D7-AC4473A54A79.jpeg

    นั่งไป..ไม่ต้องสนใจ ดูจิตภาวนาไป อย่าได้สนใจสิ่งที่มากระทบก็แค่รู้..กำหนดรู้แล้ววาง ถ้าสิ่งไหนมันทำให้เรานั้นจิตมันตื่นรู้ ทำให้เราเกิดมีความสะดุ้งรู้ตัว..คือสติตั้งมั่นขึ้นมา ก็ให้กำหนดรู้ใหม่อยู่ในกาย วาจา ใจ ล้างลมเสียออกจากปอด ทำจิตให้ตั้งมั่นให้เป็นสมาธิ ใจที่ตั้งมั่นนั่นแล..ใจที่ตั้งมั่นอยู่แต่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง นั่นก็เรียกว่าสมาธิมันก็บังเกิด ฌานมันก็บังเกิด..

    เมื่อมีร้อนมากก็ขัดข้อง เย็นมากมันก็ขัดข้อง แล้วอะไรคือความพอดีที่มันจะเกิดขึ้น..มันก็คือความพอใจที่เราปรารถนาจะประพฤติปฏิบัติในพรหมจรรย์ คือไม่ต้องสนใจ สิ่งนี้แลเค้าเรียกว่าจะทำให้อินทรีย์เรานั้นแข็งแรง ดังนั้นถ้าเมื่อยังไม่เคย..มันก็ต้องเคย มันก็ต้องฝึก สิ่งไหนที่เราพอเพลิดเพลินแล้วเราก็ต้องละ สิ่งไหนที่มีทุกข์เวทนาก็ต้องกำหนดรู้

    เมื่อกำหนดรู้อารมณ์เหล่าใดแล้ว มันเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ไม่นานมันก็จะดับไป แต่ในขณะที่มันเกิดขึ้นแล้ว..ตั้งอยู่นั่นแล มันก็ต้องดูว่าความอดทนขันติบารมีของเรานั้นมันมีมากเพียงใด ถ้ามันมีน้อยการจะไปเจริญเพื่อเผากิเลสนั้นมันก็ทำได้ยาก อย่างนี้เรียกว่าเรานั้นยังอ่อนซ้อม ยังไม่เข้าถึงความเชื่อความศรัทธาในพระรัตนตรัย เราก็ต้องฝึกให้มากๆ

    คือฝึกอะไร..ฝึกสติตัวระลึกได้ สติเรามีมากเพียงใดแม้ความเพียรเราไม่มีมาก แต่มันก็ยังประคับประคองได้ ให้เราทำได้อยู่บ่อยๆ ก็ต้องอาศัยความเคยชินในความเพียร ทำอยู่บ่อยๆเพื่อให้เข้าถึงกรรมฐาน หัวใจของกรรมฐานคือการเพียรละอารมณ์ จนไม่เหลืออารมณ์แล้วนั่นแล..วิญญาณมันก็ดับ รูปก็ดับ นามก็ดับ สัญญามันก็ดับ..

    เมื่อมันดับอย่างนี้ก็จะเห็นจิตนั้นเกิดสภาวะความไม่เที่ยง แม้จิตแม้ธรรมก็ไม่ควรยึด อย่างนี้แลควรกำหนดรู้ควรทำให้มันเกิดขึ้น เมื่อนั้นก็จะเห็นทางออกแห่งมรรค ก็คือผลแห่งจิตที่เรานั้นเห็นสภาวะความไม่เที่ยง เห็นทุกข์ เห็นเวทนา เรียกเห็นโทษภัยในวัฏฏะ

    เมื่อเราเห็นโทษภัยในวัฏฏะแล้ว เราก็จะมีแต่การเพ่งโทษแต่ฝ่ายเดียว คือไม่ยึดมั่นพอใจในกาย ไม่ยึดมั่นพอใจในสุข ไม่ยึดมั่นสิ่งใดที่ในความปรารถนาใดๆ เมื่อเราไม่มีความยึดมั่นถือมั่นใดๆแล้วในโลกนี้ ในกายนี้ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นมันก็มีแต่ของเป็นทุกข์ เป็นที่รังของโรค ก็จะเห็นว่ากายสังขารนี้มีคุณประโยชน์อยู่ว่า..เป็นที่อยู่อาศัยให้จิตนั้นได้บำเพ็ญเพียร ได้ประพฤติปฏิบัติได้สร้างบารมี

    ก็อาศัยกายนี้กระทำความเพียรให้อยู่บ่อยๆเนืองๆ จนที่สุดแล้วในความเพียร จนจิตนั้นมันเหนือกาย เหนือกายอย่างไร..เหนือกายว่าเราจะประพฤติปฏิบัติตอนไหนเวลาไหน..ย่อมทำได้ไม่มีกาล

    ดังนั้นกายนี้จึงมีคุณประโยชน์อย่างมาก นั้นเมื่อเราจะอธิษฐานจิตแผ่บุญกุศล เราก็ต้องแผ่ให้เทพเทวดาที่เค้าดูแลปกปักรักษาในกายนี้ แล้วก็บิดามารดาผู้ให้ลมหายใจให้กายสังขาร ปู่ย่าตายายก็เช่นกัน เราก็จะเห็นความสำคัญของบรรพบุรุษของบรรพชน ที่ได้ให้มีแผ่นดินมีศาสนาให้เรานั้นได้ประพฤติปฏิบัติ มันก็เป็นลูกโซ่สอดคล้องกันไปเป็นวัฏฏะอย่างหนึ่ง

    ดังนั้นแล้วเมื่อเราเห็นความสำคัญแห่งการเกิด ว่ามีกายครบอาการ ๓๒ มีสติ ได้มีโอกาสได้มาเจอพระพุทธศาสนา หรือคำสอน หรือครูบาอาจารย์ ได้มาอบรมบ่มจิตเหล่านี้ จะทำให้เรานั้นมีกำลังใจ กำลังใจก็คือญาณบารมีที่เราสะสมในอดีต มันก็จะผุดขึ้น ทำให้จิตเรามีกำลัง มีความฮึกเหิมที่จะต่อสู้ในความเกียจคร้านของจิต ที่กายนี้มันเป็นขันธมารที่มันซ่อนอยู่ในความอ่อนแอ ในความไม่รู้จักโต ไม่รู้จักกาลไม่รู้จักเวลา..ว่าเวลานี้เป็นเวลาอะไร

    นั้นก็เรารู้จักมีความละอาย รู้จักมีความอดทนอดกลั้นในสภาวธรรมใดสภาวธรรมหนึ่งที่มันเกิดขึ้น..ก็ลองพิจารณา หากเราไม่พิจารณาให้ธรรมมันเกิดขึ้นแล้ว ความสงบที่ตั้งมั่นมันก็ไม่เที่ยง เมื่อมันสงบแล้ว..เมื่อมันคลายจากความสงบเมื่อไหร่ ความที่มันฟุ้งซ่านรำคาญใจมันก็กลับมา นั่นก็เรียกว่าฌานมันก็จะถอนออกมา

    เมื่อฌานมันถอนสมาธิมันก็ถอน เมื่อมันถอนแล้วเป็นอย่างไร ทีนี้แล้วมันก็รู้สึกหงุดหงิดขัดข้องอีกแล้ว ทีนี้ต้องทำอย่างไร ให้เราเดินจิตใหม่ การเดินจิตคือกำหนดรู้ลมแล้วก็มีภาวนากำกับ ดูสมถะไป เค้าเรียกว่าดูกายสลับสับเปลี่ยนกับดูจิต ในเมื่อเรายังไม่มีกำลังที่จะไปพิจารณาธรรมไปดูจิตได้ เราก็ดูกายดูความสงบ ดูลมหายใจ นั่นก็คือมีภาวนากำกับ สลับสับเปลี่ยนอย่างนี้
    ก็เหมือนว่าไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ดีที่มันเกิดความสงบ ในความสงบนั้นถ้าจะให้มันตั้งมั่นได้นาน ก็ให้เรามีองค์ภาวนากำกับเข้าไปอีก เพื่ออาศัยความสงบนั้นเป็นเบื้องบาทเป็นฐานแห่งฌาน เพื่อจะให้เข้าถึงปัญญาคือวิปัสสนาญาณ

    ดังนั้นการที่จะเข้าถึงสภาวธรรม เข้าถึงความวิมุติแห่งธรรม หรือบรรลุธรรมก็ดี ก็ให้เราพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งของอาการ ของวาระแห่งธรรม คือการตรึกตรองในธรรม เพ่งอยู่..อยู่ในฌานในวิตกวิจาร เค้าเรียกว่าเจริญวิปัสสนาญาณให้เข้าถึงเหตุแห่งทุกข์แห่งภัยในวัฏฏะ แม้ขณะจิตเดียวก็จะทำให้จิตนั้นตื่นรู้ คลายจากความง่วง ความหดหู่ ความเศร้าหมอง อันที่เป็นข้าศึกแห่งสมาธิ

    อันว่าจิตมันตื่นรู้แล้ว มันคลายจากความหดหู่ความเศร้าหมองได้แล้วนั่นแล สติมันก็จะเริ่มตั้งมั่นขึ้นมา กายที่อ่อนล้าในกายสังขารมันก็จะมีกำลังขึ้นมาขึ้นมา ดังนั้นให้เรามีองค์ภาวนา เมื่อมีภาวนาแล้วจะทำให้กายสังขารมันตื่น ก็ให้สับเปลี่ยนไปด้วยการแผ่เมตตาอธิษฐานจิตลงไป..

    เพื่อเป็นการเปิดทางเปิดแสงสว่างให้ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายให้เค้ามาโมทนา เค้ายังมาบดบังดวงจิต นั่นก็เรียกอวิชชาเมฆหมอกกิเลสตัณหาทั้งปวง ที่มันร้อยรัดตราตรึงไว้ เมื่อเราจะทำกุศลคราใดมันก็จะมาทวง..เรียกว่าเจ้ากรรมนายเวรนั้นเอง ที่เราไม่สามารถเหนือมันได้ เพราะเรายังไม่เคยเหนืออารมณ์ นั่นก็คือการเจริญขันติแห่งธรรม ยังไม่สามารถเอาชนะมารภายใน ก็ไม่สามารถจะควบคุมหรือรู้เท่าทันมารภายนอกของอารมณ์ได้

    นั้นก็ขอให้เรานั้นเจริญสติระลึกอยู่บ่อยๆ อยู่ในลมหายใจ อยู่ในองค์ภาวนา อยู่ในกุศลที่เราได้ทำมาแล้ว และในขณะนี้ที่กำลังทำอยู่ คือรู้อยู่..อยู่แต่ปัจจุบันนี้แล ทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆให้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็ทำให้เราชิน เท่าทันในสภาวธรรม เท่าทันในสมาธิ..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒ 11185756-C1B8-4A38-88D7-AC4473A54A79.jpeg
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,918
    64481930-8AEB-471C-9DBA-78700E1DA77C.jpeg

    เราต้องเจริญแผ่เมตตาให้มาก ทุกที่เค้ามีวิญญาณ ไม่ว่าที่ไหนเคหะไหน..เราต้องแผ่เมตตา อย่าให้เค้ามาอยู่ใกล้เรา ผีกับคนอยู่ด้วยกันไม่ได้ อยู่คนละภพคนละภูมิ แต่เทวดามาอยู่ได้ เทวดาเค้ามีศีลมีธรรม มันจะทำให้เรานั้นอยากใฝ่ดี ใฝ่หา ใฝ่รู้ แต่ถ้าวิญญาณผีสางแล้วมันจะคอยมาอาศัยเรา มากินบุญเรา มาทำให้เราต้องเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

    ดังนั้นเราต้องมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่งั้นคล้องคอทั้ง ๑๐๘ วัดก็หนักคอเปล่าๆ ไม่มีประโยชน์อันใด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่ครับ ที่บอกว่ามนุษย์แต่ละคนนี่จะมีเทวดาประจำตัวอยู่นี่..จริงใช่มั้ยครับ

    หลวงปู่ : อ้าว..ก็จริงสิจ๊ะ เทวดานั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็บิดามารดาของโยมนั่นแหล่ะจ้ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ หากโยมไม่สร้างบุญกุศลต้นทุน บุญกุศลเค้าน้อยเค้าจะมีฤทธิ์มีเดชได้อย่างไร โยมไปขอพรมันก็ได้สัมฤทธิ์ผลยาก ใช่มั้ยจ๊ะ แล้วเป็นการตอบแทน เพราะบอกแล้ว บิดามารดาแม้จะล่วงลับไม่มีกายสังขารแล้วก็จริง..

    แต่บุญกุศลและจิตวิญญาณเราทำ..ท่านก็ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด บุญกุศลนั้นย่อมนำทางไปได้ทุกที่ เรียกว่าจิตต่อจิตย่อมถึงกันได้ เพราะจิตวิญญาณมันไม่มีวันสลายหรือตายไปไหน ที่ตายเฉพาะสังขาร เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : ถึงแม้ท่านจะไปเกิดแล้วก็..
    หลวงปู่ : เกิดแล้วในภพภูมิใด..บุญก็ยังได้อยู่ เพราะเรายังไม่ตายนั่นเอง จนที่เราตายนั่นแหล่ะจ้ะ ไม่มีทายาทแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถึงจะหมดเวรหมดกรรมกันจริง

    ลูกศิษย์ : แล้วถ้าแบบนี้ แบบว่าถ้าบิดานั้นมีลูกหลานหลายคน แต่ละคนนี่ถ้าสวดมนต์แล้วก็แผ่อุทิศให้ท่าน..ก็ได้รับ

    หลวงปู่ : ก็ได้จ้ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่หลักๆนี่เค้าเรียกว่าถ้ากรรมโดยตรงก็คือลูกกับหลาน เหลนนี่เริ่มจะหมดเชื้อแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโหลนนี่หนักใหญ่เลย..ไม่เอาแล้ว ดังนั้นกรรมเป็นทายาทหมายถึงว่าทายาทแห่งกรรมก็คือ..ผู้ให้กำเนิดหรือลูก หลานยังโดนอยู่ยังได้อยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะยิ่งห่างๆไปกรรมก็ยิ่งเบาบางลงไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่แหล่ะ..

    อย่าคิดว่าท่านไม่อยู่แล้ว บุญเราต้องทำมั้ย..ต้องทำ ลองถามกลับไปซิว่า ไอ้ตอนที่ท่านอยู่แล้วเราตอบแทนหมดรึยัง..ค่าน้ำนมในบุญกุศลน่ะ ไม่มีหมดหรอกจ้ะ เผลอๆล้างผลาญเสียมากกว่า ใช่มั้ยจ๊ะ ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจเสียมากกว่า นี่แหล่ะจ้ะ..แล้วท่านจะไปเกิดอยู่สุคติภูมิได้อย่างไร

    อันใดที่ท่านจะไปแล้วด้วยดี..ก็จะมีอยู่ว่า บุตรหลานนั้นประพฤติดีแล้ว อยู่ในศีลในธรรมแล้ว เอาตัวรอดแล้ว นั่นแหล่ะจ้ะท่านก็สว่างเหมือนกัน ถ้าบุตรหลานนั้นยังไม่มีหลัก ยังจะมีกรรมชั่วที่ทำอยู่ นี่แหล่ะ..ท่านก็คงไปเกิดไม่ได้ เพราะตามวิสัยของบิดามารดาแล้ว ย่อมห่วงบุตรเป็นธรรมดา

    คำว่าห่วงตรงนี้มันจึงเป็นสายใยแห่งกรรม ที่ยังตามติดโยมไปตลอดเวลา เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่างนั้นเค้าเรียกว่าทำให้เรานั้นเป็นต้นเหตุแห่งบุญและบาป ดังนั้นเราต้องตัดสะพานตรงนี้ออกไป โดยการแผ่เมตตาจิต ทำให้จิตเราสว่างไสวให้มาก ทำให้จิตเรานั้นมีหลักยึดที่เป็นสรณะ

    ถ้าโยมสามารถถึงธรรมได้ ก็เรียกว่าแผ่บุญกุศลครั้งคราใดย่อมถึงท่านได้ ไม่มีบุญอันใดที่จะทำให้บิดามารดานั้นได้บุญมาก เท่ากับเราถึงธรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ เรียกว่าการปล่อยวาง เมื่อเราปล่อยวางมาก..ถึงธรรมแล้ว บิดามารดาเค้าถึงจะหมดห่วง เมื่อหมดห่วงแล้ว..เส้นทางใดของวิบากกรรมของมนุษย์นั้นก็จะตัดขาดกันไปตรงนั้น ท่านก็จะไปเกิดภพภูมิชั้นตามแรงบุญกุศลนั้นเอง

    ในขณะที่เค้ามีชีวิตอยู่นะ เราก็ควรให้ท่านนั้นได้เข้าถึงศีลถึงธรรมให้ได้ ดังนั้นต้นแบบตัวอย่างจึงสำคัญ ใช่หรือไม่ นี่มันจึงมีกรรมไม่จบสิ้นก็เพราะแบบนี้ อย่างว่าที่เป็นต้นเชื้อกรรม..แต่ว่าจะตายแหล่ไม่แหล่แล้วยังเอาตัวไม่รอด แล้วจะไปช่วยเหลือคนอื่นเค้าได้ยังไง ใช่มั้ยจ๊ะ แล้วก็บอกห่วงลูกห่วงหลานเหลือเกิน แต่ไม่เคยห่วงตัวเอง ทำร้ายตัวเอง ไม่เชื่อไม่ศรัทธา ไม่เป็นหลัก นี่เค้าเรียกว่าจะตายกอดคอกันตายนั่นเอง แล้วใครจะช่วยใครได้ล่ะแบบนี้ ถ้าไม่ช่วยตัวเอง..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...