ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 75-76

    สงครามยุทธหัตถี (ต่อ)

    เวลา 10 ทุ่มทรงสุบินว่าน้ำท่วมมาจากทิศตะวันตก พระองค์ลุยน้ำไปพบจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่ง ได้ต่อสู้กัน พระองค์ฆ่าจระเข้ตายเมื่อตื่นบรรทมก็ให้โหรทำนาย พระโหราธิบดีทูลว่า ศึกครั้งนี้จะรบกันถึงทำยุทธหัตถีแต่พระองค์จะมีชัย ครั้นถึงเวลาจะเดินทางต่อ ขณะพระนเรศวรยืนคอยฤกษ์อยู่ที่เกย ก็เห็นพระบรมสารีริกธาตุปาฎิหาริย์ลอยมาแต่ทิศใต้ เวียนทักษิณาวัตรแล้วผ่านไปทิศเหนือ พระนเรศวรทรงรู้สึกผิติซาบซ่านไปทั้งพระองค์ยกพระหัตถ์ประณมอธิษฐานว่า ขอให้สวัสดีมีชัยแก่ข้าศึก จากนั้นก็นำทัพไปถึงหนองสาหร่ายเวลาบ่ายสามโมง ให้ตั้งค่ายเป็นขบวนรูปดอกบัว

    <O:p</O:p
    กองสอดแนมพม่าแลเห็นทัพหน้าทัพหลวงแล้ว ก็ขับม้าไปพังตรุทูลตามที่สอดแนมได้ความไป พระมหาอุปราชาตรัสปรึกษากับนายทัพนายกองว่าเป็นทัพกรุงแน่แล้ว มีคน 17-18 หมื่นเช่นนี้ก็เป็นทัพใหญ่อยู่แล้ว แต่ยังน้อยกว่าเรา 2-3 เท่า ควรยกเข้าทุ่มตีเอาทัพแรกนี้ให้แตกยับเยินแล้วภายหลังจะเบามือลง เห็นจะได้พระนครศรีอยุธยาโดยง่ายจึงสั่งให้เตรียมพลแต่ยามสามให้พร้อมตีสิบเอ็ดทุ่มจะยกไป จะให้แต่งช้างมีเศวตฉัตร 16 ช้างพรางไว้จัดสมิงรามัญที่เข้มแข็งขี่ประจำจะทำให้แม่ทัพไทยไม่รู้ว่าช้างไหนเป็นพระมหาอุปราชา เตรียมพลเดินเท้า 20 หมื่น พลม้า 3 พันจัดทัพเป็นเจ็ดแถว แถวละเจ็ดกองยกออกจากค่ายตระพังตรุ เสียงช้างม้าคนสะท้านสะเทือนแทบแผ่นดินจะถล่ม

    <O:p</O:p
    เมื่อพระนเรศวรประทับอยู่ใต้ร่มไม้ประดู่ เร่งให้ตั้งค่าย ณ หนองสาหร่ายนั้น เห็นพม่ารามัญควบม้ากลับไป จึงตรัสว่าพลม้านั้นเห็นจะเป็นพระมหาอุปราชาให้มาคอยเหตุไปแจ้ง ตีร้ายเวลารุ่งพรุ่งนี้จะได้รบใหญ่แน่ จึงสั่งพระยาศรีไสยณรงค์กับพระยาราชฤทธานนท์รีบยกทัพไปแต่ตี 11 ทุ่ม ไปปะทะหน้าข้าศึกฟังกำลังดูก่อนส่วนทัพหลวงให้พร้อมแต่เวลาย่ำรุ่ง

    <O:p</O:p
    พออรุณรุ่งท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ พระองค์ก็สั่งให้จัดทัพเป็นเบญจเสนา มีกองระวังหน้าหนึ่งกรมใหญ่ กองหลวงจัดเป็นแถวลึก 3 แถว แถวละ 3 กอง แนวที่ 1 มี กองหน้าอยู่กลางกอง ปีกซ้ายและปีกขวาอยู่สองข้าง แนวที่ 2 กองเกียกกายอยู่กลาง กองปีกซ้ายปีกขวาอยู่สองข้าง ระหว่างแนวที่ 2 กับที่ 3 มีกองแซงแนวที่ 3 มีกาองทัพหลวงอยู่กลาง กองปีกซ้ายปีกขวาอยู่สองข้าง แนวที่ 4 มีกองยกกระบัตรอยู่กลาง กองปีกซ้ายปีกขวาอยู่สองข้างแนวที่ 5 มีกองหลังอยู่กลาง กองปีกซ้ายปีกขวาอยู่สองข้าง


    [​IMG]

    <O:p</O:p
    กองที่อยู่กลางมีขนาดกรมเล็ก กองที่เป็นปีกมีกำลังขนาดกองพัน นอกจากนี้มีกองทหารพิเศษอีก คือกองอาสาจาม 500 กองอาสาญี่ปุ่น 500 กองทหารทะลวงฟันคู่พระทัย 136 คน ถือดาบเขน 22 คนดาบโล่ 42 คน ดาบสองมือ 72 คน กองทหารคู่พระทัยนี้มีฝีมือเป็นยอด เข้าที่ไหนที่นั้นต้องพังทั้งแถบ รวามความว่าพม่าเป็นแนวหน้ากระดาน ไทยเป็นแบบแนวลึก
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=15></TD><TD vAlign=top>[​IMG] </TD><TD vAlign=top width=36></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=15></TD><TD vAlign=top>
    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <O:p</O:p
    ครั้นตั้งขบวนเสร็จพระนเรศวรกับพระอนุชาเสด็จขึ้นเกยคอยฤกษ์อยู่ทันใดนั้นได้ยินเสียงปืนยิงต่อสู้กันไกลสุดเสียง จึงส่งจมื่นทิพเสนาเอาม้าเร็วไปดู เห็นทัพหน้ากำลังถอยลงมาเป็นอลหม่าน จึงเอาขุนหมื่นคนหนึ่งในทัพหน้าพามาเฝ้า พระนเรศวรตรัสถามว่าเหตุใดจึงพ่ายแพ้แก่ข้าศึก ขุนหมื่นทูลว่าพอยกขึ้นไปถึงท้ายบ้านโคกเผาข้าวในเวลาโมงเศษ ก็พบกับทัพรามัญยกมาปะทะโจมตีทันที ถึงกับรบตลุมบอนกัน ศึกหนักกว่าทุกครั้งจึงได้พ่าย

    <O:p</O:p
    พระนเรศวรถามแม่ทัพนายกองว่า เมื่อทัพหน้าพ่ายดังนี้จะคิดประการใด มุขมนตรีทูลว่า ขอเชิญทัพหลวงตั้งมั่นอยู่ก่อนแล้วแต่งทัพไปตั้งรับหน่วงเหนี่ยวไว้ ต่อได้ทีแล้วจึงยกทัพหลวงออกทำยุทธหัตถีจึงจะชนะ

    <O:p</O:p
    พระนเรศวรไม่เห็นด้วยตรัสว่า ทัพหน้าแตกฉานมาแล้วจะแต่งกองทัพออกไปรับไว้ ก็จะมาปะทะกันเข้า จะพลอยให้แตกเสียอีก ควรให้เปิดลงมาทีเดียว ให้ข้าศึกไล่ระเริงใจเสียขบวนมาราจึงยกทัพใหญ่ออกยอข้าศึก เห็นจะได้ชัยชนะโดยง่าย แล้วพระองค์ก็สั่งจมื่นทิพเสนา จมื่นราชามาตย์ เอาม้าเร็วขึ้นไปประกาศแก่นายทัพนายกองและทหารทั้งหลาย อย่าให้ห่วงรับอยู่เลย ให้เปิดหนีลงมาทีเดียว เรื่องบอกให้หนีใครจะไม่ชอบ ทหารทุกคนจึงสู้พลางถอยพลาง ลงมาทันที
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2009
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 77-78


    สงครามยุทธหัตถี (ต่อ)

    ทหารพม่ารามัญเห็นทหารไทยหนีไม่ตั้งรับ ก็มีใจกำเริบ พากันไล่ลงมาจนไม่เป็นขบวน พระนเรศวรคอยฤกษ์อยู่ เห็นเมฆตั้งขึ้นทางทิศเหนือ แล้วเกลื่อนกระจายหายไป แลเห็นดวงอาทิตย์แจ่มจรัส พระมหาราชครูก็ลั่นฆ้องโบกธง พระนเรศวรกับพระอนุชาก็ขึ้นช้างพระที่นั่ง ทหารให้สนั่นบันลือแตรสังข์ ประโคมฆ้องกลองสะท้านสะเทือน ช้างพระที่นั่งเดินมาทางขวาปะข้าศึกเข้า ประกอบกับได้ยินเสียงฆ้องกลองศึกเข้า ก็บังเกิดคึกคะนอง กางหูชูหางวิ่งเข้าใส่ข้าศึกด้วยความเมามัน ทำให้ช้างพระยามุขมนตรีทั้งหลายติดตามไม่ทัน พาพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถ บุกตลุยเข้าไปใกล้ทัพหน้าข้าศึก



    พระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นรี้พลพม่ารามัญเต็มท้องทุ่งไปหมด เดินกันคลาคล่ำเหมือนคลื่นในมหาสมุทร กำลังวิ่งไล่ชาวพระนครมาอย่างสลับซับซ้อนไม่เป็นขบวน ทั้งสองพระองค์ก็ขับช้าง เข้าโจมแทงช้างม้ารี้พลข้าศึก ไล่ส่ายถีบเตะเป็นตลุมบอน พลพม่ารามัญตายลงเกลื่อนกลาดเพราะช้างทรงทำร้าย แต่พวกที่ยังไม่ตายก็ระดมยิงธนู หน้าไม้ ปืนไฟใส่เอาช้างทรงทั้งสองข้างขณะนั้นก็เกิดฝุ่นควันตระหลบมือมัวจนมองไม่เห็น พระนเรศวรจึงประกาศแก่เทพยดาว่า " ให้เกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตร จะให้บำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างเห็นข้าศึกเล่า"


    <O:p</O:p
    พอประกาศขาดคำ ก็มีลมพัดพาฝุ่นควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป พระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นช้างปักเศวตฉัตร 12 ช้างและมีช้างดั้งยืนอยู่เป็นอันมาก แต่มิได้เห็นพระมหาอุปราชา ครั้นเหลือบไปทางขวา จึงเห็นช้างปักเศวตรฉัตร ยืนอยู่ใต้ต้นข่อยมีเครื่องสูงและทหารอยู่หน้าช้างมากก็เข้าพระทัยถนัดว่าเป็นช้างพระมหาอุปราชาในลักษณะนี้ ถ้าพระมหาอุปราชาจะสั่งให้ช้างทั้งหมดรุมรบเอาพระนเรศวรกับพระอนุชา ก็เห็นทีว่าทั้งสองพระองค์จะต้องเสียทีเพลี่ยงพล้ำต่อข้าศึกเป็นมั่นคง



    <O:p</O:p
    แต่พระนเรศวรเป็นผู้มีพระปฏิภาณฉลาดเฉลียวว่องไว ได้ทรงแก้ไขสถานะการณ์ได้ทันท่วงทีโดยขับช้างตรงเข้าไปทั้งสองพระองค์ ทหารข้าศึกที่อยู่หน้าช้างก็ระดมยิงเอา แต่อัศจรรย์ที่ไม่ถูกทั้งช้างและคนสักลูกเดียว พระนเรศวรจึงตรัสร้องเรียกด้วยเสียงอันดัง ว่า พระเจ้าพี่ เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว


    <O:p</O:p
    พระมหาอุปราชานั้นเป็นผู้ใหญ่กว่าพระนเรศวร และเคยข่มเหงน้ำใจพระนเรศวรมา ตั้งแต่ยังเป็นเด็กอยู่ด้วยกันในกรุงหงสาวดีแล้ว ครั้นมาได้ฟังเด็กรุ่นน้อง มาร้องท้าทายดังๆ ต่อหน้าผู้คนใต้บารมีของตนเยี่ยงนี้ ก็ละอายพระทัย บังเกิดมีขัตติยะมานะฮึดสู้ขึ้นมาอย่างชายชาตรี จึงบ่ายช้างออกมารับหน้า และไม่ทันได้เจรจาโต้ตอบประการใด ช้างทรงของพระนเรศวรกำลังคึกคะนองและเมามันอยู่ ครั้นเห็นช้างศัตรูโผล่ออกมาเช่นนั้น ก็พุ่งตัวเข้าใส่ทันที จึงเสียทีถูกช้างทรงของพระมหาอุปราชาได้ล่างแบกรุนมา พระมหาอุปราชาได้ทีก็จ้วงฟันพระนเรศวรด้วยของ้าวเต็มแรง หมายจะบั่นพระศอผู้ท้าทายให้ขาดกระเด็น พระนเรศวรไม่ตกใจไม่เสียสติ ทรงหลบทันเบี่ยงพระมาลารับแทน ปีกพระมาลาขาดปริไปทันทีด้วยคมของ้าว



    [​IMG]<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 79-80


    สงครามยุทธหัตถี (จบ)

    [​IMG]




    ทันใดนั้น ช้างของพระองค์สะบัดหลุด กลับได้ล่างแบกถนัดบ้าง และรุนเอาช้างพระมหาอุปราชา เบี่ยงเบนไปจนเท้าหน้าเขย่ง ไม่ถึงพื้น คราวนี้ จึงเป็นทีของพระนเรศวรบ้าง พระองค์ก็จ้วงฟันด้วยของ้าวเต็มแรง พระมหาอุปราชาหลบไม่ทัน จึงถูกฟันที่ไหล่ขวาขาดตลอดลงมาจนถึงอก ซบลงกับคอช้าง สิ้นชีพพิตักษัยเหมือนกับที่พระอัยยิกาของพระนเรศวรถูกพระเจ้าแปรฟัน ส่วนนายมหานุภาพควาญช้างของพระนเรศวรนั้นถูกปืนของข้าศึกยิงตายในขณะที่ช้างทั้งสองกำลังชนกัน

    <O:p</O:p
    ฝ่ายพระเอกาทศรถ ได้เข้าชนช้างกับเจ้าเมืองมางจาปะโร ช้างของพระองค์ได้ล่าง รุนเอาช้างข้าศึกเบนไป พระเอกาทศรถจึงฟันด้วยของ้าวถูกคอมางจาปะโรขาดกระเด็น ตายกับคอช้างเช่นกัน แต่หมื่นภักดีศวรกลางช้าง ก็ถูกปืนข้าศึกยิงตาย

    <O:p</O:p
    ข้างบรรดาท้าวพระยามุขมนตรีที่ตามมาไม่ทันนั้น พอทั้งสองพระองค์มีชัย ก็ตามมาทัน จึงเข้ารบพุ่งฆ่าฟันข้าศึก มิทันให้ศัตรูรุมเอาทั้งสองพระองค์ได้ พลพม่ารามัญก็แตกกระจัดกระจายไป พระนเรศวรสั่งให้นายทัพนายกองทั้งหลายยกตามข้าศึกไป ส่วนพระองค์ก็เสด็จกลับพลับพลาพร้อมกับพระอนุชา

    <O:p</O:p
    ฝ่ายท้าวพระยามุขมนตรี ก็ได้นำทหารตามฆ่าฟันพม่ามอญไปจนถึงเมืองกาญจนบุรี จนศพเกลื่อนไปตั้งแต่จากตะพังตรุ ประมาณว่าทหารข้าศึกถูกฆ่าตายร่วมสองหมื่นเศษ จับได้เจ้าเมืองมะล่วนกับนายทัพนายกองไพร่พลเป็นจำนวนมาก ได้ช้าง 800 ม้า 2,000 มาถวาย พระนเรศวรให้ก่อเจดีย์กับหมอควาญนำเจ้าเมืองมะล่วนกลับไปแจ้งแก่พระเจ้าหงสาวดี แล้วเสด็จกลับพระนครจัดปูนบำเหน็จกับผู้ร่วมรบในการทำยุทธหัตถี ส่วนผู้ที่เสียชีวิตก็ให้นำบุตร ภรรยา มาชุบเลี้ยงและพระราชทานบำเหน็จให้

    <O:p</O:p
    ต่อไปก็ให้ปรึกษาโทษนายทัพนายกองมุขมนตรี ทรงมีพระดำรัสว่า พระองค์ทั้งสองตั้งใจจะรักษาพระพุทธศาสนา และอาณาประชาราษฏร มิได้คิดเหนื่อยยาก อุตส่าห์ยกออกไปรบกับข้าศึกแต่นายทัพนายกองกลัวข้าศึกยิ่งกว่าอาญาศึกไม่ตามให้ทัน ปล่อยให้พระองค์แต่ลำพังสองช้างเข้าไปอยู่กลางข้าศึก จนได้ทำยุทธหัตถีกัน โทษของนายทัพนายกองจะควรประการใด พระมหาราชครูปุโรหิตทั้งปวงทูลว่า ตามบทพระอัยการศึกและพระราชกฤษฏีกาโทษเป็นอุกฤษให้ประหารชีวิตเสีย พระนเรศวรก็ให้เป็นไปตามลูกขุนให้คำปรึกษา



    [​IMG]



    แต่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วกับพระราชาคณะ 25 รูป ได้มาขอบิณฑบาตชีวิตไว้ จึงให้ผู้ทำผิดทั้งปวงยกทัพไปตีเมืองตะนาวศรีและเมืองทะวายเป็นการแก้ตัวก่อน จึงจะยกโทษให้ แล้วตรัสว่า เราทิ้งหัวเมืองฝ่ายเหนือเสีย อพยพครอบครัวลงมานั้น บัดนี้ข้าศึกหงสาวดีถอยกำลังลงแล้ว ถึงจะมีมาอีกก็ไม่เกรง เราจะบำรุงหัวเมืองทั้งนั้นไว้ให้ปรากฏเป็นเกียรติยศไว้ จึงแต่งตั้งข้าราชการผู้ใหญ่ไปรักษาเมืองเหล่านั้นให้รวบรวมไพร่พล ซึ่งแตกฉานซ่านเซ็นไปอยู่ป่ากลับมาอยู่เมืองตามเดิม

    <O:p</O:p
    ฝ่ายเจ้ามะล่วนที่ถูกปล่อยกลับไปนั้น ก็เก็บนายทัพนายกองที่กระจัดกระจายรวบรวมกันได้ก็พากลับไปกรุงหงสาวดี เข้าเฝ้าทูลเหตุการณ์ให้ทราบทุกประการ พระเจ้าหงสาวดีนันทะบุเรงก็อาลัยถึงราชบุตรยิ่งนัก แล้วทรงพิโรธแก่นายทัพนายกองว่า

    <O:p</O:p
    "นเรศวรกับน้องชายเข้ามารบแต่เพียงสองช้าง ทั้งกลางช้างและควาญช้างก็หกคนเท่านั้น พลเราถึงห้าสิบหมื่น ถึงไม่ใช้อาวุธ จะประหารด้วยก้อนดิน แต่คนละก้อนก็จะไม่ครนามือเสียอีก นี่ปล่อยให้เสียราชโอรสแห่งเรา ไหนจะเลี้ยงต่อไปได้" จึงให้เอาพวกแตกทัพทั้งนายทัพ นายกอง <?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ไพร่ จำขังไว้ในเรือนตรุ


    <st1:personName w:st="on" ProductID="ไพร่ จำขังไว้ในเรือนตรุ"></st1:personName><O:p</O:p
    นี่แสดงว่า นันทะบุเรงสมแท้กับที่เป็นผู้สืบเชื้อสายจากบุเรงนอง คือมีความเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ ถืออำนาจเป็นธรรม ไม่มีความยุติธรรมในจิตใจ และไม่มีน้ำใจนักกีฬา แต่มหาอุปราชานั้นน้ำใจดีกว่าพ่อและปู่มาก เขาตายอย่างสมศักดิ์ศรีของลูกผู้ชาย


    <O:p</O:p
    อยู่ต่อมา 6-7 วัน นันทะบุเรงดำริว่านเรศวรทำศึกว่องไว หลักแหลม องอาจนัก มีชัยครั้งนี้เห็นทีพี่น้องสองคนนี้จะมีใจกำเริบยกมาตีพระนครเราเป็นมั่นคง และคงจะคิดเอาเมืองตะนาวศรี มะริด เมืองทะวายก่อน จำจะต้องให้นายทัพนายกอง และไพร่ที่เสียทัพเหล่านี้ยกไปรักษาเมืองทั้งสามไว้ ศึกจึงจะไม่มาถึงหงสาวดี คิดดังนั้นแล้วจึงสั่งให้ถอดคนผิดทั้งปวงออกจากคุก แล้วให้ยกไปรักษาเมืองทั้งสามไว้ให้ได้ ถ้าเสียเมืองอีกจะเอานายทัพนายกอง และไพร่พลทั้งหมดใส่เล้าเผาเสียให้สิ้นทั้งโคตร คำสั่งของนันทะบุเรงนี่ก็แสดงถึงความหลงอำนาจเหลือเกิน
    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ยังติดตามอยู่นะครับคุณทางสายธาตุ ฝีไม้ลายมือยังคงเส้นคงวาเหมือนเดิม
    ครับ มีข่าวบุญมาฝากด้วยเกรงว่าจะพลาดกับบุญใหญ่อย่างนี้ เป็นข่าวจากบ้านใกล้เรือนเคียงเรานี่เองครับ

    -ร่วมบริจาคเงินถวายการรักษา ภิกษุอาพาธเจ้าอาวาสวัดเสน่หา ต้องฟอกไต ทุกสัปดาห์<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2576485761337625";/* 300x250, created 21/07/09 */google_ad_slot = "6922411748";google_ad_width = 300;google_ad_height = 250;//--> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 300px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 300px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><IFRAME id=google_ads_frame1 style="LEFT: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px" name=google_ads_frame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-2576485761337625&dt=1250507433234&lmt=1250507433&output=html&slotname=6922411748&correlator=1250507433250&url=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff179%2F%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2596%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%25B2-%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2598%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B2-%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259F%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2595-%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%258C-200251.html&ref=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ftopics%2Fpromote.htm&frm=0&ga_vid=908178346.1249803316&ga_sid=1250506863&ga_hid=320279326&ga_fc=true&flash=0&w=300&h=250&u_h=768&u_w=1024&u_ah=738&u_aw=1024&u_cd=32&u_tz=420&u_his=9&u_java=true&ifi=1&dtd=47&xpc=Cpaf4fqORe&p=http%3A//palungjit.org" frameBorder=0 width=300 scrolling=no height=250 allowTransparency></IFRAME></INS></INS>
    จากคุณ chaosy

    ใครอยากทำบุญกับภิกษุอาพาธก็บอกมาได้นะคะ

    ท่านเจ้าอาวาสวัดเสน่หา อ.เมือง จ.นครปฐม พระราชวินยาภรณ์

    ท่านเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ต้องฟอกไต ทุกสัปดาห์จึงต้องใช้ปัจจัยมาก

    และช่วงนี้ท่านก็เข้าๆ ออกๆ รพ. เมื่อวานไปถวายสังฆทาน ท่านก็ท้องเดินอยู่.. ลำบากแท้ๆ แต่ก็ยังใจดีให้เราถวายของได้ โดยเราบอกว่าไม่ต้องยุ่งยาก (ท่านจะเปลี่ยนจีวร ให้เรารอ) ในที่สุดก็ได้ถวายและท่านก็ให้ศีลให้พรมากมาย

    แต่ที่รู้สึกดีมากๆ คือ
    เราได้เคยถวายยาทาแก้ปวดข้อ เมื่อต้นเดือน เมื่อวานนี้ไปก็เห็นว่าท่านใช้อยู่ ดังนั้นเห็นว่าสิ่งที่ถวายถึงตัวท่าน ท่านก็ได้ใช้และได้ประโยชน์จริง

    ก็บอกบุญต่อกับเพื่อนๆ แล้วกันค่ะ
    หากมีผู้ใดสนใจจะทำสังฆทานหรือทำบุญกับท่าน จะฝากเรา ก็หลังไมค์มา หรือจะมาถวายท่านด้วยตนเอง ที่วัดก็ได้ค่ะ

    (ถ้าไปแล้วไม่พบท่าน ก็ยังไปถวายที่โรงพยาบาลได้)

    ถ้าว่างจะมาแบบหลายวัดก็ได้นะคะ มาวัดเสนหานี้แล้วก็ไปกราบ
    หลวงปู่มหาเจิมต่อด้วยก็ได้ค่ะ..


    ชิญท่านมาอนุโมทนา รับผลในการทำบุญของท่าน
    และเชิญเพื่อนๆ แวะเข้ามาร่วมอนุโมทนากับพวกเราด้วยไปพร้อมกันค่ะ


    ปล.เผอิญเป็นวัดที่ผมรู้จักดี สมัยเด็กๆได้เคยวิ่งเล่นอยู่ที่วัดนี้ครับ
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ชมกันออกอากาศเลยค่ะท่านพี่จงรักภักดี
    บทความที่คุณเอื้อเขียนนี้สำนวนห้าวหาญดี
    ไม่ค่อยได้เจอที่ไหน เมื่ออ่านแล้วจะเห็นภาพตาม
    น่าติดตามอ่านมากค่ะ

    เมื่อวานเกิดวิตกกังวลเกี่ยวกับบ้านเมืองยิ่ง
    คิดถึงพระสยามเทวาธิราชเจ้า ขอพึ่งบารมีพระองค์ท่าน

    [​IMG]

    เคยนิมิตครั้งหนึ่งคืนวันที่ 1 มีนาคม 2552
    หลังจากกลับจากวัดวรเชษฐ์ตอนบ่ายไปถืออุโบสถ 1 คืน
    คืนนั้นฝันเห็นนายทหารไทยใส่หมวกปีกแบบนี้รัดสายหมวกไว้ที่คางแน่น

    ชุดสีน้ำเงินเข้ม เสื้อแขนยาว กางเกงขาสามส่วน เสื้อและกางเกงเดินเส้นทองที่ชายเสื้อและกางเกง
    ปรากฏตัวที่เรือนไทยแห่งหนึ่ง ในเวลาค่ำคืนที่มีแสงจันทร์อ่อนๆ

    เพิ่งได้เคยเห็นทหารไทยโบราณในความฝันก็วันนั้นเองค่ะ
    อาจจะเพราะว่าดื่มด่ำกับบรรยากาศวัด เลยเก็บมาฝันเอา
    เกิดสงสัยขึ้นมาว่าชุดออกรบเต็มยศต้องใส่หมวกด้วยหรือ
    แล้วตอนเข้าปะทะกับข้าศึกยังต้องใส่หมวกอยู่ไหม



    อนุโมทนาบุญกับท่านพี่จงรักภักดีด้วยค่ะ
    ท่านพี่จงรักภักดีเป็นเด็กนครปฐมนั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    กองทหารอาสาต่างชาติในประเทศไทย

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>กองทหารอาสาต่างชาติในประเทศไทย


    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>



    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ประเทศไทยมีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยพึ่งพระบรมโพธิสมภารตลอดมาตั้งแต่โบราณกาล และได้กลายเป็นพลเมืองไทยไปเป็นอันมาก ทั้งนี้เพราะ แผ่นดินไทยมีพระมหากษัตริย์ ที่ทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณาอย่างกว้างขวาง แก่ชนทุกชาติทุกภาษา ที่หนีร้อนจากถิ่นเดิม


    มาพึ่งเย็นในราชอาณาจักรไทยโดยสุจริต และที่เข้ามาค้าขายตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประกอบกับชนชาวไทย ก็ไม่ได้มีรังเกียจเดียดฉันท์ชาวต่างชาติ ต่างภาษา และต่างศาสนาแต่อย่างใด ทำให้ผู้ที่เข้ามาพึ่งพาอาศัยอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งคุณสมบัติอันนี้ จะหาได้ยากในชนชาติอื่น คุณลักษณะอันนี้เป็นที่ทราบกันดีจนมีคำพังเพยที่ว่า <CENTER>เป็นประเพณีไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ</CENTER>ชนต่างชาติดังกล่าว เมื่อได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารแล้ว ก็มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และมีความจงรักภักดีอย่างแน่นแฟ้น ฝากผีฝากไข้ไว้กับแผ่นดินไทย ลูกหลานเหลนโหลนต่อมา ก็เป็นคนไทยทั้งกายและใจ และได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อราชอาณาจักรไทย ในเฉกเช่นคนไทยทั่วไป
    ในด้านการป้องกันประเทศชนต่างชาติดังกล่าว ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกองอาสาสมัคร ช่วยทำศึกสงคราม เช่น กองอาสาจาม กองอาสาแขกเทศ กองอาสามลายู กองอาสาลาว กองอาสามอญ กองอาสาจีน กองอาสาญี่ปุ่น กองอาสาโปรตุเกส กองอาสาฝรั่งเศส กองอาสาฮอลันดา และกองอาสาอังกฤษ เป็นต้น
    หน่วยอาสาสมัครดังกล่าว มีทั้งที่เป็นกองทหารและกลุ่มคนที่มิได้เป็นทหาร รับอาสาทำสงคราม และทำประโยชน์ให้แก่ราชอาณาจักรไทยในรูปแบบต่าง ๆ




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>[SIZE=+2]กองอาสาจาม[/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    กองอาสาจาม เป็นกองอาสาที่เข้ามารับราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พวกจามหรือแขกจามหรือชนชาวจัมปา เป็นชนชาติโบราณ มีดินแดนอยู่ในประเทศเวียตนามตอนกลาง ในปัจจุบัน และส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชาด้านตะวันออก ประเทศจัมปาได้ถูกเวียตนามกลืนชาติไป เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2014 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาก ปัจจุบันยังมีชนชาวจามเหลืออยู่ เพียงประมาณ 1 แสนคน แบ่งออกเป็น 2 พวกคือ พวกที่นับถือศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า จาม อยู่ในประเทศเวียตนาม อีกพวกหนึ่ง นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า บานี อยู่ในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย
    ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองอาสาจามก็ได้ช่วยในการทำสงคราม โดยเฉพาะครั้งสงครามยุทธหัตถี กองอาสาจามจำนวน 500 คน ในบังคับบัญชาของพระยาราชวังสัน ได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยรักษาพระองค์ อยู่หน้าช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ รวมออกไปทำสงครามครั้งนั้นด้วย
    ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กองอาสาจามได้มีบทบาทในการรบ คือ เมื่ออะแซหวุ่นกี้เลิกทัพกลับไป จากเมืองพิษณุโลกแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้สั่งให้จัดกองทัพออกติดตามตีพม่าเป็นหลายกองด้วยกัน หนึ่งในกองทัพที่ยกไปตามตีพม่านั้น มีกองอาสาจามที่ให้พระยาธิเบศร์บดีคุมไปอยู่ด้วยกองหนึ่ง
    เมื่อครั้งพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา ในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 นั้น พวกอาสาแขกจาม รวมทั้งแขกเทศ แขกมลายู แขกชวา และบรรดาแขกทั้งปวงเป็นอันมาก ได้อาสาสมเด็จพระเจ้าเอกทัศยกออกไปต้านทาน ตีค่ายพม่าโดยมีพระจุฬา (ราชมนตรี) เป็นแม่ทัพ (กองทหารอิสลาม)
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ กองทัพไทยยังมีอาสาจามอยู่ โดยมีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ได้ทรงฝึกหัดชาวต่างประเทศ ที่อาสาสมัครเข้าช่วยราชในกองทัพไทย มีกองอาสาจาม ซึ่งเป็นกองอาสาที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่กองอาสาต่าง ๆ เช่น กองอาสาแขกเทศ และกองอาสามลายู เป็นต้น



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>[SIZE=+2]กองอาสารามัญหรือกองอาสามอญ[/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]

    กองอาสามอญ มีอยู่ในประวัติศาสตร์ไทย หรือพระราชพงศาวดารไทยอยู่หลายสมัยด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสงครามระหว่างไทยกับพม่าไม่ว่าครั้งใด จะมีกองอาสามอญร่วมไปกับกองทัพไทยเสมอ ในบางครั้งกองอาสามอญจัดกำลังได้เป็นจำนวนมาก จนเป็นกองทัพหนึ่งได้ต่างหาก แล้วขึ้นสมทบหรือขึ้นทางยุทธการต่อ จอมทัพไทย (ทัพกษัตริย์) บางสมัยได้ตั้งขุนนางมอญด้วยกันเป็นแม่ทัพควบคุมกองอาสานี้ ในนามของกองทัพไทย ทั้งนี้ เพราะการที่ไทยต้องทำสงครามกับพม่านั้น มักมีสาเหตุมาจากมอญ คือ มอญทนต่อการปกครองอย่างเข้มงวด และเอารัดเอาเปรียบของพม่าไม่ได้ประการหนึ่ง และการที่มอญไม่ชอบพม่าได้เป็นศัตรูคู่สงคราม แย่งแผ่นดินกันมาช้านาน แม้แต่กรุงหงสาวดี ก็แย่งกัน เพื่อเอาเป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินพม่าและพระเจ้าแผ่นดินมอญ
    ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระยาเกียรติ พระยาราม เป็นหัวหน้าควบคุม อาสามอญที่จะเข้ามา สวามิภักดิ์กับไทย นอกจากนี้ยังมีมหาเถรคันฉ่อง ผู้เป็นพระอาจารย์ของพระยาเกียรติ พระยาราม เดินทางเข้ามาด้วย อาสามอญดังกล่าวได้ตามเสด็จพระนเรศวร เข้ามารับราชการอยู่กับไทย พระมหาเถรคันฉ่องได้เป็นที่พระสังฆราชา พระยาเกียรติพระยารามได้เป็นพระยาพานทอง และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ใกล้วัดขมิ้นและวัดขุนแสน ใกล้วังของสมเด็จพระนเรศวร ในกรุงศรีอยุธยา
    เมื่อปี พ.ศ. 2137 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำสงครามกับพม่า กองทัพไทยพร้อมด้วยกองทัพอาสามอญ ได้ช่วยกันโจมตีกองทัพพระเจ้าตองอู แตกพ่ายไป และตั้งแต่นั้นมา หัวเมืองมอญฝ่ายใต้ตั้งแต่เมืองเมาะตะมะ ตลอดมาจนจรดแดนไทยได้มาขอขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด และในปีต่อมาคือปี พ.ศ. 2138 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงยกกองทัพไปตีกรุงหงสาวดีครั้งแรก ก็ได้กองทัพอาสามอญ ไปทำการสงครามครั้งนี้ด้วย
    ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งสงครามไทยกับพม่าที่ไทรโยค เมื่อปี พ.ศ. 2206 พวกมอญประมาณ 5,000 คน พร้อมครอบครัวอีกประมาณ 10,000 คน ในเมืองเมาะตะมะได้ช่วยกันจับตัว มังนันทมิตรพระเจ้าอาของพระเจ้าอังวะ แล้วหนีมาพึ่งไทย ขออาสาช่วยไทยรบพม่า สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงแต่งตั้งนายครัวมอญให้มียศศักดิ์ ควบคุมครัวมอญที่เข้ามาด้วยกัน แล้วให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ปลายเขตกรุงศรีอยุธยาต่อกับเขตเมืองนนทบุรีแห่งหนึ่ง และบริเวณคลองคูจามในชานกรุงศรีอยุธยาอีกแห่งหนึ่ง ในปีต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2207 เกิดสงครามไทยพม่าอีกครั้งหนึ่งก็มีมอญอาสามาเข้ากับไทยเป็นอันมาก
    ในปี พ.ศ. 2363 เมื่อพม่าเตรียมยกทัพมาตีไทยอีก กองมอญ อาตมาต ที่คอยตระเวณด่าน ได้เข้าไปสืบสวนข่าวคราวในดินแดนพม่าถึงเมือง เร ซึ่งอยู่เหนือเมืองทวาย กองมอญอาตมาตได้จับกุมตัวขุนนางพม่า ผู้เชิญหมายตรา ลงมาเกณฑ์คนเป็นทหารในเมืองทวาย ฝ่ายไทยจึงทราบว่าพม่าเตรียมกองทัพมาตีไทยทางกรุงเทพ ฯ จึงได้จักกองทัพใหญ่ขึ้น 4 กองทัพ คือ กองทัพที่ 1 และกองทัพที่ 2 ยกไปรักษาเมืองเพชรบุรี คอยขัดตาทัพและต่อสู่กับกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด้านสิงขร โดยมีกองมอญของเจ้าพระมหาโยธา (บุตรชายของ พระยามหาโยธา (เจ่ง) ที่ชื่อ ทอเรีย) เป็นกองหน้าของกองทัพที่ 1 กองทัพน้อยยกไปรักษาเมืองราชบุรี และกองทัพที่ 4 ยกไปป้องกันหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายพม่าเมื่อทราบว่า ฝ่ายไทยเตรียมพร้อมรับศึกอย่างดี จึงเปลี่ยนใจไม่ยกทัพมาตีไทย
    ในปี พ.ศ. 2467 อังกฤษได้มาชักชวนไทยให้ไปช่วยรบกับพม่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยารัตนจักรหรือสมิงสอดเบา ซึ่งเป็นหัวเมืองหน้าครัวมอญ ที่อพยพเข้ามาใหม่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นนายกองควบคุมกองมอญยกล่วงหน้าเข้าไปสืบดูเหตุการณ์ในดินแดนพม่า แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) ควบคุมบังคับบัญชากองมอญอีกกองหนึ่ง (ซึ่งได้เตรียมไว้สำหรับยกไป ยกไปตรวจตระเวณด่านเป็นประจำตามที่เคยปฏิบัติมา) ให้ยกเข้าไปในดินแดนพม่า ทางด่านพระเจดีย์สามองค์ อีกทางหนึ่ง พระยารัตนจักร เมื่อคุมกองมอญไปถึงเมืองใดที่เป็นมอญ พวกมอญที่เป็นเจ้าเมืองและกรมการเมืองรวมทั้งพลเมือง จะพากันมาต้อนรับแสดงความยินดีและแจ้งว่า ขณะนี้พม่ากับอังกฤษทำสงครามกัน พวกมอญไม่เข้ากับพม่า มอญจะอาสาสมัครเข้ากับพระเจ้าแผ่นดินไทย และอาสาไทยรบกับพม่า สำหรับเจ้าเมืองขะเมิงและเจ้าเมืองทรา ทั้งสองเมืองนี้รับอาสาว่า ถ้ากองทัพของเจ้าพระยามหาโยธายกมาถึงเมื่อใด จะจัดกองทัพมอญอาสาให้ได้กำลังพลไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ช่วยไทยรบกับพม่าอีกกองทัพหนึ่ง เมื่อเจ้าพระยามหาโยธายกกองทัพเข้าไปตั้งอยู่ที่เมืองเตริน ซึ่งเป็นเมืองเอกในแคว้นมอญของพม่า พวกเจ้าเมืองใกล้เคียง และกรมการเมืองทั้งปวงก็เข้ามาอ่อนน้อม เจ้าพระยามหาโยธาก็มีอำนาจเหนือหัวเมืองมอญ ในพื้นที่ที่อังกฤษยังเข้าไปไม่ถึง
    ต่อมา เมื่อกองทัพไทยได้ยกไปช่วยอังกฤษทำสงครามกับพม่าเป็นครั้งที่ 2 เจ้าพระยามหาโยธาก็ได้เป็นแม่ทัพ คุมกองทัพมอญอาสาจำนวน 10,000 คนเศษ เป็นทัพหน้า กองทัพพม่าจากเมืองสะเทิมได้ยกเข้าตีเมืองเมาะตะมะ กองทัพอังกฤษได้ขอให้กองทัพไทยช่วย กองทัพไทยสามารถรักษาเมืองเมาะตะมะไว้ได้




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>[SIZE=+2]กองทหารอาสาสมัครลาว[/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]


    ได้มีชาวลาวอาสาสมัครเข้ารับราชการทหารฝึกหัดอาวุธสมัยใหม่อย่างยุโรป ในกรมทหารต่างด้าว ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ โดยรับสมัครจากคนไทยเชื้อชาติลาวที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่กรุงเทพ ฯ ตั้งแต่กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    อาสาสมัครลาวที่อาสารบกับพม่าครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310 อาสาลาวในครั้งนี้อยู่ในบังคับบัญชาของขุนนางลาวคือ แสนกล้า แสนหาญ แสนห้าว และเวียงคำ ได้นำกำลังชาวลาวในกรุงศรีอยุธยาออกตีค่ายพม่าที่ล้อมกรุงอยู่
    พระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละ ทั้งสองท่านเป็นคนไทยลานนา ต้องอยู่กับพม่าด้วยความจำใจ เมื่อสบโอกาสจึงได้พาสมัครพรรคพวกมาสวามิภักดิ์ ต่อเจ้าพระยาจักรี ( ร.1 ) เมี่อเจ้าพระยาจักรีให้พระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละถือน้ำ กระทำสัตย์ปฏิญาณแล้ว จึงได้ให้คุมพลลานนาอาสา นำทัพไทยขึ้นไปเชียงใหม่ ทั้งสองท่านนี้ได้เป็นกำลังอาสาสมัครสำคัญในการต่อสู้กับพม่าทางด้านเหนือ กล่าวคือเมื่อปี พ.ศ. 2340 พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ พระยาทั้งสองได้ทำการรักษาเมืองไว้เป็นสามารถ ต่อมาได้กำลังจากกรุงศรีสัตนาคนหุต ซึ่งมีเจ้าอนุวงศ์มหาอุปราชเมืองเวียงจันทน์ ยกกองทัพกำลัง 20,000 คน รวมกับกองทัพทางกรุงเทพ ฯ ตีกองทัพพม่าถอยกลับไป
    เมื่อปี พ.ศ. 2345 ไทยรบกับพม่าอีกครั้ง เพื่อขับไล่พม่าออกไปจากล้านนาไทย โดยที่พม่าได้ยกทัพมาล้อมเมืองเชียงใหม่ กองทัพจากกรุงเทพ ฯ โดยมีกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพ โดยมีกองทัพหัวเมือง และกองทัพเมืองเวียงจันทน์ เข้าร่วมด้วย สามารถขับไล่พม่าออกไปจากล้านนาได้สำเร็จ
    เมื่อปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีตราสั่งเจ้าเมืองประเทศราชข้างฝ่ายเหนือ ให้ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองลื้อ เมืองเขิน ตลอดจนสิบสองปันนา ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในการนี้ กองทัพเมืองหลวงพระบาง และกองทัพเมืองเวียงจันทน์ ก็ได้ยกขึ้นไปสมทบด้วย เมื่อตีได้เมืองหลวงภูตาในสิบสองปันนา พวกเมืองลื้อประเทศราช ตั้งแต่เมืองเชียงรุ้งลงมาไม่ต่อสู้ พากันมาอ่อนน้อมแต่โดยดี




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>[SIZE=+2]กองอาสาจีน[/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]

    อาสาจีนมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีลักษณะคล้ายกับกองอาสาญี่ปุ่น และกองอาสาโปรตุเกส คือ เนื่องจากสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้รับจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยา
    เมื่อปี พ.ศ. 2303 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ตีค่ายไทยที่ทุ่งตาลานแตกแล้ว ก็ยกกองทัพมาถึงกรุงศรีอยุธยา และตั้งค่ายหลวงที่บ้านกุ่ม ทางด้านทิศเหนือของกรุงศรีอยุธยา แล้วให้มังระราชบุตรกับมังฆ้องนรธาแม่ทัพรอง ซึ่งเป็นกองหน้า ให้ยกมาตั้งค่ายที่ทุ่งโพธิ์สามต้น ในครั้งนั้น หลวงอภัยพิพัฒน์ ซึ่งเป็นขุนนางเชื้อสายจีน ได้รวบรวมชาวจีนที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา จัดขึ้นเป็นหน่วยทหารขออาสาสมัคร ต่อสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทำการต่อสู้กับพม่าเพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยา โดยรวบรวมคนจีนในบ้านค่ายได้ ประมาณ 2,000 คน ขออาสาเข้าตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น ในครั้งนั้นได้โปรดให้จมื่นทิพเสนา ปลัดกรมตำรวจ คุมกำลัง 1,000 คน หนุนออกไปด้วย แต่ทั้งสองหน่วยนี้ไปเสียทีพม่าถูกโจมตีแตกพ่ายกลับมา ในการสงครามคราวเสียกรุง ฯ ครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2310 กองอาสาจีนชุดเดิมก็ได้อาสาเป็นครั้งที่ 2 มีกำลังประมาณ 2,000 คน ยกไปวางกำลังป้องกันกำแพงกรุงศรีอยุธยาทางด้านทิศใต้ โดยไปตั้งค่ายที่บ้านสวนพลู ต่อมากองอาสานี้ได้คบคิดกันนำกำลัง 300 คน ขึ้นไปยังพระพุทธบาทสระบุรี ทำการลอกทองคำที่หุ้มพระมณฑปน้อย และแผ่นเงินที่ลาดพื้นพระมณฑปเอาไปเป็นประโยชน์ และยังได้จุดไฟเผาพระมณฑป พระพุทธบาท เพื่อกลบเกลื่อนหลักฐาน ส่วนกองอาสาจีนที่เหลือ ณ ค่ายบ้านสวนพลูก็ถูกพม่าตีแตก เช่นเดียวกับค่ายทหารอื่น ๆ<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<</ font><<<<<<<<ONT color="#000066"> เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้รวบรวมกำลังกอบกู้เอกราชของไทย ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระยาตากนั้น พระองค์ได้นำทหารไทยและจีนออกรบหลายครั้งหลายหนด้วยกัน ดังนั้นในแผ่นดินของพระองค์จึงมีกองกำลังคนจีน อาสาสมัครมากขึ้นเป็นพิเศษ เช่นการเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นก็ได้ให้ พระยาพิพิธ และ พระยาพิชัย ซึ่งเป็นนายทหารไทยเชื้อสายจีน คุมกองอาสาจีน ยกไปตั้งประชิดค่ายพม่าของสุกี้ทางด้านวัดกลาง ผลการรบครั้งนี้ ฝ่ายไทยตีพม่าโพธิ์สามต้นได้ ฆ่าสุกี้แม่ทัพพม่าตายในที่รบ การตีค่ายโพธิ์สามต้นได้นี้มีความสำคัญ และถือว่าได้กู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้สำเร็จ
    เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ครองกรุงธนบุรีแล้ว ก็จัดตั้งข้าราชการออกไป รักษาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง และท้องที่ตำบลใดที่ยังไม่สงบ พระองค์ก็จะแบ่งกำลังทหาร ให้ออกไปคอยปราบปราม โดยให้ไปตั้งประจำอยู่ตามหัวเมืองหลายแห่ง และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทหารอาสาจีนไปตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง เขตเมืองสมุทรสงครามต่อเขตเมืองราชบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2311 พระเจ้าอังวะกษัตริย์พม่า ได้ให้เจ้าเมืองทวาย ยกกองทัพมาดูลาดเลาในไทย โดยยกเข้ามาทางเมืองไทรโยค แล้วเข้ามาถึงบางกุ้ง เห็นกองอาสาจีนตั้งค่ายอยู่ จึงได้ยกกำลังเข้าล้อมไว้ กองอาสาจีนได้ต่อสู้รักษาค่ายไว้ได้ รอจนทัพกรุงยกไปช่วย จนกองทัพพม่าแตกหนีไป
    เมื่อปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เตรียมกองทัพจะลงไปตีเมืองนครศรีธรรมราช แต่พอต้นปี พ.ศ. 2312 มีข่าวว่าญวนยกกองทัพเรือขึ้นมาที่เมืองบันทายมาศ และมีข่าวว่าจะเข้ามาตีกรุงธนบุรีด้วย จึงได้ทรงให้เตรียมรักษาปากน้ำ 4 ทาง ทางหนึ่งนั้นได้ให้ พระยาพิชัยนายทหารจีนอาสา ซึ่งเคยเป็นข้าหลวงเดิม และต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยาโกษาธิบดี เป็นผู้บังคับการรักษาปากน้ำ แต่กองทัพญวนไม่ได้ยกมากรุงธนบุรีตามข่าว
    เมื่อปี พ.ศ. 2317 เมื่อคราวรบกับพม่าที่บางแก้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงให้ล้อมจับพม่าทั้งกองทัพ เพื่อให้คนไทยเห็นว่าพม่านั้นมิใช่วิเศษกว่าคนไทย ในการล้อมครั้งนั้น ได้โปรดเกล้า ฯ ให้กองทัพที่นำโดย พระองค์เจ้าจุ้ย กับกองอาสาจีนของพระยาราชาเศรษฐี ยกไปรักษาเมืองราชบุรี ด้วยเกรงว่าพม่าจะยกมาตีตัดทางลำเลียงด้านหลัง

    เมื่อปี พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตีหัวเมืองของไทย พระยาราชเศรษฐีได้คุมกองอาสาจีน จำนวน 3,000 คน ไปตั้งอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ คอยระวังป้องกันมิให้พม่าตัดทางลำเลียงได้ รวมทั้งป้องกันมิให้พม่ายกลงมาตามลำน้ำปิง ต่อมาเมื่ออะแซหวุ่นกี้ สั่งการให้กองทัพพม่ายกมาตีเมืองนครสวรรค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงให้กองทัพนำโดยพระยาราชภักดี และพระยาพิพัฒน์โกษา ถอยลงมาสมทบกับกองอาสาจีน ของพระยาราชเศรษฐี ที่ตั้งรักษาเมืองนครสวรรค์อยู่ ทำให้พม่าต้องยับยั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>[SIZE=+2]หน่วยทหารอาสาโปรตุเกส[/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>หน่วยทหารอาสาโปรตุเกส เริ่มมีตั้งแต่เมื่อโปรตุเกสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และทำการค้ากับกรุงศรีอยุธยา โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกเดินเรือมาค้าขาย และเผยแพร่คริสตศาสนา ยังดินแดนต่างทวีป แข่งขันกับสเปน ซึ่งส่วนใหญ่ไปทางทวีปอเมริกา โปรตุเกสมีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) และมีชาวโปรตุเกสมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่นั้นมา ชาวโปรตุเกสได้จัดกองทหารอาสา สำหรับใช้ช่วยราชการพระเจ้าแผ่นดินไทยด้วย เมื่อไทยต้องทำสงครามกับข้าศึก ชาวโปรตุเกสก็มักจะอาสาสมัครไปรบ เป็นการตอบแทนบุญคุณประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็เพื่อเป็นการป้องกันครอบครัว และทรัพย์สมบัติของตนเองไปด้วยในตัว
    ในปี พ.ศ. 2081 พระเจ้าตะเบงชเวตี้ กษัตริย์พม่า ได้ยกทัพมายึดเมืองเชียงกราน ซึ่งเป็นเมืองชายแดนไทย สมเด็จพระชัยราชาธิราช ได้เสด็จยกทัพไปตีกลับคืนมาได้ ในการรบครั้งนั้น มีอาสาโปรตุเกสที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยา อาสาไปรบร่วมกับกองทัพไทยด้วย โดยจัดเป็นกองร้อยปืนเล็กยาว เป็นการจัดกำลังถืออาวุธ อย่างยุโรปสมัยใหม่ถือปืนไฟ ผลการรบได้รับชัยชนะฝ่ายพม่า กองอาสาโปรตุเกสที่ได้อาสาไปรบครั้งนั้น เป็นที่พอพระทัยของสมเด็จพระชัยราชาธิราชเป็นอย่างมาก ได้รับยกย่องมีความดีความชอบ ได้รับพระราชทานที่ดินริมฝั่งคลองตะเคียน ให้สร้างวัดตามลัทธิศาสนาของตนได้ และกองอาสานี้ยังคงความเป็นหน่วยต่อมา และอยู่ภายใต้กฎหมาย หรือพระราชกำหนดของพระเจ้าแผ่นดินไทย






    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>[SIZE=+2]กองอาสาญี่ปุ่น[/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>ชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยามานานแล้ว ครั้นปี พ.ศ.2149 ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ ญี่ปุ่นได้เข้ามามีสัญญาทางพระราชไมตรีกับไทยอย่างเป็นทางการ โดยพิธีการทูต มีหลักฐานทางราชการของญี่ปุ่นบ่งว่า ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งรกรากในไทยเป็นจำนวนมาก เมื่อปี พ.ศ. 2135 ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการอพยพกันเข้ามาครั้งละมาก ๆ ตั้งแต่ 700 คน ถึง 7,000 คน ก็มีชาวญี่ปุ่นได้ออกไปทำการค้าขายถึงเมืองปัตตานี และนครศรีธรรมราช ชนชาวญี่ปุ่นเป็นนักต่อสู้ที่กล้าหาญ ฉลาด และมีไหวพริบดี พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา มักให้ช่วยปราบปรามพวกก่อการกบฏที่เกิดขึ้นตามหัวเมืองต่าง ๆ หลายครั้ง ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาที่กรุงศรีอยุธยา มีทั้งพ่อค้า นักเดินเรือ ชาวประมง และแม้กระทั่งโจรสลัด มีชาวญี่ปุ่นส่วนหนึ่งรวบรวมพรรคพวกตั้งเป็นกองอาสาญี่ปุ่น ทำหน้าที่เป็นทหารรักษาพระะองค์ของพระเจ้าแผ่นดินไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ครั้งยังไม่มีสัญญาทางพระราชไมตรีกัน
    ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองอาสาญี่ปุ่น ได้อาสาออกรบช่วยไทยทำสงครามกับพม่า กองอาสาญี่ปุ่นกองนี้มีจำนวน 500 คน มียามาดา หรือออกญาเสนาภิมุข เป็นหัวหน้า กองอาสาญี่ปุ่นได้รับหน้าที่เป็นกองทหารทะลวงฟัน ป้องกันจอมทัพไทยอยู่ด้านหน้าช้างทรงของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ครั้งสงครามยุทธหัตถี ตัวยามาดานั้นขี่ช้างพลายเฟื่องภพไตร คุมพลอาสาญี่ปุ่นทั้งปวง
    ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ ตลอดมาจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ชาวญี่ปุ่นก็ยังคงสมัครเข้าเป็นกองอาสานี้ ตัวยามาดานั้นเป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในวงการทูต และวงการค้าของต่างชาติในยุคนั้น ถึงกับมีนักประพันธ์ชาวญี่ปุ่นได้แต่งนวนิยายผจญภัยในต่างแดนของยามาดา โดยใช้เหตุการณ์ในประเทศไทย โดยเฉพาะที่กรุงศรีอยุธยา และเมืองนครศรีธรรมราช เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมชมชอบมาก
    ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ยามาดาหรือออกญาเสนาภิมุข ได้ร่วมมือกับเจ้าพระยากลาโหม
    ในการสนับสนุนการขึ้นครองราชสมบัติของพระเจ้าแผ่นดินไทยหลายพระองค์ รวมทั้งพระเจ้าปราสาททองด้วย
    ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอาทิตย์วงศ์ พวกญี่ปุ่นถูกกีดกันให้ออกไปอยู่นอกพระนคร โดยมอบให้ไปตั้งอยู่ที่นครศรีธรรมราช คอยระวังป้องกัน พวกฮอลันดาที่จะมาก่อเหตุวิวาทกับไทย ต่อมากองอาสานี้ได้ล้มตายไปจนเหลือจำนวนน้อย ครั้นออกญาเสนาภิมุข ซึ่งได้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถึงแก่อสัญกรรม ทำให้กองอาสาญี่ปุ่นสลายตัว พวกญี่ปุ่นที่เหลือก็พากันกลับประเทศญี่ปุ่น




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>
    [SIZE=+2]กองทหารอาสาสมัครฝรั่งเศส[/SIZE]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>กองทหารอาสาสมัครฝรั่งเศส เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เป็นยุคที่ไทยรุ่งเรืองในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจและศิลปวิทยา ไทยได้ทำการค้ากับต่างประเทศเป็นอันมาก จนเกิดกรณีพิพาทกับฮอลันดา เมื่อปี พ.ศ. 2207 และมีกรณีพิพาทกับบริษัทอังกฤษ มีการรบพุ่งกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2230 โดยอังกฤษได้รื้อป้อมที่เมืองมะริด ซึ่งเป็นของไทย และแย่งเรือกำปั่นของไทย ที่เมืองมะริดไปหนึ่งลำ พระยาตะนาวศรี ซึ่งเป็นฝ่ายไทยได้ยกทัพลงมาจากเมืองตะนาวศรี เข้าโจมตีพวกอังกฤษที่อยู่ที่เมืองมะริด ฆ่าฟันพวกอังกฤษล้มตายเป็นอันมาก ไทยยึดป้อมมะริดคืนมาได้ และยึดเรือรบอังกฤษไว้ได้ 1 ลำ พวกอังกฤษที่เหลือได้ลงเรือรบที่เหลืออยู่อีก 2 ลำหนีไปได้ เมื่อพระยาตะนาวศรีกราบทูลแจ้งเหตุการณ์เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีพระราชกฤษฎีกา ประกาศสงครามกับบริษัทอังกฤษ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2230 ไทยกับอังกฤษจึงเป็นศัตรูกันมาตลอดรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    ในระหว่างนั้นไทยกับฝรั่งเศส มีความสัมพันธ์ทางพระราชไมตรีกันอย่างแน่นแฟ้น มีการส่งราชทูตไปมา
    ระหว่างกันหลายครั้ง พระเจ้าหลุยที่ 14 ได้เคยส่งชาวฝรั่งเศสมาเป็นครูฝึกทหารไทยแบบยุโรป 1 นาย คือ เชอวาลิเอ เดอฟอร์แบ็ง ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ออกพระศักดิ์สงคราม สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชประสงค์จะจัดทหารแบบยุโรป เพื่อไว้ต่อต้านการคุกคามของฮอลันดาและอังกฤษ จึงเห็นว่าครูฝึกเพียง 1 คนไม่เพียงพอ พระเจ้าหลุยที่ 14 จึงได้ส่งกองทหารอาสาสมัครฝรั่งเศส จำนวน 1,400 คน ในบังคับบัญชาของนายพล เดส์ฟาซ มายังไทย และให้รับราชการในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    กรมอาสาสมัครของฝรั่งเศสหน่วยนี้ ไม่เป็นที่ไว้วางใจของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของไทย จนต้องมีการวางมาตรการควบคุม และทำสัญญาให้เดินทางกลับฝรั่งเศส เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาเมื่อขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ไม่ต้องการกองอาสาสมัครหน่วยนี้
    ตั้งแต่กรมอาสาสมัครฝรั่งเศสมารับราชการอยู่ในประเทศไทย ทำให้ไทยเป็นที่เกรงขามของชาวยุโรปชาติอื่นๆ โดยเฉพาะฮอลันดา และอังกฤษ ซึ่งไม่กล้าก่อความยุ่งยากแก่ไทยอีกเลย




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>
    [SIZE=+2]อาสาสมัครฮอลันดา[/SIZE]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    [​IMG]




    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>ชาวฮอลันดาที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา เคยรวมตัวกันอาสาสมัครช่วยพระเจ้าแผ่นดินไทยปราบปราม กำจัดทหารอาสาสมัครฝรั่งเศส ที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    ชาวฮอลันดาหรือที่สมัยก่อนคนไทยเรียกว่าวิลันดานั้น ได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่ปลายแผ่นดิน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว แต่พระเจ้ามอริตซ์กษัตริย์แห่งฮอลแลนด์ เพิ่งจะมีพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการ เข้ามาถวายและเจริญพระราชไมตรี เมื่อต้นแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อปี พ.ศ. 2150 สมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้ทรงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์น และเครื่องบรรณาการไปตอบแทน โดยพวกฮอลันดาที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เป็นผู้จัดเรือให้ คณะราชทูตไทยคณะนี้ นับว่าเป็นคนไทยคณะแรก ที่เดินทางไปถึงทวีปยุโรป เมื่อสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชสมบัติต่อมา พระองค์ไม่ชอบฝรั่งเศส และกองอาสาฝรั่งเศสมาแต่แรก เห็นว่าจะเป็นภัยต่อไทย จึงคิดกำจัดเสีย โดยการนำทหารไทยไปล้อมป้อมกรุงธนบุรี ที่ทหารฝรั่งเศสตั้งอยู่ เป็นเวลาสองเดือน พวกฮอลันดาที่เคยถูกกีดกันในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้อาสาสมเด็จพระเพทราชา ช่วยกันกำจัดทหารฝรั่งเศส ร่วมกับไทยอีกแรงหนึ่ง จนในที่สุดฝรั่งเศสต้องถอนกองกำลังทหารของตน ออกไปจากประเทศไทย




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=310 bgColor=#b7dbff border=0><TBODY><TR bgColor=#f0ffff><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>[SIZE=+2]อาสาสมัครอังกฤษ[/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>ชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ คือในปี พ.ศ. 2155 และในปีเดียวกันนั้น พ่อค้าชาวอังกฤษก็ได้นำพระราชสาส์นของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเข้าถวายเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีกันเป็นทางราชการ แต่การติดต่อระหว่างไทยกับอังกฤษ ยังไม่กว้างขวาง เพราะทางอังกฤษสนใจการค้าขายและการเมืองกับประเทศอินเดีย
    มากกว่าประเทศไทยทางแถบแหลมทอง
    ในแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พวกอังกฤษเห็นว่าไทยเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของประเทศอินเดีย จึงเกิดการสู้รบระหว่างประเทศไทยกับบริษัทอังกฤษทางด้านเอเซีย ผลของการสู้รบ อังกฤษได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองตะนาวศรีของไทยได้ แต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้ส่งกองทัพไทยไปตีคืนมา ได้เมื่อปี พ.ศ. 2230
    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อังกฤษใต้ส่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
    และขอให้ไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า ไทยได้ส่งกองทัพไปช่วยอังกฤษรบพม่าอยู่ระยะหนึ่ง แล้วจึงถอนตัวออกมา
    ครั้งพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310 บรรดาชนชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาค้าขายและที่ตั้งรกรากอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ก็ได้อาสาช่วยไทยรบพม่า เมื่อพม่ายึดเมืองทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา และเมืองธนบุรี นายกำปั่นชาวอังกฤษจึงได้อาสาช่วยรบกับพม่า โดยเอาเรือกำปั่นเลื่อนมาจอดทอดสมอที่เมืองธนบุรี แล้วเอาปืนให่ญกราบเรือมายิงทหารพม่า ทำให้ทหารพม่าที่รักษาเมืองธนบุรีต้องทิ้งเมืองหนีไปในชั้นต้น
    ต่อมากองทัพพม่าได้กลับเข้ามายึดเมืองธนบุรีใหม่ แล้วนำปืนใหญ่ไปตั้งบนป้อม วิชัยประสิทธิ์ ยิงต่อสู้กับเรือกำปั่นอังกฤษ จนต้องถอยเรือกลับไป จากนั้นพม่าได้ยกทัพไปตั้งที่ค่ายบางกรวย ตรงวัดเขมาภิรตาราม ทั้งสองฟากแม่น้ำเจ้าพระยา หมายจะตีเมืองนนทบุรีต่อไป
    ฝ่ายเรือกำปั่นอังกฤษ เมื่อไปถึงอยุธยาก็ขอปืนใหญ่ที่มีสมรรถนะดีกว่าปืนใหญ่กราบเรือกำปั่น นำมาตั้งในเรือสลุป แล้วล่องเรือลงมาต่อสู้กับพม่าที่เมืองนนทบุรี โดยให้ฝ่ายไทยช่วยส่งเรือยาว ใช้ฝีพายบรรทุกทหารในกองทัพของพระยายมราช ที่รักษาเมืองนนทบุรี ช่วยลากจูงเรือสลุปของอังกฤษ ล่องลงมาในเวลากลางคืน พอถึงที่ตั้งของพม่าและได้ระยะทางปืน ก็ใช้ปืนใหญ่ยิงค่ายพม่า จนใกล้สว่างจึงถอยเรือกลับขึ้นไป ได้ทำการอยู่เช่นนี้หลายคืน ทำให้ทหารพม่าล้มตายจนต้องหยุดยั้งทัพไว้เพียงวัดเขมา ฯ ไม่อาจขึ้นไปยึดเมืองนนทบุรีได้ ต่อมาพม่าคิดอุบายทำเป็นทิ้งค่ายหนีไทย ทหารไทยกับอาสาสมัครอังกฤษหลงกล เมื่อยกกำลังเข้ายึดค่ายพม่าจึงถูกทหารพม่าที่ซุ่มอยู่นอกค่าย จู่โจมจึงแตกกลับไป เรือกำปั่นอังกฤษเห็นเหลือกำลังจึงล่องเรือออกทะเลไป พระยายมราชก็ทิ้งเมืองนนทบุรี ถอนกำลังกลับไปกรุงศรีอยุธยา
     
  7. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    ข้อมูลเยี่ยมอย่างเคยครับผม

    คาดว่าชุดเต็มยศก้อคงต้องมีหมวกด้วยละครับ แต่จะใส่เวลาเข้าปะทะหรือไม่ก้อคงแล้วแต่ความถนัดของแต่ละท่าน

    แต่ผมว่าหมวกนี่เป็นเครื่องป้องกันที่ดีนะครับ(smile)
     
  8. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    ฟอร์ทก็เห็นเหมือนกันกับพี่ไก่เหลืองหางขาวครับ ทั้งเป็นเครื่องป้องกันที่ดี

    แล้วยังเป็นเครื่องหมายบอกยศบอกตำแหน่งอีกด้วย ดูจากภาพประกอบแล้ว

    รู้สึกว่าชุดทหารอาสาโปรตุเกสเนี่ยจะโก้ไม่เบาเลยนะครับ
     
  9. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขออนุโมทนากับทุกท่าน คุณทางสายธาตุ คุณไก่เหลืองหางขาว และคุณฟอร์ท ครับ
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เรื่องหมวก ช้างทรง ม้าศึก ดินดำ ดาบ ทวน ปืนใหญ่ ปืนไฟ
    เป็นสิ่งที่น่าติดตามหารายละเอียด แต่ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลอะไร
    เคยอ่านความเห็นของ The Third Eyes
    ในกระทู้เรื่องเล่าของเหล่าคนตาทิพย์
    ท่านอาจารย์ตาที่สาม ให้ข้อสังเกตุเรื่องมีด ดาบ ไว้น่าสนใจ


    อ.ตาที่สามว่า บ้านอรัญญิกมาตั้งขึ้นเมื่อสมัยรัตนโกสินทร์
    ดังนั้นในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระองค์ท่าน
    มีกองทหารประมาณ 1 แสนกว่าคน ถ้าถือดาบคนละเล่ม
    ต้องมีคนผลิตดาบอย่างน้อย 1 แสนเล่ม
    ยังไม่รวมเรื่องการหาเหล็กมาผลิตดาบเหล่านั้น


    เหล็กชั้นดีเหล็กน้ำพี้ในประเทศไทยมีแน่ แต่นั่นสำหรับทำดาบชั้นยอด
    เป็นดาบสำหรับพระมหากษัตริย์ และแม่ทัพทั้งหลาย
    ไม่มากพอให้ทำให้กับทหารระดับพลทหารเรือนแสนแน่นอน
    แล้วหาเหล็กมาจากไหน และใครเป็นคนทำ น่าคิดนะคะ
    ผลิตดาบแบบจำนวนมาก ใครทำ ในระหว่างสงคราม
    ชายฉกรรจ์ต้องไปเป็นทหารเสียมาก งานหนักๆอย่างการตีดาบ
    ต้องการกำลังคนหนุ่มและต้องการจำนวนมากด้วยเพื่อผลิตดาบให้ได้เป็นแสนเล่ม

    ในเวลาจำกัดเพราะการศึกกระชั้นตลอดเวลา ทั้งหาแหล่งแร่เหล็ก
    ทั้งทำโรงถลุงแร่เหล็กดิบให้เป็นก้อนเหล็ก
    ทั้งตีดาบ ไม่ใช่งานเล็กน้อย ใครทำกัน ?


    ดินปืนในประเทศสยามยามนั้นถือว่าคุณภาพไม่ดี จากเอกสารลูลาแบร์
    ก็ยืนยันไว้ว่าดินดำที่ผลิตได้ในสยามนั้นคุณภาพต่ำ
    อ่านได้จากความเห็นรู้เรื่องเมืองสยามที่ผ่านมา
    แต่ในสงคราม กองทัพไทยก็ระเบิดค่ายพม่า ระเบิดสะพาน กันหูดับตับไหม้
    ดินดำก็จุดระเบิดได้ดี ไม่มีปัญหา เอาดินดำคุณภาพดีมาจากที่ไหนกัน ?


    การหล่อปืนใหญ่ที่มีเทคนิคชั้นยอด ชนิดที่ญี่ปุ่นยังต้องส่งเอกสาร
    มาขอปืนใหญ่จากไทย 2 กระบอกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
    เทคนิคการหล่อปืนใหญ่คุณภาพดีเหล่านี้เอามาจากไหน ?


    และงานข่าวที่ท่านพี่จงรักภักดีเรียกว่า อุปนิขขิต ผู้หาข่าวมาถวาย
    สมเด็จฯท่าน ล้วนเป็นยอดฝีมือและกล้าตาย หากพระพี่นางสุพรรณกัลยา
    เป็นพระองค์หนึ่งที่อุทิศพระองค์เพื่อการนี้ ก็มีเหตุผลสนับสนุนที่แน่นหนาพอ
    เพราะข้อมูลสำคัญเช่นวิธีการจัดทัพ การแต่งตั้งแม่ทัพ นายกอง เส้นทางการเดินทัพ


    จำได้ไหมคะที่คุณ Fort เคยตั้งข้อสังเกตตอนก่อนจะเสียกรุงครั้งที่ 1
    ที่การข่าวไทยบอกว่า กองทัพของบุเรงนองจะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
    แต่ครั้งนั้น บุเรงนองยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา ทัพไทยตั้งรับผิดสถานที่
    เพราะการข่าวของสยามก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1 ผิดพลาดมาก
    เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 1 นั้นปี พ.ศ. 2112 พระพี่นางทรงมีพระชนม์ 17 พรรษา


    ทรงอยู่ร่วมรับรู้ในเรื่องการข่าวผิดพลาดอันใหญ่หลวงนี้ด้วย
    ท่านอาจจะตัดสินพระทัย อุทิศตนเพื่อการนี้ตั้งแต่นั้นก็เป็นได้
    แต่ใครเลยจะรับรู้ได้เพราะพระองค์อุทิศตนเพื่อการเป็นสายลับ
    ต้องมีผู้รู้เรื่องนี้น้อยที่สุด แต่หนึ่งในนั้นที่จะต้องทรงรู้เรื่องนี้ก็คือ
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั่นเอง

    บ้านเมืองนี้ กว่าบรรพบุรุษจะรักษาและกู้อิสรภาพให้ลูกหลานไทยได้
    กี่พระองค์ กี่ท่าน ที่อุทิศตนแบบปิดทองหลังพระ ให้สยามนี้อยู่รอด
    เพราะทุกคนทุกพระองค์ทำเพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ ชาติต้องอยู่รอด
    นี่เป็นสิ่งที่สุดของที่สุดที่ลูกหลานไทยจะต้องระลึกไว้ว่า
    อิสรภาพบนผืนแผ่นดินนี้แลกมาด้วยเลือดและวิญญาณนับแสนของบรรพบุรุษ


    ท่านพี่จงรักภักดีอาจมีความรู้เรื่องอุปนิขขิตดีกว่าทางสายธาตุ ^^
    สำหรับคุณไก่เหลืองนั้น ทางสายธาตุรู้สึกว่าคุณไก่เหลืองจะมีความรู้เรื่องสู้รบในสมัยนั้นนะคะ
    ส่วนคุณ Fort ถ้าสัมผัสอะไรเกี่ยวกับพระพี่นางได้บ้าง มาแชร์กันนะคะ เทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน

    อนุโมทนา สาธุค่ะ ทุกท่าน
     
  11. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    ขออนุโมทนากับทุกท่าน คุณทางสายธาตุ คุณจงรักภักดี และคุณฟอร์ทครับ

    ทั้งทำโรงถลุงแร่เหล็กดิบให้เป็นก้อนเหล็ก
    ทั้งตีดาบ ไม่ใช่งานเล็กน้อย ใครทำกัน ?


    อันนี้น่าคิดมากครับ

    เอาดินดำคุณภาพดีมาจากที่ไหนกัน ? เทคนิคการหล่อปืนใหญ่คุณภาพดีเหล่านี้เอามาจากไหน ?

    คาดว่าพวกฝรั่งครับ เพราะเคยทราบมาว่าองค์สมเด็จพ่อพระนเรศเป็นเจ้าท่านทรงมีนโยบายด้านการต่างประเทศที่ยอดเยี่ยมและทรงมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับชาวตะวันตกครับ

    ท่านอาจจะตัดสินพระทัย อุทิศตนเพื่อการนี้ตั้งแต่นั้นก็เป็นได้

    ขอกราบบูชาพระองค์ท่านครับ

    อิสรภาพบนผืนแผ่นดินนี้แลกมาด้วยเลือดและวิญญาณนับแสนของบรรพบุรุษ

    ขอสดุดีบรรพบุรุษทุกๆท่านครับ

    สำหรับคุณไก่เหลืองนั้น ทางสายธาตุรู้สึกว่าคุณไก่เหลืองจะมีความรู้เรื่องสู้รบในสมัยนั้นนะคะ

    ชมเกินไปแล้วครับ อิ อิ

    ส่วนคุณ Fort ถ้าสัมผัสอะไรเกี่ยวกับพระพี่นางได้บ้าง มาแชร์กันนะคะ เทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน

    เห็นด้วยครับ รอฟังคุณ Fort เล่าอยู่ครับ
     
  12. นารถะสุญญตา

    นารถะสุญญตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +676
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขออนุโมทนาค่ะคุณนารถฯ และข้าพเจ้าเองขออโหสิกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไปทั้งที่ตั้งใจก็ดี
    มิได้ตั้งใจก็ดี ทั้งที่รู้ตัวก็ดี ที่ไม่รู้ตัวก็ดีค่ะ และขออโหสิกรรมต่อคุณนารถฯด้วยค่ะ
    และขออโหสิกรรมต่อทุกๆท่านด้วยนะคะ พร้อมๆกันไปเลย
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เรื่องของสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ตอนที่ท่านไม่ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา

    ที่มีผู้เขียนบางท่านได้เขียนประโยคหนึ่งที่เป็นดำรัสของพระนเรศวรต่อว่าต่อขานพระพี่นางว่า

    "รักลูก รักผัว มากกว่าแผ่นดิน"

    ซึ่งหลายคนก็ด่วนสรุปว่า พระพี่นางฯท่านทรงทำให้พระนเรศวรหนักพระทัยเป็นห่วงละล้าละลัง พี่สาวติดอยู่ที่พม่า

    ทางสายธาตุเคยประเมินเรื่องนี้หลังจากดูหนังเหมือนกัน โดยคิดว่าอยากให้พระพี่นางเสด็จกลับพร้อมพระนเรศวร
    เพื่อให้สมเด็จพระนเรศวรทำการรบได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องทรงคอยกังวลถึงความเป็นอยู่และความปลอดภัยของพระพี่นาง

    เมื่อถึงจุดนี้เห็นแล้วว่า ความคิดนี้เป็นความคิดเพียงชั้นเดียว ไม่แยบคายเลย หากลองวิเคราะห์อีกสักนิด
    จะทำให้ทราบว่า ความจริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการกระทำของทั้งสองพระองค์นั้นท่านมุ่งหมายสิ่งใดเพื่อการใด

    ถ้าพิจารณาถึงพระบุคคลิกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ท่านเป็นผู้มีความอดทนสูงมาก ไม่ว่าจะผิดหวังเพียงใดก็ไม่ทรงแสดงออก

    และขัตติยมานะของเจ้า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ท่านก็ไม่กล่าวออกมาให้ใครรับรู้ว่าพระองค์คิดอย่างไร

    แต่ครั้งนี้สมเด็จฯท่าน แสดงให้คนรอบๆข้างเห็นชัดเจนว่าพระพี่นางไม่ยอมเสด็จกลับ และพระองค์ผิดหวังมาก

    ใช้คำว่า แสดง เพราะท่านหวังผลให้ข่าวนี้ถึงหูพระเจ้าบุเรงนอง ว่าพระพี่นางสมัครใจอยู่พม่าเพราะรักลูก รักสวามี มากกว่าแผ่นดิน

    และให้รู้ถึงหูพระเจ้าบุเรงนองว่า สมเด็จฯท่านทรงผิดหวังต่อพระพี่นาง และไม่เหลียวแลอีกแล้ว เพื่อให้พระเจ้าบุเรงนอง
    ทรงเห็นว่าพระพี่นางถูกทิ้งไว้องค์เดียว ไม่มีพิษสงเป็นอันตราย และพระพี่นางเป็นเพียงผู้หญิงตัวเล็กๆจะทำอะไรได้
    หากพระอนุชาไม่แยแสพระพี่นางแล้ว พระพี่นางก็ต้องทรงพึ่งพิงพระเจ้าบุเรงนองเป็นหลักของชีวิตต่อไป

    ทั้งหมดนี้เพื่อให้พระเจ้าบุเรงนองคลายความระแวงต่อพระพี่นางให้มากที่สุดนั่นเอง

    พระพี่นางท่านทรงต้องอยู่เพื่อภาระกิจ แม้นใจจะอยากกลับแผ่นดินเกิดเพียงใดก็ตาม อาจทรงคิดว่า หน้าที่ที่พระองค์มีต่อบ้านเมืองสำคัญกว่าชีวิต

    คนโบราณนั้นแยบคายในความคิดมากๆ และรักชาติกันมากๆด้วย

    ข้าพเจ้าขอเทิดพระเกียรติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยาในความเสียสละอย่างสูงของทั้งสองพระองค์
     
  15. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    เห็นด้วยในทุกประการครับ

    ขอเทิดทูนในพระปรีชาสามารถและความเสียสละขององค์สมเด็จพ่อพระนเรศเป็นเจ้าและองค์พระพี่นางสุพรรณกัลยาครับ

    ขอชื่นชมกับความช่างสังเกต/วิเคราะห์อันเป็นเลิศของคุณทางสายธาตุครับ

    และหากผมทำอะไรผิดพลาดไปก้อขอให้คุณทางสายธาตุและชาวกระทู้ทุกๆท่านอโหสิกรรมให้กับผมเช่นกันครับ

    ;34
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2009
  16. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขอต้อนรับคุณนารถะสุญญตา ครับอุตส่าห์เข้ามาเยี่ยมบ้านปลายซอย การไปมาลำบาก
    หน่อยนะครับ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่สุดซอยอยู่ลึกไปหน่อย คราวหน้าซ้อนมอไซ มานะครับ
    จะสะดวกดี ผมเชื่อว่าด้วยความรู้และภูมิธรรมของคุณนารถะจะเป็นประโยชน์และความรู้แก่พวกเราและมวลหมู่สมาชิกได้เป็นอย่างดีครับ ขออนุโมทนาครับ
     
  17. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขอเริ่มไหว้ครูด้วยข้อความบทนี้ครับ:

    บ้านเมืองนี้ กว่าบรรพบุรุษจะรักษาและกู้อิสรภาพให้ลูกหลานไทยได้
    กี่พระองค์ กี่ท่าน ที่อุทิศตนแบบปิดทองหลังพระ ให้สยามนี้อยู่รอด
    เพราะทุกคนทุกพระองค์ทำเพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ ชาติต้องอยู่รอด
    นี่เป็นสิ่งที่สุดของที่สุดที่ลูกหลานไทยจะต้องระลึกไว้ว่า
    อิสรภาพบนผืนแผ่นดินนี้แลกมาด้วยเลือดและวิญญาณนับแสนของบรรพบุรุษ


    ข้อความนี้ครบถ้วนสมบูรณ์ อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องพรรณาหรือเพิ่มเติมเนื้อหาสาระใดทั้งสิ้น ขออนุโมทนาและคารวะท่านผู้รจนาไว้ณ ที่
    นี้ด้วย

    มีปุจฉาเกี่ยวกับเรื่องดินดำหรือดินปืน ที่ใช้กันเมื่อสมัยไทยรบพม่า ท่าน
    นารถะ ก็ได้กรุณาวิสัชนาไว้แล้วว่า
    "ดินดำที่ว่าผมคิดว่าได้จากชาวบ้านขันอาสา และทหารอาสา ที่เข้าไปตามถ้ำโพรงต่างๆๆ นำเอาขี้ค้างคาวออกมาเพื่อทำดินดำ และได้จากการซื้อจากจีน โปรตุเกส และจากหัวเมืองน้อยใหญ่ที่นำเข้าราชการสงคราม "

    ครับคนสมัยก่อนรู้จักการนำมูลค้างคาวมาทำดินปืน ราชการทหารก็คงต้องอาศัยประโยชน์จากงานนี้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งซึ่งน่าจะมีความสำคัญก็คือการซื้อหาจากต่างชาติ ถ้าพูดให้โก้ทันสมัยก็ต้องพูดว่าจัดซื้อจาก
    ต่างประเทศ ต่างเพียงวิธีการในสมัยโน้นน่าจะเป็นพ่อค้าชาวต่างชาตินำเข้ามาแลกกับทรัพยากรต่างๆของไทย และเนื่องจากเรื่องนี้คงจะเป็นเรื่องสำคัญทางการทหาร หรือพูดสมัยใหม่ว่าเป็นเรื่องของความมั่นคงจึงต้องกระทำกัน
    อย่างปกปิดและมิดชิดพอสมควร ทางราชการทหารจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้อยู่ครับ ชื่อว่าทหารสรรพาวุธ สมัยโบราณหน่วยนี้อาจจะสังกัดอยู่กับ
    กรมเกียกกาย หรือกรมยกกระบัตรก็ได้นะครับ (เดา ครับ ) และก็คงต้องเป็นหน่วยเดียวกันที่มีหน้าที่ในการจัดหาอาวุธต่างๆด้วยครับ แต่จะต้องทำหน้าที่ตี
    ดาบด้วยหรือไม่นั้น น่าคิดอยู่นะครับ







     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขำๆๆ ท่านพี่จงรักภักดีเปิดวินมอไซด์เลยค่ะ

    ฝรั่งเองก็คงจะมีดินดำชั้นดีมาขายเช่นกัน แต่ว่าฝรั่งอยู่ไกลจะหาซื้อดินดำจากฝรั่งนั้น ระยะเวลาจัดส่งดินดำมาไทยอาจกินเวลาเป็นครึ่งปี ถ้าจะจัดซื้อดินดำ คงมาจากจีนเป็นหลัก พร้อมๆกับเรียนรู้ที่จะทำเองในประเทศไปด้วย จะได้ลดการนำเข้า อิอิ

    ดินดำเป็นสินค้าความมั่นคงของทุกประเทศในสมัยนั้น เคยอ่านมาเจอบทความว่า สมัยฮ่องเต้เสินจง จักรพรรดิจีนองค์ที่ 13 นั้นท่านสั่งห้ามขายดินปืนให้กับต่างประเทศ เพราะเดี๋ยวจะไปตกในมือศัตรูย้อนเอากลับไประเบิดเมืองจีนได้ พระองค์สั่งห้ามซื้อขายดินปืนกับต่างชาติตรงกับสมัยพระนารายณ์มหาราชของไทยแล้ว

    ซื้อขายกับทางการจีน ส่วนที่ทำกำไรที่สุดน่าจะเป็น เครื่องราชบรรณาการจิ้มก้อง คือจีนถือว่าชาติที่ส่งเครื่องบรรณาการทั้งหมดเป็นประเทศราชของตน ถ้าพูดถูกใจ ยกย่องพระจักรพรรดิมากๆ พระองค์จะตอบแทนโดยส่งเครื่องราชบรรณาการให้ชาตินั้นๆ แต่มูลค่าที่ได้กลับมานั้นสูงมาก เพราะจักรพรรดิจีนก็ต้องการแสดงความมั่งคั่งด้วยการแจกแหลกเหมือนกัน

    ฝรั่งที่ไปทำการค้ากับจีน เช่นโปรตุเกส เคยไปพูดบางอย่างที่ทำให้จักรพรรดิจีนรู้สึกว่า ไม่เข้าพระกรรณ (พูดไม่เข้าหู) พระองค์ทรงสั่งไม่ให้ค้าขายกับโปรตุเกสอีกเลย จนโปรตุเกสต้องมาให้พ่อค้าจีนในประเทศไทยเป็นนายหน้าค้าขายสินค้าโปรตุเกสไปจีนแทน เทคนิคมีนิดเดียว ยกย่องพระองค์มากๆก็จะได้ค้าขายกันจีนแล้ว

    ตำแหน่งเจ้าพระยาโกษาธิบดี ดูแลทั้งเรื่องการจัดเก็บรายได้ของรัฐและดูแลสินค้าประเภทความมั่นคงของราชอาณาจักร ตำแหน่งนี้มีหน้าที่ครอบคลุม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม(รับผิดชอบในส่วนงานทหารสรรพาวุธ สมัยโบราณหน่วยนี้อาจจะสังกัดอยู่กับ กรมเกียกกาย หรือกรมยกกระบัตรก็ได้นะครับ ตามความเห็นของท่านพี่จงรักภักดี)ด้วยถือได้ว่าตำแหน่งใหญ่น่าดูชมค่ะ

    ทำให้คิดว่าเจ้าพระยาโกษาเหล็กและเจ้าพระยาโกษาปาน ผู้เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิตนั้น ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอันมาก


    ส่วนเรื่องตีเหล็ก ก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ อาจใช้วิธีสั่งซื้อไปต่างประเทศให้จัดทำ หรืออาจจะยึดเอาจากศัตรูที่ล้มตาย หรือหนี อย่างที่คุณนารถฯให้ความเห็นไว้ก็ได้

    ขงเบ้งยังสามารถผลิตลูกธนู 1 แสนดอกได้ในสามวันเลย ก็วิธีการลวงมาจากศัตรูเหมือนกัน หนังตอนนี้อยู่ในศึกเซ็กเพ็กเหมือนกัน ได้เห็นปัญญาขงเบ้ง ล้ำลึกนัก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2009
  19. นารถะสุญญตา

    นารถะสุญญตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +676
    สาธุครับ...ผมคิดว่าเหตุการณ์นี้น่าจะเกิดตอนที่พระองค์ดำกำลังจะยกทัพกลับอโยธยาเนื่องจากทราบกลอุบายของอุปราชมังนอรธา(มังสามเกียรติ)ที่ให้พระยาเกียนพระยารามมาสังหารพระองค์ พระองค์จึงส่งทหารคนสนิทเข้ามารับตัวพระพี่นางของพระองค์กลับบ้านเมืองด้วยกัน แต่เนื่องจากขนาดนั้นพระพี่นางทรงมีพระครรภ์อ่อนๆ เกรงว่าจะทำให้การถอยทัพกลับอาจล่าช้าเพราะพระองค์ อีกอย่างถ้าพระพี่นางทรงกลับมา ทางหงสาก็จะมีข้ออ้างยกทัพมาโจมตีอโยธยาได้ ซึ่งตอนนี้อโยธยายังไม่มีกำลังพอที่จะต่อตีกับทหารหงสาได้ พระพี่นางจึงจำเป็นต้องอยู่เป็นตัวประกันต่อไป และพระพี่นางก็ทรงมั่นใจว่าตนจะสามารถอยู่ในหงสาได้อย่างปลอดภัย เพราะพระองค์ทรงมีพระครรภ์ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้านันทบุเรง และการที่พระพี่นางอยู่ที่หงสาจะเป็นการดีต่อพระองค์ดำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะลอบหาข่าวการศึกส่งไปแจ้งเตือนต่อพระองค์ให้เตรียมการรับมือได้ทันท่วงที่ อีกเหตุผลหนึ่งพระพี่นางทรงเป็นห่วงลูกของพระองค์ซึ่งมีสายเลือดของพระเจ้าสิบทิศบุเรงนองศัตรูของบ้านเมืองอโยธยา ซึ่งถ้าลูกพระองค์มาอยู่ในอโยธยาจะทำให้เกิดความแหนงใจกับพระญาติพระวงค์ของพระองค์ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อลูกของพระองค์ แต่ถ้าลูกของพระองค์ทรงอยู่ที่หงสา ก็ยังมีฐานะเป็นน้องของกษัตริย์ มีพระยศ พระเกียรติ ด้วยเหตุผลหลายประกายดังนี้พระพี่นางถึงไม่เสด็จกลับมาอโยธยา และไม่ได้ส่งลูกของพระนางกลับมาด้วย แต่พระพี่นางได้ส่งจิตวิญญาณของพระองค์กลับมาพร้อมพระองค์ดำด้วย.....ซึ้งเหตุนี้เองพระองค์ถึงได้ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระพี่นางเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะตอนที่พระองค์ทรงทราบว่าพระพี่นางของพระองค์สิ้นพระชนม์ชีพแล้วพร้อมทั้งหลานของพระองค์ พระองค์ถึงกับกรรแสงด้วยความเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง และทรงนำความเสียพระทัยในแปรเปลี่ยนเป็นพลังที่จะมุ่งมั่นพิชิตหงสาให้ได้ และพระองค์ก็ทรงพิชิตหงสาได้ในกาลต่อมา จะเห็นได้ว่าการจะได้สิ่งใดมานั้นบางครั้งต้องเสียสละอะไรมากมายเหลือเกิน............
     
  20. นารถะสุญญตา

    นารถะสุญญตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +676
    ท่านไก่ขอรับ วางได้ก็วางนะครับ ชายชาตินักรบไม่โกรธเพื่อนพี่น้องกันนานน่ะขอรับ อีกหลายคนยังรอท่านไก่อยู่นะครับ มิตรภาพที่ดีนั้นยังมีให้ท่านไก่อยู่เสมอ แม้กระผมและท่านจะไม่เคยรู้จักกัน... แต่มีบางสิ่งที่กระผมสามารถรับรู้ได้จากท่านไก่นั้นถือว่าดีที่สุดๆๆๆแล้วขอรับ อย่าให้อะไรมาทำให้ท่านไก่หมองลงเลยขอครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...