ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 51-52


    พระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ

    ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีนันทะบุเรง ตั้งแต่เห็นพระนเรศวรมีฝีมือเหนือลูกและหลานของตน ประกอบกับสังเกตเห็นพระนเรศวรมีกิริยาท่าทางไว้สง่า ท่าทางแสดงว่ามีความใฝ่สูง ไม่น่าไว้วางใจ จำต้องคิดหาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า ขั้นแรกก็คือ อพยพชาวเมืองเหนือทั้งปวงเอาไปไว้กรุงหงสาวดีเสีย พระนเรศวรจะได้ไม่มีกำลังพอที่จะมาต่อสู้กับกองทัพพม่า ขั้นที่สองก็คือ ให้คนไปทำนาเตรียมเสบียง อาหารไว้ที่เมืองกำแพงเพชรเป็นการขู่ และเตือนพระนเรศวรให้รู้ไว้ว่า ถ้าขืนก่อการกำเริบเสิบสานขึ้นมาเมื่อไร พม่าก็จะกรีธาทัพไปเหยียบ กรุงศรีอยุธยาเสียให้เรียบเป็นหน้ากลอง
    <O:p
    ดำริดังนั้นแล้ว จึงให้นัทะสูกับราชสงครามคุมพลพม่าหมื่นหนึ่งไปควบคุมชาวไทยใหญ่เมืองแสนหวี 12,000 คน ไปตั้งยุ้งฉางสะสมเสบียงอาหารอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร พระนเรศวรทราบความก็เฉยเสีย ทำประดุจไม่รู้เท่าทัน แต่ก็เร่งมือฝึกปรือรี้พลเตรียมพร้อมไว้
    <O:p
    ต่อมาไม่นาน ทางเมืองพม่าก็เกิดเรื่องขึ้นจริงๆ ตามที่พระนเรศวรได้คาดการณ์ไว้ กล่าวคือ พระราชธิดาของพระเจ้าอังวะซึ่งเป็นชายาของพระมหาอุปราชามังกะยอชวา เกิดวิวาทขึ้นกับพระสวามี พระเจ้าอังวะซึ่งเป็นราชบุตรเขยของบุเรงนองจึงเกิดแตกแยกกับพระเจ้าหงสาวดีขึ้น จึงแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงหงสาวดี พูดภาษาชาวบ้านก็คือผัวกับเมียทะเลาะกันแล้ว พ่อตากับพ่อผัวก็พลอยโกรธกันด้วย


    อันที่จริงก็เป็นเรื่องภายในครอบครัวเดียวกัน ไม่น่าให้ชาวบ้านเดือดร้อนด้วยเลย แต่นันทะบุเรงคงคิดว่าตนมีอำนาจเมืองขึ้นทั้งหลายเป็นขี้ข้าของตนกระมัง จึงได้มีหนังสือไปเกณฑ์เมืองขึ้นทั้งหลายให้ส่งกองทัพไปช่วยรบกรุงอังวะ คือพระเจ้าแปร พระเจ้าตองอู พระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต แต่สำหรับกรุงศรีอยุธยานั้น น่าจะส่งหนังสือไปถวายพระมหาธรรมราชา แต่กลับส่งไปยังพระนเรศวร จึงเป็นที่น่าระแวงว่าจะมีเลศนัยประการใดอยู่
    <O:p</O:p
    พระนเรศวรพอได้รับหนังสือจากนันทะบุเรง ก็ดำริว่าไหนๆ พม่าก็เตรียมจะมารบเมืองไทยแล้ว ไม่ช้าก็เร็ว ไทยก็ควรจะชิงเอาเปรียบเป็นฝ่ายรุกเสียก่อน แต่ที่พม่ามีหนังสือ มาถึงพระองค์แทนที่จะส่งไปถวายพระราชบิดานั้น พระองค์มิได้เฉลียวพระทัยว่าพม่าเขาต้องการให้พระองค์นำทัพไปเอง จึงลงไปกราบทูลพระราชบิดาแล้วก็นำทัพออกจากพิษณุโลก เมื่อเดือน 3 แรม 6 ค่ำ ปีมะแม พ.ศ. 2126 ไปถึงเมืองแครง ซึ่งเป็นเมืองมอญของพม่าอยู่ติดพรมแดนไทย ในเดือน 6 ปีวอก กินเวลาเดินทางถึงสามเดือนที่เดินทัพช้าเช่นนี้ ก็เพราะพระนเรศวรแกล้งทำให้ช้า เพื่อจะได้ไปถึงหงสาวดีเมื่อนัทะบุเรงยกทัพไปเมืองอังวะแล้ว ถ้าเห็นได้ทีก็จะลองตีกรุงหงสาวดีเสียเลย ถ้ายังตีไม่ได้ก็จะอพยพคนไทยที่ตกไปเป็นเชลยนั้นกลับคืนมา


    [​IMG]


    เมื่อตอนพระนเรศวรทรงช้างออกจากเมืองพิษณุโลกเป็นเวลา 11 ทุ่มได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลมะพร้าวปอก ปาฎิหาริย์ลอยมาในอากาศจากตะวันออก ผ่านหน้าช้างพระที่นั่งไปยังตะวันตก ทรงยกมือนมัสการอธิษฐานข้อให้ทำการสำเร็จ ยาตราทัพไปถึงเมืองกำแพงเพชรเวลาบ่าย 5 โมงก็เกิดพายุใหญ่ ฝนตกหนัก เกิดแผ่นดินไหว ธรรมชาติแสดงอาการวิปริตเช่นนี้ สมัยโบราณเขามีความสังเกตดี จึงได้บันทึกไว้ในพงศาวดาร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อรุณสวัสดิ์ ท่านพี่ Case Officer

    ไปหาพระอาจารย์กัน เดี๋ยวโทรหาพี่สะใภ้ก่อน

    พี่สะใภ้อยากไปด้วย แกบอกไว้นานแล้วว่าไปเมื่อไหร่ให้ชวน

    พี่แกว่าฝันเห็นวัดวรเชษฐ์ หลายครั้ง สงสัยจะถูกตามตัว
     
  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    พระนเรศวรนั้น ได้สดับตรัสฟังข่าว สองทัพแรกเขาไปรบมาแล้วจึงแอบไปตรวจภูมิประเทศดูก่อนตั้งแต่ตอนกลางวัน ก็เห็นทางที่จะขึ้นไปยึดเมือคังได้ ครั้นวันพุธเวลา 11 ทุ่ม พระองค์ก็ยกไปทำการโห่ร้องยิงปืนตีฆ้องกลอง มีอาการดั่งจะปีนขึ้นไป แต่หาได้ขึ้นไปจริงๆไม่ คงทำเสียงอึกทึกครึกโครมอยู่ แค่ตีนเขานั้นเอง พวกชาวเมืองคังก็นึกว่าข้าศึกจะพยายามขั้นไปเหมือนที่พยายามมาสองคืนแล้ว จึงช่วยกันงัดก้อนศิลากลิ้งลงมาเช่นเคย แต่มันหาได้ถูกผู้ใดไม่

    พระนเรศวรได้ให้ทหารปืนแอบปีนแซงขึ้นไปสองข้าง เงียบๆ พอขึ้นไปถึงระยะใกล้แล้ว พอเห็นตัวได้รางๆ พลปืนก็ระดมยิงเข้าไปอย่างหนาแน่น ถูกชาวเมืองล้มตาย และระส่ำระสาย เป็นการใหญ่จนคุมกันไม่ติด ครั้นสามโมงเช้าก็ปีนเข้ายึดเมืองได้จับตัวเจ้าฟ้าเมืองคังได้ คมตัวลงมาถวายพระเจ้าหงสาวดีนันทะบุเรง พระเจ้าหงสาวดีนั้นแม้จะรู้สึกไม่พอพระทัย เพราะไม่สมพระประสงค์ ที่เจตนาไว้ก็ได้แต่ตรัสชมเชยและพระราชทานรางวัลให้ แต่พระมหาอุปราชากับพระสังกะทัตนั้นรู้สึกละอาย และเกลียดชังพระนเรศวรมาก<!-- google_ad_section_end -->

    ..................................................


    ขออนุโมทนา ครับ การเข้าตีเมืองคังของสมเด็จพระนเรศวรในครั้งกระโน้น พระองค์ท่านทรงใช้กลยุทธที่
    ทหารสมัยใหม่เขาเรียกว่าการแสดงลวงหรือการเข้าตี
    ลวง ถ้าใครเคยอ่านหรือดูหนังเรื่องวันเผด็จศึก หรือ
    The Longest Day ที่สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่
    หาดนอร์มังดี ก็ใช้การแสดงลวงหรือการเข้าตีลวง
    ช่วยด้วยเหมือนกัน สงสัยลอกแบบไปจากสมเด็จ
    ท่านก็ได้นะครับ และถ้าท่านใดที่สนใจเหตุการณ์
    บ้านเมืองอาจจะพอจำได้ เมื่อประมาณไม่นานมานี้
    ตอนทฤษฎีโดมิโนในอินโดจีน ที่น่าเชื่อว่า เวียตนาม
    กำลังมีทีท่าว่าจะบุกประเทศไทย เพราะครั้งนั้น เขมร
    และลาวก็เสร็จหมดแล้ว ทหารเวียตนามเต็มไปหมด
    ประเทศไทยเราก็ได้ไปเจรจากับมหามิตรจีน ขอให้
    ช่วยยกทัพมายอไว้ที่ชายแดนติดกับเวียตนาม รู้สึก
    ว่ามีการสู้รบกันอยู่บ้าง ก็เข้าข่ายในเรื่องการแสดง
    หรือการเข้าตีลวงของจีนเพื่อช่วยเหลือประเทศน้อง
    ในครั้งกระนั้นนะครับ ท่านใดสนใจก็ลองค้นคว้าดูนะ
    รู้สึกว่าจะมีผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกวางขาย
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 53-55

    รุ่งขึ้นพระนเรศวรยกไปถึงเมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองกราบทูลว่าพวกไทยใหญ่เวียงเสือตะวัน ที่พม่าเกณฑ์เอามาทำงาน เกิดวิวาทกับพม่ามอญขึ้น ได้อพยพหนีไปทางเมืองพิษณุโลก พระนเรศวรจึงให้ม้าเร็วไปบอกหลวงโกษา และลูกขุนที่รักษาเมืองพิษณุโลกให้ด่านเมืองเพชรบูรณ์กับด่านเมืองนครไทย สกัดทางไว้อย่าให้หนีไปที่อื่น ที่ทรงสั่งเช่นนี้ก็เพราะถึงอย่างไร ไทยใหญ่ก็เป็นไทย เหมือนกันจึงอยากจะช่วยไว้ แสดงถึงว่าพระองค์ ก็มีลัทธินิยมเชื้อชาติไทยมากอยู่ แต่ความปรากฏว่าพวกไทยใหญ่เหล่านั้นได้พาครอบครัวเข้าไปอาศัยอยู่ในพิษณุโลก ฝ่ายพม่าซึ่งเป็นเจ้านายควบคุมคือนันทะสูกับราชสงคราม ก็มีหนังสือไปขอให้ส่งพวกไทยใหญ่ที่หนีมาแก่พม่า แต่หลวงโกษาไม่ยอมส่งจนกว่าจะมีคำสั่งจากพระนเรศวรให้ส่ง นี่ก็แปลว่าคนไทยที่เป็นพวกของพระนเรศวรเริ่มแข็งข้อกับพม่าแล้ว

    <O:p
    พระนเรศวรยกทัพต่อไปถึงเมืองแครง ซักแซงยอถาง เจ้าเมืองแครงให้ปลัดเมืองมาเชิญให้พระนเรศวรพักพลอยู่นอกเมืองก่อน พระนเรศวรก็มิว่ากระไร เมื่อมันไม่ไว้ใจให้เกียรติเราก็แล้วไป ก็ไปพักพลอยู่ที่ใกล้วัดที่พระมหาเถรคันฉ่องเป็นเจ้าอาวาส

    <O:p
    ฝ่ายทางนันทะบุเรง พระเจ้าหงสาวดีองค์ใหม่ เมื่อเห็นทัพไทยมิได้ยกมาถึงกรุงหงสาวดีตามกำหนดที่ควรจะมาถึงแล้ว ก็ระแวงพระทัย ก่อนที่จะยกทัพออกจากหงสาวดีไปจึงสั่งพระมหาอุปราชาผู้บุตรไว้ว่า ถ้าพระนเรศวรยกมาถึงเมื่อไร ก็ให้หาทางจับฆ่าเสียให้ได้พระมหาอุปราชาก็ชอบใจ เพราะเกลียดหน้าพระนเรศวรมาตั้งแต่เป็นเด็กอยู่ด้วยกันแล้ว พอได้รับคำสั่งจากพ่อก็สมใจ จึงแต่งทัพมีกำลังพลหมื่นหนึ่ง ยกออกไปซุ่มอยู่ในเส้นทางที่พระนเรศวรจะยกมา ทางห่างจากกรุงหงสาวดีวันหนึ่ง

    สมัยนั้นเขาใช้คำนวณระยะทางกันเป็นเวลา แล้วเรียกพระยาเกียรติพระยาพระราม ซึ่งเป็นมอญให้ลงไปคอยรับพระนเรศวรที่ชายแดน ถ้าพระนเรศวรยกขึ้นมาเราจะยกทัพออกตีด้านหน้า ให้พระยาเกียติพระยาพระรามใช้กองทัพที่มอบให้นี้ ตีขนาบข้างหลังขึ้นมา ช่วยกันจับพระนเรศวรประหารเสียให้จงได้ เมืองหงสาวดีเราจึงจะมีอานุภาพแผ่ไพศาลกว่านครทั้งปวง


    แต่พระมหาอุปราชาหาได้เฉลียวใจไม่ว่า สองพระยานั้นเป็นมอญ พม่าเข้ามาครอบครองเมืองมอญอยู่ คนมอญไม่มีทางได้เป็นใหญ่เป็นโตเกินตำแหน่งเจ้าเมืองเลย แม่ทัพก็ไม่เคยได้เป็น แต่พม่าจะทำอะไรก็อ้างเอาว่า เพื่อเมืองมอญทุกที ทำอย่างนี้เป็นเรื่องหลอกใช้กันมากกว่า

    <O:p
    พระยาเกียรติพระยาพระราม ก็ยกทัพไปเมืองแครงเข้าไปทูลพระนเรศวรว่า พระเจ้าหงสาวดีให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองมารับเสด็จขึ้นไป ทูลเท่านั้นแล้ว ก็ไปหาพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งเป็นอาจารย์ของสองพระยานั้น แล้วก็เป็นมอญเหมือนกัน ความลับที่พระมหาอุปราชาสั่งมาก็เลยเล่าให้อาจารย์ฟังด้วย และปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี นี่เขาเรียกว่าพระมหาอุปราชานั้นฉลาด แต่ขาดความเฉลียว


    [​IMG]

    <O:p
    พระมหาเถรคันฉ่องได้ฟัง ก็เห็นว่ามันไม่ยุติธรรม และเพราะท่านเป็นภิกษุมีทางช่วยชีวิตคนได้จึงต้องช่วย จึงนำสองพระยาเข้าไปหาพระนเรศวรแจ้งความทั้งปวงที่ทราบจากศิษย์ต่อพระนเรศวร พระองค์จึงทรงสอบถามสองพระยานั้นอีกครั้ง พระยาเกียรติพระยาพระรามก็ทูลความทั้งสิ้นที่พระมหาอุปราชาสั่งมา

    พระนเรศวรตรัสว่าซึ่งพระคุณเจ้ากรุณาบอกให้ทราบนี้พระคุณหาที่สุดมิได้ แต่ความทั้งนี้รู้ถึงพระเจ้าหงสาวดี พระคุณเจ้าจะเป็นอันตรายมั่นคง ข้าพเจ้าจะนำพระคุณเจ้ากับญาติโยม และสองเจ้าคุณนี้ลงไปกรุงศรีอยุธยาด้วยจะปฎิการะสนองคุณพระคุณเจ้า และเลี้ยงพระยาเกียรติพระยาพระรามโดยกตเวทิธรรมประเวณี แล้วพระองค์ก็ตรัสแก่มุขมาตยาโยธาหาญทั้งปวงว่า



    [​IMG]


    <O:p
    ความผิดเราหามีไม่ ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีคิดร้ายต่อเราก่อนนั้นอันแผ่นดินพระมหานครศรีอยุธยา กับกรุงหงสาวดี เป็นอันขาดพระราชไมตรีต่อกัน เพราะอกุศลกรรมนิยมสำหรับที่จะให้สมณพราหมณ์นานาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อนแล้ว พระองค์ทรงจับคนโทน้ำเต้าทองหลั่งน้ำลงยังพื้นพสุธา ออกพระโอษฐ์ประกาศว่า

    <O:p
    ข้าแต่เทพเจ้าทั้งหลายอันมีมหิทธิฤทธิ์ และทิพจักษุทิพโสตซึ่งสถิตอยู่ทุกทิศานุทิศจงเป็นทิพย์พยาน ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้ตั้งอยู่โดยคลองสุจริตมิตรภาพขัตติยประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไปกรุงพระมหานครศรีอยุธยา กับหงสาวดีมิได้เป็นสุวรรณปฐพีเดียวดุจหนึ่งแต่ก่อนขาดจากกันแต่วันนี้ไป ตราบเท่ากัลปาวสาน

    <O:p
    คำประกาศอิสรภาพนี้ มีผลในทางการเมืองมาก ทุกคนในที่นั้น ย่อมเห็นกันทั่วว่าพระเจ้าหงสาวดีเป็นฝ่ายผิด แต่ฝายไทยนั้นสุจริต มิได้ทำผิดสัญญาก่อน จึงสามารถเรียกร้องความเห็นใจจากคนทั่วไป เมื่อประกาศแล้วพระองค์ก็ถามพวกมอญชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างไหน พม่าหรือไทย ไม่มีใครสักคนว่าเข้าข้างพม่า พระองค์จึงให้จับเจ้าเมืองและกรมการที่เป็นคนพม่าไว้ทั้งหมด เอาเมืองแครงเป็นที่ประชุมทัพ เคลื่อนขบวนออกจากเมืองแครงมุ่งสู่หงสาวดี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2009
  5. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    ทางผมก็กำลังนัดกันอยู่เหมือนกัน แปลนว่าน่าจะเป็น
    วันอาทิตย์ หรือวันอังคาร นะครับ วันอาทิตย์ดูจะสะดวกที่สุด แต่ท่านอื่นไม่รู้จะอย่างไรนะครับ ขอผ่านข่าวนี้ไปถึง
    คุณชานนคนไทย และอ.ไก่ ด้วยนะครับ
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ท่านพี่รู้จริง เมื่อสักสองเดือนก่อน ได้พบกับข้าราชการกรมที่ดิน
    ท่านเกษียณอายุราชการ เล่าให้ฟังเรื่องเวียดนามบอกว่าจะมากินอาหารเที่ยงที่โคราช
    แล้วจะมีกินอาหารเย็นในกรุงเทพฯ ก็ไปเจอเหตุการณ์อย่างที่ท่านพี่ว่า
    คือจีนเปิดสมรภูมิรบในวันนั้นกับเวียดนาม กองทัพจึงเข้ากรุงเทพฯไม่ได้

    นึกแล้ว ท่านผู้อาวุโสแต่ละท่านนี่ มีอะไรเล่าสู่กันฟัง สนุกๆทั้งนั้น ทุกคน อิอิ ชอบมากค่ะ
     
  7. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    ในเมื่อเอ่ยถึงเรื่องนี้แล้วก็ควรจะให้ เครดิต กับท่านที่ไปดำเนินการเรื่องนี้เป็นคุณแก่ประเทศชาติ ท่านผู้นี้ก็คือ
    พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ สมัยยังเป็นผู้บัญชาการทหาร
    บกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่นะครับ ตอนนั้นท่านยังไม่ได้เล่นการเมือง (ตำแหน่งในขณะนั้นอาจจะไม่ถูกต้อง อาจจะยังเป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบกอยู่ก็ได้)
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สาธุ เพิ่งทราบว่าท่านพลเอกชวลิต เป็นผู้คิดนะคะ เก่ง

    เมื่อสักครู่ ฟังข่าวว่า ต่างชาติมาถือครองที่ดินทำนาโดยถือครองเป็นเจ้าของ

    ทำนาแล้วส่งกลับไปประเทศเขา โดยจ้างชาวนาที่เป็นเจ้าของที่ดินเดิม

    ในเงินเดือนเดือนละ 1 หมื่นบาทเพื่อทำนาให้เขา ฟังแล้วสลดใจ บอกไม่ถูก ... เศร้า
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 56

    เหยียบชานกรุงหงสาวดีเอาฤกษ์
    <O:p</O:p
    พระนเรศวรทรงนำทัพข้ามแม่น้ำสโตง เดินทัพไปจนใกล้จนถึงกรุงหงสาวดีแล้ว ก็ได้ทราบข่าวว่า นันทะบุเรงรบพุ่งชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังรีบเร่งเดินทัพกลับกรุงหงสาวดี เห็นว่าจะตีเอากรุงหงสาวดีคราวนี้ยังมิได้ จะถูกทัพที่กลับมานั้นตีกระหนาบหลังจึงให้ทหารไทยแยกกัน เที่ยวบอกคนไทย ให้รีบอพยพกลับพร้อมกับกองทัพ ครั้งนั้นได้ครอบครัวไทยมาประมาณหมื่นเศษ
    <O:p</O:p
    พระมหาอุปราชานั้นไม่รู้ว่าไปอยู่เสียที่ไหน จนกองทัพไทยรับเชลยไทยกลับไปแล้วจึงทราบ จึงจัดทัพให้สุรกรรมาเป็นกองหน้าพระมหาอุปราชาเป็นกองหลวงเอง รีบยกติดตามไป
    <O:p</O:p
    ฝ่ายทัพไทยมาถึงแม่น้ำสโตง พระนเรศวรก็ให้ทหารไปเที่ยวเก็บเรือในบริเวณนั้นมาผูกกับไม้ทำเป็นแพ เร่งขนครอบครัวไทยและช้างม้ารี้พล ข้ามแม่น้ำไปได้หมดสิ้น แล้วพระองค์จึงข้ามไปเสร็จแล้วก็เผาเรือทำลายแพเสียสิ้น แล้วให้นายทัพนายกองนำพระมหาเถรคันฉ่อง กับครอบครัวไทยมอญรีบออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ส่วนพระองค์กับทหารหนึ่งหมื่นห้าพันคนยังรอขอพบกับข้าศึกอยู่ที่ริมฝั่ง


    [​IMG]

    <O:p</O:p
    พระมหาอุปราชากับสุรกรรมา ยกมาถึงริมฝั่งอีกฟากหนึ่งก็หมดปัญญาที่จะข้ามมาได้ พระนเรศวรให้ทหารใช้ปืนหาบปืนแล่น ปืนนกสับยิงระดมข้ามไป แต่ลูกปืนตกในแม่น้ำหมด ไม่มีถึงแม้แต่ลูกเดียว พระนเรศวรเห็นสุรกรรมาอยู่บนคอช้าง แลเห็นเท่าผลมะพร้าว เป็นเป้านิ่งน่าพิสมัยยิ่งนัก จึงเอาปืนนกสับยาวเก้าคืบยิงไป ถูกสุรกรรมาตายกลิ้งตกจากคอช้าง รี้พลพม่ามอญเห็นเป็นอัศจรรย์ตกตลึงไปตามๆกัน ด้วยแม่น้ำสโตงนั้นมันกว้างเกินกำลังปืนสมัยนั้น พระมหาอุปราชาจึงเลิกทัพกลับไป


    [​IMG]

    <O:p</O:p
    พระนเรศวรไม่ยกไปทางเก่า ลัดเข้าทางเมืองกาญจนบุรีนำความกราบทูลพระราชบิดาทุกประการ พระมหาธรรมราชามิได้ว่าอะไร กับการที่พระนเรศวรจัดการไปก่อนทุกอย่าง กลับมอบหน้าที่การต่อสู้ ป้องกันข้าศึก ให้พระนเรศวรมีอำนาจบังคับบัญชาสิทธิ์ขาดตั้งแต่นั้นมา เมื่อได้จัดการให้พระมหาเถรคันฉ่องและญาติโยมรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาพระราม มีที่อยู่ที่กินเป็นหลักฐานแล้วก็กลับเมืองพิษณุโลก เปลื้องเครื่องสุวรรณอลังการขัตติยาภรณ์ออกถวายเป็นพุทธบูชาแต่พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2009
  10. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    เรื่องนี้เราจะโทษใครเล่าครับ จะให้ใครเป็นแพะดี ในเมื่อ
    ทุกคนทุกระดับล้วนพูดกันแต่เศรษฐกิจของประเทศ มูล
    ค่าการส่งออก เงินหรือรายได้กลายเป็นสิ่งสำคัญของชีวิต
    ไปแล้ว พ่อแม่พี่น้องชาวนาต่างก็อยากมี มือถือ มอเตอร์ไซด์ และปิคอัพ ก็จำเป็นต้องขวนขวาย ทุกคน
    ลืมเลือนไม่สนใจกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งความไม่แข็งแรงทางด้านกม. อาจทำให้มีช่องโหว่อยู่บ้าง จะโทษใครเล่าครับ ยังโชคดีที่ตื่นตัวกัน ยังไม่สายนะครับ
    นี่ถ้าไม่ทราบว่าคุณทางสายธาตุจบมาทางด้านวิทย์ คงจะ
    มีคำถามแน่ครับ ว่าทำอย่างไรเราถึงจะช่วยให้พ่อแม่พี่น้อง
    ในต่างจังหวัดและในชนบทส่วนใหญ่ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอ ข้อสำคัญที่สุดสามารถปลดหนี้ปลดสินลืมตาอ้าปากกันได้บ้าง และอย่างเป็นรูปธรรมครับ
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พวกเราชาวไทยตอนนี้เป็นลูกข่างให้ผู้มีอำนาจ ถูกหมุนปั่นติ้ว เริ่มจากความคิดอยากมีสารพัดอย่างคนอื่นเขา จนลืมมองว่า สิ่งของนั้นให้อรรถประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่

    คุ้มกับเม็ดเงินที่ทุ่มลงไป ตัวอย่างนะคะ เช่น ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนพ่อบุญมีอยากมีมอเตอร์ไซด์ จะได้ขี่ไปหาเพื่อนตามบ้าน ขี่ไปเที่ยวในจังหวัดได้

    พ่อบุญมีหาเงิน 4-5 หมื่นมาซื้อไม่ไหว พ่อบุญมีหาได้แต่เงินดาวน์ 5000 บาท ต้องผ่อนมอเตอร์ไซด์ให้เจ้าลูกชาย เดือนละ 1,125 บาท เป็นเวลา 48 เดือน

    ส่วนแม่บุญศรีภรรยาคู่ชีวิต ก็มาบอกว่า แก ฉันอยากได้ทีวีจอโตๆหน่ะ ตามันไม่ดี มองไม่ค่อยเห็นนางเอก เอาแบบสัก 29 นิ้วก็ได้ พ่อบุญมีแกก็เห็นด้วยเพราะ

    แกก็ตาฟางแล้วเหมือนกัน ไปหาซื้อทีวีกันที่ห้าง ดี๊ดี สมัยนี้ โททัด ก็ผ่อนได้ไม่คิดดอกเบี้ย เครื่องละ 12,000 บาท ผ่อน 10 เดือน 1,200 บาทต่อเดือน โทรทัศน์ที่จอโตๆ

    ก็ไม่ได้ให้อรรถประโยชน์ที่มากขึ้นกับพ่อบุญมีและแม่บุญศรี แค่จอมันโตขึ้น แต่ละครเรื่องเดิมที่เคยดู

    แล้วสารพัดเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เริ่มทยอยกันเข้ามาเป็นความจำเป็นปลอมๆในชีวิตชนบทอย่างพ่อบุญมีและแม่บุญศรี

    เงินจากการทำนาได้อย่างมาก 2 ครั้งต่อปี ระหว่างปีจะต้องมีค่าใช้จ่ายกิน เสื้อผ้า ค่าปุ๋ย ค่ารักษาพยาบาล

    และต้องภาวนาให้ข้าวในนาอย่าเป็นอะไรไปก่อนที่จะเก็บเกี่ยว มิฉะนั้น ค่าใช้จ่ายที่ค้างเขาอยู่จะไม่มีเงินไปใช้เขา

    ด้วยความจำเป็นหลอกๆที่ถูกแรงโฆษณาที่มาตาม โททัดของแม่บุญศรีนั่นแหละ ทำให้ครอบครัวนี้มีค่าใช้จ่ายที่แน่นอนต่อเดือน ดังนี้

    ผ่อนมอไซด์ 1,125 บาท ผ่อนโททัด 1,200 บาท และอื่นๆ อาทิ ผ่อนตู้เย็นอีกสัก 500 บาท รวมเป็นเงินที่แน่นอนต้องผ่อน 2,825 บาท

    ขาดผ่อนไม่ได้แม้แต่งวดเดียว เขาไม่ยึดแต่เขาคิดค่าปรับค่าทวงหนี้ อย่างละ 300 บาทต่อเดือน ถ้าไม่ผ่อนเป็นหนี้ค่าทวงหนี้ (งงไหม) เขาอีกเดือนละ 900 บาท

    พ่อบุญมีกับแม่บุญศรีจึงมองว่า ชีวิตชาวนานี้ไม่ดีสู้เป็นลูกจ้างเขาไม่ได้เงินเดือนแน่นอน ถ้ามีเงินเดือนประจำแล้วนะ ผ่อนแค่เดือนละ 2,825 บาทสบายเลย

    แล้ววันหนึ่งก็มีคนมาติดต่อขอซื้อที่ดินในราคาไม่สูงกว่าประเมินแน่นอน ที่ดินในชนบทจะได้เงินก้อนกี่สตางค์ก็ไม่รู้ แต่ไม่น่าจะมาก พ่อบุญมีเทเงินที่ได้มาซื้อรถปิ๊กอัพไปหมดแล้ว

    เพราะเจ้าของที่ดินใหม่เขาสัญญาว่าเขาจะจ้างพ่อบุญมีเดือนละ 10,000 บาทให้ทำนาให้เขา ปุ๋ยก็ไม่ต้องซื้อ นาก็ไม่ต้องเช่า บ้านก็ไม่ต้องย้าย อยู่ที่เดิม แต่มีเงินเดือน

    พ่อบุญมีและแม่บุญศรีมองแล้วมีเงินเดือนประจำนี้ดี ผ่อนอะไรก็ได้ ไม่ต้องขาดส่ง ไม่โดยปรับค่าทวงหนี้อีกแล้ว รถปิ๊กอัพก็มีขี่ ของใช้ในบ้านมีครบครันอย่างกับเศรษฐี

    สิ่งที่พ่อบุญมีและแม่บุญศรีลืมไปก็คือ เงินเดือนหักค่าใช้จ่าย 10,000 - 2,825 บาท เหลือ 7,150 บาท

    เงิน 7,150 บาทในชีวิตของพ่อบุญมีและแม่บุญศรีจะต้องเอาไปใช้อะไรบ้าง

    1. ซื้อข้าวสาร ปลูกให้เขานี่ข้าวก็เป็นของเขา ต่อไปนี้ก็ต้องซื้อกินแล้วนะ เดือนละถังพอกินไหมหล่ะ ถังละ 500 บาท

    2. รถปิ๊กอัพกับมอไซด์ ไม่กินข้าว มันกินน้ำมัน ต้องหาให้มันกิน มันไม่มีกิน มันก็ไม่วิ่ง รถสองคันกินน้ำมัน ปิ๊กอัพสัก 1,500 บาท มอไซด์สัก 500 บาท

    3. ซื้อกับข้าวเท่าที่จำเป็นต้องใช้ กะปิ น้ำปลา เกลือ ที่ทำเองไม่ได้ในท้องถิ่นต้องซื้อ ทั้งเดือนซื้อไป 500 บาท

    4. ค่าไฟฟ้า ค่าประปาต่อเดือน ใช้กับตู้เย็น เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ วิทยุ พัดลม ไฟ ปั้มน้ำ คิดว่าใช้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 500 บาท

    ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำเป็นเงิน 3,500 บาท ยังไม่รวมพวกค่าสันทนาการ เช่นไปดูคอนเสิร์ตวงดนตรีลูกทุ่งในเมือง กับพากันไปเดินเที่ยวห้างในเมือง

    น้ำมันขึ้นที พ่อบุญมีกับแม่บุญศรีก็จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจาก 3,500 บาททันที เงินที่สองคนนี้จะเหลือต่อเดือนคื 7,150 - 3,500 บาท

    เงิน 3,650 บาทที่เหลือต่อเดือนนี้ เก็บกี่ปีจึงจะซื้อที่ดินผืนเดิมกลับมาได้ ราคาที่ดินที่จะซื้อคืนมันคงไม่นั่งรอพ่อบุญมีและแม่บุญศรีที่ราคาเดิมแน่นอน

    สุดท้าย พวกเราก็คือลูกข่างให้นายเงินที่เขาฉลาดกว่าหมุนติ้วๆๆๆ ตราบใดที่ชาวไทยยังไม่เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและนำมาใช้ให้เหมาะสม

    เราก็ต้องเป็นลูกข่างให้นายทุน รวมทั้งเป็นลูกข่างให้กับอีกหลายๆเรื่อง (แต่ไม่พูดในที่นี้มันเป็นเรื่องการเมือง)

    พวกเรามาเดินตามรอยพระบาทในหลวงผู้ทรงเป็นพ่อของชาวไทยกันเถอะค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2009
  12. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    ทำอย่างไรเราถึงจะช่วยให้พ่อแม่พี่น้อง
    ในต่างจังหวัดและในชนบทส่วนใหญ่ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอ ข้อสำคัญที่สุดสามารถปลดหนี้ปลดสินลืมตาอ้าปากกันได้บ้าง

    ปัญหาโลกแตกครับ แต่ทางหนึ่งที่ผมมองว่าอาจจะช่วยได้ก้อคือ ควบคุมให้ค่าครองชีพต่างๆไม่สูงจนเกินไปครับ แม้รายได้จะไม่มากแต่รายจ่ายก้อจะไม่เยอะนัก รายได้ที่ไม่มากนักนั้นก้ออาจจะพอใช้จ่ายได้ครับ

    และผมว่าทางหนึ่งที่จะช่วยเรื่องค่าครองชีพได้ก้อคือ ระวังไม่ให้น้ำมันแพงมากนักครับ เพราะถ้าน้ำมันแพง ค่าขนส่งต่างๆก้อจะแพง ราคาสินค้า/ค่าครองชีพต่างๆก้อจะสูงตามครับ

    ก้อคิดออกแค่นี้ละครับ อิ อิ
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    นั่นซิคุณไก่เหลือง เมื่อก่อนตอนเด็กๆ หลังบ้านจะเป็นสวนฝรั่ง แฟนเจ้าของที่เป็นข้าราชการ ลูก 3 คน ภรรยาอยู่บ้าน เงินเดือน 1200 บาท พอกินมีเหลือเก็บ

    นึกถึงปลาทูอ่าวไทย ตัวอ้วนๆ มันๆ ตัวละหนึ่งบาท ขนาดเป้งๆ อร่อยมากและไม่เหม็นคาว ปลาทูสมัยนี้กินไม่อร่อย เค็ม แห้ง คาว คิดถึงปลาทูอ่าวไทย อร่อยมาก

    กับข้าวต่อมื้อสมัยนั้น 10 บาทก็พอกินแล้ว ปลาทูเป้งๆ 2 ตัว 2 บาท ผักเคียงหาเอาตามธรรมชาติ ผักบุ้งก็มี ตำลึงก็มี พริกมี น้ำปลาอย่างดีขวดละ 3 บาท กะปิไปขอแบ่งซื้อห่อใส่ใบตองกลับบ้าน บางทีแม่ค้าให้ฟรีในฐานะคนคุ้นเคย

    ค่าเดินทางตลอดสาย 50 สตางค์ หลับยาว ไม่ต้องต่อแล้วต่ออีกแบบสมัยนี้ เดี๋ยวนี้ค่าเดินทางกลายเป็นค่าใช้จ่ายหลักของทุกคนไปแล้ว ไม่ใช่ค่ากิน

    เมื่อก่อนรายได้น้อย แต่รายจ่ายน้อยกว่า พอเหลือกินเหลือเก็บ

    เดี๋ยวนี้เงินเดือนสูง ดูเผินๆเหมือนรายได้จะดี แต่รายจ่ายมาก ไม่ค่อยพอกินด้วยซ้ำ

    ปัญหาเรื่องปากท้องของคนไทยตอนนี้ เหมือนวัวที่ถูกผูกไว้กับหลัก เดินวนหลักมาหลายปี ตอนนี้เชือกที่ผูกวัว มันพลาดท่าไหนไม่รู้ มันรัดวัวเข้าให้แล้ว ม๊อออ

    คุณไก่เหลืองฯเคยไปไหว้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่วัดวรเชษฐ์หรือยัง ลองไปดูนะคะ แต่ต้องไปพบพระอาจารย์สิงห์ทนและพระลูกศิษย์ของท่านนะคะ บางทีคุณไก่เหลืองอาจจะชอบค่ะ
     
  14. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    เทียบกับราคาทองแล้ว เงินเดือนของพวกเราไม่เพิ่มเลย ดีไม่ดีจะลดลงด้วยครับ เพราะอัตราเงินเฟ้อสูงมาก

    ยังไม่เคยเลยครับ แต่ก้อได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับวัดนี้มาบ้างพอสมควร[Embarrass
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 57-58

    ปราบคนกลัวพม่ากล้าทรยศต่อชาติ

    เมื่อถึงพิษณุโลกแล้ว หลวงโกษากับลูกขุนก็นำหนังสือนายทัพพม่านันทะสู และราชสงครามที่ตั้งอยู่เมืองกำแพงเพชรทูลถวายพระนเรศวร ให้ตอบจดหมายนายทัพไปว่า ธรรมดาพระมหากษัตริย์ที่ดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมนั้น อุปมาดุจดั่งร่มโพธิ์อันใหญ่ และผู้ที่มาพึ่งพระราชสมภาร ก็หวังจะให้พ้นจากภยันตรายต่างๆ ซึ่งนันทะสูกับราชสงครามจะให้ส่งไทยใหญ่ไปนั้นไม่สมควร ด้วยล่วงขัตติยราชประเพณีธรรม พูดตรงๆ ว่าไม่ส่งจะทำไม ไทยใหญ่หรือไทยก็เชื้อชาติ เดียวกัน
    <O:p</O:p
    สองนายทัพพม่าได้แจ้งในหนังสือก็งงงวยไป นึกว่านี่คนไทยเป็นอะไรไปทำไมไม่กลัวพม่าเสียแล้ว จึงปรึกษากันว่า พระนเรศวรยกทัพไปช่วยกรุงหงสาวดี ขาไปผ่านไปทางนี้ แต่ขากลับไฉนไม่ผ่านมา และบัดนี้ก็มีหนังสือมาว่าเป็นถ้อยคำฉกรรจ์ ทรนงองอาจอย่างนี้ เราเห็นทีจะอยู่มิได้แล้ว จำจะต้องจัดการกวาดต้อนผู้คนพลเมืองกำแพงเพชรพาไปกรุงหงสาวดี จึงจะมีความชอบ เพียงนายทัพพม่าปรึกษากันอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร พระนเรศวรก็ปรึกษาท้าวพระยามุขมนตรีทางพิษณุโลกว่า เราจะปล่อยให้ชาวเมืองกำแพงเพชรฉิบหาย พลัดพรากจากภูมิลำเนาไม่ได้ จึงสั่งให้ข้าหลวงไปจับเอาพวกพม่าที่มาควบคุมอยู่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด ส่งลงไปคุมไว้ในกรุง แล้วออกคำสั่งให้พระยาสวรรคโลกกับพระยาพิชัย ยกไปเอาตัวสองนายทัพพม่านั้น และพระองค์เองก็ยกกองทัพออกจากพิษณุโลกไปด้วย
    <O:p</O:p
    ข้างนันทะสู และราชสงครามทราบความว่า พระนเรศวรยกมา ก็พารี้พลออกจากเมืองกำแพงเพชร พระนเรศวรให้พระยาไชยบูรณ์กับขุนพสี ยกทัพล่วงหน้าตามไป ไปทันกันที่ตำบลแม่รวก ฝ่ายไทยเข้าโจมตีทันที พระยาไชยบูรณ์เข้าชนช้างกับนันทะสู ช้างพระยาไชยบูรณ์เสียทีเบนไป นันทะสูฟันด้วยของ้าว ถูกนิ้วพระยาไชยบูรณ์ข้อขาด พอช้างพระยาไชยบูรณ์กลับได้ล่างค้ำถนัด ช้างนันทะสู ทานกำลังไม่ได้ ก็ขวางตัวพ่ายหนีไป ขุนพสี เข้าชนช้างกับราชสงคราม ช้างพม่าสู้ไม่ได้วิ่งหนีเอาดื้อๆ สองนายทัพพม่าก็หนีรอดไปได้
    <O:p</O:p
    ครั้นมีข่าวว่าคนไทยเกิดสู้กับพม่าขึ้นแล้ว พวกไทยใหญ่ชาวเมืองแสนหวีที่ถูกพม่าเกณฑ์มาใช้ทำงานอยู่ที่เมืองเชียงทองพร้อมกับครอบครัว คนประมาณสองหมื่นเศษ มีเจ้าฟ้าไทยใหญ่สามเมืองนำมาหาพระนเรศวร พระองค์ก็รับไว้ แล้วจัดทัพให้ติดตามพม่าไปแต่ตามไม่ทัน
    <O:p</O:p
    แต่พระยาพิชัยซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมแท้ๆ ครั้นรู้ว่าพระนเรศวรเป็นปรปักษ์กับพระเจ้าหงสาวดี แทนที่จะดีใจกลับเกิดกลัวไปว่าจะพาเอาตัวแกเข้าไปเดือดร้อนด้วย พอได้รับคำสั่งให้ยกทัพไปรบพม่าก็ไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง กลับส้องสุมผู้คนชาวเมืองพิชัย และกวาดเอาครอบครัวเมืองพิชัยพาไปเมืองสวรรคโลก ชักชวนพระยาสวรรคโลกยกไปตีเมืองพิษณุโลก ดดยหวังว่าจะได้ความชอบจากพระเจ้าหงสาวดี พระยาสวรรคโลกก็เห็นดีด้วย แต่หลวงปลัด ขุนยกกระบัตร ขุนนรนายก ไม่ร่วมมือด้วย เห็นว่าเมื่อเราเป็นคนไทยก็ควรช่วยคนไทยด้วยกัน ไม่ควรไปเห็นคนต่างภาษาดีกว่า พระยาทั้งสองโกรธที่มีคนขัดคอ จึงจับผู้คัดค้านสามคนนั้นขังไว้
    <O:p</O:p
    พระนเรศวรขณะที่อยู่ที่เมืองเชียงทอง ทราบว่าสองพระยานั้นเป็นกบฏจึงยกทัพไปเมืองสวรรคโลก ตั้งทัพหลวงที่วัดฤาษีชุม เมื่อปรากฏว่ามีคนไทยที่เป็นข้าราชการ ทำการกบฏเช่นนี้จึงให้ทำพิธีถือน้ำพิพัฒสัตยาขึ้นโดยให้ชุมนุมพราหมณาจารย์ เอาน้ำในบ่อพระสยมภูวนาถ กับน้ำในตระพังโพยศรี มาทำพิธีกรรมเป็นน้ำสัจจาธิษฐานอัญเชิญพระรัตนตรัยเป็นประธาน แล้วให้ท้าวพระยาและทหารดื่มน้ำสัจจานั้น เป็นการผูกมัดจิตใจผู้ที่จะร่วมมือในการกู้ชาติครั้งนี้ แล้วจึงให้ข้าหลวงเข้าไปร้องประกาศ ให้พระยาทั้งสองนั้นออกมาถวายบังคมเสียแต่โดยดีจะไม่เอาโทษ แต่พระยาพิชัยต่อสู้เท่านั้นยังไม่อาจหาญพอ จึงตัดหัวหลวงปลัด ขุนยกกระบัตร ขุนนรนายก โยนออกมาให้ทอดพระเนตร ครั้นเวลาค่ำพระนเรศวรจึงให้ทหารยกเข้าปล้นเมือง แต่ชาวเมืองต่อสู้อย่างเข้มแข็ง จนกระทั่งรุ่งเช้ายังเข้าเมืองไม่ได้
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 59

    รุ่งขึ้นพระนเรศวรยกทัพหลวงมา และแต่งการเข้าปล้นเมืองอีกแต่ก็ยังปีนกำแพงเข้าเมืองไม่ได้ พระนเรศวรเห็นว่าทหารของพระองค์รบไม่เข้มแข็ง ทำการเหยาะแหยะ จึงเอาตัวขุนอินทรเดชผู้เป็นหัวหน้ากับบรรดานายทัพนายกอง ที่ทำการไม่จริงจังนั้นมามัดพาตระเวนรอบกองทัพ แล้วให้ทำทัณฑ์บนว่าจะเข้าปล้นให้สำเร็จจนได้ พระยาไชยบูรณ์พิจารณาแล้วทูลว่า ที่เข้าเมืองไม่ได้เพราะไม่ตั้งค่ายประชิดเมือง ขอให้ปลูกหอรบให้สูงเสมอกำแพงเมืองแล้วเอาปืนใหญ่น้อยยิงสาดเข้าไป เมื่อทหารบนเชิงเทินระส่ำระสายแล้วก็จะปีเข้าเมืองได้ พระนเรศวรเห็นด้วยจึงให้ตัดไม้มาทำตามความคิดของพระยาไชยบูรณ์
    <O:p</O:p
    ครั้นรุ่งขึ้น เวลาบ่ายสองนาฬิกา ก็ยกเข้าเผาประตูเมืองทลายลงด้านหนึ่งทหารจึงกรูเข้าไปเอาบันไดพาดกำแพงเมือง และปีนเข้าไปได้ พระยาสวรรคโลกหนีเข้าไปอยู่บนกุฏิพระ ทหารตามไปจับเอาตัวมาได้ พระยาพิชัยหนีออกจากเมืองทัน จะหนีไปยังเมืองเชียงใหม่ ชาวด่านจับตัวได้ พระนเรศวรให้มัดพระยาทั้งสองพาตระเวนไปรอบทัพประกาศให้รู้ทั่วกันว่า คนที่ทรยศต่อชาติของตนนั้น จะต้องได้รับผลเช่นนี้ แล้วให้ฆ่าเสียอย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่างต่อไป
    <O:p</O:p
    เขมรมาขอเป็นไมตรีใหม่
    <O:p</O:p
    เมื่อปราบคนขลาดทรยศต่อชาติเสร็จแล้ว พระนเรศวรก็ยกทัพกลับ ขณะที่ช้างพระที่นั่งประทับกับเกย ก็เห็นพระบรมสารีริกธาตุปาฎิหารย์เป็นครั้งที่สามคือ ครั้งแรกเมื่อยกทัพออกจากพิษณุโลกไปเมืองแครง ครั้งที่สองเมื่อยกออกจากเมืองแครงไปหงสาวดีและครั้งนี้เห็นลอยผ่านช้างพระที่นั่งจากตะวันตกมาตะวันออกอีก การที่เห็นพระบรมสารีริกธาตุ ทุกครั้งที่พระนเรศวรเสด็จไปทำงานสำคัญให้แก่ชาติเช่นนี้ ทำให้ทหารไทยมีความเชื่อมั่นในบุญญาธิการของผู้นำการกู้ชาติยิ่งขึ้น ครั้นถึงพิษณุโลกก็พบเจ้าหน้าที่จากกรุงศรีอยุธยานำทูตเขมร พร้อมกับพระราชสาส์นของพระยาละแวกมาขอเป็นไมตรีด้วย โดยสารภาพและขออภัยโทษที่ล่วงเกินไทยในครั้งก่อนๆ ทุกประการพระนเรศวรทรงเห็นว่าไทยต้องทำศึกใหญ่กับพม่า จึงไม่ประสงค์ที่จะทำศึกสองด้าน ดังนั้นจึงยอมรับไมตรี<O:p></O:p>
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ประวัติปืนใหญ่ในสยาม

    ประวัติศาสตร์ไทยเราเริ่มตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชอาณาจักรเรามีสงครามและมีการขยายแผ่อาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่พบบันทึกว่าเรามีปืนใหญ่แบบใช้กระสุนดินดำใช้

    จนถึงสมัยกรุงศรีเริ่มมีบัญทึกเกียวกับการใช้ปืนใหญ่ในกองทัพเมื่อปี พ.ศ. 1927 มีการใช้ปืนใหญ่ในทัพหลวงตามหลักฐาน สมัยสมเด็จพระะราเมศวรได้ไปรบที่เชียงใหม่และได้เอาปืนใหญ่ไปด้วยและไช้ปืนใหญ่ยิงกำแพงจนพังนับว่าเป็นการใช้ปืนใหญ่ครั้งแรกที่พบเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์

    ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราชได้ไปตีเชียงกรานจากพม่ารบครั้งมีพวกวิลาศโปรตุเกส 120 คนไปด้วย โดยเป็นทหารปืนไฟและได้พกปืนใหญ่ไปด้วยเมื่อประสบชัยชนะ สมเด็จพระชัยราชาธิราชก็ทรงชอบพวกฝรั่งแขนลายเป็นอันมาก ให้สร้างวัดคริสต์พระราชทานที่แถวๆคลองตะเคียนให้อยู่

    ในรัชสมัยของสมเด็จพระชัยราชาธิราชทหารไทยก็ฝึกการใช้ปืนใหญ่ละปืนไฟของพวกวิลาศโปรตุเกสและตั้งกองทหารขึ้นชื่อว่า กรมพระตำรวจหลวง แต่ก็ยังเป็นปืนใหญ่ประเภทที่เอาไปวางบนกำแพงเมือง

    ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้บุกมารบกับไทยโดยเอาปืนใหญ่มาด้วยไทยกับพม่าก็เอาปืนใหญ่ยิงกันที่ค่ายกาญจนบุรี ยิงไปยิงมา ปืนใหญ่พม่าเยอะกว่าค่ายกาญจนบุรีแตก

    แต่พอพม่าพายเรือมาจะตีกรุงศรีอยุธยา ทหารไทยก็เอาปืนใหญ่ลงเรือรบยิงไล่พม่าจนเลิกทัพกลับไปเลย

    ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการใช้ปืนใหญ่หลายครั้งมาก แต่ที่เด่นๆก็คือ การรบที่บ้านสระเกศ

    ครั้นกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในสงครามเก้าทัพที่มีชื่อเสียงมาก

    เมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรได้เสด็จไปตั้งรับทัพหน้าของพระเจ้าประดุงที่ทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ปืนใหญ่ยิงด้วยลูกกระสุนทำด้วยท่อนไม้ซุงยิงค่ายพม่าจนแตกทัพกลับไป

    ลักษณะของปืนใหญ่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเป็นปืนหล่อด้วยเหล็กกับสัมฤทธิ์ใส่กระสุนทางปากกกระบอกจุดชนวนที่ท้ายปืน ใช้ดินดำยิง มักไม่ไช้ล้อลากไปเวลาเดินทัพ หรือขนใส่เกวียนหรือบรรทุกบนหลังช้าง เวลายิงจะตั้งบนแคร่


    แหล่งข้อมูล

     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตอนทฤษฎีโดมิโนในอินโดจีน ที่น่าเชื่อว่า เวียตนาม
    กำลังมีทีท่าว่าจะบุกประเทศไทย เพราะครั้งนั้น เขมร
    และลาวก็เสร็จหมดแล้ว ทหารเวียตนามเต็มไปหมด
    ประเทศไทยเราก็ได้ไปเจรจากับมหามิตรจีน ขอให้
    ช่วยยกทัพมายอไว้ที่ชายแดนติดกับเวียตนาม รู้สึก
    ว่ามีการสู้รบกันอยู่บ้าง ก็เข้าข่ายในเรื่องการแสดง
    หรือการเข้าตีลวงของจีนเพื่อช่วยเหลือประเทศน้อง

    พูดถึงศัพท์ตัวนี้ ยอ เพิ่งอ่านเจอในหนังสือของท่านพี่จงรักภักดี
    คำว่ายอทัพ เป็นศัพท์โบราณหรือเปล่าคะ

    ---------------------------------------------------------

    สำหรับท่านผู้อ่านกระทู้

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล


    บทที่สาม จะมีตั้งแต่หน้า 42 ถึง 104 ค่ะ ดังนั้นที่เขียนหน้าไว้นั้นอ้างอิงหน้าตามหนังสือต้นฉบับค่ะ บัดนี้เรามากันถึงหน้า 59 แล้วนะคะ

    ตั้งใจว่าจะให้ได้สัก 5-6 หน้าต่อวัน คือต้องพิมพ์ทุกตัวอักษรเลยค่ะ พอดึกหน่อยก็จะพิมพ์ไม่ค่อยได้ ตามันลาย

    ตอนนี้พิมพ์ตุนไว้ถึง 68 แล้วพรุ่งนี้วันหยุดจะนั่งพิมพ์อีกสัก 10 หน้า ถ้าเป็นตามเป้าหมาย
    คือลงให้ได้ 5-6 หน้าต่อวัน อีกประมาณ 8 วันก็จะจบค่ะ

    พิมพ์ครั้งนี้ ในดวงจิตตั้งใจถวายพระเกียรติต่อองค์พระมหากษัตริย์ผู้เสียสละอย่างใหญ่
    หลวงต่อปวงชนชาวไทย รวมทั้งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในอดีต และอุทิศแด่บรรพชน
    ผู้เสียสละทุกผู้ทุกนามทั้งที่ปรากฎชื่อในตำนาน ในพงศาวดาร และผู้ที่มิได้ถูกจารึกชื่อไว้
    ขอทุกพระองค์และขอให้ทุกท่านผู้เสียสละได้ดำรงอยู่ในภพอยู่ในภูมิที่สูงยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2009
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 60


    เตรียมรับศึกใหญ่กับพม่า
    <O:p</O:p
    ระนเรศวรประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2127 มีเวลาเหลือเตรียมรับศึกใหญ่เพียงห้าเดือนเท่านั้น เพราะขณะนั้นเป็นฤดูฝนพม่ายังไม่กล้ายกทัพมา ครั้งถึงเดือน 8 พระนเรศวรก็ส่งพวกไทยใหญ่ที่หนีพม่ามาพึ่งไทยลงไปรวมไว้ในกรุงศรีอยุธยา ครั้นถึงเดือน 8 หลังก็ให้ขุนอินทรเดช ถือพลสามพัน ไปลาดตระเวนถึงเมืองเชียงใหม่และฟังข่าวทางหงสาวดีเพื่อจะดูว่าพม่านำพลมาซุ่มเตรียมการอะไรในแดนของไทยบ้าง ครั้นถึงเดือน 9 ก็นำเอาพระราชกำหนดของพระมหาธรรมราชามาสั่งอพยพคนในเมืองเหนือทุกเมืองลงมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาให้หมด เพราะเห็นว่ารี้พลของไทยมีน้อยกว่าพม่ามาก จะแยกกันต่อสู้เป็นเมืองๆไป กำลังก็อ่อนลง พม่าจะตีเอาทีละเมืองได้โดยง่าย จึงเทครัวลงบรรทุกเรือบ้างแพบ้าง แล้วแต่งเรือคุมป้องกันการหลบหนี จนถึงพระนคร นับเป็นการอพยพครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยครั้งหนึ่ง หัวเมืองเหนือ 7 หัวเมืองกลายเป็นเมืองร้างไป
    <O:p</O:p

    ครั้นถึงเดือน 11 ข้างแรม พระนเรศวรก็ออกจากเมืองพิษณุโลกเป็นขบวนสุดท้าย เมื่อมาอยู่ในพรนครแล้ว พระนเรศวรก็ให้จัดการซ่อมแปลงกำแพงเมือง ป้อมค่ายหอรบรอบพระนคร ให้ขุดคูเมืองด้านตะวันออก ที่บุเรงนองเคยใช้คนขนดินจองถนนข้ามให้กว้างขวางและลึกเท่าแม่น้ำ บรรจบกันรอบพระนครคราวนี้พม่าจะถมแม่น้ำข้ามมากรุงได้ก็ให้รู้ไป เสร็จหน้านาแล้วให้ขนข้าวเข้ามาเก็บไว้ในกรุง พร้อมทั้งเทครัวคนไทยที่ออกไปทำไร่ทำนานอกกรุงเข้าพระนครจนหมด จัดทหารอาสาขึ้นทุกหมู่กรม ตกแต่งเครื่องสรรพาวุธไว้จนพร้อมสรรพ


    <O:p[​IMG]</O:p>
    <O:p
    <O:p
    แผนที่ Villede Siam Ou Juthia ของนิโคลาส แบลแลง

    </O:p

    นอกจากนี้ยังแต่งกองอาสาออกกระจายอยู่ตามบ้านนอกสำหรับเป็นกองโจรในเวลามีสงคราม กองโจรเหล่านี้จะรบกวนและตัดการส่งกำลังบำรุงของข้าศึกให้อ่อนกำลังลงได้ภูมิประเทศที่อุดมดีโดยรอบพระนครก็ทำให้มันกลายเป็นพื้นที่ทุรกันดารไป เตรียมเรือรบไว้บรรทุกปืนใหญ่ไปเที่ยวยิงข้าศึกในคูเมืองทั้งสี่ด้าน จัดการระวังทางส่งเสบียงของข้าศึกไว้ล่วงหน้า การเตรียมรับศึกครั้งนี้จะเห็นว่าผิดจากครั้งพระมหาจักรพรรดิเป็นกษัตริย์มากทีเดียว แทบจะกล่าวได้ว่าต่อให้ผีบุเรงนองมาเห็นเข้า ก็ไม่มีปัญญาจะตีให้แตกได้อีกแล้ว<O:p</O:p


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,923
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 61


    ศึกพระยาพะสิม
    <O:p</O:p
    พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ทรมานใจอยู่ด้วยโทสะจนปลายฤดูฝน พอถึงเดือน 10 พ.ศ. 2127 ก็สั่งให้พระเจ้าเชียงใหม่มังนรธาช่อซึ่งเป็นอนุชาถือพลแสนหนึ่งลงมาทางเมืองกำแพงเพชร ให้พระยาพะสิมผู้เป็นอาว์ถือพลสามหมื่นยกมาทางกาญจนบุรี ให้ทั้งสองทัพมาบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยา สั่งอย่างนี้ก็สั่งได้ก็มันมาคนละทิศละทาง และอยู่ห่างกันเป็นร้อยโยชน์ แล้วจะไปพบกันในวันไหนก็ไม่บอกสั่งอย่างนี้มันก็พังเท่านั้น แล้วก็พังจริงๆ ในเดือนอ้ายนั้นยังไม่ถึงนครสวรรค์
    <O:p</O:p
    ฝ่ายไทยพระมหาธรรมราชา ก็ให้พระเจ้าลูกเธอทั้งสองเตรียมกองทัพไว้ก่อน ให้พระยาจักรีเป็นที่สมุหนายก ยกไปเมืองสุพรรณบุรีโดยทางเรือ พอไปถึงก็ยิงปืนใหญ่จากเรือขึ้นไป ถูกพม่าตายหลายคน พระยาพะสิมเห็นไม่เป็นการ ก็ย้ายทัพไปตั้งอยู่เขาพระยาแมน พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถยกทัพเรือไปถึงลุมพลี ก็ขึ้นบกยกไปตั้งอยู่สามขนอนให้เจ้าพระยาสุโขทัยถือพลหมื่นหนึ่ง ออกก้าวสกัดตีทัพพระยาพะสิม เกิดรบกันเป็นตลุมบอน ทหารพม่ามอญล้มตายลงมากก็แตกไป พระยาพะสิมรุดหนี เจ้าพระยาสุโขทัยไล่ไปถึงกาญจนบุรี จับได้ช้างม้ามาถวายเป็นอันมาก ทัพหลวงรอท่าอยู่ 7 วันไม่เห็นพม่ามาต่อสู้อีกก็กลับพระนคร

    [​IMG]
    <O:p</O:p
    ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ ยกทัพมาถึงนครสวรรค์ และล่องลงมาถึงชัยนาทโดยมิรู้ว่าทัพพระยาพะสิมแตกไปแล้ว โดยไชยกะยอสู กับ นันทะกะยอสู เป็นทัพหน้า มาตั้งอยู่บางพุทรา และบางเกี่ยวหญ้า พระนเรศวรกับพระอนุชายกทัพเรือขึ้นไปตั้งที่ตำบลชะไว ให้พระราชามานูกับขุนรามเดชะ ยกทัพกับพลอาสาขึ้นไปตีทัพพม่าที่บางเกี่ยวหญ้าสองนายทัพพาพลไปซุ่มอยู่ในป่า พอข้าศึกออกมาหาเสบียงและเกี่ยวหญ้าให้ช้าง ก็รุกไล่ฆ่าฟันข้าศึกขึ้นไปจนถึงค่าย ได้ช้างม้าเชลยพม่าส่งลงมาเป็นอันมาก
    <O:p</O:p
    ไชยกะยอสูกับนันทะกะยอสู ก็ถอยไปหาทัพใหญ่ที่ชัยนาท พระเจ้าเชียงใหม่รู้ข่าวว่าพระยาพะสิมแตกไปแล้ว ขืนอยู่ไปก็สู้ไทยไม่ได้จึงเลิกทัพกลับไปรอฟังคำสั่งพระเจ้าหงสาวดีใหม่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...