"กระทู้กดปุ่ม".. Supatorn คอลเล็คชั่น และ ภาคผนวก

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย รูปติดบัตร, 2 มกราคม 2018.

  1. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,359
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    monkey teaching.jpg
     
  3. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    หมอชีวกโกมารภัจจ์

    หมอชีวกโกมารภัจจ์.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2024
  4. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    เพจกองทุนธรรมทานวัดท่าซุง
    https://www.facebook.com/thammathasung/?ref=page_internal

    เพจมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
    https://www.facebook.com/PathToNirv...G7Mj6CXKntrZlzeR7TM6lPinmc1sV6LHULkeA&fref=nf
    มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 7 ภาพลงในอัลบั้ม: ประชาสัมพันธ์ เส้นทางมาวัดท่าซุง
    18 ชม. ·
    ขอแจ้งประชาสัมพันธ์ สำหรับท่านที่เดินทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี โดยรถตู้โดยสาร จากกรุงเทพฯขึ้นที่ขนส่งหมอชิตและรถจะข้ามสะพานมโนรมย์ที่เพิ่งสร้างเสร็จ มาส่งได้ที่หน้าวัด
    ส่วนขากลับไปกรุงเทพฯ จะมีรถตู้จอดที่หน้าร้านอาหาร อรวรรณ์ ตรงข้ามทางเข้าวิหารแก้ว 100 เมตร วัดท่าซุง เป็นจุดบริการรถตู้เดินทาง อุทัยธานี-กรุงเทพฯ โดยไม่ต้องไปขึ้นรถที่ บขส. ซึ่งสอบถามได้ตามหมายเลขจากภาพรถตู้นี้
    65391211_1219775071533276_3718547590699024384_n.jpg
    65995001_1219775061533277_8271521612348522496_n.jpg 65528840_1219775248199925_7103782676728905728_n.jpg 65310374_1219775128199937_2638496391021723648_n.jpg 65747548_1219775121533271_4321484552934522880_n.jpg 65503379_1219775188199931_4498962162202443776_n.jpg 65813695_1219775201533263_5762033437464592384_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  5. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    ศรัทธาพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    51 นาที
    " เวลาพวกเราจะสร้างบาปสร้างกรรมก็ไม่ได้คิดว่าผลมันจะเกิดขึ้นมาอย่างไร สร้างแบบเอาจิตใจว่า จิตใจเป็นใหญ่ เอาตัวตนเป็นใหญ่ เมื่อถึงเวลากรรมมันให้ผลก็พากันวิ่งหาสังฆทาน พากันวิ่งหาพระหาเจ้า ดูความบ้าของสัตว์โลก สิ่งที่ดีๆ ที่จะทำให้ตัวเองมีความสุขมีถมไป แต่ก็ไม่พากันทำ...โถมนุษย์เรา "

    พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ
    วัดสามัคคีบุญญาราม อ.เมือง จ.ลำปาง
    c_oc=AQltHoXncVPQLQGX1mr8vAfmVlgKXgnSmO8C29z29U3qBveJJeBxNQPjiK0zGnafk9Y&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg
    .
     
  6. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    58 นาที

    ข้อมูลอีกด้านของชาวยิว ในสหรัฐอเมริกา:

    เวลาพูดถึงชาวยิว โดยปรกติจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่มครับ คือกลุ่มยิวทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มชาวยิวที่ดี และกลุ่มชาวยิวไซออนิสต์ซึ่งเป็นกลุ่มชาวยิวที่รุกรานบ้านอื่นเมืองอื่นเพื่อขยายประเทศอิสราเอล ผมจะต่อต้านพวกยิวประเภทที่ ๒ นี้เท่านั้น เพราะอะไร?

    ๑.สมัยผมเรียนปริญญาโทและเอกต่างประเทศ ครูอาจารย์หลายๆ ท่านเป็นยิว พวกนี้ ทุ่มเทให้แก่คัมภีร์พระพุทธศาสนาอย่างมาก หลายๆ ท่านเป็นระดับที่เขียนสารานุกรมหรือพจนานุกรมอธิบายศัพท์พระพุทธศาสนาด้วยซ้ำ

    ๒.ถ้ามีโอกาสไปสหรัฐอเมริกาและเข้าไปร้านหนังสือซึ่งขายหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ตรวจดูให้ดีๆ ครับ ตำราทางพระพุทธศาสนาซึ่งทุกวันนี้มีเป็นจำนวนมาก คนเขียนจำนวนมากเป็นยิวครับ

    ข่าวข้างล่างระบุว่าพระภิกษุโพธิ ชาวอเมริกันพยายามที่จะเอาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาไปก่อให้เกิดประโยชน์ชาวอเมริกัน ท่านไปพูดที่ไหนก็แล้วแต่ ท่านจะกระตุ้นให้นักวิชาการอเมริกัน พระสงฆ์อเมริกันนิกายต่างๆ ให้ขยันอธิบายหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาให้เกิดประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองให้มากที่สุด

    อดีตท่านเป็นนักศึกษาปรัชญา ที่หันมาเน้นพุทธปรัชญา แต่ท่านจะไม่เหมือนนักเรียนปรัชญาแบบไทยๆ หลายคนซึ่งจำกัดความคิดอยู่แค่ระดับทฤษฎี ท่านหันมาทุ่มเทถึงระดับภาคปฏิบัติด้วย ท่านเรียนทั้งปริยัติ และเน้นภาคปฏิบัติมานาน ก่อนจะไปปักหลักเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่บ้านเกิดของท่าน ท่านเกิดในครอบครัวชาวยิว

    ในขณะที่สังคมอเมริกันกำลังเป๋เพราะยิวชั่วคือยิวไซออนิสต์ ก็ยังมีกลุ่มยิวดีๆ อีกจำนวนมากที่พยายามดึงสังคมให้กลับมาตรงทางมากขึ้นเช่นเดียวกัน

    ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒

    https://hailscience.com/…/venerable-bhikkhu-bodhi-present…/…

    h=600&url=https%3A%2F%2Fhailscience.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F05%2Faabb9980f0-1000x600.jpg Venerable Bhikkhu Bodhi presents moral vision in age of crisis
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,359
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  8. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    17 ชม. ·
    ภาพประวัติศาสตร์: ไปปฏิบัติศาสนกิจที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์:

    สมัยเจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ปัจจุบัน ยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมเมธาภรณ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกได้ทรงมอบหมายให้พระองค์และคณะสงฆ์ธรรมยุตอื่นๆ ไปดูงานพระศาสนาที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพื่อหาทางสนับสนุนให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแพร่หลาย

    ผมได้รับมอบหมายให้ร่วมเดินทางไปช่วยเป็นล่ามและเลขานุการคณะพระสงฆ์ มีหน้าที่เขียนรายงานการเดินทางเสนอผู้ใหญ่ด้วย กลับจากภารกิจนี้ ผมก็เดินทางไปเรียนต่อที่อังกฤษ

    ภาพนี้ หายากครับ สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเองก็อาจไม่มีเพราะมาจากกล้องผม ปัดกวาดห้อง นั่งดูรูปเก่าๆ เห็นเข้าก็เลยขอนำมาโชว์ครับ^^

    c_oc=AQlpyRDlf_XZsr6-TCFI-g4t1ooOGmOMnD6x0S-UwYVr1Bu1AecEY-ofdrBuY1Dofk8&_nc_ht=scontent.fbkk5-3.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2019
  9. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    Kanok Ratwongsakul Fan Page
    12 ชม. ·
    เมื่อคณะพระสงฆ์ไทย ออกธุดงค์ธรรมจาริก บนแผ่นดินศรีลังกา เชิญชมภาพแห่งศรัทธาของชาวศรีลังกา ไม่ว่ายากดีมีจนขนาดไหน ทุกคนถือเป็นบุญอันสูงสุด ที่มีคณะสงฆ์เดินมาให้กราบถึงหน้าบ้าน.. ชมแล้วพลอยอิ่มเอม..น้ำตารื้นไปด้วย
    .
    " วันพระ "
    วันพฤหัสบดีที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๒
    ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน
     
  10. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    เมืองสาวัตถี
    57 นาที ·
    เรื่องนางอุมมาทันตี

    ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    บัดนี้จะนำธรรมะจากอรรถกถาว่าด้วยเรื่อง เสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชานำมาเสนอให้อ่านเพื่อเป็นคติธรรมสืบต่อไป

    c_oc=AQnVVeoTbptuBKziZamI1xydgV8M7g-BXFJB5EU1GLjJ6fiV9tdwbsxZ4XPkgaIlY2Q&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภอุกกัณฐิตภิกษุ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า นิเวสนํ กสฺส นุทํ สุนนฺท ดังนี้เป็นต้น.

    ได้ยินว่า วันหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้มองเห็นหญิงคนหนึ่ง ซึ่งประดับตกแต่งร่างกาย มีรูปร่างงดงามอย่างยิ่ง เกิดมีจิตปฏิพัทธ์ ไม่อาจจะกลับใจหักห้ามได้ มายังวิหาร.

    จำเดิมแต่นั้น ก็เป็นผู้อ่อนแอเพราะโรค ดุจถูกลูกศรทิ่มแทงแล้ว มีส่วนเปรียบด้วยเนื้อที่วิ่งพล่านไป ผ่ายผอม ร่างกายมีเส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง กลายเป็นคนผอมเหลือง ไม่ยินดี (ในพระศาสนา) เมื่อไม่ได้ความสบายใจแม้ในอิริยาบถหนึ่ง จึงละเว้นวัตรมีอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเป็นต้น อยู่ชนิดที่เว้นว่างจากการประกอบความเพียรในอุทเทส ปริปุจฉาและกัมมัฏฐาน.

    เธอถูกพวกเพื่อนภิกษุถามว่า อาวุโส เมื่อก่อน ท่านมีอินทรีย์เปล่งปลั่ง มีสีหน้าผ่องใส แต่เดี๋ยวนี้ หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ เพราะเหตุอะไรกันหนอ?
    จึงตอบว่า อาวุโส ผมไม่ยินดียิ่ง (ในพระศาสนา) เลย.
    ธง2.jpg

    ลำดับนั้น พวกเพื่อนภิกษุเหล่านั้นจึงกล่าวสอนเธอว่า อาวุโสเอย! ท่านจงยินดียิ่ง (ในพระศาสนา) เถิด ธรรมดาว่า การอุบัติเกิดแห่งพระพุทธเจ้า เป็นสภาวะที่ได้โดยยาก การได้ฟังพระสัทธรรม และการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ก็เป็นสิ่งที่ได้โดยยากเหมือนกัน ท่านนั้นได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อปรารถนาจะทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ได้ จึงละคน ผู้เป็นญาติมีน้ำตานองใบหน้าแล้ว บวชด้วยศรัทธา เพราะเหตุไร ท่านจึงตกไปสู่อำนาจแห่งกิเลสเล่า ขึ้นชื่อว่า กิเลสเหล่านั้นมีทั่วไปแก่คนพาลทุกจำพวก ตั้งแต่สัตว์มีชีวิตไส้เดือนขึ้นไป มีอุปมาเหมือนผลไม้ กิเลสเหล่านั้นเป็นที่ตั้งแห่งวัตถุกาม. กามแม้เหล่านั้นมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีประมาณยิ่ง.

    กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างกระดูก กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมเขามา กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลของต้นไม้ที่มีพิษ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกและหลาว กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู.

    ธรรมดาว่า ท่านบวชแล้วในพระศาสนาเห็นปานนี้ ยังตกไปสู่อำนาจของเหล่ากิเลส ซึ่งเป็นเหตุกระทำความพินาศถึงอย่างนั้นได้ดังนี้
    ลายไทย1.jpg

    เมื่อไม่สามารถจะให้ ภิกษุนั้นรับเอาถ้อยคำของตนได้ จึงพากันนำไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ยังธรรมสภา.

    เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่มีความปรารถนาจะมา ทำไม?
    จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทราบว่า ภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มีความเบื่อหน่าย เจ้าข้า.

    พระศาสดาตรัสถามว่า ที่เล่ามาเป็นความจริงหรือ.
    เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เป็นความจริง พระเจ้าข้า ดังนี้.

    จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ตามพร่ำสอน ซึ่งพระราชาผู้ครอบครองราชสมบัติอยู่ จนไม่ตกไปสู่อำนาจกิเลสที่เกิดขึ้น ห้ามจิตเสียได้ ไม่ยอมทำสิ่งที่ไม่สมควร ดังนี้.

    แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า
    ในอดีตกาล ในแคว้นสีวี พระราชาทรงพระนามว่า สีวี ทรงครอบครองราชสมบัติ ในอริฏฐบุรีนคร. พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์พระอัครมเหสี ของพระราชาพระองค์นั้นแล้ว. พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายพากันขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า สีวิกุมาร. แม้บุตรของท่านเสนาบดีก็คลอดแล้ว. พวกหมู่ญาติพากันตั้งชื่อเด็กนั้นว่า อภิปารกะ. เด็กทั้งสองคนนั้นเป็นสหายกัน พอเจริญวัยมีอายุได้ ๑๖ ปี ไปยังกรุงตักกสิลา พอเล่าเรียนศิลปะจบแล้ว ก็พากันกลับมา.

    พระราชาได้ทรงพระราชทานพระราชสมบัติให้พระราชโอรสครอบครอง. แม้พระราชโอรสนั้นก็ทรงแต่งตั้งอภิปารกะไว้ในตำแหน่งเสนาบดีแล้ว ทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรม.

    c_oc=AQnnNaJVkLoAaJ0nwxDQidrwi-c_bga1V6YmLZaAtU-Nkz9OJ7mt3j-s3H4-H1OfWvY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ในพระนครนั้นนั่นเอง มีบุตรสาวของท่านติริฏิวัจฉเศรษฐี ผู้มีทรัพย์สมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ เธอมีรูปร่างสวยยิ่งนัก เลอเลิศด้วยความงาม ประกอบด้วยลักษณะอันงดงาม ในวันตั้งชื่อ หมู่ญาติได้ตั้งชื่อเธอว่า อุมมาทันตี. ในเวลาเธอมีอายุได้ ๑๖ ปี เธอมีผิวพรรณเกินล้ำหมู่มนุษย์ งดงาม น่าดูน่าชม ปานเทพยดาชั้นฟ้า. พวกปุถุชนที่พบเห็นเธอเข้าทุกคนๆ คน ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้โดยภาวะของตน เป็นผู้เมาแล้ว ด้วยความเมาคือกิเลส เหมือนเมาแล้วด้วยน้ำเมา ฉะนั้น ชื่อว่าสามารถจะตั้งสติได้ ไม่ได้มีแล้ว.

    ครั้งนั้น ท่านติริฏิวัจฉะผู้เป็นบิดาของนาง เข้าไปเฝ้าพระราชา แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อิตถีรัตนะอันสมควรแด่พระเจ้าแผ่นดิน ได้บังเกิดขึ้นแล้วในเรือนของข้าพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดส่ง พราหมณ์ผู้ทำนายลักษณะทั้งหลายไปให้พิจารณาอิตถีรัตนะนั้นแล้ว โปรดจงทำตามความพอพระทัยเถิด.

    พระราชาทรงรับคำแล้ว ทรงสั่งพราหมณ์ทั้งหลายไปแล้ว. พราหมณ์เหล่านั้นไปยังเรือนของท่านเศรษฐีแล้ว ได้รับการต้อนรับด้วยสักการะและสัมมานะ พากันบริโภคข้าวปายาสแล้ว.
    ธง1.png

    ในขณะนั้น นางอุมมาทันตีผู้ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ได้ไปสู่สำนักของพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว. พราหมณ์เหล่านั้นพอพบเห็นนางเข้า ก็ไม่สามารถจะดำรงสติไว้ได้ เป็นผู้เมาด้วยความเมาคือกิเลส ไม่ได้รู้เลยว่าตนกำลังบริโภคค้างอยู่. บางพวกก็จับคำข้าวเอาวางไว้บนศีรษะ ด้วยสำคัญว่าเราจะบริโภค. บางพวกก็ยัดใส่ในระหว่างซอกรักแร้. บางพวกก็ทุบตีฝาเรือน. พวกพราหมณ์ได้กลายเป็นคนบ้าไป แม้ทั้งหมด.

    นางเห็นพราหมณ์เหล่านั้นเข้า จึงกล่าวว่า ทราบว่าพราหมณ์เหล่านี้จักตรวจดูลักษณะของเรา ท่านทั้งหลายจงลากคอพราหมณ์เหล่านั้นออกไปให้หมด ดังนี้แล้วให้คนรับใช้นำพราหมณ์เหล่านั้นออกไป. พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ขวยเขิน ไปยังพระราชนิเวศน์แล้ว โกรธต่อนางอุมมาทันตี จึงกราบทูลความเท็จว่า ขอเดชะ ผู้หญิงคนนั้นเป็นหญิงกาลกรรณี มิได้สมควรแก่พระองค์เลย พระเจ้าข้า.

    พระราชาทรงทราบว่า หญิงคนนั้นเป็นกาลกรรณี จึงมิได้ทรงรับสั่งให้นำหญิงนั้นมา.
    นางอุมมาทันตีได้ทราบเรื่องนั้นแล้วจึงกล่าวว่า พระราชาไม่ทรงรับเราด้วยทรงสำคัญว่า ทราบว่า เราเป็นคนกาลกรรณี ขึ้นชื่อว่าหญิงกาลกรรณี ย่อมไม่มีรูปร่างอย่างนี้เป็นแน่ ดังนี้. จึงผูกอาฆาตในพระราชาพระองค์นั้นว่า ช่างเถอะ ก็ถ้าว่าเราจักได้เข้าเฝ้าพระราชา ก็จักรู้กัน.

    ครั้นต่อมา ท่านบิดาได้มอบเธอให้แก่ท่านอภิปารกะ. นางได้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของท่านอภิปารกะเสนาบดี.
    ถามว่า ก็นางได้มีรูปร่างงดงามอย่างนี้ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร?
    ตอบว่า ด้วยวิบากแห่งการถวายผ้าแดง.

    ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี นางได้บังเกิดในตระกูลที่ขัดสน. ในวันมหรสพ เธอมองเห็นผู้หญิงทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยบุญ นุ่งผ้าที่ย้อมแล้วด้วยดอกคำ ประดับประดาตกแต่ง กำลังเล่นกันอยู่ เป็นเหตุให้เธอต้องการจะนุ่งผ้าเช่นนั้นเล่นกับเขาบ้าง จึงบอกให้มารดาบิดาได้ทราบ. เมื่อท่านทั้ง ๒ นั้นกล่าวว่า ลูกเอ๋ย! พวกเราเป็นคนจนขัดสน พวกเราจะได้ผ้าอย่างนั้นแต่ที่ไหนเล่า ดังนี้.
    ดอกไม้ (30).jpg

    จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงอนุญาตให้เราทำการรับจ้างในตระกูลมั่งคั่งแห่งหนึ่งเถิด พวกนายจ้างเหล่านั้นรู้คุณของเราแล้ว ก็คงจักให้เอง ดังนี้. พอได้รับอนุญาตจากมารดาบิดาแล้ว จึงเข้าไปยังตระกูลหนึ่ง กล่าวว่า ดิฉันมาสมัครทำงานรับจ้าง เพื่อต้องการผ้าที่ย้อมด้วยดอกคำ. ลำดับนั้น พวกนายจ้างกล่าวกะเธอว่า เมื่อเจ้าทำงานครบ ๓ ปีแล้ว พวกเรารู้คุณความดีของเจ้า แล้วจักให้แน่. นางรับคำแล้วเริ่มทำงาน พวกนายจ้างเหล่านั้นรู้คุณความดีของนางแล้วในเมื่อยังไม่ครบ ๓ ปีบริบูรณ์ดีนั่นเอง จึงได้มอบผ้าชนิดอื่น พร้อมกับผ้าที่ย้อมแล้วด้วยดอกคำชนิดเนื้อแน่นให้แก่นาง แล้วสั่งนางว่า เธอจงไปอาบน้ำพร้อมกับพวกสหายของเธอเสร็จแล้ว จงลองนุ่งผ้า (นี้ดู). นางไปกับพวกหญิงสหายแล้ว วางผ้าที่ย้อมแล้วไว้บนฝั่ง อาบน้ำแล้ว.

    ในขณะนั้น พระสาวกของพระทศพลทรงพระนามว่ากัสสปะ รูปหนึ่ง มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป นุ่งและห่มกิ่งไม้ที่หัก ได้มาถึงยังที่นั้นแล้ว. นางเห็นท่านแล้วคิดว่า ท่านผู้เจริญรูปนี้ เห็นทีจักถูกโจรชิงจีวรไปแล้ว ผ้านุ่งของเราเป็นของหาได้ยาก เพราะไม่ได้ให้ทานไว้ แม้ในกาลก่อน จึงฉีกผ้านั้นออกเป็น ๒ ส่วน คิดว่าจักถวายส่วนหนึ่งแด่พระผู้เป็นเจ้า ดังนี้ ขึ้นจากน้ำแล้ว นุ่งผ้านุ่งสำหรับส่วนตัว แล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์หยุดก่อน เจ้าข้า. จึงไปไหว้พระเถระแล้ว ฉีกผ้านั้นในท่ามกลาง ได้ถวายส่วนหนึ่งแก่พระเถระนั้น. พระเถระนั้นยืนอยู่ในที่กำบังส่วนหนึ่ง ทิ้งกิ่งไม้ที่หักได้เสีย นุ่งผ้าผืนนั้นชายหนึ่ง ห่มชายหนึ่ง แล้วจึงออกไป.

    ลำดับนั้น เพราะรัศมีแห่งผ้าอาบทั่วร่างพระเถระ ได้มีแสงรัศมีเป็นอันเดียวกัน ดุจดังพระอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ ฉะนั้น. นางมองดูพระเถระนั้นแล้ว คิดว่า ทีแรก พระผู้เป็นเจ้าของเราไม่งามเลย บัดนี้ งามรุ่งโรจน์ดุจพระอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ ฉะนั้น. เราจักถวาย แม้ผ้าท่อนนี้แก่พระผู้เป็นเจ้านี้แหละ แล้วถวายผ้าส่วนที่สอง ได้ตั้งความปรารถนาว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันเที่ยวไปในภพ พึงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งรูปอันงดงาม คนใดคนหนึ่งพบเห็นดิฉันแล้ว อย่าได้อาจดำรงอยู่โดยภาวะของตนเลย. ผู้หญิงอื่นที่ชื่อว่า มีรูปสวยงามเกินกว่าดิฉัน อย่าได้มีเลย. แม้พระเถระกระทำอนุโมทนาแล้ว ก็หลีกไป.

    นางท่องเที่ยวไปในเทวโลก บังเกิดในอริฏฐบุรี ในกาลนั้นแล้ว ได้มีรูปร่างงดงาม เหมือนอย่างที่ได้ปรารถนาไว้แล้วนั้น.
    รถ.jpg

    ลำดับนั้น ในพระนครนั้น ประชาชนทั้งหลายได้โฆษณา งานมหรสพประจำเดือนกัตติกมาส (เดือน) ประชาชนทั้งหลายได้ตระเตรียมพระนครไว้ในวันมหรสพ เพ็ญเดือนกัตติกมาสแล้ว.

    ท่านอภิปารกเสนาบดี เมื่อจะไปยังที่รักษา (ที่ทำงาน) ของตน จึงเรียกภริยาสุดที่รักนั้นมาแล้วพูดว่า อุมมาทันตี น้องรัก! วันนี้ เวลาค่ำคืนแห่งกัตติกมาสจะมีมหรสพ พระราชาจักทรงทำประทักษิณพระนคร เสด็จผ่านประตูเรือนของเรานี้ เป็นเรือนแรก น้องอย่าปรากฏตัวให้พระราชาทรงเห็นนะ เพราะถ้าพระองค์เห็นน้องแล้ว จักไม่อาจดำรงสติไว้ได้.

    นางอุมมาทันตีนั้นรับคำสามีว่า ไปเถอะ คุณพี่ (ถึงเวลานั้นแล้ว) ดิฉันจักรู้ ดังนี้.
    เมื่อสามีไปแล้ว จึงสั่งบังคับนางทาสีว่า ในเวลาที่พระราชาเสด็จมายังประตูเรือนของเรานี้ เจ้าจงบอกแก่เราให้ทราบด้วยนะ. ลำดับนั้น เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว พระจันทร์เพ็ญลอยเด่นขึ้นแทนที่. พระนครที่ประดับประดาตกแต่งแล้ว ดูงดงามปานเทวนคร ประทีปลุกโพลง สว่างไสวทั่วทุกทิศ.

    พระราชาทรงประดับตกแต่งด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ทรงประทับบนรถม้าคันประเสริฐ แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ทรงกระทำประทักษิณพระนครด้วยยศใหญ่ เสด็จถึงประตูเรือนของท่านอภิปารกเสนาบดีเป็นเรือนแรกทีเดียว. ก็เรือนหลังนั้นแวดล้อมด้วยกำแพงสีดังมโนศิลา มีหอคอยอยู่ที่ซุ้มประตูอันประดับตกแต่งจนงามเลิศ น่าดูชม.

    ขณะนั้น นางทาสีได้เรียนแจ้งให้นางอุมมาทันตีทราบแล้ว. นางอุมมาทันตีให้นางทาสีถือพานดอกไม้แล้ว ยืนพิงบานหน้าต่างด้วยลีลาอันงดงามดุจนางกินรีโปรยดอกไม้ใส่พระราชา. พระราชาเหลือบแลดูนาง ทันทีก็เกิดความเมาด้วยความเมา คือกิเลส ไม่อาจจะดำรงสติไว้ได้ จนไม่สามารถจะจำได้ว่า เรือนหลังนี้เป็นของท่านอภิปารกเสนาบดี.
    รถไฟ1.png

    ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกนายสารถีมาแล้ว เมื่อจะตรัสถาม จึงได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า
    [๒๐] ดูก่อนนายสุนันทสารถี นี่เรือนของใครหนอล้อมด้วยกำแพงสีเหลือง ใครหนอปรากฏอยู่ในที่ไกล เหมือนเปลวไฟอันลุกโพลงอยู่บนเวหาส และเหมือนเปลวไฟบนยอดภูเขา ฉะนั้น.

    ดูก่อนนายสุนันทสารถี หญิงคนนี้เป็นธิดาของใครหนอ เป็นลูกสะใภ้หรือเป็นภรรยาของใคร ไม่มีผู้หวงแหนหรือ สามีของนางมีหรือไม่ เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกแก่เราโดยเร็ว.

    ลำดับนั้น นายสารถี เมื่อจะกราบทูลแจ้งเนื้อความแด่พระราชา จึงได้กราบทูลคาถา ๒ คาถาว่า
    [๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ก็ข้าพระองค์ย่อมรู้จักหญิงนั้น พร้อมทั้งมารดา บิดา และสามีของนาง. ข้าแต่พระจอมภูมิบาล บุรุษนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ในประโยชน์ของพระองค์ ทั้งกลางคืนกลางวัน.

    สามีของนางเป็นผู้มีอิทธิพล กว้างขวาง และมั่งคั่ง ทั้งเป็นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์. ข้าแต่พระราชา หญิงนั้น คือภรรยาของอภิปารกเสนาบดี เธอมีชื่อว่า อุมมาทันตี พระเจ้าข้า.

    จริงอยู่ หญิงคนนี้ย่อมทำบุรุษผู้ที่มองดูนางให้หลงใหลคล้ายคนบ้า คือไม่ให้บุรุษนั้นดำรงสติอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อุมมาทันตี ดังนี้.
    รถไฟ2.jpg

    พระราชาได้ทรงสดับคำทูลนั้นแล้ว.
    เมื่อจะทรงชมเชยชื่อของนางนั้น จึงตรัสคาถาติดต่อกันว่า
    [๒๒] ดูก่อนท่านผู้เจริญๆ ชื่อที่มารดาและบิดาตั้งให้หญิงคนนี้ เป็นชื่อเหมาะสมดีจริงอย่างนั้น เมื่อนางมองดูเรา ย่อมทำให้เราหลงใหล คล้ายคนบ้า.

    แม้นางอุมมาทันตีนั้นทราบว่า พระราชาพระองค์นั้นทรงหวั่นไหวพระหทัยแล้ว จึงปิดหน้าต่างแล้ว ได้เข้าสู่ห้องอันประกอบด้วยสิริตามเดิม. จำเดิมแต่กาลที่พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นนางแล้ว พระองค์ไม่ได้มีพระหทัยที่จะทรงกระทำประทักษิณพระนครเลย. พระราชาตรัสเรียกนายสารถีมา แล้วตรัสว่า สุนันทะสหายเอ๋ย! เจ้าจงกลับรถเถิด งานมหรสพนี้ไม่สมควรแก่พวกเรา แต่สมควรแก่อภิปารกเสนาบดี ถึงพระราชสมบัติก็สมควรแก่อภิปารกเสนาบดีนั้นเหมือนกัน ดังนี้. จึงให้นายสารถีกลับรถแล่นถึงสถานที่ เสด็จขึ้นพระปราสาทแล้ว ทรงบรรทมบ่นเพ้อบนที่บรรทมอันประกอบด้วยสิริ ตรัสว่า

    [๒๓] ในคืนเดือนเพ็ญ นางผู้มีนัยน์ตาชม้ายคล้ายเนื้อทราย ร่างกายมีสีเหมือนดอกบุณฑริก นั่งอยู่ใกล้หน้าต่าง ในคืนนั้น เราได้เห็นนางนุ่งห่มผ้าสีแดง เหมือนเท้านกพิราบ สำคัญว่า พระจันทร์ขึ้นสองดวง.

    คราวใด นางมีหน้ากว้าง ขาวสะอาด ประเล้าประโลมอยู่ด้วยอาการอันงดงาม ชม้อยชม้ายชำเลืองดูเรา ดังจะปล้นเอาดวงใจของเราไปเสียเลย เหมือนนางกินนรเกิดบนภูเขาในป่า ฉะนั้น.

    ก็คราวนั้น นางผู้พริ้งเพรามีตัวเป็นสีทอง สวมกุณฑลแก้วมณี ผ้านุ่งผ้าห่มท่อนเดียว ชำเลืองดูเราประดุจนางเนื้อทราย มองดูนายพราน ฉะนั้น.
    เมื่อไรหนอ นางผู้มีเล็บแดง มีขนงาม มีแขนนุ่มนิ่ม ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ มีนิ้วมือกลมเกลี้ยง มีกระบวนชดช้อย งามตั้งแต่ศีรษะจักได้ยั่วยวนเรา.

    เมื่อไรหนอ ธิดาของท่านเศรษฐีติริฏิวัจฉะ ผู้มีทับทรวงอันกระทำด้วยข่ายทอง เอวกลม จักกอดรัดเราด้วยแขนทั้งสองอันนุ่มนิ่ม ประดุจเถาย่านทราย รวบรัดต้นไม้ที่เกิดในป่าใหญ่ ฉะนั้น.

    เมื่อไรหนอ นางผู้มีผิวงามแดงดังน้ำครั่ง มีถันเป็นปริมณฑลดังฟองน้ำ มีอวัยวะฉาบด้วยผิวหนังเปล่งปลั่ง ดังดอกบุณฑริก จักจรดปากด้วยปากกะเรา เหมือนดังนักเลงสุราจรดจอกสุรา ให้แก่นักเลงสุรา ฉะนั้น.

    ในกาลใด เราได้เห็นนางผู้มีร่างกายทุกส่วนอันน่ารื่นรมย์ใจยืนอยู่ ในกาลนั้น เราไม่รู้สึกอะไรๆ แก่จิตของตนเลย. เราได้เห็นนางอุมมาทันตีผู้สวมสอดกุณฑลมณี แล้วนอนไม่หลับ ทั้งกลางวันและกลางคืน เหมือนแพ้ข้าศึกมาตั้งพันครั้ง.

    ถ้าท้าวสักกะพึงประทานพรให้แก่เรา ขอให้เราพึงได้พรนั้นเถิด อภิปารกเสนาบดีพึงรื่นรมย์อยู่กับนางอุมมาทันตี คืนหนึ่งหรือสองคืน ต่อจากนั้น พระเจ้าสีวิราชพึงได้รื่นรมย์บ้าง.
    ลายไทย3.jpg

    พวกราชบุรุษจึงพากันไปบอกแก่ท่านอภิปารกเสนาบดีว่า ข้าแต่นายท่าน พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำประทักษิณพระนคร พอมาถึงประตูบ้านของท่านแล้วก็เสด็จกลับวัง ขึ้นสู่ปราสาท. อภิปารกเสนาบดีนั้นจึงไปยังเรือนของตนแล้ว เรียกนางอุมมาทันตีออกมา ถามว่า น้องรักของพี่ น้องแสดงตัวปรากฏแก่พระราชา หรือจ๊ะ.

    นางตอบว่า พี่จ๋า มีชายคนหนึ่ง ท้องใหญ่ เขี้ยวโต ยืนมาบนรถ ดิฉันไม่รู้จักชายคนนั้นว่า เป็นพระราชา หรือมิใช่พระราชา แต่เมื่อผู้คนเล่ากันว่า เป็นเอกบุรุษเป็นใหญ่ ดังนี้ ดิฉันยืนอยู่ริมหน้าต่าง จึงได้โปรยดอกไม้ลงไป ชายผู้นั้นยืนอยู่สักครู่หนึ่งแล้ว ก็กลับไป.

    อภิปารกเสนาบดีได้สดับคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า น้องทำให้พี่ต้องฉิบหายเสียแล้ว เป็นแน่ ดังนี้.

    ครั้นวันรุ่งขึ้น จึงรีบไปยังพระราชนิเวศน์แต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่ประตูห้องอันเป็นสิริ ได้ยินเสียงพระราชาบ่นเพ้อถึงนางอุมมาทันตี จึงคิดว่า พระราชาพระองค์นี้มีจิตรักใคร่ผูกพันในน้องอุมมาทันตี ถ้าไม่ได้นางคงจักสวรรคตเป็นแน่ เราควรจะช่วยปลดเปลื้องโทษอันมิใช่คุณทั้งของพระราชาและของเราเสีย แล้วถวายชีวิตแด่พระราชาพระองค์นี้เถิด จึงกลับไปสู่เรือนของตน.

    แล้วสั่งให้เรียกคนใช้คนสนิทผู้หนึ่งมาสั่งว่า นี่แน่ะพ่อคุณเอ๋ย ตรงที่โน้นมีต้นไม้ใหญ่ มีโพรงอยู่ต้นหนึ่ง ท่านอย่าให้ใครๆ รู้นะ พอพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ท่านจงไปในที่นั้นแล้ว เข้าไปนั่งอยู่ภายในต้นไม้ เราจะทำพลีกรรมที่ต้นไม้นั้น พอไปถึงต้นไม้นั้น นมัสการเทวดาแล้ว จักวิงวอนว่า

    ข้าแต่เทวราชาผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อมหรสพมีในพระนคร พระราชาของพวกข้าพเจ้าไม่ยอมทรงเล่น กลับเสด็จไปยังห้องอันเป็นสิริ ทรงบรรทมบ่นเพ้อ พวกข้าพเจ้าไม่ทราบถึงเหตุในข้อนั้นเลย พระราชาทรงมีอุปการะมากมายแก่พวกเทวดาฟ้าดิน ทรงสละทรัพย์พันหนึ่งให้กระทำพลีกรรมทุกกึ่งปี ขอพวกท่านจงบอกว่า พระราชาทรงเพ้อรำพัน เพราะอาศัยเหตุชื่อนี้ ดังนี้ เราจักอ้อนวอนว่า จงให้ชีวิตทานแก่ราชาของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด.

    ในขณะนั้น ตัวท่านพึงเปลี่ยนเสียง แล้วกล่าวว่า
    ดูก่อนท่านเสนาบดี ขึ้นชื่อว่าความเจ็บไข้มิได้มีแก่พระราชาของพวกท่านเลย แต่พระองค์มีจิตผูกพันรักใคร่ในนางอุมมาทันตีผู้เป็นภรรยาของท่าน หากพระองค์ได้นาง ก็จักดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่ได้ก็จักสวรรคตเป็นแน่ ถ้าท่านปรารถนาจะให้พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ก็จงถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์เถิด ดังนี้.

    เมื่อเสนาบดีให้คนใช้จำเอาถ้อยคำอย่างนี้แล้ว ก็สั่งไป. คนใช้นั้นไปนั่งอยู่ในต้นไม้นั้น.
    ดอกไม้ (36).jpg

    ครั้นวันรุ่งขึ้น ท่านเสนาบดีไปยังสถานที่นั้นแล้ว จึงกล่าวคำอ้อนวอน. คนใช้ได้ทำตามคำสั่งทุกประการ. ท่านเสนาบดีกล่าวว่า ดี (ใช้ได้) แล้วไหว้เทวดาฟ้าดิน บอกให้พวกอำมาตย์ทราบเรื่องแล้ว เข้าไปยังพระนคร ขึ้นไปบนราชนิเวศน์ แล้วเคาะประตูห้องบรรทมอันประกอบด้วยสิริ.

    พอพระเจ้าแผ่นดินกลับได้สติ จึงตรัสถามว่า นั่นใคร.
    เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์ คืออภิปารกเสนาบดี พระเจ้าข้า.

    ลำดับนั้น พระราชาทรงเปิดพระทวาร (ประตู) ให้เขา. เขาจึงเข้าไปถวายบังคมแด่พระราชาแล้ว กล่าวคาถาว่า

    [๒๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภูตบดี (ผู้เป็นจอมแห่งหมู่มนุษย์) เมื่อข้าพระองค์นมัสการเทวดาทั้งหลายอยู่ เทวดามาบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ว่า พระทัยของพระราชาคลุ้มคลั่งในนางอุมมาทันตี ข้าพระองค์ขอถวายนางแด่พระองค์ ขอพระองค์ให้นางบำเรอเถิด.
    ดอกไม้ (31).png

    ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามท่านเสนาบดีว่า ดูก่อนอภิปารกะผู้สหาย แม้พวกเทวดาก็รู้เรื่องที่เราบ่นเพ้อ เพราะมีจิตรักใคร่ในนางอุมมาทันตีด้วยหรือ.
    เสนาบดีทูลตอบว่า เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

    พระราชาทรงดำริว่า ข่าวว่า ความชั่วของเรา ชาวโลกทั้งหมดรู้กันแล้ว ดังนี้.
    จึงทรงดำริอยู่ในธรรมคือความตาย. แล้วตรัสคาถาติดต่อกันไปว่า

    [๒๕] ก็เราพึงพรากเสียจากบุญและไม่เป็นเทวดา อนึ่ง คนพึงรู้ความชั่วของเรานี้ และเมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยาสุดที่รัก แล้วไม่เห็นนาง ความแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่ท่าน.

    คาถาที่เหลือที่เป็นคำถามและคำตอบของคนแม้ทั้งสอง (คือของพระราชาและอภิปารกเสนาบดี) มีดังต่อไปนี้.
    [๒๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ประชาชน แม้ทั้งสิ้น นอกจากข้าพระบาทและพระองค์ ไม่พึงรู้กรรมที่ทำกัน ข้าพระบาทยอมถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนางเต็มพระหทัยปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย.

    [๒๗] มนุษย์ใดกระทำกรรมอันลามก มนุษย์นั้นย่อมสำคัญว่า คนอื่นไม่รู้การกระทำนี้ เพราะว่า นรชนเหล่าใดประกอบแล้ว บนพื้นปฐพี นรชนเหล่านั้น ย่อมเห็นการกระทำนี้

    คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินนี้ทั้งโลกพึงเชื่อท่าน หรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักแห่งเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่ท่าน.

    [๒๘] ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้นเป็นที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ เชิญพระองค์เสด็จไปหานางอุมมาทันตีเถิด เหมือนดังราชสีห์เข้าสู่ถ้ำศิลา ฉะนั้น.

    [๒๙] นักปราชญ์ทั้งหลายถูกความทุกข์ของตนบีบคั้นแล้ว ย่อมไม่ละกรรมที่มีผลเป็นสุข แม้จะเป็นผู้หลงมัวเมาด้วยความสุข ก็ย่อมไม่ประพฤติบาปกรรม.

    [๓๐] ก็พระองค์เป็นทั้งพระมารดาและบิดา เป็นผู้เลี้ยงดู เป็นเจ้านาย เป็นผู้พอกเลี้ยง และเป็นเทวดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรและภรรยา เป็นทาสของพระองค์ ขอพระองค์ทรงบริโภคกามตามความสุขเถิด.
    ลายไทย4.jpg

    [๓๑] ผู้ใดย่อมทำบาป ด้วยความสำคัญว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และครั้นกระทำแล้ว ก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อชนเหล่าอื่น ผู้นั้นย่อมไม่เป็นอยู่ตลอดอายุยืนยาว เพราะกรรมนั้น แม้เทวดาก็มองดูผู้นั้น ด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม.

    [๓๒] ชนเหล่าใดตั้งอยู่ในธรรม ย่อมรับทานที่เป็นของผู้อื่น อันเจ้าของมอบให้แล้ว ชนเหล่านั้นเป็นผู้รับด้วย เป็นผู้ให้ในทานนั้นด้วย ได้ชื่อว่าทำกรรมอันมีผลเป็นสุข ในเพราะทานนั้นแท้จริง.

    [๓๓] คนอื่นใครเล่า ในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อท่าน หรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตี ภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่ท่าน.

    [๓๔]ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้นเป็นที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาทยอมถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนาง เต็มพระหทัยปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย.

    [๓๕] ผู้ใดก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ด้วยทุกข์ของตน หรือก่อความสุขของตน ด้วยความสุขของผู้อื่น ผู้ใดรู้อย่างนี้ว่า ความสุขและความทุกข์ของเรานี้ ก็เหมือนของผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่า รู้ธรรม.
    ดอกไม้ (41).png

    [๓๖] คนอื่นใครเล่า ในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อท่าน หรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่ท่าน.

    [๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชาชน พระองค์ย่อมทรงทราบว่า นางอุมมาทันตีนี้เป็นที่รักของข้าพระบาท ข้าแต่พระจอมภูมิบาล นางนั้นไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาทขอถวายสิ่งอันเป็นที่รักแก่พระองค์ ด้วยสิ่งอันเป็นที่รัก ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ให้สิ่งอันเป็นที่รักย่อมได้สิ่งอันเป็นที่รัก.

    [๓๘] เรานั้นจักฆ่าตนอันมีกามเป็นเหตุโดยแท้ เราไม่อาจฆ่าธรรมด้วยอธรรมได้เลย.

    [๓๙] ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้แกล้วกล้ากว่านรชนผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ไม่ต้องพระประสงค์นางอุมมาทันตีผู้เป็นของข้าพระบาทไซร้ ข้าพระบาทจะสละนาง ในท่ามกลางชนทั้งปวง พระองค์พึงรับสั่งให้นำนางผู้พ้นจากข้าพระบาทแล้ว มาจากที่นั้นเถิด พระเจ้าข้า.

    [๔๐] ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี ผู้กระทำประโยชน์ ถ้าท่านจะสละนางอุมมาทันตี ผู้หาประโยชน์มิได้ เพื่อสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ท่าน ความค่อนว่าอย่างใหญ่หลวง จะพึงมีแก่ท่าน อนึ่ง แม้การใส่ร้ายในพระนคร ก็จะพึงมีแก่ท่าน.
    ดอกไม้ (32).jpg

    [๔๑] ข้าแต่พระจอมภูมิบาล ข้าพระบาทจักอดกลั้นคำค่อนว่า คำนินทา คำสรรเสริญ และคำติเตียนนี้ทั้งหมด คำค่อนว่าเป็นต้นนั้น จงตกอยู่แก่ข้าพระบาท ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวสีพี ขอพระองค์ทรงบริโภคกามตามความสำราญเถิด.

    ผู้ใดไม่ถือเอาความนินทา ความสรรเสริญ ความติเตียน และแม้การบูชา สิริและปัญญาย่อมปราศไปจากผู้นั้น เหมือนดังน้ำฝนปราศไปจากที่ดอน ฉะนั้น.

    ข้าพระบาทจักยอมรับความทุกข์และความสุข สิ่งที่ล่วงธรรมดา และความคับแค้นใจทั้งหมด เพราะเหตุแห่งการสละนี้ด้วยอก เหมือนดังแผ่นดินรองรับสิ่งของทั้งของคนมั่นคงและคนสะดุ้ง ฉะนั้น.

    [๔๒] เราไม่ปรารถนาสิ่งที่ล่วงธรรมดา ความคับแค้นใจและความทุกข์ของชนเหล่าอื่น เราผู้เดียวเท่านั้นจักเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ไม่ยังประโยชน์หน่อยหนึ่งให้เสื่อม ข้ามภาระนี้ไป.

    [๔๓] ข้าแต่จอมประชาชน บุญกรรมย่อมให้เข้าถึงสวรรค์ พระองค์อย่าได้ทรงทำอันตรายแก่ข้าพระบาทเสียเลย ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใส ขอถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์ ดังพระราชาทรงประทานทรัพย์สำหรับบูชายัญแก่พราหมณ์ทั้งหลาย ฉะนั้น.

    [๔๔] ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำประโยชน์แน่แท้ นางอุมมาทันตีและท่านเป็นสหายของเรา เทวดาและพรหมทั้งหมดเห็น ความชั่วอันเป็นไปในภายหน้า พึงติเตียนได้.

    [๔๕] ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช ชาวนิคมและชาวชนบททั้งหมด ไม่พึงคัดค้านกรรมอันเป็นธรรมนั้นเลย ข้าพระบาทขอถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนางเต็มพระหทัยปรารถนา แล้วจงทรงสลัดเสีย.
    ดอกไม้ (17).png

    [๔๖] ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำประโยชน์แน่แท้ นางอุมมาทันตีและท่านเป็นสหายของเรา ธรรมของสัตบุรุษที่ประกาศดีแล้ว ยากที่จะล่วงละเมิดได้ เหมือนเขตแดนของมหาสมุทร ฉะนั้น.

    [๔๗] ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นผู้ควรของคำนับของข้าพระองค์ เป็นผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้ทรงไว้ เป็นผู้ประทานความสุข และทรงรักษาความปรารถนาไว้ ด้วยว่า ยัญที่บูชาในพระองค์ ย่อมมีผลมาก ขอพระองค์ทรงรับนางอุมมาทันตีตามความปรารถนาของข้าพระบาทเถิด.

    [๔๘] ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้เป็นบุตรแห่งท่านผู้กระทำประโยชน์ ท่านได้ประพฤติแล้วซึ่งธรรมทั้งปวงแก่เราโดยแท้ นอกจากท่าน มนุษย์อื่น ใครเล่าหนอ จักเป็นผู้กระทำความสวัสดีในเวลาอรุณขึ้น ในชีวโลกนี้.

    [๔๙] พระองค์เป็นผู้ประเสริฐเป็นผู้ยอดเยี่ยม พระองค์ทรงดำเนินโดยธรรม ทรงรู้แจ้งธรรม มีพระปัญญาดี ขอพระองค์ผู้อันธรรมคุ้มครองแล้ว จงทรงพระชนม์ยั่งยืนนาน ข้าแต่พระองค์ผู้รักษาธรรม ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.
    ดอกไม้ (37).jpg

    [๕๐] ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี เชิญท่านฟังคำของเราเถิด เราจักแสดงธรรมที่สัตบุรุษซ่องเสพแก่ท่าน.

    พระราชาชอบใจธรรมจึงจะดีงาม นรชนผู้มีความรู้รอบจึงจะดีงาม ความไม่ประทุษร้ายต่อมิตรเป็นความดี การไม่กระทำบาปเป็นสุข.

    มนุษย์ทั้งหลายพึงเป็นสุข ในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ไม่ทรงกริ้วโกรธ ทรงตั้งอยู่ในธรรม เหมือนเรือนของตนอันมีร่มเงาเย็น ฉะนั้น.

    เราย่อมไม่ชอบใจกรรมที่ทำด้วยความไม่พิจารณา อันเป็นกรรมไม่ดีนั้นเลย แม้พระราชาเหล่าใด ทรงทราบแล้วไม่ทรงทำเอง เราชอบใจกรรมของพระราชาเหล่านั้น ขอท่านจงฟังอุปมาของเรา ต่อไปนี้.

    เมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่ายไปคด โคทั้งหมดนั้น ก็ว่ายไปคด ในเมื่อโคตัวผู้นำฝูงว่ายไปคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับยกย่องว่า เป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรม จะป่วยกล่าวไปไย ถึงประชาชนนอกนี้เล่า รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุกข์ ถ้าพระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม.

    เมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่ายไปตรง โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไปตรง ในเมื่อโคตัวผู้นำฝูงว่ายไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับยกย่องว่า เป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม จะป่วยกล่าวไปไย ถึงประชาชนนอกนี้ รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข ถ้าพระราชาทรงตั้งอยู่ในธรรม.

    ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี เราไม่พึงปรารถนาเพื่อความเป็นเทวดา และเพื่อครอบครองแผ่นดินทั้งหมดนี้โดยอธรรม.

    รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โค ทาส เงิน ผ้า และจันทน์เทศ มีอยู่ในมนุษย์นี้ เราจะไม่ประพฤติผิดธรรม เพราะความปรารถนารัตนะเหล่านั้น

    บุคคลไม่พึงประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งสมบัตินั้น เป็นต้นว่า ม้า หญิง แก้วมณี หรือแม้พระจันทร์ และพระอาทิตย์ที่รักษาอยู่ เราเป็นผู้องอาจ เกิดในท่ามกลางแห่งชาวสีพีทั้งหลาย ฉะนั้น.

    เราจะไม่ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งสมบัตินั้น เราจะเป็นผู้นำ จะเป็นผู้เกื้อกูล เป็นผู้เฟื่องฟูปกครองแว่นแคว้น จักเป็นผู้เคารพธรรมของชาวสีพี จะเป็นผู้คิดค้นซึ่งธรรม เพราะฉะนั้น เราจะไม่เป็นไปในอำนาจแห่งจิตของตน.
    ดอกไม้ (35).jpg

    [๕๑] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงประพฤติธรรม อันไม่มีความฉิบหาย เป็นแดนเกษมอยู่เป็นนิจแน่แท้ พระองค์จักดำรงราชสมบัติอยู่ยั่งยืนนาน เพราะพระปัญญาของพระองค์เป็นเช่นนั้น

    พระองค์ไม่ทรงประมาทธรรมใด ข้าพระองค์ขออนุโมทนาธรรมนั้นของพระองค์ กษัตริย์ผู้เป็นอิสระทรงประมาทธรรมแล้ว ย่อมเคลื่อนจากรัฐ.

    ข้าแต่พระมหากษัตริย์ขัตติยราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระชนนีและพระชนก ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

    ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระราชบุตรและพระมเหสี ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

    ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในมิตรและอำมาตย์ ในราชพาหนะและทแกล้วทหาร ในบ้านและนิคม ในแว่นแคว้นและชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในเนื้อและนกทั้งหลาย ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

    ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงประพฤติธรรมเถิด เพราะว่า ธรรมที่ประพฤติแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

    ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมเถิด ด้วยว่า พระอินทร์ เทวดา พร้อมทั้งพรหม เป็นผู้ถึงทิพยสถาน เพราะธรรมที่ประพฤติแล้ว. ข้าแต่พระราชา พระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย.
    เปิดดูไฟล์ 5023957

    คาถานั้นว่า อญฺโญ นุ ฯเปฯ อทฺธา ปิยา ฯเปฯ โย อตฺตทุกฺเขน ความว่า
    ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก ผู้ใดตัวเองถูกความทุกข์บีบคั้นแล้ว ย่อมใส่ความทุกข์นั้นให้แก่ผู้อื่น คือนำความทุกข์ออกไปเสียจากสรีระของตัว แล้วใส่ไปในสรีระของผู้อื่น หรือถือเอาความสุขของตนด้วยความสุขของผู้อื่น คือเอาความสุขของผู้อื่นนั้นมาใส่ในตน ชื่อว่าย่อมทำผู้อื่นให้ถึงความทุกข์ ด้วยสำคัญว่า เราจักนำความทุกข์ของตนออกไปเสีย ดังนี้ ชื่อว่าย่อมทำผู้อื่นให้ถึงความทุกข์ ด้วยสำคัญว่า เราจักทำตัวเองให้มีความสุขสบาย ดังนี้ ชื่อว่าย่อมทำความสุขของคนอื่นให้พินาศ ด้วยสำคัญว่า เราจักทำตัวเองให้มีความสุขสบาย ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมไม่รู้ธรรม.
    ส่วนผู้ใดย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความสุขและความทุกข์ของเรานั้น เป็นฉันใด ของคนอื่นก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม คือรู้จักธรรม.

    อภิปารกเสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา ด้วยคำพูดอย่างนี้.
    พระราชาทรงปฏิเสธว่า เราไม่ต้องการนาง.

    พระราชาและท่านเสนาบดีทั้ง ๒ คน ย่อมละทิ้งนางอุมมาทันตี เหมือนบุคคลเอาหลังเท้าเตะรังนกที่ตกอยู่บนพื้นดิน ให้ลอยไปตกในดง ฉะนั้น.

    บัดนี้ พระราชา เมื่อจะทรงคุกคามขู่ท่านเสนาบดีนั้น เพื่อจะไม่ให้เขากล่าวต่อไปอีก จึงตรัสคาถาเริ่มต้นว่า อทฺธา หิ ดังนี้.

    มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า
    พระราชาตรัสคุกคามขู่อภิปารกเสนาบดีนั้นว่า แน่นอนละ เมื่อก่อนแต่นี้ ท่านได้ประพฤติธรรมทั้งหมดแก่เรา ได้บำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูล และความเจริญแก่เรา แต่มาบัดนี้ ท่านกลับกลายเป็นปฏิปักษ์ เอาแต่พูดถ้อยคำเป็นอันมาก ท่านอย่าบ่นเพ้ออย่างนี้เลย คนอื่นที่จะให้แสงสว่างแก่ท่านมีอยู่หรือในชีวโลกนี้ ผู้ที่จะกระทำความสวัสดีให้ท่านในเวลาอรุณขึ้นมีอยู่หรือ

    ก็ถ้าจักได้มีพระราชาองค์อื่นมีจิตผูกพันรักใคร่ในภรรยาของท่าน เหมือนอย่างเราแล้วไซร้ ก็จะพึงใช้ให้คนตัดศีรษะของท่านเสีย ภายในอรุณทีเดียว แล้วชิงนางมาไว้ในพระราชวังของพระองค์ เป็นแน่. แต่เราไม่ยอมกระทำอย่างนั้น เพราะกลัวต่ออกุศลกรรม ท่านจงนิ่งเฉยเสียเถิด เรามิได้มีความต้องการนางเลย.
    ดอกไม้ (32).jpg

    อภิปารกเสนาบดี พอได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว เมื่อไม่อาจจะกราบทูลคำอะไรๆ อีกได้ จึงกล่าวคาถาเริ่มต้นว่า ตฺวํ นุ ดังนี้ ด้วยมุ่งจะกล่าวชมเชยพระราชา.
    เนื้อความแห่งบาทคาถานั้นว่า

    ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์เท่านั้น เป็นพระราชาผู้ประเสริฐสูงสุดแก่พระราชาผู้เป็นจอมแห่งประชาชนทั้งหมด ชนชมพูทวีปทั้งสิ้น พระองค์เป็นพระราชาผู้อันธรรมคุ้มครองแล้ว เพราะทรงรักษาธรรมเป็นเครื่องวินิจฉัย ธรรมอันเกี่ยวเนื่องด้วยประเพณีและธรรมคือความสุจริต พระองค์เป็นพระราชาผู้รู้แจ้งธรรม เพราะรู้แจ้งตลอดทั่วถึงธรรมเหล่านั้น พระองค์เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม พระองค์เป็นผู้อันธรรมที่รักษาไว้คุ้มครองแล้ว ขอพระองค์จงดำรงพระชนมายุยั่งยืนยาวนานเถิด ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้รักษาคุ้มครองธรรม ขอพระองค์จงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.

    ลำดับนั้น พระราชา เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสคาถาเริ่มต้นว่า ตทิงฺฆ ดังนี้.
    พระราชาทรงชื่อว่าเป็นผู้ชอบใจในธรรม เพราะอรรถว่า ทรงพอพระทัยในวินิจฉัยธรรม ประเพณีธรรมและสุจริตธรรม. จริงอยู่ พระราชาเช่นนั้น แม้จำต้องสละพระชนมชีพ ก็ไม่ยอมทรงทำกรรมอันมิใช่พระราชกรณียกิจ เพราะฉะนั้น จึงเป็นพระราชามีความดีงาม.

    อภิปารกเสนาบดีนั้น ครั้นทำความชมเชยพระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว. จึงกล่าวคาถาสั่งสอน ๑๐ คาถา ประกอบคำว่า ธมฺมํ จร ดังนี้ เป็นต้นให้ยิ่งขึ้นไปอีก.
    เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้นได้พรรณนาไว้แล้ว ในเรื่องเตสกุณชาดก ในหนหลังแล.
    เมื่ออภิปารกเสนาบดีแสดงธรรมแด่พระราชาอย่างนี้แล้ว พระราชาก็ได้ทรงบรรเทาพระทัยที่จะผูกพันรักใคร่ในนางอุมมาทันตี เสียได้สิ้น.
    ลายไทย5.jpg

    พระศาสดา ครั้นได้ทรงนำพระธรรมเทศนานั้นมาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย. แล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุรูปนั้นก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

    สุนันทสารถีในกาลนั้น ได้เป็น พระอานนท์
    อภิปารกเสนาบดีได้เป็น พระสารีบุตร
    นางอุมมาทันตีได้เป็น นางอุบลวรรณา
    บริษัทที่เหลือเป็น พุทธบริษัท
    ส่วนพระเจ้าสีวิราช ก็คือ เราตถาคต นั่นแล.

    -----------------------------------------------------
    .. อรรถกถา อุมมาทันตีชาดก ว่าด้วย เสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา. จบ.

    ขออนุโมทนาทุกท่านที่อ่านเรื่องนี้จบ ขอให้ได้ดวงตาเห็นธรรมสืบต่อไป...

    c_oc=AQmKpbGm_598J8GaURWnr8eZFIe8611OzKtJfkwTrI39JyP4yEbcCR-oto-klQQvnj0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg c_oc=AQkDeqinvAiY_eLVgYZzRUgqoMsQ18I0KkbMahy_BaFcNPWzi-qalFDRk1ngNjToLvI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2019
  11. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  12. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    หมวดพุทธศาสนา หน้า 1..หมวดพลังจิต . หน้า 2. หมวดมิเดีย ....... หน้า 2
    หมวดทั่วไป ........ หน้า 2. หมวด English หน้า 3. หมวดต่างประเทศหน้า 3
    กระทู้โดนใจ ........ หน้า 3. ภาคผนวก ...... หน้า 3. ส่วนเพิ่มเติมหน้า 4, 5, 6

    Line 668x15.jpg
    จาก facebook
    สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช
    ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 11 ภาพลงในอัลบั้ม: พระกรณียกิจบางประการ กันยายน ๒๕๖๒ — ที่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

    1 ชม. · กรุงเทพมหานคร ·

    วันเสาร์ ที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๒ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จออก ณ ตำหนักอรุณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ประทานพระวโรกาสให้คณะนวกภิกษุ วัดราชบพิธ ในพรรษากาลนี้ เฝ้ากราบทูลรายงานความเรียงในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี

    โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ในพระฐานะเจ้าสำนักเรียนวัดราชบพิธ ประทานพระวิจารณ์ และทรงอบรมพระธรรมวินัยประทานแก่คณะนวกภิกษุ


    69822691_2292870244357200_7753366789139988480_n.jpg
    69646328_2292870457690512_6675368356196909056_n.jpg
    70206834_2292867074357517_7081908451240050688_n.jpg

    69760007_2292870401023851_7070719932584951808_n.jpg
    70249381_2292867151024176_1957134094760411136_n.jpg
    69615690_2292870254357199_8831941748428111872_n.jpg

    69806409_2292870481023843_3636439605684731904_n.jpg
    70108792_2292867061024185_5974667235245948928_n.jpg
    69908336_2292870307690527_9197276073262317568_n.jpg


    70761174_2292870561023835_2905683235604267008_n.jpg
    69547308_2292870351023856_7884967834084704256_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2020
  13. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    2 ชม.

    ขอเชิญแวะไปสักการะพระธาตุพนม:

    ผมได้ยินเรื่องราวพระธาตุพนมครั้งแรก เมื่อพ.ศ.๒๕๑๘ เมื่อเกิดลมฝนหนัก แล้วพระธาตุพนมพังลงทั้งองค์ ไม่ต้องไปตีความอะไรให้ดราม่าเกินไป สาเหตุก็เพราะองค์พระธาตุพนมต้องเจอลมฝนมาหลายร้อยปี วัสดุที่ใช้สร้างก็ผุกร่อน กรรมวิธีในการก่อสร้างสมัยก่อน ไม่เข้มแข็งเหมือนเทคโนโลยีสมัยปัจจุบัน ดังนั้น เมื่อเจอลมฝนหนักๆ ก็พังลงได้ง่ายๆ

    เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้คุณตาผมซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเหมารถบัสให้คุณยายผมพาสมัครพรรคพวกวัยเดียวกันมานอนค้างในฐานะอุบาสกอุบาสิกาที่วัดพระธาตุพนมหลายๆ วันเพื่อจะได้สักการะเป็นบุญตา กลับถึงบ้าน คุณยายก็บรรยายความสำคัญขององค์พระธาตุพนมให้ลูกหลานฟัง จนผมอยากจะมาดูด้วยตนเองหลายๆ วันให้ได้

    ผมขับรถไปชมพระธาตุพนมครั้งแรกเมื่อตอนกลับจากอังกฤษใหม่ๆ ตั้งใจเปี่ยมล้นมากเพราะคุณยายปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เช่ารีสอร์ทอำเภอพระธาตุพนมเป็นอาทิตย์ครับ แวะสักการะทั้งพระธาตุพนม ทั้งพระธาตุเรณูนครอย่างหนำใจ ครั้งที่ ๒ ไปตรวจดูคัมภีร์ใบลาน วัดพระธาตุพนม มีโอกาสแวะไปดูอีก ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๔ ผมขับรถไปวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานีที่เคยอยู่ เยี่ยมวัดป่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งที่อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ไปสิ้นสุดลงที่อุบลราชธานีเยี่ยมญาติที่นั่นแล้วขับรถเข้ากรุงเทพฯ

    ครั้งที่ ๕ คงจะอีกไม่นานครับหลังจากได้รับทราบว่าวัดได้บูรณะ ทำความสะอาดองค์พระธาตุพนมไว้ต้อนรับชาวพุทธอย่างสวยงาม โดยส่วนที่เป็นยอดนั้น พระเดชพระคุณพระพรหมมงคลญาณ (พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ได้อธิษฐานจิตเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย

    ขอเชิญชวนชาวพุทธไปเที่ยวชมและสักการะถ้วนหน้าครับ

    69806174_2325319824182631_2951036187579514880_n-jpg.jpg
    69726628_2325319877515959_8164671476088176640_n-jpg.jpg

    70281010_2325319947515952_726760461357285376_n-jpg.jpg
    69833430_2325320017515945_4204269715696123904_n-jpg.jpg

    70198171_2325320080849272_4550378937984745472_n-jpg.jpg
    70584977_2325320120849268_304324434653609984_n-jpg.jpg

    69860935_2325320237515923_2400060293741805568_n-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2019
  14. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    28พระอรหันต์
    4 ชม. ·
    c_oc=AQmM4GptmR3-ViGuCt-1uEXVWR0CxTE2_vGrTOkumZTmQG4koLS0I6YxnN6k8QYhyQM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    พระไตรปิฎกศึกษา
    6 ชม. ·
    พระพุทธรูปคือตัวแทนพระพุทธเจ้า ชาวพุทธควรสักการบูชา
    ********
    อปิจ กสฺสปสฺส ปรินิพฺพุตสฺสาปิ ชาติโพธิธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนปรินิพฺพานฏฺฐานานิ ปฏิมาเจติยาทีนิ วา อุทฺทิสฺส เอวํ
    จิตฺตีการครุกาโร ปวตฺตติ ยถา ภควโต.
    …….
    อรรถกถารัตนสูตร (บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php…
    อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไรๆ อื่น แม้ปรินิพพานแล้ว การทำความเคารพยำเกรงอุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศพระธรรมจักร และสถานที่ปรินิพพาน หรือเจดีย์ คือพระปฏิมา [พระพุทธรูป] ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

    ข้อความบางตอนใน พรรณนารัตนสูตร อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=7
    ศึกษาเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ รตนสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=6
    อปิจ กสฺสปสฺส ปรินิพฺพุตสฺสาปิ ชาติโพธิธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนปรินิพฺพานฏฺฐนานิ ปฏิมาเจติยาทีนิ วา อุทฺทิสฺส เอวํ
    จิตฺตีการครุกาโร วตฺตติ ยถา ภควโต.
    ……..
    อรรถกถารตนสูตร (บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=1
    อีกประการหนึ่ง การกระทำความยำเกรงและการเคารพ ย่อมเป็นไปเจาะจงต่อสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือปฏิมากรรมและเจติยสถานเป็นต้นของพระกัสสปพุทธเจ้า แม้ปรินิพพานแล้วเหมือนกับ การทำการบูชาแสดงทำความเคารพเจาะจงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    …….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถารตนสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=314
    ศึกษาเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ รตนสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=240

    #พระพุทธรูป
    .
     
  15. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    พระไตรปิฎกศึกษา
    2 ชม. ·
    h5tIXzJH_YFa5piTxOFyjnMfDXE33f5nnpZ0kDBhJfgzaTPxVXbfsP5uLml04LYi1gkG8S3X&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    พระไตรปิฎกศึกษา ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ลงในอัลบั้ม: พระพุทธรูป
    22 กรกฎาคม 2018 ·
    เจดีย์คือพระปฏิมา [พระพุทธรูป]
    ********
    อปิจ กสฺสปสฺส ปรินิพฺพุตสฺสาปิ ชาติโพธิธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนปรินิพฺพานฏฺฐานานิ ปฏิมาเจติยาทีนิ วา อุทฺทิสฺส เอวํ
    จิตฺตีการครุกาโร ปวตฺตติ ยถา ภควโต.
    …….
    อรรถกถารัตนสูตร (บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php…

    อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไรๆ อื่น แม้ปรินิพพานแล้ว การทำความเคารพยำเกรงอุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศพระธรรมจักร และสถานที่ปรินิพพาน หรือเจดีย์ คือพระปฏิมา [พระพุทธรูป] ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    ข้อความบางตอนใน พรรณนารัตนสูตร อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=7

    ศึกษาเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ รตนสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=6

    อปิจ กสฺสปสฺส ปรินิพฺพุตสฺสาปิ ชาติโพธิธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนปรินิพฺพานฏฺฐนานิ ปฏิมาเจติยาทีนิ วา อุทฺทิสฺส เอวํ
    จิตฺตีการครุกาโร วตฺตติ ยถา ภควโต.
    ……..
    อรรถกถารตนสูตร (บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=1

    อีกประการหนึ่ง การกระทำความยำเกรงและการเคารพ ย่อมเป็นไปเจาะจงต่อสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือปฏิมากรรมและเจติยสถานเป็นต้นของพระกัสสปพุทธเจ้า แม้ปรินิพพานแล้วเหมือนกับ การทำการบูชาแสดงทำความเคารพเจาะจงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    …….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถารตนสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=314

    ศึกษาเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ รตนสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=240

    ลายไทย3.jpg
    พระไตรปิฎกศึกษา
    3 ชม. ·
    jIl-FJQYmgRzszeBxBnmamfjiHG4qtLtlqSMzLgHgBMAo1H76NGVcdBnL3GJ80fTiHGN1gF3&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    พระไตรปิฎกศึกษา
    22 กรกฎาคม 2018 ·
    คำว่า ปฏิมาเจติยาทีนิ นี้หมายถึง ปฏิมากรรมและเจติยสถานเป็นต้น บางแห่งแปลว่า เจดีย์คือพระปฏิมา [พระพุทธรูป] ก็มี
    ********
    อปิจ กสฺสปสฺส ปรินิพฺพุตสฺสาปิ ชาติโพธิธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนปรินิพฺพานฏฺฐานานิ ปฏิมาเจติยาทีนิ วา อุทฺทิสฺส เอวํ
    จิตฺตีการครุกาโร วตฺตติ ยถา ภควโต.
    ……..
    อรรถกถารตนสูตร (บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=1

    อีกประการหนึ่ง การกระทำความยำเกรงและการเคารพ ย่อมเป็นไปเจาะจงต่อสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือปฏิมากรรมและเจติยสถานเป็นต้นของพระกัสสปพุทธเจ้า แม้ปรินิพพานแล้วเหมือนกับ การทำการบูชาแสดงทำความเคารพเจาะจงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    …….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถารตนสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=314

    ศึกษาเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ รตนสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=240

    อปิจ กสฺสปสฺส ปรินิพฺพุตสฺสาปิ ชาติโพธิธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนปรินิพฺพานฏฺฐานานิ ปฏิมาเจติยาทีนิ วา อุทฺทิสฺส เอวํ
    จิตฺตีการครุกาโร ปวตฺตติ ยถา ภควโต.
    …….
    อรรถกถารัตนสูตร (บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php…

    อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไรๆ อื่น แม้ปรินิพพานแล้ว การทำความเคารพยำเกรงอุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศพระธรรมจักร และสถานที่ปรินิพพาน หรือเจดีย์ คือพระปฏิมา [พระพุทธรูป] ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    ข้อความบางตอนใน พรรณนารัตนสูตร อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=7

    ศึกษาเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ รตนสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=6.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2019
  16. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    พระไตรปิฎกศึกษา
    3 ชม.

    พระรูปปฏิมากร (รูปจำลอง)
    *************
    อนึ่ง เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ชนเหล่าใดย่อมทำลายพระเจดีย์ ย่อมตัดซึ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ย่อมเหยียบย่ำพระธาตุ กรรมอะไรย่อมมีแก่ชนเหล่านั้น. กรรมอันหนักเช่นกับอนันตริยกรรม ย่อมเกิดแก่เขา. ก็แลบุคคลย่อมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์อันเบียดเบียนพระสถูปบรรจุพระธาตุพระรูปปฏิมากร (รูปจำลอง) หรือแม้ถ้าพวกนกทั้งหลายแอบแฝงที่ต้นมหาโพธิ์นั้น ย่อมถ่ายวัจจะ(อุจจาระ) ตกลงไปที่พระเจดีย์ จึงสมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์นั้นทีเดียว. เพราะว่า สรีรเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ) ใหญ่กว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุของใช้ของพระพุทธเจ้า) การตัดแม้ที่โคนต้นโพธิ์อันทำลายวัตถุเจดีย์ นำออกไปก็ควร. ก็กิ่งแห่งต้นโพธิ์ใด ย่อมเบียดเบียนเรือนโพธิ์ ไม่ควรตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อรักษาเรือนโพธิ์เอาไว้.
    ..........
    ข้อความบางตอนอรรถกถาวิภังคปกรณ์ ญาณวิภังค์ ทสกนิทเทส อธิบายกำลังที่ ๑ ของพระตถาคตhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35.0&i=835&p=2

    ดูเพิ่มใน ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ) ทสกนิทเทส ญาณวิภังค์ พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=64

    #พระรูปปฏิมากร

    1ot6FvxEh7dq5sAwkCIlz2atKqoslkFr6BebgvYSaQVisxxFgyK7LNhkkQ00M07CsT_NI_LA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    .
     
  17. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    เมืองราชคฤห์
    58 นาที

    ๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ
    ว่าด้วยบุพกรรมของธาตุวิวัณณเปรต

    พระมหากัสสปเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๒๐] ท่านยืนอยู่ในอากาศ มีกลิ่นเน่าเหม็นฟุ้งไปและหมู่หนอนพากันบ่อน
    ฟอนกินปาก อันมีกลิ่นเหม็นเน่าของท่าน เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไร
    ไว้ เพราะการฟุ้งไปแห่งกลิ่นเหม็นนั้นนายนิรยบาลถือเอาศาตรามาเฉือน
    ปากของท่านเนืองๆ รดท่านด้วยน้ำแสบแล้วเชื่อดเนื้อไปพลาง ท่านทำ
    กรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจหรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร
    ท่านจึงได้ประสบความทุกข์อย่างนี้?

    เปรตนั้นตอบว่า
    ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อก่อน กระผมเป็นอิสรชนอยู่ที่ภูเขาวงกตอัน
    เป็นที่รื่นรมย์ ใกล้กรุงราชคฤห์ เป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก
    มากมาย แต่กระผมได้ห้ามปรามภรรยาธิดา และลูกสะใภ้ของกระผม
    ซึ่งพากันนำพวงมาลาดอกอุบลและเครื่องลูบไล้อันหาค่ามิได้ ไปสู่สถูป
    เพื่อบูชา บาปนั้นกระผมได้ทำไว้แล้ว จึงได้เสวยทุกขเวทนาเห็นประจักษ์
    และจักหมกไหม้อยู่ในนรกอันหยาบช้าทารุณ ๘๖,๐๐๐ ปี เพราะติเตียน
    การบูชาพระสถูป ก็เมื่อการบูชาและการฉลองพระสถูปของพระอรหันต
    สัมมาสัมพุทธเจ้า อันมหาชนให้เป็นไปอยู่ ชนเหล่าใดมาประกาศโทษ
    แห่งการบูชาพระสถูปนั้น เหมือนกระผม ชนเหล่านั้นพึงห่างเหินจากบุญ
    ขอท่านจงดู ชนทั้งหลายซึ่งทัดทรงดอกไม้ตบแต่งร่างกายเหาะมาทาง
    อากาศเหล่านี้เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นผู้มั่งคั่งมียศเสวยอยู่ซึ่งวิบาก
    แห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ชนทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้เห็นผลอันน่าอัศจรรย์
    น่าขนพองสยองเกล้าอันไม่เคยมีนั้นแล้ว ย่อมทำการนอบน้อมวันทาพระ
    มหามุนีนั้น กระผมไปจากเปตโลกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์จักเป็นผู้
    ไม่ประมาท ทำการบูชาพระสถูปเนืองๆ เป็นแน่แท้.

    จบ ธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

    2xciOaqlzu-NWAoglQnbODDfmD7rk8-N9289A1cnlb-5tIGwEIRJMWIvFZ3OnxW4rgxP9Du3&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    .
     
  18. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    จาก facebook
    คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    10 ชม.

    #นึกถึงภาพพระพุทธรูป

    วิธีที่ปฏิบัติจริงๆ อย่ามัวคิดว่าต้องนั่งขัดสมาธิ จะต้องนั่งพับเพียบเสมอไป
    ถ้านึกถึงภาพพระเวลาเดินไปเดินมาทำการงานก็ดี ไปธุระก็ดี
    ให้นึกถึงไว้เป็นปกติให้ชิน
    ถ้าจะถามว่าทำอย่างนี้ได้หรือ
    ก็ต้องตอบว่า ทำได้เพราะอาตมาทำมาแล้ว
    เราเดินไปถ้าคุยกับใครเราก็คุย
    เวลาว่างจากการคุยนึกถึงภาพพระให้นึกถึงทันทีทันใด

    คำว่าเห็นนึกเห็นนะ นึกจำภาพได้
    ไม่ใช่ภาพพระลอยมาที่หน้า
    ภาพพระลอยมาอันนี้ช้าจะไม่มีผล
    มันจะเป็นอุปทาน ต้องการให้นึกถึงภาพพระองค์นั้น
    แต่บางทีเรานึกถึงภาพพระพุทธรูปท่านนั่งชอบใจองค์นั่ง บางครั้งดูเห็นไปเห็นมา
    เห็นมาเห็นไปกลายเป็นพระนอน
    บางทีกลายเป็นพระยืน

    อันนี้ก็ปล่อย ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล
    คือจะนึกว่าเป็นภาพพระนั่งก็ดี
    พระนอนก็ดี พระยืนก็ดี
    ท่านคือพระพุทธเจ้าเหมือนกันสนใจแค่พระพุทธเจ้าอย่างเดียวนี้พอ

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    ________
    จากหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๓๖ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ หน้า ๕๐ คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์

    zBmO1SzZIq9MGRKTQkd5DldwthVfDlh6G0_JZGGPJKtXzbFXZZulzzVLDMe1YPrImVzWs6be&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    .
     
  19. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    พระบรมราชโองการแต่งตั้ง'มหาเถรสมาคม'ชุดใหม่แล้ว
    14 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 16:58 น.

    image_big_5cb8838b37db0.jpg

    14 ต.ค.2562 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เล่ม 136 ตอนพิเศษ 255 ง ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า

    โดยที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2561 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 ตรี มาตรา 12 และมาตรา 15 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2561 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม จำนวน 20 รูป ดังนี้

    1. สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
    2. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
    3. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
    4. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร) วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
    5. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร

    6. สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
    7. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
    8. พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
    9. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) วัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร
    10. พระพรหมวิสุทธาจารย์ (มนตรี คณิสฺสโร) วัดเครือวัลย์ กรุงเทพมหานคร

    11. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร) วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
    12. พระวิสุทธาธิบดี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
    13. พระพรหมมุนี (บุญเรือง ปุญฺญโชโต) วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
    14. พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
    15. พระธรรมธัชมุนี (อมร ญาโณทโย) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

    16. พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร
    17. พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ) วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพมหานคร
    18. พระธรรมปาโมกข์ (สุนทร สุนฺทราโภ) วัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร
    19. พระธรรมกิตติเมธี (เกษม สญฺญโต) วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพมหานคร และ
    20. พระธรรมรัตนดิลก (สมเกียรติ โกวิโท) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2562 ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2562 เป็นปีที่ 4 ในรัชกาลปัจจุบัน

    ที่มา นสพ ไืทยโพสต์ > https://www.thaipost.net/main/detail/48021
    ลายไทย1.jpg
    จาก facebook
    สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

    c_oc=AQm6fv0FF8p6BhJgBWeCc2r2lnwU3I3RRStcZBlXgIB8WIVeKFkPPPCE1p0vUP4qj8Q&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    At HeaR
    7 ชม.
    "สมเด็จพระสังฆราช"เตือนกก.มส. พุทธบริษัทเฝ้ามองการทำหน้าที่

    เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ที่พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) ทรงโปรดให้คณะกรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ที่ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งใหม่ เข้าถวายสักการะ จากนั้นทรงมีพระโอวาทว่า กรรมการมส.ชุดนี้ มีทั้งที่เคยปฏิบัติหน้าที่มาแล้ว และที่เพิ่งจะได้ปฏิบัติหน้าที่ใหม่เป็นวาระแรกในคราวนี้ ขอถวายกำลังใจแด่ทุกท่านในการปฏิบัติหน้าที่ให้ได้เต็มกำลังความสามารถ ด้วยความหนักแน่นมั่นคงในปณิธาน เพื่อความสถิตสถาพรของพระบวรพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทย

    สมเด็จพระสังฆราช มีพระโอวาทต่อไปว่า ขอให้ทุกท่านระลึกถึงพระเดชพระคุณของบูรพาจารย์ มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปฐม ตลอดจนถึงอดีตพระมหาเถระที่ท่านเคารพบูชาเป็นครูบาอาจารย์ด้วยความกตัญญูกตเวที แล้วศึกษาทบทวนใคร่ครวญให้ถ้วนถี่ว่าแต่ละพระองค์และแต่ละท่านได้ทำอย่างไร วางตัวอย่างไร ประพฤติดีปฏิบัติชอบอย่างไร ทุ่มเทอุทิศสรรพกำลังเพื่อการพระศาสนาอย่างไร จึงเป็นที่กราบไหว้ได้เต็มมือ และสนิทใจ เหตุไฉนบูรพาจารย์พระองค์นั้นๆ หรือท่านนั้นๆ จึงสถิตในที่สูงเป็นทิฏฐานุคติของอนุชน ยังมีกลิ่นหอมของศีล ปัญญา อบอวลทวนกระแสกาลเวลานับร้อยนับพันปีไม่จืดจางหาย ให้พวกเราได้ชื่นใจเมื่อได้ระลึกถึงตราบเท่าทุกวันนี้

    บัดนี้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นมหาเถระเป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์ มีตำแหน่งอยู่ในมส.พุทธบริษัทไทยเฝ้ามองการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน และตั้งความหวังไว้ที่ท่านท่านจะประคับประคอง สนองภารธุระของการคณะสงฆ์ให้ราบรื่นเรียบร้อย สามารถฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรคไปได้อย่างไร แบบนั้นมีอยู่แล้ว ขอจงอย่าทิ้งทางครู โดยเฉพาะทางของสมเด็จพระบรมครู ผู้ยังเสด็จดำรงอยู่เป็นศาสดาของพวกเรา ในองค์คุณแห่งพระธรรมวินัย

    ขอถวายกำลังใจแด่ทุกท่านอีกครั้ง ขออาราธนาให้ท่านตั้งปณิธาน อุทิศชีวิตนี้เพื่อบูชาคุณพระรัตนตรัยด้วยปฏิบัติบูชา ขอให้เห็นแก่ความเจริญมั่นคงของคณะสงฆ์เป็นอุดมการณ์สูงสุด เพื่อสนองพระบรมราชปณิธานของสมเด็จพระมหากษัตริยาริราชเจ้าทุกๆ พระองค์และสนองคุณของบรรพชนไทย ที่สู้อุตส่าห์เสียสละชีวิตเลือดเนื้อหยาดเหงื่อ กำลังกาย กำลังใจและกำลังสติปัญญา เพื่ออุปถัมภ์และพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาไว้บนแผ่นดินไทย

    #At_HeaR #ข่าวจริงเข้าหู #สมเด็จพระสังฆราช #กรรมการมหาเถรสมาคม
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2024
  20. รูปติดบัตร

    รูปติดบัตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2016
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +366
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023

แชร์หน้านี้

Loading...