เรื่องเด่น Brokpa ชาวอารยันพุทธกลุ่มสุดท้ายแห่ง “โยนก”

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 3 ตุลาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    fb_img_147500046830672391.jpg

    Brokpa ชาวอารยันพุทธกลุ่มสุดท้ายแห่ง “โยนก”


    กล่าวกันว่าพวกเขาคือทายาทของกองทัพอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ปักหลักในอินเดียและปากีสถาน และเป็นชาวพุทธที่มีเชื้อสายอารยัน

    ชาวบร็อกปะ (Brokpa หรือ Drokpa) เป็นชนกลุ่มน้อยในหุบเขาธาฮานู ของเขตลาดัก รัฐชัมมู-กัษมีร์ ประเทศอินเดีย ว่ากันว่า เป็นชาวอารยันกลุ่มสุดท้ายที่มีเลือดบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เจือปนจากเชื้อชาติใด ลักษณะเด่นของชาวบร็อกปะ ก็คือ ผิวกายมีสีอ่อน มีดวงตามีสีสัน ผมมีสีอ่อนจนถึงสีบรอนซ์เหมือนชาวยุโรป ผิดกับชาวลาดักที่มีลักษณะเป็นชาวเอเชียตะวันออก และผิดไปชาวอินเดียส่วนใหญ่

    มีหลายทฤษฎีว่าด้วยที่มาของชาวบร็อกปะ ว่ากันว่า เป็นชาวอารยันที่หลงเหลือจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนการอพยพใหญ่ไปยังยุโรป ขณะที่บางส่วนเชื่อว่า อาจเป็นลูกหลานของกองทัพกรีกสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่บุกตะลุยมายังชมพูทวีปเมื่อ 2,000 กว่าปีที่แล้ว แต่มีโอกาสสูงที่จะเป็นไปตามทฤษฎีแรก

    ในรายกาาร Lost tribe of Alexander the Great (เผ่าที่สาบสูญของอเล็กซานเดอร์มหาราช) ของสถานีโทรทัศน์ ABC ของออสเตรเลียสัมภาษณ์คนบร็อกปะ ในปากีสถานที่ชื่อ กูร์เม็ด เซตัน เขายืนยันว่า “ใช่ มีคนบอกว่าเราสืบเชื้อสายจากมาจากอเล็กซานเดอร์ บรรพบุรุษของเราบอกเราว่าเราสืบเชื้อสายมาจากเผ่าพันธุ์นั้น”

    แต่โมนา ภันนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาชุมชนนี้มาอย่างยาวนานได้ให้สัมภาษณ์กับ Open Magazine ทฤษฎีเรื่องชาวดร็อกปะเป็นอารยันนั้นยังมีข้อบกพร่อง เนื่องจากภาษาบางภาษาที่พูดในเทือกเขาหิมาลัยทางตะวันตกเฉียงเหนือมีความคล้ายคลึงกันกับภาษาอินโด-อารยันอื่นๆ ผู้พูดภาษาเหล่านี้จึงถูกจัดอยู่ในประเภทหนึ่ใของชาวอารยันด้วย

    ชาวบร็อกปะ มีความพิเศษอีกประการก็คือ เป็นชาวอารยันกลุ่มสุดท้ายที่สืบทอดการนับถือศาสนาพุทธ

    ศาสนพุทธมาถึงดินแดนของชาวบร็อกปะ นับตั้งแต่ยุคแห่งการประกาศพระศาสนาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งทรงส่งคณะของพระมัชฌันติกเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมีระ และส่งคณะของพระมหารักขิต ไปประเทศโยนก คือ ประเทศกรีกในเอเชียกลาง กล่าวคือนานาประเทศในเอเชียกลางปัจจุบันรวมถึงอัฟกานิสถานและปากีสถาน

    “โยนก” ในเวลานั้นปกครองโดยชาวกรีกที่ปักหลักในอินเดียและเอเชียกลางหลังการยกทัพของพระเจ้าเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนในปกครองกรีกเหล่านี้ก็เช่น คันธาระ (ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถานคือเมืองกันดาฮาร์) ถูกเรียกว่า โยนกหรือโยน ตามคำเรียกขานชาวกรีกคือ Ion คำนี้ภาษาอังกฤษออกเสียงว่า “ไอออน” แต่ในภาษากรีกนั้นต้องอ่านว่า “อิโยน” หรือออกเสียงเร็วๆ ว่า “โยน” หลายเป็นโยนกในการเรียกโดยชาวอินเดีย

    เรื่องราวการเผยแพร่พุทธศาสนาในโยนกนั้นอยู่ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณทูตไปประกาศพระศาสนายังดินแดนต่างๆ ในโยนกนั้นกล่าวว่า “ฝ่ายพระมหารักขิตเถระไปยังรัฐโยนกแล้ว ให้ชนชาวโลกโยนกเลื่อมใส ด้วยกาฬการามสุตตันตกถาแล้ว ได้ให้เครื่องอลังการคือมรรคและผลแก่สัตว์ประมาณหนึ่งแสนสามหมื่นเจ็ดพัน ก็ประชาชนประมาณหนึ่งหมื่นบวชแล้วในสำนักของพระเถระนั้น แม้พระเถระนั้นก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในรัฐโยนกนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้”

    ขณะเดียวกันสมันตปาสาทิกาก็เอ่ยถึงพระเถระอีกรูปว่าชื่อ “พระโยนกธรรมรักขิตเถระ” ถูกส่งไปเผยแพร่พระศาสนาที่อปรันตกชนบท หรือชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย ชื่อของพรเถระนี้มีคำว่า “โยนก” แสดงว่าท่านเป็นชาวกรีก และท่านเป็นผู้ทำให้ติสสกุมารซึ่งคือพระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราชเกิดความเลื่อมใสจนออกบวชเป็นพระติสสเถระ

    “โยนก” คำนี้เป็นคนเดียวกับที่ไทยใช้หมายถึงล้านนา ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการรับเอาคำเรียกชื่อแว่นแคว้นโบราณของอินเดียมาใช้เรียกบ้านเมืองของเราบ้างในทำนองว่าเป็นภาพสะท้อนอารยธรรมอินเดียที่เรารับนับถือมา เช่นเดียวกับชาวกัมพูชาเรียกแว่นแคว้นทางเหนือว่า “ญวน/ยวน” คือเวียดนาม ไทยตอนเหนือในล้านนาก็เรียกกันว่าโยนกและไทยยวนดุจเดียวกัน

    ในภายหลังชาวอารยันในเอเชียกลางเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามจนหมดสิ้น เหลือแต่อารยันในหุบเขากลุ่มนี้เท่านั้น ปัจจุบัน ชาวชาวบร็อกปะ นับถือพุทธศาสนานิกายวัชรยานแบบทิเบต เช่นเดียวกับชาวลาดักส่วนใหญ่ ชาวชาวบร็อกปะ ที่นับถือพุทธศาสนายังอยุ่ในแถบเมืองเลห์ ขณะที่กลุ่มอื่นๆ นับถือศาสนาฮินดูหรืออิสลาม

    อย่างไรก็ตาม มีบางข้อมูลระบุว่าชาวบร็อกปะเพิ่งหันมานับถือศาสนาพุทธเมื่อ 200 ปีมานี้เอง และสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นอารยันของพกวเขาคือตราสวัสดิกะสะท้อนความเชื่อดั่งเดิมของพวกเขาคือศาสนานับถือธรรมชาติเหมือนกับที่ชาวทิเบตนับถือที่เรียกว่า “ศาสนาเพิน” (Bon)

    แต่สัญลักษณ์สวัสดิกะเป็นสัญลักษณ์สากลของศาสนาของชาวอารยันมาแต่โบราณด้วย ในศาสนาพุทธสวัสดิกะก็เป็นสัญลักษณ์มงคล ทุกวันนี้ในประเทศฝ่ายมหายาน เช่น จีน เกาหลี และญี่ปุ่นยังใช้สัญลักษณ์สวัสดิกะแทนความหมายว่าวัดวาอาราม (โดยเฉพาะบนแผนที่)

    อิทธิพลของศาสนาพุทธในหมู่ชาวบร็อกปะหยั่งรากลึกในวิถีชีวิตของพวกเขา ดร.วีณา ภาสิน นักมานุษยวิทยานิเวศวิทยาชาวอินเดีย ซึ่งเคยศึกษาและศึกษาชนเผ่าบร็อกปะ กล่าวกับ The Vegan Review ว่า บร็อกปะไม่กินเนื้อสัตว์ปีกและผลผลิตจากวัวซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาของพวกเขา เพราะศาสนาของบร็อกปะกำหนดว่าพวกเขาหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์

    แต่ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนไป ชาวบร็อกปะเริ่มไม่มังสวิรัติกันแล้ว เพราะความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงแปล่งอาหารของพวกเขา ด้วยฤดูกาลที่ร้อนจัดและหนาวจัดทำลายพืชพันธุ์ของพวกเขา ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาหารในชีวิตประจำวัน

    โลกร้อนไม่ได้ทำลายแค่โลก แต่ทำลายวิถีที่สืบทอดมานานนับร้อยปีหรืออาจจะเป็นพันปีของชาวบร็อกปะ

    อีกหนึ่งภัยคุกคามมาจากพวกที่คลั่งเชื้อชาติจากยุโรป ชนเผ่าที่ถือหลักอหิงสา รักสงบ ชอบแต่งกายงดงามด้วยดอกไม้และสิ่งทออันสวยวิเศษ และสนุกกับชีวิตตามอัตภาพ พวกเขากำลังถูกคุกคามด้วยความเชื่อที่เป็นพิษ

    เมื่อไม่นานมานี้ เกิดกระแสนิยมในหมู่หญิงชาวเยอรมันที่นิยมลัทธินาซีใหม่ (Neo Nazi) พากันเดินทางมายังถิ่นฐานของชาวบร็อกปะเพื่อแสวงหาเชื้อพันธุ์บริสุทธิ์ของชาวอารยัน โดยหญิงเหล่านี้จะมีเพศสัมพันธ์กับชายชาวบร็อกปะโดยมีสินน้ำใจตอบแทน เพื่อิที่จะตั้งครรภ์เลือดเนื้อเชื้อไขของชาวอารยันอันผุดผ่อง ตามความเชื่อของฮิตเลอร์ ที่หวังจะสร้างอาณาจักรของชาวอารยันบริสุทธิ์ขึ้นมา

    89179171_2824940850907056_5235320243378716672_o.jpg

    brokpa-lady-kieron-nelson.jpg


    โดย กรกิจ ดิษฐาน

    ภาพโดย Sunny Tank
    ภาพประกอบเพิ่มจากทางอินเตอร์เน็ท


    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.posttoday.com/world/664710
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Earth n Water

    Earth n Water เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    979
    ค่าพลัง:
    +2,100
    ขอบคุณมากค่ะ
    เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเป็นความรู้ที่ดีมากค่ะ

     

แชร์หน้านี้

Loading...