ไฟล์ที่สิบเอ็ด - เทวตานุสติ (20 - มค - 47)

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 17 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    [MUSIC]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2062[/MUSIC]
     
  2. น้ำมนต์

    น้ำมนต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,159

    จับภาพพระ พร้อมกับลมหายใจเข้าออกเป็นปกติ เรื่องของภาพพระจัดเป็นพุทธานุสติกรรมฐาน โดยเฉพาะถ้าเรานึกอยู่เสมอว่า พระพุทธเจ้าอยู่บนพระนิพพาน ก็เป็นวิปัสนานุสติกรรมฐานไปด้วย ส่วนเรื่องของลมหายใจเข้าออกเป็นพื้นฐานของกรรมฐานทั้งหมด เป็นเครื่องสร้างสติของเราให้สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นทุกครั้ง เราไม่สามารถจะทิ้งลมหายใจเข้าออกได้ ทิ้งเมื่อไร กรรมฐานทุกกองมันจะไม่ทรงตัว เรื่องของภาพพระ กับลมหายใจเข้าออก ให้ถือเป็นพระวินัยประจำตัวไปเลย คือเป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องทำ จะมากจะน้อยในแต่ละวันต้องนึกถึงให้ได้ ต้องการภาพพระแบบไหน ลักษณะไหน แล้วแต่เราชอบ ส่วนลมหายใจเข้า ออก ถ้าเรามีความคล่องตัว มันจะกระโดดข้ามขั้น พอนึกปั๊บ มันจะวิ่งไปสู่จุดที่เราเคยชิน คืิอตามฌานระดับต่างๆ ถ้าไม่สามารถจะทำอย่างนั้นได้ก็ให้เริ่มต้นจับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ใช้ความรู้สึกของลมตามดูมัน ว่ามันผ่านจมูก ผ่านกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้อง ออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก มีความรู้สึกของเราอยู่เช่นนี้ ถ้าจิตมันละเอียดจริงๆ มันจะรู้ลมได้ตลอด โดยไม่ต้องไปกำหนดฐานเิดิม ลมหายใจไหลเข้า รู้ตลอดไป ลมหายใจไหลออกรู้ตลอดไป ถ้าหากว่ารู้แบบนี้ ก็แปลว่าจิตของเราทรงเป็นฌานอัตโนมัติแล้ว ถ้ากำลังมันสูงมากขึ้น มากขึ้น ลมหายใจเข้าออกของเราบางทีสว่างตลอดไปถึงข้างใน มันสว่างตลอดเส้นทางที่ลมเข้าไป สว่างตลอดเส้นทางที่ลมออกมา ดังนั้นความรู้สึกให้กำหนดอยู่เฉพาะหน้า ตั้งใจดูตามลมเข้าไปพร้อมกับภาพพระ หายใจเข้า ภาพพระไหลตามลมเข้าไปสุดที่ท้อง หายใจออกภาพพระไหลตามลมออกมา ให้ท่านไปอยู่บนศีรษะก็ได้ หายใจเข้าภาพพระเล็กลงไปอยู่ที่ท้อง หายใจออกภาพพระใหญ่ขึ้นไปอยู่เหนือหัวของเราเมื่อภาพพระชัดเจนแจ่มใสสมบูรณ์แล้ว อย่าลืมการแผ่เมตตาไปสู่สรรพสัตว์ทั้งหลายให้เป็นปกติ เมตตา พรมวิหาร จะหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้เยือกเย็น ทำให้กรรมฐานทรงตัว ไม่เสื่อมสลายไปง่าย กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ความจริงกองใดกองหนึ่ง ถ้าเราตั้งใจทำ ก็ไปนิพพานได้ทั้งนั้น แต่ว่าการปฏิบัติของเราส่วนใหญ่มีพื้นฐานในอดีตมาแล้ว มีความถนัดในกรรมฐานหลายๆ กองมาแล้ว เราต้องเลือกสิ่งที่มันเหมาะ สิ่งที่มันดี สำหรับตัวเราเอง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา จึงกล้าพูดได้เต็มปากว่า ถ้าเรามีพรมวิหาร ๔ อยู่ในใจ กรรมฐานทุกกองจะทรงตัวได้ง่าย เพราะอารมณ์มีความเยือกเย็นเป็นปกติ การแผ่เมตตา พยายามทำให้มากที่สุึดเท่าที่จะมากได้ อันดับแรกคือ สรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อสัมผัสกระแสเมตตาแล้ว กำลังใจที่เร่าร้อนก็จะชื่นเย็น ทำให้เขาไม่คิดจะเป็นศัตรูกับเรา อยู่ในป่่า อยู่ในสถานที่รกชัฎ ก็ไม่จำเป็นต้องไปหวาดกลัวว่าสัตว์ชนิดไหนจะทำร้าย เมื่อเราไม่ต้องหวาดกลัว ไม่ต้องหวาดระแวง กำลังใจที่ทรงตัวอยู่เฉพาะหน้า ไม่ส่งส่ายไปอารมณ์อื่น มันก็เป็นสมาธิได้ง่าย เมื่อแผ่เมตตาออกไป จนกำลังใจของเราทรงตัวแล้ว มั่นคงแล้ว ก็ให้พิจารณาร่างกายของเราต่อ ดูให้เห็นว่าร่างกายของเรามันไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ในท่านกลาง และสลาย ตาย พัง ไปในที่สุด ดูให้เห็นว่าขณะำ่ดำรงชีวิตอยู่มีแต่ความทุกข์ ขณะเวียนว่ายตายเกิดตามภพ ตามภูมิต่างๆ มีแต่ความทุกข์ ทุกข์ของการเกิด การแก่ การตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ การได้สิ่งที่ไม่ชอบใจ การมีความปรารถนาไม่สมหวัง การกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ แ้ม้เป็นเทวดา พรม มีความสุข แต่ก็ยังมีทุกข์อยู่ คือว่ายังกลัวว่าจะต้องตกสู่อบายภูมิ ยังมีกิจที่จะต้องขวนขวายทำเพื่อความหลุดพ้น ดังนั้นแม้เทวดา พรม ก็ยังเป็นทุกข์ ท้ายสุดนี้ก็คืำอ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ร่างกายเป็นธาตุ ๔ คือดิน คือน้ำ คือลม คือไฟ ประกอบขึ้นมาเป็นเรือนร่างชั่วคราวให้เราได้อาศัยอยู่ ถึงเวลาัมันก็เสื่อมสลายตายพังไป ไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ กายของเทวดา ของพรมที่เป็นทิพย์ ถ้าหากว่าหมดบุญ ก็ต้องสลายไปเช่นกัน จุติไปสู่ภพอื่น ภูมิอื่น ไปได้กายที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ตามบุญตามบาปของตน ตกอยู่ในกฎของ ไตรลักษณ์ คืออนิจจังไม่เที่ยงเช่นกัน ถ้าไปยึดถือมั่นหมายก็เป็นทุกข์ เพราะว่าจริงๆ แล้วมันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา มันเป็นแค่เปลือกให้เราอาศัยอยู่ เป็นเหมือนรถยนต์ที่เราขับมัน ถึงเวลารถพัง เราก็ไปหารถคันใหม่ตามบุญตามกรรมที่เราทำมา ทำกรรมดีเอาไว้มาก ก็ได้รถสวยๆ ราคาสูงๆ ทำกรรมดีเอาไว้น้อย ก็ได้รถเก่าๆ พังๆ ไม่มีราคา แต่ไม่ว่าจะเป็นรถเก่า รถใหม่ เราก็ต้องแบกภาระในการดูแลอยู่เสมอ การที่เราต้องดูในร่างกายนี้ หิวหาให้มันกิน กระหายหาให้มันดื่ม ร้อนหาน้ำให้มันอาบ หาเครื่องบรรเทาความร้อนให้กับมัน หนาวต้องหาผ้าให้กับมัน เจ็บไข้ได้ป่วยต้องรักษาพยาบาล ตลอดเวลามันมีความสกปรกอยู่เสมอ ต้องคอยดูแลอาบน้ำชำระมัน ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้ามีแต่ความสกปรก ไม่ทำความสะอาดมันวันเดียวกลิ่นก็เริ่มออกมากแล้ว สภาพร่างกายของเรามีความเป็นจริงอย่างนี้ ของคนอื่นสัตว์อื่นก็เป็นอย่างนี้ เรายังจะไปยินดีมันหรือไม่ ในเมื่อถึงวาระ ถึงเวลา มันก็เปลี่นยภพ เปลี่ยนภูมิ เปลี่ยนขันธ์ ไปตามบุญตามบาปของเรา

    สำหรับวันนี้เราก็มาพูดถึงเรื่องของภพ ภูมิที่สูงกว่า ดีกว่าภพ ภูมิ ของเราคือเรื่องของเทวดา คือจะกล่าวถึงเทวดานุสติกรรมฐาน เราเรียนเรื่องของพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ธรรมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม สังฆานุสติ ระลึงถึงคุณของพระสงฆ์มาแล้ว ว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ สั่งสอนสัตว์โลกทั้งหลายให้รู้ตาม พระธรรมของพระองค์ท่านป้องกันผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกสู่อบายภูมิ ให้ก้าวสู่ภพ ภูมิที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปตราบจนหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพาน พระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิบัติดี ปฏิบัติควร ปฏิบัติชอบแล้ว รู้ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน และนำธรรมะนั้นไปเผยแพร่ เพื่อให้ศาสนาของเรากว้างไกลออกไป มีประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายโดยถ้วนหน้า คราวนี้เรามาดูเรื่องของเทวดานุสติกรรมฐานคือ การระลึกถึงความดีของเทวดา เทวดานั้น กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมี ๓ จำพวกด้วยกัน คือ สมมติเทพ เป็นเทวดาโดยสมมติคือการแต่งตั้งขึ้นมา อย่างเจ้าพระยามหากษัตริย์ พระเจ้าจักรพรรดิ์ เป็นต้น อุปัติเทพเป็นเทวดาโดยการกำเนิดขึ้น อย่างภุมเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดาทั้ง ๖ ชั้น พรมทั้ง๑๖ ชั้น อรูปพรมทั้ง ๔ ชั้น จัดอยู่ในพวกอุปัติเทพทั้งหมด วิสุทธิเทพ เทวดาผู้บริสุทธิ์แล้วโดยสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ทั้งหมด พระปัจเจกพระเจ้าทั้งหมด พระพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งท่านทั้งหลายอยู่ในพระนิพพาน การระลึกถึงความดีของเทวดาแต่ละลำดับชั้น ไม่ใช่ระลึกถึงในลักษณะเอาท่านเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ระลึกถึงในลักษณะของการอ้อนวอนขอให้ท่านช่วยเหลือ แต่พระพุทธเจ้าสอนให้เรา ศึกษาคุณสมบัติของท่าน แล้วปฏิบัติตามนั้น เราก็จะได้อย่างท่าน จะเป็นอย่างท่าน การจะเกิดมาเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ทั้งหลาย กุศลข้อแรกที่้ต้องมีเป็นปกติคือศีล อย่างน้อยศีล ๕ ข้อต้องบริสุทธิ์สมบูรณ์ ถ้าศีลไม่ครบถ้วนไม่มีโอกาสได้เกิดเป็นคน จะต้องมีทาน เพราะว่า เจ้าพระยามหากษัตริย์ก็ดี พระเจ้าจักรพรรดิ์ก็ดี จะต้องมีการสงเคราะห์บุุคคลอยู่ใต้การปกครองของท่านอยู่เสมอ ตลอดเวลา ถ้าไม่มีกำลังของฌาน ย่อมไม่ส่งผลให้ท่านมีทรัพย์สินมากมาย ก็ไม่สามารถแจกจ่ายสงเคราะห์แก่บุคคลที่ท่านปกครองได้ มีทาน มีศีลแล้วก็ยังต้องมีภาวนาเป็นปกติ โดยเฉพาะพระเจ้าจักรพรรดิราชทุกท่าน จัดเป็นธรรมิกราช เป็นพระราชาผู้ทรงธรรมเป็นปกติ จะสั่งสอนบุคคลที่ท่านปกครองทุกคนให้ปฏิบัติในธรรมะต่างๆ เพื่อความอยู่สุขในปัจจุบันและถ้าเกิดใหม่ก็จะได้รับความสุขความเจริญอีก พระเจ้าจักรพรรดิราชจัดเป็นหูปารหาบุคคล คือบุคคลที่สมควรจะสร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ให้คนรุ่นหลังได้กราบไหว้บูชา การได้กราบไหว้บูชา แม้แค่ระลึกถึงความดีของท่าน อย่างน้อยๆ ก็พาให้เราเกิดเป็นเทวดาได้ ก็ดูว่าึคุณความดีของท่าน มีทาน มีศีล มีภาวนา เราึควรปฏิบัติตามในสิ่งใดบ้าง ทำได้ให้ตัดสินใจว่าเราจะทำสิ่งนั้น อุปัติเทพต่างๆ คือเทวดาัทั้งหลาย พรมทั้งหลาย อย่างน้อยๆ ท่านต้องมี หิริ คือรู้จักละอายชั่ว ไม่กล้าทำความชั่ว เพราะมีโอตปะ คือเกรงกลัวผลของความชั่วนั้นจะให้ผล จะทำให้ตนเองตกสู่อบายภูมิ หิริ โิอตปะ เรียกว่า เทวธรรม คือธรรมะของเทวดาทั้งหลาย แล้วก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ทุกสิกขาบท การเป็นเทวดาเป็นพรม โอกาสจะละเมิดศีลนั้นแทบไม่มี ดังนั้นต่อให้ท่านตั้งใจรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุ ท่านก็รักษาได้โดยง่าย ส่วนการปฏิบัติภาวนาต่างๆ ถ้าอารมณ์ใจทรงตัว ก็จะไปเกิดเป็นพรมตามลำดับชั้นต่างๆ ทรงปฐมฌานอย่างหยาบได้ เกิดเป็นพรมชั้นที่ ๑ อย่างกลางเป็นพรมชั้นที่ ๒ อย่างละเอียดเป็นพรมชั้นที่ ๓ ทรงฌาน ๒ ได้ อย่างหยาบ จะเกิดเป็นพรมชั้นทีูู่ ๔ อย่างกลางเป็นพรมชั้นที่ ๕ อย่างละเ่อียดเป็นพรมชั้นที่ ๖ ทรงฌาน ๓ ได้อย่างหยาบ เกิดเป็นพรมชั้นที่ ๗ อย่างกลางเกิดเป็นพรมชั้นที่ ๘ อย่างละเ่อียดเป็นพรมชั้นที่ ๙ ทรงฌาน ๔ ได้ ฌาน ๔ มีแค่สองระดับ คือหยาบกับละเิอียด ทรงฌาน ๔ อย่างหยาบได้เกิดเป็นพรมชั้นที่ ๑๐ ทรงฌาน ๔ อย่างละเอียดได้เกิดเป็นพรมชั้นที่ ๑๑ ถือว่าเป็นสูงสุดของอรูปพรมในโลกีย์พรม ถ้าสร้่่างกำลังใจเป็นพระอนาคามีได้ จะเกิดเป็นพรมชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๑๖ ถ้าทรงอรูปฌานได้ก็จะเกิดเป็นอรูปพรม แล้วแต่ว่าเราทรงอันไหนได้ ทรงอากาสานัญจายตนะฌานได้ ก็เกิดเป็นอรูปพรมที่ ๑ วิญญาณัญจายตนะฌานได้ เกิดเป็นอรูปพรมที่ ๒ อาจิณจัญญายตนะฌาน เกิดเป็นอรูปพรมที่ ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนะฌานเกิดเป็นอรูปพรมที่ ๔แดนของอรูปพรมจะอยู่ระหว่างพรมชั้นที่ ๑๑ กับพรมชั้นที่ ๑๒ เป็นเขตแดนต่างๆ ออกไป อยู่ในสภาพที่มีแต่ดวงจิต ไม่มีอายตนะ รับรู้อย่างอื่น เสวยความสุขตามกำลังฌานของตน เป็นอากาสานัญจายตนะอรูปพรม ก็เสวยความสุขอยู่ ๒๐,๐๐๐มหากัปล์ เป็น วิญญาณัญจายตนะอรูปพรม เสวยความสุขอยู่ ๔๐,๐๐๐มหากัปล์ เป็น อาจิณจัญญายตนะพรม เสวยความสุขอยู่ ๖๐,๐๐๐มหากัปล์ เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะพรม เสวยความสุขอยู่ ๘๐,๐๐๐มหากัปล์ แต่ว่าเป็นการกินบุญล้วนๆ ถ้าหากว่าบุญใหญ่จากอรูปฌานบุญหมดไม่เคยทำบุญอื่นไว้ อาจจะตกสู่อบายภูมิไปเลย การเป็นเทวดาจึงต้องมีเทวธรรมคือ หิริ โอตปะ จะต้องมีศีลปริสุทธิ์ จะต้องมีฌานสมาบัติ แต่ว่าเทวดาที่เป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย อยู่ในสถานที่ของภุมเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดาทั้ง ๖ ชั้นเป็นจำนวนมาก เพราะว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้น ยินดีในสถานที่เพียงแค่นั้น หรือว่ามีกิจต่างๆ ที่จะต้องรับผิดชอบ ตามลำดับชั้นภูิมินั้นๆ แต่ว่ากำลังใจก้าวล่วงไปแล้วก็ยังต้องทำหน้าที่นั้นจนกว่าจะหมดวาระ ถึงจะไปสู่ภพ ภูมิของตนตามกำลังของความดี ตามกำลังของความเป็นพระอริยเจ้าของท่านทั้งหลายเหล่านั้น ส่วนอันดับสุดท้ายคือ วิสุทธิเทพได้แด่พระอรหันต์ทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่เป็นวิสุทธิเ่ทพ เป็นผู้ชำระใจของตนให้หมดจากรัก โลภ โกรธ หลง ได้อย่างสะอาด บริสุทธิ์ การจะชำระใจของตนให้สะอาด บริสุทธิ์ได้ สติ สมาธิ ปัญญา จะต้องสมบูรณ์พร้อม
    เมื่อครู่ได้กล่าวแล้วว่า ถ้าทิ้งลมหายใจเข้า ออก จิตไม่สามารถทรงตัวตั้งมั่นได้ ตัวสมาธิ ไม่เจริญ ตัวสติก็จะบกพร่อง ดังนั้นลมหายใจเข้า ออก สำคัญที่สุด ถ้าสติ สมาธิ สมบูรณ์พร้อม เห็นทุกอย่างที่มากระทบ ได้ยินทุกอย่างที่มากระทบ ได้กลิ่นทุกอย่างที่มากระทบ ได้รสทุกอย่างที่มากระทบ รับสัมผัสทุกอย่างที่มากระทบ ก็จะหยุดแค่นั้น หยุดแึ่ค่นั้น ไม่มีการปรุงแต่งต่อ กิเลสทุกอย่างก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ การที่สติ สมาธิ ปัญญา จะทรงตัวแหลมคม อยู่ที่ความขวนขวายของเราเอง อยู่ที่ความพยายามของเราเอง ไม่มีใครช่วยเหลือเราได้ ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างได้ การช่วยเหลือก็คือการแนะนำ เหมือนกับการบอกทาง เมื่อบอกแล้วถ้าเราตั้งหน้าตั้งตาเดินไปตามทางนั้น ก็จะใกล้ จุดหมายปลายทางไปเรื่อยๆ แต่ถ้าบอกแล้วเราไม่เชื่อ เราไม่เดินตามทางนั้น โอกาสจะถึงจุดหมายก็ไม่มี ถ้าเราประมาท เดินบ้างหยุดบ้าง โอกาสจะถึงจุดหมายก็น้อยลง เพราะว่าชีวิตนี้เป็นสิ่งมีน้อย อาจจะตายลงไปเมื่อไรก็ได้
    เรื่องของพระอริยเจ้า เรื่องของครูบาอาจารย์ เรื่องของพระปัจเจกพุทธเจ้า เรื่องของพระพุทธเจ้า การที่เราดู เราศึกษาปฏิปทาของท่าน เหมือนกับเราไปดูสมบัติของมหาเศรษฐีดูว่าท่านรวยอย่างนั้น ท่านรวยอย่างนี้ นั่นก็ยังเป็นสมบัติของท่านเป็นปกติ มันต้องดูว่าท่านทำอย่างไร ถึงจะรวยแบบนั้น ถึงจะรวยแบบนี้ แล้วเราทำตามนั้น ปฏิบัติตามนั้น เราก็จะรวยอย่างท่านบ้าง ดังนั้นการศึกษาในเทวตานุสติกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็นสมมติเทพ อุปัติเทพ วิสุทธิเทพ ก็คือให้เราศึกษาปฏิปทาคือการปฏิบัติตนของท่าน เพื่อให้เข้าถึงตามลำดับของท่านเหล่านั้น เมื่อท้ายสุดกำลังใจของเรา เกาะอยู่จุดสุดท้ายคือพระนิพพานซึ่งเป็นที่อศัยอยู่ของพระวิสุทธิเทพทั้งปวง ให้ตั้งใจว่าถ้าหากว่าเราตายลงไปเมื่อไร เราขอมาอยู่ที่นี่เท่านั้น ถ้ากำลังใจของเราทรงตัวตั้งมั่นจริงๆ ถึงเวลาพอตายมันจะมาเอง เพราะว่าจิต มีสภาพจำ ถ้าเราตั้งใจให้มันจดจำความดี จนกระทั่งเคยชินกับความดี ถึงวาระ ถึงเวลามันก็เกาะดีโดยอัตโนมัติ ถ้าเราไม่ทำความเคยชินในด้านดีให้กับมัน ถึงวาระ ถึงเวลามันเกาะในด้านไม่ดี ก็พาเราไปสู่ภพภูมิที่ไม่ดีไม่งาม ดังนั้นการจัุบภาพขององค์สมเด็จพระสััมมาสัมพุทธเจ้าไว้ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก ก็จัดเป็นการปฏิบัติในเทวตานุสติกรรมฐานอย่างหนึ่ง หรือจับภาพพระวิสุทธิเทพไปเลย หายใจเข้าภาพของท่าน สว่างสดใสอยู่ตรงหน้า หรืออยู่บนศีรษะ หายใจออก ภาพของท่านสว่างสดใสอยู่ตรงหน้า หรืออยู่บนศีรษะ ให้ตั้งใจว่าถ้าตายลงไปเราจะไปอยู่กับบนพระนิพพานเพียงที่เดียว แล้วทรงอารมณ์ภาวนาต่อ จนกระทั่งเต็มคือเต็็มที่ที่เราทำได้ แล้วพยายามประคับประคองอารมณ์นั้นไว้พยายามจับภาพนั้นไว้ให้เป็นปกติ ทำให้มากทุกวัน กรรมฐานทุกกองพารเราไปสู่พระนิพพานได้ เทวตานุสติกรรมฐานย่อมพาเราไปนิพพานได้ เพียงแต่ว่าเราทำถูกต้องหรือไม่เท่านั้นเอง คราวนี้ก็ขอให้ทุกคนประคับประคองภาพนั้นไว้ รักษาภาพนั้นไว้ให้ดี ถึงเวลาเราจะทำวัตรอะำำไรก็แบ่งกำลังใจส่วนหนึ่ง จดจ่ออยู่กับภาพนั้นๆ เอาไว้ อย่าให้เคลื่อนไหวไปขณะที่ปากเราพูด อย่าให้เคลื่อนไปขณะที่ใจของเรานึกถึง อย่าให้เคลื่อนไปขณะที่ร่างกายมันเคลื่อนไหว พยายามสร้างความเคยชินในการทำความดีขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหว ขณะที่ร่างกายทำกิจอื่นๆ ไว้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลากำลังใจจะได้ทรงตัวอยู่แบบนั้ได้ง่าย<O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2005
  3. น้ำมนต์

    น้ำมนต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,159
    ถ้ามีที่ใดพิมพ์ผิด ตก ช่วยแนะนำด้วยนะคะ โดยเฉพาะ ศัพท์ทางพุทธศาสนาจะได้แก้ไขต่อไปค่ะ
     
  4. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    โมทนาด้วยนะครับ
     
  5. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026

    จับภาพพระ พร้อมกับลมหายใจเข้าออกเป็นปกติ เรื่องของภาพพระจัดเป็น พุทธานุสติกรรมฐาน โดยเฉพาะถ้าเรานึกอยู่เสมอว่า พระพุทธเจ้าอยู่บนพระนิพพาน ก็เป็นวิปัสนานุสติกรรมฐานไปด้วย

    ส่วนเรื่องของลมหายใจเข้าออกเป็นพื้นฐานของกรรมฐานทั้งหมด เป็นเครื่องสร้างสติของเราให้สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นทุกครั้ง เราไม่สามารถจะทิ้งลมหายใจเข้าออกได้ ทิ้งเมื่อไร กรรมฐานทุกกองมันจะไม่ทรงตัว

    เรื่องของภาพพระ กับลมหายใจเข้าออก ให้ถือเป็นพระวินัยประจำตัวไปเลย คือเป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องทำ จะมากจะน้อยในแต่ละวันต้องนึกถึงให้ได้ ต้องการภาพพระแบบไหน ลักษณะไหน แล้วแต่เราชอบ ส่วนลมหายใจเข้า ออก ถ้าเรามีความคล่องตัว มันจะกระโดดข้ามขั้น พอนึกปั๊บ มันจะวิ่งไปสู่จุดที่เราเคยชิน คือตามฌานระดับต่างๆ

    ถ้าไม่สามารถจะทำอย่างนั้นได้ก็ให้เริ่มต้นจับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ใช้ความรู้สึกของลมตามดูมัน ว่ามันผ่านจมูก ผ่านกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้อง ออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก
    มีความรู้สึกของเราอยู่เช่นนี้ ถ้าจิตมันละเอียดจริงๆ มันจะรู้ลมได้ตลอด โดยไม่ต้องไปกำหนดฐานเดิม ลมหายใจไหลเข้า รู้ตลอดไป ลมหายใจไหลออกรู้ตลอดไป

    ถ้าหากว่ารู้แบบนี้ ก็แปลว่าจิตของเราทรงเป็นฌานอัตโนมัติแล้ว ถ้ากำลังมันสูงมากขึ้น มากขึ้น ลมหายใจเข้าออกของเราบางทีสว่างตลอดไปถึงข้างใน มันสว่างตลอดเส้นทางที่ลมเข้าไป สว่างตลอดเส้นทางที่ลมออกมา ดังนั้นความรู้สึกให้กำหนดอยู่เฉพาะหน้า ตั้งใจดูตามลมเข้าไปพร้อมกับภาพพระ หายใจเข้า ภาพพระไหลตามลมเข้าไปสุดที่ท้อง หายใจออกภาพพระไหลตามลมออกมา ให้ท่านไปอยู่บนศีรษะก็ได้ หายใจเข้าภาพพระเล็กลงไปอยู่ที่ท้อง หายใจออกภาพพระใหญ่ขึ้นไปอยู่เหนือหัวของเรา

    เมื่อภาพพระชัดเจนแจ่มใสสมบูรณ์แล้ว อย่าลืมการแผ่เมตตาไปสู่สรรพสัตว์ทั้งหลายให้เป็นปกติ เมตตา พรมวิหาร จะหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้เยือกเย็น ทำให้กรรมฐานทรงตัว ไม่เสื่อมสลายไปง่าย กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ความจริงกองใดกองหนึ่ง ถ้าเราตั้งใจทำ ก็ไปนิพพานได้ทั้งนั้น แต่ว่าการปฏิบัติของเราส่วนใหญ่มีพื้นฐานในอดีตมาแล้ว มีความถนัดในกรรมฐานหลายๆ กองมาแล้ว เราต้องเลือกสิ่งที่มันเหมาะ สิ่งที่มันดี

    สำหรับตัวเราเอง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา จึงกล้าพูดได้เต็มปากว่า ถ้าเรามีพรมวิหาร ๔ อยู่ในใจ กรรมฐานทุกกองจะทรงตัวได้ง่าย เพราะอารมณ์มีความเยือกเย็นเป็นปกติ การแผ่เมตตา พยายามทำให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อันดับแรกคือ
    ~สรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อสัมผัสกระแสเมตตาแล้ว กำลังใจที่เร่าร้อนก็จะชื่นเย็น ทำให้เขาไม่คิดจะเป็นศัตรูกับเรา อยู่ในป่า อยู่ในสถานที่รกชัฎ ก็ไม่จำเป็นต้องไปหวาดกลัวว่าสัตว์ชนิดไหนจะทำร้าย เมื่อเราไม่ต้องหวาดกลัว ไม่ต้องหวาดระแวง กำลังใจที่ทรงตัวอยู่เฉพาะหน้า ไม่ส่งส่ายไปอารมณ์อื่น มันก็เป็นสมาธิได้ง่าย เมื่อแผ่เมตตาออกไป จนกำลังใจของเราทรงตัวแล้ว มั่นคงแล้ว ก็ให้พิจารณาร่างกายของเราต่อ ดูให้เห็นว่าร่างกายของเรามันไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ในท่านกลาง และสลาย ตาย พัง ไปในที่สุด ดูให้เห็นว่าขณะดำรงชีวิตอยู่มีแต่ความทุกข์ ขณะเวียนว่ายตายเกิดตามภพ ตามภูมิต่างๆ มีแต่ความทุกข์ ทุกข์ของการเกิด การแก่ การตาย

    การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ การได้สิ่งที่ไม่ชอบใจ การมีความปรารถนาไม่สมหวัง การกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ แม้เป็นเทวดา พรม มีความสุข แต่ก็ยังมีทุกข์อยู่ คือว่ายังกลัวว่าจะต้องตกสู่อบายภูมิ ยังมีกิจที่จะต้องขวนขวายทำเพื่อความหลุดพ้น ดังนั้นแม้เทวดา พรม ก็ยังเป็นทุกข์ ท้ายสุดนี้ก็คือ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ร่างกายเป็นธาตุ ๔ คือดิน คือน้ำ คือลม คือไฟ

    กายของเทวดา ของพรมที่เป็นทิพย์ ถ้าหากว่าหมดบุญ
    ประกอบขึ้นมาเป็นเรือนร่างชั่วคราวให้เราได้อาศัยอยู่ ถึงเวลามันก็เสื่อมสลายตายพังไป
    ไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ ก็ต้องสลายไปเช่นกัน จุติไปสู่ภพอื่น ภูมิอื่น ไปได้กายที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ตามบุญตามบาปของตน ตกอยู่ในกฏของ ไตรลักษณ์ คืออนิจจังไม่เที่ยงเช่นกัน ถ้าไปยึดถือมั่นหมายก็เป็นทุกข์ เพราะว่าจริงๆ แล้วมันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา มันเป็นแค่เปลือกให้เราอาศัยอยู่ เป็นเหมือนรถยนต์ที่เราขับมัน ถึงเวลารถพัง เราก็ไปหารถคันใหม่ตามบุญตามกรรมที่เราทำมา ทำกรรมดีเอาไว้มาก ก็ได้รถสวยๆ ราคาสูงๆ ทำกรรมดีเอาไว้น้อย ก็ได้รถเก่าๆ พังๆ ไม่มีราคา แต่ไม่ว่าจะเป็นรถเก่า รถใหม่ เราก็ต้องแบกภาระในการดูแลอยู่เสมอ

    การที่เราต้องดูในร่างกายนี้ หิวหาให้มันกิน กระหายหาให้มันดื่ม ร้อนหาน้ำให้มันอาบ หาเครื่องบรรเทาความร้อนให้กับมัน หนาวต้องหาผ้าให้กับมัน เจ็บไข้ได้ป่วยต้องรักษาพยาบาล ตลอดเวลามันมีความสกปรกอยู่เสมอ ต้องคอยดูแลอาบน้ำชำระมัน ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้ามีแต่ความสกปรก ไม่ทำความสะอาดมันวันเดียวกลิ่นก็เริ่มออกมากแล้ว สภาพร่างกายของเรามีความเป็นจริงอย่างนี้ ของคนอื่นสัตว์อื่นก็เป็นอย่างนี้ เรายังจะไปยินดีมันหรือไม่ ในเมื่อถึงวาระ ถึงเวลา มันก็เปลี่นยภพ เปลี่ยนภูมิ เปลี่ยนขันธ์ ไปตามบุญตามบาปของเรา


    สำหรับวันนี้เราก็มาพูดถึงเรื่องของภพ ภูมิที่สูงกว่า ดีกว่าภพ ภูมิ ของเราคือเรื่องของเทวดา คือจะกล่าวถึง เทวดานุสติกรรมฐาน เราเรียนเรื่องของ
    ~พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า
    ~ธรรมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
    ~สังฆานุสติ ระลึงถึงคุณของพระสงฆ์มาแล้ว ว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ สั่งสอนสัตว์โลกทั้งหลายให้รู้ตาม

    พระธรรมของพระองค์ท่านป้องกันผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกสู่อบายภูมิ ให้ก้าวสู่ภพ ภูมิที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปตราบจนหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพาน พระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิบัติดี ปฏิบัติควร ปฏิบัติชอบแล้ว รู้ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน และนำธรรมะนั้นไปเผยแพร่ เพื่อให้ศาสนาของเรากว้างไกลออกไป มีประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายโดยถ้วนหน้า

    คราวนี้เรามาดูเรื่องของ*เทวดานุสติกรรมฐาน*คือ การระลึกถึงความดีของเทวดา เทวดานั้น กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมี ๓ จำพวกด้วยกัน คือ
    *สมมติเทพ เป็นเทวดาโดยสมมติคือการแต่งตั้งขึ้นมา อย่างเจ้าพระยามหากษัตริย์ พระเจ้าจักรพรรดิ์ เป็นต้น
    *อุปัติเทพ เป็นเทวดาโดยการกำเนิดขึ้น อย่าง
    ภุมเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดาทั้ง ๖ ชั้น พรมทั้ง๑๖ ชั้น อรูปพรมทั้ง ๔ ชั้น จัดอยู่ในพวกอุปัติเทพทั้งหมด
    *วิสุทธิเทพ เทวดาผู้บริสุทธิ์แล้วโดยสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ทั้งหมด
    พระปัจเจกพระเจ้าทั้งหมด พระพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งท่านทั้งหลายอยู่ในพระนิพพาน

    การระลึกถึงความดีของเทวดาแต่ละลำดับชั้น ไม่ใช่ระลึกถึงในลักษณะเอาท่านเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ระลึกถึงในลักษณะของการอ้อนวอนขอให้ท่านช่วยเหลือ แต่พระพุทธเจ้าสอนให้เรา
    ศึกษาคุณสมบัติของท่าน แล้วปฏิบัติตามนั้น เราก็จะได้อย่างท่าน จะเป็นอย่างท่าน การจะเกิดมาเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ทั้งหลาย กุศลข้อแรกที่ต้องมีเป็นปกติคือศีล อย่างน้อยศีล ๕ ข้อต้องบริสุทธิ์สมบูรณ์ ถ้าศีลไม่ครบถ้วนไม่มีโอกาสได้เกิดเป็นคน จะต้องมีทาน เพราะว่า เจ้าพระยามหากษัตริย์ก็ดี พระเจ้าจักรพรรดิ์ก็ดี จะต้องมีการสงเคราะห์บุคคลอยู่ใต้การปกครองของท่านอยู่เสมอ ตลอดเวลา ถ้าไม่มีกำลังของฌาน ย่อมไม่ส่งผลให้ท่านมีทรัพย์สินมากมาย ก็ไม่สามารถแจกจ่ายสงเคราะห์แก่บุคคลที่ท่านปกครองได้ มีทาน มีศีลแล้วก็ยังต้องมีภาวนาเป็นปกติ โดยเฉพาะพระเจ้าจักรพรรดิราชทุกท่าน จัดเป็นธรรมิกราช เป็นพระราชาผู้ทรงธรรมเป็นปกติ จะสั่งสอนบุคคลที่ท่านปกครองทุกคนให้ปฏิบัติในธรรมะต่างๆ เพื่อความอยู่สุขในปัจจุบันและถ้าเกิดใหม่ก็จะได้รับความสุขความเจริญอีก พระเจ้าจักรพรรดิราชจัดเป็น
    หูปารหาบุคคล คือบุคคลที่สมควรจะสร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ให้คนรุ่นหลังได้กราบไหว้บูชา การได้กราบไหว้บูชา แม้แค่ระลึกถึงความดีของท่าน อย่างน้อยๆ ก็พาให้เราเกิดเป็นเทวดาได้ ก็ดูว่าคุณความดีของท่าน มีทาน มีศีล มีภาวนา

    เราควรปฏิบัติตามในสิ่งใดบ้าง ทำได้ให้ตัดสินใจว่าเราจะทำสิ่งนั้น อุปัติเทพต่างๆ คือเทวดาทั้งหลาย พรมทั้งหลาย อย่างน้อยๆ ท่านต้องมี หิริคือรู้จักละอายชั่ว ไม่กล้าทำความชั่ว เพราะม
    โอตปะ คือเกรงกลัวผลของความชั่วนั้นจะให้ผล จะทำให้ตนเองตกสู่อบายภูมิ หิริ โอตปะ เรียกว่า เทวธรรม คือธรรมะของเทวดาทั้งหลาย แล้วก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ทุกสิกขาบท การเป็นเทวดาเป็นพรม โอกาสจะละเมิดศีลนั้นแทบไม่มี

    ดังนั้นต่อให้ท่านตั้งใจรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุ ท่านก็รักษาได้โดยง่าย ส่วนการปฏิบัติภาวนาต่างๆ ถ้าอารมณ์ใจทรงตัว ก็จะไปเกิดเป็นพรมตามลำดับชั้นต่างๆ ทรงปฐมฌานอย่างหยาบได้ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ อย่างกลางเป็นพรหมชั้นที่ ๒ อย่างละเอียดเป็น พรหมชั้นที่ ๓ ทรงฌาน ๒ ได้ อย่างหยาบ จะเกิดเป็น พรหมชั้นที่ ๔ อย่างกลางเป็น พรหมชั้นที่ ๕ อย่างละเอียดเป็น พรหมชั้นที่ ๖ ทรงฌาน ๓ ได้อย่างหยาบ เกิดเป็น พรหมชั้นที่ ๗ อย่างกลางเกิดเป็น พรหมชั้นที่ ๘ อย่างละเอียดเป็น พรหมชั้นที่ ๙ ทรงฌาน ๔ ได้ ฌาน ๔ มีแค่สองระดับคือหยาบกับละเอียด ทรงฌาน ๔ อย่างหยาบได้เกิดเป็น พรหมชั้นที่ ๑๐ ทรงฌาน ๔ อย่างละเอียดได้เกิดเป็น พรหมชั้นที่ ๑๑ ถือว่าเป็นสูงสุดของอรูปพรมในโลกีย์พรม

    ถ้าสร้างกำลังใจเป็นพระอนาคามีได้ จะเกิดเป็นพรมชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๑๖ ถ้าทรงอรูปฌานได้ก็จะเกิดเป็นอรูปพรหม แล้วแต่ว่าเราทรงอันไหนได้ *ทรง
    อากาสานัญจายตนะฌานได้ ก็เกิดเป็น อรูปพรหมที่ ๑
    *วิญญาณัญจายตนะฌาน
    ได้ เกิดเป็น อรูปพรมที่ ๒
    *อาจิณจัญญายตนะฌาน
    เกิดเป็น อรูปพรมที่ ๓
    *เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน
    เกิดเป็น อรูปพรมที่ ๔ แดนของอรูปพรมจะอยู่ระหว่างพรมชั้นที่ ๑๑ กับพรมชั้นที่ ๑๒ เป็นเขตแดนต่างๆ ออกไป อยู่ในสภาพที่มีแต่ดวงจิต ไม่มีอายตนะ รับรู้อย่างอื่น เสวยความสุขตามกำลังฌานของตน เป็นอากาสานัญจายตนะอรูปพรม ก็เสวยความสุขอยู่ ๒๐,๐๐๐มหากัปล์ เป็น วิญญาณัญจายตนะอรูปพรม เสวยความสุขอยู่ ๔๐,๐๐๐มหากัปล์ เป็น อาจิณจัญญายตนะพรม เสวยความสุขอยู่ ๖๐,๐๐๐มหากัปล์ เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะพรม เสวยความสุขอยู่ ๘๐,๐๐๐มหากัปล์ แต่ว่าเป็นการกินบุญล้วนๆ

    ถ้าหากว่าบุญใหญ่จากอรูปฌานบุญหมดไม่เคยทำบุญอื่นไว้ อาจจะตกสู่อบายภูมิไปเลย การเป็นเทวดาจึงต้องมี
    เทวธรรมคือ หิริ โอตปะ จะต้องมีศีลปริสุทธิ์ จะต้องมีฌานสมาบัติ แต่ว่าเทวดาที่เป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย อยู่ในสถานที่ของภุมเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดาทั้ง ๖ ชั้นเป็นจำนวนมาก เพราะว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้น ยินดีในสถานที่เพียงแค่นั้น หรือว่ามีกิจต่างๆ ที่จะต้องรับผิดชอบ ตามลำดับชั้นภูมินั้นๆ แต่ว่ากำลังใจก้าวล่วงไปแล้วก็ยังต้องทำหน้าที่นั้นจนกว่าจะหมดวาระ ถึงจะไปสู่ภพ ภูมิของตนตามกำลังของความดี ตามกำลังของความเป็นพระอริยเจ้าของท่านทั้งหลายเหล่านั้น

    ส่วนอันดับสุดท้ายคือ วิสุทธิเทพได้แด่พระอรหันต์ทั้งหลาย
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่เป็น วิสุทธิเทพ เป็นผู้ชำระใจของตนให้หมดจากรัก โลภ โกรธ หลง ได้อย่างสะอาด บริสุทธิ์ การจะชำระใจของตนให้สะอาด บริสุทธิ์ได้ สติ สมาธิ ปัญญา จะต้องสมบูรณ์พร้อม

    เมื่อครู่ได้กล่าวแล้วว่า ถ้าทิ้งลมหายใจเข้า ออก จิตไม่สามารถทรงตัวตั้งมั่นได้ ตัวสมาธิ ไม่เจริญ ตัวสติก็จะบกพร่อง ดังนั้นลมหายใจเข้า ออก สำคัญที่สุด ถ้าสติ สมาธิ สมบูรณ์พร้อม เห็นทุกอย่างที่มากระทบ ได้ยินทุกอย่างที่มากระทบ ได้กลิ่นทุกอย่างที่มากระทบ ได้รสทุกอย่างที่มากระทบ รับสัมผัสทุกอย่างที่มากระทบ ก็จะหยุดแค่นั้น หยุดแค่นั้น ไม่มีการปรุงแต่งต่อ กิเลสทุกอย่างก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

    การที่สติ สมาธิ ปัญญา จะทรงตัวแหลมคม อยู่ที่ความขวนขวายของเราเอง อยู่ที่ความพยายามของเราเอง ไม่มีใครช่วยเหลือเราได้ ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างได้ การช่วยเหลือก็คือการแนะนำ เหมือนกับการบอกทาง เมื่อบอกแล้วถ้าเราตั้งหน้าตั้งตาเดินไปตามทางนั้น ก็จะใกล้ จุดหมายปลายทางไปเรื่อยๆ แต่ถ้าบอกแล้วเราไม่เชื่อ เราไม่เดินตามทางนั้น โอกาสจะถึงจุดหมายก็ไม่มี ถ้าเราประมาท เดินบ้างหยุดบ้าง โอกาสจะถึงจุดหมายก็น้อยลง เพราะว่าชีวิตนี้เป็นสิ่งมีน้อย อาจจะตายลงไปเมื่อไรก็ได้


    เรื่องของพระอริยเจ้า เรื่องของครูบาอาจารย์ เรื่องของ
    พระปัจเจกพุทธเจ้า เรื่องของพระพุทธเจ้า การที่เราดู เราศึกษาปฏิปทาของท่าน เหมือนกับเราไปดูสมบัติของมหาเศรษฐีดูว่าท่านรวยอย่างนั้น ท่านรวยอย่างนี้ นั่นก็ยังเป็นสมบัติของท่านเป็นปกติ มันต้องดูว่าท่านทำอย่างไร ถึงจะรวยแบบนั้น ถึงจะรวยแบบนี้ แล้วเราทำตามนั้น ปฏิบัติตามนั้น เราก็จะรวยอย่างท่านบ้าง ดังนั้นการศึกษาในเทวตานุสติกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็นสมมติเทพ อุปัติเทพ วิสุทธิเทพ ก็คือให้เราศึกษาปฏิปทาคือการปฏิบัติตนของท่าน เพื่อให้เข้าถึงตามลำดับของท่านเหล่านั้น เมื่อท้ายสุดกำลังใจของเรา เกาะอยู่จุดสุดท้ายคือพระนิพพานซึ่งเป็นที่อศัยอยู่ของพระวิสุทธิเทพทั้งปวง ให้ตั้งใจว่าถ้าหากว่าเราตายลงไปเมื่อไร เราขอมาอยู่ที่นี่เท่านั้น ถ้ากำลังใจของเราทรงตัวตั้งมั่นจริงๆ ถึงเวลาพอตายมันจะมาเอง เพราะว่าจิต มีสภาพจำ ถ้าเราตั้งใจให้มันจดจำความดี จนกระทั่งเคยชินกับความดี ถึงวาระ ถึงเวลามันก็เกาะดีโดยอัตโนมัติ ถ้าเราไม่ทำความเคยชินในด้านดีให้กับมัน ถึงวาระ ถึงเวลามันเกาะในด้านไม่ดี ก็พาเราไปสู่ภพภูมิที่ไม่ดีไม่งาม ดังนั้นการจับภาพขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก ก็จัดเป็นการปฏิบัติในเทวตานุสติกรรมฐานอย่างหนึ่ง หรือจับภาพพระวิสุทธิเทพไปเลย หายใจเข้าภาพของท่าน สว่างสดใสอยู่ตรงหน้า หรืออยู่บนศีรษะ หายใจออก ภาพของท่านสว่างสดใสอยู่ตรงหน้า หรืออยู่บนศีรษะ ให้ตั้งใจว่าถ้าตายลงไปเราจะไปอยู่กับบนพระนิพพานเพียงที่เดียว แล้วทรงอารมณ์ภาวนาต่อ จนกระทั่งเต็มคือเต็มที่ที่เราทำได้ แล้วพยายามประคับประคองอารมณ์นั้นไว้พยายามจับภาพนั้นไว้ให้เป็นปกติ

    ทำให้มากทุกวัน กรรมฐานทุกกองพารเราไปสู่พระนิพพานได้ เทวตานุสติกรรมฐานย่อมพาเราไปนิพพานได้ เพียงแต่ว่าเราทำถูกต้องหรือไม่เท่านั้นเอง คราวนี้ก็ขอให้ทุกคนประคับประคองภาพนั้นไว้ รักษาภาพนั้นไว้ให้ดี ถึงเวลาเราจะทำวัตอะไรก็แบ่งกำลังใจส่วนหนึ่ง จดจ่ออยู่กับภาพนั้นๆ เอาไว้ อย่าให้เคลื่อนไหวไปขณะที่ปากเราพูด อย่าให้เคลื่อนไปขณะที่ใจของเรานึกถึง อย่าให้เคลื่อนไปขณะที่ร่างกายมันเคลื่อนไหว พยายามสร้างความเคยชินในการทำความดีขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหว ขณะที่ร่างกายทำกิจอื่นๆ ไว้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลากำลังใจจะได้ทรงตัวอยู่แบบนั้นได้ง่าย
    <o =""></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...