เอาจริง!! พศ.ให้วันเสาร์เป็นวันเข้าวัดของชาวพุทธ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 18 ธันวาคม 2005.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> นายถวิล สมัครรัฐกิจ โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยหลังการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.)เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 ทางมส.ได้เห็นชอบตามที่พระเทพวิสุทธิกวี เลขานุการมส.เสนอให้วันเสาร์เป็นวันเข้าวัดของชาวพุทธ เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันวันโกน วันพระ มักไม่ตรงกับวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ ทำให้พุทธศาสนิกชนมที่ต้องการจะไปวัด ห่างเหินจากวัด ไม่มีเวลาไปฟังเทศน์ ฟังธรรม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ที่ประชุมมส.จึงเห็นชอบกับข้อเสนอดังกล่าว โดยมอบหมายให้พศ.เป็นผู้ดำเนินการและตั้งคณะกรรมการในการจัดทำกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้แทนจากพศ. และมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย(มมร.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) หลังจากนั้นให้นำเข้าเสนอต่อที่ประชุมมส.อีกครั้ง ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป
    โฆษกมส. กล่าวต่อไปว่า สำหรับกิจกรรมของโครงการวันเสาร์เข้าวัดของชาวพุทธ จะเสนอให้วัดต่างๆทำกิจกรรม เพื่อรองรับ อาทิเช่น กิจกรรมบำเพ็ญกุศล ฟังธรรม และปฏิบัติธรรม พุทธศาสนิกชนถือโอกาสงดเหล้า งดอบายมุข ในวันดังกล่าว โดยจะผนวกเข้ากับโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานรัฐ และโครงการครอบครัวอบอุ่น พ่อ แม่ พาลูกเข้าวัด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่มีนโยบายส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกที่จะทำความดี ละเว้นความชั่วด้วยการเข้าวัดฟังธรรม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนโครงการมุมสงบพบพระธรรม ของกระทรวงวัฒนธรรมอีกทางหนึ่งด้วย
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ล่ะ ล่ะ แล้วคนที่ต้องทำงานวันเสาร์..ทำไงดีน๊า..(คิด..ๆ )
     
  3. khochpaak

    khochpaak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    216
    ค่าพลัง:
    +1,727
    แล้วทำไมต้องวันเสาร์อ่า

    ก็ในเมื่ออิสลามเขาวันศุกร์ คริตวันอาทิตย์ แล้วทำไมพุทธไม่เอาวันอาทิตย์ล่ะครับ เพราะคนที่นับถือคริส เขาไม่มาเข้าวัดอยู่แล้วนี่นา อีกอย่างเอกชนเขาก็ทำงานกันวันเสาร์ อย่างนี้เขาก็ไม่มีโอกาสสิครับ ผมคิดว่าวันอาทิตย์ก็ได้ ไม่เป็นการขัดข้องกับคริสเขาอยู่แล้ว เพราะ ทั้งสองศาสนามีหลักการของตนเองอยู่แล้ว
     
  4. vichian

    vichian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    8,164
    ค่าพลัง:
    +41,921
    เอาจริง!!พศ.ให้วันเสาร์เป็นวันเข้าวัดของชาวพุทธ
    น่าสนใจดี เพราะนานมากกว่าจะได้ไปวัดสักครั้ง เพราะบ้านอยู่ไกลวัด ไปทำงานก็ไม่ผ่านวัด แต่ว่า.....วันเสาร์ผมทำงานแล้วจะเข้าวัดยังไง อย่างที่ หนูตา บอก
    แต่ไม่เป็นไรหากมีกิจกรรมดีๆ ก็อาจจะลางานไปบ้าง แล้วทำ o.t.ชดเชยแล้วกัน

    แต่ที่สำคัญ กำหนดวันเสาร์เป็นวันเข้าวัด แต่ไม่ยักกำหนดวันออกจากวัด เข้าไปแล้วจะออกได้เมื่อไหร่ ไม่ยักบอกให้ชัดเจน เมื่อเข้าแล้วจะออกได้หรือเปล่า งานการก็ต้องทำ ครอบครัวก็ต้องดูแล

    ไอเดียใครเนี่ย....ช่วยเคลียให้ชัดเจนหน่อยซิ....นะเอ่อนะ หรือ หนูตาลองหาข้อมูลเพิ่มเติมมามาแถลงก็ดีนะ

    สวัสดีที่จาได้เข้าวัด
    จากคนอยากเต็มบาท
     
  5. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ขออนุโมทนา

    ก็ดีครับเพราะสมัยนี้พุทธศาสนิกชน ประชาชน วัยรุ่น ห่างเหินวัดกันมากขึ้น วัดช่วยขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์...(แต่ต้องเลือกวัดด้วยนะครับ)
    -------------------------------------------------------------------

    ศึกษาวิธีสร้างบุญบารมี...ของสมเด็จพระญาณสังวร...ได้ที่

    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=19673

    เว็บไซต์ประวัติและธรรมเทศนาหลวงปู่หลวง กตตฺปุญฺโญ พระสุปฏิปันโนสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    http://members.thai.net/varanyo/pooluang.asp
     
  6. นิรมิต

    นิรมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +171
    ดีเหมือนกัน พาเพื่อนไปเที่ยวที่วัด
    เพื่อนคงชอบใจ....
     
  7. นิรมิต

    นิรมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +171
    ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ (พระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์ บารมี ๑๐ นั้นมีดังต่อไปนี้
    1. ทาน คือการให้ ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อ สงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์ เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน
    2. ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือ ไม่ทำศีล ให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่น ละเมิดศีลไม่ดีใจเมื่อ คนอื่นละเมิดศีล
    3. เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือ สิกขาบท อย่างเคร่งครัดถ้าเป็นฆราวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ทีเป็นที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำก็ก็ปฐมฌาน
    4. ปัญญา มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ
    5. วิริยะ มีความเพียรเป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล
    6. ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน
    7. สัจจะ มีความจริงใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล
    8. อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งใจไว้ เช่น สมัยที่สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรง อธิษฐานว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จ พระโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้ แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปหรือชีวิต จะตักษัย คือสิ้นลมปราณก็ตามทีพระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรง บรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว สำเร็จ ทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน
    9. เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูล มีอารมณ์เป็น เมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดี บางวันร้ายอย่างนี้ไม่มีหวัง
    10. อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจ อารมณ์ที่ถูกใจ รับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไปไม่มีอะไรน่ายึดถือพบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตก ว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง
    บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมากถ้า นักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้ ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็น ผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง
    ถ้าบารมี ๑๐ เต็มครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ไม่ใช่นับเดือนนับปี
     
  8. นิรมิต

    นิรมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +171
    ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ (พระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์ บารมี ๑๐ นั้นมีดังต่อไปนี้
    1. ทาน คือการให้ ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อ สงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์ เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน
    2. ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือ ไม่ทำศีล ให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่น ละเมิดศีลไม่ดีใจเมื่อ คนอื่นละเมิดศีล
    3. เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือ สิกขาบท อย่างเคร่งครัดถ้าเป็นฆราวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ทีเป็นที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำก็ก็ปฐมฌาน
    4. ปัญญา มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ
    5. วิริยะ มีความเพียรเป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล
    6. ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน
    7. สัจจะ มีความจริงใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล
    8. อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งใจไว้ เช่น สมัยที่สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรง อธิษฐานว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จ พระโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้ แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปหรือชีวิต จะตักษัย คือสิ้นลมปราณก็ตามทีพระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรง บรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว สำเร็จ ทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน
    9. เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูล มีอารมณ์เป็น เมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดี บางวันร้ายอย่างนี้ไม่มีหวัง
    10. อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจ อารมณ์ที่ถูกใจ รับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไปไม่มีอะไรน่ายึดถือพบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตก ว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง
    บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมากถ้า นักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้ ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็น ผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง
    ถ้าบารมี ๑๐ เต็มครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ไม่ใช่นับเดือนนับปี
     

แชร์หน้านี้

Loading...