เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 29 มิถุนายน 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,593
    ค่าพลัง:
    +26,439
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๗


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,593
    ค่าพลัง:
    +26,439
    วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ ต้องขออภัยต่อทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่เสียงธรรมจากวัดท่าขนุนวันนี้มาช้า เนื่องเพราะว่ากระผม/อาตมภาพต้องไปเป็นประธาน ในงานรดน้ำศพเจ๊เกี๊ยว (นางนางนฤณี สมบูรณ์) ซึ่งเป็นกรรมการวัดท่าขนุน มาแต่ดั้งแต่เดิมตั้งแต่สมัยหลวงปู่สาย (พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน รูปที่ ๓ อดีตเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ) ท่านอาจารย์สมเด็จ (พระอธิการสมเด็จ วราสโย อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน รูปที่ ๔) ท่านอาจารย์สมพงษ์ (พระสมุห์สมพงษ์ เขมจิตฺโต อดีตเจ้าคณะตำบลท่าขนุน เขต ๑ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน รูปที่ ๕) มาจนถึงรุ่นของกระผม/อาตมภาพนี้

    โดยเฉพาะเจ๊เกี๊ยวนั้นพูดจีนแคะ ซึ่งกระผม/อาตมภาพเองก็มีเชื้อสายจีนแคะเช่นกัน จึงมีความสัมพันธ์กันหลายชั้นหลายเชิงมาก เจ๊เกี๊ยวก็เพิ่งจะใส่บาตรกระผม/อาตมภาพไปเมื่อไม่กี่วันนี้เอง ปรากฏว่ามาเสียชีวิตเสียแล้ว

    หลังจากนั้นก็ต้องเดินทางไปร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลผลไม้ สืบสานลานบ้านลานวัฒนธรรม ของดีอำเภอทองผาภูมิ ซึ่งเมื่อไปถึงก็ได้ยินพิธีกรกล่าวถึงบรรดาสิ่งของทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งเหล่าชาติพันธุ์ได้นำมาจัดแสดงและจำหน่าย โดยที่กล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งคือ "กระบองจ่อ" โดยที่บอกว่า "ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมคนไทยเรียกว่ากระบองจ่อ ?"

    กระผม/อาตมภาพจึงต้องขอไมโครโฟนมาจากโฆษก พร้อมกับอธิบายว่าคำนี้มาจากภาษาพม่าคือ "งะบูจ่อ" งะ คือ ปลา ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปลาเล็กปลาน้อยชุบแป้งทอด บู คือ น้ำเต้า แต่ว่าเป็นน้ำเต้าแบบทรงแตงโม ไม่ใช่น้ำเต้าแบบทรงน้ำเต้าจีน ซึ่งทางคนพม่านิยมนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วชุบแป้งทอด คำว่า จ่อ คือ การทอด นั่นเอง คำนี้จึงมาจากคำว่า "งะบูจ่อ" แปลว่า "ปลาและน้ำเต้าชุบแป้งทอด" แต่คนไทยฟังไม่ถนัด ก็เรียกง่าย ๆ สบายลิ้นว่า "กระบองจ่อ"

    แต่ว่าเมื่ออยู่ในพิธีและ ร้อยโททศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ประธานในพิธีก็มาถึงแล้ว ทางด้านโฆษกก็ยังคงบรรยายไม่เลิกถึงเรื่องของบ้านปิล็อก โดยมีคำขวัญของอำเภอทองผาภูมิที่ว่า "พุน้ำร้อนหินดาด ตลาดอีต่อง โบอ่องเจดีย์ ราชินีปูไทย เพลินใจแควน้อย เกินร้อยภูผา งามสุดตาเขื่อนวชิราลงกรณ" แล้วกล่าวถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ของอำเภอทองผาภูมิ ไปจบลงที่เหมืองแร่บ้านปิล็อก โดยที่กล่าวว่า "ได้ยินว่าคำว่า "ปิล็อก" นั้นมาจากคำว่า "ผีหลอก" ในภาษาไทย แต่ทำไมถึงกลายเป็นปิล็อกไปได้ก็ไม่ทราบ ?"
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,593
    ค่าพลัง:
    +26,439
    ผู้รู้อย่างกระผม/อาตมภาพไม่สามารถที่จะปลีกตัวไปอธิบายได้ จึงขออธิบายในที่นี้เลยว่า คำว่า "บ้านผีหลอก" หรือ "บ้านปิล็อก" นั้น เนื่องจากว่ามีกะเหรี่ยงครอบครัวหนึ่ง ในเวลาค่ำเมียโดนงูกัด ผู้เป็นผัวจึงวิ่งฝ่าป่าฝ่าดงเพื่อออกไปยังถนน เพื่อหารถที่จะนำเมียไปโรงพยาบาล เนื่องเพราะว่าบ้านปิล็อกนั้น อยู่บนเขาห่างจากทองผาภูมิถึง ๗๐ กิโลเมตร..!

    แต่ว่าเคราะห์ร้ายเหลือเกิน ผู้เป็นผัวชาวกะเหรี่ยงไปโดนเสือกัดตาย แต่ด้วยความที่จิตมุ่งมั่นว่าจะต้องหารถเพื่อรับเมียไปโรงพยาบาล ดังนั้น..เมื่อเห็นรถผ่านมา ก็มักจะออกมาโบกมือขอความช่วยเหลือ เมื่อโดนเข้าหลาย ๆ คนเขาเลยเรียกตรงนั้นว่า "บ้านผีหลอก"..!

    แต่ด้วยความที่มีชาวมอญ - พม่ามาอยู่แถวนั้นมาก ออกเสียงคำว่า "บ้านผีหลอก" ไม่ถนัดตามแบบไทย จึงเรียกกลายเป็น "บ้านปิล็อก" มาจนทุกวันนี้ เรื่องของชื่อบ้านนามเมืองหรือว่าประวัติศาสตร์ชุมชนเหล่านี้ ถ้าหากว่าไม่กล่าวหรือว่าเล่าขานเอาไว้ นานไปผู้คนก็มักจะลืมเสียหมด

    แล้วโฆษกก็ส่งลูกให้กับพิธีกรบนเวที ซึ่งพิธีกรทั้งสองคนก็ใช้วิธีตะเบ็งเสียงใส่ไมค์ฯ กระผม/อาตมภาพก็ไม่ทราบว่าทำไมถึงนิยมในลักษณะแบบนั้น ? โดยเฉพาะมีการเปิดเสียงในลักษณะของการเปิดตัว หรือว่าเน้นในสิ่งสำคัญ เป็นการใช้ลำโพงซับวูฟเฟอร์เปิดซาวด์แทร็ก กระแทกตึง ๆ ๆ ออกมาด้วยเสียงเบส กระผม/อาตมภาพรู้สึกสะเทือนไปทั้งอก หูแทบจะพัง..!

    สิ่งที่พูดหรือว่าลำโพงที่เปิดเสียงนั้น สามารถที่จะลดเสียงลงไปถึง ๔ ใน ๕ ส่วนได้เลย เสียงก็จะพอดิบพอดี ไม่เป็นที่ทรมานหูและน่าสนใจมากกว่านั้น แต่ว่าในเมื่อเขานิยมกันแบบนั้น กระผม/อาตมภาพก็ได้แต่ทนเอา..!

    หากแต่ว่าน้องเล็ก (นางสาวจิราพร ซื่อตรงต่อการ) ซึ่งไปทำหน้าที่เป็นตากล้องให้กระผม/อาตมภาพนั้น ไม่สามารถที่จะทนเสียงได้ ถึงขนาดต้องเผ่นหนีออกจากเต็นท์หลักที่จัดงานไปเลย บอกว่าสะเทือนแต่ละทีใจจะขาด โดนกระแทกจนรู้สึกเจ็บหัวใจไปหมด ซึ่งบุคคลที่มีความอ่อนไหวต่อเสียงแบบนี้ มีจำนวนมากต่อมากด้วยกัน..!

    กระผม/อาตมภาพจึงไม่แปลกใจเลยว่า บรรดาผู้ที่นิยมดนตรีแบบเฮวี่เมทัล
    ในเวลาอายุมากถึงได้หูพังไปตาม ๆ กัน..! กระผม/อาตมภาพนั้นได้เปรียบที่เป็นทหาร คุ้นชินกับเสียงปืนเสียงระเบิดมามาก จนทุกวันนี้ประสาทหูก็ชำรุดไปเกิน ๔๐ - ๕๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว จึงพอที่จะรับเสียงเหล่านี้ได้..!
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,593
    ค่าพลัง:
    +26,439
    เมื่อเริ่มพิธี ท่านนายอำเภอชาคริต ตันพิรุฬห์ เป็นผู้กล่าวรายงาน บอกว่าได้มีการจัดงานเทศกาลผลไม้ของดีอำเภอทองผาภูมิเป็นปีที่ ๑๕ แล้ว สิ่งที่น่าภูมิใจก็คือ ทองผาภูมินั้นมีเงาะทองผาภูมิ และทุเรียนทองผาภูมิ ได้รับการบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ว่า เป็นของที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากที่อื่นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะมีรสชาติที่อร่อยมาก ๆ แล้วก็เป็นการกล่าวตอบจากร้อยโททศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งท่านก็มาเป็นประธานเปิดให้สองปีติดกันแล้ว

    ความจริงในตอนแรกนั้น ท่านนายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรี ก็คือ รศ. ดร. พญ.เรวิกา ไชยโกมินทร์ นั้น ได้รับเชิญให้ไปเปิดงานกิ่งกาชาดซึ่งเป็นเต็นท์อยู่ใกล้เคียงกัน โดยเปิดพร้อม ๆ กันในเวลาทุ่มครึ่ง แต่โดนทักท้วงว่า ควรที่จะให้เกียรติท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดงานให้เสร็จก่อน แล้วท่านนายกเหล่ากาชาดจึงค่อยไปเปิดงานของกิ่งกาชาดอำเภอทองผาภูมิ

    เมื่อโดนทักท้วงในลักษณะแบบนี้ ทางผู้จัดงานจึงต้องปรับตารางงานใหม่ เพื่อให้พิธีเปิดทางด้านงานเทศกาลผลไม้สำเร็จเรียบร้อยลงแล้ว หลังจากนั้นจึงเป็นการเปิดงานของทางกิ่งกาชาดอำเภอทองผาภูมิ

    กระผม/อาตมภาพขอตัวกลับก่อนที่พิธีจะเสร็จ เพราะว่าไม่สามารถที่จะทนเสียงลำโพงดังสนั่นหวั่นไหวจนหูอื้อแบบนั้นได้ โดยวันนี้ทางเอ็นซีทัวร์ นำโดยคุณนวลจันทร์ เพียรธรรม ได้พาคณะมาเพื่อที่จะซื้อหาผลไม้ต่าง ๆ และจะนำคณะไปร่วมงานใส่บาตรวันอาทิตย์ในวันพรุ่งนี้ด้วย แต่ว่าต้องติดอยู่บนรถตู้เป็นระยะเวลายาวนานทีเดียว เนื่องเพราะว่ามาถึงผิดจังหวะ ไปเจอเอาฝนกระหน่ำลงมาพอดี

    กระนั้นก็ตาม เมื่อฝนหยุดและลงไปซื้อหาทุเรียนแล้ว บรรดาผู้ร่วมทัวร์ยังมีกำลังใจนำทุเรียนมาถวายให้กระผม/อาตมภาพเสียอีก ซึ่งมีทั้งทุเรียน มีทั้งมังคุด โดยที่กระผม/อาตมภาพเองนั้น ไม่สามารถที่จะฉันทั้งสองอย่างได้ ทุเรียนนั้นพอที่จะฉันได้สักปีละเม็ดเดียว แล้วก็ต้องทนกับอาการความดันขึ้น ปวดหัวไป ๒ วัน ๓ วัน..! ส่วนมังคุดนั้นมีธาตุเย็นสูงมาก ฉันลงไปเมื่อไร มาลาเรียเรื้อรังก็จะกำเริบทันที..! แต่ในเมื่อญาติโยมมีศรัทธา จึงรับเอามา เพื่อที่จะส่งเข้าโรงครัว ให้เป็นลาภปากของพระภิกษุสามเณรและแม่ชีกันต่อไป

    เมื่อกลับมาถึงวัด ถึงได้เริ่มทำการบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ด้วยความเกรงใจว่าญาติโยมที่รออยู่ ว่าจะขาดการรับฟังไป โดยถือคติที่ว่า "มาช้าดีกว่าไม่มาเสียเลย"

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...