เรื่องเด่น เณรหนึ่งเดียวของไทย! ร่วมสนทนาธรรมกับองค์ทะไลลามะผ่านZoom

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 7 มิถุนายน 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    195030_th.jpg
    เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 มิ.ย. 2563 องค์ทะไลลามะ (His Holiness the Dalai Lama’s) ได้สนทนาธรรมกับเยาวชนจากประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ผ่านโปรแกรม Zoom ที่ธรรมศาลา ที่ประทับ ประเทศอินเดีย ในการนี้สามเณรวุฒิพงษ์ ประจันโท คณะครุศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ปี 3 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นหนึ่งในตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมสนทนาธรรมด้วย

    4_0.jpg
    ต่อมาเฟซบุ๊ก Nathivich Woraphokinthanachok ได้โพสต์ความว่า

    แบ่งปัน สรุปถอดบทเรียนในการร่วมงานเสวนา
    Youth Dalogue with His Holiness the Dalai Lama
    วันอาทิตย์ ที่ 7 มิถุนายน 2563 เวลา 8.15-11.00 (เวลาไทย)

    ท่าน สมเด็จพระเทนซิน เกียตโซ (Tenzin Gyatso) องค์ดาไลลามะ องค์ที่ 14 ผู้นำจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบต ได้สนทนาธรรมกับเยาวชนจากประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า มาเลเซีย ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ผ่านโปรแกรม Zoom ที่ธรรมศาลา รัฐหิมาจันประเทศ อินเดีย ครั้งนี้มีพระสงฆ์ไทยหลายรูปได้เข้าร่วมการเสวนาครั้งนี้

    ธรรมชาติของมนุษย์ มีเมตตากรุณา สัตว์สังคมจะมีความห่วงใย โพธิจิต หรือ จิตที่ปรารถนาดีต่อผู้อื่น เป็นที่มาของพลังงาน หน้าที่สำคัญของท่าน มนุษย์จะนับถือศาสนาหรือไม่ก็ตาม ควรมีจิตปรารถนาดีต่อผู้อื่น

    ปัญหามากมายที่เกิดสืบเนื่องมาจากเราให้ค่าเรื่องความแตกต่าง ซึ่งเป็นเรื่องรอง เราต้องลดความรู้สึก แบ่งแยก เน้นย้ำความเชื่อ 7 พันล้านคน เกิดมาเหมือนกัน โตมาด้วยนมแม่ และต้องตายเหมือนกัน ดังนั้น ระหว่างที่เมื่อเรามีมุมมองเช่นนี้ จะอำนวยต่อการอยู่ร่วมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 7 พันล้านคน สนับสนุนเมตตา กรุณาจิต มุทิตาจิต นี้เป็นภารกิจความมุ่งมั่นประการแรก สำคัญที่สุด

    พันธกิจที่ 2 ส่งเสริมความกลมเกลียวทางศาสนา บางศาสนาเชื่อว่ามีพระผู้สร้าง มีพระเจ้า มีศาสนาอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้มีแนวคิดว่าไม่มีพระผู้สร้าง เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างตนเอง เมื่อทั้งสองมารวมกัน วิทยาศาสตร์ก็บอกว่า วิวัฒนาการมาตั้งแต่เป็นลิง ย้อนไปถึงเป็นอนุภาค พัฒนาเป็นโลกใบนี้ สัตว์ เป็นมนุษย์ สมองเราวิวัฒนาการมาหลายพันปี ดังนั้น ไม่ว่าจะศาสนา ปรัชญาความเชื่อใด มีใจความหลักอย่างเดียวกัน คือ ความรัก จึงมองว่า เราสามารถพัฒนาความกลมเกลียวทางศาสนา เช่น อินเดีย เป็นตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจูดาย คริสต์ นิกายต่างๆ ความเชื่อนิกายต่างๆ อยู่ร่วมกันได้ในอินเดีย

    ในมุสลิมมีปัญหากับชุนอะ และซูนี่ แต่มองในภาพรวมอินเดียเป็นตัวอย่างของการกลมเกลียวในทางศาสนา มีความสามานฉันท์ ภารกิจอันที่ 2 คือ ให้คนต่างศาสนาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ท่านกล่าวว่าท่านเป็นชาวทิเบต เขาฝากความหวังไว้กับท่าน ๆ มีภาระรับผิดชอบ

    พระไตรปิฎกฉบับบาลี และสันสกฤต เป็นพันๆปีมาแล้ว ทางทิเบตมีการแปลเป็นภาษาสันสกฤต 3 ร้อยชุด แนะนำมาปฏิบัติภาวนา เป็นรากฐานที่มีประโยชน์มาก องค์ความรู้ไม่ใช่จำกัดเพียงในหมู่ชาวทิเบตเท่านั้น แต่พูดได้ว่าองค์ความรู้ภาษาทิเบต ต้นมาจากนาลันทามีประโยชน์ต่อโลกนี้ ในเชิงตรรกะ ปรัชญามีมาจากนาลันทา เป็นเจ้าที่ๆจะดำรงรักษาเอาไว้ ท่านจันทะลักขิต เป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ดำเนินการแปล จากภาษาสันสกฤตเป็นทิเบต ชาวทิเบตเดินตามทางของท่าน ควรค่าแก่การรักษาต่อไป

    พันธกิจอีกอย่าง คือ สิ่งแวดล้อมของทิเบต ๆตั้งอยู่บนที่สูง แม่น้ำในปากีสถานในอินเดีย บังกาลาเทศ เวียดนาม จีน แม่น้ำสายหลักๆ หล่อเลี้ยงเอเชีย ต้นน้ำมาจากทิเบต ดังนั้นระบบนิเวศของทิเบตต้องรักษาไว้ ภาวะโลกร้อนแต่ละปี อุณหภูมิโลกเปลี่ยนไป ท่านยังรู้สึกเลย มาดารัมซาลาปีแรก ปีนั้นหิมะตกมาก ต่อมาๆ หิมะตกน้อยลง เป็นสัญญาณว่าระบบนิเวศน์เปลี่ยน โลกร้อนขึ้น เป็นเรื่องสำคัญ

    พันธกิจที่ 4 ถ้าค้นกันดีๆแล้ว พันธกิจนี้มาจากอินเดีย ควรให้ความสำคัญกับองค์ความรู้โบราณ มองในตรรกะวิทยา ไม่เอาศาสนาเป็นตัวหลัก ทำให้ปัญญาเราแหลมคมในชาตินี้ อินเดียยึดแนวคิดอหิงสา และกรุณา มาหลายพันปีแล้ว เป็นประเพณีของอินเดีย ๆ สมัยใหม่ใส่ใจในการดำรงรักษา 2 เรื่องหลัก คือ อหิงสา และกรุณา พันธกรณี 4 ประการ ถ้ามีประโยชน์ ก็จะพยายามแบ่งปันแก่เยาวชน ปัจจุบันให้ค่าแก่วัตถุมากว่า ทางจิตใจ ในแง่จิตวิทยา การศึกษาความทันสมัยใหม่ เน้นแต่เรื่องประสาทสัมผัส ไม่ค่อยลงเชิงลึกในเรื่องของจิตใจ ฐานจิตจะแตกต่าง มีความละเอียดกว่าสัมผัสทั้งห้า ซึ่งสัมผัสที่หก คือ จิตใจ จิตวิญญาณ เช่น การปฏิบัติสมถะภาวนา หรือวิปัสสนา การปฏิบัติทั้งสอง เป็นเรื่องของประสาทสัมผัสที่หก ทางจิตวิญญาณ

    1. คำถามแรกจากเยาวชนไทย, อายุ 24 ปี ทำงานมาร์เก็ตติง เรียนถามว่า เมื่อเราพูดถึงคอมแพสชั่น ทำไมตัวเรากรุณาตัวเองง่ายกว่าคนอื่น When it comes to compassion, why is it easier to be compassionate to others rather than to ourselves?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : เมื่อเราเกิดมาแม่เมตตากรุณาเราอย่างที่สุด อันนี้ไม่ใช่เรื่องศาสนาเลย ความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก คนที่ตายไปแล้วอาจจะมีทรัพย์สินมากมาย แต่คนที่กำลังจะตายแล้ว ถ้าห้อมล้อมด้วยคนที่มีจิตเมตตา คนนั้นจะมีความสุข ความกรุณาในใจเรา สำคัญอย่างยิ่งเลย อย่าไปมองว่าเมตตากรุณาเป็นเรื่องของศาสนา เป็นเรื่องประเด็นความอยู่รอดของมมนุษย์

    2. คำถามจากเยาวชนฮ่องกง, เป็นคนทำหนัง เรียนถามว่า การรังแกทำร้ายจิตใจทางอินเตอร์เน็ต ทำให้วัยรุ่นทำร้าย ฆ่าตัวตัว เยาวชนจะมีวิธีดูแลตนเองอย่างไรจากแง่ลบ Mental bullying on internet makes young people self-harm or attempt suicide. How should the youth handle their emotions and face all these negativity that impact them?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : มันสมอง สติปัญญาของเรา เป็นเกราะป้องกันตัวเราเอง เราสามารถมองความคิด ศาสนา ข้างนอกตัวเรา แต่ในที่สุด การตัดสินใจเป็นของตัวเราเอง เช่น พระพุทธเจ้าเองสอนเราว่า ทุกคนไม่ใช่เชื่อท่านด้วยความศรัทธา แต่ให้ทุกคนไปพิสูจน์ พิจารณา ไตร่ตรองด้วยตนเอง แล้วค่อยทำตาม ดังนั้น สติปัญญาของแต่ละคน เป็นตัวตัดสินใจ ให้คำตอบ ดังนั้น คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเราเอง ไม่ไหลไปกับปัจจัยภายนอก ตัวท่านได้เรียนตรรกะแบบนาลันทา ถามตลอดว่า ทำไมพระพุทธองค์ตรัสแบบนั้น สืบค้นความจริง กระบวนการนี้มีประโยชน์อย่างมาก

    เยาวชนให้ใช้สติปัญญาของเรา ปราศจากอคติ มองอย่างเป็นกลาง หาข้อมูลอย่างรอบด้าน ถ้าเราทำแบบนั้น ไม่ว่าจะมุมไหนของชีวิต การทำงาน เราวิเคราะห์สืบค้นข้อเท็จจริง ดีที่สุด เราสามารถจะฟังความคิดของคนอื่น และตัดสินใจด้วยตนเอง เมื่อใดเจอปัญหา อย่ามัวแต่เสียใจ ต้องค้นหาข้อเท็จจริง ฟังความคิดเห็นคนอื่น กรณีของท่านตอนนี้อายุ 85 ปีแล้ว ตอนอายุ 13 ปี สูญเสียอิสรภาพ และเสรีภาพ และกลายเป็นผู้อพยพต้องสูญเสียประเทศของตัวเองไป แล้วก็มีปัญหาร้ายแรงในประเทศ อย่างที่พูดไปว่า เมื่อเกิดปัญหายากเข่น เราก็วิเคราะห์ ว่าจะตัดสินใจเช่นนี้ ของการวิเคราะห์แล้วอย่างถี่ถ้วน นี่คือทางออกที่ดีที่สุด ทุกหนทางจะมีผลตามมาทั้งนั้น แต่ท่านก็ไม่เสียใจ ทิเบต อินเดียผูกพันธ์กันมายาวนาน อินเดียเป็นประชาธิปไตย ช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ท่านมารับรสเสรีภาพของอินเดียนี่เอง

    3. คำถามจากชาวมาเลเซีย อายุ 20 เรียนถามว่า โดนออกจากงาน เป็นกรรมไม่ดีของตัวผมกระผมเองหรือป่าว ศาสนาจะช่วยอย่างไร ช่วงไวรัส I was retrenched from work under current recession. Is it due to my bad karma? How can I overcome this? Does religion help?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : อายุยังน้อย อนาคตยังอีกไกล ดังนั้น ไม่ควรที่จะปล่อยตนเองจมอยู่ความสิ้นหวัง ปัญหาอาจจะเกิดชั่วคราว เป็นไปได้ที่เราจะก้าวข้ามอุปสรรค ปัญหาไว้ มีทัศนคติทางบวกเอาไว้ เจออุปสรรคปัญหา สิ้นหวัง และท้อ อันนั้นผิด มีบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำศาสนาในอดีต เขาเจออุปสรรคที่ร้ายแรง แต่ว่าไม่ลดละ ยังตั้งมั่น มุ่งมั่น น้องยังเด็กอยู่ ไม่ควรที่จะท้อแท้ อย่าสิ้นหวัง อย่าจมอยู่ในทัศนคติเช่นนั้น

    4. คำถามจากเยาวชน อายุ 21 เรียนหนังสืออยู่ เรียนถามว่า คนวัยรุ่นไม่สนใจศาสนา อีก 20 ปี คนจะสนใจศาสนาอยู่หรือเปล่าว With the millennials ( age 20s to 30s ) becoming less religious, does His Holiness think that religion still matter in 20-30 years down the road?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : อย่างที่พูดไปแล้ว ไม่ว่วาจะนับถือศาสนาหรือไม่ก็ตาม มนุษย์ทั่วไป เวลาออกไปช๊อปปิ้ง เวลาจะมีความสุข เวลาเราเจอคนที่หน้าบึ้ง เราก็จะไม่มีความสุข คือ ไม่ว่าคนจะนับถือหรือไม่ก็ตาม สาระหลักของศาสนาสอนก็คือ ความมีมิตตจิต มิตตใจต่อคนอื่น เราเห็นหมาเราก็ยังยิ้ม สังเกตว่าหมามันกระดิ่งหา เวลาเราหน้างอ หน้าบึ้ง หมายังรับรู้ความรู้สึกเลย มันอยู่ที่ใจ ถ้าเรามีมิตตจิต มิตตใจต่อคนอื่น บางคนทีเป็นศัตรู ก็อาจจะเป็นมิตรใจอนาคต ทุกสิ่งอยู่ที่ตัวเราเอง ความมีมิตตจิต มิตตใจ คนอายุน้อยๆ การศึกษาสมัย ไม่ให้ความสำคัญต่อคุณค่าในจิตใจ ไปเน้นทางวัตถุมากว่า มองว่าเป็นความผิดพลาด การศึกษาทางวัตถุควรผสมผสานคุณค่าทางจิตใจ ไม่ได้พูดถึงศาสนา แต่กล่าวถึงจิตใจ อารมณ์ ควรจะเป็นสิ่งที่ต้องเรียน วันนี้เกิดความเปลี่ยนแปลง น่าจะมีช่องทาง เป็นหลักฐานเลยว่า การศึกษาสมัยใหม่ต้องให้คุณค่าแก่ทางจิตใจมากขึ้น

    5. คำถามจากเยาวชน อายุ 20 ปี เป็นนักศึกษา ชาวเวียดนาม เรียนถามว่า คนเราก็ต้องตาย เราจะเอาความชนะความกลัวตาย และจะช่วยคนอื่นได้อย่างไร ความตายเป็นสิ่งที่แต่นอน It's a reality that we will die one day and it creates fear in us. How can we get over this fear and help others to over the same fear?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : พระพุทธองค์ปรินิพพาน ในช่วง 2 พันที่ผ่านมา ผู้ยิ่งใหญ่ก็ตาย พวกเราก็ต้องตายเหมือนกัน เรายังมีชีวิตอยู่ เราต้องทำให้ชีวิตมีความหมาย จะทำให้เรามีความสุข ถ้าเราจะตายในอาทิตย์หน้า เราก็ยังมีเวลาอีกสองสามวัน ยังมีเวลาแบ่งปันสิ่งดีๆใจแกคนอื่น เวลาเราตายเราจะไม่เสยใจ

    6. คำถามจากชาวอินโดนีเซีย, ทำงานบริษัทอีคอมเมิส เรียนถามว่า เราหาความสุขจากภายนอกไม่เจอ เรามาหาความสุขจากภายใน ในสภาวะการปัจจุบัน มองเข้าไปข้างใน อยู่กับสภาพใหม่นี้ได้อย่างไร If we can't find happiness externally, we will try to explore it internally. With this challenging current situation, we have more opportunities to look internally. How can we make it our new norm or new default?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : กลับไปพูดเรื่องการศึกษาสมัยใหม่ แทบไม่แตะความสุข สงบภายใน พอพูดเรื่องสงบข้างใน จะพูดถึงศาสนาอย่างเดียว คุณค่าข้างในทางจิตใจ โดยที่ไม่ต้องพูดเรื่องศาสนาเลย เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ท่านไม่ได้สอนศาสนา แต่หลักสูตรควรจะสอนจิตใจ เป็นสิ่งที่หายไป ควรจะอยู่ในหลักสูตรๆ ควรจะว่าด้วยเรื่องข้างนอกที่เป็นรูปธรรม และจิตใจ ในร่างกายจับต้องได้ เราไม่สบาย เราหายารักษาโรคได้ เราเกิดปัญหาทางจิตใจ เราจะหาทางจัดการอย่างไร ควรจะเป็นเรื่องของการจัดการหลักสูตรสมัยใหม่ ซึ่งขาดหายไป คือ การศึกษา เริ่มมาจากโลกตะวันตก ซึ่งสมัยนั้น ถ้าพูดเรื่องจิตใจ เขาจะพึ่งพาศาสนาเป็นหลัก แต่ทุกวันนี้พุทธศาสนา ทุกคนที่เรียกตนเองว่าพุทธศาสนา ไม่ได้เคร่งครัดกับมัน สิ่งที่ส่งเสริม คือ สิ่งที่เกี่ยวกับจิตใจ ไม่ใช่ศาสนา และการปฏิบัติภาวนาประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ เขามีองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวนา ไม่ว่าจะเป็นสมถะ หรือวิปัสสนาภาวนา การที่เราให้เวลา พยายามที่จะปฏิบัติภาวนา ดูจิตตัวเอง ไม่ต้องไปรับอารมณ์ข้างนอก ถ้าเราไหลไปตามประสาทสัมผัส อายตนะทั้ง 5 ให้นั่งนิ่ง กดปุ่มหยุดตนเองเอาไว้ ค่อยๆ ทำ จะเริ่มรู้จัก หรือเห็นจิตของตนเอง ค่อยๆเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ ค่อยพัฒนาเครื่องมือในการที่จะวิเคราะห์ เริ่มนิ่งๆ เงียบๆ กลับเข้าไปข้างใน เป็นการเพิ่มพลังให้กับจิตตนเอง จิตจะมีพลัง จะวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาปัจจุบันจะเน้นแต่เรื่องวัตถุ ไม่ได้สอนทางจิตวิญญาณ เยาวชนควรคิดถึงเรื่องคุณค่าในใจ ในสาขาควันตัมฟิสิกส์ เขาเจาะลึกสิ่งที่เราเห็นหรือสัมผัสได้ ปอกเปลือกลงไป ในท้ายที่สุด ยังบอกเลยว่า ในแต่ละชั้น สิ่งที่เราเห็น กับสิ่งที่เป็นจริง ไม่เหมือนกัน อายตนะฉายภาพ แต่จิตลงลึกความเป็นจริง เพื่อนของท่านคุยว่า ควันตัมฟิสิกส์ แสวงหาอะไรใหม่ ๆ แต่อินเดียแสวงหาควันตัมฟิสิกส์มาเป็นพันๆปีแล้ว เมื่อเราวิเคราะห์ลึกๆสิ่งที่เราเห็นสิ่งนี้ดี ไม่ดี มันเป็นปัจจัยที่มันสร้างให้เกิดอารมณ์ต่างๆ เมื่อเจาะลึกลงไปว่าวัตถุต่างๆ เป็นอนุภาค เป็นอะตอม จนวิเคราะห์ลึกไป มันไม่เหลืออะไรให้เรายึดเลย เช่น คำสอน สุญญตา ความว่าง คือ ความเป็นจริงไม่ใช่สิ่งที่เราเห็น ถ้าศึกษาควันตัมฟิสิกส์เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เมื่อผสมผสานควันตัมกับจิตวิทยา มีประโยชน์อย่างยิ่ง

    7. คำถามจากชาวสิงคโปร์ เป็นอาสาสมัคร เรียนถามว่า จะมีคนส่งเสริมความกลมเกลียวทางศาสนา แต่ก็ยังมีการกีดกันอยู่ในทุกมุมโลก เราจะแก้ปัญหาความสุดโต่ง ได้อย่างไร Despite many efforts to promote social harmony among people of different beliefs, religious extremism and exclusivism still seem to be growing. How can youths be empowered to deal with this issue?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : กลับไปเรื่องการศึกษาอีก คือทางดูเด็กๆ ตั้งแต่เด็กเล็กๆเลย ถ้าเขาไม่มีโอกาสที่จะเรียนรู้หรือรู้จักจิตใจคืออะไร อย่างที่พูดว่า หลักสูตรการศึกษาสมัยใหม่ส่งเสริมค่านิยมทางวัตถุ แต่มันมีช่องว่างที่จะสอนคนให้รู้จักธรรมชาติของมนุษย์ และถ้ามองกันแบบผิวเผินและมักง่าย ศาสนาและความเชื่อ ก็ถูกนำไปใช้ ในลักษณะการแบ่งแยก แบ่งพวก คนละศาสนา คนละประเทศ หรือกระทั่งในศาสนาเดียวกัน ก็ยังแบ่งกันอีกว่า เนปาล บาลี สันสกฤต หมวกดำ หมวกเหลือง ทำให้เอาตัวเองเข้าไปยึด อันนี้คือนิกายของฉัน คือความคิดของฉัน มุสลิมที่แบ่งนิกายเป็นซูนี่ แบ่งประเทศ อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย ในโบราณกาลเหมือนๆกัน ศาสนา ผู้ปกครองใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการประหัตประหารกัน ในอดีต ศาสนาก็เลยกลายเป็นเครื่องมือสร้างความเกลียดชัง ระบอบศักดินา อันนี้หมดไปแล้ว อย่างที่พูดขีดเส้นใต้เน้นย้ำ

    ท่านเล่าว่าท่านมีเพื่อนเป็นมุสลิม รักสันติมากไม่เคยขัดแย้ง ไม่เคยทะเลาะกันเลย พระทิเบตเข้าไปในร้านของมุสลิมสนทนากันฉันมิตรกันอย่างดี ที่ลาซา คนมุสลิมที่ลาซารักสันติ รักสงบ ตัวท่านเองก็เจอสัมผัสกับคนมุสลิมในลาดัก ท่านชอบอาหารของชาวอิสลาม มีคณะลาดักมาเยือน เชิญกินอาหาร ท่านก็รับนิมนต์นะ ต้องเตรียมอาหารมุสลิมไว้ให้ด้วย มันขึ้นอยู่ทัศนคติเราเองว่า จะมองคนเป็นมุสลิม ศาสนามันเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล แต่ท้ายแล้ว เราเป็นมนุษย์เหมือนกัน

    ความเป็นเพื่อนระดับบุคคล เราติดต่อกันตัวต่อตัว สำคัญมาก มุสลิมลาดักติดต่อกับชาวพุทธ มุสลิมบางประเทศ ไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนศาสนาอื่น วิถีชีวิตอย่างนี้สร้างความแตกต่าง ตัวท่านเองเชื่อว่าต้องมีปฏิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น ท่านมีเพื่อนเป็นมุสลิมลาดัก ควรจะจัดการประชุมนานาชาติที่เดลี เป็นการประชุมระดับประเทศ ตัวท่านเองช่วยอุดหนุนปัจจัยสนับสนุนงบให้เขาจัดได้ เวทีนั้นคนที่ไม่นับถือศาสนาอะไรก็มาร่วมด้วย เจอกันมุสลิมระดับนานาชาติ คนในศาสนาอื่นก็มาร่วม เราต้องพยายามไปในขั้นตอนนั้น

    8. คำถามจากชาวอินโดนีเซีย, อายุ 26 เป็นหมอ เรียนถามว่า เส้นแบ่งอยู่ตรงนั้น เรารักตัวเอง กับความเห็นแก่ตัว Can His Holiness explain to us the difference between loving one self and being selfish?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : ถ้าเราคิดถึงแต่ตัวเอง นั้นคือเห็นแก่ตัว ถ้ามองว่า อยากให้ตัวเรามีความสุข คนหนึ่งคนประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับชุมชนและคนรอบข้าง การดูแลสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตเรา ถ้าเราคิดถึงแต่ชีวิตเรา คือเห็นแก่ตัว เราอยู่รอดไม่ได้ ความอยู่รอดตัวเราเอง พึ่งพาคนอื่นโดยสิ้นเชิง เราต้องดูแลคนอื่นด้วย คนอื่นทั้งปวงเป็นปัจจัยประกอบกัน เป็นพื้นฐานแห่งความสำเร็จ เช่น ชาวนาดูแลนาของเขา มันเป็นแหล่งดำรงชีพของเรา เขาก็ดูแล ไม่ใช้เพราะว่าเขามีความเมตตาต่อพื้นดิน วิธีการเรียนแบบนาลันทาเขาจะเน้น อภิปราย โต้วาที หาเหตุผล ตั้งแต่เด็กมาแล้ว พระองค์คุ้นเคยกับการหาเหตุผล

    9. คำถามจากชาวสิงคโปร, อายุ 23 ปี เรียนถามว่า ถ้าเราไม่ใช่พุทธศาสนิกชน มีประโยชน์อะไรที่จะศึกษาพุทธศาสนา What are the benefits of learning Buddhism if we are not Buddhist?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : ในแง่ของจิตวิทยา ตรรกวิทยา ความคิดเชิงตรรกะช่วยได้มากเลยว่า การมองในเชิงวิเคราะห์สำคัญอย่างยิ่ง หลายพันปีมาแล้ว มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นสถาบันการศึกษาที่สำคัญยิ่ง แนวทางการศึกษาแบบของนาลันทา เน้นตรรกวิทยา และจิตวิทยา ซึ่งเพื่อนพ้องมุสลิม คริสต์ของเรายังมองเลยว่าเป็นประโยชน์ที่จะเรียน ศาสนาเป็นเรื่องบุคคล แต่ในระดับสติปัญญา คือในอดีตโบราณ ผู้รู้ฮินดูกับชาวพุทธ เขามาอภิปรายดีเบตกัน ผ่านไปพุทธศาสนาก็หายไป ปัจจุบันถูกทำลายไม่เหลือซากไปแล้ว ในประเทศจีน เขาก็เจริญรอยตามวิถีแห่งนาลันทา แต่ที่แตกต่างคือ ในจีน จะเน้นเรื่องการศึกษากับตัวบท แต่ที่ทิเบตกับมองโกเลีย จะเน้นเรื่องตรรกะ เป็นวิธีการลับสติปัญญาให้แหลมคน ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น เราก็จะสามารถศึกษาปรากฏการณ์ แล้วตัดสินใจว่าจะนับถือ หรือไม่นับถือศาสนาใดก็ได้

    10. คำถามจากชาว มาเลเซีย, อายุ 19 ปี, เรียนมหาวิทยาลัย เรียนถามว่า ปัจจุบันเทคโนโลยี และสังคมเปลี่ยนแปลง เราถูกผลักดันให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราต้องเตรียมตัวอย่างไร Technology and society are changing faster and we are forced to move forward quickly. What do young people need to learn today for better tomorrow?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : เราได้คุยกันแล้วประมาณหนึ่งว่า มนุษย์มีจิตมีอีโมชั่น อารมณ์ ปฏิกิริยา ซึ่งเป็นธรรมชาติเลย สมองมนุษย์มีวิวัฒนาการมานานแล้ว อย่างที่ย้ำเสมอว่า การศึกษาควรที่จะพูดถึงเรื่องโลกข้างในตัวคน เพราะว่า การศึกษาให้คำอธิบายมากแล้วเกี่ยวกับโลกภายนอก แต่ไม่เคยพูดถึงข้างในจิตใจของเราเลย ตอกย้ำอีกครั้งว่า หลักสูตรการศึกษาควรให้ความรู้เรื่องจิตใจ กลไกของจิต เพื่อนผู้เชียวชาญทางสมองพูดว่า ปลายทศวรรษที่ 20 จิตคืออะไร เขารู้จักแต่สมอง แต่ช่วงปลายเขาสงสัยแล้วว่า ก้อนสมองนี้ต้องมีอะไรแน่ๆเลย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมอง ช่วงต้นศตวรรษนี้ เขาศึกษาเกี่ยวกับสมอง ทดลองว่าคนที่กำลังนั่งภาวนา ทำสมาธิอยู่ ในระหว่างที่กำลังภาวนา สมองเปลี่ยนไปอย่างไร บางคนยอมรับแล้วว่า นอกจากมันสมอง แล้ว ยังมีจิตใจ หรือจิตวิญญาณ มีการแตกแขนงวิทยาศาสตร์ออกไป ในเรื่องของจิตใจ หรือ Mind เวลาเราพูดเรื่องจิตใจมันครอบคลุมความหมายอย่างยิ่งเลย ความรู้เกี่ยวกับจิต เป็นสิ่งที่เปลี่ยนคน สิ่งข้างนอกปัจจัยข้างนอก ไม่สามารถเปลี่ยนเราได้

    11. คำถามจากคุณหมอ เรียนถามว่า วัตถุประสงค์การบรรลุนิพพาน เป็นอย่างไร, วัตถุประสงค์จะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยหรือเปล่าว What is the true intention for achieving enlightenment? Does it change with era and time?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : อย่างที่พูดไปว่า เราต้องเข้าไปใช้อายตนะที่ 6 คือจิตใจ การปฏิบัติภาวนา การกดปุ่มหยุดนิ่ง ๆ มันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับอายตนะที่ 6 คือ จิตใจของเรา ถ้าจิตใจมันมีพลังขึ้นมา จะสามารถโฟกัสจุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ ก็จะมีพลังอย่างยิ่ง กิเลสต่างๆ ความกลัว ความยึด ต้นตอมาจากอวิชชา ความไม่รู้ ควันตัมฟิสิกส์ ยังบอกเลยว่า มีอะไรมากว่าที่เห็น ถ้ามีพลังมากเราเห็นอะไรมากกว่าที่เราเห็น กิเลสก็จะไม่มากวนใจ คิดว่า นักเรียนนักศึกษาควรจะใช้เวลาสักครู่หนึ่ง ไม่กี่นาที หยุดพักอายตนะทั้ง 5 หู ตา จมูกชั่วคราว เพิ่มขีดความสามารถให้กับอายตนะที่ 6 เพื่อเป็นปัญญา การปฏิบัติแบบสมถะ การนิ่งอยู่กับอารมณ์เดียว และนำไปสู่วิปัสสนา การปฏิบัติวิปัสสนา เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวท่านเองปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทุกวัน อย่างที่นักควันตัมฟิสิกส์ว่า ความจริงแท้คืออะไร ดังนั้น อวิชชา ก็จะไม่เป็นฐานแห่งการมองทุกอย่างของเรา แล้วก็อารมณ์มันไม่ได้มีต้นตอมาจากอวิชชา แต่มีต้นทางมาจากเหตุปัจจัย หลักการเหตุผล อวิชชา ไม่ได้อาหารพัฒนาต่อไป ถ้าหากว่า อวิชชาเป็นตัวกำหนดอยู่ตลอดเวลา

    ความรู้สึก กิเลสทั้งปวง มีที่มาจากอวิชชา ควันตัมฟิสิกส์บอกว่า นั่นคือสิ่งที่เราเห็น แต่เมตตา กรุณา มาจากการวิเคราะห์ ถ้าไปในทิศนั้นได้จิตใจก็จะแข็งแกร่งมากขึ้น ท่านได้ปฏิบัติเล่าเรียนได้ในฐานะเป็นพระภิกษุ ได้ปฏิบัติวิถีแห่งนาลันทา เป็นนักปฏิบัติผู้ยิ่งใหญ่ มูลมัธยมามะกะ หรือทางสายกลาง ท่านจะอ่านบางท่อน และคิดวิเคราะห์ กิเลส อันมีต้นต้นจากอวิชชา แล้วพยายามจะวิเคราะห์สัจจะความเป็นจริงที่ลึก

    12.นักเรียนจากเวียดนาม, อายุ 21 ปี, เรียนมัณฑนศิลป์ เรียนถามว่า คนที่เรียนหนังสือจะปฏิบัติภาวนาไปด้วยได้อย่างไร How can one who is still studying be practicing Dharma at the same time?

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : ตัวท่านเองเริ่มปฏิบัติเมื่ออายุ 7 ปี เริ่มปฏิบัติภาวนาแล้ว แล้วก็เรียนหนังสือไปด้วย อายุ 7-8 ขวบ ท่านเรียนไปด้วยภาวนาไปด้วย วิถีนาลันทา คือต้องท่องจำ ใช้วิธีการดีเบต โต้ธรรมะ เราจ้องจับผิดกันอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ เราจะมีความสุขมากเลย เราถูกหมดทุกอย่าง การอภิปรายมันก็ไม่เปิด จากประสบการณ์ การเรียน และปฏิบัติภาวนาไปด้วยสามารถทำได้ ปัจจุบันอายุ 86 ปีแล้ว ก็ยังศึกษา อ่าน ได้หนังสือเล่มใหม่ๆมาก็จะอ่านเพื่อปัญญาระดับหนึ่งก็คือ การฟัง การคิด ในระดับการคิดทรงพลังมากกว่า ความรู้จากการอ่านหนังสือมันเป็นความรู้ และเมื่อพินิจต่อเราก็จะได้ทั้งความรู้ทั้งความเข้าใจ ระดับที่ 1 คนนั้นพูดอะไร จะเกิดความสงสัย แต่เมื่อ ไปถึงระดับที 2 ระดับวิเคราะห์แล้ว ความเข้าใจก็จะลึกขึ้น เมื่อมีคนพูดแตกต่างออก เราก็จะพูดได้ว่า เราได้วิเคราะห์ มีหลักฐานมีที่มาที่ไป จากนั้นก็ทำความคุ้นเคยกับความรู้นั้น บ่มเพาะสั่งสมประสบการณ์มากขึ้น ในมุมมองส่วนตัว ทางปรัชญา ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นเพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยกันและกันเกิด หลายสิบปีผ่านไปด้วยวิธีคิดเช่นนั้น มันเปลี่ยนจิตใจท่านไป และอีกขาหนึ่งก็เรียนรู้อยู่ตลอด ไม่นานมานี้ ท่านได้เดินทางไปญี่ปุ่น และในวัดที่ญี่ปุ่นเราก็มีการพบปะกัน ท่านได้พูดในที่ประชุมที่นั่นว่า น่าจะใช้เวทีนี้ในการอภิปรายกันนะ ไม่ใช่แค่นั่งภาวนอย่างเดียว

    การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมาก อยากจะเล่าให้ฟังถึงบทสนทนา ท่านมีเพื่อนเป็นพระญี่ปุ่น เป็นนักปราชญ์นักวิชาการมีเจ้าอาวาสวัดญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง เป็นนักปราชญ์ นักวิชาการ มักจะอภิปราย วันหนึ่งเขาบอกว่า ชาวญี่ปุ่นมักจะท่องปรัชญาปารมิตาสูตร แต่ว่าท่านพูดอย่างสุภาพได้แต่ท่อง แต่ไม่รู้ความหมาย นี่เป็นตัวอย่างว่า คือตัวท่านเองซาบซึ้งในความหมาย แต่คนส่วนมากท่องไปว่าไม่รู้ว่าอะไร วิถีนาลันทา ใช้สมองใช้ปัญญาอย่างแข็งขัน ตัวท่านอายุมากแก่อย่างนี้ก็ยังเรียน ทุกท่านที่เป็นเยาวชนควรจะใส่ใจ

    13. อาจารย์จากมาเลเซีย เรียนถามว่า ในคอร์สที่ผมสอน ใช้หนังสือของพระองค์ท่าน, ในประเทศแถบนี้ พุทธกับอิสลาม เป็นศาสนาหลัก แต่คนต่างศาสนา ไม่ค่อยที่เข้าใจแก่นแท้ของพุทธ และอิสลาม เราจะแก้ไขช่องว่างนี้ได้อย่างไร Islam and Buddhism are 2 main religion of Southeast Asia. How to build better deeper understanding between them? From Prof Imtiyaz

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : ที่เล่าไปก่อนหน้านี้ที่ลาดัก ประชาชนนับถือพุทธ แต่ขณะเดียวกันมีชุมชนมุสลิมอยู่ที่นั่นด้วย เป็นมุสลิมอินเดีย ตัวท่านเองบอกเขาว่า สนับสนุนให้มีการพูดคุยสานเสวนาพูดคุยกับชาวพุทธมากขึ้น ท่านตั้งหน้าตั้งตารอคอย ในระดับนานาชาติ ควรจะมีเวทีระดับนานาชาติ ไม่ใช้เป็นอีเว้นท์เป็นงาน แต่เป็นการพูดคุยเนื้อหาสาระเป็นเรื่อง คำถามที่ว่า เป็นพระเจ้า ไกลความรู้จากของเราไป เราไม่สามารถหยั่งรู้จิตของพระเจ้า เราหยั่งรู้เรื่องจิตของมนุษย์ก็พอแล้ว เราควรจะมีการจัดเวทีในอินเดีย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์คุ้มค่าจริงๆ

    14. คำถามจาก อาจารย์มหาวิทยาลัย เรียนถามว่า พูดถึงเทคโนโลยี เราทำเพื่อให้ความยากจนหมดจากโลกนี้ แต่เราก็ยังกำจัดความยากจนไปได้จากโลกนี้ ทำไมเราจึงทำไม่สำเร็จ Your Holiness, you spoke of technology and compassion in the beginning. We have the technology and resources to bring global poverty to zero. We also have compassion. Yet, we cannot get rid of global poverty. Why are we failing in this noble endeavour? From Mr Kishore

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : วันนี้ช่องว่าง ความมี ไม่มี คนยากจนในโลกนี้ คือ เราเห็นกระทั่งในประเทศเดียว ในอินเดีย ก็มีอภิหาเศรษฐี ก็มีคนยากจนมากมายมหาศาล เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ต้องเน้นย้ำ เราควรมีจิตใจจะไปช่วยคนที่ยากจน และคนยากจนเอง เขาพึงที่จะได้รับความช่วยเหลือทางเทคโนโลยี เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ซีเรียสยิ่งใหญ่มาก ณ ตอนนี้ สหรัฐอเมริกา ว่าเกิดปัญหาอยู่ต้นทางมันมาจากช่องว่าง คือ แต่เดิมมาก็ถูก ค้าทาสมาจากแอฟริกา ยากจน คนจนถูกดูถูกตลอดเวลา ต้องคิดใหม่ ต้องทำช่องว่างนี้ให้มันแคบลง ทุนนิยม คำนึงถึงแต่ตนเอง, สังคมนิยม คำนึงถึงคนส่วนใหญ่ การที่จะปิดช่องว่าง เป็นประเด็นที่สังคมควรจะใส่ใจ

    15. คำท้ายสุดท้าย จากชาวมาเลเซีย, อายุ 32 ปี ทำงานด้านสุขภาพจิต เรียนถามว่า เยาวชนจะมีบทบาทอย่างไรในการสร้างความสุขมาให้แก่คนในโลกนี้ Our last question is "How can youths play a role in bringing happiness to the world?"

    คำตอบจากท่านองค์ดาไล ลามะ : ช่องว่างทางการศึกษาสมัยใหม่ ไม่ได้ให้เครื่องมือในการเติมพลังให้แก่จิตใจของเรา ผู้เรียนสมัยใหม่คิดถึงแต่วัตถุ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตอบสนองด้านวัตถุเป็นรูปธรรม วิทยาศาสตร์ได้มาเน้น ให้ความสำคัญเกี่ยวกับด้านจิตใจ ในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้คนในสายการศึกษาเริ่มที่จะหันมามองคุณค่าในใจและก็ศึกษาภาวะจิตใจมากขึ้น นั่นคือ ทิศทางที่เราควรจะไป

    สรุปโดยส่วนตัวดังนี้
    ท่านองค์ดาไล ลามะ ได้กล่าวถึงพันธกิจ 4 ด้านของท่านที่ทำมาโดยตลอด คือ

    1. การสนับสนุนให้มีเมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต ให้เกิดขึ้นแก่ชาวโลก
    2. ส่งเสริมความกลมเกลียวทางศาสนา
    3. การส่งเสริม รักษาระบบนิเวศวิทยาทิเบต และของโลก
    4. ศึกษาให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ในอดีต ไม่เอาศาสนาเป็นหลัก มองในแง่ของตรรกะวิทยา

    คำถามที่ 1 ความเมตตากรุณา ไม่ใช่เรื่องศาสนา แต่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน คนเราเกิดมาแม่พ่อก็มีเมตตากรุณาต่อเรา เราจึงมีชีวิตอยู่ได้ คนมีจิตเมตตา คนนั้นจะเป็นคนที่มีความสุข

    คำถามที่ 2 การใช้สติปัญญา คิดวิเคราะห์ด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลเช่นตรรกะแบบนาลันทา ซึ่งเป็นกระบวนการแห่งเหตุผล จะสามารถช่วยให้ไม่เกิดการทำร้ายตนเองได้ การรับข้อมูลรอบด้านอย่างลึก และนำมากลั่นกรอง วิเคราะห์ ฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น แล้วหาวิธีการทางออกที่ดีที่สุด เมื่อเจอปัญหาไม่ควรปักจมเสียใจ

    คำถามที่ 3 อายุยังน้อย แม้ตกงานขณะนี้ ไม่ควรปล่อยตนเองอยู่กับความท้อแท้ สิ้นหวัง ให้มีความคิดเชิงบวก ยึดคติของคนที่เป็นนักปราชญ์ ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต หลายคนพบปัญหาอุปสรรค ก็ไม่ลดละ ไม่ทิ้งความพยายาม ไม่ท้อ มุ่งมั่นจนกว่าจะสำเร็จ

    คำถามที่ 4 การศึกษาสมัย ไม่ให้ความสำคัญต่อคุณค่าใน
    จิตใจ ไปเน้นทางวัตถุมากกว่า เป็นความผิดพลาด การผสมผสานคุณค่าทางจิตใจ ไม่ได้พูดถึงศาสนา แต่กล่าวถึงจิตใจ อารมณ์ ควรเป็นสิ่งที่ต้องเรียนในหลักสูตรสมัยใหม่นี้

    คำถามที่ 5 แม้แต่พระพุทธองค์บรมศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ก็ยังต้องตาย พวกเราหลีกหนีไม่พ้นเช่นกัน เรายังมีชีวิตอยู่ เราต้องทำให้ชีวิตมีความหมาย จะทำให้เรามีความสุข

    คำถามที่ 6 เราไม่สบาย เราหายารักษาโรคได้ เราเกิดปัญหาทางจิตใจ เราจะหาทางจัดการอย่างไรกับจิตใจ การศึกษาสมัยใหม่ แทบไม่ยุ่งกับความสุขสงบภายในเลย พอพูดเรื่องสงบภายใน คนก็จะกล่าวกันว่า เป็นเรื่องศาสนา เราพูดถึงเรื่องคุณค่าข้างในทางจิตใจ โดยที่ไม่ต้องพูดเรื่องศาสนาเลย เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ การทำจิตใจนิ่งๆ เงียบๆ กลับเข้าไปดูภายในจิตใจตนเอง เป็นการเพิ่มพลังให้กับจิตตนเอง จิตจะมีพลัง จะวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาปัจจุบันจะเน้นแต่เรื่องวัตถุ ไม่ได้สอนทางจิตวิญญาณ

    คำถามที่ 7 หลักสูตรการศึกษาสมัยใหม่ส่งเสริมค่านิยมทางวัตถุ มีช่องว่างที่จะสอนคนให้รู้จักธรรมชาติของมนุษย์ ถ้ามองกันแบบผิวเผิน ศาสนาและความเชื่อ ก็ถูกนำไปใช้ ในลักษณะการแบ่งแยก แบ่งพวก ทั้งนี้ขึ้นอยู่ทัศนคติของแต่ละคน ศาสนาเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล แต่ท้ายที่สุดแล้ว เราเป็นมนุษย์เหมือนกัน ความเป็นเพื่อนระดับบุคคล เราติดต่อกันตัวต่อตัว สำคัญมาก มุสลิมลาดักติดต่อกับชาวพุทธ มุสลิมบางประเทศ ไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนศาสนาอื่น วิถีชีวิตอย่างนี้สร้างความแตกต่าง ตัวท่านเองเชื่อว่าต้องมีปฏิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น จะยิ่งมีผลดี ควรจะจัดการประชุมนานาชาติที่เดลี เวทีนั้นคนที่ไม่นับถือศาสนาอะไรก็มาร่วมด้วย เจอกันมุสลิมระดับนานาชาติ คนในศาสนาอื่นก็มาร่วม

    คำถามที่ 8 เราคิดถึงแต่ชีวิตเรา คือเห็นแก่ตัว เราอยู่รอดไม่ได้ ความอยู่รอดตัวเราเอง ต้องพึ่งพาคนอื่น

    คำถามที่ 9 ในแง่ของจิตวิทยา ตรรกะวิทยา ความคิดเชิงตรรกะช่วยได้มาก แนวทางการศึกษาแบบของนาลันทา เน้นตรรกะวิทยา และจิตวิทยา เป็นวิธีการลับสติปัญญาให้แหลมคน สามารถศึกษาเรื่องราวต่างๆ ตามหลักเหตุผล แล้วตัดสินใจว่าจะนับถือ หรือไม่นับถือศาสนาใดก็ได้

    คำถามที่ 10 การศึกษาให้คำอธิบายมากแล้วเกี่ยวกับโลกภายนอก แต่ไม่เคยพูดถึงข้างในจิตใจ หลักสูตรการศึกษาควรให้ความรู้เรื่องจิตใจ กลไกของจิต มีการทดลองพบว่า นอกจากมันสมองแล้ว ยังมีจิตใจ หรือจิตวิญญาณ ความรู้เกี่ยวกับจิต เป็นสิ่งที่เปลี่ยนคนได้ สิ่งข้างนอก ปัจจัยข้างนอกไม่สามารถเปลี่ยนเราได้

    คำถามที่ 11 การเข้าไปใช้อายตนะที่ 6 คือ จิตใจ การปฏิบัติภาวนา เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้จิตใจของเรา ถ้าจิตใจมันมีพลังขึ้นมาก จะสามารถโฟกัสจุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ ก็จะมีพลังอย่างยิ่ง การปฏิบัติแบบสมถะ การนิ่งอยู่กับอารมณ์เดียว นำไปสู่วิปัสสนา การปฏิบัติวิปัสสนา เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวท่านเองปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทุกวัน

    คำถามที่ 12 เราสามารถปฏิบัติภาวนาแล้ว แล้วก็เรียนหนังสือไปด้วยได้ ไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ ตัวท่านเองเริ่มปฏิบัติเมื่ออายุ 7 ปี ปัจจุบันอายุ 86 ปีแล้ว ก็ยังศึกษา และปฏิบัติภาวนาควบคู่กับมาตลอด การอ่านหนังสือยังเป็นความรู้ ทำให้เกิดทั้งความรู้ ทั้งความเข้าใจ

    คำถามที่ 13 สนับสนุนให้มีการพูดคุยสานเสวนา ในระดับเวทีระดับนานาชาติ

    คำถามที่ 14 การที่จะปิดช่องว่าง เป็นประเด็นที่สังคมควรจะใส่ใจ ต้องคิดใหม่ ต้องทำช่องว่างนี้ให้มันแคบลง

    คำถามที่ 15 สายการศึกษาเริ่มที่จะหันมามองคุณค่าในใจและก็ศึกษาภาวะจิตใจมากขึ้น การให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาภายในตนเอง มากกว่าสิ่งภายนอก

    พิมพ์สรุปถอดความจากโยมฌอน (ล่ามแปล) / หากผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัย (กรุณาดูคลิปจากเว็บ dalailama.com) ประกอบ

    Cr.เฟซบุ๊ก Tonnam Saksiri

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/education/195030
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4_0.jpg
      4_0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.2 KB
      เปิดดู:
      163

แชร์หน้านี้

Loading...