อานิสงค์ของการแบ่งบุญที่ได้ผลเกินความคาดหมาย

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย ศึกษาธรรม2551, 22 กันยายน 2008.

  1. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    อานิสงค์ของการแบ่งบุญที่ได้ผลเกินความคาดหมาย
    การขอแบ่งบุญเหมือนการขอจุดดวงประทีปจากผู้อื่นที่เขาทำบุญ
    หากเปรียบก็เสมือนการขอจุดดวงประทีปครับ ผู้ขอจุดดวงประทีปย่อมได้ดวงประทีปจากผู้ที่มีดวงประทีปอยู่แล้วฉันใด การขอแบ่งบุญก็เช่นกัน ดังเรื่องเล่าที่เคยมีมาแล้วดังนี้

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔

    ข้อความบางตอน ...<O:p></O:p>
    เรื่องอดีตชาติของพระอนุรุทธะ<O:p></O:p>

    เศรษฐีนั้น ขึ้นราคาให้จนถึงพัน. ฝ่ายอันนภาระนี้ ก็มิได้ให้แม้

    ด้วยทรัพย์ตั้งพัน. ลำดับนั้น เศรษฐีกล่าวกะเขาว่า " ผู้เจริญ ข้อนั้น

    จงยกไว้เถิด, ถ้าเจ้าไม่ให้บิณฑบาต, จงถือเอาทรัพย์พันหนึ่ง แล้วให้ส่วน

    บุญแก่ฉันเถิด."

    เขากล่าวว่า " กระผมปรึกษากับพระผู้เป็นเจ้าดูแล้ว จักรู้ได้ " รีบ

    ไปทันพระปัจเจกพุทธะแล้วเรียนถามว่า " ท่านผู้เจริญ สุมนเศรษฐีให้

    ทรัพย์พันหนึ่ง แล้วขอส่วนบุญในบิณฑบาตของท่าน, กระผมจะทำ

    อย่างไร ? "

    ทีนั้น ท่านนำข้อความมาเปรียบเทียบแก่เขาว่า "
    แม้ฉันใด ท่าน

    ผู้เป็นบัณฑิต ประทีปในเรือนหลังหนึ่งในบ้าน ๑๐๐ ตระกูล พึงลุก

    โพลงขึ้น, พวกชนที่เหลือ เอาน้ำมันของตนชุบไส้แล้วพึงไปจุดไฟดวง

    อื่นแล้วถือเอา; แสงสว่างของประทีปดวงเดิม อันบุคคลจะพึงกล่าวว่า

    ' มี ' หรือว่า ' ไม่มี. '

    อันนภาระ. แสงสว่างย่อมมีมากกว่า ขอรับ.

    พระปัจเจกพุทธะ. ฉันนั้นนั่นแล ท่านผู้เป็นบัณฑิต จะเป็นข้าว

    ยาคูกระบวยหนึ่ง หรือภิกษาทัพพีหนึ่งก็ตาม, เมื่อบุคคลให้ส่วนบุญใน

    บิณฑบาตของตนแก่ผู้อื่นอยู่, ให้แก่คนไปเท่าใด, บุญเท่านั้นย่อมเจริญ;

    ก็ท่านได้ให้บิณฑบาตส่วนหนึ่งเท่านั้น, แต่เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่เศรษฐี,

    บิณฑบาตชื่อว่าเป็นสองส่วน: ส่วนหนึ่งเป็นของท่าน ส่วนหนึ่งเป็นของ

    เศรษฐี.

    เขารับว่า " ดีละ ท่านผู้เจริญ " แล้ว ไหว้พระปัจเจกพุทธะนั้น

    แล้วไปสู่สำนักของเศรษฐี กล่าวว่า " นาย ขอท่านจงรับเอาส่วนบุญเถิด."

    เศรษฐี. ถ้ากระนั้น พ่อจงรับเอากหาปณะเหล่านี้ไป.

    อันนภาระ.กระผมไม่ได้ขายบิณฑบาต, กระผมให้ส่วนบุญแก่ท่าน

    ด้วยศรัทธา.

    เศรษฐีกล่าวว่า " เจ้าให้ด้วยศรัทธา, ถึงเราก็บูชาคุณของเจ้า;

    ด้วยศรัทธา จงรับเอาไปเถิดพ่อ, อนึ่ง จำเดิมแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้ทำการ

    งานด้วยมือของตน, จงปลูกเรือนอยู่ริมถนนเถิด, และจงถือเอาวัตถุ

    ทุกอย่างที่เจ้าต้องการ จากสำนักของฉัน. "

    ก็บิณฑบาตที่บุคคลถวายแก่ท่านผู้ออกจากนิโรธ ย่อมให้ผลใน

    วันนั้นนั่นเอง; เพราะฉะนั้น แม้พระราชาทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้วจึง

    รับสั่งให้เรียกอันนภาระมาแล้ว ทรงรับส่วนบุญ พระราชทานโภคะมาก

    มาย แล้วรับสั่งให้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีแก่เขา. ..............<O:p></O:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...