หลักธรรมของจริตแต่ละประเภท

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย แสนสวาท, 20 ตุลาคม 2011.

  1. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    หลักธรรมของจริตแต่ละประเภท

    จริต ๖ อันได้แก่
    ราคะจริต
    โทสะจริต
    โมหะจริต
    ศรัทธาจริต
    วิตกจริต
    พุทธิจริต

    เพื่อให้การเดินทางง่้ายขึ้น
    พึงรู้ว่าตนเองมีจริตทางใด
    และนำหลักธรรมมาประกอบเพื่อจะได้เดินทาง
    ได้ง่ายและสมบูรณ์ขึ้นดังที่จะแสดงต่อไปนี้

    http://palungjit.org/threads/จริต-๖-เพื่อฝึกกรรมฐานที่เหมาะสม-ฟรี-ค่ะ.310598/
     
  2. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
    สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ


    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>



    บัดนี้ ข้าพเจ้าจักได้แสดงธรรมะประกอบการเจริญกรรมฐานตามจริต เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน อันเปนเหตุแห่งทางดับทุกข์ บุญกุศลอันที่จะเกิดต่อไปนี้ข้าฯ ขอน้อมถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า คุณครูอุปัชฌาอาจารย์ เทพองค์บารมีของข้าพเจ้า เทพเทวาทั้งสิบหกชั้นฟ้าสิบห้าชั้นดิน พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ขอท่านจงร่วมอนโมทนาบุญกุศลที่เกิดขึ้นด้วยเถิด และขออุทิศบุญกุศลนี้ให้สรรพชีวิตในสามโลกได้รับประโยชน์เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ทั้งเปนอานิสงส์ให้ข้าพเจ้าได้บรรลุธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป
     
  3. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ที่มาของจริต

    อันอุปนิสัยของแต่ละบุคคลที่ได้สะสมกุศลและอกุศลมานับหมื่นแสนชาติอสงไขยกัปป์
    ยังทำให้เกิดการเวียนว่ายอยู่ในวัฏจักรทั้งหลาย ซ้ำซาก เช่นนี้เอง

    บ้างก็เพลิดเพลินอยู่ในรูป เสียง รส กลิ่น เสียง สัมผัส
    หลงในสมบัติ การเกิดสมบัติ บูชาคนมีสมบัติ
    วิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และเรืองที่ผ่านมา
    เชื่อในสิ่งที่เห็นทั้งถูกและไม่ถูก
    โกรธ อาฆาตในสิ่งที่ไม่สมหวังหรือคาดหวัง
    และสังเกตุโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบเพื่อหาทางหลุดพ้น

    การหาทางเปลี่ยนแปลงหรือปลดเปลื้องความทุกข์ให้สิ้นสูญ
    ต้องการแนวทางที่ถูกต้องตามจริตของแต่ละท่าน
    เพื่อให้เปนแนวทางสำหรับบุคคลที่รู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์
    แต่ยังไม่รู้หนทางดับทุกข์ หรือแนวทางดับกองทุกข์

    แนวทางนี้ เปนหนึ่งในการเดินทางของท่าน เพื่อมุ่งตรงต่อกระแสพระนิพพาน
    หวังว่าคงจะัเปนประโยชน์อันไพบูลย์ในแต่ละจริตจะได้พึงศึกษาต่อไป
     
  4. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    จริต ๖ อันมีดังต่้อไปนี้

    ราคะจริต
    โทสะจริต
    โมหะจริต
    ศรัทธาจริต
    วิตกจริต
    พุทธิจริต

    หากท่านได้ทราบจริตของตนเรียบร้อยแล้ว
    พึงทราบหลักธรรมที่ใช้ในการเดินทางต่อ
    เพื่อเปนเหตุให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง
     
  5. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    จริต หรือ จุติของมนุษย์

    ราคะจริต

    อันมีนิสัยรักสวยรักงาม บุคลิกดี ดูแลเอาใจใส่ตนเอง เสียงหวาช่างเจรจา
    เอาใจคน มีความสะอาดหมดจน เปนระเบียบ ชอบเรืงอสนุก ตลกขบขัน
    รวมทั้งอารมณ์ในกามคุณ
    ข้อเสียของคนมีราคะจริต ทำงานใหญ่ยาก ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีความเปน
    ผู้นำ ขี้เกรงใจคน อารมณ์รุนแรง อิจฉาริษยา ชอบจินตนาการ ขาดสมาธิ

    กรรมฐานที่เหมาะสมกับคนมีราคะจริต คือ
    อสุภะกรรมฐาน ๑๐ และ กายคตานุสสติกรรมฐาน ๑
    รวมเปน ๑๑ อย่าง
    คงเปนเรืองยากหน่อยสำหรับคนมีราคะจริต มองเห็นสิ่งสกปรกยาก
    เพราะตัวเอง จะคำนึงถึงความสะอาดเปนนิสัย
    ดิฉันเลยยอกเล่น ๆ กับคนมีราคะจริตว่า
    ลองไม่อาบน้ำสักสามวันดู จะเห็นเลยว่า
    ร่างกายไม่มีอะไรดี มีแต่ของเสีย น่าบูด การยอมรับสิ่งนี้
    เปนเรืองยาก จึงทำให้ ฝึกกรรมฐานไม่ใคร่ได้
    แต่ไปฟังเทปหลวงพ่อฤาษีลิงดำเทศนา
    คงจะเปนประโยชน์ได้ค่ะ<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    เมื่อเหตุแห่งราคะจริต คือการเพลิดเพลินกับความสุขทั้งปวง
    ความอยากได้มาซึ่งความสบาย ชอบที่จะสรวลเสเฮฮา
    หรือความปรารถนาที่มีมาก การจับจ่ายในสิ่งที่ไม่จำเปน
    ไมปรารถนาความทุกข์ใด ๆ ด้วยเหตุนี้เอง

    ธรรมะที่ประจำจริตของผู้มีราคะจริต
    จะได้กล่าวไว้ดังนี้
    คือ
    ๑.สัปปุริสธรรม ๗
    ๒.อริยทรัพย์ ๖ (๗) ประการ
    ๓.มรรค ๘

    รวมเปน ๒๑ ประการ
     
  7. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    สัปปุริสธรรม ๗

    1. ธัมมัญญุตา = รู้จักเหตุ
    ความรู้จักธรรม หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล อาทิ นักเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น เป็นต้น
    2. อัตถัญญุตา = รู้จักผล
    ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น
    3. อัตตัญญุตา = รู้จักตน
    ความรู้จักตน คือ รู้ว่าตัว เรานั้น ว่ามีสถานภาพเป็นอะไร ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
    4. มัตตัญญุตา = รู้จักประมาณ
    ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ นักเรียนรู้จักประมาณ กำลังของตนเองในการทำงาน รัฐบาลรู้จักประมาณการเก็บภาษีและการใช้งบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นต้น
    5. กาลัญญุตา = รู้จักกาล
    ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
    6. ปริสัญญุตา = รู้จักชุมชน
    ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น
    7. ปุคคลปโรปรัญญุตา = รู้จักบุคคล
    ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า มีอัธยาศัย มีความสามารถ มีคุณธรรม เป็นต้น ผู้ใดหยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ หรือยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2011
  8. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    อริยทรัพย์ ๖ (๗) ประการ

    ทรัพย์เปนของชอบของมนุษย์อยู่แล้วโดยเฉพาะคนที่มีราคะจริต หากได้เล็งเห็นว่าสมบัติทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง ก็จะได้คิดว่า ไม่ควรยึดติดอยู่กับทรัพย์สมบัติที่ไม่สามารถนำติดตัวไปภพใหม่ได้ หาทางสะสม อริยะทรัพย์ อันเปนทรัพย์ของพระอริยเจ้า ที่สามารถติดตัวข้ามภพชาติไปด้วยได้ โดยพิจารณาเรืองดังนี้

    ๑. สัทธาธนัง [ทรัพย์คือศรัทธา] มีความเชื่อศรัทธาต่อพระธรรมในพระพุทธเจ้า
    ๒. สีลธนัง [ทรัพย์คือศีล] เชื่อว่าศีลเปนทรัพย์ ที่สามารถนำติดตัวไปได้
    ๓. หิริธนัง [ทรัพย์คือหิริ] การสะดุ้งกลัวต่อการกระทำบาป เปนสิ่งทีดี
    ๔. โอตตัปปธนัง [ทรัพย์คือโอตตัปปะ] การกลัวต่อผลของความชั่ว
    ๕. สุตธนัง [ทรัพย์คือสุตะ] การได้เรียนมาก ฟังมาก ความเปนผู้มีความรู้มีปัญญาดี
    ๖. จาคธนัง [ทรัพย์คือจาคะ] การเสียสละบริจาคสิ่งที่หวงแหนได้
    ๗. ปัญญาธนัง [ทรัพย์คือปัญญา] รู้ว่าสิ่งใดเปนประโยชน์สิ่งใดเปนโทษ

    เพื่อสนับสนุนให้ผู้มีราคะจริตได้พิจารณาใคร่ควรหาทรัพย์เช่นนี้ เหมาะกับตน เพราะเปนทรัพย์ของพระอริยะ เปนทรัย์ที่ไม่สูญไปเหมือนทรัพย์สมบัติทางโลก
    ในกรณีนี้ได้รวมหิริ โอตตัปปะเข้าไว้เปนหัวข้อเดียวกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2011
  9. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    มรรค ๘ ( อัฏฐังคิกมรรค )

    ..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
    ..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
    .....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
    .....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
    .....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
    .....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว


    ..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
    .....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย


    .....อำนาจของอวิชชา
    ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
    .....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-

    ..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง......ปัญญา..มีความเห็นชอบเข้าใจอริยสัจจ์ ๔ กล่าวคือรู้ ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้ความดับของทุกข์ และรู้วิธีการดัทุกข์
    ..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง......ปัญญา..มีความคิดชอบที่อยากจะออกจากกาม คิดไม่ผูกพยาบาท คิดไม่เบียดเบียน
    ..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง......ศีล...เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ หยาบคายไร้สาระ
    ..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง......ศีล ..ทำงานที่ชอบ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม
    ..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง......ศีล...เว้นจากการเลี้ยวชีวิตในทางที่ผิด
    ..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง......สมาธิ...พากเพียรระวังปิดกันบาดอกุศลไม่ให้เกิด หมั้นรักษาความดีในกุศลธรรมให้เจริญงอกงามไปจนไพบูลย์
    ..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง......สมาธิ..งระลึกในสติปัฎฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม
    ..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง......สมาธิ...ตั้งใจมั่


    นที่จะเจริญฌาน ๔ อันเปนสมาธิแน่วแน่

    .....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
    .....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
     
  10. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +905
    อนุโมทนาสาธุ
    บุญนี้ ขอยกให้กับเจ้าของกระทู้ด้วยเทอญ...

    ttt2010 ศิษย์พระอาจารย์บุญยง อภิลาโส ภิกขุ
    _____________________________________________________
    แนะนำกระทู้
    มิจฉาชีพกับรถที่จอดบนทางด่วน ทางยกระดับ และทางกลับรถ
    เมื่อรู้ว่า...ดวงชะตาขาด
    คติธรรมนำทางชีวิต ตามแนวคิดของศิษย์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เปิดดวง พิธีกรรมแก้ดวงชะตา (สำนักสงฆ์พรหมรังศรี)
    16 ตุลาคม 2554 กฐินสามัคคีปฐมฤกษ์เบิกชัย ที่พักสงฆ์พรหมรังศรี
    ป้องกันภัยน้ำท่วมเมื่อถูกธรรมชาติลงโทษ ตัวอย่างนครอินทร์&ราชพฤกษ์
    แก๊งกลุ่มเด็กอุแว้ อุแว้...ซิ่ง...(แก้เครียดน้ำท่วม)
    ท่องเที่ยวนครนายก เมืองเจ้าพ่อขุนด่าน
    ท่องวัดและศาสนสถานที่สำนักสงฆ์พรหมรังศรี
    การเบิกโอนบุญ อนุโมทนาบุญ และวิธีปฏิบัติ
    แจกฟรี (ไฟล์ PDF) หนังสือหลวงตามหาบัว ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย
    ขอเชิญร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดดอนพัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศูนย์วิปัสสนาศิริธรรม(นายาง)ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    แรงศรัทธาพุทธศาสนาในบอร์ดพลังจิต
    วันอาสาฬหบูชา วันนี้เลือกเวียนเทียนที่พุทธมณฑลดีกว่า<!-- google_ad_section_end -->
     
  11. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    จริต หรือ จุติของมนุษย์

    โทสะจริต


    คนที่มีโทสะจริต เปนคนขี้โกรธในนิสัย พูดเร็ว เสียงดัง ไม่ฟังคนอื่น แก่เร็ว
    เดินแรง จริงจังต่อผู้คนที่เปนพวกเดียวกัน แต่งตัวไม่เปน ทำงานหยาบ
    กล้าออกหน้า ออกแรงสู้ไม่ท้่อ งานไม่เสร็จไม่เลิก ริษยา ตระหนี่
    ไม่มีเมตตา ไม่มีความคิดสร้างสรร สร้างวจีกรรมเปนประจำ
    มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ทำงานไม่เปนระเบียบ

    ข้อดี เปนคนจริงใจ ขยัน สู้งาน

    กรรมฐานเหมาะกับโทสะจริต
    พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    วรรณกสิณ ๔ กสิณสีเขียว เหลือง แดง ขาว<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    โทสะจริต คืออาการที่แสดงอาการอย่างเห็นได้ชัดว่า โกรธ
    ไม่เกรงใจใคร เมื่อยามไม่พอใจ ก้าวร้าวได้ทันที สวนได้ทันที
    เพราะความที่มีความโกรธอยู่ในจิตใจ พร้อมที่จะรบ ได้ทันที
    เรียกได้ว่า อารมณ์ขึ้นง่าย

    ธรรมะที่ประจำจริตของผู้มีโทสะจริต
    จะได้กล่าวไว้ดังนี้
    คือ

    มรรค ๘ ( อัฏฐังคิกมรรค )


    ..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)

    เปนข้อความที่ #9 ข้างต้นนี้​
     
  13. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    จริต หรือ จุติของมนุษย์

    โมหะะจริต

    คนที่มีโมหะจริต มักชอบสะสมสิ่งของ มากกว่าจ่ายออกไป ของอะไรก็
    เปนของทีค่าไปหมด บางครั้งจะเห็นความเห็นแก่ตัวชัด อยากได้ของคนอื่น
    แต่ไม่อยากให้ใคร
    การพูดจานุ่มนวล อ่อนโยน ยิ้มง่าย ไม่ค่อยมีอารมณ์เสีย ไม่โกรธใคร
    ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำตัวเด่น หลบมุมห้อง ไร้ความมุ่งมั่น
    บางคนชอบทำอะไรประหลาดกกว่าคนอื่น แหวกแนว
    ในเรืองการตัดสินใจ ทำได้ดี ทำงานประจะเก่ง ไม่ค่อยเครียด
    ไม่ทำร้ายคน หมกหมุ่นแต่เรืองของตนเอง ไม่ในใจคนอื่น
    ไม่ค่อยจัดระเบียบความคิดของตน บางครั้งเหมือนคนไม่มีความรู้
    ไม่มีความเปนผู้นำ สมาธิอ่อน สั้น เบื่อง่าย อารมณ์อ่อนไหว ขี้ใจน้อย
    ลองแก้ไขตนเอง โดยตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ฝึกการเคลื่อนไหวหาย เช่นเล่นกีฬา
    สร้างความแปลกให้ตนเองอยู่เสมอ

    กรรมฐานที่เหมาะกับ โมหะจริตคือ อานาปานสติ
    มีการเรียน คิด ถาม เขียน สนทนาธรรมตามกาล จะพัฒนาได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2011
  14. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    โมหะจริต อันบุคคลที่มีความลุ่มหลงด้วยอวิชชา กระทำสิ่งใดด้วยขาดสติ
    ก่อให้เกิดผลกรรมที่ส่งผลช้าเร็ว หรือกรรมใดทำให้เกิดผลเรืองใด กรรมที่เกียว
    ข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ให้ผลช้าเร็วอย่างไร

    ธรรมะที่ประจำจริตของผู้มีโมหะจริต
    จะได้กล่าวไว้ดังนี้
    คือ

    กรรม ๑๒ ได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แบ่งเป็น ๓ หมวด คือ
    กรรมหมวดที่ ๑ : กรรมให้ผลตามคราว/ตามเวลา (ปากกาล) มี ๔
    กรรมหมวดที่ ๒ : กรรมให้ผลตามหน้าที่ (ตามกิจ) จำแนก เป็น ๔
    กรรมหมวดที่ ๓ : กรรมให้ผลตามลำดับความแรงของการให้ผล
    (ปากทานปริยาย) จำแนกออกไปเป็น ๔
     
  15. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    กรรม ๑๒ ได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แบ่งเป็น ๓ หมวด คือ

    กรรมหมวดที่ ๑ : กรรมให้ผลตามคราว/ตามเวลา (ปากกาล) มี ๔

    ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบันในชาตินี้ ภพนี้
    อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า/ภพหน้า
    อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อ ๆ ไป ในชาติต่อ ๆ ไป
    อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ไม่ให้ผล ไม่มีผลอีกแล้ว

    กรรมหมวดที่ ๒ : กรรมให้ผลตามหน้าที่ (ตามกิจ) จำแนก เป็น ๔

    ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด กรรมที่เป็นตัวนำให้เกิด
    อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน หรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
    อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผลบีบคั้น ผลแห่งชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นนาน
    อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมที่แรง เป็นกรรมฝ่ายตรงข้าม กับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนผลของกรรมทั้ง 2 นั้น (ชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม) ให้ขาดไปทีเดียว เช่นเกิดในตระกูลสูง มีความมั่งคั่งแต่อายุสั้นเป็นต้น


    กรรมหมวดที่ ๓ : กรรมให้ผลตามลำดับความแรงของการให้ผล
    (ปากทานปริยาย) จำแนกออกไปเป็น ๔
    <!-- google_ad_section_end -->

    ครุกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน กรรมหนักในทางกุศล ได้แก่สมาบัติ 8 กรรมหนักในทางอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม 5
    พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมที่ทำมากคือทำบ่อย จนเป็นการชินชา ให้ผลรองลงมาจากครุกรรม
    อาสันนกรรม คือ กรรมจวนเจียน หรือกรรมที่ใกล้จะตาย (กรรมทำเมื่อจวนจะตาย) จับใจอยู่ใหม่ ๆ ถ้าไม่มีกรรม 2 ข้อต้น (2 ข้อก่อน) คือ ครุกรรม และพหุลกรรม หรืออาจิณณกรรม ก็จะให้ผลก่อน
    กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือกรรมที่ทำด้วยอ่อนเจตนา หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลแล้วกรรมนี้จึงจะให้ผล
     
  16. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    จริต หรือ จุติของมนุษย์

    ศรัทธาจริต


    คนที่มีศรัทธาจริต เปนคนที่พูดจามีหลักการ เสียสละ หูเบา เชื่อคนง่าย
    เชื่อทั้งดีและไม่ดี ช่างพูดช่างเจรจา ชอบเข้าสังคม ทำงานเรืองการสื่อสารได้ดี
    จิตของศรัทธาจริตน้อมไปในทางเชื่อ เชื่อง่ายไร้เหตุผล ถูกหลอกง่าย เพราะ
    ไม่ใคร่ไตร่ตรองให้ดีก่อน ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น มีพลังขับเคลื่อน
    มีความเปนผู้นำ จิตใจคับแคบไม่ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ทำงานทุกอย่าง
    ให้บรรลุเป้าหมายของตนเอง
    ควรที่จะนึกถึงกาลามสูตร ใช้หลักเหตุผลพิจารณาความเชื่อ ยึดมั่นตัวกูของกู


    กรรมฐานเหมาะกับศรัทธาจริต อนุสสติ ๖ (ในอนุสสติ๑๐)
    1. พุทธานุสติ - ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
    2. ธัมมานุสติ - ระลึกถึงพระธรรม
    3. สังฆานุสติ - ระลึกถึงพระสงฆ์
    4. สีลานุสติ - ระลึกถึงศีล และพิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย
    5. จาคานุสติ - ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน
    6. เทวตานุสติ - ระลึกถึงเทวดา
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  17. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ศรัทธาจริต บุคคลผู้ที่มีความเชื่อทั้งเรืองที่ถูกหรือผิด โดยขาดปัญญา
    อันเปนเหตุให้เดินทางผิด จึงได้แสดงหลักธรรมของความเชื่อที่จะเปน
    แนวทาง เพื่อให้เดินทางในทางกุศลต่อไป

    ธรรมะที่ประจำจริตของผู้มีศรัทธาจริต
    จะได้กล่าวไว้ดังนี้
    คือ
    อินทรีย์ ๕ พละ ๕
    โพชฌงค์ ๗
     
  18. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    จริต หรือ จุติของมนุษย์

    วิตกจริต

    คนที่มีวิตกจริต เปนคนที่หน้าบึ้งไม่ค่อยยิ้ม มักทะเลาะวิวาท เอารัดเอาเปรียบ ทำร้ายจิตใจคนอื่น เปนนักพูด มองอะไรละเอียดกว่าคนอื่น บางครั้งมองเห็นปัญหาแต่หาทางแก้ไขไม่ได้ คิดอะไรซ้ำไปมากอะไรยากสักหน่อย ย้ำความคิดจนบางครั้งตนเองก็เครียด เปนนักคิดชั้นยอด
    มองเห็นเรี่องเล็ก ๆ ได้ดีกว่าคนอื่น เปลี่ยนความคิดได้ตลอดเวลา ไม่รักษาคำมั่นสัญญา ตัดสินใจผิดพลาด มีความทุกข์ พูดซ้ำไปซ้ำมา พูดเหมือนบ่น

    เจ้ากี้เจ้าการ มีอัตตาสูง หากเชื่อมั่นอะไรแล้วยากจะเปลี่ยนแปลงได้ คิดว่าตัวเองเก่ง อยากรู้อยากเห็นไปทุกเรือง ผลัดวันประกันพรุ่ง
    หากแต่มีความละเอียดรอบคอบกว่าคนอื่น ๆ เพราะความที่มองเห็นในรายละเอียดได้ดี เป็นคนมีความอดทนสูง ทำงานหนัักได้ดีกว่าคนอื่น ได้ดีเพราะมีความอดทน



    กรรมฐานที่เหมาะกับ วิตกจริตคือ อานาปานสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2012
  19. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ธรรมะที่ประจำจริตของผู้มีวิตกจริต

    ทศพลญาณ ๑๐
    พระพุทธเจ้าตรีสเทศนากับพระอานนท์ ดูกรอานนท์
    ความทุกข์ในนรก ความสุขในสวรรค์ และนิพพาน ใครจะช่วยไม่ได้
    ใครชอบอย่างใดก็ทำอย่างนั้น แม่ตถาคตก็ช่วยไม่ได้
    มีแต่มาแนะนำ สั่งสอน ให้รู้สุข รู้ทุกข์ รู้สวรรค์ และนิพพาน
    ผู้ใดมี ทศพลญาณ ผู้นั้นได้ชื่อว่า พระพุทธเจ้าด้วยกันทุกองค์
    ผู้ใดมีอิทธิ ดำดินบินได้ ก็ไม่ได้เรียกว่าพระพุทธเจ้า
    หากมีญาณ ๑๐ ประการแล้ว ไม่มีอิทธิใด ๆ ก็เรียกว่า พระพุทธเจ้า

    ทศพลญาณ ๑๐ คือพระญาณอันเปนกำลังของพระพุทธเจ้า ที่ทำให้พระองค์บันลือสีหนาทประกาศพระศาสนาได้มั่นคงมี ๑๐ ประการดังนี้
    ๑. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)
    ๒. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)
    ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)
    ๔. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)
    ๕. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)
    ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)
    ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)
    ๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)
    ๙. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม -- knowledge of the decease and rebirth of beings)
    ๑๐. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)
     
  20. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    จริต หรือ จุติของมนุษย์

    พุทธิจริต


    เปนคนที่มีเจ้าปัญญา เจ้าความคิด ทีเมตตา ตาเปนประกายไม่ทุกข์ ช่างสังเกตุ มีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบดี เห็นเหตุผลชัดเจน และรู้วิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างถูกต้อง อัตตาต่ำ เปิดใจรับข้อเท็จจริง จิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่จมปลักอยู่กับอดีต เอาตัวรอดเก่ง

    กรรมฐานที่เหมาะสมกับพุทธิจริต
    ๑. มรณานุสตติ
    ๒.อุปสมานุสสติ
    ๓.อาหารเรปฏิกูลสัญญา
    ๔.จตุธาตุววัตถาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...