สมาธิสูตร สมาธิธรรม และธรรมหมวดต่างๆที่บรรยายโดยพระอัครสาวกผูู้เลิศด้วยปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 15 มิถุนายน 2020.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    temp_hash-15b77f9bae6331b2b0e3eb141ab755b5-png.png
    เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๒. ทุติยวรรค - สมาธิสูตรที่ ๓

    เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๒. ทุติยวรรค - สมาธิสูตรที่ ๓

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
    สมาธิสูตรที่ ๓

    [๒๒๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย
    กับด้วยพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการ
    ที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวงความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ...ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้วแสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    จบสูตรที่ ๑๐
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๒. ทุติยวรรค - สมาธิสูตรที่ ๔

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
    สมาธิสูตรที่ ๔
    [๒๒๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้
    หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ

    เป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง

    ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ภิกษุเหล่านั้นเรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล
    เพื่อจะรู้อรรถแห่งภาษิตนี้ในสำนักท่านพระสารีบุตร ขออรรถแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่าน

    พระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งหลายจงฟังอรรถแห่ง
    ภาษิตนั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร

    ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ

    ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน

    อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มี

    สัญญา ฯ

    ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
    ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น

    เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ

    ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่าธรรมชาติ
    นั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ

    สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล

    การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ...

    ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว

    แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    จบสูตรที่ ๑๑
    จบทุติยวรรคที่ ๒
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    พระอานนท์ ได้ถามเรื่องสมาธิ กับพระพุทธองค์ แล้ว เข้าไปถามในเรื่องเดียวกันกับพระสารีบุตร

    ในเรื่อง สมาธิ .... มีนัย ดังนี้


    --------------------------------------------

    เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๑. นิสสายวรรค - สัญญาสูตร

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน


    สัญญาสูตร


    [๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่

    พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึง
    มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

    ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์
    ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสาณัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ

    ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ...

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
    อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่

    ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการ
    ที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพานดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วย
    พยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผมเหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ


    จบสูตรที่ ๗
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ หน้าที่ 386






    จิตของพระสารีบุตรเหมือนแผ่นดิน

    พระศาสดาตรัสเรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสว่า " สารีบุตร เธอจง

    อดโทษต่อโมฆบุรุษนี้เสีย, ตลอดเวลาที่ศีรษะของเขา จักไม่แตกโดย ๗

    เสี่ยง." พระเถระนั่งกระโหย่งประคองอัญชลีกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า

    ข้าพระองก์ยอมอดโทษต่อผู้มีอายุนั้น, และขอผู้มีอายุนั้นจงอดโทษต่อ

    ข้าพระองค์. ถ้าว่าโทษของข้าพระองค์มีอยู่." ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า

    " ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูความที่พระเถระมีคุณไม่ต่ำทราม,

    พระเถระไม่กระทำความโกรธหรือความประทุษร้าย แม้มีประมาณน้อย

    ในเบื้องบนของภิกษุผู้กล่าวตู่ด้วยมุสาวาทชื่อเห็นปานนี้ ตัวเองเทียวนั่ง

    กระโหย่งประคองอัญชลีให้ภิกษุนั้นอดโทษ."

    พระศาสดาทรงสดับกถานั้นแล้วตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวก

    เธอพูดอะไรกัน ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "กถาชื่อนี้พระเจ้าข้า"

    ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใครๆ ไม่อาจให้ความโกรธหรือความประทุษ-

    ร้ายเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เช่นกับสารีบุตรได้. ภิกษุทั้งหลาย จิตของสารีบุตร

    เช่นกับด้วยแผ่นดินใหญ่ เช่นกับเสาเขื่อนและเช่นกับห้วงน้ำใส" เมื่อ

    จะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

    ๖. ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ

    อินฺทขีลูปโม ตาทิ สุพฺพโต

    รหโทว อเปตกทฺทโม

    สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโน.

    "ภิกษุใด เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสา

    เขื่อน คงที่ มีวัตรดี มีกิเลสดังเปือกตมไปปราศแล้ว

    เหมือนห้วงน้ำปราศจากเปือกตม ย่อมไม่ (ยินดี)

    ยินร้าย, สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้คงที่."

    แก้อรรถ

    เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังนี้:-

    ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดมีของหอมและระเบียบ

    ดอกไม้เป็นต้นบ้าง ย่อมทิ้งของไม่สะอามีมูตรและกรีสเป็นต้นบ้าง ลง

    ในแผ่นดิน. อนึ่งเด็กเป็นต้น ย่อมถ่ายปัสสาวะบ้าง ย่อมถ่ายอุจจาระบ้าง

    รดเสาเขื่อน อันเขาฝั่งไว้ใกล้ประตูเมือง, แต่ชนทั้งหลายพวกอื่น ย่อม

    สักการะเสาเขื่อนนั้น ด้วยวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น, ใน

    เพราะการทำนั้น ความยินดีหรือความยินร้าย ย่อมไม่เกิดแก่แผ่นดิน

    หรือเสาเขื่อนนั่นแลฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนี้ใดชื่อว่าผู้คงที่ เพราะความ

    เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย ๘, ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะ

    ความที่แห่งวัตรทั้งหลายงาม, ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อชน

    ทั้งหลายทำสักการะและอสักการะอยู่ ย่อมไม่ยินดีย่อมไม่ยินร้ายทีเดียวว่า

    "ชนเหล่านั้นย่อมสักการะเราด้วยปัจจัย ๔, แต่ชนเหล่านี้ย่อมไม่สักการะ;

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 388

    โดยที่แท้ ภิกษุผู้ขีณาสพนั้นย่อมเป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดินและเป็นผู้เปรียบ

    ด้วยเสาเขื่อนนั่นเอง. ก็ห้วงน้ำที่มีเปือกตมไปปราศแล้ว เป็นห้วงน้ำใส

    ฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนั้น ชื่อว่ามีเปือกตมไปปราศแล้ว ด้วยเปือกตม

    ทั้งหลายมีเปือกตมคือราคะเป็นต้น เพราะความเป็นผู้มีกิเลสไปปราศแล้ว

    ย่อมเป็นผู้ผ่องใสเทียว ฉันนั้น.

    บทว่า ตาทิโน ความว่า ก็ชื่อว่าสงสารทั้งหลาย ด้วยสามารถ

    แห่งการท่องเที่ยวไปในสุคติและทุคติทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น คือ

    ผู้เห็นปานนั้น.

    ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๙ พันรูปบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

    ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.



    เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    นิโรธสูตร
    [๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ

    เหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุใน

    ธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิต

    นิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุ

    อรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้า

    ถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ

    บ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่าน

    พระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหาร

    เป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจาก

    สัญญาเวทยิตนิโรธบ้างนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

    แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึง

    ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้

    เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ

    บางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้างข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

    แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วง

    ความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึง

    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้น

    ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคันค้านเราถึง ๓ ครั้ง และ

    ภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนา (ภาษิต) เรา ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

    ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึง

    พร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้างพึงออก

    จากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้

    เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ

    บางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้างพึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่

    จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า

    ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้า

    ถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ

    บ้าง นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓

    ท่านพระอุทายี ... ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง แม้

    เฉพาะพระภักตร์แห่งพระผู้มีพระภาค และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาต่อเรา ผิฉะนั้น เราพึงนิ่ง

    เสีย ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีว่า

    ดูกรอุทายี ก็เธอย่อมหมายถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจเหล่าไหน ท่านพระอุทายีได้กราบทูลว่า ข้า

    แต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่าเทพชั้นอรูปที่สำเร็จด้วยสัญญา พระผู้มีพระภาคได้

    ตรัสว่า ดูกรอุทายี ไฉนเธอผู้เป็นพาล ไม่ฉลาดจึงได้กล่าวอย่างนั้น เธอเองย่อมเข้าใจคำที่เธอ

    ควรพูด ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ไฉนพวกเธอจัก

    วางเฉย (ดูดาย)ภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ เพราะว่า แม้ความการุณจักไม่มีในภิกษุผู้ฉลาด

    ซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ... ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้น

    ตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่

    นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระอุปวาณะ แล้วกล่าวว่า ดูกรท่านอุปวาณะ ภิกษุเหล่า

    อื่นในพระศาสนานี้ ย่อมเบียดเบียนภิกษุทั้งหลายผู้เถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การ

    ที่พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น จักทรงปรารภเหตุนั้นยกขึ้นแสดง เหมือน

    ดังที่จะพึงตรัสกะท่านอุปวาณะโดยเฉพาะในเหตุนั้น ข้อนั้นไม่เป็นของอัศจรรย์ บัดนี้ ความ

    น้อยใจได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็นแล้ว เสด็จเข้า

    ไปนั่งที่อุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ตบแต่งไว้ แล้วจึงตรัสถามท่านพระอุปวาณะว่า

    ดูกรอุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่

    เคารพและเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

    ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ

    และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัย

    นี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เธอเป็นพหุสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ๑ เธอเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ

    ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ๑ เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔

    อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ เธอย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

    อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑ ข้าแต่

    พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็น

    ที่เคารพและเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ

    พ. ดีละๆ อุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
    เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ถ้าหากว่าธรรม ๕ ประการนี้

    ไม่พึงมีแก่ภิกษุผู้เถระไซร้ เพื่อนพรหมจรรย์พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ โดยความ

    เป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น อะไรกัน แต่เพราะธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้

    เถระ ฉะนั้นเพื่อนพรหมจรรย์จึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ ฯ

    จบสูตรที่ ๖
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ทสกนิบาต - ทุติยปัณณาสก์ - ๒. ยมกวรรค - สุขสูตรที่ ๑

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
    สุขสูตรที่ ๑
    [๖๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชก
    ชื่อว่าสามัณฑกาณิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่าน

    การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตร

    ว่า ดูกรท่านพระสารีบุตรอะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์การไม่เกิดเป็น
    เหตุให้เกิดสุข ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้คือ ความหนาว ความร้อน

    ความหิว ความระหาย อุจจาระ ปัสสาวะสัมผัสไฟ สัมผัสท่อนไม้ สัมผัสศาตรา ญาติ

    ก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกันย่อมโกรธเคืองเขา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวัง

    ได้ทุกข์นี้ ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขนี้ คือ ความไม่หนาว ความไม่ร้อน

    ความไม่หิว ความไม่ระหาย ไม่ต้องอุจจาระ ไม่ต้องปัสสาวะ ไม่ต้องสัมผัสไฟไม่ต้องสัมผัส

    ท่อนไม้ ไม่ต้องสัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกัน ย่อมไม่โกรธเคืองเขา

    ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขดังนี้ ฯ

    จบสูตรที่ ๕
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ทสกนิบาต - ปฐมปัณณาสก์ - ๑. อานิสังสวรรค - สาริปุตตสูตร

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
    สาริปุตตสูตร
    [๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ได้ปราศรัยกับ
    ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

    แล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็น

    ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความ

    สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น

    พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอ ฯ

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็น
    ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่า

    พึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุ ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตร ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
    ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้

    สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอันธวัน ใกล้พระนครสาวัตถีนี้แหละ
    ณ ที่นั้น ผมเข้าสมาธิ โดยประการที่ผมมิได้มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์

    เลย มิได้มีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในเตโชธาตุว่า

    เป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์มิได้มีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความ

    สำคัญในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญใน

    วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในอากิญจัญ

    ญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญาย

    ตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้

    เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าผมเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร ฯ
    สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน
    การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้แล สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไฟมีเชื้อ

    กำลังไหม้อยู่เปลวอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เปลวอย่างหนึ่งย่อมดับไป แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุ

    สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ สัญญา

    อย่างหนึ่งย่อมดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็แลในสมัยนั้น ผมได้มีสัญญาว่า

    การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ ฯ

    จบสูตรที่ ๗
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    สาริปุตตเถราปทานที่ ๓ (๑)
    ว่าด้วยบุพจริยาของพระสารีบุตร
    ลำดับนี้เชิญฟังเถราปทาน
    [๓] ในที่ไม่ไกลแต่หิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อลัมพกะเราสร้างอาศรมไว้อย่างดี

    สร้างบรรณศาลาไว้ใกล้ภูเขานั้น อาศรมของเราไม่ไกลจากฝั่งแม่น้ำอันไม่ลึก

    มีท่าน้ำราบเรียบเป็นที่รื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่นด้วยหาดทรายขาวสะอาด ที่

    ใกล้อาศรมของเรานั้น มีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวด ตลิ่งไม่ชัน น้ำจืดสนิท

    ไม่มีกลิ่นเหม็น ไหลไป ทำให้อาศรมของเรางาม ฝูงจระเข้ มังกร ปลา

    ฉลามและเต่า ว่ายน้ำเล่นอยู่ในแม่น้ำไหลไป ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา

    ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลา

    เค้า ปลาตะเพียน ปลานกกระจอก ว่ายโลดกระโดดอยู่ ย่อมทำอาศรม

    ของเราให้งาม ที่สองฝั่งแม่น้ำ มีหมู่ไม้ดอก หมู่ไม้ผล ห้อยย้อมอยู่

    ทั้งสองฝั่ง ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ไม้มะม่วง ไม้รัง หมากเม่า

    แคฝอย ไม้ยางทราย ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่เป็นนิจ บานอยู่ใกล้อาศรม

    ของเรา ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง ไม้กระทุ่ม กถินพิมาน บุนนาค และ

    ลำเจียกมีกลิ่นหอมฟุ้งไปเป็นนิจ บานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา ไม้

    ลำดวน ต้นอโศก ดอกกุหลาบ บานสะพรั่ง อยู่ใกล้อาศรมของเรา

    ไม้บรู และมะกล่ำหลวง ดอกบานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา การะเกด

    พยอมขาว พิกุล และมะลิซ้อน มีดอกหอมอบอวล ทำอาศรมของเรา

    ให้งาม ไม้เจตภังคี ไม้กรรณิการ์ ไม้ประดู่ และไม้อัญชัน มีมาก

    มีดอกหอมฟุ้งทำให้อาศรมของเรางาม มะนาว มะงั่ว และแคฝอย ดอก

    บานสะพรั่งหอมตลบอบอวล ทำอาศรมของเราให้งาม ไม้ราชพฤกษ์อัญชัน

    เขียว ไม้กระทุ่มและพิกุลมีมาก ดอกหอมฟุ้งไป ทำอาศรมของเราให้งาม

    ถั่วดำ ถั่วเหลือง กล้วยและมะกรูด งอกงามด้วยน้ำหอม ออกผลสะพรั่ง

    ดอกปทุมอย่างอื่นบานเบ่ง ดอกบัวชนิดอื่นก็เกิดขึ้น บัวหลวงชนิดหนึ่ง

    ดอกร่วงพรู บานอยู่ในบึงกาลนั้น กอปทุมมีดอกตูม เหง้าบัวเลื้อยไป

    เสมอ กระจับเกลื่อนด้วยใบ งามอยู่ในบึงในกาลนั้น ไม้ตาเสือ จงกลณี

    ไม้อุตตรา และชบา กลิ่นหอมตลบไป ดอกบานอยู่ในบึงในกาลนั้น

    ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลาตะเพียน ปลาสังกุลา

    และปลารำพัน มีอยู่ในบึงในกาลนั้น ฝูงจระเข้ ปลาฉลาด ปลาฉนาก

    ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือมใหญ่ที่สุด อยู่ในบึงนั้นในกาลนั้น ฝูงนกคับแค

    นกเป็ดน้ำ นกจากพราก (ห่าน) นกกาน้ำ นกคุเหว่า และสาลิกา

    อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น ฝูงนกกวัก ไก่ป่า ฝูงนกกะลิงป่า นก

    ต้อยตีวิด นกแขกเต้า ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิต อยู่ใกล้สระนั้น ฝูงหงส์

    นกกระเรียน นกยูง นกแขกเต้า ไก่งวง นกค้อนหอย และนกออก

    ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิต อยู่ใกล้สระนั้น ฝูงนกแสก โปฏฐสีสา นกเขา

    เหนี่ยว มีมาก และฝูงนกกาน้ำ ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น ฝูง

    เนื้อฟาน กวาง หมู หมาป่า หมาจิ้งจอกมีอยู่มาก ละมั่ง และเนื้อทราย

    ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี

    หมาในกับเสือดาว โขลงช้าง แยกเป็นสามพวก อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้

    สระนั้น เหล่ากินร วานรและแม้คนทำการงานในป่า หมาไล่เนื้อ และ

    นายพราน ก็อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น ต้นมะพลับ มะหาด มะซาง

    หมากเม่า เผล็ดผลทุกฤดูกาล อยู่ ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา ต้นคำ ต้นสน

    กระทุ่ม สะพรั่งด้วยผล รสหวาน เผล็ดผลทุกฤดู อยู่ ณ ที่ใกล้อาศรม

    ของเรา ต้นสมอ มะขามป้อม ต้นหว้า สมอพิเภก กระเบา ไม้รกฟ้า

    และมะตูม เผล็ดผลเป็นนิตย์ เชือกเขา มันอ้อน ต้นนมแมว มันนก

    กะเบง และคัดมอน มีอยู่มากมายใกล้อาศรมของเรา ณ ที่ใกล้อาศรม

    ของเรานั้น มีสระที่ขุดไว้อย่างดี มีน้ำในเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบ

    เป็นที่รื่นรมย์ใจ ดาดาษด้วยบัวหลวง อุบลและบัวขาว เกลื่อนกลาดด้วย

    บัวขม บัวเผื่อน กลิ่นหอมตลบไป ในกาลนั้น เราเป็นดาบส ชื่อสุรุจิ

    เป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร มีปกติเพ่งฌาน ยินดีในฌานทุกเมื่อ บรรลุ

    ถึงอภิญญา ๕ และพละ ๕ อยู่ในอาศรมที่สร้างเรียบร้อย น่ารื่นรมย์ ใน

    ป่าอันบริบูรณ์ด้วยไม้ใบ ไม้ดอก และไม้ผลทุกสิ่งอย่างนี้ ศิษย์ ๒๔,๐๐๐

    นี้แล เป็นพราหมณ์ทั้งหมด ผู้มีชาติ มียศ บำรุงเรา มวลศิษย์ของเรานี้

    เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ในตำราทำนายลักษณะ และในคัมภีร์

    อิติหาสะ พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏภะ รู้จบไตรเพท บรรดา

    ศิษย์ของเราเป็นผู้ฉลาดในลางดีร้าย ในนิมิตดีร้าย และในลักษณะ

    ทั้งหลาย ศึกษาดี ในพื้นแผ่นดินและในอากาศ ศิษย์เหล่านี้มีความ

    ปรารถนาน้อย มีปัญญา กินหนเดียว ไม่โลภ สันโดษด้วยลาภและ

    ความเสื่อมลาภ บำรุงเราทุกเมื่อ เป็นผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็น

    นักปราชญ์ มีจิตสงบ ตั้งมั่น ปรารถนาความไม่มีกังวล บำรุงเราอยู่

    ทุกเมื่อ เป็นผู้ถึงที่สุดอภิญญา ยินดีในอารมณ์อันเป็นโคจรของบิดา

    เที่ยวไปในอากาศ เป็นนักปราชญ์ บำรุงเราอยู่ทุกเมื่อ ศิษย์ของเราเหล่านั้น

    สำรวมในทวารทั้ง ๖ ไม่หวั่นไหว รักษาอินทรีย์ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ

    เป็นนักปราชญ์ หาผู้อื่นเสมอได้ยาก ศิษย์ของเราเหล่านั้นยับยั้งอยู่ด้วย

    การนั่งคู้บัลลังก์ การยืนและการเดินตลอดราตรี หาผู้อื่นเสมอได้ยาก

    มวลศิษย์ของเราไม่กำหนัด ในธรรมเป็นที่ตั้งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองใน

    ธรรมเป็นที่ตั้งความขัดเคือง ไม่หลงในธรรมเป็นที่ตั้งความหลง หาผู้อื่น

    เสมอได้ยาก ศิษย์เหล่านั้นแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ ประพฤติอยู่เป็นนิตยกาล

    บันดาลให้แผ่นดินไหวก็ได้ ยากที่ใครๆ จะแข่งได้ ศิษย์เหล่านั้นเข้า

    ปฐมฌานเป็นต้น พวกหนึ่งไปยังอมรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปยังปุพพวิเทห

    ทวีป พวกหนึ่งไปยังอุตตรกุรุทวีป ไปนำเอาผลหว้ามา ศิษย์ของเรา หา

    ผู้อื่นเสมอได้ยาก ศิษย์เหล่านั้นส่งหาบไปข้างหน้า ตนไปข้างหลัง ท้องฟ้า

    เป็นฐานะอันดาบส ๒๔,๐๐๐ ปกปิดแล้ว ศิษย์บางพวกปิ้งให้สุกด้วยไฟกิน

    บางพวกกินดิบๆ นั่นเอง บางพวกเอาฟันแทะเปลือกออกแล้วกิน บาง

    พวกซ้อมด้วยครกแล้วกิน บางพวกตำด้วยครกหินกิน บางพวกกินผลไม้ที่

    หล่นเอง บางพวกชอบสะอาด ลงอาบน้ำทั้งเวลาเย็นและเช้า บางพวก

    เอาน้ำรดอาบ ศิษย์ของเราหาผู้อื่นเสมอได้ยาก ศิษย์ของเราปล่อยเล็บมือ

    เล็บเท้าและขนรักแร้งอกยาว ขี้ฟันเลอะเทอะ มีธุลีบนศีรษะ หอมด้วย

    กลิ่นศีล หาผู้อื่นเสมอได้ยาก ดาบสทั้งหลายมีตบะแรงกล้า ประชุมกัน

    ในเวลาเช้าแล้ว ไปประกาศลาภน้อยลาภมากในอากาศในกาลนั้น เมื่อ

    ดาบสนี้หลีกไป เสียงอันดังย่อมเป็นไป เทวดาทั้งหลายย่อมยินดีด้วยเสียง

    หนังสัตว์ ฤษีเหล่านั้นกล้าแข็งด้วยกำลังของตน เหาะไปในอากาศ ไปสู่

    ทิศน้อยทิศใหญ่ตามปรารถนา ปวงฤาษีนี้แล ทำแผ่นดินให้หวั่นไหว

    เที่ยวไปในอากาศ มีเดชแผ่ไป ยากที่จะข่มขี่ได้ ดังสาครยากที่ใครๆ จะ

    ให้ขุ่นได้ ฤาษีศิษย์ของเราบางพวกประกอบการยืนและเดิน บางพวกไม่

    นอน บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง หาผู้อื่นเสมอได้ยาก ท่านเหล่านี้ มี

    ปกติอยู่ด้วยเมตตาแสวงหาประโยชน์ เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ไม่ยกย่องตน

    ทั้งหมด ไม่ติเตียนใครๆ ทั้งนั้น เป็นผู้สะดุ้ง ดังพระยาราชสีห์ มี

    กำลังเหมือนพระยาคชสาร ยากที่จะข่มได้ ดุจเสือโคร่ง ย่อมมาในสำนัก

    ของเรา พวกวิชาธร เทวดา นาค คนธรรพ์ ผีเสื้อน้ำ กุมภัณฑ์ อสูร

    และครุฑ ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น ศิษย์ของเราเหล่านั้น ทรง

    ชฎา เลี้ยงชีวิตด้วยผลไม้และเหง้ามัน นุ่งห่มหนังสัตว์ เที่ยวไปในอากาศ

    ได้ทุกตน อยู่ใกล้สระนั้น ในกาลนั้น ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้สมควร มีความ

    เคารพกันและกัน เสียงไอจามของศิษย์ทั้ง ๒๔,๐๐๐ ย่อมไม่มี ท่านเหล่านี้

    ซ้อนเท้าบนเท้า เงียบเสียง สังวรดี เข้ามาไหว้ เราด้วยเศียรเกล้า

    ทั้งหมดนั้น เราผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน ห้อมล้อมด้วยศิษย์เหล่านั้น

    ผู้สงบระงับ มีตบะ อยู่ในอาศรมนั้น อาศรมของเรามีกลิ่นหอมด้วยกลิ่น

    ศีลของเหล่าฤาษีและด้วยกลิ่นสองอย่าง คือ กลิ่นดอกไม้และกลิ่นผลไม้

    เราไม่รู้สึกตลอดคืนตลอดวัน ความไม่ยินดีไม่มีแก่เรา เราสั่งสอนบรรดา

    ศิษย์ของตน ย่อมได้ความร่าเริงอย่างยิ่ง เมื่อดอกไม้ทั้งหลายบาน และ

    เมื่อผลไม้ทั้งหลายสุก กลิ่นหอมตลบอบอวล ทำอาศรมของเราให้งาม

    เราออกจากสมาธิแล้ว มีความเพียร มีปัญญาถือเอาภาระคือหาบ เข้าป่า

    ในกาลนั้น เราศึกษาชำนาญในลางดีลางร้าย ฝันดีฝันร้าย และตำราทำนาย

    ลักษณะ ทรงลักษณมนต์อันกำลังเป็นไป พระผู้มีพระภาคพระนามว่า

    อโนมทัสสี เป็นผู้ประเสริฐในโลก เป็นนระผู้องอาจ ทรงใคร่วิเวก เป็น

    สัมพุทธเจ้า เข้าไปยังป่าหิมวันต์ พระองค์ผู้เลิศ เป็นมุนีประกอบด้วย

    กรุณา เป็นอุดมบุรุษ เสด็จเข้าป่าหิมวันต์แล้ว ทรงนั่งคู้บัลลังก์ เราได้

    เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีรัศมีสว่างจ้า น่ารื่นรมย์ใจ ดังดอกบัว

    เขียว ทรงรุ่งเรืองควรบูชา ดังกองไฟ เราได้เห็นพระนายกของโลก

    ทรงรุ่งโรจน์ดุจดวงไฟ เหมือนสายฟ้าในอากาศ เช่นกับพระยารังมีดอก

    บานสะพรั่ง เพราะอาศัยการได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ เป็นมหาวีระ

    ทรงทำที่สุดทุกข์ เป็นมุนีนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ครั้นเราได้เห็น

    พระผู้มีพระภาคผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดาแล้ว ได้ตรวจดูลักษณะว่าเป็น

    พระพุทธเจ้าหรือมิใช่ ผิฉะนั้นเราจะดูพระผู้มีพระภาคผู้มีจักษุ เราได้เห็น

    จักรมีกำพันหนึ่งที่พื้นฝ่าพระบาท ครั้นได้เห็นพระลักษณะของพระองค์แล้ว

    จึงถึงความตกลงในพระตถาคตในกาลนั้น เราจับไม้กวาดกวาดที่นั้นแล้ว

    ได้นำเอาดอกไม้ ๘ ดอกมาบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ครั้นบูชาพระ

    พุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะไม่มีอาสวะนั้นแล้ว ทำหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

    นมัสการพระนายกของโลก พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ทรงอยู่ด้วย

    พระญาณใด เราจักประกาศพระญาณนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังคำเรากล่าว

    พระสยัมภูผู้มีความเจริญมากที่สุด ทรงถอนสัตว์โลกนี้แล้ว สัตว์เหล่านั้น

    อาศัยการได้เห็นพระองค์ ย่อมข้ามกระแสน้ำคือความสงสัยได้ พระองค์

    เป็นพระศาสดา เป็นยอด เป็นธงไชย เป็นหลัก เป็นร่มเงา เป็นที่พึ่ง

    เป็นประทีปส่องทาง เป็นพระพุทธเจ้าของสัตว์ทั้งหลาย น้ำในสมุทรอาจ

    ประมาณได้ด้วยมาตราดวง แต่ใครๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณ

    ของพระองค์ได้เลย เอาดินมาชั่งดูแล้วอาจประมาณแผ่นดินได้ แต่ใครๆ

    ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้เลย อาจวัดอากาศได้

    ด้วยเชือก หรือด้วยนิ้วมือ แต่ใครๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณ

    ของพระองค์ได้เลย พึงประมาณลำน้ำในมหาสมุทรและแผ่นดินทั้งหมดได้

    แต่จะถือเอาพระพุทธญาณมาประมาณนั้นไม่ควร ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ

    จิตของสัตวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมเป็นไป สัตว์เหล่านี้เข้าไปภายใน

    ข่าย คือ พระญาณของพระองค์ พระองค์ทรงบรรลุโพธิญาณอันอุดม

    สิ้นเชิงด้วยพระญาณใด พระสัพพัญญูก็ทรงย่ำยีอัญเดียรถีย์ด้วยพระญาณ

    นั้น ท่านสุรุจิ ดาบสกล่าวชมเชยด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ปูลาดหนังเสือ

    บนแผ่นดินแล้วนั่งอยู่ ท่านกล่าวไว้ในบัดนี้ว่า ขุนเขาสูงสุดหยั่งลงใน

    ห้วงมหรรณพ ๘๔๐๐๐ โยชน์ ขุนเขาสิเนรุทั้งด้านยาวและด้านกว้าง สูงสุด

    เพียงนั้น ทำให้ละเอียดได้ด้วยประเภทการนับว่าแสนโกฏิ เมื่อตั้งเครื่อง

    หมายไว้ พึงถึงความสิ้นไป แต่ใครๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณ

    ของพระองค์ได้เลย ผู้ใดพึงเอาข่ายตาเล็กๆ ล้อมน้ำไว้ สัตว์น้ำบางเหล่า

    พึงเข้าไปภายในข่ายของผู้นั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เดียรถีย์ผู้มีกิเลสหนา

    บางพวกก็ฉันนั้น แล่นไปถือเอาทิฏฐิผิด หลงอยู่ด้วยการลูบคลำ เดียรถีย์

    เหล่านี้เข้าไปภายในข่าย ด้วยพระญาณอันบริสุทธิ์อันแสดงว่าไม่มีอะไร

    ห้ามได้ของพระองค์ ไม่ล่วงพระญาณของพระองค์ไปได้ ก็สมัยนั้น พระผู้

    มีพระภาค พระนามว่าอโนมทัสสี ผู้มียศใหญ่ ทรงชำนะกิเลส เสด็จออก

    จากสมาธิแล้วทรงตรวจดูทิศ พระอัครสาวกนามว่า นิสภะ ของพระมุนี

    พระนามว่าอโนมทัสสี ทราบพระดำริของพระพุทธเจ้าแล้ว อันพระขีณาสพ

    หนึ่งแสน ผู้มีจิตสงบระงับ มั่นคง บริสุทธิ์สะอาด ได้อภิญญา ๖ คงที่

    แวดล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้นายกของโลก ท่านเหล่านั้นอยู่

    บนอากาศ ได้ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคแล้วลงมาประนมอัญชลี นมัส

    การอยู่ในสำนักพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาค พระนามอโนมทัสสี เชฏฐ

    บุรุษของโลก เป็นนระอาจหาญ ทรงชำนะกิเลส ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุ

    สงฆ์ ทรงยิ้มแย้ม ภิกษุนามว่าวรุณ อุปัฏฐากของพระศาสดาพระนามว่า

    อโนมทัสสี ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ทูลถามพระผู้มีพระภาคผู้นายก

    ของโลกว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อะไรเป็นเหตุให้พระศาสดาทรงยิ้มแย้ม

    หนอ อันพระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงยิ้มแย้ม เพราะไม่มีเหตุ พระผู้มีพระภาค

    ทรงพระนามว่าอโนมทัสสีเชษฐบุรุษของโลก เป็นนระองอาจ ประทับนั่ง

    ในท่ามกลางภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ผู้ใดบูชาเราด้วยดอกไม้ และ

    เชยชมญาณของเรา เราจักประกาศผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

    เทวดาทั้งปวง พร้อมทั้งมนุษย์ ทราบพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้ว

    ประสงค์จะฟังพระสัทธรรม จึงพากันมาเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า หมู่ทวยเทพ

    ผู้มีฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ประสงค์จะฟังพระสัทธรรม จึงพากันมาเฝ้า

    พระสัมพุทธเจ้า จตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า

    จักแวดล้อมผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ดนตรีหกหมื่น

    กลองที่ประดับสวยงาม จักบำรุงผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระ

    พุทธเจ้า หญิงล้วนแต่สาวๆ หกหมื่น ประดับประดาสวยงาม มีผ้าและ

    เครื่องอาภรณ์อันวิจิตร สวมแก้วมณี และกุณฑล มีหน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม

    ตะโพกผายไหล่ผึ่ง เอวเล็กเอวกลม จักห้อมล้อมผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผล

    แห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดแสนกัลป์ จัก

    ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในแผ่นดินพันครั้ง จักเป็นจอมเทวดาเสวย

    ราชสมบัติในเทวโลกพันครั้ง จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับ

    ไม่ถ้วน ครั้นถึงภพที่สุด ถึงความเป็นมนุษย์ จักคลอดจากครรภ์แห่งนาง

    พราหมณีชื่อสารี นระนี้จักปรากฏตามชื่อและโคตรของมารดา โดยชื่อว่า

    สารีบุตร จักมีปัญญาคมกล้า จักเป็นผู้ไม่มีกังวล ละทิ้งทรัพย์ประมาณ

    ๘๐ โกฏิแล้วออกบวช จักเที่ยวแสวงหาสันติบททั่วแผ่นดินนี้ สกุล

    โอกกากะสมภพ ในกัลป์อันประมาณมิได้ แต่กัลป์นี้ พระศาสดาทรง

    พระนามว่าโคดมโดยพระโคตร จักมีในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสทายาทใน

    ธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จักได้เป็นพระอัคร

    สาวกมีนามว่าสารีบุตร แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรสีนี้ ไหลมาแต่ประเทศหิมวันต์

    ย่อมไหลไปถึงมหาสมุทรยังห้วงน้ำใหญ่ให้เต็ม ฉันใด พระสารีบุตรนี้ก็

    ฉันนั้น เป็นผู้อาจหาญ แกล้วกล้าในประเภทสาม ถึงที่สุดแห่งปัญญา

    บารมี จักยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ ตั้งแต่ภูเขาหิมวันต์จนถึงมหา

    สมุทรสาคร ในระหว่างนี้ โดยจะนับทรายนั้นนับไม่ถ้วน การนับทราย

    แม้นั้น ก็อาจนับได้โดยไม่เหลือ ฉันใด ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารี

    บุตรจักไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อตั้งคะแนนไว้ ทรายในแม่น้ำคงคาพึง

    สิ้นไป ฉันใด แต่ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตรจักไม่เป็นฉันนั้นเลย

    คลื่นในมหาสมุทรโดยจะนับก็นับไม่ถ้วน ฉันใด ที่สุดแห่งปัญญาของ

    พระสารีบุตรจักไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน พระสารีบุตร ยังพระสัมพุทธเจ้า

    ผู้ศากยโคดมสูงสุดให้โปรดปรานแล้ว จักได้เป็นพระอัครสาวกถึงที่สุด

    แห่งปัญญา จักยังธรรมจักรที่พระผู้มีพระภาคศากยบุตรให้เป็นไปแล้ว ให้

    เป็นไปตามโดยชอบ จักยังเมล็ดฝน คือ ธรรมให้ตกลง พระโคดมผู้

    ศากยสูงสุดทรงทราบข้อนั้นทั้งมวลแล้ว จักประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุ

    สงฆ์ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอัครสาวก โอ กุศลกรรมเราได้ทำแล้ว เราได้

    ทำการบูชาพระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสีด้วยดอกไม้แล้ว ได้ถึงที่สุด

    ในที่ทุกแห่ง กรรมที่เราทำแล้วประมาณไม่ได้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดง

    ผลแก่เรา ณ ที่นี้ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว เปรียบเหมือนกำลังลูกศรอัน

    พ้นแล้วด้วยดี เรานี้แสวงหาบทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ดับสนิท ไม่หวั่นไหว

    ค้นหาลัทธิทั้งปวงอยู่ ท่องเที่ยวไปแล้วในภพ คนเป็นไข้พึงแสวงหาโอสถ

    ต้องสั่งสมทรัพย์ไว้ทุกอย่างเพื่อพ้นจากความป่วยไข้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น

    แสวงหาบทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ดับสนิท ไม่หวั่นไหว ได้บวชเป็นฤาษี

    ห้าร้อยครั้งไม่คั่นเลย เราทรงชฎาเลี้ยงชีวิตด้วยหาบคอน นุ่งห่มหนังเสือ

    ถึงที่สุดอภิญญาแล้ว ได้ไปสู่พรหมโลก ความบริสุทธิ์ในลัทธิภายนอก

    ไม่มี เว้นศาสนาของพระชินเจ้า สัตว์ผู้มีปัญญาทั้งปวง ย่อมบริสุทธิ์

    ได้ในศาสนาของพระชินเจ้า ฉะนั้น เราจึงไม่นำเรานี้ผู้ใคร่ประโยชน์ไปใน

    ลัทธิภายนอก เราแสวงหาบท อันปัจจัยไม่ปรุงอยู่ เที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด

    บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออก ก็ไม่พึงได้แก่นไม้ใน

    ต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่น ฉันใด คนในโลก ผู้เป็นเดียรถีย์

    เป็นอันมาก มีทิฏฐิต่างกัน ก็ฉันนั้น คนเหล่านั้นเป็นผู้ว่างเปล่าจาก

    อสังขตบท เหมือนต้นกล้วยว่างเปล่าจากแก่น ฉะนั้น ครั้นเมื่อภพถึงที่

    สุดแล้ว เราได้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์ เราละทิ้งโภคสมบัติเป็นอันมาก

    แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.

    จบ ปฐมภาณวาร ฯ
    ข้าพระองค์อยู่ในสำนักพราหมณ์นามว่าสัญชัย ซึ่งเป็นผู้เล่าเรียน ทรง

    จำมนต์ รู้จบไตรเทพ ข้าแต่พระมหาวีระ พราหมณ์ชื่ออัสสชิสาวกของ

    พระองค์ หาผู้เสมอได้ยาก มีเดชรุ่งเรือง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกาลนั้น

    ข้าพระองค์ได้เห็นท่านผู้มีปัญญา เป็นมุนี มีจิตตั้งมั่นในความเป็นมุนี

    มีจิตสงบระงับ เป็นมหานาคแย้มบานดังดอกประทุม ครั้นข้าพระองค์เห็น

    ท่านผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว มีใจบริสุทธิ์ องอาจประเสริฐ มีความเพียร

    จึงเกิดความคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์ ท่านผู้นี้มีอิริยาบถน่า

    เลื่อมใส มีรูปงาม สำรวมดี จักเป็นผู้ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกอันสูงสุด

    จักเป็นผู้เห็นอมตบท ผิฉะนั้น เราเราพึงถามท่านผู้มีใจยินดีถึงประโยชน์

    อันสูงสุด หากเราถามแล้ว ท่านจักตอบ เราจักสอบถามท่านอีก

    ข้าพระองค์ได้ตามไปข้างหลังของท่านซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต รอคอย

    โอกาสอยู่ เพื่อจะสอบถามอมตบท ข้าพระองค์เข้าไปหาท่านซึ่งพักอยู่ใน

    ระหว่างถนน แล้วได้ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เนียรทุกข์ มีความเพียร ท่าน

    มีโคตรอย่างไร ท่านเป็นศิษย์ของใคร ท่านอันข้าพระองค์ถามแล้ว ไม่

    ครั่นคร้ามดังพระยาไกรสร พยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วใน

    โลก ฉันเป็นศิษย์ของพระองค์จ๊ะ ท่านผู้มีความเพียรใหญ่ผู้เกิดตามมียศ

    มาก ศาสนธรรมแห่งพระพุทธเจ้าของท่านเช่นไร ขอได้โปรดบอกแก่

    ข้าพเจ้าเถิดท่าน ข้าพระองค์ถามแล้ว ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียด

    ทุกอย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศร คือ ตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความทุกข์

    ทั้งมวล ว่าธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่ง

    ธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้ามีปกติ

    ตรัสอย่างนี้จ๊ะ เมื่อท่านอัสสชิแก้ปัญหาแล้ว ข้าพระองค์นั้นได้บรรลุผล

    ที่หนึ่ง เป็นผู้ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เพราะได้ฟังคำสอนของ

    พระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ฟังคำของท่านมุนีได้เห็นธรรมอันสูงสุด จึง

    หยั่งลงสู่พระสัทธรรม ได้กล่าวคาถานี้ว่า ธรรมนี้แล เหมือนบทอันมี

    สภาพเห็นประจักษ์ ไม่มีความโศก ข้าพระองค์ไม่ได้เห็นล่วงเลยไปแล้ว

    หลายหมื่นกัลป์ ข้าพระองค์แสวงหาธรรมอยู่ ได้เที่ยวไปในลัทธิผิด

    ประโยชน์นั้นข้าพระองค์บรรลุแล้ว ไม่ใช่กาลที่เราจะประมาท ข้าพระองค์

    อันท่านพระอัสสชิให้ยินดีแล้ว บรรลุบทอันไม่หวั่นไหวแสวงหาสหายอยู่

    จึงได้ไปยังอาศรม สหายเห็นข้าพระองค์แต่ไกลทีเดียว อันข้าพระองค์ให้

    ศึกษาดีแล้ว ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเป็นผู้มีหน้าและ

    ตาอันผ่องใส ย่อมจะเห็นความเป็นมุนีแน่ ท่านได้บรรลุอมตบทอันดับ

    สนิทไม่เคลื่อนแลหรือ ท่านมีรูปงามราวกะว่ามีความไม่หวั่นไหวอันได้ทำ

    แล้ว มาแล้ว ฝึกแล้วในอุบายอันฝึกแล้ว เป็นผู้สงบระงับแล้วหรือ

    พราหมณ์ เราได้บรรลุอมตบท อันเป็นเครื่องบรรเทาลูกศร คือ ความโศก

    แล้ว แม้ท่านก็จงบรรลุอมตบทนั้น เราไปสำนักพระพุทธเจ้ากันเถิด

    สหายผู้อันข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้ว รับคำแล้ว ได้จูงมือพากันเข้ามา

    ยังสำนักของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ศากโยรส แม้ข้าพระองค์ทั้งสอง

    จักบวชในสำนักของพระองค์ จักขออาศัยคำสอนของพระองค์ เป็นผู้ไม่มี

    อาสวะอยู่ ท่านโกลิตะเป็นผู้ประเสริฐด้วยฤทธิ์ ข้าพระองค์ถึงที่สุดแห่ง

    ปัญญา เราทั้งสองจะร่วมกันทำพระศาสนาให้งาม เรามีความดำริยังไม่ถึง

    ที่สุด จึงเที่ยวไปในลัทธิผิด เพราะได้อาศัยทัสสนะของท่าน ความดำริ

    ของเราจึงเต็ม ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดิน มีดอกบานตามฤดูกาล ส่งกลิ่น

    หอมตลบอบอวล ยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรศากโยรส

    ผู้มียศใหญ่ ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ดำรงอยู่ในศาสนธรรมของพระองค์แล้ว

    ย่อมเบ่งบานในสมัย ข้าพระองค์แสวงหาดอกไม้ คือ วิมุติ เป็นที่พ้น

    ภพสงสาร ย่อมยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี ด้วยการให้ได้ดอกไม้ คือ วิมุติ

    ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ เว้นพระมหามุนีแล้วตลอดพุทธเขต ไม่มีใครเสมอ

    ด้วยปัญญาแห่งข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นบุตรของพระองค์ ศิษย์และบริษัทของ

    พระองค์ พระองค์แนะนำดีแล้ว ให้ศึกษาดีแล้ว ฝึกแล้วในอุบายเครื่อง

    ฝึกจิตอันสูงสุด ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้นเพ่งญาณ

    ยินดีในญาณ เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบ ตั้งมั่นเป็นมุนี ถึงพร้อมด้วย

    ความเป็นมุนี ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้นมีความ

    ปรารถนาน้อย มีปัญญาเป็นนักปราชญ์ มีอาหารน้อย ไม่โลเล ยินดีทั้ง

    ลาภและความเสื่อมลาภ ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้น

    ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีธุดงค์ เพ่งฌาน มีจีวรเศร้าหมอง ยินดียิ่งใน

    วิเวก เป็นนักปราชญ์ ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้น

    เป็นผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในผล เป็นพระเสขะ พรั่งพร้อมด้วยผล หวังผล

    ประโยชน์อันอุดม ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ทั้งท่านที่เป็นโสดาบัน

    ทั้งที่เป็นพระสกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ปราศจากมลทิน ย่อม

    แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ สาวกของพระองค์เป็นอันมาก ฉลาดในสติ

    ปัฏฐาน ยินดีในโพชฌงคภาวนา ทุกท่าน ย่อมแวดล้อมพระองค์ทุกเมื่อ

    ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในสมาธิภาวนา หมั่นประกอบ

    ในสัมมัปปธาน ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้นมีวิชชา ๓

    มีอภิญญา ๖ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ ถึงที่สุดแห่งปัญญา ย่อมแวดล้อมพระองค์

    อยู่ทุกเมื่อ ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า บรรดาศิษย์ของพระองค์เช่นนี้แลหนอ

    ศึกษาดีแล้ว หาผู้เสมอได้ยาก มีเดชรุ่งเรืองแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ

    พระองค์อันศิษย์เหล่านั้นผู้สำรวมแล้ว มีตบะแวดล้อมแล้วไม่ครั่นคร้าม

    ดังราชสีห์ ย่อมงดงามดุจพระจันทร์ ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดินแล้วย่อม

    งาม ถึงความไพบูลย์ และย่อมเผล็ดผล ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้ศาก

    บุตร ผู้มียศใหญ่ พระองค์เป็นเช่นกับแผ่นดิน ศิษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น

    ตั้งอยู่ในศาสนาของพระองค์แล้ว ย่อมได้อมฤตผล แม่น้ำสินธู แม่น้ำ

    สรัสสดี แม่น้ำจันทภาคา แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำสรภู และ

    แม่น้ำมหี เมื่อแม่น้ำเหล่านั้นไหลมา สาครย่อมรับไว้หมด แม่น้ำเหล่านี้

    ย่อมละชื่อเดิม ย่อมปรากฏเป็นสาครนั้นเอง ฉันใด วรรณ ๔ เหล่านี้ก็

    ฉันนั้น บวชแล้วในสำนักของพระองค์ ย่อมละชื่อเดิมทั้งมวล ปรากฏว่า

    เป็นบุตรของพระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนดวงจันทร์อันปราศจากมลทิน

    โคจรอยู่ในอากาศ ย่อมรุ่งโรจน์ล่วงมวลหมู่ดาวในโลกด้วยรัศมี ฉันใด

    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น อันศิษย์ทั้งหลายแวดล้อมแล้ว

    ย่อมรุ่งเรือง ก้าวล่วงเทวดาและมนุษย์ตลอดพุทธเขตทุกเมื่อ คลื่นตั้งขึ้น

    ในน้ำอันลึก ย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้ คลื่นเหล่านั้นกระทบทั่วฝั่ง ย่อม

    เป็นระลอกเล็กน้อย เรี่ยรายหายไป ฉันใด ชนในโลกเป็นอันมากผู้เป็น

    เดียรถีย์ก็ฉันนั้น มีทิฏฐิต่างๆ กัน ต้องการจะข้ามธรรมของพระองค์

    แต่ก็ไม่ล่วงเลยพระองค์ผู้เป็นมุนีไปได้ ข้าแต่พระองค์มีพระจักษุ ก็ถ้าชน

    เหล่านั้นมาถึงพระองค์ด้วยความประสงค์จะคัดค้าน เข้ามายังสำนักของ

    พระองค์แล้ว ย่อมกลายเป็นจุรณไป เปรียบเหมือนดอกโกมุท บัวขม

    และบัวเผื่อนเป็นอันมาก เกิดในน้ำ ย่อมเอิบอาบ (ฉาบ) อยู่ด้วยน้ำ

    และเปือกตม ฉันใด สัตว์เป็นอันมากก็ฉันนั้น เกิดแล้วในโลก ย่อม

    งอกงาม ไม่อิ่มด้วยราคะและโทสะ เหมือนดอกกุมุทในเปือกตม ฉะนั้น

    ดอกบัวหลวงเกิดในน้ำ ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางน้ำ มันมีเกษรบริสุทธิ์

    ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น เป็น

    มหามุนีเกิดแล้วในโลก ไม่ติดอยู่ด้วยโลภ ดังดอกปทุมไม่ติดด้วยน้ำ

    ฉะนั้น เปรียบเหมือนดอกไม้อันเกิดในน้ำเป็นอันมาก ย่อมบานในเดือน

    กัตติกมาส ไม่พ้นเดือนนั้นไป สมัยนั้นเป็นสมัยดอกไม้น้ำบาน ฉันใด

    ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร พระองค์ก็ฉันนั้น เป็นผู้บานแล้วด้วยวิมุติ

    ของพระองค์ สัตว์ทั้งหลายไม่ล่วงเลยศาสนาของพระองค์ ดังดอกบัวเกิด

    ในน้ำย่อมบานไม่พ้นเดือนกัตติกมาส ฉะนั้น เปรียบเหมือนพระยาไม้รัง

    ดอกบานสะพรั่ง กลิ่นหอมตลบไป อันไม้รังอื่นแวดล้อมแล้วย่อมงามยิ่ง

    ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น บานแล้วด้วยพระพุทธ

    ญาณ อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ย่อมงามเหมือนพระยาไม้รัง ฉะนั้น

    เปรียบเหมือนภูเขาหินหิมวา เป็นโอสถของปวงสัตว์ เป็นที่อยู่ของพวก

    นาค อสูร และเทวดาทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์

    ก็ฉันนั้น เป็นโอสถของมวลสัตว์ ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า บุคคลผู้บรรลุ

    เตวิชชา บรรลุอภิญญา ๖ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ ผู้ที่พระองค์ทรงพระกรุณา

    พร่ำสอนแล้ว ย่อมยินดีด้วยความยินดีในธรรม ย่อมอยู่ในศาสนาของ

    พระองค์ เปรียบเหมือนราชสีห์ผู้พระยาเนื้อ ออกจากถ้ำที่อยู่แล้วเหลียว

    ดูทิศทั้ง ๔ แล้วบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง เมื่อราชสีห์คำราม เนื้อทั้งปวง

    ย่อมสะดุ้ง แท้จริง ราชสีห์ผู้มีชาตินี้ ย่อมยังสัตว์เลี้ยงให้สะดุ้งทุกเมื่อ

    ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่ พสุธานี้ย่อม

    หวั่นไหว สัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ย่อมตื่น หมู่มารย่อมสะดุ้งฉันนั้น ข้าแต่

    พระมหามุนี เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่ ปวงเดียรถีย์ย่อมสะดุ้ง ดังฝูงกา

    เหยี่ยวและเนื้อ วิ่งกระเจิงเพราะราชสีห์ ฉะนั้น ผู้เป็นเจ้าคณะทั้งปวง

    ชนทั้งหลายเรียกว่าเป็นพระศาสดาในโลก ท่านเหล่านั้น ย่อมแสดง

    ธรรมอันสืบๆ กันมาแก่บริษัท ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ส่วนพระองค์ไม่

    ทรงแสดงธรรมแก่มวลสัตว์อย่างนั้น ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายและพระโพธิปัก

    ขิยธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงทราบอัธยาศัย กิเลส อินทรีย์ พละ

    และมิใช่พละ ทรงทราบภัพบุคคลและอภัพบุคคลแล้ว จึงทรงบันลือ

    เหมือนมหาเมฆ บริษัทพึงนั่งอยู่เต็มตลอดที่สุดจักรวาล มีทิฏฐิต่างๆ กัน

    คิดต่างๆ กัน เพื่อจะทรงตัดความสงสัยของบริษัทเหล่านั้น พระองค์ผู้

    เป็นมุนี ทรงทราบจิตของบริษัททั้งปวง ทรงฉลาดในข้ออุปมาตรัสแก้

    ปัญหาข้อเดียวเท่านั้น ก็ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งหลายได้ แผ่นดิน

    พึงเต็มด้วยต้นไม้ หญ้า (และมนุษย์) ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหมดนั้น

    ประนมมืออัญชลีสรรเสริญพระองค์ผู้นายกโลก หรือว่าเขาเหล่านั้น

    สรรเสริญอยู่ตลอดกัลป์ พึงสรรเสริญด้วยคุณต่างๆ ก็ไม่สรรเสริญคุณให้

    สิ้นสุดประมาณได้ พระตถาคตเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ ด้วยว่า

    พระมหาชินเจ้า อันใครๆ สรรเสริญและด้วยกำลังของตนเหมือนอย่างนั้น

    ชนทั้งหลายสรรเสริญจนที่สุดกัลป์ ก็พึงสรรเสริญอย่างนี้ๆ ถ้าแหละว่า

    ใครๆ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ผู้ศึกษาดีแล้ว พึงสรรเสริญให้สุดประมาณ

    ผู้นั้นก็พึงได้ความลำบากเท่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร มียศมาก

    ข้าพระองค์ตั้งอยู่ในศาสนาของพระองค์ ถึงที่สุดแห่งปัญญาแล้ว เป็นผู้หา

    อาสวะมิได้อยู่ ข้าพระองค์จะย่ำยีพวกเดียรถีย์ ยังศาสนาของพระชินเจ้า

    ให้เป็นไป วันนี้เป็นวันธรรมเสนาบดี ในศาสนาของพระผู้มีพระภาค

    ศากยบุตร กรรมที่ข้าพระองค์ทำแล้วหาประมาณมิได้ แสดงผลแก่ข้า

    พระองค์ ณ ที่นี้ ข้าพระองค์เผากิเลสได้แล้ว ดังกำลังลูกศรพ้นดีแล้ว

    มนุษย์คนใดคนหนึ่งเทิน (ทูน) ของหนักไว้บนศีรษะเสมอ ต้องลำบาก

    ด้วยภาระฉันใด อันภาระเราต้องแบกอยู่ ฉันนั้น เราถูกไฟ ๓ กองเผาอยู่

    เป็นทุกข์ด้วยการแบกภาระในภพ ท่องเที่ยวไปในภพทั้งหลาย เหมือน

    ถอนขุนเขาสิเนรุ ฉะนั้น ก็ (บัดนี้) เราปลงภาระลงแล้ว กำจัดภพทั้ง

    หลายได้แล้ว กิจที่ควรทำทุกอย่างในศาสนาของพระผู้มีพระภาคศากยบุตร

    เราทำเสร็จแล้ว ในกำหนดพุทธเขต เว้นพระผู้มีพระภาคศากยบุตร

    เราเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ไม่มีใครเหมือนเรา (ด้วยปัญญา) เราเป็นผู้ฉลาด

    ในสมาธิ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ วันนี้เราปรารถนาจะนิรมิตคนสักพันคนก็ได้

    พระมหามุนีทรงเป็นผู้ชำนาญในอนุปุพพวิหารธรรม ตรัสคำสั่งสอนแก่เรา

    นิโรธเป็นที่นอนของเรา เรามีทิพยจักษุอันหมดจด เราเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ

    หมั่นประกอบในสัมมัปปธาน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ อันกิจทุกอย่างที่

    พระสาวกพึงทำ เราทำเสร็จแล้วแล เว้นพระโลกนาถแล้ว ไม่มีใคร

    เสมอด้วยเรา เป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ได้ฌานและวิโมกข์เร็วพลัน ยินดี

    ในการเจริญโพชฌงค์ ถึงที่สุดแห่งสาวกคุณ เราทั้งหลายมีความเคารพ

    ในอุดมบุรุษ ด้วยการถูกต้องสาวกคุณ ด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้ จิตของ

    เราสงเคราะห์เพื่อนพรหมจรรย์ด้วยศรัทธาทุกเมื่อ เรามีมานะและความ

    เขลา (กระด้าง) วางเสียแล้ว ดุจงูถูกถอนเขี้ยวแล้ว ดังโคอุสภราชถูก

    ตัดเขาเสียแล้ว เข้าไปหาหมู่คณะด้วยคารวะหนัก ถ้าปัญญาของเราพึงมี

    รูป ก็พึงเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย นี้เป็นผลแห่งการชมเชยพระ

    ญาณของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี เราย่อมยังธรรมจักรอัน

    พระผู้มีพระภาคศากยบุตรผู้คงที่ ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ

    นี้เป็นผลแห่งการชมเชยพระญาณ บุคคลผู้มีความปรารถนาลามก ผู้เกียจ

    คร้าน ผู้ละความเพียร ผู้มีสุตะน้อย และผู้ไม่มีอาจาระ อย่าได้สมาคม

    กับเราในที่ไหนๆ สักครั้งเลย ส่วนบุคคลผู้มีสุตะมาก ผู้มีเมธา ผู้ตั้ง

    มั่นอยู่ด้วยดีในศีลทั้งหลาย และผู้ประกอบด้วยสมถะทางใจ ขอจงตั้งอยู่

    บนกระหม่อมของเรา
    เหตุนั้น เราจึงขอกล่าวกะท่านทั้งหลาย ขอความ

    เจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันในสมาคมนี้ ท่านทั้งหลายจงมี

    ความปรารถนาน้อย สันโดษ ให้ทานทุกเมื่อ เราเป็นผู้ปราศจากธุลี

    ปราศจากมลทิน เพราะเห็นท่านอัสสชิก่อน ท่านพระสาวกนามว่าอัสสชิ

    นั้น เป็นอาจารย์ของเรา เป็นนักปราชญ์ เราเป็นสาวกของท่าน วันนี้

    เป็นวันธรรมเสนาบดี ถึงที่สุดในที่ทุกแห่ง เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ท่าน

    พระสาวกนามว่าอัสสชิ เป็นอาจารย์ของเรา ย่อมอยู่ในทิศใด เราย่อม

    ทำท่านไว้เหนือศีรษะในทิศนั้น (นอนผันศีรษะไปทางทิศนั้น) พระโคดม

    ศากยบุตรพุทธเจ้า ทรงระลึกถึงกรรมของเราแล้วประทับนั่งใน (ท่ามกลาง) ภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งอันเลิศ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ

    ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว พระพุทธ

    ศาสนาเราก็ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.


    ทราบว่า ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
    จบ สารีปุตตเถราปทาน
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ปัญญาวรรค


    ๒. อิทธิกถา



    อรรถกถาอิทธิกถา บัดนี้จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาไว้แห่งอิทธิกถา อันพระสารีบุตรเถระแสดงถึงบุญญานุภาพในลำดับแห่งปัญญากถา พึงทราบวินิจฉัยในคำถามเหล่านั้นดังต่อไปนี้ก่อน.
    บทว่า กา อิทฺธิ ฤทธิ์เป็นอย่างไร เป็นสภาวปุจฉา (ถามถึงประเภท).
    บทว่า กติอิทฺธิโย ฤทธิ์มีเท่าไร เป็นปเภทปุจฉา (ถามถึงประเภท).
    บทว่า กติปาทา ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร เป็นสัมภาระปุจฉา (ถามถึงที่ตั้ง).
    บทว่า กติปาทา บาทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร เป็นปติฏฐปุจฉา (ถามถึงที่ตั้ง).
    บทว่า กติปทานิ บทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร เป็นอาสันนการณปุจฉา (ถามเหตุที่ใกล้เคียง).
    บทว่า กติมูลานิ มูลแห่งฤทธิ์มีเท่าไร เป็นอาทิการณปุจฉา (ถามเหตุเบื้องต้น).
    พึงทราบวินิจฉัยในคำตอบดังต่อไปนี้.
    บทว่า อิชฺฌนฏฺเฐน อิทฺธิ ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยอรรถว่าสำเร็จ. อธิบายว่า ด้วยอรรถว่าสำเร็จและด้วยอรรถว่าได้เฉพาะ เพราะสิ่งใดสำเร็จและได้เฉพาะท่านกล่าวสิ่งนั้นว่ายอมสำเร็จ.
    สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑- ถ้าว่าวัตถุกามนั้นจะสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนากามอยู่ดังนี้.
    พึงทราบบทมีอาทิว่า ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะเนกขัมมะย่อมสำเร็จ ชื่อว่า ปาฏิหาริยํ เพราะเนกขัมมะกำจัดกามฉันทะ.๒-
    ____________________________
    ๑- ขุ. สุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๔๐๘ ๒- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๗๒๒

    พึงทราบนัยอื่นต่อไป.
    ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ บทที่เป็นชื่อของอุปายสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยอุบาย).
    จริงอยู่ อุปายสัมปทาย่อมสำเร็จเพราะประสบผลที่ประสงค์.
    สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า๓- จิตตคหบดีนี้แลเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม หากว่าจิตตคหบดีจักปรารถนาว่าเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ ความตั้งในของผู้มีศีลจักสำเร็จเพราะเป็นผู้บริสุทธิ์.
    ____________________________
    ๓- สํ. สฬา. เล่ม ๑๘/ข้อ ๕๘๔

    พึงทราบนัยอื่นต่อไปอีก.
    ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะเป็นเหตุสำเร็จของสัตว์.
    บทว่า อิชฺฌนฺติ ย่อมสำเร็จ ท่านอธิบายว่าเป็นความเจริญงอกงามถึงความอุกฤษฏ์.
    ชื่อว่าฤทธิ์ที่อธิษฐาน เพราะสำเร็จด้วยความอธิษฐานในฤทธิ์ ๑๐.
    ชื่อว่าฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ เพราะเป็นไปด้วยการทำให้แปลก โดยละวรรณะปกติ.
    ชื่อว่าฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ เพราะเป็นไปด้วยความสำเร็จแห่งสรีระสำเร็จทางใจอย่างอื่น.
    ชื่อว่าฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นความวิเศษเกิดด้วยอานุภาพของญาณในเบื้องต้น ในภายหลังหรือในขณะนั้น.
    ชื่อว่าฤทธิ์แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นความวิเศษเกิดด้วยอานุภาพของสมถะในเบื้องต้น ในภายหลังหรือในขณะนั้น.
    ชื่อว่าฤทธิ์ของพระอริยะ เพราะเกิดแก่พระอริยะผู้ถึงความชำนาญทางจิต.
    ชื่อว่าฤทธ์เกิดแต่ผลกรรมเป็นความวิเศษเกิดด้วยผลกรรม.
    ชื่อว่าฤทธิ์ของผู้มีบุญ เพราะเป็นความวิเศษเกิดแก่ผู้มีบุญที่ทำไว้ในกาลก่อน.
    ชื่อว่าฤทธิ์สำเร็จแต่วิชชา เป็นความวิเศษเกิดแต่วิชชา ความสำเร็จแห่งกรรมนั้นๆ ด้วยการประกอบชอบนั้น.
    ชื่อว่า อิทธิ ด้วยอรรถว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ.
    บทว่า อิทฺธิยา จตสฺโส ภูมิโย ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์ แม้เมื่อท่านกล่าวไม่แปลกกัน ท่านก็กล่าวถึงภูมิแห่งฤทธิ์ที่อธิษฐานที่แผลงได้ต่างๆ และที่สำเร็จแต่ใจตามแต่จะได้ มิใช่ของฤทธิ์ที่เหลือ.
    บทว่า วิเวกชา ภูมิ เป็นภูมิเกิดแต่วิเวก คือเป็นภูมิเกิดแต่วิเวกหรือในวิเวก ชื่อว่า วิเวกชาภูมิ.
    บทว่า ปีติสุขภูมิ เป็นภูมิแห่งปีติและสุข คือเป็นภูมิประกอบด้วยปีติและสุข.
    บทว่า อุเปกฺขาสุขภูมิ เป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุขคือ ชื่อว่าภูมิ เพราะประกอบด้วยอุเบกขา คือวางตนเองเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ และด้วยสุข.
    บทว่า อทุกฺขมสุขภูมิ เป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เป็นภูมิประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ในฌานเหล่านั้น ปฐมฌานและทุติยฌานเป็นความแผ่ไปแห่งปีติ ตติยฌานเป็นความแผ่ไปแห่งสุข จตุตถฌานเป็นความแผ่ไปแห่งจิต.
    อนึ่ง ในบทนี้ เพราะผู้มีกายเบาอ่อนควรแก่การงาน ก้าวล่วงสุขสัญญาและลหุสัญญาด้วยสัญญาด้วยการแผ่ไปแห่งสุขย่อมได้ฤทธิ์ ฉะนั้น ฌาน ๓ ข้างต้น พึงทราบว่าเป็นสัมภารภูมิ เพราะเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์โดยปริยายนี้. ส่วนจตุตถฌานเป็นภูมิปกติเพื่อได้ฤทธิ์เท่านั้น.
    บทว่า อิทฺธิลาภาย เพื่อได้ฤทธิ์คือเพื่อได้ฤทธิ์ทั้งหลายด้วยความปรากฎในสันดานของตน.
    บทว่า อิทฺธิปฏิลาภาย เพื่อได้เฉพาะฤทธิ์คือเพื่อได้ฤทธิ์ที่เสื่อมแล้วคืนมาด้วยปรารภความเพียร เพิ่มบทอุปสรรคลงไป.
    บทว่า อิทฺธิวิกุพฺพนาย เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ คือเพื่อแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง.
    บทว่า อิทฺธิวิสวิตาย เพื่อความไหลไปแห่งฤทธิ์. ชื่อว่าวิสวี เพราะไหลไปสู่ความวิเศษต่างๆ คือให้เกิดให้เป็นไป.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิสวี เพราะมีการไหลไปหลายอย่าง ความเป็นแห่งผู้มีความไหลไป ชื่อว่าวิสวิตา เพื่อความเป็นผู้ความไหลไปแห่งฤทธิ์นั้น.
    อธิบายว่า เพื่อแสดงความวิเศษของฤทธิ์ได้หลายอย่าง.
    บทว่า อิทฺธิวสีภาวาย เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ คือเพื่อความเป็นอิสระในฤทธิ์.
    บทว่า อิทฺธิเวสารชฺชาย คือ เพื่อความเป็นผู้แกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
    อิทธิบาทมีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วในญาณกถา.
    บทว่า ฉนฺท เจ ภิกฺขุ นิสฺสาย หากภิกษุอาศัยฉันทะคือถ้าภิกษุอาศัยทะแล้วทำฉันทะให้เป็นใหญ่.
    บทว่า ลภติ สมาธึ ย่อมได้สมาธิ คือย่อมได้เฉพาะทำให้สมาธิเกิด.
    แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    ในบทนั้นพึงทราบบท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา พึงทราบบท ๓ อย่างนี้คือสมาธิ ๔ สัมปยุตด้วยบทนั้น บททั้งหลาย ๔.
    อนึ่ง เพราะฉันทะคือความใคร่เพื่อให้ฤทธิ์เกิดประกอบโดยความเป็นอันเดียวกันกับสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อได้สมาธิ วิริยะเป็นต้นก็อย่างนั้น ฉะนั้น พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงบท ๘ นี้.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงถึงโยคาวิธีที่พระโยคาวจรใคร่จะยังอภิญญาให้เกิด จึงตรัสถึงความไม่หวั่นไหวแห่งจิตว่า๔- พระโยคาวรจรนั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงานดำรงมั่นถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ดังนี้.
    ____________________________
    ๔- วิ.มหาวิ. เล่ม ๑/ข้อ ๓

    พระเถระเมื่อแสดงถึงความไม่หวั่นไหวนั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า โสฬสมูลานิ มูล ๑๖ ดังนี้.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อโนนตํ จิตไม่ฟุบลง คือไม่ฟุบลงด้วยความเกียจคร้าน. อธิบายว่าไม่เร้นลับ.
    บทว่า อนุนฺนตํ จิตไม่ฟูขึ้น คือไม่ขึ้นเบื้องบนด้วยความฟุ้งซ่าน. อธิบายว่า จิตไม่ฟุ้งซ่าน.
    บทว่า อนภินตํ จิตไม่น้อมไป คือไม่น้อมไปด้วยความโลภ. ความว่า ไม่ติดแน่น.
    ท่านอธิบายว่า จิตน้อมไป น้อมไปยิ่ง เพราะความใคร่อย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้น จิตไม่เป็นเช่นนั้น.
    บทว่า ราเคน ด้วยราคะ คือด้วยความโลภอันมีสังขารเป็นที่ตั้ง.
    บทว่า อนปนํ จิตไม่มุ่งร้าย คือไม่มุ่งร้ายด้วยโทสะ. ความว่า ไม่กระทบกระทั่ง.
    บทว่า นตํ นติ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือน้อมไป. ท่านอธิบายว่า จิตปราศจากความน้อมไป
    ชื่อว่า อปนตํ คือ มุ่งร้าย จิตนี้ไม่เป็นเช่นนั้น.
    บทว่า อนิสฺสิตํ จิตอันทิฏฐิไม่อาศัย คือไม่อาศัยอย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตัวตน หรือเป็นสิ่งเนื่องด้วยตัวตน ด้วยอำนาจทิฏฐิ เพราะเห็นโดยความไม่เป็นตัวตน.
    บทว่า อปฺปฏิพทฺธํ จิตไม่พัวพ้น คือไม่พัวพ้นด้วยหวังอุปการะตอบ.
    บทว่า ฉนฺทราเคน เพราะฉันทราคะ คือเพราะความโลภมีสัตว์เป็นที่ตั้ง.
    บทว่า วิปฺปมุตฺตํ จิตหลุดพ้น คือหลุดพ้นจากกามราคะด้วยวิกขัมภนวิมุตติ.
    อีกอย่างหนึ่ง หลุดพ้นจากกามราคะด้วยวิมุตติ ๕.
    อีกอย่างหนึ่ง หลุดพ้นจากความเป็นปฏิปักษ์นั้นๆ ด้วยวิมุตติ ๕.
    บทนี้ท่านกล่าวด้วยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์โดยนัยดังกล่าวแล้วว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ ในนิโรธสมาบัติญาณ เพราะยังอภิญญาให้เกิดแก่พระเสขะผู้เป็นปุถุชนและพระอเสขะ แต่ควรถือเอาตามมีตามได้.
    บทว่า กามราเคน เพราะกามราคะ คือเพราะความกำหนัดในเมถุน.
    บทว่า วิสญฺญุตํ จิตไม่เกาะเกี่ยว คือไม่เกาะเกี่ยวด้วยกิเลสที่เหลือเพราะข่มไว้ได้ หรือไม่เกาะเกี่ยว เพราะตัดขาดได้ด้วยความอุกฤษฏ์.
    บทว่า กิเลเส คือ กิเลสที่เหลือ.
    บทว่า วิปริยาทิกตํ จิตปราศจากเครื่องครอบงำ คือจิตกระทำให้ปราศจากขอบเขตของกิเลส ด้วยอำนาจขอบเขตกิเลสที่ควรข่ม หรือด้วยอำนาจขอบเขตกิเลสที่ควรละด้วยมรรคนั้นๆ.
    บทว่า กิเลสปริยาเท เพราะความครอบงำของกิเลส คือเพราะขอบเขตของกิเลสที่ละได้แล้วนั้นๆ.
    บทว่า เอกคฺคตํ คือ จิตมีอารมณ์เดียว.
    บทว่า นานตฺตกิเลเสหิ เพราะกิเลสต่างๆ คือเพราะกิเลสอันเป็นไปอยู่ในอารมณ์ต่างๆ.
    บทนี้ท่านกล่าวเพ่งถึงอารมณ์ แต่บทว่า อโนนตํ จิตไม่ฟุบลงเป็นอาทิ ท่านกล่าวเพ่งถึงกิเลสทั้งหลายนั้นเอง.
    บทว่า โอภาสคตํ จิตที่ถึงความสว่างไสว คือจิตที่ถึงความสว่างไสวเพราะปัญญาด้วยความเป็นไปแห่งความฉลาดเพราะปัญญา.
    บทว่า อวิชฺชนฺธกาเร เพราะความมืดคืออวิชชา คือเพราะอวิชชามีกำลัง ท่านกล่าวภูมิ ๔ มูล ๑๖ ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นของฤทธิ์.
    ท่านกล่าวบาท ๔ และบท ๘ ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นและด้วยการประกอบพร้อม.
    อรรถกถาทสอิทธินิเทศ พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงธรรมอันเป็นภูมิ บาท บทและมูลแห่งฤทธิ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงฤทธิ์เหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กตมา อธิฏฺฐานา อิทฺธิ ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน.
    ท่านกล่าวอรรถแห่งบทที่ยกขึ้นในบทนั้นไว้ในอิทธิวิธญาณนิเทศแล้ว.
    บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้.
    ด้วยบทนั้น ท่านแสดงถึงความไม่มีแห่งผู้แสดงฤทธิ์ได้โดยประการทั้งปวงไว้ในที่อื่น. นิเทศแห่งบททั้งสองนี้มีอรรถดังที่ท่านได้กล่าวแล้วในหนหลัง.
    อนึ่ง ด้วยบทนั้นนั่นแหละ ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรมอันเป็นภูมิ บาท บทและมูลแห่งฤทธิ์ เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้มีจิตฝึกแล้วด้วยอาการ ๑๔ หรือ ๑๕ ดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งการเข้าถึงความเป็นใหญ่อย่างหนึ่งๆ มีฉันทะเป็นต้น และความเป็นผู้มีจิตอ่อน ควรแก่การงานด้วยสามารถความเป็นผู้ชำนาญมีอาวัชชนะเป็นต้น.
    ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการประกอบเบื้องต้นมีกำลัง เป็นผู้มีคุณมีได้อภิญญาเป็นต้นด้วยการได้เฉพาะพระอรหัตนั่นเอง ด้วยการถึงพร้อมแห่งการประกอบเบื้องต้น เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมทั้งหลายมีภูมิเป็นต้น เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่านกล่าวถึงภิกษุแม้นั้น.
    บทว่า พหุกํ อาวชฺชติ ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือหากภิกษุเข้าจตุตถฌานอันเป็นบทแห่งอภญญามีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ครั้นออกแล้วย่อมปรารถนาเป็น ๑๐๐ คน ย่อมนึกด้วยทำบริกรรมว่าเราจงเป็น ๑๐๐ คน เราจงเป็น ๑๐๐ คน ดังนี้.
    บทว่า อาวชฺชิตฺวา ญาเณน อธิฏฺฐาติ ครั้นนึกแล้วอธิษฐานด้วยญาณ คือทำบริกรรมอย่างนี้แล้วอธิษฐานด้วยอภิญญาญาณ ครั้นทำบริกรรมในที่นี้แล้วท่านไม่กล่าวถึงการเข้าสมาบัติฌานเป็นบาทอีก ท่านไม่กล่าวไว้ก็จริง แต่ถึงดังนั้นในอรรถกถาท่านก็กล่าวด้วยสามารถบริกรรมว่า อาวชฺชติ ย่อมนึก ครั้นนึกแล้วอธิษฐานด้วยญาณ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวด้วยสามารถแห่งอภิญญาญาณ เพราะฉะนั้น ภิกษุย่อมนึกคนเดียวเป็นหลายคน จากนั้นภิกษุย่อมเข้าสมาบัติในที่สุดแห่งจิตบริกรรม ครั้นออกจากสมาบัติแล้วนึกอีกว่า เราจงเป็นหลายคน.
    ต่อจากนั้นย่อมอธิษฐานด้วยอภิญญาญาณอย่างเดียวเท่านั้น โดยใช้ชื่อว่า อธิฏฺฐานํ ด้วยสามารถให้ความสำเร็จด้วยการเกิดในลำดับแห่งจิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น ๓ หรือ ๔ ดวงอันเป็นไปแล้ว เพราะเหตุนั้นอันพึงเห็นอย่างนี้แหละ เพราะท่านกล่าวอันพึงเห็นอรรถในข้อนี้ด้วยประการฉะนี้ เหมือนอย่างเมื่อกล่าวว่า กินแล้วนอนก็มิได้หมายความว่า ไม่ดื่มน้ำ ไม่ล้างมือเป็นต้น แล้วนอนตอนกินเสร็จแล้วนั่นเอง แม้เมื่อมีกิจอื่นในระหว่างก็กล่าวว่า กินแล้วนอนฉันใด พึงเห็นแม้ในข้อนี้ก็ฉันนั้น แม้การเข้าสมาบัติมีญาณเป็นบาทครั้งแรก ท่านก็มิได้กล่าวไว้ในบาลี.
    อนึ่ง พร้อมด้วยอธิษฐานญาณนั้นเป็น ๑๐๐ คน.
    แม้ในพันคน แสนคนก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    หากไม่สำเร็จอย่างนั้น พึงทำบริกรรมอีก พึงเข้าสมาบัติแม้ครั้งที่ ๒ ครั้นออกแล้วพึงอธิษฐาน.
    ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาสังยุตว่า ควรเข้าสมาบัติครั้งหนึ่ง สองครั้ง ในจิตเหล่านั้น จิตมีญาณเป็นบาทมีนิมิตเป็นอารมณ์ จิตบริกรรมมีคน ๑๐๐ เป็นอารมณ์หรือมีคน ๑,๐๐๐ คนเป็นอารมณ์ จิตเหล่านั้นย่อมสำเร็จได้ด้วยวรรณะ มิใช่ด้วยบัญญัติ แม้จิตอธิษฐานก็มีคน ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ เป็นอารมณ์เหมือนกัน จิตอธิษฐานนั้นเป็นรูปาวจรจตุตถฌานย่อมเกิดอย่างนั้นในลำดับโคตรภู ดุจอัปปนาจิตดังกล่าวแล้วในก่อน.
    เพื่อแสดงถึงกายสักขีของความเป็นหลายคน ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนท่านพระจุลบันถกรูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ฉะนั้น.
    อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า ท่านทำคำเป็นปัจจุบัน เพราะพระเถระเป็นผู้มีปกติทำอย่างนั้น และเพราะพระเถระนั้นยังมีชีวิตอยู่.
    แม้ในวาระว่า เป็นรูปเดียวก็ได้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน
    ในข้อนั้นมีเรื่องเล่าว่า
    พระเถระพี่น้องสองรูป ชื่อว่าปันถก เพราะเกิดในหนทาง. พี่น้องสองรูปนั้น พระมหาปันถกผู้พี่บวชแล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. เพราะมหาปันถกเป็นพระอรหันต์จึงให้จุลบันถกบวชแล้วได้ให้คาถานี้ว่า๑-
    ดอกปทุมชื่อโกกนุทบานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้นกลิ่น
    ยังมีกลิ่นหอมอยู่ฉันใด ท่านจงดูพระอังคีรสผู้ไพโรจน์อยู่
    ดุจดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศฉะนั้น.
    ____________________________
    ๑- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๓๖๒

    พระจุลบันถกไม่สามารถท่องคาถานั้นให้คล่องได้ล่วงไป ๔ เดือน.
    ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะพระจุลปันถกว่า ท่านไม่สมควรในพระศาสนานี้ จงออกไปจากพระศาสนานี้เสียเถิด.
    อนึ่ง ในเวลานั้น พระเถระเป็นภัตตุเทศก์ (ผู้แจกภัตร). ชีวกโกมารภัจถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมากไปยังอัมพวันของตน บูชาพระศาสดา ฟังธรรมถวายบังคมพระทศพล แล้วเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า พระคุณเจ้าขอรับ พรุ่งนี้ขอพระคุณเจ้าพาภิกษุ ๕๐๐ รูป มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขรับภิกษาที่บ้านของกระผมเถิด.
    พระเถระก็กล่าวว่า อาตมารับนิมนต์แก่ภิกษุที่เหลือเว้นจุลปันถก.
    พระจุลปันถกได้ฟังดังนั้น เสียใจเป็นอย่างยิ่ง รุ่งขึ้นออกจากวัดแต่เช้าตรู่ ยืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตูวิหาร เพราะเป็นผู้มีความหวังในพระศาสนา.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยของจุลบันถกนั้น จึงเสด็จเข้าไปหาตรัสว่า ร้องไห้ทำไหม. พระจุลบันถกกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่สามารถทำการท่องจำได้ มิใช่เป็นผู้มิสมควรในศาสนาของเรา อย่าเศร้าโศกไปเลย ปันถก. แล้วเอาฝ่าพระหัตถ์ซึ่งมีรอยจักรลูบศีรษะของพระจุลปันถกนั้น จูงที่แขนเสด็จเข้าสู่พระวิหารให้นั่ง ณ พระคันธกุฎีตรัสว่า ปันถก เธอจงนั่งลูบคลำผ้าเก่าผืนนี้ว่า รโชหรณํ รโชหรณํ นำธุลีออก นำธุลีออก แล้วทรงประทานชิ้นผ้าเก่าบริสุทธิ์อันเกิดด้วยฤทธิ์แก่พระจุลปันถกนั้น.
    เมื่อถึงเวลาทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จไปเรือนของชีวก ประทับนั่ง ณ อาสนะที่เราปูลาดไว้.
    เมื่อพระจุลปันถกลูบคลำชิ้นผ้าเก่าอยู่อย่างนั้น ผ้าก็หมองได้มีสีดำโดยลำดับ พระจุลปันถกนั้นได้สัญญาว่า ชิ้นผ้าเก่านี้บริสุทธิ์ ไม่มีความหมองคล้ำในผ้านี้ แต่เพราะอาศัยอัตภาพจึงได้หมองคล้ำ ยังญาณให้หยั่งลงในขันธ์ ๕ เจริญวิปัสสนา.
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระโอภาสปรากฏดุจประทับนั่งข้างหน้าของพระจุลปันถกนั้น ได้ตรัสโอภาสคาถานี้ว่า
    ธุลีคือราคะแต่มิใช่เรณู (ละออง) คำว่า รโช
    (ธุลี) นี้เป็นชื่อของราคะ บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
    ละธุลีนี้แล้วอยู่ในศาสนาของตถาคต ผู้ปราศจากธุลี
    แล้ว.
    ธุลี คือ โทสะ ฯลฯ ในศาสนาของตถาคตผู้
    ปราศจากธุลีแล้ว.
    ธุลี คือ โมหะ ฯลฯ ในศาสนาของตถาคตผู้
    ปราศจากธุลีแล้ว.๒-
    ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีจิตยิ่ง
    ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาอยู่ในครองแห่งมุนี คงที่
    สงบ มีสติทุกเมื่อ.๓-
    ____________________________
    ๒- ขุ. มหา. เล่ม ๒๙/ข้อ ๙๘๐ ๓- ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๑๐๑

    เมื่อจบคาถาพระเถระบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พระเถระนั้นเป็นผู้ได้ฌานสำเร็จแต่ใจ รูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ หลายรูปสามารถเป็นรูปเดียวก็ได้. ปิฎก ๓ และอภิญญา ๖ ได้ปรากฏแก่พระเถระด้วยอรหัตมรรคนั่นแล.
    แม้ชีวกก็น้อมทักษิโณทกเข้าไปถวายแด่พระทศพล พระศาสดาทรงปิดบาตร ชีวกทูลถามว่า เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า ตรัสว่ายังมีภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในวิหาร ชีวกนั้นจึงส่งบุรุษไปบอกว่า เจ้าจงไปนำพระคุณเจ้ามาเร็วพลัน.
    พระจุลปันถกเถระประสงค์จะให้พี่ชายรู้ว่าตนบรรลุธรรมวิเศษแล้ว ก่อนที่บุรุษนั้นจะมาถึงจึงนิรมิตภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป แม้รูปหนึ่งก็ไม่เหมือนกับรูปหนึ่ง รูปหนึ่งได้ทำกิจของสมณะมีเย็บจีวรเป็นต้นไม่เหมือนกับรูปอื่น บุรุษไปเห็นภิกษุในวัดมากมายจึงกลับมาบอกแก่ชีวกว่า นาย ภิกษุในวัดมากมาย ผมไม่เห็นพระคุณเจ้าที่ควรจะนิมนต์เลย.
    ชีวกทูลถามพระศาสดาบอกชื่อของพระเถระรูปนั้นแล้ว ส่งบุรุษไปอีก. บุรุษนั้นไปถามว่า ท่านขอรับ รูปไหนชื่อจุลปันถก. ทั้งพันรูปบอกพร้อมกันกล่าวว่า เราคือจุลปันถก เราคือจุลปันถก. บุรุษนั้นกลับไปอีกกล่าวว่า นัยว่า พระคุณท่านทั้งหมดเป็นจุลปันถก ผมไม่รู้จะนิมนต์รูปไหน.
    ชีวกได้รู้โดยนัยว่า ภิกษุมีฤทธิ์ เพราะแทงตลอดสัจจธรรม.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงไป จงจับภิกษุที่เห็นเป็นรูปแรกที่ชายจีวรแล้วกล่าวว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่านแล้วนำมา.
    บุรุษนั้นไปแล้วได้ทำตามนั้น ทันใดนั้นเอง ภิกษุที่นิรมิตแล้วทั้งหมดก็หายไป พระเถระส่งบุรุษนั้นกลับไป สำเร็จเสร็จกิจล้างหน้าเป็นต้นแล้วไปถึงก่อนนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูไว้.
    ในขณะนั้น พระศาสดาทรงรับทักษิโณทก เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วให้พระจุลปันถกเถระกล่าวธรรมกถาอนุโมทนาภัตร พระเถระกล่าวธรรมกถามีประมาณเท่าคัมภีร์ทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย.
    ภิกษุรูปอื่นๆ นิรมิตกายสำเร็จแต่ใจด้วยการอธิษฐานย่อมนิรมิตได้ ๓ รูปหรือ ๒ รูป ย่อมนิรมิตหลายรูปให้เป็นเช่นกับรูปเดียวได้ และทำกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่พระจุลปันถกเถระนิรมิตได้ ๑,๐๐๐ รูปโดยนึกครั้งเดียวเท่านั้น มิได้ทำ ๒ คนให้เป็นเช่นกับคนเดียว มิได้ทำกรรมอย่างเดียว เพราะฉะนั้นพระเถระจึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้นิรมิตกายสำเร็จแต่ใจ.
    ส่วนภิกษุรูปอื่นๆ ไม่กำหนดจำนวนมากจึงเป็นเช่นผู้มีฤทธิ์นิรมิตได้เท่านั้น ภิกษุรูปอื่นๆ ย่อมทำกรรมที่ผู้มีฤทธิ์ทำมียืนนั่งเป็นต้น และความเป็นผู้พูดนิ่งเป็นต้นได้เท่านั้น แต่หากว่าประสงค์จะทำวรรณะต่างๆ บางพวกก็ทำได้ในปฐมวัย บางพวกก็ในมัชฌิมวัย บางพวกก็ในปัจฉิมวัย อนึ่งประสงค์จะทำผมยาว โล้นทั้งหมด มีผมปน มีจีวรสีแดงครึ่งหนึ่งจีวรสีเหลือง หรือทำบทภาณ ธรรมกถา สรภัญญะ ถามปัญหาแก้ปัญหา ย้อมต้มเย็บซักจีวรเป็นต้นมีประการต่างๆ แม้อย่างอื่น ครั้นออกจากสมาบัติมีฌานเป็นบาท แล้วทำปริกรรมโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุประมาณเท่านี้จงเป็นผู้มีปฐมวัย แล้วเข้าสมาบัติอีกครั้นออกแล้วพึงอธิษฐาน จึงเป็นผู้มีประการที่ตนปรารถนาแล้วๆ กับด้วยจิตอธิษฐาน.
    ในบทมีอาทิว่า พหุธาปิ หุตฺวา เอโก โหติ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ มีนัยนี้เหมือนกัน.
    แต่ความต่างกันมีดังต่อไปนี้.
    บทว่า ปกติยา พหุโก โดยปกติหลายคน คือโดยปกติที่นิรมิตในระหว่างกาลนิรมิตหลายคน.
    อนึ่ง ภิกษุนี้ครั้นนิรมิตความเป็นหลายรูปอย่างนี้แล้ว จึงดำริต่อไปว่า เราจักจงกลมรูปเดียว จักทำการท่อง จักถามปัญหา เพราะความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยว่าวัดนี้มีภิกษุน้อย หากพวกอื่นจักมา จักรู้จักเราว่า ภิกษุประมาณเท่านี้เหมือนรูปเดียวกันมาแต่ไหน นี้จักเป็นอานุภาพของพระเถระแน่แท้ ดังนี้จึงปรารถนาว่า เราจงเป็นรูปเดียว ในระหว่างเข้าสมาบัติมีฌานเป็นบาท ครั้นออกแล้วทำบริกรรมว่า เราจงเป็นรูปเดียวเข้าสมาบัติอีก ครั้นออกแล้วพึงอธิษฐานว่า เราจงเป็นรูปเดียวพร้อมกับจิตอธิษฐานนั่นเองก็เป็นรูปเดียว เมื่อไม่ทำอย่างนี้ย่อมเป็นรูปเดียวได้เองด้วยตามที่กำหนดไว้.
    เพราะบทว่า อาวิภาวํ ทำให้ปรากฏมาเป็นบทตั้งแล้วกล่าวว่า เกนจิ อนาวฏํ โหติ ทำให้ไม่มีอะไรปิดบัง ท่านจึงกล่าวถึงอรรถแห่งการปรากฏของบทว่า อาวิภาว ด้วยบทว่า เกนจิ อนาวฏํ.
    ท่านกล่าวถึงปาฐะที่เหลือว่า กโรติ ด้วยบทว่า โหติ ดังนี้ เพราะเมื่อทำให้แจ้งก็เป็นอันทำให้ปรากฏ.
    บทว่า เกนจิ อนาวฏํ คือไม่มีอะไรๆ มีฝาเป็นต้นปิดบัง คือปราศจากเครื่องกั้น.
    บทว่า อปฺปฏิจฺฉนฺนํ ไม่ปกปิด คือไม่ปิดข้างบน.
    ชื่อว่า วิวฏํ เปิดเผยเพราะไม่ปิดบัง ชื่อว่า ปากฏํ ปรากฏ เพราะไม่ปกปิด.
    บทว่า ติโรภาวํ ทำให้หายไป คือทำให้อยู่ในระหว่าง
    ชื่อว่า ปิหิตํ ปิดบังเพราะเครื่องกั้นนั้นปิด ชื่อว่า ปฏิกุชฺชิตํ มิดชิดเพราะปิดที่ที่ปิดบังไว้นั้นเอง.
    บทว่า อากาสกสิณสมาปตฺติยา ได้แก่ จตุตถฌานสมาบัติอันเกิดขึ้นแล้วในอากาศกสิณที่กำหนดไว้.
    บทว่า ลาภี เป็นผู้ได้ ชื่อว่าลาภี เพราะเป็นผู้มีลาภ.
    บทว่า อปริกฺขิตฺเต ไม่มีอะไรกันไว้ คือในท้องที่ที่ไม่มีอะไรกั้นไว้โดยรอบ เพราะท่านกล่าวอากาศกสิณไว้ในที่นี้ ฌานที่เจริญแล้วในที่นั้นนั่นแหละย่อมเป็นปัจจัยแห่งอากาศกสิณ ไม่พึงเห็นว่าอย่างอื่น พึงเห็นฌานมีกสิณนั้นเป็นอารมณ์แม้ในบรรดาอาโปกสิณในเบื้องบนเป็นต้น มิใช่อย่างอื่น.
    บทว่า ปฐวี อาวชฺชติ อุทกํ อาวชฺชติ อากาสํ อาวชฺชติ ย่อมนึกถึงแผ่นดิน ย่อมนึกถึงน้ำ ย่อมนึกถึงอากาศ คือย่อมนึกถึงแผ่นดิน น้ำและอากาศตามปกติ.
    บทว่า อนฺตลิกฺเข บนอากาศท่านแสดงถึงที่อากาศนั้นเป็นอากาศไกลกว่าแผ่นดิน เพราะท่านไม่นิยมกสิณในการลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ จึงกล่าวโดยไม่ต่างกันว่าผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ถือความชำนาญแห่งจิต.
    บทว่า นิสินฺนโก วา นิปนฺนโก วา คือ นั่งก็ดี นอนก็ดี ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงแม้อิริยาบถทั้งสองนอกนั้นด้วย.
    บทว่า หตฺถปาเส โหตุ คือ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จงมีในที่ใกล้มือ.
    ปาฐะว่า หตฺถปสฺเส โหตุ จงมีที่ข้างมือบ้าง บทนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจของผู้ใคร่จะทำอย่างนั้น.
    อนึ่ง ผู้มีฤทธิ์นี้แม้ไปในที่นั้น แล้วก็ยกมือลูบคลำได้.
    บทว่า อามสติ ลูบ คือถูกต้องนิดหน่อย.
    บทว่า ปรามสติ คลำ คือถูกต้องหนักหน่อย.
    บทว่า ปริมชฺชติ สัมผัส คือถูกต้องโดยรอบ.
    บทว่า รูปคตํ คือ รูปที่ตั้งอยู่ใกล้มือนั่นเอง.
    บทว่า ทูเรปิ สนฺติเก อธิฏฺฐาติ อธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่ใกล้คือผู้มีฤทธิ์ครั้นออกจากสมาบัติมีฌานเป็นบาทแล้ว ย่อมนึกถึงเทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ในที่ไกลกว่า จงมีในที่ใกล้ดังนี้ ครั้นนึกถึงแล้วกระทำบริกรรมเข้าสมาบัติอีก ครั้นออกแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงมีในที่ใกล้ดังนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ย่อมมีในที่ใกล้.
    แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.
    อนึ่ง พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงถึงความวิเศษของความวิเศษแห่งฤทธิ์นี้ แม้ไม่เป็นอุปการะแก่ผู้ประสงค์จะไปพรหมโลกกล่าวถึงการกระทำที่ไกลให้เป็นที่ใกล้แล้วไปพรหมโลกได้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สนฺติเกปิ แม้ในที่ใกล้.
    ในบทนั้นมิใช่การทำเล็กน้อยและทำมากอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งทั้งหมดที่ปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้มีฤทธิ์.
    แม้ในบทมีอาทิว่า อมธุรํ มธุรํ ทั้งไม่อร่อยทั้งอร่อย พึงทราบนัยอื่นอีก.
    บทว่า ทูเรปิ สนฺติเก อธิฏฺฐาติ อธิษฐานแม้ที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ คืออธิษฐานพรหมโลก ในที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ของมนุษยโลก.
    บทว่า สนฺติเกปิ ทูเร อธิฏฺฐาติ อธิษฐานแม้ในที่ใกล้ให้เป็นที่ไกล คืออธิษฐานมนุษยโลกในที่ใกล้ให้เป็นพรหมโลกในที่ไกล.
    บทว่า พหุกมฺปิ โถกํ อธิฏฺฐาติ อธิษฐานของแม้มากให้เป็นของน้อยคือหากว่าพรหมทั้งหลายมาประชุมกันมาก เพราะพรหมมีร่างกายใหญ่จะละทัศนูปจาร (การเห็นใกล้เคียง) สวนูปจาร (การฟังใกล้เคียง) ผู้มีฤทธิ์ย่อรวมกันในทัศนูปจารและสวนูปจาร อธิษฐานแม้ของมากให้เป็นของน้อย.
    บทว่า โถกมฺปิ พหุกํ อธิฏฺฐาติ อธิษฐานแม้ของน้อยให้เป็นของมาก คือหากว่าผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะไปกับบริวารมาก เป็นผู้มีบริวารมาก เพราะอธิษฐานตนชื่อว่าน้อยเพราะมีคนเดียวให้มากไปแล้ว พึงเห็นอรรถในบทนี้ด้วยประการฉะนี้แล.
    เมื่อเป็นอย่างนั้นแม้บท ๔ อย่างนี้ย่อมเป็นอุปการะในการไปพรหมโลก.
    บทว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา ตสฺส พฺรหฺมุโน รูปํ ปสฺสติ ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นด้วยทิพยจักษุ คือผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ในที่นี้เจริญอาโลกกสิณ ย่อมเห็นรูปพรหมที่ประสงค์จะเห็นด้วยทิพยจักษุ ยืนอยู่ในที่นี้นั่นแหละย่อมได้ยินเสียงของพรหมนั้นกำลังพูดกันด้วยทิพโสตธาตุ ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นด้วยเจโตปริยญาณ.
    บทว่า ทิสฺสมาเนน ด้วยกายที่ปรากฏ คือด้วยการที่เพ่งด้วยจักษุ.
    บทว่า กายวเสน จิตฺตํ ปริณาเมติ คือ น้อมจิตด้วยสามารถแห่งรูปกาย ยึดจิตมีฌานเป็นบาทแล้วยกขึ้นในกาย กระทำการไปของกายด้วยสำคัญว่าเบา ให้เป็นการไปช้าเพราะการไปด้วยกายเป็นความช้า.
    บทว่า อธิฏฺฐาติ เป็นไวพจน์ของบทนั้นนั่นแหละ. ความว่าให้สำเร็จ.
    บทว่า สุขสญฺญญฺจ ลหุสญฺญญฺจ โอกฺกมิตฺวา หยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา คือหยั่งลงเข้าไปถูกต้องเข้าถึงสุขสัญญาและลหุสัญญาอันเกิดพร้อมกับอิทธิจิต มีฌานเป็นบาทเป็นอารมณ์ สัญญาสัมปยุตด้วยอุเบกขา ชื่อสุขสัญญา เพราะอุเบกขาท่านกล่าวว่า ความสงบเป็นความสุข สัญญานั่นแหละพึงทราบว่าเป็นลหุสัญญาเพราะพ้นจากนิวรณ์และธรรมเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น.
    แม้กรชกายของผู้มีฤทธิ์หยั่งลงสู่สัญญานั้นก็เบาดุจปุยนุ่น ผู้มีฤทธิ์นั้นไปสู่พรหมโลกด้วยกายอันปรากฏเบาดุจปุยนุ่นที่ถูกลมพัดไป.
    อนึ่ง เมื่อไปอย่างนี้ หากปรารถนาก็นิรมิตทางบนอากาศด้วยปฐวีกสิณแล้วเดินไป หากปรารถนาก็นิรมิตดอกปทุมทุกๆ ย่างเท้าบนอากาศด้วยปฐวีกสิณนั่นแหละแล้ววางเท้าบนดอกปทุมเดินไป หากปรารถนาก็อธิษฐานลมด้วยวาโยกสิณแล้วไปกับลมดุจปุยนุ่น ความเป็นผู้ใคร่จะไปนั่นแหละเป็นประมาณในเรื่องนี้ เพราะความเป็นผู้ใคร่จะไป ผู้มีฤทธิ์นั้นจึงอธิษฐานจิตทำอย่างนั้น ชัดไปด้วยกำลังของอธิษฐานปรากฏดุจลูกศรแล่นไปด้วยกำลังของสายธนู.
    บทว่า จิตฺตวเสน กายํ ปริณาเมติ น้อมกายไปด้วยอำนาจจิตคือยึดกรชกาย แล้วยกขึ้นในจิตอันมีฌานเป็นบท ทำการไปของจิตให้เป็นการไปเร็ว เพราะการไปด้วยจิตเป็นความเร็ว.
    บทว่า สุขสญฺญญฺจ ลหุสญฺญญฺจ โอกฺกมิตฺวา คือ หยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา อันเกิดพร้อมกับอิทธิจิตอันมีรูปกายเป็นอารมณ์.
    บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
    แต่บทนี้เป็นการไปด้วยจิต เมื่อถามว่าผู้มีฤทธิ์นี้ เมื่อไปด้วยกายอันไม่ปรากฏอย่างนี้ ย่อมไปในอุปาทขณะแห่งจิตอธิษฐานนั้นหรือ หรือว่าในฐิติขณะหรือภังคขณะ. พระเถระกล่าวว่าไปในขณะแม้ทั้ง ๓ ไปเองหรือว่าส่งรูปนิรมิตไป ทำตามชอบใจ แต่ในที่นี้ ผู้มีฤทธิ์นั้นไปมาเอง.
    บทว่า มโนมยํ สำเร็จแต่ใจ ชื่อว่า มโนมยํ เพราะเป็นรูปนิมิตด้วยใจอธิษฐาน.
    ชื่อว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคํ มีอวัยวะครบทุกส่วน คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทั้งหมด.
    บทว่า อหีนินฺทฺริยํ มีอินทรีย์ไม่บกพร่องนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งสัณฐานของจักษุและโสตะเป็นต้น เพราะในรูปนิมิตไม่มีประสาท.
    บทมีอาทิว่า สเจ โส อิทฺธิมา จงฺกมติ นิมฺมิโตปิ ตตฺถ จงฺกมติ หากผู้มีฤทธิ์จงกรมอยู่ แม้รูปนิมิตก็จงกรมในที่นั้น ท่านกล่าวหมายถึงสาวกนิมิตทั้งหมด ส่วนพุทธนิมิตทั้งหลายย่อมทำสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ ทำแม้อย่างอื่นด้วยอำนาจจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    บทว่า ธูมายติ ปชฺชลติ บังหวนควันให้ไฟลุกโพลง ท่านกล่าวด้วยอำนาจเตโชกสิณ.
    สามบทมีอาทิว่า ธมฺมํ ภาสติ กล่าวธรรม ท่านกล่าวไม่แน่นอน.
    บทว่า สนฺติฏฺฐติ ยืนอยู่ คือยืนร่วมกัน.
    บทว่า สลฺลปติ สนทนาอยู่ คือสนทนาร่วมกัน.
    บทว่า สากจฺฉํ สมาปชฺชติ ปราศัยกัน ปราศัยด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกันและกัน.
    อนึ่ง ผู้มีฤทธิ์นั้นยืนอยู่ ณ ที่นี้ ย่อมเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ย่อมได้ยินเสียงด้วยทิพโสตธาตุ ย่อมรู้จิตด้วยเจโตปริยญาณ ย่อมยืนสนทนาปราศรัยกับพรหมนั้น.
    การอธิษฐานของผู้มีฤทธิ์นั้นมีอาทิว่า ย่อมอธิษฐานแม้ในที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ได้ ผู้มีฤทธิ์นั้นไปสู่พรหมโลกด้วยกายอันปรากฏหรือไม่ปรากฏ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมไม่ยังอำนาจให้เป็นไปทางกายได้ ย่อมถึงวิธีดังที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ผู้มีฤทธิ์นั้นย่อมนิรมิตคนมีรูปไว้ข้างหน้าพรหมนั้นได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ชื่อว่าย่อมยังอำนาจให้เป็นไปทางกายได้.
    ส่วนบทที่เหลือท่านกล่าวไว้เพื่อชี้ให้เห็นส่วนเบื้องต้นของการยังอำนาจให้เป็นไปทางกาย นี้เป็นฤทธิ์ที่อธิษฐาน.


    .
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    อนังคณสูตร

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    จะแสดงกรรมฐานที่พระสารีบุตรเถระ ได้สอนภิกษุทั้งหลายใน อณังคณสูตร นำสติปัฏฐาน ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย มีความว่า

    มีบุคคลทั้งหลายในโลกนี้ ๔ จำพวก

    จำพวก ที่ ๑ เป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน ก็ไม่รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนิน

    จำพวก ที่ ๒ เป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนิน

    จำพวก ที่ ๓ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ไม่รู้ว่าตนไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

    จำพวก ที่ ๔ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน รู้ว่าตนไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าจำพวกที่ ๑ ที่ ๒ นั้น จำพวกที่ ๑ คือผู้ที่มีกิเลสเพียงดังเนิน ไม่รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนินนั้น เลว ไม่ดี ๒ ส่วนจำพวกที่ ๒ คือผู้ที่มีกิเลสเพียงดังเนิน รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนินนั้น ประเสริฐ ดี อีกฝ่ายหนึ่ง จำพวกที่ ๓ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ไม่รู้ว่าตนไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน เลว ไม่ดี ส่วนจำพวกที่ ๔ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน รู้ว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ประเสริฐ ดี ดั่งนี้

    ข้อว่ากิเลสเพียงดังเนิน

    และท่านก็ได้อธิบายแก่ภิกษุทั้งหลายต่อไปว่า ข้อว่ากิเลสเพียงดังเนินนั้นคืออะไร ท่านก็อธิบายว่า ได้แก่ อิจฉาวจร อันแปลว่าความหยั่งลงสู่ความปรารถนา ความท่องเที่ยวไปแห่งความปรารถนา พิจารณาดูคำนี้ ก็ตรงกับคำที่ใช้ในอภิธรรมถึงจิตที่เป็นกามาพจร หยั่งลงหรือท่องเที่ยวไปในกามเป็นต้น แต่ในที่นี้ท่านพระสารีบุตร ท่านใช้ว่า อิจฉาวจร แทน กามาพจร ก็คือท่องเที่ยวไปในความปรารถนา หยั่งลงสู่ความปรารถนา จึงหมายถึงความปรารถนาต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ อันเป็นฝ่ายอกุศล

    โดยที่ท่านพระสารีบุตรได้แสดงชี้เอาไว้ว่า ฝ่ายที่เป็นอกุศล เพราะความปรารถนาที่บังเกิดขึ้นในจิตใจนั้น ย่อมมีได้ทั้งสอง ฝ่ายกุศลก็มี ฝ่ายอกุศลก็มี ความปรารถนาที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งเป็นตัวกิเลสเพียงดังเนินนี้ จึงหมายจำเพาะที่เป็นอกุศล คือเป็นฝ่ายที่ไม่ดี เป็นฝ่ายที่ชั่ว และต่อจากนี้ท่านพระสารีบุตรก็ได้แสดงยกตัวอย่างต่างๆ เป็นอันมาก สำหรับอบรมสั่งสอนภิกษุทั้งหลาย กล่าวจำเพาะที่เป็นข้ออธิบายในบุคคล ๔ จำพวกนั้นก่อน ซึ่งมีใจความว่า

    จำพวก ที่ ๑ เป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน ไม่รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนินนั้น ก็คือผู้ที่มีความปรารถนาเป็นอกุศลต่างๆ จิตท่องเที่ยวไปในความปรารถนาที่เป็นอกุศลต่างๆ คือคิดถึงเรื่องนั้นบ้าง ถึงเรื่องนี้บ้าง อันเป็นฝ่ายอกุศล คือไม่ถูกไม่ชอบ ไม่เหมาะไม่ควร ประกอบไปด้วยความโลภอยากได้บ้าง ความริษยากันบ้าง ความคิดเปรียบเทียบต่างๆ บ้าง จิตที่มีความปรารถนาดั่งนี้บังเกิดขึ้นตั้งอยู่ ย่อมเป็นจิตที่เปรียบเหมือนอย่างพื้นแผ่นดินที่มีเนินขึ้นมา จึงทำให้พื้นแผ่นดินนั้นไม่ราบเรียบสูงๆ ต่ำๆ พื้นแผ่นดินที่เป็นธรรมดาก็เรียบ แต่ก็มีเนินบังเกิดขึ้นมาที่โน่นที่นี่ ทำให้พื้นแผ่นดินไม่ราบเรียบ จิตที่มีความปรารถนาอันเป็นอกุศลบังเกิดขึ้นดั่งนี้ ก็เป็นจิตที่ไม่ราบเรียบ ไม่สม่ำเสมอไม่สงบ แต่เป็นจิตที่ขึ้นลงสูงๆ ต่ำๆ หรือถ้าจะเทียบกับพื้นน้ำในทะเล พื้นน้ำในทะเลที่ไม่มีคลื่นลมจัด ก็นับว่าเป็นพื้นน้ำที่เรียบพอสมควร แต่ที่มีลมจัดก็เป็นคลื่นขึ้นมา ก็ดูเป็นตะปุ่มตะป่ำ ไม่ราบเรียบ และคลื่นที่บังเกิดขึ้นมานั้น ก็เป็นอันตรายแก่การที่จะเดินเรือแล่นเรือไปในท้องทะเล อาจถึงให้อับปางได้

    จิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีความปรารถนาอันเป็นอกุศลครอบงำอยู่ ก็ย่อมจะเป็นจิตที่เป็นเนินขึ้นมา ทำให้จิตไม่ราบเรียบ ไม่สม่ำเสมอ ไม่สงบ และทั้งมิได้รู้ว่าจิตของตนมีเนินอันเป็นบาปเป็นอกุศล เป็นกิเลสดังที่กล่าวมานั้น เพราะฉะนั้น จึงเป็นจิตที่ไม่สงบ เป็นจิตที่ไม่บริสุทธิ์

    ความไม่รู้

    เพราะความที่ไม่รู้นั้นเองจึงทำให้ไม่เกิดฉันทะความพอใจ ไม่เกิดความพยายามเริ่มความเพียรที่จะชำระจิตใจของตน จึงเป็นผู้ที่มีราคะโทสะโมหะครอบงำ มีจิตเศร้าหมอง มีจิตเป็นเนิน หากจะทำกาละลงไปในขณะนั้น ก็เป็นผู้ที่มีจิตเศร้าหมองทำกาละไป อันมีทุคติเป็นที่หวังได้

    เพราะฉะนั้นบุคคลจำพวกนี้คือเป็นผู้ที่มีจิตมีเนิน มีกิเลสเพียงดังเนิน และก็ไม่รู้ตัวว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนิน จึงเป็นจำพวกที่เลว ไม่ดี เปรียบเหมือนอย่างว่า บุคคลที่ไปซื้อถาดสำริดมาจากร้านตลาด อันเป็นถาดที่เป็นสนิมไม่สะอาด และก็มิได้ตรวจตราให้รู้ว่าเป็นถาดที่เป็นสนิมไม่สะอาด ปล่อยทิ้งไว้ไม่ดูแลรักษา ก็จะยิ่งไม่สะอาด ยิ่งเป็นสนิมมากขึ้น

    ส่วน จำพวกที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ที่มีกิเลสเพียงดังเนิน แต่มีความรู้ตัวว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนิน เพราะความรู้ตัวนี้เองย่อมจะทำให้เกิดฉันทะความพอใจ เกิดความพยายามเริ่มความเพียร ที่จะปฏิบัติชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์สะอาด ทำให้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินต่อไป เมื่อเป็นดั่งนี้จึงเป็นผู้ที่จะปฏิบัติเพื่อระงับราคะ โทสะ โมหะ ทำจิตให้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ให้บริสุทธิ์ หากจะทำกาละไป ก็เป็นผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์ไม่เศร้าหมองทำกาละไป ย่อมมีสุคติเป็นที่หวังได้ ฉะนั้น บุคคลจำพวกนี้แม้จะยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่ก็ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ ดี

    จำพวก ที่ ๓ คือเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน และก็ไม่รู้ว่าตนไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน บุคคลจำพวกนี้ก็หมายถึงคนที่มีจิตใจยังไม่ถูกอารมณ์ทั้งหลายมากระทบ มาเป็นเหตุให้บังเกิด อิจฉา คือความอยาก หรือโลภะราคะโทสะโมหะต่างๆ ขึ้น จิตใจจึงยังเป็นปรกติ แต่ก็มิได้กำหนดให้รู้จิตใจเช่นนี้ เมื่อเป็นดั่งนี้ เมื่อไปใส่ใจถึง ศุภนิมิต คือเครื่องกำหนดหมายว่างดงามเป็นต้น ก็ย่อมจะเกิดราคะ เกิดโทสะ เกิดโมหะ ขึ้น จิตที่ปรกตินั้นก็จะกลายเป็นจิตที่ไม่ปรกติ เป็นจิตที่มีกิเลสกองราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ มี อิจฉา คือความปรารถนาต่างๆ ครอบงำ ก็จะกลายเป็นจิตที่มีกิเลสเพียงดังเนินไป จึงเป็นจิตที่เศร้าหมอง เพราะฉะนั้น แม้บุคคลจำพวกนี้ก็ชื่อว่าเลวไม่ดีเช่นเดียวกัน

    ส่วนบุคคลจำพวกที่ ๔ คือที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน และก็รู้ตัวว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ก็หมายถึงบุคคลที่มีจิตใจยังไม่ถูกอารมณ์มากระทบ นำให้บังเกิดกิเลสต่างๆ ขึ้นมา และมิได้เกิด อิจฉา คือความปรารถนาต่างๆ ขึ้นมา เป็นจิตที่สงบเป็นปรกติอยู่ และเมื่อมีความรู้ตัวว่าตนเองมีจิตดั่งนี้ เมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะทำให้ไม่ใส่ใจถึงอารมณ์ ที่จะก่อให้บังเกิดกิเลสเพียงดังเนินขึ้น เช่นไม่ใส่ใจถึง สุภนิมิต ๕ เครื่องกำหนดหมายว่างดงามต่างๆ อันยั่วใจให้เกิดราคะโทสะโมหะ เมื่อเป็นดั่งนี้จึงเป็นการปฏิบัติรักษาภาวะของจิต ที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนี้ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ ดี ดั่งนี้

    สรุปโอวาทของท่านพระสารีบุตร

    โอวาทของท่านพระสารีบุตรนี้ย่อมใช้ได้สำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป และก็นับว่าเป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง เป็นกรรมฐานที่ควรจะปฏิบัติได้เป็นประจำ เพราะว่าความอยู่ด้วยกันเป็นหมู่นั้น จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อมจะต้องประสบกับความยิ่งบ้าง ความหย่อนบ้าง ในเครื่องแวดล้อมทั้งหลาย และทั้งจิตใจของทุกๆ คนที่ยังละกิเลสไม่ได้ ก็จะต้องมีอาสวะอนุสัยนอนจมหมักหมม หรือดองจิตสันดานอยู่ เมื่อได้ประสบกับอารมณ์ หรือประสบกับเวทนาต่างๆ ที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ก็ย่อมจะนำให้เกิดความคิด ย่อมจะนำให้เกิดความปรารถนา ย่อมจะนำให้เกิดความยินดีบ้าง ความยินร้ายบ้าง ในอารมณ์ต่างๆ ที่ประจวบนั้น และโดยเฉพาะย่อมจะมีความปรารถนา และความปรารถนานั้นเมื่อมีตัณหาชักนำ มีราคะหรือโลภะโทสะโมหะชักนำ ก็ย่อมจะมีความปรารถนาไปในทางอกุศลต่า ๆ เช่น ต้องการ ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสุข และเมื่อไปคิดเปรียบเทียบถึงบุคคลอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กันก็ตาม ที่อยู่ห่างกันก็ตาม ที่มีความสัมพันธ์กันก็ตาม ไม่มีความสัมพันธ์กันก็ตาม ว่าคนนั้นดี คนนี้ไม่ดี เราไม่ดี เขาดี หรือเขาไม่ดี เราดี เหล่านี้เป็นต้น ก็ก่อให้บังเกิดความโลภบ้าง ความริษยาบ้าง ต่างๆ เหล่านี้มาจาก อิจฉา คือความปรารถนาทั้งนั้น ความอยากทั้งนั้น ซึ่งเป็นอกุศล ซึ่งเป็นเนินขึ้นในจิต ทำจิตที่เคยเป็นปรกติสงบ ให้ไม่ปรกติ ไม่สงบ เหมือนอย่างแผ่นดินที่ถ้าไม่มีเนินก็เป็นดินที่ราบเรียบ แต่ที่มีเนินสูงต่ำตะปุ่มตะป่ำไป ก็ทำให้เป็นพื้นดินที่ไม่ราบไม่เรียบ หรือเหมือนอย่างน้ำทะเลที่ไม่มีลม ก็ไม่มีคลื่น เมื่อมีลมก็มีคลื่นขึ้นมา ตามอำนาจของลมที่น้อยหรือมาก ลมน้อยก็คลื่นเล็ก ลมใหญ่ก็คลื่นมาก นี่ล้วนแต่เป็นเนินทั้งนั้นที่บังเกิดขึ้นในจิต รวมความก็คือจิตที่มีราคะ หรือมี โลภะมีโทสะ มีโมหะนั้นเอง จึงเป็นจิตที่สงบไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสเอาไว้ว่า อิจฉา โลภะ สมาปันโน ผู้ที่ถึงพร้อมในอิจฉาความปรารถนา โลภะความโลภอยากได้ สมโณ ติงภวิสติ จักเป็นสมณะคือผู้สงบได้อย่างไร ดั่งนี้

    ข้อปฏิบัติที่สำคัญ

    เพราะ ฉะนั้น กรรมฐานที่สำคัญก็คือต้องคอยตรวจตราดูตนเอง ให้รู้จิตของตนเอง ว่าจิตของตนเองนั้นเป็นอย่างไร มีความปรารถนาอันเป็นตัวกิเลสเพียงดังเนินหรือไม่ หากพบว่าจิตมีความปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นทางโลภะคือความโลภอยากได้มาเพื่อตนเองก็ดี จะเป็นทางริษยาตัดรอนความดีของผู้อื่นก็ดี หรือแม้เป็นในทางที่ทำจิตให้มีความยินดี กลัดกลุ้ม หรือทำจิตให้หงุดหงิดโกรธแค้นขัดเคือง หรือทำให้ลุ่มหลงมัวเมาอะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็ให้รู้ ว่าบัดนี้ตัวเองกำลังมีกิเลสเพียงดังเนิน หรือมีจิตที่มีกิเลสเพียงดังเนิน

    เมื่อเป็นดั่งนี้ ก็ให้ตั้งฉันทะคือความพอใจ ตั้งความพยายามเริ่มความเพียร เพื่อละกิเลสเพียงดังเนิน คือความคิดปรารถนาไปต่างๆ ดังกล่าวนี้เสีย

    เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็จะเป็นการปฏิบัติทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ ไม่ให้มีกิเลสเพียงดังเนิน หากว่าจะทำกาละไป ก็จะไปดี หรือไม่ทำกาละยังดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ก็จะเป็นชีวิตที่ดี และจะเป็นสมณะคือผู้สงบได้ ทั้งบรรพชิต ทั้งคฤหัสถ์ เมื่อมีจิตสงบได้แล้ว กายวาจาก็สงบ ก็ได้ชื่อว่าผู้สงบเช่นเดียวกัน

    เพราะ ฉะนั้น ความที่มีสติคอยกำหนด พร้อมทั้งปัญญา คือความรอบรู้ในจิตใจ ตลอดจนถึงในกายวาจาของตนเองนั้นอยู่เสมอ จึงเป็นความดี

    แต่ถ้าหากว่าพบว่าจิตใจของตนสงบดี ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน คือไม่ได้คิดปรารถนาอะไร ด้วยอำนาจของโลภะก็ตาม ด้วยอำนาจของความริษยาก็ตาม หรือด้วย ราคะ โทสะ โมหะต่างๆ กำลังมีจิตสงบ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

    เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ปฏิบัติรักษาความเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนี้ไว้ ด้วยการที่ไม่ใส่ใจใน สุภนิมิต เครื่องกำหนดหมายว่างามเป็นต้น คือไม่เอาอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของราคะโทสะโมหะเข้ามาใส่ไว้ในใจ ไม่เอาใจเข้าไปใส่ไว้ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของ ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็จะระงับความปรารถนาคืออิจฉาความปรารถนา อันเป็นฝ่ายอกุศลได้ และสามารถที่จะเพิ่มอิจฉาคือความปรารถนาอันเป็นฝ่ายกุศล คือในการที่จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางศีล ทางสมาธิ และทางปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    เพราะฉะนั้นความที่เมื่อมีจิตสงบเรียบร้อยไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน และก็มาทำความรู้ตัวอยู่ และรักษาภาวะของจิตดังกล่าวนี้ไว้ เว้นจากการปฏิบัติกระทำใส่ใจไปในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อันจะนำกิเลสเข้ามาสู่จิตใจ แต่ปฏิบัติรักษาจิตของตนให้เป็นไปในทางของ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นฝ่ายสงบดั่งนี้แล้ว ก็จะทำให้รักษาภาวะของจิตที่เรียบร้อย ที่ดีนี้ไว้ได้นาน ไว้ได้มาก และเมื่อทำเพิ่มพูนอยู่เสมอแล้ว ก็จะยิ่งทำได้ดี และได้มาก ทำให้เป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนี้ได้ ดั่งนี้

    เพราะฉะนั้น คำสอนของท่านพระสารีบุตรที่สอนภิกษุทั้งหลายดั่งนี้ จึงเป็นการสอนกรรมฐานโดยตรง และเป็นกรรมฐานที่ควรจะทำอยู่ทุกเวลา ควรจะทำอยู่เสมอ และเป็นสิ่งที่กระทำได้

    ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระ ท่านได้ฟังโอวาทของท่านพระสารีบุตร ท่านก็ได้เกิดปฏิภาณขึ้นมา คือได้เกิดความคิดเข้าใจ และก็ขอแสดง ท่านพระสารีบุตรก็อนุญาตให้ท่านแสดง ท่านจึงแสดงว่า วันหนึ่งท่านไปบิณฑบาต ได้ไปพบกับปริพาชกผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นบุตรของนายช่างทำยานพาหนะ เช่นทำรถ ปริพาชกผู้นั้นกับท่านก็ได้เกิดไปพบกับช่างทำรถกำลังไสไม้ ตัดไม้ที่จะทำกงล้อ ปริพาชกซึ่งเคยเป็นบุตรของช่างทำยวดยานด้วยกัน ยืนดูอยู่ก็คิดขึ้นในใจว่า ควรจะต้องถากตรงนี้ ควรจะต้องไสตรงนั้น ควรจะต้องตัดตรงโน้น ฝ่ายช่างซึ่งกำลังทำอยู่นั้น ก็ไส ก็ตัด เหมือนดังที่ปริพาชกที่เคยเป็นช่าง คิดตรงกัน ปริพาชกนั้นก็กล่าวขึ้นว่า ช่างคนนี้ทำเหมือนอย่างรู้ใจของตัวเอง ใจของตัวเองคิดอย่างไรช่างก็ทำอย่างนั้น ทั้งนี้ก็เพราะเป็นช่างด้วยกัน ก็รู้ว่าควรจะไสตรงไหน ตัดตรงไหน เป็นต้น

    ฉันใดก็ดี ท่านพระสารีบุตรได้ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายครั้งนี้ ก็เหมือนอย่างท่านรู้ภาวะของประชุมชน เช่นภาวะของภิกษุทั้งหลาย หรือภาวะของประชุมชนทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันเป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะต้องมีอิจฉาคือความอยากความปรารถนาต่างๆ อันเป็นอกุศลเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น จึงสอนตรงกับเรื่องราวที่เป็นไป อันเป็นการอำนวยประโยชน์ในด้านที่จะทำให้เกิดการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถูกต้อง ดั่งนี้

    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค - ๑๐. สังคีติสูตร

    [พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]


    สังคีติสูตร (๓๓)
    ว่าด้วยการสังคายนาหลักธรรม

    [๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์

    หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงนครของพวกมัลลกษัตริย์อันมีนามว่า ปาวา ได้ยินว่า

    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร เขตนครปาวา ฯ

    [๒๒๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่า อุพภตกะของพวกเจ้า
    มัลละแห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์

    จะได้อยู่อาศัย พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้สดับข่าวว่าพระผู้มีพระภาคได้เสด็จเที่ยวจาริกไป

    ในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครปาวาโดยลำดับ

    กำลังประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร เขตนครปาวา ฯ

    ครั้งนั้นแล พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

    ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่าอุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละ

    แห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์จะได้

    อยู่อาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จประทับ ณ ท้องพระโรงนั้นก่อนเถิด

    พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับก่อนแล้วภายหลังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาจึงจักใช้สอย การ

    เสด็จประทับก่อนของพระผู้มีพระภาคนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข

    แก่พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาสิ้นกาลนาน พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพแล้ว ฯ

    ครั้นพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้ทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงลุกจาก

    อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว พากันไปยังท้องพระโรง ครั้นแล้วจึงปู

    ลาดท้องพระโรงให้พร้อมสรรพ แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วพากัน

    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงพวกข้าพระองค์ปูลาดพร้อม

    สรรพแล้วอาสนะก็แต่งตั้งไว้แล้ว หม้อน้ำก็ให้ตั้งไว้แล้ว ประทีปน้ำมันก็ตามไว้แล้วพระเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้ ฯ

    [๒๒๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรจีวร
    เสด็จไปยังท้องพระโรง พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าไปยังท้องพระโรง

    ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพาแม้พระภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้วพากันเข้า

    ไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศบูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาค แม้พวก

    เจ้ามัลละแห่งนครปาวาก็พากันล้างเท้าแล้วเข้าไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านบูรพา ผินหน้า

    ไปทางทิศปัจฉิมแวดล้อมพระผู้มีพระภาค ฯ

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาให้เห็นแจ้งให้สมาทาน

    ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า

    ดูกรวาเสฏฐะทั้งหลาย ราตรีล่วงมากแล้ว บัดนี้พวกท่านจงสำคัญเวลาอันสมควรเถิด พวกเจ้า

    มัลละแห่งนครปาวาได้พร้อมกันรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วพา

    กันลุกขึ้นจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ฯ

    [๒๒๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาหลีกไปแล้ว
    ไม่นาน ได้ทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุผู้นิ่งอยู่แล้วได้รับสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุ

    สงฆ์ปราศจากถีนะและมิทธะ สารีบุตรจงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง ฉะนั้น

    เราพึงพักผ่อน ท่านพระสารีบุตรได้รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคด้วยคำว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า

    ดังนี้ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยา
    โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะทรงกระทำความ

    หมายในอันที่จะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย ฯ

    [๒๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล นิครนถ์นาฏบุตรทำกาละแล้วที่นครปาวาไม่นานนัก เพราะกาล
    กิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน

    เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้

    ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำ

    ของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง

    คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับ

    ผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้วท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย

    ถ้าสามารถ ดังนี้ เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้นจะเป็นไปในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวก

    ของนาฏบุตร ถึงพวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวก็มีอาการเบื่อหน่าย

    คลาย

    ความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ทั้งนี้เพราะธรรมวินัยอันนิครนถ์

    นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็น

    ไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัย

    มีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งอาศัย ฯ

    ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นิครนถ์

    นาฏบุตรทำกาละแล้วที่พระนครปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวก

    นิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกันเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น

    เสียดแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่าน

    จักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของ

    ข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าว

    ภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว

    ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้วข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้น

    จงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถดังนี้ เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้นจะเป็นไปในพวกนิครนถ์

    ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ถึงพวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็มี

    อาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ทั้งนี้

    เพราะธรรมวินัยอันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้

    ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึงอาศัย ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นดังกล่าวมาสำหรับในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี

    ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่

    ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ผู้มีอายุทั้งหลาย ส่วนธรรมนี้แล อัน

    พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้

    ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว

    พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้

    จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ

    อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรม

    ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น

    การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่

    ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา

    และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    ว่าด้วยธรรมหมวด ๑
    [๒๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้เห็นเป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน

    พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึง

    เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ

    ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหนึ่งเป็นไฉน

    สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะสังขาร ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย

    ธรรมหนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น

    การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุข

    แก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา

    และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    ว่าด้วยธรรมหมวด ๒
    [๒๒๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๒ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็นเป็นพระ
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แลพวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึง

    สังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น
    การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้น

    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก

    เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๒ เป็นไฉน

    นามและรูป ๑อวิชชาและภวตัณหา ๑ ภวทิฐิและวิภวทิฐิ ๑ ความไม่ละอายและความ

    ไม่เกรงกลัว ๑ ความละอายและความเกรงกลัว ๑ ความเป็นผู้ว่ายากและความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑

    ความเป็นผู้ว่าง่ายและความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติและความเป็นผู้ฉลาดในการ
    ออกจากอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติและความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุและความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะและความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ๑

    ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ [คือเหตุที่เป็นได้] และความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ [คือเหตุที่เป็นไปไม่ได้] ๑ การกล่าววาจาอ่อนหวานและการต้อนรับ ๑ ความไม่เบียดเบียนและความสะอาด ๑ ความเป็นผู้มีสติหลงลืมและความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ๑ สติและสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย และความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ กำลังที่เกิดแต่การพิจารณาและกำลังที่เกิดแต่การอบรม ๑

    กำลังคือสติและกำลังคือสมาธิ ๑ สมถะและวิปัสสนา ๑ นิมิตที่เกิดเพราะสมถะและนิมิตที่เกิดเพราะความเพียร ๑

    ความเพียรและความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ ความวิบัติแห่งศีล และความวิบัติแห่งทิฐิ ๑ ความถึง

    พร้อมแห่งศีล และความถึงพร้อมแห่งทิฐิ ๑ ความหมดจดแห่งศีลและความหมดจดแห่งทิฐิ ๑

    ความหมดจดแห่งทิฐิและความเพียรของผู้มีทิฐิ ๑ ความสลดใจและความเพียรโดยแยบคาย

    ของผู้สลดใจแล้วในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ ๑ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมอันเป็นกุศล

    และความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในการตั้งความเพียร ๑ วิชชาและวิมุตติ ๑ ญาณในความสิ้นไปและ

    ญาณในความไม่เกิด ๑ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๒ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค

    ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด

    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่

    นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก

    เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ


    จบ หมวด ๒
    _______________
    ( มีต่อ )
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ( ต่อ )

    ว่าด้วยธรรมหมวด ๓
    [๒๒๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมด

    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่

    นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมากเพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์

    แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมี

    ประเภทละ ๓ๆ เป็นไฉน

    อกุศลมูล ๓ อย่าง
    ๑. อกุศลมูล คือ โลภะ
    ๒. อกุศลมูล คือ โทสะ
    ๓. อกุศลมูล คือ โมหะ
    กุศลมูล ๓ อย่าง
    ๑. กุศลมูล คือ อโลภะ
    ๒. กุศลมูล คือ อโทสะ
    ๓. กุศลมูล คือ อโมหะ
    ทุจริต ๓ อย่าง
    ๑. กายทุจริต [ความประพฤติชั่วทางกาย]
    ๒. วจีทุจริต [ความประพฤติชั่วทางวาจา]
    ๓. มโนทุจริต [ความประพฤติชั่วทางใจ]
    สุจริต ๓ อย่าง
    ๑. กายสุจริต [ความประพฤติชอบทางกาย]
    ๒. วจีสุจริต [ความประพฤติชอบทางวาจา]
    ๓. มโนสุจริต [ความประพฤติชอบทางใจ]
    อกุศลวิตก ๓ อย่าง
    ๑. กามวิตก [ความตริในทางกาม]
    ๒. พยาปาทวิตก [ความตริในทางพยาบาท]
    ๓. วิหิงสาวิตก [ความตริในทางเบียดเบียน]
    กุศลวิตก ๓ อย่าง
    ๑. เนกขัมมวิตก [ความตริในทางออกจากกาม]
    ๒. อัพยาปาทวิตก [ความตริในทางไม่พยาบาท]
    ๓. อวิหิงสาวิตก [ความตริในทางไม่เบียดเบียน]
    อกุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง
    ๑. กามสังกัปปะ [ความดำริในทางกาม]
    ๒. พยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางพยาบาท]
    ๓. วิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางเบียดเบียน]
    กุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง
    ๑. เนกขัมมสังกัปปะ [ความดำริในทางออกจากกาม]
    ๒. อัพยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่พยาบาท]
    ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่เบียดเบียน]
    อกุศลสัญญา ๓ อย่าง
    ๑. กามสัญญา [ความจำได้ในทางกาม]
    ๒. พยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางพยาบาท]
    ๓. วิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางเบียดเบียน]
    กุศลสัญญา ๓ อย่าง
    ๑. เนกขัมมสัญญา [ความจำได้ในทางออกจากกาม]
    ๒. อัพยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางไม่พยาบาท]
    ๓. อวิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางไม่เบียดเบียน]
    อกุศลธาตุ ๓ อย่าง
    ๑. กามธาตุ [ธาตุคือกาม]
    ๒. พยาปาทธาตุ [ธาตุคือความพยาบาท]
    ๓. วิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความเบียดเบียน]
    กุศลธาตุ ๓ อย่าง
    ๑. เนกขัมมธาตุ [ธาตุคือความออกจากกาม]
    ๒. อัพยาปาทธาตุ [ธาตุคือความไม่พยาบาท]
    ๓. อวิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความไม่เบียดเบียน]
    ธาตุอีก ๓ อย่าง
    ๑. กามธาตุ [ธาตุคือกาม]
    ๒. รูปธาตุ [ธาตุคือรูป]
    ๓. อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป]
    ธาตุอีก ๓ อย่าง
    ๑. รูปธาตุ [ธาตุคือรูป]
    ๒. อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป]
    ๓. นิโรธธาตุ [ธาตุคือความดับทุกข์]
    ธาตุอีก ๓ อย่าง
    ๑. หีนธาตุ [ธาตุอย่างเลว]
    ๒. มัชฌิมธาตุ [ธาตุอย่างกลาง]
    ๓. ปณีตธาตุ [ธาตุอย่างประณีต]
    ตัณหา ๓ อย่าง
    ๑. กามตัณหา [ตัณหาในกาม]
    ๒. ภวตัณหา [ตัณหาในภพ]
    ๓. วิภวตัณหา [ตัณหาในปราศจากภพ]
    ตัณหาอีก ๓ อย่าง
    ๑. กามตัณหา [ตัณหาในกาม]
    ๒. รูปตัณหา [ตัณหาในรูป]
    ๓. อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป]
    ตัณหาอีก ๓ อย่าง
    ๑. รูปตัณหา [ตัณหาในรูป]
    ๒. อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป]
    ๓. นิโรธตัณหา [ตัณหาในความดับสูญ] [อุจเฉททิฏฐิ]
    สัญโญชน์ ๓ อย่าง
    ๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
    ๒. วิจิกิจฉา [ความลังเลสงสัย]
    ๓. สีลัพพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจศีลพรต]
    อาสวะ ๓ อย่าง
    ๑. กามาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากได้]
    ๒. ภวาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น]
    ๓. อวิชชาสวะ [อาสวะคือความเขลา]
    ภพ ๓ อย่าง
    ๑. กามภพ [ภพที่เป็นกามาวจร]
    ๒. รูปภพ [ภพที่เป็นรูปาวจร]
    ๓. อรูปภพ [ภพที่เป็นอรูปาวจร]
    เอสนา ๓ อย่าง
    ๑. กาเมสนา [การแสวงหากาม]
    ๒. ภเวสนา [การแสวงหาภพ]
    ๓. พรหมจริเยสนา [การแสวงหาพรหมจรรย์]
    วิธา การวางท่า ๓ อย่าง
    ๑. เสยโยหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราประเสริฐกว่าเขา]
    ๒. สทิโสหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเสมอกับเขา]
    ๓. หีโนหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเลวกว่าเขา]
    อัทธา ๓ อย่าง
    ๑. อดีตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอดีต]
    ๒. อนาคตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอนาคต]
    ๓. ปัจจุบันนอัทธา [ระยะกาลที่เป็นปัจจุบัน]
    อันตะ ๓ อย่าง
    ๑. สักกายอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน]
    ๒. สักกายสมุทยอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน]
    ๓. สักกายนิโรธอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน]
    เวทนา ๓ อย่าง
    ๑. สุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข]
    ๒. ทุกขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์]
    ๓. อทุกขมสุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข]
    ทุกขตา ๓ อย่าง
    ๑. ทุกขทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์]
    ๒. สังขารทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะสังขาร]
    ๓. วิปริฌามทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน]
    ราสี ๓ อย่าง
    ๑. มิจฉัตตนิยตราสี [กองคือความผิดที่แน่นอน]
    ๒. สัมมัตตนิยตราสี [กองคือความถูกที่แน่นอน]
    ๓. อนิยตราสี [กองคือความไม่แน่นอน]
    กังขา ๓ อย่าง
    ๑. ปรารภกาลที่ล่วงไปแล้วนานๆ แล้วสงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
    ๒. ปรารภกาลที่ยังไม่มาถึงนานๆ แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้
    ไม่เลื่อมใส
    ๓. ปรารภกาลปัจจุบันทุกวันนี้แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
    ข้อที่ไม่ต้องรักษาของพระตถาคต ๓ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีกายสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ
    ประพฤติชั่วทางกายที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึงความประพฤติ

    ชั่วทางกายของเรานี้ ดังนี้

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ
    ประพฤติชั่วทางวาจาที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึงความประพฤติ

    ชั่วทางวาจาของเรานี้ ดังนี้

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ
    ประพฤติชั่วทางใจที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึงความประพฤติ

    ชั่วทางใจของเรานี้ ดังนี้

    กิญจนะ ๓ อย่าง
    ๑. ราคกิญจนะ [เครื่องกังวลคือราคะ]
    ๒. โทสกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโทสะ]
    ๓. โมหกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโมหะ]
    อัคคี ๓ อย่าง
    ๑. ราคัคคิ [ไฟคือราคะ]
    ๒. โทสัคคิ [ไฟคือโทสะ]
    ๓. โมหัคคิ [ไฟคือโมหะ]
    อัคคีอีก ๓ อย่าง
    ๑. อาหุเนยยัคคิ [ไฟคืออาหุเนยยบุคคล]
    ๒. ทักขิเณยยัคคิ [ไฟคือทักขิเณยยบุคคล]
    ๓. คหปตัคคิ [ไฟคือคฤหบดี]
    รูปสังคหะ ๓ อย่าง
    ๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่เป็นไปกับด้วยการเห็น ทั้งเป็นไปกับด้วยการกระทบ]
    ๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่มีการเห็น แต่เป็นไปกับด้วยการกระทบ]
    ๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่เห็น ที่ไม่กระทบ]
    สังขาร ๓ อย่าง
    ๑. ปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบุญ]
    ๒. อปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบาป]
    ๓. อเนญชาภิสังขาร [อภิสังขารคืออเนญชา]
    บุคคล ๓ อย่าง
    ๑. เสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษา]
    ๒. อเสกขบุคคล [บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา]
    ๓. เนวเสกขนาเสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่]
    เถระ ๓ อย่าง
    ๑. ชาติเถระ [พระเถระโดยชาติ]
    ๒. ธรรมเถระ [พระเถระโดยธรรม]
    ๓. สมมติเถระ [พระเถระโดยสมมติ]
    ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
    ๑. ทานมัย [บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน]
    ๒. สีลมัย [บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล]
    ๓. ภาวนามัย [บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา]
    เหตุสำหรับโจทน์ ๓ อย่าง
    ๑. ทิฏฺเ€น [ด้วยได้เห็น]
    ๒. สุเตน [ด้วยได้ยินได้ฟัง]
    ๓. ปริสงฺกาย [ด้วยความรังเกียจ]
    กามอุปบัติ ๓ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่มีกามปรากฏมีอยู่ สัตว์เหล่านั้น เมื่อกามปรากฏ

    แล้ว ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลายเช่นมนุษย์ เทพดาบางจำพวก และวินิบาตบาง

    จำพวก ฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติข้อที่หนึ่ง

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นนิรมิตแล้วๆ

    ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลาย เช่นเทพดาเหล่านิมมานรตีฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติ

    ข้อที่สอง

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น ย่อมยัง

    อำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว เช่นเทพดาเหล่าปรนิมมิตวสวตี ฉะนั้น นี้เป็นกาม

    อุปบัติข้อที่สาม

    สุขอุปบัติ ๓ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุขมีอยู่

    เช่น พวกเทพเหล่าพรหมกายิกา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์

    เหล่านั้น บางครั้งบางคราว เปล่งอุทานว่า สุขหนอๆ ดังนี้ เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสรา

    ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์

    เหล่านั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหา ฉะนั้น

    นี้เป็นสุขอุปบัติ ข้อที่สาม ฯ

    ปัญญา ๓ อย่าง
    ๑. เสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ]
    ๒. อเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ]
    ๓. เนวเสกขานาเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ของพระอเสขะ
    ก็ไม่ใช่] ฯ
    ปัญญาอีก ๓ อย่าง
    ๑. จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]
    ๒. สุตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]
    ๓. ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม] ฯ
    อาวุธ ๓ อย่าง
    ๑. สุตาวุธ [อาวุธคือการฟัง]
    ๒. ปวิเวกาวุธ [อาวุธคือความสงัด]
    ๓. ปัญญาวุธ [อาวุธคือปัญญา] ฯ
    อินทรีย์ ๓ อย่าง
    ๑. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่าเราจักรู้ธรรม
    ที่เรายังไม่รู้]
    ๒. อัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือความตรัสรู้]
    ๓. อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์คือความรู้ทั่วถึง] ฯ
    จักษุ ๓ อย่าง
    ๑. มังสจักขุ [ตาเนื้อ ตาปรกติ]
    ๒. ทิพพจักขุ [จักษุทิพย์]
    ๓. ปัญญาจักขุ [จักษุคือปัญญา] ฯ
    สิกขา ๓ อย่าง
    ๑. อธิศีลสิกขา [สิกขาคือศีลยิ่ง]
    ๒. อธิจิตตสิกขา [สิกขาคือจิตยิ่ง]
    ๓. อธิปัญญาสิกขา [สิกขาคือปัญญายิ่ง] ฯ
    ภาวนา ๓ อย่าง
    ๑. กายภาวนา [การอบรมกาย]
    ๒. จิตตภาวนา [การอบรมจิต]
    ๓. ปัญญาภาวนา [การอบรมปัญญา] ฯ
    อนุตตริยะ ๓ อย่าง
    ๑. ทัสสนานุตตริยะ [ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม]
    ๒. ปฏิปทานุตตริยะ [ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม]
    ๓. วิมุตตานุตตริยะ [ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม] ฯ
    สมาธิ ๓ อย่าง
    ๑. สวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร]
    ๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร]
    ๓. อวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร] ฯ
    สมาธิอีก ๓ อย่าง
    ๑. สุญญตสมาธิ [สมาธิที่ว่างเปล่า]
    ๒. อนิมิตตสมาธิ [สมาธิที่หานิมิตมิได้]
    ๓. อัปปณิหิตสมาธิ [สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้] ฯ
    โสเจยยะ ๓ อย่าง
    ๑. กายโสเจยยะ [ความสะอาดทางกาย]
    ๒. วจีโสเจยยะ [ความสะอาดทางวาจา]
    ๓. มโนโสเจยยะ [ความสะอาดทางใจ]
    โมเนยยะ ๓ อย่าง
    ๑. กายโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย]
    ๒. วจีโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา]
    ๓. มโนโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ] ฯ
    โกสัลละ ๓ อย่าง
    ๑. อายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ]
    ๒. อปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม]
    ๓. อุปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญและความ
    เสื่อม]
    มทะ ความเมา ๓ อย่าง
    ๑. อาโรคยมทะ [ความเมาในความไม่มีโรค]
    ๒. โยพพนมทะ [ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว]
    ๓. ชาติมทะ [ความเมาในชาติ] ฯ
    อธิปเตยยะ ๓ อย่าง
    ๑. อัตตาธิปเตยยะ [ความมีตนเป็นใหญ่]
    ๒. โลกาธิปเตยยะ [ความมีโลกเป็นใหญ่]
    ๓. ธัมมาธิปเตยยะ [ความมีธรรมเป็นใหญ่] ฯ
    กถาวัตถุ ๓ อย่าง
    ๑. ปรารภกาลส่วนอดีตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้วได้มีแล้วอย่างนี้
    ๒. ปรารภกาลส่วนอนาคตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังไม่มาถึงจักมีอย่างนี้
    ๓. ปรารภกาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ กล่าวถ้อยคำว่า กาลส่วนที่เกิดขึ้น
    เฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ฯ
    วิชชา ๓ อย่าง
    ๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักระลึกชาติในก่อนได้]
    ๒. จุตูปปาตญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักกำหนดจุติ และอุปบัติของ
    สัตว์ทั้งหลาย]
    ๓. อาสวักขยญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป] ฯ
    วิหารธรรม ๓ อย่าง
    ๑. ทิพยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพดา]
    ๒. พรหมวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม]
    ๓. อริยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ] ฯ
    ปาฏิหาริยะ ๓ อย่าง
    ๑. อิทธิปาฏิหาริยะ [ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์]
    ๒. อาเทสนาปาฏิหาริยะ [ดักใจเป็นอัศจรรย์]
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ [คำสอนเป็นอัศจรรย์] ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้

    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด

    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่ควรแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืนตั้งอยู่

    นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก

    เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    จบหมวด ๓
    _______________

    (มีต่อ)
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    หมวด ๔
    [๒๒๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๔ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
    เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน

    พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น

    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์

    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    สติปัฏฐาน ๔ อย่าง

    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ

    เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้ ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มี

    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร

    มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

    มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ



    [๒๓๐] สัมมัปปธาน ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภ

    ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภ

    ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

    ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นกุศลที่ยังไม่เกิด

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

    ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความตั้งมั่นไม่เลือนลางจำเริญยิ่ง ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งธรรมที่เป็นกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ฯ





    [๒๓๑] อิทธิบาท ๔ อย่าง

    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย

    ฉันทสมาธิปธานสังขาร

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย

    วิริยสมาธิปธานสังขาร

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย

    จิตตสมาธิปธานสังขาร

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย

    วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ฯ




    ( มีต่อ...)
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ( ต่อ )

    [๒๓๒] ฌาน ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง

    จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข

    เกิดแต่สมาธิอยู่

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ

    เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้

    ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

    เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ





    [๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป

    เพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป

    เพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป

    เพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป

    เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น

    ไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจาก

    กาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มี

    อายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม

    เอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มี

    อายุทั้งหลายภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย

    เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติอยู่เป็นสุข ดูกร

    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข

    ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุ

    ทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุข

    ในทิฏฐธรรม ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

    ความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มน

    สิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลาง

    คืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการ

    ฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

    ความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

    สติสัมปชัญญะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

    รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับสัญญาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรม

    วินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรม

    วินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

    สติสัมปชัญญะ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

    ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ

    เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้

    เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้น

    แห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญาดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ดังนี้ความดับ

    แห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูกรผู้มี

    อายุทั้งหลายสมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป

    แห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ





    [๒๓๔] อัปปมัญญา ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอด

    ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้อง

    ขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วย

    ใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด

    เบียนอยู่ ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอด

    ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

    เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง

    ด้วยใจอันประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ

    เบียดเบียนอยู่ ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอด

    ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

    เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง

    ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ

    เบียดเบียนอยู่ ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไป

    ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้อง

    ล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์

    ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

    ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ

    [๒๓๕] อรูป ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการ

    ทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ

    ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะ

    โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้

    อยู่ ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดย

    ประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ

    โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ

    [๒๓๖] อปัสเสนะ ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง ฯ

    [๒๓๗] อริยวงศ์ ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตาม

    ได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่

    ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยว

    เกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่

    กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน

    ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วยจีวรนั้น ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุนี้แล

    เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี

    ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึง

    การแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน

    และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น

    เครื่องสลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี

    ตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วยบิณฑบาต

    นั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมี

    ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการ

    แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และ

    ได้เสนาสนะแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง

    สลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้

    นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วยเสนาสนะนั้น

    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี ยินดี

    แล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนากับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น

    เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนา

    เป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ

    มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของ

    เก่าอันยอดเยี่ยม ฯ

    [๒๓๘] ปธาน ๔ อย่าง
    ๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง]
    ๒. ปหานปธาน [เพียรละ]
    ๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ]
    ๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา]
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม

    วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจัก

    ขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ

    นั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

    ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมโสติน

    ทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น

    ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯ

    ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม

    ฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส

    ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในฆานินทรีย์ ฯ

    ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมชิว

    หินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบ

    งำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯ

    ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ

    สำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและ

    โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ

    รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม

    มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบ

    งำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

    สังวรปธาน ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม

    วินัยนี้ ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึง

    ความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป

    ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป

    ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย บรร

    เทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหานปธาน ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม

    วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ

    น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลาย

    กำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความ

    สงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ

    สัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความ

    สละลง ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัย

    ความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย

    ความคลายกำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

    อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง

    ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระ

    ธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คืออัฏฐิกสัญญา ปุฬุวกสัญญา

    วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญาผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ฯ


    [๒๓๙] ญาณ ๔ อย่าง
    ๑. ธัมมญาณ [ความรู้ในธรรม]
    ๒. อันวยญาณ [ความรู้ในการคล้อยตาม]
    ๓. ปริจเฉทญาณ [ความรู้ในการกำหนด]
    ๔. สัมมติญาณ [ความรู้ในสมมติ]


    ญาณ ๔ อย่าง
    ๑. ทุกขญาณ [ความรู้ในทุกข์]
    ๒. ทุกขสมุทยญาณ [ความรู้ในทุกขสมุทัย]
    ๓. ทุกขนิโรธญาณ [ความรู้ในทุกขนิโรธ]
    ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานญาณ [ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา]



    [๒๔๐] องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง
    ๑. สัปปุริสสังเสวะ [การคบสัตบุรุษ]
    ๒. สัทธัมมัสสวนะ [การฟังพระสัทธรรม]
    ๓. โยนิโสมนสิการ [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย]
    ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ [การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม]


    [๒๔๑] องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความ
    เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระ

    อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนาย

    สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว

    เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความ
    เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุ

    จะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้

    เฉพาะตน ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความ
    เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

    ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวก

    ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ

    เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลก ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีล ที่พระ
    อริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อัน

    ตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ

    [๒๔๒] สามัญญผล ๔ อย่าง
    ๑. โสดาปัตติผล
    ๒. สกทาคามิผล
    ๓. อนาคามิผล
    ๔. อรหัตตผล
    [๒๔๓] ธาตุ ๔ อย่าง
    ๑. ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน]
    ๒. อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ]
    ๓. เตโชธาตุ [ธาตุไฟ]
    ๔. วาโยธาตุ [ธาตุลม]
    [๒๔๔] อาหาร ๔ อย่าง
    ๑. กวฬิงการาหาร [อาหารคือคำข้าวหยาบหรือละเอียด]
    ๒. ผัสสาหาร [อาหารคือผัสสะ]
    ๓. มโนสัญเจตนาหาร [อาหารคือมโนสัญเจตนา]
    ๔. วิญญาณาหาร [อาหารคือวิญญาณ]
    [๒๔๕] วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่วิญญาณนั้นมี
    รูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม

    ไพบูลย์ ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ
    นั้นมีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก

    งามไพบูลย์ ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ
    นั้นมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก

    งาม ไพบูลย์ ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ
    นั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก

    งาม ไพบูลย์ ฯ

    [๒๔๖] การถึงอคติ ๔ อย่าง
    ๑. ถึงความลำเอียงเพราะความรักใคร่กัน
    ๒. ถึงความลำเอียงเพราะความขัดเคืองกัน
    ๓. ถึงความลำเอียงเพราะความหลง
    ๔. ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว
    [๒๔๗] ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งความมียิ่งๆ
    ขึ้นไป ฯ

    [๒๔๘] ปฏิปทา ๔ อย่าง
    ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า]
    ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว]
    ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า]
    ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว
    ]


    [๒๔๙] ปฏิปทาอีก ๔ อย่าง
    ๑. อักขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติไม่อดทน]
    ๒. ขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติอดทน]
    ๓. ทมา ปฏิปทา [ปฏิบัติฝึก]
    ๔. สมา ปฏิปทา [ปฏิบัติระงับ]



    [๒๕๐] ธรรมบท ๔ อย่าง
    ๑. บทธรรมคือความไม่เพ่งเล็ง
    ๒. บทธรรมคือความไม่พยาบาท
    ๓. บทธรรมคือความระลึกชอบ
    ๔. บทธรรมคือความตั้งใจไว้ชอบ


    [๒๕๑] ธรรมสมาทาน ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากต่อ
    ไปมีอยู่

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อ
    ไปมีอยู่

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อ
    ไปมีอยู่

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อ
    ไปมีอยู่ ฯ

    [๒๕๒] ธรรมขันธ์ ๔ อย่าง
    ๑. ศีลขันธ์ [หมวดศีล]
    ๒. สมาธิขันธ์ [หมวดสมาธิ]
    ๓. ปัญญาขันธ์ [หมวดปัญญา]
    ๔. วิมุตติขันธ์ [หมวดวิมุติ]


    [๒๕๓] พละ ๔ อย่าง
    ๑. วิริยะพละ [กำลังคือความเพียร]
    ๒. สติพละ [กำลังคือสติ]
    ๓. สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ]
    ๔. ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา]


    [๒๕๔] อธิฏฐาน ๔ อย่าง
    ๑. ปัญญาธิฏฐาน [อธิษฐานคือปัญญา]
    ๒. สัจจาธิฏฐาน [อธิษฐานคือสัจจะ]
    ๓. จาคะธิฏฐาน [อธิษฐานคือจาคะ]
    ๔. อุปสมาธิฏฐาน [อธิษฐานคืออุปสมะ]

    [๒๕๕] ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง
    ๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว
    ๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้
    ๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้
    ๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย ฯ
    [๒๕๖] กรรม ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาวมีอยู่
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาวมีอยู่
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป
    เพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่ ฯ

    [๒๕๗] สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง
    ๑. พึงทำให้แจ้งซึ่งขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนด้วยสติ
    ๒. พึงทำให้แจ้งซึ่งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ
    ๓. พึงทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์แปดด้วยกาย
    ๔. พึงทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา
    [๒๕๘] โอฆะ ๔ อย่าง
    ๑. กาโมฆะ [โอฆะคือกาม]
    ๒. ภโวฆะ [โอฆะคือภพ]
    ๓. ทิฏโฐฆะ [โอฆะคือทิฐิ]
    ๔. อวิชโชฆะ [โอฆะคืออวิชชา]
    [๒๕๙] โยคะ ๔ อย่าง
    ๑. กามโยคะ [โยคะคือกาม]
    ๒. ภวโยคะ [โยคะคือภพ]
    ๓. ทิฏฐิโยคะ [โยคะคือทิฐิ]
    ๔. อวิชชาโยคะ [โยคะคืออวิชชา]
    [๒๖๐] วิสังโยคะ ๔ อย่าง
    ๑. กามโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือกาม]
    ๒. ภวโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือภพ]
    ๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือทิฐิ]
    ๔. อวิชชาโยคะวิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคืออวิชชา]
    [๒๖๑] คันถะ ๔ อย่าง
    ๑. อภิชฌากายคันถะ [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา]
    ๒. พยาปาทกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือพยาบาท]
    ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส]
    ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้
    เป็นจริง] ฯ
    [๒๖๒] อุปาทาน ๔ อย่าง
    ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม]
    ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ]
    ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต]
    ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]
    [๒๖๓] โยนิ ๔ อย่าง
    ๑. อัณฑชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่]
    ๒. ชลาพุชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์]
    ๓. สังเสทชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล]
    ๔. โอปปาติกโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น] ฯ
    [๒๖๔] การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
    เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว อยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว คลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่

    ครรภ์ข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลง
    สู่ครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา

    นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลง
    สู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การ

    ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่
    ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลง

    สู่ครรภ์ข้อที่สี่ ฯ

    [๒๖๕] การได้อัตภาพ ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรง
    กับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรง
    กับความจงใจของตนมีอยู่ ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย ตรงกับความ
    จงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่ ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตน ทั้งไม่ตรงกับ
    ความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ

    [๒๖๖] ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง
    ๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ
    ๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกมีอยู่ ฯ
    ๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ
    ๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ
    [๒๖๗] สังคหวัตถุ ๔ อย่าง
    ๑. ทาน [การให้ปัน]
    ๒. ปิยวัชช [เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน]
    ๓. อัตถจริยา [ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์]
    ๔. สมานัตตตา [ความเป็นผู้มีตนเสมอ]
    [๒๖๘] อนริยโวหาร ๔ อย่าง
    ๑. มุสาวาท [พูดเท็จ]
    ๒. ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด]
    ๓. ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ]
    ๔. สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ]
    [๒๖๙] อริยโวหาร ๔ อย่าง
    ๑. มุสาวาทา เวรมณี [เว้นจากพูดเท็จ]
    ๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดส่อเสียด]
    ๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดคำหยาบ]
    ๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี [เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ]
    [๒๗๐] อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง
    ๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น
    ๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
    ๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
    ๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง ฯ
    [๒๗๑] อริยโวหารอีก ๔ อย่าง
    ๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น
    ๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
    ๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ
    ๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าไม่ได้รู้แจ้ง ฯ
    [๒๗๒] อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง
    ๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น
    ๒. เมื่อได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
    ๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ
    ๔. เมื่อรู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง ฯ
    [๒๗๓] อริยโวหารอีก ๔ อย่าง
    ๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าได้เห็น
    ๒. เมื่อได้ยินพูดว่าได้ยิน
    ๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
    ๔. เมื่อได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง
    [๒๗๔] บุคคล ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวน
    ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวน
    ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวน
    ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้

    ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่เป็น
    ผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วยเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

    ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือด

    ร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หายหิวดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุขมีตนเป็นเสมือน

    พรหมอยู่ในปัจจุบัน ฯ

    [๒๗๕] บุคคลอีก ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติ
    เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
    ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
    ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย
    เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย ฯ

    [๒๗๖] บุคคลอีก ๔ อย่าง
    ๑. บุคคลผู้มืดมา กลับมืดไป
    ๒. บุคคลผู้มืดมา กลับสว่างไป
    ๓. บุคคลผู้สว่างมา กลับมืดไป
    ๔. บุคคลผู้สว่างมา กลับสว่างไป ฯ
    [๒๗๗] บุคคลอีก ๔ อย่าง
    ๑. สมณมจละ [เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว]
    ๒. สมณปทุมะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวหลวง]
    ๓. สมณปุณฑรีกะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว]
    ๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ [เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะทั้งหลาย ฯ]
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วพวกเราทั้งหมดด้วยกันพึง

    สังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไป

    เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมากเพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์

    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    จบหมวด ๔
    ______________
    ( มีต่อ )
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ( ต่อ )

    หมวด ๕
    [๒๗๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้

    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเรา

    ทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืน

    ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์

    แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภท

    ๕ เป็นไฉน

    ขันธ์ ๕ อย่าง
    ๑. รูปขันธ์ [กองรูป]
    ๒. เวทนาขันธ์ [กองเวทนา]
    ๓. สัญญาขันธ์ [กองสัญญา]
    ๔. สังขารขันธ์ [กองสังขาร]
    ๕. วิญญาณขันธ์ [กองวิญญาณ] ฯ
    [๒๗๙] อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง
    ๑. รูปูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป)
    ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา)
    ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา)
    ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร)
    ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ) ฯ
    [๒๘๐] กามคุณ ๕ อย่าง
    ๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
    ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ

    ๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
    ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ

    ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
    ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ

    ๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
    ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ

    ๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
    ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ

    [๒๘๑] คติ ๕ อย่าง
    ๑. นิรยะ [นรก]
    ๒. ติรัจฉานโยนิ [กำเนิดดิรัจฉาน]
    ๓. ปิตติวิสัย [ภูมิแห่งเปรต]
    ๔. มนุสสะ [มนุษย์]
    ๕. เทวะ [เทวดา] ฯ
    [๒๘๒] มัจฉริยะ ๕ อย่าง
    ๑. อาวาสมัจฉริยะ [ตระหนี่ที่อยู่]
    ๒. กุลมัจฉริยะ [ตระหนี่สกุล]
    ๓. ลาภมัจฉริยะ [ตระหนี่ลาภ]
    ๔. วัณณมัจฉริยะ [ตระหนี่วรรณะ]
    ๕. ธัมมมัจฉริยะ [ตระหนี่ธรรม] ฯ
    [๒๘๓] นีวรณ์ ๕ อย่าง
    ๑. กามฉันทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือ ความพอใจในกาม]
    ๒. พยาปาทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความพยาบาท]
    ๓. ถีนมิทธนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม]
    ๔. อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ]
    ๕. วิจิกิจฉานีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความสงสัย] ฯ
    [๒๘๔] โอรัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องต่ำ] ๕ อย่าง
    ๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
    ๒. วิจิกิจฉา [ความสงสัย]
    ๓. สีลัพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วย
    ศีลหรือพรต]
    ๔. กามฉันทะ [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]
    ๕. พยาบาท [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]
    [๒๘๕] อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] ๕ อย่าง
    ๑. รูปราคะ [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม]
    ๒. อรูปราคะ [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม]
    ๓. มานะ [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่]
    ๔. อุทธัจจะ [ความคิดพล่าน]
    ๕. อวิชชา [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]
    [๒๘๖] สิกขาบท ๕ อย่าง
    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์]
    ๒. อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์]
    ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม]
    ๔. มุสาวาทา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ]
    ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
    คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท] ฯ
    [๒๘๗] อภัพพฐาน ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต
    ๒. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์ อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
    ๓. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม
    ๔. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งรู้อยู่
    ๕. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสมบริโภคกามเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์
    อยู่ ฯ

    [๒๘๘] พยสนะ ๕ อย่าง
    ๑. ญาติพยสนะ [ความฉิบหายแห่งญาติ]
    ๒. โภคพยสนะ [ความฉิบหายแห่งโภคะ]
    ๓. โรคพยสนะ [ความฉิบหายเพราะโรค]
    ๔. สีลพยสนะ [ความฉิบหายแห่งศีล]
    ๕. ทิฏฐิพยสนะ [ความฉิบหายแห่งทิฐิ] ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะฉิบหายก็ดี เพราะ
    เหตุที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลายย่อมจะไม่ต้องเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก

    เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลาย
    ย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ

    [๒๘๙] สัมปทา ๕ อย่าง
    ๑. ญาติสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยญาติ]
    ๒. โภคสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยโภคะ]
    ๓. อาโรคยสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค]
    ๔. สีลสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยศีล]
    ๕. ทิฏฐิสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ] ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งโภคสัมปทาก็ดี
    เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่

    ตายเพราะกายแตก ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฐิสัมปทา
    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ

    [๒๙๐] โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะใหญ่
    ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีล มีศีล
    วิบัติ ย่อมระบือไป นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใดๆ คือ
    ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัทเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคนเก้อเขิน

    เข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคนหลงทำกาละ
    นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่ห้า ฯ

    [๒๙๑] อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมประสบกองแห่ง
    โภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีลถึงพร้อมแล้ว
    ด้วยศีล ย่อมระบือไป นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลเข้าไปหาบริษัท
    ใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้า

    ไม่เก้อเขินเข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่
    หลงทำกาละ นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึง
    สุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อ

    ที่ห้า ฯ

    [๒๙๒] ธรรมสำหรับโจทน์ ๕ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการ
    ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ เราจักกล่าวโดยกาลอันควรจักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร

    เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วย

    คำหยาบ เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำที่ไม่ประกอบด้วย

    ประโยชน์ เราจักกล่าวด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย

    อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น ฯ

    [๒๙๓] องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้
    ของพระตถาคตว่า แม้เพราะนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ถึง

    พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า

    เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ

    ๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุ
    อันมีวิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ความเพียร ฯ

    ๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงใน
    พระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ฯ

    ๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง
    กุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในบรรดาธรรมที่เป็น

    กุศล ฯ

    ๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับ เป็น
    ปัญญาอย่างประเสริฐ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ฯ

    [๒๙๔] สุทธาวาส ๕
    ๑. อวิหา
    ๒. อตัปปา
    ๓. สุทัสสา
    ๔. สุทัสสี
    ๕. อกนิฏฐา ฯ
    [๒๙๕] พระอนาคามี ๕
    ๑. อันตราปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง]
    ๒. อุปหัจจปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด]
    ๓. อสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก]
    ๔. สสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ต้องใช้ความเพียร]
    ๕. อุทธโสโต อกนิฏฐคามี [พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ] ฯ
    [๒๙๖] ความกระด้างแห่งจิต ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่

    ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ

    กระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นนี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่

    ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ

    กระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัยไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่

    เลื่อมใสในพระสงฆ์ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำ

    เป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่

    เลื่อมใสในสิกขา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำ

    เป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบ
    แล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ

    ขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือนตะปู ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ

    ประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิต

    ข้อที่ห้า ฯ

    [๒๙๗] ความผูกพันธ์แห่งจิต ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
    ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย

    ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย

    ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ

    ประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์

    แห่งจิตข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความ
    พอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาย ผู้มีอายุทั้งหลาย

    จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวน

    กระวาย ความทะยานอยากในกายย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ

    เนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
    ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ผู้มีอายุ

    ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย

    ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูปย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ

    เนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการแล้ว
    ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุทั้งหลาย

    จิตของภิกษุผู้บริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขใน

    การเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ

    เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนา หมู่เทพเจ้า
    หมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็นเทพ

    องค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่

    เทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเป็น

    เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ

    กระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่ห้า ฯ

    [๒๙๘] อินทรีย์ ๕ อย่าง
    ๑. จักขุนทรีย์ [อินทรีย์คือตา]
    ๒. โสตินทรีย์ [อินทรีย์คือหู]
    ๓. ฆานินทรีย์ [อินทรีย์คือจมูก]
    ๔. ชิวหินทรีย์ [อินทรีย์คือลิ้น]
    ๕. กายินทรีย์ [อินทรีย์คือกาย]
    [๒๙๙] อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
    ๑. สุขุนทรีย์ [อินทรีย์คือสุข]
    ๒. ทุกขินทรีย์ [อินทรีย์คือทุกข์]
    ๓. โสมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโสมนัส]
    ๔. โทมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโทมนัส]
    ๕. อุเปกขินทรีย์ [อินทรีย์คืออุเบกขา]
    [๓๐๐] อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
    ๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา]
    ๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ]
    ๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ]
    ๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ]
    ๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา]
    [๓๐๑] นิสสารณียธาตุ ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลายอยู่
    จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกามทั้งหลาย แต่ว่าเมื่อเธอ

    มนสิการถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะเนกขัมมะ

    จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้วออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลาย

    และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกามเป็นปัจจัยเกิดขึ้น

    เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความพยาบาทอยู่ จิตย่อม
    ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะความพยาบาท แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการ

    ถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่พยาบาท

    จิตของเธอนั้นไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาท

    และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็นปัจจัย

    เกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความเบียดเบียนอยู่ จิต
    ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะความเบียดเบียน แต่ว่าเมื่อเธอ

    มนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความ

    ไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจาก

    ความเบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความ

    เบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่อง

    สลัดออกซึ่งความเบียดเบียน ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลายอยู่ จิตย่อม
    ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะรูปทั้งหลายแต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึง

    อรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะอรูป จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว

    อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้วพรากแล้วจากรูปทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจาก

    อาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีรูปเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น

    ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงกายของตนอยู่ จิตย่อม
    ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งใจอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกายของตน แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการ

    ถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะความดับ

    แห่งกายของตน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้ว

    จากกายของตนและเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตน

    เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกายของตน ฯ

    [๓๐๒] วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่
    ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้แจ้ง

    อรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้นโดยประการที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง

    ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงแก่เธอความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม

    ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ

    เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดน

    วิมุตติข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์
    หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอแสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้

    เรียนไว้แก่คนอื่นๆ โดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่

    ตนได้แสดงแก่คนอื่นๆ นั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความ

    อิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้วกายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอ

    ผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อ

    ที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์
    หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอกระทำการสาธยายธรรมตาม

    ที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการ

    ที่ตนกระทำการสาธยายนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ

    ย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้วกายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกาย

    สงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์
    หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอตรึกตรองตามซึ่งธรรมตาม

    ที่ได้ฟังได้เรียนไว้ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น

    โดยอาการที่ตนตรึกตรองตามด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้ง

    อรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วย

    ปีติย่อมสงบระงับเธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อม

    ตั้งมั่นนี้แดนวิมุตติข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์
    หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใด

    อย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ภิกษุนั้นย่อม

    รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำ

    ไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดีแทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญาแล้วนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิด

    แก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจ

    ประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้

    มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่ห้า ฯ

    [๓๐๓] สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง
    ๑. อนิจจสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของ
    ไม่เที่ยง]

    ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์
    ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]

    ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตน
    ในสิ่งที่เป็นทุกข์]

    ๔. ปหานสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละ
    เสีย]

    ๕. วิราคสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความคลาย
    เสียซึ่งความกำหนัด]

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด

    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น

    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมากเพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ

    ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    จบ หมวด ๕
    _______________
    หมวด ๖
    [๓๐๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรง
    เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมด

    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น

    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ

    ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    อายตนะภายใน ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือตา
    ๒. อายตนะ คือหู
    ๓. อายตนะ คือจมูก
    ๔. อายตนะ คือลิ้น
    ๕. อายตนะ คือกาย
    ๖. อายตนะ คือใจ
    [๓๐๕] อายตนะภายนอก ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือ รูป
    ๒. อายตนะ คือ เสียง
    ๓. อายตนะ คือ กลิ่น
    ๔. อายตนะ คือ รส
    ๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
    ๖. อายตนะ คือ ธรรม
    [๓๐๖] หมวดวิญญาณ ๖
    ๑. จักขุวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยตา]
    ๒. โสตวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยหู]
    ๓. ฆานวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยลิ้น]
    ๕. กายวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยกาย]
    ๖. มโนวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยใจ]
    [๓๐๗] หมวดผัสสะ ๖
    ๑. จักขุสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยใจ]
    [๓๐๘] หมวดเวทนา ๖
    ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ]
    [๓๐๙] หมวดสัญญา ๖
    ๑. รูปสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
    [๓๑๐] หมวดสัญเจตนา ๖
    ๑. รูปสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
    [๓๑๑] หมวดตัณหา ๖
    ๑. รูปตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
    [๓๑๒] อคารวะ ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระ
    ศาสดาอยู่

    ๒. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่
    ๓. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่
    ๔. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการศึกษาอยู่
    ๕. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่
    ๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ
    [๓๑๓] คารวะ ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระศาสดาอยู่
    ๒. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระธรรมอยู่
    ๓. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระสงฆ์อยู่
    ๔. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการศึกษาอยู่
    ๕. เป็นผู้เคารพยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่
    ๖. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ
    [๓๑๔] โสมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง
    ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
    ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
    ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
    ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
    ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
    โสมนัส

    ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ฯ
    [๓๑๕] โทมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง
    ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
    ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
    ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
    ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
    ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
    โทมนัส

    ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ฯ
    [๓๑๖] อุเปกขูปวิจาร ๖ อย่าง
    ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
    ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
    ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
    ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
    ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
    อุเบกขา

    ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯ
    [๓๑๗] สาราณียธรรม ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วย
    เมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมข้อนี้เป็นที่ตั้งแห่งความระลึก

    ถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์

    เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียงเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งวจีกรรม
    ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็น

    ที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไป

    เพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งมโนกรรม
    ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่

    ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อ

    ความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยธรรม
    ได้มาแล้วโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหารในบาตร ไม่หวงกันด้วยลาภเห็นปานดังนั้น แบ่ง

    ปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่อง

    กระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่

    วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียงเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่
    ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฐิ เป็นไปเพื่อสมาธิ

    ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลในศีลเห็นปานดังนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้ง
    ต่อหน้าและลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก

    เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อม

    เพรียงเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประเสริฐ เป็นเครื่อง
    นำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฐินั้น ภิกษุเป็นผู้ถึง

    ความเป็นผู้เสมอกัน โดยทิฐิในทิฐิเห็นปานดังนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า

    และลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็น

    เครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อม

    เพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

    [๓๑๘] มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้นั้น ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ใน

    พระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้

    ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่

    เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงใน

    พระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่

    ชนมากเพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่

    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่ง

    ความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลว

    ทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเห็น

    ปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อ

    ไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติ

    ได้เช่นนี้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอ
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลบหลู่ตีเสมอย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดาอยู่

    ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่

    ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง

    ในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่

    ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ

    มิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ

    มนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาท

    เห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้น

    เสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้

    ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อ

    พยายามได้เช่นนี้ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้

    เช่นนี้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักริษยามีความตระหนี่ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา

    อยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่

    ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขาภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพ

    ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

    ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความ

    พินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ดูกร

    ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก

    พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวก

    ท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้

    มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่ง

    ความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม

    เช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา ผู้มีอายุ
    ทั้งหลาย ภิกษุผู้โอ้อวดมีมารยา ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ

    ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้

    กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่

    ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ใน

    สิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก

    เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์

    ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายใน

    ภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ถ้าพวกท่านพิจารณา

    ไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุ

    แห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไปเมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความ

    วิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้

    ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความ
    เห็นผิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ย่อมจะไม่เคารพ

    ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ

    ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย

    ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรง

    ในพระสงฆ์อยู่ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์

    แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์เพื่อทุกข์แก่

    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุ

    แห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม

    เช่นนั้นเสียได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปาน

    ดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้น

    ต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อ

    ปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน
    มักถือรั้น คลายได้ยาก ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น

    คลายได้ยาก ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้

    ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์

    แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรง

    ในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความ

    วิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก

    เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย

    ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะ

    ละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสียผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่

    เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความ

    วิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ต่อไปเมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม

    เช่นนี้เสียได้เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีก

    ต่อไป ฯ

    [๓๑๙] ธาตุ ๖ อย่าง
    ๑. ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน]
    ๒. อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ]
    ๓. เตโชธาตุ [ธาตุไฟ]
    ๔. วาโยธาตุ [ธาตุลม]
    ๕. อากาศธาตุ [ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย]
    ๖. วิญญาณธาตุ [ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้] ฯ
    [๓๒๐] นิสสารณียธาตุ ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่
    ประกอบด้วยเมตตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว

    คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วแต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของเราตั้ง

    อยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้

    ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึง

    ตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น

    ยานแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตา

    แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังจักครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้

    มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตานี้

    เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่
    ประกอบด้วยกรุณาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว

    คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็ยังครอบงำจิตของเรา

    ตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้

    ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัส

    ไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว

    ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติที่ประกอบด้วย

    กรุณา แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส

    ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณานี้

    เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิเหสา ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่
    ประกอบด้วยมุทิตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว

    คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้

    เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่

    พระผู้มีพระภาคการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย

    ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่

    ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็จักยัง

    ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ดูกร

    ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ ฯ

    ๔. ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบ
    ด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว

    คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้

    ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้

    กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้

    เลย ผู้มีอายุทั้งหลายข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็น

    ที่ตั้งแล้วคล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขา

    แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่

    ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขานี้เป็นเครื่อง

    สลัดออกซึ่งราคะ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ไม่มี
    นิมิตแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่ว

    แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นวิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตนี้ ก็ยังมีอยู่แก่เรา

    ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้

    กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้

    เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว

    ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่หานิมิตมิได้

    แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตก็ยังจักมีแก่เขา ดังนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาส

    ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิตนี้ เป็นเครื่อง

    สลัดออกซึ่งนิมิตทุกอย่าง ฯ

    ๖. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่าเรา
    มีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศร

    คือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า

    ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าว

    ตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่า

    เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ดังนี้หมดไปแล้ว และเมื่อเขามิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น

    ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย ก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส

    ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือการเพิกถอน การถือว่าเรามีอยู่นี้

    เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย ฯ

    [๓๒๑] อนุตตริยะ ๖ อย่าง
    ๑. ทัสสนานุตตริยะ [การเห็นอย่างยอดเยี่ยม]
    ๒. สวนานุตตริยะ [การฟังอย่างยอดเยี่ยม]
    ๓. ลาภานุตตริยะ [การได้อย่างยอดเยี่ยม]
    ๔. สิกขานุตตริยะ [การศึกษาอย่างยอดเยี่ยม]
    ๕. ปาริจริยานุตตริยะ [การบำเรออย่างยอดเยี่ยม]
    ๖. อนุสสตานุตตริยะ [การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม]
    [๓๒๒] อนุสสติฐาน ๖ อย่าง
    ๑. พุทธานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า]
    ๒. ธัมมานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระธรรม]
    ๓. สังฆานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์]
    ๔. สีลานุสสติ [ระลึกถึงศีล]
    ๕. จาคานุสสติ [ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค]
    ๖. เทวตานุสสติ [ระลึกถึงเทวดา]
    [๓๒๓] สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว ย่อมเป็นผู้
    ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

    ๒. ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ
    สัมปชัญญะอยู่

    ๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ
    สัมปชัญญะอยู่

    ๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ
    อยู่

    ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย
    มีสติสัมปชัญญะอยู่

    ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ
    สัมปชัญญะอยู่ ฯ

    [๓๒๔] อภิชาติ ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายดำ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายขาว
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพพระนิพพาน
    ซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายขาว
    ๕. ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายดำ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพพระนิพพาน
    ซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว ฯ

    [๓๒๕] นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อย่าง
    ๑. อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง]
    ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]
    ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์]
    ๔. ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ]
    ๕. วิราคสัญญา [กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด]
    ๖. นิโรธสัญญา [กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท]
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรง
    รู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด

    ด้วยกัน พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึง

    ยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์

    แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    จบหมวด ๖
    ______________
    หมวด ๗
    [๓๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๗ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมด

    ด้วยกันพึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึง

    ยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์

    แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    อริยทรัพย์ ๗ อย่าง
    ๑. สัทธาธนัง [ทรัพย์คือศรัทธา]
    ๒. สีลธนัง [ทรัพย์คือศีล]
    ๓. หิริธนัง [ทรัพย์คือหิริ]
    ๔. โอตตัปปธนัง [ทรัพย์คือโอตตัปปะ]
    ๕. สุตธนัง [ทรัพย์คือสุตะ]
    ๖. จาคธนัง [ทรัพย์คือจาคะ]
    ๗. ปัญญาธนัง [ทรัพย์คือปัญญา]
    [๓๒๗] โพชฌงค์ ๗ อย่าง
    ๑. สติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความระลึกได้]
    ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่องธรรม]
    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร]
    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ]
    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ]
    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น]
    ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความวางเฉย]
    [๓๒๘] บริขารของสมาธิ ๗ อย่าง
    ๑. สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ]
    ๒. สัมมาสังกัปปะ [ความดำริชอบ]
    ๓. สัมมาวาจา [เจรจาชอบ]
    ๔. สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ]
    ๕. สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ]
    ๖. สัมมาวายามะ [พยายามชอบ]
    ๗. สัมมาสติ [ระลึกชอบ]
    [๓๒๙] อสัทธรรม ๗ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นคนไม่มีศรัทธา
    ๒. เป็นคนไม่มีหิริ
    ๓. เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ
    ๔. เป็นคนมีสุตะน้อย
    ๕. เป็นคนเกียจคร้าน
    ๖. เป็นคนมีสติหลงลืม
    ๗. เป็นคนมีปัญญาทราม
    [๓๓๐] สัทธรรม ๗ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นคนมีศรัทธา
    ๒. เป็นคนมีหิริ
    ๓. เป็นคนมีโอตตัปปะ
    ๔. เป็นคนมีพหูสูต
    ๕. เป็นคนปรารภความเพียร
    ๖. เป็นคนมีสติมั่นคง
    ๗. เป็นคนมีปัญญา
    [๓๓๑] สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นผู้รู้จักเหตุ
    ๒. เป็นผู้รู้จักผล
    ๓. เป็นผู้รู้จักตน
    ๔. เป็นผู้รู้จักประมาณ
    ๕. เป็นผู้รู้จักกาล
    ๖. เป็นผู้รู้จักบริษัท
    ๗. เป็นผู้รู้จักบุคคล
    [๓๓๒] นิทเทสวัตถุ ๗ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักใน
    การสมาทานสิกขาต่อไปด้วย
    ๒. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักใน
    การไตร่ตรองธรรมต่อไปด้วย
    ๓. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความ
    รักในการปราบปรามความอยากต่อไปด้วย
    ๔. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการเร้น
    อยู่ต่อไปด้วย
    ๕. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรัก
    ในการปรารภความเพียรต่อไปด้วย
    ๖. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้งเป็นผู้ไม่หมด
    ความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไปด้วย
    ๗. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรัก
    ในการแทงตลอดซึ่งทิฐิต่อไปด้วย
    [๓๓๓] สัญญา ๗ อย่าง
    ๑. อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง]
    ๒. อนัตตสัญญา [กำหนดหมายเป็นอนัตตา]
    ๓. อสุภสัญญา [กำหนดหมายความไม่งาม]
    ๔. อาทีนวสัญญา [กำหนดหมายโทษ]
    ๕. ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ]
    ๖. วิราคสัญญา [กำหนดหมายวิราคะ]
    ๗. นิโรธสัญญา [กำหนดหมายนิโรธ]
    [๓๓๔] พละ ๗ อย่าง
    ๑. สัทธาพละ [กำลังคือศรัทธา]
    ๒. วิริยพละ [กำลังคือความเพียร]
    ๓. หิริพละ [กำลังคือหิริ]
    ๔. โอตตัปปพละ [กำลังคือโอตตัปปะ]
    ๕. สติพละ [กำลังคือสติ]
    ๖. สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ]
    ๗. ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา]
    [๓๓๕] วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์
    และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวก
    เทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณฐิติข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวก
    เทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
    เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า
    อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่

    ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
    แล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ

    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
    แล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด ฯ

    [๓๓๖] ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง
    ๑. อุภโตภาควิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง]
    ๒. ปัญญาวิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา]
    ๓. กายสักขิ [ท่านผู้สามารถด้วยกาย]
    ๔. ทิฏฐิปัตต [ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น]
    ๕. สัทธาวิมุตต [ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา]
    ๖. ธัมมานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามธรรม]
    ๗. สัทธานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]
    [๓๓๗] อนุสัย ๗ อย่าง
    ๑. กามราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม]
    ๒. ปฏิฆานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่ง
    แห่งจิต]
    ๓. ทิฏฐานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความเห็น]
    ๔. วิจิกิจฉานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความสงสัย]
    ๕. มานานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความถือตัว]
    ๖. ภวราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ]
    ๗. อวิชชานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในดันดานคือความไม่รู้]
    [๓๓๘] สัญโญชน์ ๗ อย่าง
    ๑. กามสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความใคร่]
    ๒. ปฏิฆสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต]
    ๓. ทิฏฐิสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น]
    ๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย]
    ๕. มานสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว]
    ๖. ภวราคสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ]
    ๗. อวิชชาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้]
    [๓๓๙] อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง
    เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
    ๑. พึงให้สัมมุขาวินัย
    ๒. พึงให้สติวินัย
    ๓. พึงให้อมุฬหวินัย
    ๔. พึงปรับตามปฏิญญา
    ๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
    ๖. พึงปรับตามความผิดของจำเลย
    ๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า] ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมประเภทละ ๗ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้

    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด

    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น

    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ

    ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    จบ หมวด ๗
    ______________
    หมวด ๘
    [๓๔๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วย

    กันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น

    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์

    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เป็นไฉน ฯ

    มิจฉัตตะ ๘ อย่าง
    ๑. มิจฉาทิฏฐิ [เห็นผิด]
    ๒. มิจฉาสังกัปปะ [ดำริผิด]
    ๓. มิจฉาวาจา [วาจาผิด]
    ๔. มิจฉากัมมันตะ [การงานผิด]
    ๕. มิจฉาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตผิด]
    ๖. มิจฉาวายามะ [พยายามผิด]
    ๗. มิจฉาสติ [ระลึกผิด]
    ๘. มิจฉาสมาธิ [ตั้งจิตผิด]
    [๓๔๑] สัมมัตตะ ๘ อย่าง
    ๑. สัมมาทิฏฐิ [เห็นชอบ]
    ๒. สัมมาสังกัปปะ [ดำริชอบ]
    ๓. สัมมาวาจา [วาจาชอบ]
    ๔. สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ]
    ๕. สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ]
    ๖. สัมมาวายามะ [พยายามชอบ]
    ๗. สัมมาสติ [ระลึกชอบ]
    ๘. สัมมาสมาธิ [ตั้งจิตชอบ]
    [๓๔๒] ทักขิเณยยบุคคล ๘
    ๑. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน
    ๒. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
    ๓. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี
    ๔. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
    ๕. ท่านที่เป็นพระอนาคามี
    ๖. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
    ๗. ท่านที่เป็นพระอรหันต์
    ๘. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง
    [๓๔๓] กุสีตวัตถุ ๘
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย

    ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม

    ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิด
    อย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ควรที่เราจะ

    นอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ

    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งนี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อยควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย

    ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม

    ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราได้เดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอน

    เสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ

    ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้
    ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

    เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีต

    พอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อยไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอ

    นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำ

    ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความ
    บริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

    เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่

    ความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงานเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ

    ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
    ไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หก ฯ

    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี
    ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ควรที่

    เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้

    บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด ฯ

    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน
    เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยัง

    อ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม

    ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่ง

    ความเกียจคร้านข้อที่แปด ฯ

    [๓๔๔] อารัพภวัตถุ ๘ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องทำการงานเธอมีความคิด
    อย่างนี้ว่า การงานเราจักต้องทำ เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอนของ

    พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเสียก่อนที่เดียว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ

    บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียร

    เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง

    นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิด
    อย่างนี้ เราทำการงานเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอนของ

    พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้

    บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ

    ความเพียรข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย

    ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำใจให้

    แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งเธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม

    ที่ยังไม่ได้บรรลุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียร

    ข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิด
    อย่างนี้ว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอนของ

    พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้

    บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ

    ความเพียรข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้
    ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

    เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอ

    แก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึง

    ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่เรายังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง

    เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

    ธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่ห้า ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้
    ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

    เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอ

    แก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นมีกำลังควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึง

    ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอ

    ย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม

    ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หก ฯ

    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี
    ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของเราจะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็น

    ฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้

    บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ

    ความเพียรข้อที่เจ็ด ฯ

    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้วไม่
    นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้วไม่นาน การที่อาพาธ

    ของเราจะพึงกำเริบนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ

    ความเพียรข้อที่แปด ฯ

    [๓๔๕] ทานวัตถุ ๘ อย่าง
    ๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ
    ๒. ให้ทานเพราะกลัว
    ๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
    ๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
    ๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
    ๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิ
    ได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร

    ๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะระบือไป
    ๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต ฯ
    [๓๔๖] ทานุปบัติ ๘ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้ายาน ดอกไม้
    ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือ

    พราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ

    คฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อมพรั่งพร้อม ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยกามคุณห้าอยู่ เขาจึงคิด

    อย่างนี้ว่า โอหนอเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของกษัตริย์

    มหาศาลพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้อบรม

    จิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูงย่อมเป็นไปเพื่อเกิด

    ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความ

    ตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ
    ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทาน

    แก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าจาตุ

    มหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้า

    แต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเหล่าจาตุมหาราชิกา เขาตั้งจิตนั้นไว้

    อบรมจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้อง

    สูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล

    ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า
    ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่

    สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าดาวดึงส์มี

    อายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

    กายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าดาวดึงส์ เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิต

    นั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลวมิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็น

    ไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแลเรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย

    ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า
    ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่

    สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่ายามามีอายุ

    ยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

    กายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่ายามา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้น

    ไว้อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไป

    เพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีลผู้มีอายุทั้งหลาย

    ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า
    ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่

    สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไปเขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าดุสิตามีอายุ

    ยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

    กายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าดุสิตา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้น

    ไว้ อบรมจิตนั้นไว้จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็น

    ไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุ

    ทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า
    ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทาน

    แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่านิมมา

    นรดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้า

    แต่ตายเพราะกายแตกเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่านิมมานรดี เขาตั้งจิตนั้นไว้

    อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้อง

    สูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล

    ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ
    ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็น

    ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่าพวกเทพเหล่า

    ปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ

    เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี

    เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับ

    อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่

    สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ
    ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็น

    ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่าพวกเทพที่นับเนื่อง

    ในหมู่พรหม มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้อง

    หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม เขา

    ตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบ

    รมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำ

    หรับผู้ทุศีล สำหรับคนที่ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับคนที่ยังมีราคะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ความ

    ตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะปราศจากราคะ ฯ

    [๓๔๗] โลกธรรม ๘ อย่าง
    ๑. มีลาภ
    ๒. ไม่มีลาภ
    ๓. มียศ
    ๔. ไม่มียศ
    ๕. นินทา
    ๖. สรรเสริญ
    ๗. สุข
    ๘. ทุกข์ ฯ
    [๓๔๘] บริษัท ๘ อย่าง
    ๑. บริษัทกษัตริย์
    ๒. บริษัทพราหมณ์
    ๓. บริษัทคฤหบดี
    ๔. บริษัทสมณะ
    ๕. บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา
    ๖. บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์
    ๗. บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี
    ๘. บริษัทพรหม ฯ
    [๓๔๙] อภิภายตนะ ๘ อย่าง
    ๑. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็กมีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ

    ข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ

    ข้อที่สอง ฯ

    ๓. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กมีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ

    ข้อที่สาม ฯ

    ๔. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ

    ข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียว
    ล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่

    กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้

    ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน

    มีรัศมีเขียวฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น

    อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า ฯ

    ๖. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง
    เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง

    หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน

    มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใดผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะ

    เหลืองเหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ

    อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก ฯ

    ๗. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน
    มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิดใน

    เมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง แดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด

    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง

    ฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น

    อภิภายตนะข้อที่เจ็ด ฯ

    ๘. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน
    มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่กำเนิดใน

    เมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยง ขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด

    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว

    ฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น

    อภิภายตนะข้อที่แปด ฯ

    [๓๕๐] วิโมกข์ ๘ อย่าง
    ๑. บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง ฯ
    ๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่าสิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม ฯ
    ๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่
    ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด

    มิได้ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ

    ๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงวิญญาณัญ
    จายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ

    ๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงอากิญ
    จัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก ฯ

    ๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงเนวสัญญา
    ยตนะอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข้อที่เจ็ด ฯ

    ๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง
    สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรง
    เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน

    พึงสังคายนาไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้นพึง

    เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์

    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    จบ หมวด ๘
    ______________
    หมวด ๙
    [๓๕๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ โดยชอบแล้วมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วย

    กัน พึงสังคายนาไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น

    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์

    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ เป็นไฉน ฯ

    อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง
    ๑. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว

    ๒. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

    ๓. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

    ๔. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ผู้เป็นที่รักเป็น

    ที่ชอบใจของเราแล้ว

    ๕. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักเป็น

    ที่ชอบใจของเรา

    ๖. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักเป็นที่

    ขอบใจของเรา

    ๗. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น

    ที่ชอบใจของเราแล้ว

    ๘. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่ชอบใจ

    ของเรา

    ๙. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น

    ที่ชอบใจของเรา ฯ

    [๓๕๒] อาฆาตปฏิวินัย ๙ อย่าง
    ๑. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว

    เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่

    ที่ไหน

    ๒. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

    เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่

    ที่ไหน

    ๓. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

    เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้น

    แต่ที่ไหน

    ๔. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคล

    ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้

    ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

    ๕. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคล

    ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคล

    นั้นแต่ที่ไหน

    ๖. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคล

    ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคล

    นั้นแต่ที่ไหน

    ๗. บรรเทาความอาฆาตด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่

    เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหา

    ได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

    ๘. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล

    ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหา

    ได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน

    ๙. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่

    เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ใน

    บุคคลนั้นแต่ที่ไหน

    [๓๕๓] สัตตาวาส ๙ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกันเช่นพวกมนุษย์

    เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางพวกนี้สัตตาวาสข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น

    พวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้สัตตาวาสข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกัน เช่นพวก

    เทพเหล่าอาภัสสระ นี้สัตตาวาสข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น

    พวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้สัตตาวาสข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์ เช่นพวก

    เทพเหล่าอสัญญีสัตว์ นี้สัตตาวาสข้อที่ห้า ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง

    เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการ

    ว่า อากาศที่สุดมิได้ ดังนี้ นี้สัตตาวาสข้อที่หก ฯ

    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการ

    ทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้สัตตาวาสข้อที่เจ็ด ฯ

    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งวิญญานัญจายตนะโดยประการ

    ทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรนี้สัตตาวาสข้อที่แปด ฯ

    ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง

    แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี่สงบนี่ประณีต นี้สัตตาวาสข้อที่เก้า ฯ

    [๓๕๔] อขณะอสมัยเพื่อพรหมจริยวาส ๙ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และ
    ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้

    เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้เข้าถึงนรกเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่

    ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ
    ในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึง

    ความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแต่บุคคลนี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่

    สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ
    อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ

    ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้เข้าถึงวิสัยแห่งเปรตเสียนี้มิใช่
    สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ
    อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ

    ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้เข้าถึงอสุรกายเสียมิใช่ขณะ

    นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ
    อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ

    ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ บุคคลนี้เข้าถึงพวกเทพที่มีอายุยืนพวกใด
    พวกหนึ่งเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ห้า ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ
    อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ

    ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้เกิดเสียในปัจจันติมชนบท ใน

    จำพวกชนชาติมิลักขะผู้โง่เขลา ไร้คติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย

    เพื่อการอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ข้อที่หก ฯ

    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ
    อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ

    ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ และบุคคลนี้ก็เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เขา
    เป็นคนมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่าทานที่บุคคลให้ไม่มีผลการบูชาไม่มีผล ผลวิบากของกรรม

    ที่บุคคลทำดีหรือทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์

    ไม่มีในโลก ไม่มีสมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และ

    โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วยังผู้อื่นให้รู้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติ

    พรหมจรรย์ข้อที่เจ็ด ฯ

    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ
    อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ

    ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ และบุคคลนี้ก็เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เป็น

    คนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่

    สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่แปด ฯ

    ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้เสด็จ
    อุบัติในโลก และธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้

    เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ ก็มิได้มีผู้ทรงแสดงไว้ และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท เป็น

    คนมีปัญญาไม่เซอะซะ ไม่เป็นคนใบ้ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่

    ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เก้า ฯ

    [๓๕๕] อนุปุพพวิหาร ๙ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง
    จิตใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบระงับไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ

    สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มีสัมปชัญญะ
    เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้

    ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
    เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดย
    ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไปเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญาเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ

    ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะ
    โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

    ดังนี้อยู่ ฯ
    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ
    โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ ฯ

    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญจัญญายตนะโดย
    ประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ

    ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานา
    สัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯ

    [๓๕๖] อนุปุพพนิโรธ ๙ อย่าง
    ๑. กามสัญญาของท่านผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป
    ๒. วิตกวิจารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป
    ๓. ปีติของท่านผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป
    ๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป
    ๕. รูปสัญญาของท่านผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติ ย่อมดับไป
    ๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมดับไป
    ๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป
    ๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของท่านผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติย่อม
    ดับไป

    ๙. สัญญาและเวทนาของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเรา

    ทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่

    นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก

    เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    จบ หมวด ๙
    ______________
    หมวด ๑๐
    [๓๕๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสันมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน

    พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็น

    ไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์

    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เป็นไฉน ฯ

    นาถกรณธรรม ๑๐ อย่าง

    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สำรวมระวังในพระปาติโมกข์

    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อยสมาทานศึกษาอยู่

    ในสิกขาบททั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์

    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน

    สิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีธรรม อันสดับแล้วมาก ทรงธรรม

    ที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามใน

    ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเห็นปานนั้น

    อันเธอได้สดับแล้วมากทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น

    ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว

    สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศ

    พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้ว

    มาก

    ทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดีมีเพื่อนดี

    ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำ

    ให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่

    ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่ายเป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนี

    โดยเบื้องขวา นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านประกอบด้วย

    ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียะนั้นๆ สามารถทำสามารถจัดในกรณียกิจใหญ่

    น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญา

    เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อย

    ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความ

    ปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนใคร่ในธรรมเจรจาน่ารัก มีความ

    ปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรบิณฑบาต

    เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่

    ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้

    ตามมีตามได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม

    เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรม

    ที่เป็นกุศล ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง

    กุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีเรี่ยวแรงมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล นี้ก็เป็น

    นาถกรณธรรม ฯ

    ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญา

    เครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้

    ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่าง

    ยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    ๑๐. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา

    ที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ผู้มี

    อายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ

    อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    [๓๕๘] กสิณายตนะ [แดนกสิณ] ๑๐ อย่าง
    ๑. ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณ

    มิได้

    ๒. ผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณ

    มิได้

    ๓. ผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณ

    มิได้

    ๔. ผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณ

    มิได้

    ๕. ผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณ

    มิได้

    ๖. ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณ

    มิได้

    ๗. ผู้หนึ่งย่อมจำโลหิตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณ

    มิได้

    ๘. ผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณหา

    มิได้

    ๙. ผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณ

    มิได้

    ๑๐. ผู้หนึ่งย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ

    หาประมาณมิได้

    [๓๕๙]อกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง
    ๑. ปาณาติบาต [การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป]

    ๒. อทินนาทาน [การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้]

    ๓. กาเมสุมิจฉาจาร [การประพฤติผิดในกาม]

    ๔. มุสาวาท [พูดเท็จ]

    ๕. ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด]

    ๖. ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ]

    ๗. สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ]

    ๘. อภิชฌา [ความโลภอยากได้ของเขา]

    ๙. พยาบาท [ความปองร้ายเขา]

    ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ [ความเห็นผิด]

    [๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง
    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตก

    ล่วงไป]

    ๒. อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้า

    ของมิได้ให้]

    ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม]

    ๔. มุสาวาทา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ]

    ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด]

    ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ]

    ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ]

    ๘. อนภิชฌา [ความไม่โลภอยากได้ของเขา]

    ๙. อัพยาบาท [ความไม่ปองร้ายเขา]

    ๑๐. สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ]

    [๓๖๑] อริยวาส ๑๐ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

    ๑. เป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว

    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก

    ๓. เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง

    ๔. เป็นผู้มีที่พิงสี่

    ๕. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว

    ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละแล้วโดยชอบ

    ๗. เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว

    ๘. เป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ

    ๙. เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว

    ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกามฉันทะอันละได้ขาดแล้ว

    มีความพยาบาทอันละได้ขาดแล้ว มีถีนมิทธะอันละได้ขาดแล้ว มิอุทธัจจกุกกุจจะอันละได้

    ขาดแล้ว มีวิจิกิจฉาอันละได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีองค์

    ห้าอันละได้ขาดแล้ว ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้วเป็นผู้ไม่ดีใจ

    ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหูแล้วเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ

    เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้

    วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย

    มีสติสัมปชัญญะอยู่ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย

    มีสติสัมปชัญญะอยู่ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติ
    สัมปชัญญะอยู่ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยใจอันมีสติเป็นเครื่อง

    อารักขา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีที่พิงสี่ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณา

    แล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่งพิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง

    ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีที่พิงสี่ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทา

    เสียแล้ว ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัจจะเฉพาะอย่างเป็นอันมากของสมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก

    ย่อมเป็นของอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เบาบรรเทาเสียแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละ

    สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่าง

    อันบรรเทาเสียแล้ว ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละแล้วโดยชอบ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีการแสวงหากามอันละได้ขาดแล้ว

    มีการแสวงหาภพอันละได้ขาดแล้ว มีการแสวงหาพรหมจรรย์อันสละคืนแล้ว ผู้มีอายุ

    ทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละแล้วโดยชอบ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละความดำริในทางกามได้ขาดแล้ว

    เป็นผู้ละความดำริในทางพยาบาทได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดำริในทางเบียดเบียนได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุ
    ทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

    เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุกเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์

    ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตพ้นแล้วจากราคะมีจิตพ้นแล้วจาก

    โทสะ มีจิตพ้นแล้วจากโมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดี

    แล้ว ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะอันเราละได้แล้ว

    ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้วทำให้เป็นของไม่มีแล้ว

    มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้วถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้

    เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

    โมหะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้

    เป็นของไม่มีแล้วมีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า

    เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ

    [๓๖๒] อเสกขธรรม ๑๐ อย่าง
    ๑. ความเห็นชอบที่เป็นของพระอเสขะ

    ๒. ความดำริชอบที่เป็นของพระอเสขะ

    ๓. เจรจาชอบที่เป็นของพระอเสขะ

    ๔. การงานชอบที่เป็นของพระอเสขะ

    ๕. การเลี้ยงชีวิตชอบที่เป็นของพระอเสขะ

    ๖. ความเพียรชอบที่เป็นของพระอเสขะ

    ๗. ความระลึกชอบที่เป็นของพระอเสขะ

    ๘. ความตั้งใจชอบที่เป็นของพระอเสขะ

    ๙. ความรู้ชอบที่เป็นของพระอเสขะ

    ๑๐. ความหลุดพ้นชอบที่เป็นของพระอเสขะ ฯ

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้

    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด

    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกัน การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อ

    ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมากเพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล

    เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    จบ หมวด ๑๐
    _______________
    [๓๖๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้วตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดีละ
    ดีละ สารีบุตร ดูกรสารีบุตร เธอได้ภาษิตสังคีติปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นการดีแล้ว

    ดังนี้ ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุ

    เหล่านั้นต่างดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้ว ดังนี้แล ฯ

    จบ สังคีติสูตร ที่ ๑๐
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ - พราหมณวรรค - ๗. ธนัญชานิสูตร

    [พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

    ๗. ธนัญชานิสูตร
    เรื่องธนัญชานิพราหมณ์
    [๖๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขต
    พระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบท พร้อมด้วย

    ภิกษุหมู่ใหญ่. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ ได้เข้าไปหาท่านพระ

    สารีบุตรถึงทักขิณาคีรีชนบท ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก

    ถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

    [๖๗๓] ท่านพระสารีบุตรได้ถามภิกษุนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
    พระประชวร และยังทรงพระกำลังอยู่หรือ?

    ภิกษุนั้นกราบเรียนว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพระประชวรและยังทรงพระกำลังอยู่ ท่าน
    ผู้มีอายุ.

    สา. ท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่หรือ?
    ภิ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์อยู่ที่ใกล้ประตูตัณฑุลปาละ ในพระนครราชคฤห์
    นั้น เขาไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่หรือ?

    ภิ. แม้ธนัญชานิพราหมณ์ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ยังเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ?
    ภิ. ที่ไหนได้ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ของเราจะไม่ประมาท เขาอาศัยพระราชา
    เที่ยวปล้นพวกพราหมณ์และคฤหบดี อาศัยพวกพราหมณ์และคฤหบดีปล้นพระราชา ภรรยาของ

    เขาผู้มีศรัทธา ซึ่งนำมาจากสกุลที่มีศรัทธา ทำกาละเสียแล้ว เขาได้หญิงอื่นมาเป็นภรรยาหา

    ศรัทธามิได้ เขานำมาจากสกุลที่ไม่มีศรัทธา.

    สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ เราได้ฟังว่าธนัญชานิพราหมณ์เป็นผู้ประมาท เป็นอันได้ฟังชั่วหนอ
    ทำไฉน เราจะพึงได้พบกับธนัญชานิพราหมณ์บางครั้งบางคราว ทำไฉน จะพึงได้เจรจาปราศรัย

    กันสักน้อยหนึ่ง?

    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ในทักขิณาคิรีชนบทตามควรแล้ว จึงหลีกจาริกไปทาง
    พระนครราชคฤห์ เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้ถึงพระนครราชคฤห์แล้ว.

    [๖๗๔] ได้ยินว่า สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป
    สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร

    เข้าไปยังพระนครราชคฤห์. สมัยนั้น ธนัญชานิพราหมณ์ใช้คนให้รีดนมโคอยู่ที่คอกโค ภายนอก

    พระนคร. ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาต

    แล้ว เข้าไปหาธนัญชานิพราหมณ์ถึงที่อยู่. ธนัญชานิพราหมณ์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังมา

    แต่ไกล จึงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร แล้วได้กล่าวว่า นิมนต์ดื่มน้ำนมสดทางนี้เถิด ท่านสารีบุตร

    ท่านยังมีเวลาฉันอาหาร.

    สา. อย่าเลยพราหมณ์ วันนี้ฉันทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ฉันจักพักกลางวันที่โคนต้นไม้โน้น
    ท่านพึงมาในที่นั้น ธนัญชานิพราหมณ์รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ครั้งนั้น ธนัญชานิพราหมณ์

    บริโภคอาหารเวลาเช้าเสร็จแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร

    ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

    การประพฤติไม่ชอบธรรม
    [๖๗๕] ท่านพระสารีบุตรได้ถามว่า ดูกรธนัญชานิ ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ?
    ธนัญชานิพราหมณ์ได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ที่ไหนข้าพเจ้าจะไม่ประมาท เพราะ
    ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงมารดาบิดา ต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ต้องเลี้ยงพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้

    ต้องทำกิจสำหรับมิตรและอำมาตย์ แก่มิตรและอำมาตย์ ต้องทำกิจสำหรับญาติสาโลหิต แก่ญาติ

    สาโลหิต ต้องทำกิจสำหรับแขกแก่แขก ต้องทำบุญที่ควรทำแก่ปุพเปตชนส่งไปให้ปุพเปตชน

    ต้องทำการบวงสรวงแก่พวกเทวดา ต้องทำราชการให้แก่หลวง แม้กายนี้ก็ต้องให้อิ่มหนำ

    ต้องให้เจริญ.

    [๖๗๖] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบิดามารดา นายนิริยบาลจะพึง

    ฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขา

    จะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่าเราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุ

    แห่งมารดาบิดา ขอนายนิริยบาลอย่างพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้

    ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย

    ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนลงในนรกจนได้.

    [๖๗๗] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา นายนิริยบาล

    จะพึงฉุดคร่าผู้นั้นไปนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขา

    จะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา

    ขอนายนิริยบาลอย่างพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าบุตรหรือภรรยาของผู้นั้น จะพึงได้ตามความ

    ปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนาย

    นิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนลงในนรกจนได้.

    [๖๗๘] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจข้อความนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ นายนิริยบาล

    จะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม

    เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม

    เพราะเหตุแห่งทาส กรรมกรและคนรับใช้ ขอนายนิริยบาลอย่างพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่า

    พวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม

    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

    [๖๗๙] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ นายนิริยบาลจะพึง

    ฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขา

    จะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม

    เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่ามิตรและ

    อำมาตย์ของเขาพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม

    เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

    [๖๘๐] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่า

    เขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้

    ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

    ญาติสาโลหิต ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าญาติสาโลหิตของเขาจะพึงได้

    ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย

    ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

    [๖๘๑] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้น

    ไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความ

    ปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก

    ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าแขกของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า

    ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึง

    ฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

    [๖๘๒] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่า

    เขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้

    ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

    ปุพเปตชน ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าปุพเปตชนของเขาจะพึงได้ตาม

    ความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย

    ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

    [๖๘๓] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่า

    เขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้

    ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา

    ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าเทวดาของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า

    ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึง

    ฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

    [๖๘๔] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่า

    เขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้

    ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

    พระราชา ขอนายนิริยบาลอย่างพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าพระราชาของผู้นั้นจะพึงได้ตาม

    ความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอ

    นายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

    [๖๘๕] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย

    นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและ

    ประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม

    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุการทำนุบำรุงกาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึง

    ฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าชนเหล่าอื่นของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่

    ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย ขอนายนิริยบาล

    อย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?

    ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล
    ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

    [๖๘๖] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่
    ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติ

    ถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ผู้ที่ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุ
    แห่งมารดาบิดา ไม่ประเสริฐ ส่วนผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่ง

    มารดาบิดา ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่า

    การประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล
    อาจเลี้ยงมารดาบิดาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

    [๖๘๗] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม

    เพราะเหตุบุตรและภรรยา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะ
    เหตุแห่งบุตรและภรรยา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะ

    เหตุแห่งบุตรและภรรยา ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม

    ประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรม และการประพฤติผิดธรรม.

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล
    อาจเลี้ยงบุตรและภรรยาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

    [๖๘๘] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ กับบุคคลผู้ประพฤติชอบ

    ธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ ไหนจะประเสริฐ

    กว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะ
    เหตุแห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม

    ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ ประเสริฐ ด้วยว่า การ

    ประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรมและการ

    ประพฤติผิดธรรม.

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล
    อาจเลี้ยงพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ได้ ไม่ต้องกระทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทา

    อันเป็นบุญได้ มีอยู่.

    [๖๘๙] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม และประพฤติ

    ถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะ
    เหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม

    เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูก

    ธรรม ประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล
    อาจทำกรณียกิจแก่มิตรและอำมาตย์ได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็น

    บุญได้ มีอยู่.

    [๖๙๐] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม

    เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะ
    เหตุแห่งญาติสาโลหิต ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะ

    เหตุแห่งญาติสาโลหิต ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม

    ประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล
    อาจทำกรณียกิจแก่ญาติสาโลหิตได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้

    มีอยู่.

    [๖๙๑] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะ

    เหตุแห่งแขก ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะ
    เหตุแห่งแขก ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม ประเสริฐ

    ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรม

    และการประพฤติผิดธรรม.

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจ
    ทำกรณียกิจแก่แขกได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

    [๖๙๒] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม
    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม

    เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะ
    เหตุแห่งปุพเปตชน ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม ประเสริฐ

    ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรม

    และการประพฤติผิดธรรม.

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล
    อาจทำกรณียกิจแก่ปุพเปตชนได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้

    มีอยู่.

    [๖๙๓] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะ

    เหตุแห่งเทวดา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุ
    แห่งเทวดา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่ง

    เทวดา ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่า

    การประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล
    อาจทำกรณียกิจแก่เทวดาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

    [๖๙๔] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบ
    ธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูก

    ธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะ
    เหตุแห่งพระราชา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุ

    แห่งพระราชา ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐ

    กว่า การประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล
    อาจทำกรณียกิจแห่งพระราชาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้

    มีอยู่.

    การประพฤติชอบธรรมประเสริฐ
    [๖๙๕] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
    ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย กับบุคคลผู้ประพฤติชอบ

    ธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุการทำนุบำรุงกาย ไหนจะประเสริฐ

    กว่ากัน?

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะ
    เหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประ

    พฤติถูกธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติ

    ชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติ

    ผิดธรรม.

    สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล
    อาจเลี้ยงกาย ทำนุบำรุงกายได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้

    มีอยู่.

    ครั้งนั้นแล ธนัญชานิพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตร ลุกจาก
    อาสนะหลีกไปแล้ว.

    ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ
    [๖๙๖] ครั้นสมัยต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์เป็นผู้อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก. จึง
    จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาว่า บุรุษผู้เจริญ มานี่เถิดท่าน ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

    จงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

    ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค

    ด้วยเศียรเกล้า และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วจงไหว้เท้าพระสารีบุตรตามคำ

    ของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้เท้า

    ท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และจงเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอ

    โอกาส ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์เถิด.

    [๖๙๗] บุรุษนั้นรับคำธนัญชานิพราหมณ์แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

    ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาทของพระ

    ผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระสารีบุตรแล้ว

    นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้เรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิ

    พราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้เท้าของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และ

    สั่งมาอย่างนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์

    เข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์เถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ.

    พระสารีบุตรเข้าไปเยี่ยม
    [๖๙๘] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของ
    ธนัญชานิพราหมณ์ แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. ได้ถามธนัญชานิพราหมณ์ว่า ดูกรธนัญชานิ

    ท่านยังพอทนได้หรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา ค่อยถอยลงไม่เจริญขึ้นหรือ

    อาการปรากฏค่อยคลายไม่ทวีขึ้นหรือ?

    [๖๙๙] ธนัญชานิพราหมณ์กราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทนไม่ไหว
    จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวี

    ยิ่งขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาเหล็กแหลม

    คมกดศีรษะ ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นแล ลมเสียดแทงศีรษะกล้านัก ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร

    ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้น ไม่ถอย

    เลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้นไม่ลดถอย เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเอาเส้นเชือกที่เขม็งมัดรัดศีรษะ

    ฉันใด เวทนาในศีรษะของข้าพเจ้าก็เหลือทนฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไป

    ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย

    ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เปรียบเหมือนนายโคฆาต หรือลูกมือนายโคฆาตคนขยัน เอามีดสำหรับ

    เชือดเนื้อโคอันคมมาเชือดท้องฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น ลมเสียดท้องกล้านัก ข้าพเจ้าทนไม่ไหว

    จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญยิ่งขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏ

    อาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับ

    บุรุษมีกำลังน้อยกว่าคนละแขน รมย่างไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด ในกายของข้าพเจ้าก็ร้อน

    เหมือนกัน ฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้า

    นัก ทวีขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย.

    ว่าด้วยทุคติ-สุคติภูมิ
    [๗๐๐] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน นรกกับกำเนิดสัตว์
    ดิรัจฉาน ไหนจะดีกว่ากัน?

    ธ. กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานดีกว่านรก ท่านพระสารีบุตร.
    สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานกับปิตติวิสัย
    ไหนจะดีกว่ากัน?

    ธ. ปิตติวิสัยดีกว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ท่านพระสารีบุตร.
    สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ปิตติวิสัยกับมนุษย์ ไหนจะดี
    กว่ากัน?

    ธ. มนุษย์ดีกว่าปิตติวิสัย ท่านพระสารีบุตร.
    สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน มนุษย์กับเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
    ไหนจะดีกว่ากัน?

    ธ. เทวดาชั้นจาตุมมหาราชดีกว่ามนุษย์ ท่านพระสารีบุตร.
    สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นจาตุมมหาราชกับเทวดา
    ชั้นดาวดึงส์ ไหนจะดีกว่ากัน?

    ธ. เทวดาชั้นดาวดึงส์ดีกว่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ท่านพระสารีบุตร.
    สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดาวดึงส์กับเทวดา
    ชั้นยามา ไหนจะดีกว่ากัน?

    ธ. เทวดาชั้นยามาดีกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท่านพระสารีบุตร.
    สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นยามากับเทวดาชั้น
    ดุสิต ไหนจะดีกว่ากัน?

    ธ. เทวดาชั้นดุสิตดีกว่าเทวดาชั้นยามา ท่านพระสารีบุตร.
    สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดุสิตกับเทวดาชั้น
    นิมมานรดี ไหนจะดีกว่ากัน?

    ธ. เทวดาชั้นนิมมานรดีดีกว่าเทวดาชั้นดุสิต ท่านพระสารีบุตร.
    สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นนิมมานรดีกับเทวดา
    ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ไหนจะดีกว่ากัน?

    ธ. เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีดีกว่าเทวดาชั้นนิมมานรดี ท่านพระสารีบุตร.
    สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีกับ
    พรหมโลก ไหนจะดีกว่ากัน?

    ธ. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า พรหมโลก ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า พรหมโลก
    หรือ?

    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความดำริว่า พราหมณ์เหล่านี้ น้อมใจไปในพรหมโลก
    ถ้ากระไร เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหมแก่ธนัญชานิพราหมณ์เถิด ดังนี้ แล้วจึง

    กล่าวว่า ดูกรธนัญชานิ เราจักแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี

    เราจักกล่าว. ธนัญชานิพราหมณ์รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

    [๗๐๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรธนัญชานิ ก็ทางเพื่อความเป็นสหายกับ
    พรหมเป็นไฉน ดูกรธนัญชานิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่ง

    อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง

    แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอัน

    ประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน

    อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม ดูกรธนัญชานิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจ

    ประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่.

    ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไป

    ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบ

    ด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    นี้แล เป็นทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม.

    ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค
    ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์

    เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า.

    [๗๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลก
    ชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป. ทันใดนั้น เมื่อท่าน

    พระสารีบุตรหลีกไปไม่นาน ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละแล้วไปบังเกิดยังพรหมโลก. ครั้งนั้น

    พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรนี้ได้ประดิษฐาน

    ธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจาก

    อาสนะหลีกไป.

    [๗๐๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

    ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค

    ด้วยเศียรเกล้า.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ทำไมเธอจึงประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ใน
    พรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อมีกิจอันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไปเล่า?

    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า พราหมณ์เหล่านี้น้อมใจ
    ไปในพรหมโลก ถ้ากระไร เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหมแก่ธนัญชานิพราหมณ์

    เถิด ดังนี้ พระเจ้าข้า.

    พ. ดูกรสารีบุตร ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว ฉะนี้แล.
    จบ ธนัญชานิสูตร ที่ ๗.
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง
    [๓๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอานาถ

    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ. ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว.

    พระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งแห่งสัตว์
    ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการประชุมลงในรอยเท้าช้าง

    รอยเท้าช้างชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นของใหญ่

    แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

    ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในอริยสัจสี่ ฉันนั้นเห็นเหมือนกันแล. ในอริยสัจสี่เหล่าไหน? คือ ใน

    ทุกขอริยสัจ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ ในทุกขนิโรธอริยสัจ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

    [๓๔๑] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? คือ แม้ความเกิดเป็นทุกข์
    แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความ

    ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ แม้ความที่ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ

    อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์ห้าเป็นไฉน? คืออุปทานขันธ์

    คือ รูป อุปทานขันธ์คือเวทนา อุปทานขันธ์คือสัญญา อุปทานขันธ์คือสังขาร อุปทานขันธ์คือ

    วิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์คือรูปเป็นไฉน? คือ มหาภูตรูป ๔ และรูป

    ที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มหาภูตรูป ๔ เป็นไฉน? คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ

    เตโชธาตุ วาโยธาตุ.

    ปฐวีธาตุ
    [๓๔๒] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปฐวีธาตุเป็นไฉน? คือ ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายใน
    ก็มี ปฐมวีธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปภายในเป็น

    ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็น

    ของหยาบ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม

    หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

    ซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของ

    หยาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ เป็นไปภายใน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปฐวีธาตุอันใด

    แล เป็นไปภายใน และปฐวีธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั่นเป็นปฐวีธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็น

    ปฐวีธาตุนั้น นั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น

    นั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. บัณฑิตครั้นเห็นปฐวีธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

    อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ. ดูกรท่านผู้มี

    อายุทั้งหลาย สมัยที่ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้แล ในสมัยนั้น ปฐวีธาตุ

    อันเป็นภายนอกจะเป็นของอันตรธานไป. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าความที่แห่ง

    ปฐวีธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็น

    ของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็น

    ของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้ว ว่าเรา

    ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็น

    ธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่

    ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิในปฐวีธาตุ อันเป็นภายใน

    นั้นจะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะด่า จะตัดเพ้อ กระทบ

    กระเทียบ จะเบียดเบียน ภิกษุนั้นไซร้. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่

    โสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกขเวทนานั้นแล อาศัยเหตุจึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมี

    ไม่ได้ ทุกขเวทนานี้ อาศัยอะไรจึงมีได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงมีได้. ภิกษุนั้น ย่อมเห็นว่า

    ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า เวทนาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สัญญาเป็นของไม่เที่ยง

    ย่อมเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง จิตอันมี

    ธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียวของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเสื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อม

    หลุดพ้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการ

    ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ คือด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหาร

    ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศาตราบ้าง. ภิกษุนั้นย่อมรู้

    ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพเป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการ

    ประหารก้อนดินบ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหาร

    ด้วยศาตราบ้าง. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูกร

    ภิกษุทั้งหลาย แม้หากว่า พวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดทอนอวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายด้วย

    เลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้าย ในพวกโจร แม้นั้น ย่อมไม่เป็นผู้เชื่อว่า

    ทำตามคำสั่งสอนของเราด้วยเหตุนั้น ดังนี้. อนึ่ง ความเพียรอันเราปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติ

    ไม่ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้ว จักเป็นคุณชาติไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว

    จักเป็นสภาพไม่กระวนกระวาย จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว

    คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยก้อนดินทั้งหลาย

    จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้ทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหาร

    ด้วยศาตราทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี ตามทีเถิด คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ เราจะ

    ทำให้จงได้ ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้

    ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมไม่

    ตั้งอยู่พร้อมได้. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ

    ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่

    อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม

    ไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว ย่อมสลดใจ ย่อมถึง

    ความสลดใจ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้

    ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ไม่ตั้งอยู่

    ได้ด้วยดี. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ

    ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า

    อยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย

    กุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้. ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า

    เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่

    อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจ

    เพราะเหตุนั้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี

    พระภาคเป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.

    อาโปธาตุ
    [๓๔๓] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุเป็นไฉน? คือ อาโปธาตุที่เป็นไปภายใน
    ก็มี อาโปธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุที่เป็นไปภายในเป็น

    ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายในเป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ ถึงความ

    เอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก

    ไขข้อ น้ำมูตร ก็หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน

    เป็นของเอิบอาบ ถึงความเป็นของเอิบอาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาโปธาตุเป็นไปภายใน. ดูกร

    ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และอาโปธาตุอันใด เป็นไปภายนอก

    นั้นเป็นอาโปธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

    อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. ครั้นเห็นอาโปธาตุนั่น ด้วย

    ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย

    กำหนัดในอาโปธาตุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่อาโปธาตุ ที่เป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อม

    จะมีได้แล อาโปธาตุ อันเป็นภายนอกนั้น ย่อมพัดเอาบ้านไปบ้าง พัดเอานิคมไปบ้าง พัดเอา

    เมืองไปบ้าง พัดเอาชนบทไปบ้าง ย่อมพัดเอาประเทศแห่งชนบทไปบ้าง. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

    สมัยที่น้ำในมหาสมุทรย่อมลึกลงไปร้อยโยชน์บ้าง สองร้อยโยชน์บ้าง สามร้อยโยชน์บ้าง

    สี่ร้อยโยชน์บ้าง ห้าร้อยโยชน์บ้าง หกร้อยโยชน์บ้าง เจ็ดร้อยโยชน์บ้าง ย่อมมีได้แล. ดูกร

    ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่เจ็ดชั่วลำตาลบ้าง หกชั่วลำตาลบ้าง ห้าชั่ว

    ลำตาลบ้าง สี่ชั่วลำตาลบ้าง สามชั่วลำตาลบ้าง สองชั่วลำตาลบ้าง ชั่วลำตาลหนึ่งบ้าง ย่อมมี

    ได้แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ ได้เจ็ดชั่วบุรุษบ้าง หกชั่วบุรุษ

    บ้าง ห้าชั่วบุรุษบ้าง สี่ชั่วบุรุษบ้าง สามชั่วบุรุษบ้าง สองชั่วบุรุษบ้าง ประมาณชั่วบุรุษหนึ่ง

    บ้าง ย่อมมีได้แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ กึ่งชั่วบุรุษบ้าง

    ประมาณเพียงสะเอวบ้าง ประมาณเพียงเข่าบ้าง ประมาณเพียงข้อเท้าบ้าง ย่อมมีได้แล. ดูกร

    ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำแม้ประมาณพอเปียกข้อนิ้วมือจะไม่มีในมหาสมุทร ก็ย่อมมีได้

    แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ความที่แห่งอาโปธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งมากถึง

    เพียงนั้นเป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความ

    เป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏ

    ได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่

    ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความ

    เสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้

    ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิ ในอาโปธาตุอันเป็นภายนอกนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้น

    เลย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง

    พระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดี

    ไซร้ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณ

    เท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.

    [๓๔๔] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุเป็นไฉน? คือ เตโชธาตุที่เป็นไปภายใน
    ก็มี เตโชธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุที่เป็นไปภายในเป็น

    ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน ถึง

    ความเป็นของเร่าร้อน คือ สิ่งที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย สิ่งที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย

    สิ่งที่เป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย สิ่งที่เป็นเครื่องถึงความแปรปรวนไปด้วยดีแห่งของที่กินแล้ว

    ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน

    เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน ถึงความเป็นของเล่าร้อน อย่างอื่น นี้เรียกว่า เตโชธาตุ

    อันเป็นไปภายใน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และเตโชธาตุ

    อันใด เป็นภายนอก นั่นเป็นเตโชธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบ

    ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นของเรา. บัณฑิต

    ครั้นเห็นเตโชธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายใน

    เตโชธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย กำหนัดในเตโชธาตุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัย

    ที่เตโชธาตุอันเป็นไปภายนอก กำเริบ ย่อมจะมีได้แล เตโชธาตุอันเป็นภายนอกนั้น ย่อม

    ไหม้บ้านบ้าง ย่อมไหม้บ้านเมืองบ้าง ย่อมไหม้นิคมบ้าง ย่อมไหม้ชนบทบ้าง ย่อมไหม้ประเทศ

    แห่งชนบทบ้าง. เตโชธาตุอันเป็นภายนอกนั้นมาถึงหญ้าสด หนทาง ภูเขา น้ำ หรือภูมิภาค

    อันเป็นที่รื่นรมย์ ไม่มีเชื้อ ย่อมดับไปเอง. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่ชนทั้งหลายแสวง

    หาไฟด้วยขนไก่บ้าง ด้วยการขูดหนังบ้าง ย่อมมีได้แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่า

    ความที่แห่งเตโชธาตุ อันเป็นไปภายนอกนั้นซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นเป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้

    ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้

    ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือ

    เอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็น

    ของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวน

    ไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะ

    และทิฏฐิในเตโชธาตุนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุ

    นั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้

    อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านั้นแล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอัน

    ภิกษุทำให้มากแล้ว.

    วาโยธาตุ
    [๓๔๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุเป็นไฉน? คือ วาโยธาตุที่เป็นไปภายใน
    ก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุที่เป็นไปภายในเป็น

    ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึง

    ความเป็นของพัดไปมา คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่

    ในลำไส้ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็หรือสิ่งใด

    สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึงความ

    เป็นของพัดไปมา อย่างอื่น นี้เรียกว่า วาโยธาตุเป็นไปภายใน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

    ก็วาโยธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และวาโยธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั่นเป็น

    วาโยธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

    นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. บัณฑิตครั้นเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วย

    ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย

    กำหนัดในวาโยธาตุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่วาโยธาตุอันเป็นไปภายนอกกำเริบ

    ย่อมจะมีได้แล วาโยธาตุอันเป็นภายนอกนั้น ย่อมพัดเอาบ้านไปบ้าง ย่อมพัดเอานิคมไป

    บ้าง ย่อมพัดเอานครไปบ้าง ย่อมพัดเอาชนบทไปบ้าง ย่อมพัดเอาประเทศแห่งชนบท

    ไปบ้าง. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่ชนทั้งหลาย แสวงหาลมด้วยพัดใบตาลบ้าง ด้วย

    พัดสำหรับพัดไฟบ้าง ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน แม้ในที่ชายคา หญ้าทั้งหลายก็ไม่ไหว ย่อม

    มีได้แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าความที่แห่งวาโยธาตุ อันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่ง

    ใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้

    ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรา

    กฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้ายึดถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้ง

    อยู่ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็น

    ของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อ

    เป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิในวาโยธาตุนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะด่า จะตัดพ้อ จะกระทบกระเทียบ จะ

    เบียดเบียนภิกษุนั้นไซร้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัสนี้

    เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกขเวทนานั้นแล อาศัยเหตุพึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้

    ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไร จึงมีได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยผัสสะ จึงมีได้. ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า

    ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า เวทนาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สัญญาเป็นของ

    ไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง

    จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียวของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี

    ย่อมหลุดพ้น.

    การทำตามพระโอวาท
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่า
    ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือ ด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วย

    ก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศาตราบ้าง. ภิกษุนั้น

    ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพเป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง เป็นที่เป็น

    ไปแห่งการประหารด้วยก้อนดินบ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็น

    ไปแห่งการประหารด้วยศาตราบ้าง. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาท อันเปรียบ

    ด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดทอนอวัยวะ

    ใหญ่น้อยทั้งหลาย ด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในพวกโจรแม้

    นั้น. ย่อมไม่เป็นผู้ชื่อว่าทำตามคำสอนของเราด้วยเหตุนั้น ดังนี้. อนึ่ง ความเพียรอันเรา

    ปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติไม่ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้ว จักเป็นคุณชาติไม่หลงลืม

    กายอันเราให้สงบแล้ว จักเป็นสภาพไม่กระวนกระวาย จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็น

    ธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลาย จงเป็นไปใน

    กายนี้ก็ดี การประหารด้วยก้อนดินทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้

    ทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยศาตราทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี

    ตามทีเถิด คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้เราจะทำให้จงได้ ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

    หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง

    พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้พร้อม. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ

    ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่

    ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราแล้วหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง

    พระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี

    ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ

    แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึก

    ถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ไม่ตั้งอยู่ได้

    ด้วยดี. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ

    ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธ

    เจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย

    กุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

    หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์

    อย่างนี้ อุเบกขาอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุ

    ทำให้มากแล้ว.

    ผู้เห็นธรรม
    [๓๔๖] ดูกรท่านมีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้และอาศัยเถาวัลย์ ดินเหนียวและหญ้า
    แวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า เป็นเรือนฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยกระดูก

    และอาศัยเอ็นเนื้อและหนังแวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า รูป ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่าน

    ผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า จักษุอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และรูปทั้งหลาย

    อันเป็นภายนอกย่อมไม่มาสู่คลองจักษุ ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นก็ไม่มี ความ

    ปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้ง

    หลาย หากว่า จักษุอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็น

    ภายนอก ย่อมมาสู่คลองจักษุ แต่ความกำหนดอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้นไม่มี ความปรากฏ

    แห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้นก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

    แต่ว่าในกาลใดแลจักษุอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกไม่ทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็น

    ภายนอก ย่อมมาสู่คลองจักษุ ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปก็ย่อมมีในกาลนั้น ความ

    ปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. รูปแห่ง

    สภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ รูป

    เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์

    คือ เวทนา สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์

    ในอุปาทานขันธ์ คือ สัญญา สังขารแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นเหล่าใด สังขารเหล่านั้น ย่อม

    ถึงความสงเคราะห์ในอุปาทาน คือ สังขาร วิญญาณแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้น

    ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า

    การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ ด้วยประ

    การอย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อ

    ว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด

    อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล. ความพอใจความอาลัย ความยินดี ความ

    ชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความกำหนัดด้วย

    สามารถความพอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด

    อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล. คำสอนของ

    พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า โสตะอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกทำลาย
    แล้ว ฯลฯ

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ฆานะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย
    แล้ว ฯลฯ

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชิวหา อันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย
    แล้ว ฯลฯ

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า กายอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย
    แล้ว ฯลฯ

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย
    แล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่มาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิด

    แต่มนะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและ

    ธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภาย

    ใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมมาสู่คลอง

    แต่ความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอัน

    เกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่ว่าในกาลใด

    แล มนะอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภาย

    นอก ย่อมมาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ย่อมมี ในกาล

    นั้น ความปรากฏแห่งส่วนแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ย่อมมีได้

    ด้วยอาการอย่างนี้. รูปแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ใน

    อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้น ย่อมถึงความ

    สงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือเวทนา สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้น

    ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา สังขารทั้งหลายแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้น

    เหล่าใด สังขารเหล่านั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร วิญญาณ

    แห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์

    คือวิญญาณ. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม

    หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ ด้วยประการอย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค

    ได้ตรัสพระพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น

    ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ชื่อว่า

    ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล. ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบ ในอุปาทาน

    ขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนี้ชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ

    การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันใด อันนั้นชื่อว่า

    ทุกขนิโรธแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี

    พระภาค เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.

    ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิต
    ของท่านพระสารีบุตรแล้วแล.

    จบ. มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ฉันโนวาทสูตร
    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทาน

    เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ

    และท่านพระฉันนะ อยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ เฉพาะท่านพระฉันนะอาพาธ ทนทุกขเวทนา เป็น

    ไข้หนัก ฯ

    [๗๔๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่าน
    พระมหาจุนทะยังที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่าดูกรท่านจุนทะ มาเถิด เรา

    จะเข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ ไต่ถามถึงความไข้ท่านพระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตร

    แล้ว ต่อนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่าน พระมหาจุนทะ ได้เข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ แล้ว

    ทักทายปราศรัยกับท่าน พระฉันนะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ

    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระฉันนะ ดังนี้ว่า
    ดูกรท่านฉันนะ ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏความทุเลา

    เป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบหรือ ฯ

    ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกข เวทนาของกระผม
    หนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏ ความทุเลาเลย ฯ

    [๗๔๓] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของกระผม เหมือน
    บุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อม ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนา

    ของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

    [๗๔๔] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะของกระผมอยู่ เหมือน
    บุรุษมีกำลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะอย่างมั่น ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว

    ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

    [๗๔๕] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของ กระผม เหมือนคน
    ฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด เอามีดแล่โคอันคมคว้าน ท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว

    เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนักกำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด

    ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ

    [๗๔๖] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ความร้อนในกายของกระผมเหลือประมาณ เหมือน
    บุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆแล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง

    ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหวทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา

    ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมจักหาศาตรา

    มาฆ่าตัว ไม่อยากจะได้เป็นอยู่เลย ฯ

    [๗๔๗] สา. ท่านฉันนะอย่าได้หาศาตรามาฆ่าตัวเลย จงเป็นอยู่ก่อนเถิด พวกเรายัง
    ปรารถนาให้ท่านฉันนะเป็นอยู่ ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะเป็นที่สบาย ผมจักแสวงหามาให้

    ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ผมจักแสวงหามาให้ถ้าท่านฉันนะไม่มีคนบำรุงที่สมควร

    ผมจักคอยบำรุงท่านเอง ท่านฉันนะอย่าได้หาศาตรามาฆ่าตัวเลย จงเป็นอยู่ก่อนเถิด พวกเรา

    ยังปรารถนาให้ท่านฉันนะเป็นอยู่ ฯ

    [๗๔๘] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่กระผมไม่มีโภชนะเป็นที่สบาย ไม่ใช่ไม่มี
    เภสัชเป็นที่สบาย ไม่ใช่ไม่มีคนบำรุงที่สมควร ก็แหละกระผมได้ปรนนิบัติพระศาสดามาตลอด

    กาลนาน ด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่พอพระทัย ความจริงการที่ภิกษุปรนนิบัติ

    พระศาสดาด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่พอพระทัย นั่นเป็นการสมควรแก่สาวก

    ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรขอท่านจงทรงจำไว้อย่างนี้ว่า ฉันนภิกษุจักหาศาตรามาฆ่าตัว อย่างมิให้

    ถูกตำหนิได้ ฯ

    สา. พวกเราจักขอถามปัญหาท่านฉันนะสักเล็กน้อย ถ้าท่านฉันนะเปิดโอกาสพยากรณ์
    ปัญญาได้ ฯ

    ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โปรดถามเถิด กระผมฟังแล้วจึงจักรู้ ฯ
    [๗๔๙] ดูกรท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุ
    วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราหรือ

    ท่านพิจารณาเห็นโสต โสตวิญญาณ ...
    ท่านพิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
    ท่านพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
    ท่านพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
    ท่านพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา
    นั่นอัตตาของเราหรือ ฯ

    ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณธรรมที่รู้ได้ด้วย
    จักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ

    กระผมพิจารณาเห็นโสต โสตวิญญาณ ...
    กระผมพิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
    กระผมพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
    กระผมพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
    กระผมพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่านั่นไม่ใช่ของเรา
    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ
    [๗๕๐] สา. ดูกรท่านฉันนะ ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ
    ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุ วิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ
    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ

    ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในโสต ในโสตวิญญาณ ...
    ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
    ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
    ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในกาย ในกายวิญญาณ ...
    ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในมโน มโนวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ ด้วยมโนวิญญาณ
    จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา
    ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ

    ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในจักษุ ในจักษุวิญญาณ
    ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ

    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ

    กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในโสต ในโสตวิญญาณ ...
    กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
    กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
    กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในกาย ในกายวิญญาณ ...
    กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ
    จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา
    ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ

    [๗๕๑] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าว กะท่านพระ
    ฉันนะดังนี้ว่า ดูกรท่านฉันนะ เพราะฉะนั้นแล ท่านควรใส่ใจคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคนั้น

    ไว้ตลอดกาลเนืองนิตย์แม้ดังนี้ว่า บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิ อาศัยอยู่แล้ว ย่อมมีความหวั่นไหว

    สำหรับผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ

    เมื่อมีความสงบ ก็ไม่มี ตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ เมื่อไม่มีตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ ก็ไม่มีการมาเกิด

    ไปเกิดเมื่อไม่มีการมาเกิดไปเกิด ก็ไม่มีจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ก็ไม่มีโลกนี้

    ไม่มีโลกหน้า ไม่มีระหว่างกลางทั้งสองโลก นี่แหละที่สุดแห่งทุกข์ ครั้นท่านพระสารีบุตร

    และท่านพระมหาจุนทะ กล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ หลีกไป ฯ

    [๗๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระฉันนะ เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ
    หลีกไปแล้วไม่นาน ได้หาศาตรามาฆ่าตัวเสียทันทีนั้น ท่านพระสารีบุตร จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

    พระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อย

    แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะหาศาตรามาฆ่าตัว

    เสียแล้ว ท่านจะมีคติ อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์ ความเป็นผู้ไม่ควรตำหนิต่อหน้า
    เธอแล้วมิใช่หรือ ฯ

    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระ ที่หมู่บ้านนั้น ท่าน
    พระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลคนที่คอยตำหนิอยู่ ฯ

    [๗๕๓] พ. ดูกรสารีบุตร ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และ สกุลที่คอยตำหนิ
    อยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ ดูกรสารีบุตร บุคคลใดแล

    ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่
    ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาคแล ฯ

    จบ ฉันโนวาทสูตร ที่ ๒
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    สัมมาทิฏฐิสูตร
    ว่าด้วยความเห็นชอบ
    [๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก

    เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น

    รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า

    สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป

    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน

    พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด

    ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น

    จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

    [๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
    อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า

    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่

    พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ

    พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า

    อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า

    ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด

    ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา

    เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ

    อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด

    ซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ

    ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง

    ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน

    แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

    [๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น

    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส

    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    อาหารวาร
    [๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร
    เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร

    ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่

    สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ

    ๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
    ๒ อาหาร คือ ผัสสะ
    ๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
    ๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]
    เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหา
    ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ

    เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่าน

    ผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึง

    ความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ

    มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์

    ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป

    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    [๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น

    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    สัจจวาร
    [๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น

    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ

    แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ

    สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน

    เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?

    ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน

    เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย

    ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ

    วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ

    คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...

    ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์

    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุ

    เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ

    เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ชรามรณวาร
    [๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น

    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    [๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา
    และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา

    และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชรา

    และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและ

    มรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่ง

    อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติ

    ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก

    แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ

    อันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา

    และมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ

    อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้

    ถึงความดับชราและมรณะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิด

    แห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ

    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ

    มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ชาติวาร
    [๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และ

    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่

    พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?

    ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ

    ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ

    เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ

    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล

    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ

    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ

    สัทธรรมนี้

    ภวาทิวาร
    [๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา

    ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

    ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓

    เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด

    ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...

    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด

    ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ

    ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    [๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปทาน เหตุเกิดแห่งอุปทาน ความดับอุปทาน

    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...

    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง

    ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน

    อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน

    ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ

    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน

    เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น

    ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ตัณหาทิวาร
    [๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา

    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...

    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ

    ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น

    ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น

    เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ

    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล

    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา

    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...

    มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    [๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ

    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่

    พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ

    เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่

    โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส

    เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา

    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ

    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ

    เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน

    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    [๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ

    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่

    พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ

    เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส

    กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ

    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ

    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ

    เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน

    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    [๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ

    แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า

    เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖

    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก

    ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี

    เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ

    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖

    เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ

    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ

    สัทธรรมนี้.

    นามรูปาทิวาร
    [๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป

    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...

    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ

    ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต

    รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป

    เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ

    ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทา

    ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง

    นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา

    นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    [๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ

    และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่

    พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ

    เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ

    ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ

    ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ

    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด

    แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ

    ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น

    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    สังขารวาร
    [๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ

    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่

    พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร

    เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร

    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ

    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร

    ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ขัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา

    ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก

    ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    อวิชชาวาร
    [๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา

    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...

    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ

    ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง

    ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด

    ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ

    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก

    รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ

    นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน

    ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    [๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น

    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส

    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    อาสววาร
    [๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ
    อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า

    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม

    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ

    เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ

    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ

    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ

    พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ

    เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ

    ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ

    มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน

    เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว

    ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี
    บุตรแล้วแล.

    จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙
    ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖
    นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕

    บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน

    ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว

    บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.

    ______________________
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,979
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ธรรมทายาทสูตร
    ว่าด้วยทายาทแห่งธรรม

    [๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
    เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ

    ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า พระเจ้าข้า ดังนี้.

    [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาท
    ของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ

    สาวกทั้งหลายของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท จะไม่พึงเป็นอามิสทายาท

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอจะพึงเป็นอามิสทายาทของเรา ไม่เป็นธรรมทายาทไซร้ ด้วย
    ความที่พวกเธอเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทนั้น ทั้งพวกเธอ ทั้งเราพึงถูกวิญญูชนติ

    เตียนได้ว่า พวกสาวกของพระศาสดาพากันเป็นอามิสทายาทไม่เป็นธรรมทายาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    เป็นธรรมทายาทของเราไม่เป็นอามิสทายาทไซร้ ด้วยความที่พวกเธอเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิส

    ถ้าพวกเธอพึง ทายาทนั้น ทั้งพวกเธอทั้งเราไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนว่า พวกสาวกของพวกเธอ

    พระศาสดาพากันเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท เพราะเหตุนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า

    ทำอย่างไรหนอสาวกทั้งหลายของเราพึงเป็นธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท.

    [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเราบริโภคเสร็จ อิ่มหนำสำราญเป็นอันดีเพียงพอแก่
    ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตของเรายังมีเหลืออยู่ อันจำต้องทิ้ง ในเวลานั้น ภิกษุสองรูปอัน

    ความหิวและความถอยกำลังครอบงำแล้วพากันมา เราพึงกล่าวกะเธอทั้งสองนั้นอย่างนี้ว่า ดูกร

    ภิกษุทั้งหลาย เราบริโภคเสร็จ อิ่มหนำสำราญเป็นอันดี เพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตนี้

    ของเรายังมีเหลืออยู่ อันจำต้องทิ้ง ถ้าเธอทั้งหลายหวังจะบริโภค ก็จงบริโภคเถิด ถ้าเธอทั้งหลาย

    จักไม่บริโภค เราทิ้งเสียในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือจักเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้

    ภิกษุสองรูปนั้น รูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จอิ่มหนำสำราญ
    เป็นอันดี เพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคนี้ยังมีเหลืออยู่ อันจำต้อง

    ทิ้ง ถ้าเราทั้งหลายจักไม่บริโภค พระพระผู้มีภาคก็จักทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือจักทรง

    เทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวก

    เธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย ก็บิณฑบาตนี้เป็นอามิสอย่างใดอย่าง

    หนึ่ง อย่ากระนั้นเลย เราไม่พึงบริโภคบิณฑบาตนี้ พึงยังคืนและวันนี้ให้ล่วงไปอย่างนี้ด้วยความ

    หิวและความถอยกำลังนี้แหละ เธอจึงไม่บริโภคบิณฑบาตนั้น แล้วยังคืนและวันนั้นให้ล่วงไป

    อย่างนี้ ด้วยความหิวและความถอยกำลังนั้นเอง.

    ส่วนภิกษุรูปที่ ๒ มีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จอิ่มหนำสำราญเป็นอันดี
    เพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคนี้ ยังมีเหลืออยู่ อันจำต้องทิ้ง ถ้าเรา

    ทั้งหลายจักไม่บริโภค พระผู้มีพระภาคจักทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือจักทรงเทเสีย

    ในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึงบริโภคบิณฑบาตนี้ บรรเทาความหิวและ

    ความถอยกำลัง พึงยังคืนและวันนี้ให้ล่วงไปอย่างนี้ เธอจึงบริโภคบิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิว

    และความถอยกำลัง พึงยังคืนและวันนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้จะบริโภคบิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิวและความถอย
    กำลัง พึงยังคืนและวันนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ ถึงอย่างนั้น ภิกษุรูปก่อนโน้น ยังน่าบูชาและสรรเสริญ

    กว่า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ

    ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภความเพียร แก่ภิกษุนั้นสิ้นกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น

    แล พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย เรามีความเอ็นดู

    ในพวกเธอว่า ทำอย่างไรหนอ พวกสาวกของเราพึงเป็นธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท

    พระผู้มีพระภาคสุคตเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระวิหาร.

    ปัญหาการไม่ตามศึกษาความสงัด
    [๒๓] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระสารีบุตรจึงเรียกภิกษุ
    ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรว่า ขอรับ ดังนี้.

    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวก

    ทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวก

    ทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

    ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล ก็เพื่อจะทราบเนื้อ
    ความแห่งภาษิตข้อนี้ ในสำนักท่านพระสารีบุตร พวกกระผมขอโอกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิต

    ข้อนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว

    จักทรงจำไว้. ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงฟัง

    จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

    [๒๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จ
    อยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? ดูกรท่านผู้มี

    อายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสร็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ศึกษาความ

    สงัดตาม คือ พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น เป็นผู้มัก

    มาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสังกัด. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ

    ผู้เถระอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่ง

    นี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว พระสาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึง

    ติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรม

    เหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน

    เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้เถระ อันวิญญูชนพึงติเตียนด้วยเหตุ

    สามสถานเหล่านี้.

    บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถาน คือ
    อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย

    ไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการ

    ละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า

    สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้

    มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.

    บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถาน คือ
    อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายไม่

    ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรม

    เหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวก

    ทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้นวกะ

    อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าไม่ศึกษา
    ความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

    การตามศึกษาเรื่องความสงัด
    [๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย
    ย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จ

    อยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ย่อมศึกษาความสงัดตาม คือ พระศาสดาตรัสถึง

    การละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อนทอดธุระ

    ในการท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาสาวกเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็นเถระ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ
    ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่

    สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระ

    ศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย

    สถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอย

    เป็นหัวหน้าในความสงัด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย

    เหตุสามสถานเหล่านี้.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาสาวกเหล่านั้น ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ
    ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัด

    แล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระ

    ศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย

    สถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอย

    เป็นหัวหน้าในความสงัด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ

    ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาสาวกเหล่านั้น ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ
    ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่

    สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สองนี้ว่า

    พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ

    ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอย

    เป็นหัวหน้าในความสงัด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย

    เหตุสามสถานเหล่านี้.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ชื่อว่าศึกษา
    ความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

    [๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น โลภะและโทสะ เป็น
    ธรรมลามก มัชฌิมาปฏิปทา เพื่อละโลภะและโทสะมีอยู่ ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

    เข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิทาปนั้น

    ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    เป็นไฉน? อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ

    เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา

    นี้นั้นแล ทำความเห็น ทำความรู้ เป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

    การปฏิบัติสายกลาง
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น ความโกรธและความผูกโกรธไว้
    เป็นธรรมลามก ... ความลบหลู่และความตีเสมอ เป็นธรรมลามก ... ความริษยาและความตระหนี่

    เป็นธรรมลามก ... ความเจ้าเล่ห์และความโอ้อวด เป็นธรรมลามก ... ความหัวดื้อและความแข่งดี

    เป็นธรรมลามก ... ความถือตัวและความดูหมิ่น เป็นธรรมลามก ... ความเมาและความเลินเล่อ เป็น

    ธรรมลามก มัชฌิมาปฏิปทาเพื่อละความเมาและความเลินเล่อมีอยู่ ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อม

    เป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

    มัชฌิมาปฏิปทานั้น ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ

    ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไฉน? อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ

    การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

    มัชฌิมาปฏิปทานี้แล ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ

    ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของท่าน
    พระสารีบุตร ฉะนี้แล.

    จบ ธรรมทายาทสูตร ที่ ๓
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...