สติปัฏฐาน 4 คืออะไร มีอะไรบ้าง สติแห่งการหลุดพ้น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 15 กุมภาพันธ์ 2024.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +53
    สติปัฏฐาน 4 เป็นข้อปฏิบัติของสติ ที่มุ่งเพื่อให้เห็นความเป็นจริงทางธรรมะหรือธรรมชาติ เพื่อมุ่งจิตนำไปสู่การบรรลุนิพานเพื่อออกจากวัฏฏะ ซึ่งหมวดธรรมนี้แบ่งออกเป็น 4 ข้อ ที่นำมาเป็นสติฝึกระลึกรู้ถึงหรือพิจารณาหลักความเป็นจริงทางธรรมชาติ นำไปสู่การปล่อยไม่ยึดมั่นถือมั่น ในตัณหา และ อุปทานยึดถือยึดมั่นในกองกิเลส หรือถ้ากล่าวโดยย่อก็คือ นิวรณ์ทั้ง5 นับว่าเป็นหลักธรรมที่สำคัญในการฝึกสติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ฝึกอาณาปานสติ จนถึงในระดับหนึ่ง เร่ิมจะมีการมองเห็นภัยในวัฏฏะการเกิดว่าเป็นทุกข์หาทางออกจากโลกนี้ (โคตรภูญาณ คือ ผู้ที่เห็นภัยในวัฏฏะ)

    สติปัฏฐาน 4 คืออะไร

    สติปัฏฐาน4 หมายถึงข้อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ใช้สติเป็นประธานในการกำหนดระลึกรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงโดยไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ซึ่งจะทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง จุดประสงค์ของการทำ สติปัฏฐาน4 ก็เพื่อฝึกสติ และใช้สตินั้นพิจารณาและรู้เท่าทันในกาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อให้เกิดความคลายกำหนัด ละวางซึ่งตัณหาและอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความทุก

    เครดิตจากเพจ https://amarinbooks.com

    สติปัฏฐานแบ่งออกเป็นดังนี้

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    คือการใช้สติกำหนด พิจารณากายว่าเป็นของโสโครก สกปรก ซึ่งกายเป็นเพียงการรวมตัวการของธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ โดยจะพิจารณาตั้ง เกศาผม โลมาขน นะขาเล็บ ทันตาฟัน ตะโจหนัง เป็นของไม่เที่ยง เป็นรังของโรค ไม่เที่ยง มองตามหลักไตรลักษณ์ก็จะนำไปสู่ความไม่เที่ยง แก่ลงเหี่ยว ฟันหลุด ผมล่วง และต้องลาจากกันไป เห็นตามความเป็นจริงของกาย


    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    เป็นเรื่องของจิตที่เข้ายึดมั่นในอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ชอบไม่ หรือ ชอบ ทุกข์ สุข เฉยๆ กำหนดอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทบของผัสสะ ที่ผ่านเข้ามาทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย และ ใจ ที่ผ่านเข้ามาใน รูป รส กลิ่น เสียง แล้วมาถูกปรุงเเต่งหรือ ที่เรียกว่า สังขาร ทำให้มีความรู้สึก และนำไปสู่การ ปล่อยไม่ยึดในอารมณ์นั้น

    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    การเห็นสภาพของจิต ที่มีสติรู้ทัน กิเลส ราคะ โทสะ โลภะ โมหะ ว่ามีสภาพอย่างไร ทำให้เกิดอารมณ์ปรุงแต่ง แล้ว อยู่ในสภาพภายใต้ กฏของ ไตรลักษณ์ ที่ สุดท้ายแล้ว ก็อนัตตา ไม่เที่ยง จนเห็นสภาพเกิดดับ

    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    สติหมวดนี้จะเป็นการเห็นธรรรมะที่ดำเนินไปอย่างตามกฏธรรมชาติ ออกมาอย่างชัดเจน ตั้งแต่ การเห็นนิวรณ์ ขันธ์ 5 อายตนะ12 โพชฌงค์ 7 (เครื่องตรัสรู้) อริยสัจ4 ว่าดำเนินเป็นไปตามกฏเกรฑ์อย่างไร ภายใต้ ไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

    เครดิตจากเพจ https://dharayath.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...