เหรียญโภคทรัพย์ลป.คำแสนป่าดอนมูล เหรียญลป.แก้วดอยโมคคลาห์เหรียญลป.ธูปวัดแคนางเลิ้ง

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    FB_IMG_1743232863302.jpg FB_IMG_1743232868488.jpg

    พระเสริมหลังภปร.และพระสิวลี หลวงพ่อมหาถาวร
    วัดปทุมวนาราม
    สมเด็จหลวงพ่อพระเสริมหลัง ภปร.วัดปทุมวนาราม
    หลวงพ่อถาวร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ “หลวงพ่อพระเสริม จำลอง ภ.ป.ร.” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ.2535 คณะกรรมการฯ ได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกทั้ง “โลหะ” และ “ผงพุทธคุณ” แล้วจึงมอบให้ช่างนำไปจัดสร้างวัตถุมงคล ณ มณฑลพิธีวัดปทุมวนารามฯ ในวันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535 โดยมีท่านเจ้าคุณ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์” วัดนรนาถสุนทริการาม เป็นองค์ประธาน และมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป มาร่วมเจริญพุทธมนต์
    ส่วนพิธีมหาพุทธาภิเษกท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมา และพิธีชัยมังคลาภิเษกในวันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ณ มณฑลพิธีศาลาพระราชศรัทธาวัดปทุมวนาราม โดยอาราธนาพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วประเทศ 142 รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก อาทิเช่น
    1. หลวงปู่วิริยังค์ วัดธรรมมงคล
    2. หลวงปู่หลอด วัดสิริกมลาวาศ
    3. พระอาจารย์มหาถาวร วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
    4. หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี
    5. หลวงปู่ดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
    6. หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรี
    7. หลวงพ่อจำเนียร วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
    8. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    9. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    10. หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    11. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการม กาญจนบุรี
    12. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    13. หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
    14. หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง เลย
    15. หลวงปู่คำพอง วัดพัฒนาราม อุดรธานี
    16. หลวงปู่ท่อน วัดถ้ำอภัยคีรีวัน อุดรธานี
    17. หลวงปู่หลวง วัดป่าสำราญนิวาส ลำปาง
    18. หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    19. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    20. หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ ชลบุรี
    21. หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ ระยอง เป็นต้น
    ที่มา : หนังสือมหามงคลแห่งแผ่นดิน โดย คุณอลุย์นันท์ทัต กิจไชยพร และ หนังสือ สระปทุมฯ
    องค์นี้เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อพระเสริมเนื้อผง หายากครับ ราคาตามสภาพครับ สุทธิ์, ทองแดง, ทองเหลือง, ขันลงหิน”
    อีกเป็นจำนวนมากมาร่วมหล่อเป็นองค์ “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” ที่แสดงให้เห็นถึงการ “ไม่แบ่งแยกชนชั้น” ไม่ว่าจะยากดีมีจนทุกคนมีสิทธิได้ร่วม “โดยเสด็จพระราชกุศล” สร้างพระพุทธปฏิมา “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” เป็นพระประธานประจำ “ศาลาพระราชศรัทธา”ทางด้านการจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกท่านเจ้าพระคุณ “สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก” เสด็จเป็น องค์ประธานในพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมา “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” ภายหลังจากช่าง ได้ทำการตกแต่งเสร็จแล้วนับตั้งแต่ล้นเกล้าฯ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราช ดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้ว ในครั้งนี้คณะกรรมการได้จัดให้มีการประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” พระพุทธปฏิมาเป็นพระประธานประจำศาลาพระราชศรัทธาแล้วยังประกอบด้วย “หลวงพ่อพระเสริม ภปร.” ขนาดบูชา ๙ นิ้ว ๕ ฟุต “พระกริ่งนวปทุม ภปร., พระชัยวัฒน์นวปทุม ภปร., พระกริ่งไผ่รีพินาศ ภปร., พระผงหลวงพ่อพระเสริม ภปร.” และพิธีชัยมังคลาภิเษกเหรียญพระรูปเหมือน “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ภปร.” ในวันอังคารที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ณ มณฑลพิธีศาลาพระ ราชศรัทธาวัดปทุมวนาราม เวลา ๑๖.๓๐ น. และ ในเวลา ๑๗.๐๙ น. “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ” เสด็จไปยังตู้เทียนชัย ทรงเจิมเทียนชัย ทรงจุดเทียนชัย จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงเจิมเทียนพระพุทธมหามงคล ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้ที่พระเครื่องในราชวัตรฉัตรธง บัณฑิตอาราธนาพระปริตรพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ตามรายนามดังต่อไปนี้
    ๑.สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตกาโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๒.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์(สุวรรณ สุวัณณโชโต)วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ๓.พระญาณวโรดม (สันตังกุโร) วัดเทพศิรินทราวาส ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็น “สมเด็จพระญาณวโรดม” ๔.พระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาส ญาณวโร) วัดยานนาวา ภายหลังได้รับพระราชทานสมณ ศักดิ์เป็น “พระพรหมโมลี” ๕.พระธรรมธัชมุนี (ประจวบ กันตจาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม ภายหลัง ได้รับพระราชทานสมณศักด์เป็น “พระธรรมปัญญาจารย์” และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระพุทธชินวงศ์” ๖.พระธรรมบัณฑิต วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี ๗.พระเทพมุนี วัดบพิตรพิมุข ๘.พระเทพปัญญาเมธี วัดไตรมิตรวิทยาราม ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระพรหมเวที” ๙.พระกิตติสารกวี วัดปทุมวนาราม ๑๐.พระญาณเวที วัดปทุมวนาราม จากนั้น “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ” ทรงประทับพิงอธิษฐานจิตเจริญภาวนาและเสด็จกลับในเวลา ๑๘.๐๙ น.
    บัณฑิตและคณะนิมนต์ “พระเกจิอาจารย์” พร้อม “พระภาวนาจารย์” ผู้ทรง วิทยาคุณจำนวน “๑๔๒ รูป” ผู้เขียนจึงคัดเอาเฉพาะรายนามพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็น ที่เลื่องลือในขณะนั้นมานำเสนอดังนี้ “พระเทพเมธี (บุญนาค) วัดเศวตฉัตร กทม., หลวงปู่ วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล, หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส กทม., พระอาจารย์มหาถาวรจิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม พระครูวิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุม ธานี, หลวงปู่บุดดาถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี, พระครูธรรมจักรชโยดม (หลวงปู่ผล) วัดดักดะนน จ.ชัยนาท, พระครูวิชัยประสิทธิคุณ (หลวงพ่อเชิญ) วัดโคกทอง, พระครูภัทรกิตโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธศวรร
    หลวงพ่อพระเสริมหลังภปร.วัดปทุมวนารามพิธีใหญ่ปี๒๕๓๕
    หลวงพ่อท่านเป็นพระนักปฎิบัติและพัฒนา ท่านได้รับการฝึกอบรมกัมมัฏฐาน จากพระเถราจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน, พระราชมุนี (โฮม โสภโณ), พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จันททีโป) เป็นต้น
    - หลวงพ่อเป็นลูกศิษย์องค์สำคัญของ หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง จังหวัดพิษณุโลก ผู้ซึ่งทรงอิทธิฤิทธิ์และอภินาหารมากมายที่เราทราบกันดี และที่สำคัญ หลวงพ่อท่านคือ ผู้ที่หลวงพ่อยีทำนายไว้ก่อนมรณภาพว่า คือ หลวงพ่อองค์ที่ 2ที่จะมารับช่วงต่อท่าน และมาช่วยทำนุบำรุงวัดของท่านให้เจริญรุ่งเรือง ซึ่งกาลต่อมาหลวงพ่อท่านก็กลับมาพัฒนาวัดจนเจริญจนทุกวันนี้
    FB_IMG_1743232873422.jpg
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250329_142240.jpg IMG_20250329_142418.jpg IMG_20250329_142439.jpg IMG_20250329_142310.jpg IMG_20250329_142351.jpg
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    FB_IMG_1743260316377.jpg
    ประวัติหลวงปู่ละมัย ฐิตมโน
    สำนักสวนป่าสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์
    เป็นพระอริยะสงฆ์ที่ควรเคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง ไม่สามารถหาหลักฐานใดๆของทางราชการมายืนยันได้ว่าท่านเกิดปีใด พบเพียงข้อมูลจากหนังสือบทสวดมนต์ของวัดคีรีบัววนาราม ตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี โดยพระครูปัญญาวุธากร(เจ้าอาวาส) ท่านได้บันทึกไว้ว่า ในหนังสือสุทธิของหลวงปู่ละมัย ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๔๐๓ ที่บ้านกระสัง ตำบลเย้ยปราสาท อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์(ปัจจุบันเป็นอำเภอหนองกี่) อายุ ๔ ขวบ โยมบิดามารดาพาอพยพไปอยู่ที่จังหวัดพระตระบอง ประเทศกัมพูชา เมื่ออายุ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร
    จากนั้นมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ท่านก็ได้บวชเป็นพระในจังหวัดพระตระบอง ประเทศกัมพูชา และในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ หลวงปู่ละมัยท่านได้ย้ายกลับมาอยู่ที่เมืองไทย ที่จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ท่านได้บรรจุเป็นพระไทย ซึ่งตอนนั้นท่านอายุได้ ๑๐๑ ปี
    หลวงปู่ละมัยท่านเป็นพระผู้ทรงอภิญญาองค์หนึ่ง ในดินแดนพระพุทธศาสนาไม่มีที่ไหนที่ท่านไม่เคยไป หลวงปู่ท่านเคยบอกว่า ท่านอยู่ในประเทศเขมร ๓๐ ปี ประเทศลาว ๓๐ ปี และในประเทศไทยมากกว่า ๓๐ ปี เคยเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าไปถึงประเทศศรีลังกา ได้สรรพวิชาต่างๆมามากมาย
    หลวงปู่ละมัยท่านสำเร็จวิชาการหุงปรอท อานุภาพปรอทสำเร็จของท่าน พระเกจิอาจารย์หลายองค์ต่างยกย่องว่ามีพลังงานมหาศาล พุทธานุภาพของพระปรอทของท่านนั้นมีประสบการณ์มากมาย ทั้งด้านแคล้วคลาด คงกระพันและเมตตามหานิยม หลวงปู่ท่านมีเมตตามาก ช่วยเหลือลูกศิษย์ลูกหาด้วยปรอทและยาสมุนไพรต่างๆ
    หลวงปู่ละมัยท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอริยสงฆ์ผู้ทรงอภิญญาแห่งวัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ โดยท่านได้ร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลหลายๆรุ่นของหลวงปู่หมุน อาทิ รุ่นเสาร์ห้าบูชาครู รุ่นไตรมาสรวยทันใจ เป็นต้น หลวงปู่หมุนจะเรียกหลวงปู่ละมัยว่า "ท่านใหญ่" และทุกครั้งที่ทำพิธีเดียวกัน ท่านจะอาราธนาท่านใหญ่ก่อนเสมอ
    หลวงปู่ละมัยท่านมีคุณธรรมขั้นสูง เปี่ยมล้นด้วยเมตตา บารมี พระเกจิดังหลายองค์เดินทางไปกราบท่าน เช่น หลวงพ่อรวย วัดตะโก,หลวงปู่นะ วัดหนองบัว,หลวงพ่อบุญลือ วัดคำหยาด,หลวงปู่เปรี่ยม วัดกำแพง เป็นต้น
    หลวงปู่ละมัยท่านได้เป็นองค์อุปภัมป์และสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง เช่น สร้างพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี วัดแดนคงคาวนาราม จ.ชัยภูมิ วัดโคกว่านใหม่ อ.ละหารทราย จ.บุรีรัมย์ ที่ อ.มะขาม อ.โป่งน้ำร้อน วัดป่าตง วัดตามูล วัดเขาสะงอ ที่ อ.คลองหาด วัดเขาฉกรรจ์ ที่ จ.ปราจีนบุรี สร้างวัดทุ่งกบินท์ จันตคาม วัดทุ่งโพธิ์ วัดนาคี ที่ อ.ปากช่อง วัดถ้ำพระธาตุ วัดถ้ำไก่แจ้
    ในบั้นปลายหลวงปู่ท่านย้ายมาอยู่วัดโพธิ์เย็น อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ได้ ๖ - ๗ ปี แล้วจึงมาสร้าง "สำนักสวนป่าสมุนไพรคีรีนามทาสุขาวดี" เพื่อปลูกสมุนไพรและเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
    หลวงปู่ละมัยท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ สิริรวมอายุได้ ๑๕๑ ปี เวลาประมาณ ๐๑.๕๐ น. ระหว่างเข้าสมาธิจิต
    ที่มา : หนังสือรวมวัตถุมงคลหลวงปู่ละมัย
    : เอกสารวัดบ้านโคกว่านใหม่
    วัดแดนคงคาวนาราม นี้หลวงปู่บุญมา เจ้าอาวาส ท่านได้เคยธุดงค์ไปในประเทศต่างๆของแหลมอินโดจีนนี้มาอย่างทะลุปรุโปร่ง และได้พบกับหลวงปู่ละมัยในป่า ได้รับการสั่งสอนอบรมสมาธิจิต วิชา คาถาอาคมต่างๆพอสมควร จึงกราบลาหลวงปู่ออกธดงค์ต่อไป และเมื่อผ่านไปยังประเทศอินเดีย ก็ได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย และท่านก็ได้นำมาเก็บรักษาไว้ ณ วัดแดนคงคาวนาราม ลุถึงปีพ.ศ.๒๕๔๕ หลวงปู่บุญมา อายุได้ ๑๐๘ ปี มีความต้องการที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ก็เกรงว่าจะไม่สำเร็จ จึงปรึกษากับเหล่าศิษยานุศิษย์ และได้ทราบว่า หลวงปู่ละมัย ยังดำรงขันธ์อยู่ จึงให้คณะศิษย์ ไปกราบอาราธนานิมนต์
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ละมัยมาเป็นประธาน ซึ่งท่านก็รับนิมนต์จนการก่อสร้างสำเร็จ และยกฉัตรไปแล้วเมื่อปีพ.ศ.2552
    หลวงปู่บุญมาได้บอกกับลูกศิษย์ว่า "หลวงปู่(ละมัย)เป็นครูบาอาจารย์ของหลวงปู่(บุญมา)นะ เคยพบกับท่านตอนธุดงค์ ตอนนั้นเราอายุ 15 ปีได้ ท่านจะเป็นผู้ที่สร้างพระธาตุสำเร็จ เพราะท่านมีบารมีมาก" หลังจากหลวงปู่ละมัยรับนิมนต์ได้ไม่นาน หลวงปู่บุญมาก็มรณภาพลง
    วัตถุมงคลของหลวงปู่ละมัย ที่เด่นๆคือพระปรอท และแม่ซื้อประจำวันครับ
    ที่มา : ข้อความบางตอนจากเพื่อนสมาชิกเว็ปจี
    #บางคำจากพระอริยสงฆ์ที่กล่าวถึงหลวงปู่ละมัย
    "พระของท่านมีค่ามากกว่าทองและมีพุทธคุณครอบจักรวาล"
    หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา
    "ท่านใหญ่ ท่านมีบารมีมาก ทุกพิธีเกี่ยวกับฉันต้องอาราธนาท่านทุกครั้ง"
    หลวงปู่หมุนวัดบ้านจาน
    "หลวงปู่ท่านศักดิ์สิทธิ์มาก เพียงแค่เศษชานหมาก หรือก้อนหินที่หลวงปู่ลูบคลำ ล้วนทรงคุณค่ามากล้น"
    หลวงพ่อบุญลือ พระทรงอภิญญาใหญ่แห่งวัดคำหยาดอ่างทอง
    "ฉันยังต้องไปกราบท่านเลย และขอบารมีจากท่าน"
    หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
    "จะหาพระแบบหลวงปู่ละมัย ไม่ได้แล้วนะ"
    หลวงปู่สุภา
    "พระแบบนี้ นานๆ จะออกมาโปรดพวกเราสักที ท่านเป็นผู้ใหญ่ พระโบราณ ตักตวงเข้านะ"
    หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน
    "ท่านเป็นพระโบราณ มีความศักดิ์สิทธิ์มากนะ"
    หลวงปู่จิต
    "ท่านเป็นอาจารย์ของฉันตั้งแต่สมัยฉันเป็นเณร ท่านเก่งมาก ถ้าฉันตายไปแล้ว ให้ไปหาไปกราบเอาธรรมจากท่านให้ได้ ท่านอยู่ที่เพชรบูรณ์"
    หลวงปู่บุญมา วัดแดนคงคาราม สั่งศิษย์ไว้ให้ไปหาหลวงปู่ละมัย
    "จิตท่านไปไกลมาก นั่นคือดวงธรรมแห่งพุทธะที่หนึ่งเดียว"
    หลวงปู่เที่ยงธรรม
    "ท่านใหญ่ ท่านบารมีมากหลายเด้อ"
    หลวงปู่คำน้อย
    "ท่านยังอยู่หรือนี่ ท่านเคยเป็นอาจารย์ฉันมาก่อน ท่านเก่งรอบด้าน ทุกอย่างเลย ฉันยังต้องเรียนจากท่านเลย"
    หลวงปู่กลอย เขาหิน
    ที่มา : เว็ปกาหลง.คอม
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลทุกที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนจันทร์ลอยหลวงปู่ละมัยทาทอง ปี๒๕๔๓

    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20250329_215653.jpg IMG_20250329_215722.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2025 at 08:33
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    FB_IMG_1743337251749.jpg
    ว่ากันว่าท่านมีอายุ ๒๓๘ ปีได้มีโอกาสไปกราท่าน..และค้างคืนที่วัดท่าน..คุยกับท่านไม่ค่อยรู้เรื่องเพราะท่านพูดลาว...ท่านบอกว่าตาท่านบอดทั้ง๒ข้าง...แต่พระอินทร์ เอาดวงตามาถวายท่าน ๑ ข้างฟันท่านหลุดไป ๒ รอบแล้วงอกออกมาใหม่...เมื่อท่านอายุ ๑๒๐ ปี ต้อนนี้เป็นรอบที่ ๒ แล้วอาย ๒๓๘ ปี มีโอกาสได้ถามโยมคนเฒ่า
    คนแก่แถวนั้นที่มาวัด..เพราะวันนั้นเราเอาผ้าป่าไปทอดอาตมาได้ถามตาคนหนึ่งอายุ ๗๐ปีถามว่าตาอยูที่นี้นานหรือยัง แก่บอกว่าผมเกิดที่นี้ต้อนผมเป็นเด็กผมก็เห็นหลวงปู่อยู่ อย่างนี้ปัจจุบันผม ๗๐ แล้ว หลวงปู่ก็ยังอยู่อย่างนี้พอสายหน่อย
    ได้ฉันเช้ากับท่าน..ท่านฉันข้าวโดยไม่ใช้ช้อนเอามือเปิบเอาดูแล้วโบราณ ดีถวายผ้าป่าท่านแล้วได้เดินท่านไปกราบ...หลวงปู่มั่น ที่วัดป่าสุธทราวาสได้พบกับแม่ชี นารี การุณ อายุ ๑๒๓ ปี ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น มีคนไปหาไปกรามากมายแรกก็อยู่ในวัดป่าสุธทราวาส ต้อนหลังกลับมาอยู่กับ
    ลูกหลานไก้ล วัด สมัยนั้นเขาเรียกว่าแมชีอรหันต์...
    อาตมาได้ถามแม่ชีว่า...แม่รู้ จักหลวงปู่น้อย ที่วัดป่าภูกำ
    พร้าไหม...แม่ชีบอกว่ารู้จัก...ต้อนแม่อายุ ๔๐ ก็เคย
    กราบท่าน...ต้อนนี้..แม่อายุ ๑๒๓ ปี ท่านยังมีชีวิตอยู่
    ไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนมีอายุยืน...ถึง ๒๓๘ ปีอยู่จริง
    อาตมาได้ไปกราบ...หลวงปู่สังวาล เขมโก...เห็นรูป
    ท่านนั่งอยู่กับ..กับหลวงปู่น้อย..ได้กราบท่านแล้วถามว่า....หลวงปู่ครับ หลวงปู่น้อยวัดป่าภูกำพร้าอายุ ๒๓๙ ปีจริงไหมท่านได้พูดว่าคนปัจจุบันนี้ต้องมีหลักฐานยืนยันถึงเชื้อถ้าถามผม..ผมเชื่อว่าท่านมีอายุ ๒๓๙ ปีจริงเอาเรื่องร้าวมาเล่าให้โยมฟันมีคำยืนยันจากปากแม่ชีและพระที่สมัยก่อนคนรู้จักดีถ้าเป็นสายบุญสายปฎิบัติหลวงพ่อสังวาลได้บอกอีกว่าหลวงปู่น้อยได้ถวายฟันให้หลวงปู่สังวาลด้วย บอกว่าขึ้นมาเป็นรอบที่ ๒ แล้ว หลวงปู่คำน้อย ฐิตตะธัมโมมรณะภาพเมือประมาณปี พ.ศ.2544 อายุ 239 ปีสมพรภิกขุข้อคิดปี 62

    “อายุยืนแค่ไหน สุดท้ายตายหมดไม่เหลือ”
    “ชีวิตนี้. ไม่มีคำว่า. อมตะ” ในสังขารทั้งปวง. สมพรภิกขุ
    อ้างอิงข้อมูลจาก.. ลูกศิษย์หลวงพ่อสมพร

    FB_IMG_1743337408584.jpg
    สำหรับหลวงปู่คำน้อย ว่ากันว่าท่านมีถึงอายุ 238 ปี ท่านพำนักอยู่วัดถ้ำภูกำพร้า อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ตั้งแต่ท่าน อายุได้ 100กว่าปี ท่านก็สามารถนั่งสมาธิถอดจิต ไปเที่ยว สวรรค์ - นรกและบางคนเชื่อว่าท่านคือเณรคำผู้มีฤทธิ์จากภูเขาควายเมืองลาว (เหรียญหลวงปู่ออกที่วัดถ้ำเขาอีโต้ ปราจีนบุรี ปี2538ระบุว่าท่านคือหลวงปู่เณรคำ) เรื่องของหลวงปู่คำน้อย วัดถ้ำภูกำพร้า ผมเคยเจอท่านครับ ท่านเป็นพระใจดี สำหรับอายุของท่านเท่าที่ถามจากคนเฒ่าคนแก่ในละแวกนั้น เขาก็ว่าเกิดมาก็เห็นหลวงปู่แล้ว จนเขามีอายุถึงแปดสิบเก้าสิบ หลวงปู่คำน้อยก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และเมื่อสอบถามจากหลวงปู่คำน้อยก็ได้คำตอบเหมือนที่ใครๆ ได้รับรู้จากวาจา ท่านเองคือเปลี่ยนฟันมาสองรอบแล้ว รอบละ 120 ปี เลยอนุมานเอาว่าช่วงนั้นหลวงปู่น่าจะอายุประมาณ 200 กว่าปี อายุใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ก็เลยสันนิษฐานเอาว่าหลวงปู่น่าจะเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1ครับ ปัจจุบันท่านมรณภาพไปแล้วครับ ประมาณปี 2548
    ทานบดีท่านหนึ่งท่านเล่าผ่านโลกออนไลน์ว่า...เคยมีโอกาสไปพบหลวงปู่คำน้อยวัดภูกำพร้า ด้วยคำแนะนำของศิษย์พี่ท่านนึง ท่านว่าหลวงปู่อายุร่วมจะ 300 ปีแล้ว เจ้าลาวแวะมาหาเล่าให้ฟังอีกทีว่า สมัยท่านยังเด็ก พ่อได้พาไปกราบหลวงปู่น้อย ตอนนั้นหลวงปู่น้อยก็แก่มากแล้ว ตอนนี้เจ้าลาวคนนี้ก็อายุ 70 กว่าๆ หลวงปู่คำน้อยก็ยังแก่มากเหมือนเดิม เลยไม่รู้ว่าจริงๆท่านอายุเท่าไรกันแน่ ไปกราบท่านพร้อมกับพาน้อง ๆ ที่ว่าวอีสานได้ดีไปด้วยเผื่อฟังไม่ออกเพราะท่าน เป็นพระข้ามมาจากฝั่งลาว ปรากฎว่าท่านพูดภาษาลื้อ ก็เลยฟังไม่ออกไปด้วยกันทั้งหมด เป็นพระที่เมตตามากครับ ถามโยมใกล้ชิดท่าน ก็ได้ความว่าอายุหลวงปู่ไม่ถึง 300 ปีหรอกครับ แค่สัก 200 เศษปีเท่านั้นเอง นั่นก็หง่อมมากแล้วครับ ท่านว่าเมื่ออายุครบ 120 ปีครั้งหนึ่ง ฟันชุดใหม่จะงอกขึ้นมาครั้งหนึง นี่ก็งอกขึ้นมาครั้งที่ 2 แล้ว แล้วเห็นเล็บหลวงปู่ก็ดูยังสดใหม่ยังกะพึ่งงอกได้ไม่นาน แต่หนังที่ศีรษะหลวงปู่ยับเหมือนหนังช้าง เวลาท่านนอนท้าวแขนจะยับตามมือปล่อยมือแล้วหนังก็ยังไม่กลับที่ ใครจะไปหาท่านจะรู้ก่อน จะไปนั่งรอ พอเสร็จธุระก็ไปที่อื่นต่อ ด้วยความที่หลวงปู่น้อยเป็นพระใจดี ทำให้มีคนเข้าไปขอความช่วยเหลือ บ้างก็ขอสร้างวัตถุมงคล ฯลฯ ท่านก็เมตตาอธิษฐานจิตให้ประสบการณ์ที่เกิดจากผู้ใช้วัตถุมงคลของท่านคือเมตตา แคล้วคลาด และอธิษฐานขอในสิ่งที่ตนเองต้องการ...ประวัติของหลวงปู่คำน้อยนั้นนิตยสาร โลกทิพย์เคยลงเมื่อสามสิบปีก่อน
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสังกัจจายน์หลวงปู่น้อยวัดภูกําพร้า มุกดาหาร
    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250330_191844.jpg IMG_20250330_191909.jpg IMG_20250330_191933.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2025 at 19:37
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    FB_IMG_1743340585091.jpg

    หลวงปูหิน ปภงกโร เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำพอง วัดโพธาราม ต.กุดน้ำใสอ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น หลวงปู่เป็นพระเถระที่มีอายุพรรษายืนยาวถึง ๑๓๘ ปีเกิดเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๐๗ มรณะภาพเมื่อปี ๒๕๔๖ เมื่อก่นคนขอนแก่นแทบไม่รู้จักหลวงปู่เพราะท่านเป็นพระที่มักน้อยสันโดดไม่ สนใจในลาภ ยศสักการะ ดำเนินชีวิตอยู่ในเพศบรรชิตแบบเจริญมหาสติปัฏฐาน 4
    ๑.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติ
    ระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็นรูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่สติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาจนกระทั้งได้มีรายการทีวีรายการหนึ่งมาถ่ายทอดท่านออกอาศท่านจึงเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไปและเริ่มมีคนรู้จัก
    หลวงปู่มากขึ้นต่างหลังไหลกันมากราบหลวงปู่จากทุกทั่วสารทิศไม่เว้นแต่ละวันแต่ท่านก็ให้ความเมตตาแก่ทุกๆคนที่มากราบขอพรท่านแม้อายุของท่านจะล่วงมาร้อยกว่าปีแล้วก็ตามท่านไม่เคยบนว่าเหนื่อยสักคำและบางที่มีคณะทัวร์มาลงทีเป็นร้อยคนสองร้อยคนก็มีมาจากทั่วทุกสารทิศต่างก็อยากได้วัตถุมงคลของหลวงปู่จึงต้องมีการจัดสร้างหลายครังหลายวาละเหรียญรุ่นหนึ่งคณะทหารสร้างถวายมี
    แค่หลักพันเหรียญประสปการณ์ทุกคนต่างรู้ดีลงข่าวหน้าหนึ่งอยู่หลายวันหลายฉบับตอนที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอย่สติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมแลนามธรรมล้วนมีความเกิดดับไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาจนกระทั้งได้มีรายการทีวีรายการหนึ่งมาถ่ายทอดท่านออกอาศท่านจึงเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไปและเริ่มมีคนรู้จักหลวงปู่มากขึ้นต่างหลังไหลกันมากราบหลวงปู่จากทุกทั่วสารทิศไม่เว้นแต่ละวันแต่ท่านก็ให้ความเมตตาแก่ทุกๆคนที่มากราบขอพรท่านแม้อายุของท่านจะล่วงมาร้อยกว่าปีแล้วก็ตามท่านไม่เคยบนว่าเหนื่อยสักคำและบางที่มีคณะทัวร์มาลงทีเป็นร้อยคนสอง
    ร้อยคนก็มีมาจากทั่วทุกสารทิศต่างก็อยากได้วัตถุมงคลของหลวงปู่จึงต้องมีการจัดสร้างหลายครังหลายวาละเหรียญรุ่นหนึ่งคณะทหารสร้างถวายมีแค่หลักพันเหรียญประสปการณ์ทุกคนต่างรู้ดีลงข่าวหน้าหนึ่งอยู่หลายวันหลายฉบับตอนที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่นั้นถนนราคาอยู่ที่5000-7000 บาทแต่กะนั้นก็ไม่มีของหมุนเวียนจนได้สร้างวัตถุมงคลรุ่นต่างๆตามมาอีกหลายรุ่นแต่ก็ไม่น่าจะเกิน10รุ่น แต่ก็ไม่เพียงพอต่อสาธุชนที่มากราบไหว้หลวงปู่ ในแต่ละวันฉนั้นของจึงไม่ค่อยมีหมุนเวียนวันนี้ผมจึงอยากนำเสนอวัตถุมงคลรุ่นต่างๆที่หลวงปู่อนุญาติให้จัดสร้างในนามของวัดและลูกศิษย์ของหลวงปู่อาจจะไม่ครบทุกรุ่นทุกเนื้อแต่ก็พอเป็นแนวทางศึกษาและสะสมต่อไป ไม่ได้มากก็น้อยบุญกุศลที่ได้เอาประวัติวัตถุมงคลของหลวงปู่มาเผยแผ่ในครั้งนี้แม้จะน้อยนิดกระผมขอน้อมถวายบูชาองค์หลวงปู่ ลูกหลานไม่มีเจตนาใจเป็นอื่นนอกจากทำเพื่อเป็นพุทธบูชาธรรมบูชา สังฆบูชาเผื่อให้สาธุชนคนที่ศรัทธารักในการสะสมวัตถุมงคนได้ศึกษาสะสมสืบต่อไป จากใจ ทรัพย์ยังมา
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มารูปภาพอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนพิมพ์คะแนนเหมือนหลวงปู่หินและพิมพ์ใบโพธิ์
    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250330_201054.jpg IMG_20250330_201128.jpg IMG_20250330_201155.jpg IMG_20250330_201217.jpg IMG_20250330_201234.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    showimage (9).jpeg

    หลวงปู่อินทร์ หรือ หลวงตาอินทร์ วัดบัว ที่ชาวโคราชเรียกกัน หาใช่พระธรรมดาหลวงตาพรรษาน้อยไม่ แท้จริงคือกระบี่คมในฝักแห่งเมืองโคราช สืบวิชาจากครูบาอาจารย์รุ่นใหญ่มาครบถ้วน หลวงปู่บวชตั่งแต่อายุได้ 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 รวม 65 พรรษา อายุ 85 ปี สมัยเป็นพระหนุ่มเข้าไปขอเรียนวิชาจาก หลวงพ่อพรหมสรรอด โดยตกกลางคืนก็เข้าไปบีบนวดให้ท่าน ท่านก็ให้คาถามาหนึ่งบท ทำอย่างนี้ทุกคืน จนได้วิชามาพอสมควร ต่อมาเข้าไปเรียนวิชากับหลวงปู่แจ้ง วัดใหม่สุนทร ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง หลวงลุงก็สอนวิชาให้จนหมด เข้าไปเรียนกับหลวงพ่อเกิด หลวงปู่เสี่ยง วัดเสมาใหญ่ ท่านเหล่านี้ก็สอนให้จนหมดไม่มีอะไรจะสอนแล้ว สุดท้ายไปขอเรียนวิชากับหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงพ่อคูณสอนให้เยอะโดยเฉพาะวิชาทำเครื่องรางของขลัง และวิชาหาของหาย วิชานี้เมื่อเรียนเสร็จหลวงปู่อินทร์กลับมาที่วัด พอดีมีลูกศิษย์ทำของหาย หลวงปู่อินทร์ก็ลองวิชาเลย ปรากฏว่าของที่หายหาได้จริงภายในสามวัน ไปเล่าให้หลวงพ่อคูณฟัง หลวงพ่อคูณหัวเราะชอบใจใหญ่ บอกกูลองครั้งแรกตั้งเจ็ดวันกว่าจะได้คืน จึงนับได้ว่าในบรรดาศิษย์สายหลวงพ่อคูณที่เป็นพระสงฆ์ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน หลวงปู่อินทร์อาวุโสที่สุด ที่เป็นพี่ใหญ่ในศิษย์สายหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ โดยสมัยก่อนผู้คนที่มาจากโนนสูง ขอนแก่น ไปกราบหลวงพ่อคูณ ท่านจะกล่าวว่า " พวกมึงนี่โง่ ที่โนนสูงมีพระเก่ง พระดี เป็นไข่มุกดำแห่งภาคอีสานเลยเชียว มาหากูทำไม " และเมื่อถามว่าพระสงฆ์รูปนั้นคือใคร หลวงพ่อคูณจะกล่าวตอบว่า " หลวงตาอินทร์ วัดบัว ที่โนนสูงไง เก่งไม่แพ้กูเลย " ซึ่งสมัยนั้นหลวงปู่อินทร์ยังไม่มีชื่อเสียง เมื่อหลวงพ่อคูณพูดถึงท่านบ่อยๆ จริงทำให้หลายๆคน ตามเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่อินทร์ และเรียกท่านว่า หลวงตาอินทร์ วัดบัวตามที่หลวงพ่อคูณพูดประจำ ทุกวันนี้แม้หลวงปู่อินทร์ จะมีอายุถึง 85 ปี แต่ยังคงรับศรัทธาสาธุชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเจิมรถ ลงนะหน้าทอง(อันนี้ขอบอกว่าสุดยอด ไปกราบท่านอย่าลืมเด็จขาด) พรมน้ำมนต์ ปลุกเสกวัตถุมงคล เป่าหัว ท่านทำให้หมด ขออะไรท่านทำให้ด้วยเมตตา แต่ท่านไม่ค่อยพูด วันหนึ่งพูดไม่กี่ประโยค ถ่อมตัวไม่โอ้อวด เหมือนดังคนโบราณมีคำพูดว่า " ของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้คือของไม่จริง !!!
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญรุ่น ๒ หลังเรียบ เนื้อนวะโลหะ หลวงปู่อินทร์ วัดบ้านบัว รุ่นประสพการณ์

    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250330_204214.jpg IMG_20250330_204240.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    th318 (1).jpg

    ประวัติพระสุพรหมยานเถร วิ. (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า พระอารามหลวง
    ได้เล่าให้คณะศิษยานุศิษย์ฟัง เนื่องในวันคล้ายเกิด วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๑๖
    เกิดเมื่อ วันอังคาร ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ เหนือ (เดือน ๑๐) ปีจอ ณ บ้านป่าแพง ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่กลางทุ่งนา รวมอยู่ในหมู่บ้านกองงาม ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    นามเดิม ชื่อว่า พรหมา พิมสาร
    บิดาชื่อ นายเป็ง พิมสาร
    มาราชื่อ นางบัวถา พิมสาร
    มีพี่น้องร่วมกัน ๑๓ คน คือ
    ๑. พ่อน้อยเมือง พิมสาร
    ๒. เด็กหญิง (ไม่ทราบชื่อ)
    ๓. แม่อุ้ยคำ หล้าดวงดี
    ๔. พ่อหนานนวล พิมสาร
    ๕. พ่อหนานบุญ พิมสาร
    ๖. พระครูภาวนาภิรัต (ครูบาอินทจักร พระสุธรรมยานเถร วิ.) วัดน้ำบ่อหลวง
    ๗. พระสุพรหมยานเถร วิ. (เจ้าของประวัติ)
    ๘. พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (ครูบาคัมภีระ) วัดพระธาตุดอยน้อย
    ๙. พ่อหนานแสง พิมสาร
    ๑๐. แม่ธิดา สุทธิพงษ์
    ๑๑. แม่นางบัวหลวง ณ ลำพูน
    ๑๒. เด็กหญิงตุมมา พิมสาร
    ๑๓. นางแสงหล้า สุภายอง
    บิดามารดาของท่าน เป็นคนมีฐานะพอมีอันจะกิน มีอาชีพทำนา ทำสวนเป็นสัมมาอาชีวะ ไม่มีการยิงนกตกปลา ไม่เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และไม่มีการเลี้ยงหมูขาย มีความขยันถี่ถ้วนในการงาน ปกครองบุตรหลานโดยยุติธรรม ไม่มีอคติ หนักแน่นในการกุศล ไปนอนวัดรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ
    บิดาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ถึงแก่กรรมในสมณเพศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ อายุ ๙๐ พรรษา ๒๘
    มารดาได้นุ่งขาวห่มขาว รักษาอุโบสถศีลทุกวันพระตลอดอายุ ได้ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ อายุ ๗๐ ปี
    เมื่อเจริญวัยพอทำงานได้ ได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน ทำนาทำสวนและเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย งานที่ทำเป็นประจำวัน คือตักน้ำตำข้าว และปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือน เป็นการตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ เท่าที่พอจะทำได้ตามวิสัยของเด็ก
    การศึกษาในสมัยเด็ก ได้เรียนหนังสือไทยล้านนาและภาษากลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียนแล้วสึกออกไปเพราะสมัยนั้น ตามชนบทยังไม่มีโรงเรียนสอนกันอย่างปัจจุบัน แม้แต่กระดาษจะเขียนก็หายาก ผู้สอนคือพี่ชายก็มีงานมากไม่ค่อยได้อยู่สอนเป็นประจำจึงเป็นการยาก แก่การเรียน อาศัยความตั้งใจและความอดทนเป็นกำลัง จึงพออ่านออกเขียนได้
    เหตุบรรพชาเป็นสามเณร อาศัยที่เคยได้ติดตามพ่อแม่ไปวัดบ่อยๆ ได้เห็นพระภิกษุสามเณรอยู่ดีกินดี มีกิริยาเรียบร้อยก็เกิดความเลื่อมใสยิ่งได้เห็นพระพี่ชายที่บวชอยู่หลายองค์พากันมาฉันข้าวที่บ้าน ยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสขึ้น
    ต่อมาก็จำได้ว่า ปีนั้นเป็นปีชวด พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ กำลังจะระเบิดขึ้น ปีนั้นดินฟ้าอากาศก็วิปริตผิดปกติ บ้านเรือนแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ผู้คนต่างถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียนระส่ำระสาย ทั้งทางราชการก็เร่งรัดเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารกันวุ่นวาย ได้เห็นเหตุการณ์ดังนั้นก็รู้สึกไม่สบายใจ จึงน้อมใจไปในการบวชมากขึ้น ประกอบกับได้เห็นพวกเพื่อน ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงหนีไปบวชกันแทบทุกวัน จะเป็นการบวชหนีทหารหรือบวชผลาญข้าวสุก หรือบวชเพื่อความพ้นทุกข์อย่างไรไม่ทราบ
    ลุถึง วันจันทร์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. มีอายุได้ ๑๕ ปี ได้กราบลาพ่อแม่ไปบวช พร้อมกับขออโหสิต่อพ่อแม่ทั้งสอง แล้วก็ถือเอาผ้าจีวรกับดอกไม้ธูปเทียน ลงจากเรือนไป ด้วยความอาลัยพ่อแม่เป็นที่สุด ขณะนั้นก็มีพ่อกับพี่ชายติดตามไป
    ครั้นไปถึงวัดป่าเหียง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง พระพี่ชายก็จัดการโกนหัวโกนคิ้วให้ แล้วพ่อได้นำเข้าไปกราบมอบให้ เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย พระอุปัชฌาย์ เพื่อขอให้ท่านบวชให้ ครั้นพระอุปัชฌาย์มอบผ้ากาสาวพัสตร์ให้แล้ว ก็มีพระพี่ชายกับใครอีกท่านหนึ่ง ได้มาช่วยกันนุ่งห่มให้
    ในขณะนั้นได้ก้มมองดูผ้ากาสาวพัสตร์อันเหลืองอร่าม อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ รู้สึกซาบซึ้งตรึงใจ นึกว่า “เป็นบุญลาภอันประเสริฐ ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา และได้มาบวช มั่นใจว่าจะขอบวชอุทิศต่อพระพุทธศาสนา จนกว่าชีวิตจะหาไม่”
    เมื่อบวชแล้ว พระอุปัชฌาย์ผู้เคร่งครัดในวินัย มีนิสัยรักความสะอาด ได้แนะนำพร่ำสอนศีลาจาวัตรและให้ปฏิบัติตาม
    การศึกษาในสมัยเป็นสามเณร ในสมัยนั้นพระภิกษุสามเณรทุกองค์ จะต้องท่องจำสวดมนต์ ๑๕ วาร ตั้งแต่ เยสันตา เป็นต้นไป จนถึงมาติกา มหาสมัย โดยเขียนใส่แป้นกระดานชนวน มีขนาดกว้าง ๑ คืบ ยาว ๑ ศอก และกำหนดให้ท่องจำให้ได้วันละ ๑ แป้น
    ชั้นแรกรู้สึกหนักใจ เห็นตัวหนังสือเล็กขนาดอ่านจนไม่ถนัด นึกว่า “เราจะจำได้หรือไม่หนอ” แต่เมื่อตั้งใจท่องอย่างเอาจริงเอาจังก็ได้ วันละ ๑ แป้นจริงๆ แป้นนั้นท่านยังเก็บไว้เป็นอนุสรณ์
    ขณะที่กำลังเรียนอยู่ ได้พยายามหลีกเร้นหลบหน้าคนอื่นเสมอ แม้แต่เดินทางไปฉันข้าวยังบ้าน ก็พยายามไปคนเดียว เพื่อฉวยโอกาสท่องสวดมนต์ไปตามทาง โดยถือสุภาษิตที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น” นอกจากนั้นก็ได้เข้าเรียนโรงเรียนประชาบาล ซึ่งเวลานั้นทางวัดได้จัดการตั้งขึ้นสอนกันแล้ว สอบได้ถึงประถมปีที่ ๓ ซึ่งเทียบกับประถมปีที่ ๔ สมัยนี้ เพราะเวลานั้นประถมปีที่ ๔ ยังไม่มีสอนกัน
    เมื่ออายุย่างเข้า ๑๗-๑๘ ปี ก็ได้ศึกษานักธรรมตรีตามลำพัง เพราะเวลานั้นยังไม่มีโรงเรียนและครูสอน หนังสือเรียนก็หายาก มีเพียงนวโกวาทกับธรรมนิเทศและวินัยวินิจฉัย ๒-๓ เล่มเท่านั้น
    ครั้นถึงรอบปีมาทางจังหวัดก็จัดให้มีการสอบครั้งหนึ่ง เป็นการสอบเฉพาะจังหวัด เพราะทางคณะสงฆ์ยังไม่ได้เปิดสนามสอบอย่างสมัยนี้ ใครสอบได้ก็ออกประกาศนียบัตรสำรองให้ ทำกันอย่างนี้มาเป็นเวลา ๒-๓ ปี
    ต่อมาประมาณ พ.ศ.๒๔๕๙ จึงมีสำนักเรียนและครูสอนเป็นหลักแหล่ง โดยทางการคณะสงฆ์ ได้จัดตั้งสำนักเรียนที่วัดฉางข้าวน้อยเหนือ ซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะอำเภอในสมัยนั้น
    อาตมากับสามเณรมอน อินกองงาม ได้พากันเดินไปศึกษาตลอดพรรษา ต้องเดินทางผ่านทุ่งนา การไปมาลำบากมาก ต้องสู่อดสู่ทน ครั้นออกพรรษาแล้วก็ได้ย้ายไปอยู่วัดฉางข้าวน้อย เพื่อการศึกษาทั้งนักธรรมและวิชาสามัญ
    การศึกษาในสมัยเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้กลับมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดป่าเหียง ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๑ เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็น พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอม โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุรินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ครั้นลุถึง พ.ศ.๒๔๖๒ ทางการคณะสงฆ์ ได้ทำการเปิดสอบนักธรรมสนามหลวงขึ้น ณ วัดเชตวัน จ.เชียงใหม่ พระมหานายกเป็นผู้นำข้อสอบมาเปิดสนามสอบ ในสมัยนั้นข้อสอบวิชาละ ๒๑ ข้อ นักเรียนธรรม ๗ จังหวัดในภาคพายัพ ได้มารวมสอบแห่งเดียว มีนักเรียนทั้งหมดประมาณ ๑๐๐ รูป จังหวัดลำพูนมี ๑๑ รูป
    กรรมการตรวจข้อสอบได้ทำการตรวจทุกคืน ครั้นสอบเสร็จแล้วหนึ่งวัน ก็แจ้งผลการสอบทันที ผลปรากฏว่าได้เพียง ๒ รูปคือ พระทองคำ วัดเชตุพน จังหวัดเชียงใหม่ รูปหนึ่ง กับอาตมา อีกรูปหนึ่ง นอกนั้นสอบตกหมด
    เมื่อถึงคราวกลับลำพูน ท่านมหานายกพร้อมคณะผู้นำข้อสอบมีความสนใจ ได้ติดตามมาถึงวัดป่าเหียง ซึ่งเป็นวัดเดิมของอาตมา ท่านพระมหานายกได้มาขอต่อพระอุปัชฌาย์และพ่อแม่พี่น้อง เพื่อจะรับเอาอาตมาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ แต่พระอุปัชฌาย์และพ่อแม่พี่น้องต่างก็เป็นห่วงเป็นใย ไม่อนุมัติให้ไป โดยอ้างเหตุผลไปต่างๆ นานา
    มีตอนหนึ่งพระอุปัชฌาย์ได้หันมาพูดว่า “ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม” ได้ฟังแล้วก็กำหนดจดจำไว้ในใจ เรื่องก็ยุติลงไป แต่ท่านก็รู้สึกเห็นใจ และขอบพระคุณท่านพระมหานายกเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณามาขอถึงที่อยู่ด้วยความหวังดี อนึ่ง ก็รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในตนเองที่มีบุญไม่ถึง จึงมีอุปสรรคทำให้ไม่ได้ไปศึกษาต่อ ให้มีความรู้ทางธรรมเท่าที่ควร
    ต่อนั้นมา ท่านก็ได้หวนระลึกถึงคำของพระอุปัชฌาย์ที่ว่า “ถ้ารักตัว ก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม”นั้นยังก้องอยู่ในหู จึงได้พยายามศึกษาหาความรู้ในด้านการปฏิบัติธรรม จากครูบาอาจารย์ผู้รู้ อาทิท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน มหาวโน) และพระครูภาวนาภิรัต (ครูบาอินทจักโก) ซึ่งเป็นพระพี่ชายที่อยู่ในสำนักเดียวกัน ยิ่งกว่านั้น ยังได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ ในข้อวัตรปฏิบัติธรรม จากครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน คือ ท่านครูบาแสน ญาณวุฑฒิ วัดหนองเงือก ท่านครูบาบุญมา ปารมี วัดกอม่วง และท่านครูบาอนุ ธมฺมวุฑฒิ วัดพานิชสิทธิการาม เป็นต้น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาหาทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
    ออกอยู่ป่า อาศัยความตั้งใจและความนึกคิดมาเป็นเวลาแรมปี ลุถึงอายุ ๒๔ พรรษา ๔ วันอังคารที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๔ เพ็ญเดือน ๘ (เดือน ๑๐ เหนือ) ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ท่านก็ตัดสินใจกราบลาพระอุปัชฌาย์พร้อมทั้งโยมพ่อโยมแม่และญาติพี่น้องที่มาพร้อมกันที่วัด เพื่อออกไปอยู่ป่าบำเพ็ญสมณธรรม
    ครั้นได้เวลา ก็ออกจากวัดด้วยใจที่เต็มไปด้วยความนึกคิด โดยเดินทางมุ่งสู่ดอยน้อยซึ่งตั้งอยู่ฟากแม่น้ำปิง เขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางไกลประมาณ ๑๒ กม. มีสามเณรอุ่นเรือน (ต่อมาเป็นพระอธิการอุ่นเรือน โพธิโก วัดบ้านหวาย) ติดตามไปด้วย วันรุ่งขึ้น ก็มีท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน วัดป่าเหียง) ได้กรุณาติดตามไปอีกท่านหนึ่ง
    ได้พักจำพรรษา อยู่ในศาลาเก่าคนละหลัง บำเพ็ญสมณธรรม ได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมที่อยู่ในแถบนั้นเป็นอย่างดี ครั้นออกพรรษาแล้วก็ได้พากันเดินทางกลับมาคารวะพระอุปัชฌาย์ พักอยู่เพียง ๓ คืน ก็ได้กราบลาท่านพระอุปัชฌาย์ เพื่อเดินทางไปสู่ป่าอีก พอได้เวลาประมาณตี ๓ ก็ถือเอาบาตรจีวร กับหนังสือ ๒-๓ เล่ม พร้อมทั้งกาน้ำและผ้ากรองน้ำแล้ว แล้วออกเดินทางไปอยู่ป่า
    วันนั้น เป็นวันเดือน ๑๒ (เดือนยี่เหนือ) แรม ๓ ค่ำ การเดินทางลำบากมาก เพราะเป็นเวลากลางคืน ต้องเดินทางผ่านทุ่งนาไกลประมาณ ๕-๖ กม. บาตรจีวรก็เปียกชุ่มไปหมด
    นึกๆ ดู “ก็เหมือนนักโทษตลอดชีวิต ที่แอบหนีออกจากคุกตะราง ซึ่งถูกกักขังมาตั้งหลายสิบปี”
    พอไปถึงชายป่าก็เป็นเวลาสว่างพอดี จึงหยุดพักพอหายเหนื่อย ครั้นได้เวลาภิกขาจารก็ออกเดินทางไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านเล็กๆ บ้านหนึ่ง ซึ่งมี ๒-๓ หลัง จำได้ว่าเป็นบ้านฮ่องแฮ่ ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ได้ข้าวนึ่ง ๒-๓ ก้อน แล้วก็กลับออกมาถึงกลางทุ่งนาที่มีน้ำ ได้นั่งลงที่มุมคันนา ปรารภจะฉันข้าว เปิดฝาบาตรขึ้นพิจารณาอาหารตามปัจจเวกขณวิธี ขณะนั้นความคิดก็เกิดขึ้น คิดถึงเรื่องพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จออกทรงผนวช แล้วเสด็จไปโปรดสัตว์คือบิณฑบาตในวันแรก
    “นี้นับว่า เป็นโชคดีของเราที่เราจะได้ปฏิบัติดำเนินตามรอยยุคลบาทของพระพุทธองค์” ทันใดนั้นจิตใจก็เต็มตื้นไปด้วยปีติเกิดขึ้นท่วมท้นหัวใจเป็นเหตุให้ น้ำตาอันไร้เจตนาได้หลั่งไหลลงโดยไม่รู้สึกตัว ท่านได้แข็งใจเอาผ้ามาเช็ดน้ำตาเสีย แล้วลงมือฉัน พอประทังชีวิตให้เป็นไป
    ครั้นฉันเสร็จแล้วก็เดินเข้าป่า ผ่านไปทางวัดหนองเจดีย์ ไปพักสงบหลบผู้คนอยู่ในป่าข้างห้วยแม่วังส้าน พอถึงตอนเย็นก็มีพระน้องชาย (พระครูสุนทรคัมภีรญาณ) และสามเณรอีกรูปหนึ่งได้ไปตามหา แล้วก็พากันเดินทางต่อไป ก็ไปพบหนองน้ำในป่า คือหนองปลาสะเด็ด (ปลาหมอ) ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีร่องรอยปรากฏอยู่ข้างถนนหน้าโรงเรียนบ้านโทกน้ำกัด
    ได้พากันพักค้างอยู่ที่นั่น ๑ คืน พอรุ่งสว่างก็ออกบิณฑบาตมาฉัน แล้วเดินทางเข้าป่าไปอีก ที่ไหนน้ำมีท่าก็พักอยู่ที่นั่น
    ใน ๒-๓ วันแรกได้อาศัยอยู่ตามป่าบวกกอห้า ขณะนั้นมีพระน้องชายอีกองค์หนึ่งคือ พระภิกษุแสงและโยมพ่อได้ตามหาอีก
    ต่อจากนั้นก็พากันเดินทางไปพักอยู่ที่กู่พระป่า ห้วยปันจ๊อย หล่ายแก้ว เหล่ายาว ดอยเหลี่ยม ดอยหยูด ดอยแดด ดอยเปา ดอยไก่เขี่ย ตามลำดับไปจนถึงป่าช้าบ้านแอ่น นาแก่ง และบ้านตาล เขตอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และที่อื่นๆ หลายป่าดงพงไพร และขุนเขาเป็นเวลาหลายสิบปี จนไม่สามารถจะจดจำนำมาเล่าสู่กันฟังให้สิ้นสุดได้
    การอยู่ป่าบางครั้งก็ได้รับความสะดวกสบายพอสมควร บางครั้งก็ได้รับความลำบากยากเข็ญเหลืออดเหลือทน ดูเหมือนจะเอาชีวิตจิตใจไปแลกเอา ซึ่งศีลธรรมกรรมฐานเสียจริงๆ
    การอยู่ป่าหรือการเดินธุดงค์ การอยู่ป่าในปีแรกรู้สึกลำบากมาก เนื่องจากเวลานั้นในจังหวัดภาคเหนือ ยังไม่ปรากฏว่าจะมีพระองค์ไหนออกอยู่ป่ามาก่อน จึงทำให้ประชาชนเกิดความสนใจแล้วพากันมาดู ถามนั่นถามนี่ บางพวกก็พากันมานั่งจ้องมองดูเป็นเวลานานตั้งครึ่งวัน ทำให้เกิดความรำคาญไม่สงบ จึงต้องมีการโยกไปย้ายมา เพื่อหลีกเร้นหลบหน้าผู้คนอยู่เสมอ
    บางครั้งก็มีเพื่อนสหธรรมิกได้ติดตามไปหลายรูป ในตอนแรกก็มีพระน้องชายพร้อมกับโยมพ่อ ซึ่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ได้ติดตามไปด้วย ในตอนหลังบางครั้งก็มีครูบาอาจารย์หลายๆ ท่าน อาทิท่านครูบาคำ คนฺธิโย วัดดงหลวง สบลี้ ครูบามัง วัดวังสะแกง เป็นต้น ได้กรุณาให้ความอบอุ่นไปอยู่ด้วย
    บางครั้งก็ได้ติดตามท่านครูบาภาวนาภิรัต วัดวนารามน้ำบ่อหลวง ซึ่งเป็นที่สักการะเคารพไปเป็นครั้งเป็นคราว
    การอยู่ป่าต้องมีความเชื่อความเลื่อมใส และมีเจตนาเป็นมหากุศล พร้อมมีความอดทนและใจสูงพอ มิฉะนั้นจะเกิดความหวั่นและท้อใจ เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศและสภาพการณ์ของป่า ซึ่งมีสารพัดอย่าง ทั้งสิงสาราสัตว์ สิ่งแวดล้อมที่เป็นอนิฏฐาอารมณ์ เช่น เหลือบ ยุง ตอมไต่ตลอดวันเวลา ตอนกลางคืนจะได้ยินเสียงร้องของสัตว์ เช่น เสือ นกปู่ติ๊ก (นกถืดทือ) เป็นต้น พอถึงฤดูใบไม้ร่วงก็ร้อนจนเกือบจะไม่มีที่อยู่อาศัย ฤดูหนาวก็หนาวเย็นเป็นที่สุด เพราะไม่มีสิ่งกำบัง ผู้อยู่ป่าก็ย่อมจะได้พบเป็นประสบการณ์ อาทิเช่น ที่นั่ง ที่นอน จะเป็นดินเป็นทราย หรือเป็นหินเป็นแร่อย่างไรไม่เข้าใจ พอถึงคราวพักผ่อนก็อยู่นอนกันไปอย่างนั้น บางครั้งฝนตกชั้นดินชื้นแฉะ นอนไม่ได้ ก็ขึ้นนอนตามขอนไม้ แต่แล้วพอตื่นขึ้นก็ปรากฏว่าลงไปนอนอยู่ตามพื้นดินกันหมด บางครั้งก็ต้องนอนในน้ำเหมือนกับควาย
    มีครั้งหนึ่งท่านครูบาพรหมาพร้อมด้วยคณะ ได้ไปอาศัยอยู่ป่า ไกลจากหมู่บ้านห้วยปันจ้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ประมาณ ๒ กม.ในวันแรกที่ไปจึงพากันแยกกันอยู่ตามโคนต้นไม้ ต่างก็นึกว่าคืนนี้จะสบายดี เพราะที่นั่นสงบ มองดูท้องฟ้าก็แจ่มใส แต่พอถึงกลางคืนดึกประมาณตี ๒ ก็เกิดมีฝนห่าใหญ่หลั่งไหลตกลงมา ก็คิดกันว่า “ทำอย่างไรหนอ” เพราะไม่มีกลดไม่มีร่ม ต่างก็พากันลุกขึ้นไหว้พระ เอาผ้าคลุมศีรษะ นั่งภาวนาอยู่ ในที่สุดก็นอนลง ทันใดนั้นก็มีน้ำป่าไหลหลากมา ทั้งฝนก็กระหน่ำตกไม่ขาดสาย ก็ปล่อยเลยตามเลย นอนกันอยู่อย่างนั้น เพราะต่างก็ง่วงนอนเต็มแก่ พอตื่นขึ้นก็เป็นเวลาสว่าง ได้เหลือบตามองดูจีวรที่ห่มอันเปียกชุ่มว่ามันเป็นอย่างไร ปรากฏว่าเป็นดินทรายไปหมด ยกเกือบไม่ขึ้น น่าสังเวชใจในชีวิตของตนเป็นกำลัง นึกว่า “ช่างมันเถอะอะไร ๆ ล้วนแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น”
    การบิณฑบาตตามธรรมดาพระของเราต้องอาศัยปัจจัย ๔ มีจีวร บิณฑบาต เป็นต้น เป็นกิจวัตรและนิสัย ตามที่พระอุปัชฌาย์ได้สอน ในวันแรกบวชพระอยู่ที่ไหนก็อาศัยหมู่บ้านที่นั่น เป็นที่โคจรคามบิณฑบาต พระย่อมมีหม้อข้าวทิพย์อยู่ในมือ เมื่อถึงเวลาภิกขาจาร ถ้าพระไม่ขี้เกียจ เพียงแต่ถือเอาหม้อข้าวทิพย์ ไปยืนนิ่งอยู่ตามประตูบ้าน โดยที่ไม่ต้องออกปากขอ เขาก็จะให้และพระก็จะได้ทุกราย เว้นแต่มีเหตุ ถ้าเราขี้เกียจ ไม่อาศัยลำแข้งของตนก็มีหวังอด เว้นแต่พระมีสตางค์และผู้อุปถัมภ์
    โดยเฉพาะการเดินธุดงค์อยู่ในป่า การบิณฑบาตรู้สึกว่าลำบากมาก ไม่แน่นอนเหมือนพระอยู่ในหมู่บ้าน อะไร ๆ ก็ดูเหมือนเป็นอนิจจัง ทุกขัง ไปเสียหมดบางวันได้กับข้าวพอสมควรแก่ความต้องการ บางวันก็มีผู้นำมาถวายจนฉันไม่หมด บางวันก็ได้แต่ข้าวเปล่าๆ ถึงกับต้องขอบิณฑบาตพริกกับเกลือจากโยมผู้ติดตาม เพื่อเอามาขยำเป็นน้ำพริก เอายอดหญ้าจี๊ยอบ (หญ้าไมยราพ) มาจิ้มน้ำพริกฉันก็มี บางวันไปบิณฑบาตไม้ได้ข้าวและอาหาร ต้องยอมจำนนอดทนทานกันไป ครั้งหนึ่ง ๑-๒ วัน ก็มี ชีวิตความเป็นอยู่ และจริยาวัตรแห่งการเดินธุดงค์
    ภายหลังจากธุดงค์เป็นเวลานาน จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าหนองเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นวัดร้างมีหลาย ๑๐๐ ปี ตามคำนิมนต์ขอครูบาอาจารย์และญาติโยม เป็นเวลา ๔ พรรษา หลังจากนั้นได้มาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า อันเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่หนึ่งในจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวันร้างมาตั้ง ๑,๐๐๐ กว่าปี ได้ประจำอยู่ ๑ พรรษา ก็ไดย้ายไปอยู่ป่า ม่อนมะหิน ประจำอยู่ที่นั้น ๒ พรรษา แล้วย้ายมาอยู่วัดป่าหนองเจดีย์อีก ๒ พรรษา
    ลุถึง พ.ศ.๒๔๙๑ ก็ได้กลับมาอยู่วัดพระพุทธบาทตากผ้าอีก เป็นครั้งที่ ๒ ได้จำพรรษาวัดพระพุทธบาทตากผ้าติดต่อกันตั้งแต่นั้นมา ถึงบัดนี้ พ.ศ.๒๕๑๖ (วันที่เล่าให้ฟัง) รวมเป็น ๒๖ พรรษา เพื่อเป็นการพักผ่อนและทำกิจพระพุทธศาสนา อันเป็นสาธารณประโยชน์ พร้อมทั้งสังขารร่างกาย ก็ย่างเข้าสู่วัยชราแล้ว จะเดินธุดงค์ บุกป่าฝ่าดง สมบุกสมบันเหมือนสมัยแต่ก่อนไม่ไว้ แต่ถึงอย่างนั้นในฤดูแล้งปีไหนเดือนไหนมีโอกาส ก็อุสาห์พยายามพาพระภิกษุสามเณรไปเดินธุดงค์อยู่ตามป่าหรือตามป่าช้าเป็นคราว เพื่อให้ลูกศิษย์ได้รู้ได้เห็นได้ทราบปฏิปทาการเดินธุดงค์ แล้วกลับมาจำพรรษาวัดพระพุทธบาทตากผ้า การบำเพ็ญอยู่ยังวัด ได้อาศัยร่มไม้ ต้นบุนนาค ต้นหนึ่งซึ่งอยู่หน้ากุฏิ เป็นที่นั่งบำเพ็ญสมณธรรมเป็นประจำมาทุกเช้า ตลอดฤดูแล้งและกลางพรรษา
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแต่ท่านทั้งหลาย
    สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต

    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างส่งครับ
    เหรียญรูปเหมือนหลังพระปิดตาครูบาวัดพระพุทธบาทตากผ้า
    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งอยู่ 30 บาทครับ

    IMG_20250330_232959.jpg IMG_20250330_204142.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    เมื่อวาน จัดส่ง
    1743390879114.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ_(ปุ่น_ปุณฺณสิริ).jpg
    เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ป๋า) วัดพระเชตุพน วัดโพธิ์
    และพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน
    ชาวสุพรรณสมโภชน์พระสังฆราช พิธีใหญ่ สุพรรณบุรี
    ได้รับการปลุกเสกโดย พระเกจิอาจารย์เมืองสุพรรณบุรี
    พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดป่าเลไลยก์ โดยมีพระเกจิอาจารย์ชั้นแนวหน้า อาทิ
    หลวงพ่อถิร ,
    หลวงพ่อมุ่ย ,
    หลวงพ่อเปลื้อง เป็นต้น
    เหรียญรุ่นนี้สร้างเป็นที่ระลึกเนื่องใน คราวสมโภชน์ที่สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งจัดสร้างโดยชาวสุพรรณบุรี เพื่อเป็นการเทิดไท้สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์รูปแรกที่เป็นชาวสุพรรณบุรี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จและเหรียญ ซองเดิม
    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20250331_121033.jpg IMG_20250331_121103.jpg IMG_20250331_121122.jpg IMG_20250331_121140.jpg IMG_20250331_121211.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    สมเด็จมหาราชทรงครุฑ ผงพุทธคุณชั้นยอด แถมผงตะไบทองของในหลวง สร้างในความรับผิดชอบของวัดทุ่งสีกัน เนื้อผงพุทธคุณสีขาว โรยผงตะไบทองคำแท้(ตะไบทองพระราชทานของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) มีพิมพ์ใหญ่โรยตะไบทอง หลัง ภปร., พิมพ์คะแนนเล็กๆ และพิมพ์นางพญา(พิมพ์ใหญ่เท่านั้นที่มีผงตะไบทอง)
    พระรุ่นนี้เป็นพระที่มีพิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่ มีพระเกจิอาจารย์มาร่วมปลุกเสกมากมาย เพื่อทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 50 ปี
    เป็นพระสมเด็จที่ทางวัดสีกัน(ทุ่งสีกัน) ดอนเมือง ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างขึ้น ในโอกาสที่พระเจ้าอยู่ทรงมีพระชนม์มาครบ 4 รอบ โดยสร้างในปี 2518 และได้รับพระราชทานทองคำแท่งมาเพื่อนำมาตะไบเป็นผง โรยในพระสมเด็จที่จัดสร้างขึ้น ซึ่งการตะไบทองในครั้งนี้ ทางผู้จัดสร้างได้ไปจ้างร้านทอง ลิ่มกุ่ยหลี บางลำพู เป้นผู้ตะไบทองจากทองแท่งให้เป็นผงทอง การจัดสร้างในครั้งนี้ ทางวัดได้มอบให้ นายสมชาย แสวงศิลป์ เป็นผู้ดำเนินการ จึงเป็นพระสมเด็จที่เพียบพร้อมไปด้วยมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีกรรมที่ดีเยี่ยม จัดเป็นพระรุ่นแรกของวัดสีกัน ที่มีประสบการณ์มากมาย และปัจจุบันพบเห็นน้อยมาก ด้วยจำนวนการจัดสร้างที่น้อยนิด จึงเป็นที่หวงแหนของผู้ที่ครอบครอง และรับทราบข้อมูลของพระรุ่นนี้เป็นอย่างดี
    วัดสีกัน เดิมมีชื่อว่า วัดพุทธสยาม ตั้งอยู่ริมถนนสรงประภา แขวงสีกัน เขตดอนเมือง เป็นวัดที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่เมื่อปีพุทธศักราช 2515 ด้วยแรงศรัทธาจากประชาชน ข้าราชการ ทหารและตำรวจ ได้ร่วมบริจาคที่ดินและทุนทรัพย์เพื่อสร้างวัดนี้ขึ้น และให้ชื่อว่าวัดพุทธสยามเป็นเบื้องต้น ซึ่งต่อมาได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงชื่อเสียใหม่เป็นวัดสีกัน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานที่ตั้ง สถาปัตยกรรมเด่นของวัดนี้อยู่ที่พระอุโบสถทรงไทยที่งดงามอลังการซึ่งสร้างขึ้นต้องตามคติทางศาสนาที่เชื่อถือกันมาแต่โบราณกาล ภายในประดิษฐานพระประธานที่เป็นเคารพสักการะของชาวบ้าน มีนามว่า "สมเด็จพระบรมพุทโธ" และที่เชิงบันไดนาคด้านหน้าโบสถ์ปรากฎรูปปั้นยักษ์คู่ดูน่าเกรงขามซึ่งมีชื่อว่า "สมเด็จท้าวเวสสุวรรณฯ" เป็นเสมือนทวารบาลผู้พิทักษ์รักษาพระบวรพุทธศาสนา
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ๑ . พระสมเด็จทรงครุฑพิมพ์กลาง
    ๒ . พระสมเด็จทรงครุฑพิมพ์เล็ก
    ๓. พระสังกัจจายน์ทรงครุฑ
    ๓ องค์

    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250331_150823.jpg IMG_20250331_150847.jpg IMG_20250331_150910.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    Pic_1267022_4.jpg

    เหรียญหยดน้ำหลวงปู่ดู่ วัดสะแก หลังพระพรหม ปี ๒๕๓๔
    หลวงพ่อเกษมปลุกเสก
    เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดู่ โดยหลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสก ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้เป็นสหายที่สนิทกันมาก ศิษย์หลวงปู่ดู่ และหลวงพ่อเกษมจะทราบดีว่าพระอริยสงฆ์ทั้ง 2 ท่านนี้สนิทสนม และนับถือกันมากเพียงใด เหรียญชุดนี้จะมีส่วนผสมทั้งชนวนมวลสารจากวัตถุมงคลรุ่นเก่าๆ ของหลวงปู่ดู่ผสมอยู่ด้วย
    เรื่องราวเกี่ยวกับ หลวงพ่อเกษม และ หลวงปู่ดู่ วันหนึ่ง มีเรื่องราวที่ผู้คนกล่าวถึงหลวงพ่อเกษมในทางที่อาจเกิดการปรามาสท่านได้ นั่นก็คือเรื่องที่ หลวงพ่อเกษมฉันอาหารในยามวิกาล...ในบางคราว หลวงปู่ดู่ ตั้งคำถามกับลูกศิษย์คนหนึ่งว่า แกเห็นว่ายังไง เข้าใจยังไง กับการที่หลวงพ่อเกษม ท่านฉันอาหารในยามวิกาลในบางคราว ลูกศิษย์ก็ไม่กล้าแสดงทัศนะ เพราะกลัวบาป หลวงปู่จึงเมตตาอธิบาย ให้ทราบถึงเหตุผลของเรื่องนี้ว่า หลวงพ่อเกษมท่านต้องการสงเคราะห์ดวงวิญญาณ ที่มาขอส่วนบุญในเวลานั้น ๆ โดยการนำอาหารที่ญาติของเขานำมาถวายไว้ (ตั้งแต่ตอนเช้า) มาฉันให้เขาได้บุญ แล้วจึงค่อยอุทิศส่วนบุญไปให้...ดวงวิญญาณนั้น จึงเป็นอันว่า หลวงพ่อเกษมท่านทำเพื่อ สงเคราะห์ผู้อื่น หาใช่ทำเพราะความมักมากในอาหาร หากเราได้ศึกษาข้อวัตรของท่านให้ดี ก็จะทราบว่า โดยปรกติแล้ว ท่านจะฉันเอกา (ฉันวันละครั้งเดียวเท่านั้น) รวมทั้งฉันสำรวม (คือเอาอาหารคาวหวานมารวมกันในบาตร) องค์ท่านเองก็ผอมเหลือเกิน จึงไม่น่ามีเหตุผลที่มาที่ไปว่า ท่านเป็นผู้มักมากในอาหารแต่อย่างใด เรื่องที่ หลวงปู่ดู่ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ได้ฟัง จึงทำให้ศิษย์ทั้งหลาย ณ ที่นั้น ได้เรียนรู้ว่า เรามิพึงด่วนสรุปอะไร ๆ จากภาพที่เห็นภายนอก เพราะยังมีหลายสิ่งหลายอย่าง...ที่เกินสติปัญญาความรู้ของเรา แต่อย่างไรก็ดี จะสังเกตว่าเรื่องดังกล่าวนี้ (หมายถึง การฉันอาหารยามวิกาล) องค์หลวงพ่อเกษมเอง ก็มิได้ทำเป็นกิจวัตร หากแต่นาน (แสนนาน) จะทำสักหนหนึ่ง และก็มิได้กระทำอย่างผู้มีแผล คือ ต้องแอบ ๆ ทำ เพราะ หลวงปู่ดู่ กล่าวยกย่องท่านว่า...เป็นผู้ไม่มีแผลแล้ว เป็นผู้ที่ใคร ๆ จะปรับอาบัติท่านไม่ได้แล้ว เฉกเช่นเดียวกับ...พระผู้หลุดพ้นแล้วทั้งปวง ความเป็นอยู่ของท่านเหล่านั้น ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลกโดยฝ่ายเดียว ซึ่งหากเป็นผู้ที่ยังไม่หมดกิเลส ทำอย่างเดียวกันกับท่าน ย่อมไม่พ้นอาบัติ และย่อมเป็นความเศร้าหมองแก่ตนเองโดยถ่ายเดียว *** จากบทความของ คุณสิทธิ์ http://www.luangpordu.com/ เช้ามืดวันหนึ่งที่กุฏิหลวงปู่ เมื่อราวสี่สิบปีมาแล้วพระลูกศิษย์ ของหลวงปู่มากราบนมัสการหลวงปู่ตอนเช้าอย่างที่ทำเป็นปรกติทุกวัน แต่วันนั้น มีสิ่งผิดแผกไปจากเดิม คือ หลวงปู่ยังไม่ออกมานอกกุฏิสักที ทำให้พระองค์นั้นนึกสงสัย และสงสัยมากขึ้นเมื่อได้ยินเสียงหลวงปู่สนทนากับใครอยู่ในกุฏิ ซึ่งธรรมดาแล้วท่านไม่เคยรับแขกที่ในกุฏิเนื่องจากภายในกุฏิท่านนั้นแคบมาก พระองค์นี้จึงยอมเสียมารยาทแอบมองหลวงปู่ผ่านทางช่องข้างฝากุฏิหลวงปู่ จึงพบว่าหลวงปู่นั่งสนทนากับพระรูปร่างผอม ๆ อีกองค์หนึ่งอยู่ ซึ่งท่านไม่รู้จัก กระทั่งวันรุ่งขึ้นได้เห็นรูปพระองค์นี้ในหนังสือพิมพ์ ท่านจึงอุทานว่า องค์นี้แหล่ะ พระที่หลวงปู่นั่งสนทนากันในกุฏิ จากรายละเอียดในหนังสือพิมพ์ พระลูกศิษย์หลวงปู่ท่านนั้นจึงทราบว่า พระที่ท่านเห็นสนทนากับหลวงปู่ในกุฏิก็คือ หลวงปู่เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ นั่นเอง ไม่มีใครทราบความสัมพันธ์ระหว่างหลวงปู่ดู่ กับหลวงปู่เกษม เพราะท่านไม่เคยเดินทางไปมาหาสู่กัน แต่ก็แปลกอย่างยิ่งที่ท่านทั้งสองมักกล่าวถึงกันเสมอ ๆ ช่างต่างจากทางโลกที่ว่าเมื่อฉันเก่งแล้ว ฉันก็จะเก่งที่สุดอยู่คนเดียว เก่งเหนือใครทั้งหมด ทิฐิมานะของผู้ปฏิบัติกับผู้ไม่ได้ปฏิบัติจึงต่างกันราวฟ้ากับดิน หากยังมีใครสงสัยว่าเมื่อหลวงปู่ดู่ไม่เคยย่างกรายออกนอกวัดสะแกเลย เหตุใดหนังสือเอกสารประกอบวัตถุมงคลจึงชอบเขียนกันนักว่า หลวงปู่ดู่ วัดสะแกมีรายนามพระเกจิในพิธี อย่างเช่นพิธีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีอายุครบ ๕๐ ปีนั้นก็ได้มีการนิมนต์หลวงปู่ดู่มาในพิธี มาร่วมอธิษฐานจิตเหรียญพระพุทธสิหิงค์จำลอง ที่จัดสร้างเป็นที่ระลึกและเพื่อจัดหาปัจจัยบำรุงมหาวิทยาลัยฯซึ่งประกอบพิธีที่อาคารหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีการนิมนต์พระเถระจากทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นหลวงปู่รับนิมนต์ที่จะร่วมพิธี แต่หลวงปู่ขอที่จะไม่เดินทางไป (ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติปรกติของหลวงปู่ที่งดรับนิมนต์ออกนอกวัด) หลวงปู่กล่าวกับท่านอธิการบดีว่า ขอให้ปูอาสนะและผ้าขาวในส่วนที่นั่งสำหรับหลวงปู่ จากนั้นหลวงปู่ได้สอบถามถึงกำหนดวันเวลาที่เริ่มพิธี เพื่อท่านจะได้นั่งกรรมฐานจากที่วัดในวันเวลาดังกล่าว จึงเป็นข้อยืนยันได้ว่า หลวงปู่ดู่นั้นไม่ได้นั่งปลุกเสกในพิธี จะมีก็เพียงการปลุกเสกแบบเดินญาณมาเท่านั้น (นำมาจากกระทู้ในสวนขลัง เพิ่มเติมเมื่อ ๓ สค. ๒๕๕๒) น้ำมนต์สองพระอริยสงฆ์ โดย พี่สิทธิ์ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๑ หลวงปู่ดู่ ได้ให้ เฮียอู๋ (โยมอุปัฎฐากหลวงปู่) นำพระที่ได้รับจากการที่มีผู้นำมาถวายสังฆทานเป็นจำนวนมากไปถวาย หลวงพ่อเกษม เขมโก ที่สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง ในครั้งนั้นท่านได้ให้เฮียอู๋นำน้ำมนต์ประมาณ ๒๐ แกลลอนไปด้วย เฮียอู๋ได้จัดพระบูชาและน้ำมนต์ตามที่หลวงปู่ดู่สั่งโดยไม่ทันได้กราบเรียน ถามถึงเรื่องน้ำมนต์ว่าจะต้องทำอย่างไร เฮียอู๋และภรรยา ได้ขับรถไปลำปางในวันรุ่งขึ้น เมื่อไปถึงสุสานไตรลักษณ์ประมาณบ่าย ๒ โมง ขับรถยนต์เข้าทางด้านหน้ากุฏิ พอดับเครื่องยนต์เสร็จก็เปิดท้ายรถยนต์เตรียมที่จะนำพระบูชาทยอยออกจากท้าย รถยนต์ แต่ยังไม่ได้ทันยกพระสักองค์ โยมอุปัฏฐากของ หลวงพ่อเกษม เขมโก ก็วิ่งลงมาจากกุฏิท่านแล้วบอกว่า 'หลวงพ่อท่านต้องการน้ำมนต์' เฮียอู๋จึงนำน้ำมนต์ให้โยมอุปัฏฐากของ หลวงพ่อเกษม เขมโก ไปด้วยความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าเฮียอู๋ลงจากรถ เปิดท้ายรถยนต์ ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ยังไม่ได้กราบเรียนท่านแล้วหลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านรู้ได้อย่างไรว่าเฮียอู๋นำน้ำมนต์มาด้วย !? แล้วยิ่งอัศจรรย์ใจมากยิ่งขึ้นเมื่อโยมอุปัฏฐาก หลวงพ่อเกษม นำน้ำมนต์คืนมาให้ แล้วเล่าว่า... หลวงพ่อเกษมท่านได้ใช้ปากจ่อปากแกลลอนแล้วเป่าลงไปในน้ำมนต์ แล้วสั่งให้นำน้ำมนต์มาคืนกลับวัดสะแก เมื่อเฮียอู๋กลับมาวัดสะแกก็ได้กราบเรียนหลวงปู่ดู่เรื่องน้ำมนต์ หลวงปู่ดู่ท่านก็ยิ้มแล้วบอกว่า “ข้าได้อธิษฐานจิตบอกหลวงพ่อเกษมไว้เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ก่อนแกจะไปลำปาง” ที่มีผู้กล่าวว่าหลวงปู่ดู่และ หลวงพ่อเกษม ท่านถึงกันตลอดเวลาคงไม่ใช่เป็นสิ่งที่กล่าวเกินเลยและเป็นสิ่งที่พวกเราได้รับสิ่งที่วิเศษสุดที่หลวงพ่อดู่และหลวงพ่อเกษมท่านเมตตาอธิษฐานจิตทำ น้ำมนต์ไว้ให้พวกเราได้ดื่มกันทุกวันนี้ (ผสมเป็นหัวเชื้อไว้ที่วัดสะแก) พูดได้ว่าเป็น น้ำมนต์สองพระอริยสงฆ์
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ
    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ (ปิดรายการ)

    IMG_20250331_161434.jpg IMG_20250331_161457.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2025 at 19:27
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    110903-1662246681-11d21d1ffd3d0f47893281b62368d03d.jpg
    FB_IMG_1743416449384.jpg
    พระผงสมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง
    รุ่นที่ระลึกครบรอบ ๑๐๐ วัน หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
    ปลุกเสกปี ๒๕๓๖
    เป็นรุ่นที่รวมมวลสารพระคำข้าวทั้ง3รุ่น และเกศาหลวงพ่อ ฯลฯ
    พระผงรุ่นนี้จะมีมวลสาร พระคำข้าวทั้ง 3 รุ่น
    เกศาหลวงพ่อฤาษีลิงดำ น้ำมันชาตรี
    ผงดินสอพองหลวงพ่อปลุกเสก ปี 2517
    ผงมวลสารพระที่พุทธาภิเษกทุกรุ่นของวัดท่าซุง
    พระผงรุ่นนี้เป็นการรวมผงคำข้าวทั้ง 3 รุ่น และยังมีผงดินสอพองปลุกเสก 1 ไตรมาสมารวมกันในองค์เดียว ผงพระคำข้าวรุ่น 1, 2 และ 3 คือข้าวที่หลวงพ่อปลุกเสกอยู่ 3 เดือนกว่าในแต่ละรุ่นแล้วนำไปตากแห้งแล้วจึงบดเป็นผงไว้ผสมเป็นมวลสารทำพระคำข้าวรุ่น 1 รุ่น 2 และนำผงคำข้าวไปอุดด้านหลังพระคำข้าวรุ่นพิเศษ ผงคำข้าวทั้งหมดที่เหลือจากนำไปผสมมวลสารรุ่น 1, 2 และอุดพระคำข้าวรุ่นพิเศษได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมพระคำข้าวแต่ละรุ่นอีกครั้ง ส่วนผงดินสอพองหลวงพ่อท่านเจ้าคุณท่านเคยเล่าเอาไว้ว่า "ท่านบอกว่า ต่อไปนี้จะไม่มีเวลาทำพระครบไตรมาสแล้วนะ เวลาท่านทำกรรมฐานท่านก็นั่งทำพิธีทุกวัน ทำกรรมฐานเสร็จท่านก็เล่าให้ฟังว่า วันนี้พระที่มีความสำคัญมาทำ ทำเฉพาะพิเศษเลยเฉพาะจุดนี้ รุ่งขึ้นอีกวันท่านก็บอกพระองค์นี้มาทำเฉพาะจุดนี้เป็นเรื่องๆไป"
    นอกจากผงคำข้าวทั้ง 3 รุ่นและผงดินสอพองแล้วยังมีผงวิเศษอีกอย่างหนึ่งคือผงที่ปลุกเสกในอุโบสถทุกครั้ง(ในข้อ 2) มีพระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อรุ่นต่างๆมากมายผ่านการปลุกเสกในอุโบสถ อย่างเหรียญวันเกิดรุ่น 1- 4 , มงกุฏเพชรรุ่นพระสุธรรมยานเถร, แหวนจักรพรรดิ์ , ผ้ายันต์เกราะเพชร , ผ้ายันต์พิชัยสงคราม , ลูกแก้วมหามณีรัตนะรุ่น 1 ผงวิเศษนี้ก็ผ่านเข้าพิธีพร้อมไปด้วยเช่นกันจึงมีพระพุทธคุณคลอบคลุมทุกอย่างของพระเครื่องวัตถุมงคลของหลวงพ่อทั้งหมด
    ทั้งยังผสมน้ำมันชาตรีและเกศาหลวงพ่อเอาไว้ด้วย ตอนรับแจกใหม่ๆในงานทำบุญครบ 100 วันหลวงพ่อ กลิ่นน้ำมันชาตรีจากองค์พระแรงมาก เปิดกล่องมาจะได้กลิ่นน้ำมันชาตรีออกมาชัด
    พระผงรุ่นนี้เหมือนรวมสิ่งที่หลวงพ่อได้ปลุกเสกเอาไว้เกือบทุกพิธี มีพระพุทธคุณเด่นของรุ่นต่างๆมารวมกันไว้ในองค์เดียว ต่อไปข้างหน้าคงเป็นอีกรุ่นนึงที่คนข้างหลังเสาะหากันมากเพราะยังเป็นพระรุ่นแรกของหลวงพ่อท่านเจ้าคุณด้วยอีกต่างหาก
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    กล่องเดิมๆ

    ให้บูชา 350 บาทครับ

    IMG_20250331_171302.jpg IMG_20250331_171338.jpg IMG_20250331_171758.jpg
     
  12. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +1,203
    จอง เหรียญหยดน้ำหลวงปู่ดู่ วัดสะแก หลังพระพรหม ปี ๒๕๓๔
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    พระชัยวัฒน์ยอดแก้ว วัดเกาะแก้วอรุณคาม จ.สระบุรี ปี2555 (ตำรับวัดสุทัศน์)
    ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ปลุกเสก เนื้อทองทิพย์ ตำรับสมเด็จพระสังฆราชแพ ผสมชนวนเก่า สังฆราชแพ ๕.๕ กิโล ปี๔๕ พร้อมกล่องเดิม
    ในปี พ.ศ.2545 วัดเกาะแก้วอรุณคาม ต.หนองหมู อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ได้จัดสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ขึ้นรุ่นหนึ่ง ชื่อรุ่นว่าพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ยอดแก้ว เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาศที่วัดเกาะแก้วมีอายุครบ 108 ปี โดยจัดสร้างพระกริ่งตามแบบฉบับของ สมเด็จพระสังฆราชแพปี พ.ศ. 2482 มาปั้นแบบพิมพ์ขึ้นใหม่ เนื้อทองผสม หล่อดินไทยแบบโบราณ ผสมชนวนก้นเบ้าพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชแพ ตอกโค้ดยันต์โสฬสมงคล จำนวนสร้างทั้งหมด 9,999 องค์
    พิธีพุทธาภิเศก 3 วัน 3 คืน วันที่ 11 - 13 ก.ค. พ.ศ. 2545 ณ วัดเกาะแก้วอรุณคาม ต.หนองหมู อ.วิหารแดง จ.สระบุรี โดยพระเกจิอาจารย์ 108 รูปนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก ดังนี้
    1. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม กทม.
    2. พระพุทธวรญาณ วัดประยุรวงศาวาส กทม.
    3. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
    4. พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
    5. พระเทพวิสุทธิเมธี (หลวงพ่อเที่ยง) วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.
    6. พระเทพโมลี วัดราชผาติการาม กทม.
    7. พระราชนันทาจารย์ (หลวงพ่อผล) วัดเวตวันธรรมาวาส กทม.
    8. พระราชพิพัฒน์โกศล (หลวงพ่อเณร) วัดศรีสุดาราม กทม.
    9. พระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม.
    10. พระราชประสิทธิวิมล (หลวงพ่อประจวบ) วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.
    11. พระโสภณธรรมวงศ์ (หลวงพ่อทองสืบ) วัดอินทรวิหาร กทม.
    12. พระญาณโพธิ วัดอัมพวัน กทม.
    13. พระครูสุวรรณวัยวุฒิ (หลวงปู่ทอง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม.
    14. พระครูนิพัทธ์ธรรมกิจ (หลวงพ่อแคล้ว) วัดบางขุนเทียนนอก กทม.
    15. พระครูสังฆรักษ์หลุยส์ วัดลาดบัวขาว กทม.
    16. ครูบาอินตา วัดมหาพฤฒาราม กทม.
    17. หลวงพ่อสง่า วัดใหม่เจริญราษฏร์ กทม.
    18. พระครูภัทรวิริยคุณ (หลวงพ่อถนอม) วัดสุทัศน์ กทม.
    19. พระมหาประดิษฐ์ ถิรธมโม วัดสุทัศน์ กทม.
    ...และพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่าน ๑๐๘ องค์
    พระกริ่งยอดแก้ว เป็นพระกริ่งในสายวัดสุทัศน์ ที่มีเจตนาการสร้างดี พิธีปลุกเสกและขั้นตอนการจัดสร้างดีมาก เพราะได้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( พุฒ สุวัฒนเถระ ปธ 7 ) วัดสุวรรณาราม กรุงเทพ เป็นองค์ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ในการจัดสร้าง " พระกริ่งยอดแก้ว " ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นหนึ่งในศิษย์สมเด็จพระสังฆราชแพ ที่ใกล้ชิด ได้เรียนรู้วิชาการสร้างพระกริ่งและวิชาต่างๆจากสังฆราชแพ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ไม่ได้เก่งด้านปริยัติน่างเดียว มีศิษย์สายนี้กล่าวว่าพลังจิตของท่านเข้มแข็งมาก แม้แต่คุณชินพร สุขสถิตย์ ยังเลื่อมใส ในการสร้างพระกริ่งยอดฉัตร ท่านสมเด็จ เป็นองค์ประธานประกอบพิธีจารอักขระยันต์ หย่อนชนวนนวโลหะก้นเบ้าพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชแพ , พระกริ่งพรหมมุณี และเททองหล่อ " พระกริ่งยอดแก้ว " เป็นปฐมมงคลฤกษ์ โดยมีพระเกจิคณาจารย์ 14 รูป นั่งปรกอธิษฐานจิต เมื่อวันมหาจักรี เสาร์ที่ 6 เมษายน 2545 เวลา 14.39 น. ณ มณฑลพิธีหน้าอุโบสถวัดเกาะแก้วอรุณคาม และมีจัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่อีกครั้งในวันเดือน กรกฏาคม 2545 มีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังมาร่วม 108 องค์ พระกริ่งยอดแก้ว เนื้อนวโลหะพิเศษ หล่อดินไทยแบบโบราณ ชักเม็ดกริ่งในองค์ ก้นเป็นก้นถ้วย บรรจุเส้นเกศาสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม ผสมชนวนก้นเบ้าพระกริ่งรุ่นเก่าสมเด็จพระสังฆราชแพ และชนวนมวลสารอีกกว่า 1000ชนิด ตอกโค๊ตยันต์ปทุมคงคา และยันต์โสฬสที่ด้านหลัง มีหมายเลขกำกับ มีจารกำกับใต้ฐาน
    ประวัติโดยย่อ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม พุฒ สุวัฒนกุล เป็นชาวอยุธยา เกิด วันที่ 11 มีนาคม 2450 เมื่ออายุได้ 16 ปี ได้เข้ามาเรียนนักธรรมที่วัดสุทัศน์ และได้บรรพชาเป็นสามเณรในปี 2467 ต่อมาได้บวชเป็นพระเมื่อปี 2471 ที่วัดบัวงาม อำเภอท่าเรือ อยุธยา โดยมี พระญาณไตรโลก(ฉาย) วัดพนัญเชิง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อปัด วัดสะตือ พระอธิการอุ่น วัดหนองแห้ว เป็นกรรมวาจาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้กลับมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ เพื่อศึกษาวิชาและได้รับใช้สมเด็จพระสังฆราชแพ ในปี 2502 ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ในปี 2539 ท่านเป็นพระเถระที่มีอายุสูงถึง 102 ปี ได้มรณภาพเมื่อ 25 ม.ค. 2553
    สำหรับ พระกริ่งยอดแก้ว เนื้อนวะโลหะชั้นครู พิมพ์ใหญ่ สายวัดสุทัศน์โดยตรง สภาพสวยมากๆ จะหาพระกริ่งยุคหลังปี2500 ที่มีเนื้อหาเข้มขลัง ทำได้ตามตำรับแบบนี้หายากแล้วครับ ถ้าหาพระกริ่งสายวัดสุทัศน์รุ่นเก่าๆไม่ได้ บูชาพระกริ่งยอดแก้ว ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ) แทนได้เลยครับ
    หนึ่งศตวรรษพระกริ่งดินไทยตำรับวัดสุทัศน์เทพวราราม ที่มีเจตนาการสร้างดีพิธีและขั้นตอนการจัดสร้างเข็มขัง ซึ่งสมเด็จพระโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย ก.ท.ม. หนึ่งในศิษย์สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นประธานในการจัดสร้าง เททองหล่อ ผสมชนวนนวโลหะก้นเบ้าพระกริ่งสมเด็จสังฆราชแพ น้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม อย่างเต็มสูตรชนิดที่พระกริ่งรุ่นหลังๆ ของวัดสุทัศน์ก็ยังไม่มีผสมได้เท่าเทียม พิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่โดยมีพระเกจิคณาจารย์ทั่วประเทศร่วมนั่งปรกอธิฐานจิต ๑๐๘ รูป และยังได้รับความเมตตาปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษจาก ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง จังหวัดเชียงใหม่ พระกริ่งยอดแก้ว เนื้อนวโหละเต็มสูตร หล่อดินไทยแบบโบราณ ซักเม็ดกริ่งในองค์ ก้นเป็นก้นถ้วย มีจารมือ ภายในบรรจุเกศาสมเด็จพระโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม ตอกโค๊ตยันต์ปทุมคงคา และยันต์โสฬสด้านหลัง มีหมายเลขกำกับองค์
    พระกริ่งหลวงมหาไจยะเบงชร
    (พระกริ่ง ยอดแก้ว พ.ศ. 2545)
    สุดยอดพระกริ่งที่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งปลุกเสกอย่างทิ้งทวนและพิสดารที่สุด
    หากจะยังพอจำกันได้ เมื่อประมาณปีพ.ศ.2544-2545 ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมสร้างวัตถุมงคลสำคัญอยู่ 2 ชุด ซึ่งได้นำถวายให้ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่ ปลุกเสก คือ
    1.พระกริ่งไจยะเบงชร ที่ระลึก 100 ปีเกิด ครูบาอิน
    2.พระกริ่งยอดแก้ว ที่ระลึก 108 ปี วัดเกาะแก้วอรุณคาม สระบุรี
    แต่พระกริ่งยอดแก้วนี้ นับเป็นพระกริ่งรุ่นสำคัญสุดยอดอีกรุ่น ที่อาจจะกล่าวได้ว่า นอกจากครูบาอิน จะเสกให้อย่างดีเยี่ยม
    และพิสดารสุดยอด (ทั้ง “โดยตรง”และ “โดยญาณ” ) แล้ว เนื้อหามวลสารก็ยัง “พิเศษสุด” อย่างไม่อาจจะหาใดมาเทียมทันอีกต่างหากด้วยแม้แต่พระกริ่งไจยะเบงชรเอง ก็ไม่มีเหมือนกันด้วย
    เพราะนอกจากจะมี “หัวชนวน”พระกริ่งไจยะเบงชร ที่ผู้เขียนนำมาร่วมเททองหล่อหลอมด้วยแล้ว ก็ยังได้ผสม “นวโลหะก้นเบ้า สมเด็จพระสังฆราชแพ”แท้ๆ น.น.กว่า 5.5 กิโลกรัม เข้าร่วมด้วยอย่างเต็มสูตร ชนิดที่พระกริ่งรุ่นหลังๆของวัดสุทัศน์เอง ก็ยังไม่มีผสมได้เทียมเท่าเพราะชนวนก้นเบ้าที่ว่านี้ ได้รับมาจาก “พระราชวิสุทธาจารย์”หรือ “เจ้าคุณแป๊ะ” อดีตพระฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราชแพ ผ่านท่านพระครูสุวัฒนประสิทธิ เจ้าคณะในวัดสุทัศน์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของวัดเกาะแก้วอรุณคามมาแต่เดิมนั่นแล
    ทำพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ) วัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย กทม. ศิษย์สายตรงองค์สุดท้ายของสมเด็จพระสังฆราชแพอีกต่างหากไม่ “สุดยอด”ในคราวนี้ จะให้ไปสุดยอดในคราวไหนกันอีกเล่า???นอกจากพระกริ่งยอดแก้วนี้ จะได้ประกอบมหาพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดถึง 3 วัน 3 คืนเต็มๆแล้ว ผู้เขียนก็ยังได้นำพระกริ่งไปขอให้ครูบาอิน ปลุกเสกเดี่ยวถึงจังหวัดเชียงใหม่ด้วยส่วนหนึ่งซึ่งครูบาอินท่านก็เมตตานั่งปรกให้นานถึง 45 นาทีด้วยกันนับว่า “นานสุดๆ”แบบทิ้งทวนกันเลยทีเดียวและในการนี้ ก็ได้ปรากฏแสงปาฏิหาริย์สีขาวพุ่งลงมาจากเบื้องบน จับภาพเห็นได้ถนัด น่าตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่ง
    มิหนำ สุดท้ายก่อนกราบลา ผู้เขียน ก็ยังได้อาราธนาครูบาอินท่าน ได้แผ่เมตตา “เดินญาณ”มาปรกปลุกเสกในพิธีพุทธาภิเศกใหญ่ที่อุโบสถ วัดเกาะแก้วอรุณ คามซ้ำอีก 3 วันซ้อนๆ เฉกเช่นเดียวกับที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ) วัดเทพศิรินทราวาส เคยกระทำมาแต่ก่อนอีกต่างหาก ซึ่ง “ครูบาฟ้าหลั่ง” ก็ส่งเสียง “อือ” ตอบรับโดยอาการดุษณีภาพ เพียงเท่านี้ก็ “เพียงพอ”แล้ว
    เพราะ “เชื่อมือ”ท่านอย่างหมดใจว่า ระดับครูบาอิน ที่แม้แต่หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร หรือครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้มยังนับถือยกย่องนั้น เรื่องเดินญาณเสกของแค่นี้ บอกได้คำเดียวว่า “ส.บ.ม.ย.ห.”อย่างไม่ต้องสงสัยแน่ๆเพราะการ “เดินญาณ”นั้น พระระดับอริยะอย่างหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ก็ยังกล่าวไว้เลยว่า“พลังจิต ไม่จำต้องเดินตามสายสิญจน์เหมือนที่บางคนเข้าใจ แต่อยู่ที่กำหนดต่างหาก หาไม่แล้ว ตัวอยู่เชียงใหม่ จะส่งจิตไปเสกที่กรุงเทพได้หรือ..???”และที่สุด พระอัจฉริยเจ้าชั้นอ๋องอย่างครูบาชัยวงศ์ ก็ยังรับรองไว้เช่นกันว่า “เอามาเสกต่อหน้า หรือเดินญาณไปเสก มีค่าเท่ากัน...!!!!”
    แต่..... “พระ”ที่อาจทำได้เยี่ยงนี้ ต้อง “สุดๆ”อย่างแท้จริงเท่านั้นหาไม่แล้ว ต่อให้เอามา “เสกต่อหน้า” ก็คงต้องให้ “เปิดถุง”ออกก่อน เพราะกลัวพลังจิตจะพุ่งทะลุถุงพลาสติกไปไม่พ้นกันวุ่นวายหรอกนะขอรับคริๆๆๆๆๆๆ......และ “ผล” ก็ปรากฏให้เป็นที่ “ประจักษ์”อย่างน่าตื่นตะลึง
    เพราะให้พิธีพุทธาภิเษกนั้น ได้ปรากฏ “ฝนตก”ลงมาในเขตวัดอย่างปรอยๆเหมือนหนึ่ง”พรมน้ำมนต์” ทั้ง 3 วัน ในขณะที่บริเวณรอบๆวัด ฝนตกอย่างถล่มทลายแทบจะไม่มีดีเหมือนมีใครมา “กั้น”หรือ “อั้น”ฝนไว้มิให้ “พิธีเสีย”อย่างนั้น“ผิดสังเกต”จนพระที่มาในงานถึงกับออกปากเลยทีเดียวว่า“แปลกจังเลย ขณะที่เดินทางมานี้ ฝนข้างนอกตกหนักจนบรรยายแทบไม่ถูก แต่พอมาถึงพิธีกลับมีฝนแค่ปรอยๆเท่านั้น น่าอัศจรรย์ใจจริงๆ”เมื่อได้ฟัง ก็นึกได้เลยทีเดียวว่า งานนี้ “ครูบาอิน”ท่านมาทำให้แน่ๆเพราะทราบเป็นการภายในว่า ครูบาอินนั้น ท่านเก่ง “ธาตุน้ำ”อยู่แล้วและฉายาเดิมของท่านก็คือ “ครูบาฟ้าหลั่ง” (ฝนกระหน่ำ) อีกนั่นด้วยครูบาอิน “มา “ ฝน ก็ “มา”ถือเป็นเรื่อง “ธรรมดา”มากๆและเมื่อเสร็จพิธีแล้ว ก็ลองให้ “อาจารย์” ผู้สำเร็จสมาธิชั้นสูงลองสัมผัสพลังภายในดูโดยมิได้บอกกล่าวว่ากระไร ก็ต้องแก่การแปลกใจหาน้อยไม่ว่า
    “พระกริ่งรุ่นนี้ ดีรอบด้าน พลังวิจิตรพิสดารมาก มีพระคณาจารย์ปลุกเสกเยอะมาก ชนวนก็ดีด้วย ...”แต่....“พลังที่ในพระกริ่งองค์นี้ ทำไมถึงเหมือนเป็นพลังของครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งโดดเด่นออกมาเป็นพิเศษเลยทีเดียวนะ แปลกมากๆ..!!???”อ้าว........ทำไม่จะ “โดดเด่น”ได้เล่า..????ชนวนของท่านก็ “มี”และ “พลังจิต”ครูบาอินท่าน “ล้อเล่น”เสียเมื่อไรมิหนำ ท่านยัง “เดินญาณ”มาทำให้ถึง 3 วันซ้อนๆ
    พระกริ่งยอดแก้วนี้ หากจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็นับเป็นพระกริ่งใหญ่(สุด)ของท่านก็ว่าได้ไม่ผิดคำเลยเทียวการเสก ท่านก็เสกให้แบบทิ้งทวนและพิสดารกว่า ปกติด้วยเหตุนี้ “พลัง” ในพระกริ่งยอดแก้วนี้ จะไม่โดดเด่นทนไหวล่ะหรือและเพราะเหตุที่ “พระกริ่งยอดแก้ว”นี้ เป็นพระกริ่งขนาดใหญ่ ล่ำบึ้กกว่าพระกริ่งไจยะเบงชร ชุดแรกมาก เนื้อหามวลสารก็ “แน่นเอี้ยด”กว่า ประกอบกับเป็นพระกริ่งที่ครูบาอินท่านตั้งใจ “ทำ”ฝากไว้ให้อย่าง “ทิ้งทวน” ให้หลายครั้งหลายวาระ ทั้ง “โดยตรง”และ “โดยญาณ”อย่างว่าเยี่ยงนี้อีกต่างหาก ผู้เขียนจึงไม่ลังเลใจที่จะขนานสมัญญาพระกริ่งยอดแก้วนี้ในอีกมิติหนึ่งว่า “พระกริ่งหลวงมหาไจยะเบงชร” อันสุดยอดที่สุดของครูบาอิน อินโท วัดทุ่งปุย-ฟ้าหลั่ง ไปอย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ใครที่เคยได้สั่งจองบูชาไว้แล้ว ก็ขอให้จงรักษาไว้ให้ดีที่สุดเถิด
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระชัยวัฒน์ยอดแก้ว
    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20250331_194908.jpg IMG_20250331_194929.jpg IMG_20250331_194829.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2025 at 11:49
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    FB_IMG_1743426186701.jpg

    ประวัติพระครูจันทโพธิ์คุณ หรือหลวงพ่อโทน เจ้าอาวาสวัดเชิงหวาย เกิดเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ.2466 ได้อุปสมบทที่วัดเชิงหวายเมื่อ พ.ศ.2491 และได้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงหวายเมื่อปี 2497 จนถึงปัจจุบัน รวมอายุ 89 ปี 64 พรรษา หลวงพ่อโทนเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อกริ่ม วัดกลางกับหลวงพ่อสาย วัดทองคุ้ง เจ้าตำหรับแหวนพิรอด และได้เรียนรักษาจากพระเขมรอยู่ 2 ปี ซึ่งออกวัตถุมงคลที่โด่งดังที่สุดคือเหรียญหลวงพ่อโทนใสแวนเนื้อนิเกิล และพระสมเด็จขี่หลังหมู เพราะหลวงพ่อโทนท่านเกิดปีกุน ซึ่งน้ำมนต์ของหลวงพ่อโทนโด่งดังทั่วประเทศอยู่ที่ไหนๆ ก็มาขอน้ำมนต์ที่เชื่อว่ามีสรรพคุณทางด้านเมตตา มหานิยม ค้าขาย และรักษาโรค
    พระอาจารย์โทน วัดเซิงหวาย อ่างทอง
    สมัยเมื่อ 30 ปีก่อน คนอ่างทอง อยุธยา สิงห์บุรี จะรู้ฉายาท่าน อาจารย์โทนหมอเทวดา ทั้งรักษามะเร็งรักษาโรคเอดส์จนเป็นที่เลื่องลือให้คนรู้จักทั่วสารทิศ ท่านทำได้ทุกอย่างสรรพวิชานี้ ต่างเป็นที่เคราพนับถือแก่ศิษย์ญานุศิษย์ทุกท่าน แม้ท่านจะมรณะภาพไปแล้วแต่ความดีที่ท่านสร้างเอาไว้ ช่วยเหลือผู้คน และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ก็ยังอยู่ในใจของลูกศิษย์ตราบนานเท่านาน "ร่างกายตาย แต่จิตไม่ตาย" (พระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา) ธรรมบทนี้ที่หลวงปู่โทนใช้ในการนั้งพระกรรมฐานทุกวันครับ
    อดีต นายกสมัคร ก็เป็นลูกศิษย์ท่าน แอบมารดน้ำมนต์อยู่บ่อยๆ

    เหรียญรุ่นแรก มีสองบล๊อก เนื้อทองเหลือง กับนิเกิ้ล
    เนื้อทองเหลือง สร้างน้อยกว่า เพราะหลวงพ่อ ใส่ทองคำลงไปหลอมกับเนื้อจำนวน 2 บาท
    เป็นพระะเก่งแบบไม่โฉ่งฉ่าง ดังมานานแล้วครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลทุกๆที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อโทนวัดเชิงหวายรุ่น 1 หลังเต่า
    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วนเหลือ 30 บาทครับ

    IMG_20250331_202458.jpg IMG_20250331_202524.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    44247851_1933744243382526_3625800533605875712_n.jpg

    FB_IMG_1743483262696.jpg

    เก่งจนหลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลียอมรับ
    ......พระของท่านนั้นดังมากในช่วงสงครามอินโดจีน จากประสพการณ์เล่าขานของทหารผ่านศึกที่รอดตายกลับมาเป็นที่น่าเชื่อถือ ว่ากันว่าพระของท่านจะมีมวลสารจากสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักอยู่ด้วย
    หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง เกจิดังเมืองกรุง
    พระเครื่องเข้มขลังดีทาง "อยู่ยงคงกะพัน" "เมตตามหานิยม" อย่างโดดเด่น
    “หลวงปู่ธูป” หรือ “พระราชธรรมวิจารณ์” เป็นพระยุคเก่าที่สมถะ มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายให้การอนุเคราะห์สาธุชนโดยเลือกชั้นวรรณะ เปี่ยมล้นด้วยพรหมวิหาร ให้การต้อนรับขับสู้แขกผู้มาเยือนอย่างมีไมตรีจิต เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิต และคฤหัสถ์โดยทั่วไป
    นับตั้งแต่สงครามอินโดจีนเรื่อยมา วัดสุนทรธรรมทาน หรือ วัดแคนางเลิ้ง หรือ วัดสนามกระบือ ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือเป็นสถานที่ต้อนรับพระเกจิอาจารย์ที่อยู่ต่างจังหวัดมากมาย หลวงปู่ธูปจึงมีความสนิทคุ้นเคยและมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้ทางพุทธาคมคาถา กับพระผู้ทรงวิทยาคมในสมัยนั้นหลายรูปหลายนามยิ่งกว่านั้น ยังได้รับตำรับตำราจากพระคณาจารย์บางองค์เป็นการเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะวิชา “อยู่ยง” นั้นเป็นที่เล่าลือมาก
    ต่อมาในระยะหลังๆ พระเกจิอาจารย์มาเยือนวัดแคนางเลิ้งเพียงไม่กี่รูป เพราะชราภาพไม่สะดวกในการเดินทาง คงมีแต่หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม หลวงพ่อนอ วัดกลางและหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงเรื่องราวของท่าน ที่ถูกนำมาถ่ายทอดเล่าขานสืบต่อกันมา
    หลวงปู่ธูป เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 9 ของวัดแคนางเลิ้งที่มีความเข้มขลังทางพุทธาอาคม เป็นเกจิร่วมยุคกับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม โดยเฉพาะหลวงปู่โต๊ะจะสนิทสนมกันมาก เมื่อวัดแคมีการปลุกเสกพระจะต้องนิมนต์หลวงปู่โต๊ะไปร่วมนั่งปรกทุกครั้ง สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านไม่ยอมเปิดเผยวิทยาคุณด้านนี้ให้เป็นที่แพร่หลายมากนัก ผู้คนทั่วไปจึงไม่ค่อยมีโอกาสรับรู้ นอกจากผู้อยู่ใกล้ชิดและติดตาม
    ท่านเกิดในสกุล “วิชาเดช” เกิดวันจันทร์ที่ 11 เม.ย. 2441 ณ บ้าน ต.บางหลวงเอียง อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ “เดช” มารดาชื่อ “ผ่อง” มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ท่านเป็นคนสุดท้อง อายุได้ 8 ปี ญาติผู้ใหญ่นำไปฝากให้เรียนอักษรสมัยที่วัดตะกู โดยมีพระอาจารย์เอม เจ้าอาวาสขณะนั้น เป็นครูสอนเรียนหนังสือไทยเบื้องต้น มีประถม ก.กา มูลบทบรรพกิจ หนังสือพระมาลัยและขอม เป็นพื้นฐานเบื้องต้น จากนั้นได้ย้ายมาศึกษาวิชามูลกัจจายน์ และเรียนหนังสือบาลีที่วัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา
    หลังจากเล่าเรียนจนแตกฉานแล้ว พี่ชายของท่านซึ่งอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่กรุงเทพฯ คือ พล.ต.อ.เจ้าพระยาราชศุภนิมิตร และท่านผู้หญิงแปลก ได้มารับท่านไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วย และได้ให้ความเมตตาและอุปการะเป็นอย่างดี โดยให้เข้าเรียนหนังสือต่อที่ ร.ร.วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) จนจบชั้นประถม 4 ในขณะที่เล่าเรียนได้มีโอกาสติดตาม พล.ต.อ.เจ้าพระยาราชศุภนิมิตรเข้าเฝ้า และติดตามเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีต่างๆ และการเสด็จแปรพระราชฐานในต่างจังหวัดอยู่บ่อยครั้ง
    เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหารได้สมัครเข้ารับราชการเป็นทหารรักษาวังอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการท่านเจ้าพระยาและท่านผู้หญิง ได้อุปถัมภ์ให้เข้ารับการอุปสมบท ณ วัดสุนทรธรรมทาน เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2463 สมเด็จพระวันรัต (จ่าย) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริยมุนี (หว่าง) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูพุทธบาล (เนตร) เจ้าอาวาสวัดสุนทรธรรมทาน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เขมสิริ”
    ได้อยู่จำพรรษาที่วัดแคนางเลิ้ง ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระครูพุทธบาลมาโดยลำดับ และยังได้ศึกษานักธรรมชั้นตรีในสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร เมื่อถึงกำหนดสอบธรรมสนามหลวง เกิดอาพาธกะทันหันจึงล้มเลิกการศึกษาทางด้านคันถธุระตั้งแต่นับนั้นและหันมาเอาดีทางสมถกรรมฐานและพุทธาคมคาถา
    ประมาณพรรษาที่ 3 ได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากรรมฐานชั้นสูงกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จนบรรลุฌานชั้นสูง สามารถแสดงอิทธิคุณต่างๆ ได้ ยิ่งกว่านั้น ยังได้ศึกษาเวทมนต์คาถา ซึ่งเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่พระเถระยุคเก่าต้องใฝ่หาเรียนรู้ไว้เพื่อประโยชน์ในงานพระศาสนาต่างๆ อาทิ การปลุกเสกวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยพระผู้ทรงวิทยาคุณเป็นผู้ภาวนาปลุกเสก โดยได้รับการประสิทธิ์ประสาทจากหลวงพ่อปานมาเต็มเปี่ยม จากนั้นจึงไปเรียนวิชากับหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ ได้วิชาทำเชือกคาดเอวที่มีประสบการณ์ดัง "ไม่ไหม้ไฟ"
    หลวงปู่ธูปใช้เวลาศึกษาอยู่กับหลวงพ่อปานประมาณหนึ่งพรรษา จึงกลับคืนวัดสุนทรธรรมทาน และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนพระครูพุทธบาล ที่ขอลาสิกขาบทในปี พ.ศ. 2470 และผ่านการลงคะแนนเลือกตั้งจนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2471 ขณะมีอายุได้ 30 ปี พรรษา 8 นับเป็นพระหนุ่มที่มีพรรษาน้อยสุดที่ได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดในเขต จ.พระนครสมัยนั้น
    หลังจากรับตำแหน่งท่านก็ริเริ่มปฏิสังขรณ์และพัฒนาก่อสร้างอาคาร เสนาสนะต่างๆ เรื่อยมา โดยเริ่มลงมือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472-2500 ซึ่งเป็นปีที่ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 29 ก.ค. 2533 เวลา 02.26 น. ท่านก็มรณภาพลงที่โรงพยาบาลพญาไท รวมสิริอายุ 92 ปี 3 เดือน 28 วัน พรรษา 70
    ด้านวัตถุมงคล ตลอดเวลาที่ท่านครองเพศพรหมจรรย์ ได้สร้างวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆมากมายหลายรุ่น จากการบันทึกของหนังสือวัดทราบว่าสร้างครั้งแรกในปีพ.ศ.2482 และจัดสร้างติดต่อกันมาจนถึงพ.ศ.2529 วัตถุมงคลที่ท่านสร้างเมื่อปีพ.ศ.2482 ได้สร้างร่วมกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นพระสมเด็จฐานสามชั้น พระรอด พระนางพญา และพิมพ์นางกวัก พระที่สร้างครั้งนี้เป็นพระเนื้อผง ผสมกับดินปูชนียสถาน และผงใบลาน ลงรักฉาบเนื้อ เนื้อในสีดอกเทา ด้านหลังจะเป็นรอยจารลึกลงไปในเนื้อทุกองค์
    เมื่อสร้างเสร็จท่านก็แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์และผู้มาแสดงมุทิตาจิต ที่เหลือนอกนั้นนำไปบรรจุที่ใต้ฐานพระประธาน พระชุดนี้ปัจจุบันหาดูได้ยากสักหน่อย นอกจากนี้ท่านได้สร้างตะกรุด เชือกคาดเอว พระเนื้อผงรุ่นปี พ.ศ. 2504 เหรียญปี พ.ศ. 2513 และอื่นๆ อีกพอสมควร
    วัตถุมงคลวงปู่ธูปทุกชนิดมีพุทธคุณในด้าน “เมตตามหานิยมและความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน” เป็นหลัก เรื่องคุ้มครองแคล้วคลาดก็ยอดเยี่ยมเช่นกัน
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงปู่ธูปวัดแคนางเลิ้ง ปี ๒๕๒๕ สวยเดิม

    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250401_122553.jpg IMG_20250401_122633.jpg
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    FB_IMG_1743488847918.jpg

    หลวงปู่แก้ว สุทโธ คือ ๑ ใน ๓ ทหารเสือแห่งสายกัมมัฏฐานที่ได้ธุดงค์ขึ้นเชียงใหม่พร้อมกัน
    ๑/หลวงปู่แหวน สุจิณโน
    ๒/หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    ๓/หลวงปู่แก้ว สุทโธ

    ทีแรกเลย..หลวงปู่แก้วธุดงค์มาถึงดอยโมคคัลลาน์ โดยมีพระภิกษุติดตามมาด้วย ๘ รูป สามเณร ๑๕ รูป ได้ร่วมกันตั้งวัดดอยโมคคัลลาน์ขึ้น ทั้งยังสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าไว้ที่วัดอีกองค์หนึ่งด้วย
    หลังจากนั้นหลวงปู่แก้ว สุทโธ ออกจากดอยโมคคัลลาน์ ธุดงค์ต่อไปอีกหลายปี ได้อยู่ประจำตามสถานที่ต่างๆหลายแห่ง โดยพำนักอยู่ที่ถ้ำภูผาเจ้ากลายตนนานที่สุดจนถึงกาลชราภาพ จึงย้ายกลับมาอยู่วัดดอยโมคคัลลาน์ และมรณภาพอยู่ที่นี่ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ สิริอายุ ๘๗ ปี มีการจัดพิธีสลายร่างขององค์ท่านบนยอดดอยโมคคัลลาน์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖
    รูปเหรียญพระหรือวัตถุมงคลของหลวงปู่แก้วจัดสร้างขึ้นไม่กี่รุ่น ปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่ง
    มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ระเบิดทั้งลำ ทหารที่อยู่ในนั้นไม่เป็นอะไรเพราะพกเหรียญหลวงปู่แก้ว
    เขาเล่าว่าในสมัยนั้นทหารอากาศเอาไปทดลองใช้ได้ผลดี
    เสียดายที่ไม่มีรายละเอียดในเรื่องเล่ามากไปกว่านี้
    ข้อมูลจากเฟส อำพลเจน
    ......
    หลวงปู่แก้ว สุทฺโธ
    วัดดอยโมคคัลลาน์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    “อาตมาไม่นึกไม่ฝันมาก่อน ว่าจะได้พบครูบาอาจารย์ใหญ่ เช่นนี้จึงนับว่าเป็นบุญบารมีที่ได้มาเป็นลูกศิษย์ท่าน
    อาตมาจึงได้เข้าไปกราบท่าน พร้อมกับปวารณาตัวขอเป็นศิษย์ท่าน ซึ่งท่านก็มีเมตตารับไว้และให้รับฟังธรรมจากท่านอย่างใกล้ชิด" หลวงปู่แก้วท่านกล่าว
    เมื่อหลวงปู่แก้วได้กราบปวารณาตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นแล้ว ท่านได้กราบเรียนถามว่า...
    “เกล้ากระผมขอฟังอุบายพ้นทุกข์ครับ. มีความตั้งใจมานานแล้ว”
    หลวงปู่มั่นท่านกล่าวอธิบายว่า ...
    “อ้าว...อยู่เฉย ๆ มันพ้นไม่ได้หรอก มันต้องภาวนาให้เกิดดวงพุท-โธ
    แล้วพิจารณาเอา ๙ ที่ติดอยู่นี้แยกออกทิ้งเสีย มันก็จะพ้นทุกข์ แต่ถ้ายังมี ๙ อยู่ มันก็ไม่พ้นทุกข์ มันเดือดร้อนก็เพราะยึด ๙ ไว้
    มีอะไรล่ะ...ก็มี
    ธาตุ ๔ คือ ดิน ๑ น้ำ ๑ ลม ๑ ไฟ ๑
    ขันธ์ คือ รูป ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ สังขาร ๑ วิญญาณ ๑
    เมื่อรวมกันแล้วมันเป็น ๙
    นี่แหละตัวธรรม จงพิจารณาที่นี่ อย่าไปคิดอื่น คิดในตัวของตัวนี้ ...ไป ๆ หาป่าดงพงไพรอยู่ ถ้าพิจารณาดับ ๙ อย่างนี้ได้ ก็ไม่ต้องกลับบ้านเกิด ที่ไหนก็อยู่ได้สงบแท้ ๆ "
    ในตอนนั้น หลวงปู่แก้วได้เพื่อนเดินร่วมธุดงคกรรมฐาน ก็ออกป่า นอน กิน ในป่ากันเลย นั่งสมาธิ เดินจงกรม อยู่ที่ไหนก็ไม่นาน เดี่ยว ๙ อย่าง ในตัวในตนมันจะยึดสถานที่ ต้องเดินไปทรมานไปเรื่อย ๆ
    ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี้มันเกาะแน่นเหมือนปลิง เราต้องเดินไป ทรมานไป พิจารณาไปจนกว่าจะปล่อยตัดขาดธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ รวมได้ ๙ นี่แหละ...เมื่อนั้นหมดหน้าที่จะต้องดิ้นรนอีกต่อไป
    หลวงปู่มั่นได้อบรมบ่มนิสัย พระภิกษุสามเณร ตลอดจนผ้าขาว (ปะขาว) ที่ได้ติดตามท่านไปทุกหนทุกแห่ง รวมทั้งหลวงปู่แก้วด้วย ให้รู้จักการปล่อยวาง ไม่ให้ติดยึดกับสิ่งที่เป็นกิเลส ให้มุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นอย่างเดียว ไม่เกี่ยวเกาะกับอะไรทั้งสิ้น และไม่ให้ตื่นกลัวในสิ่งที่เกิดขึ้นกลางป่า เช่น เสือ ช้าง เป็นต้น
    ธรรมะที่หลวงปู่มั่นกล่าวอบรมพระภิกษุสามเณรอยู่เสมอ ได้แก่ผลธรรม ๕ ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา โดยท่านได้ให้เหตุผลว่า ...
    “ผู้ไม่เหินห่างจากธรรมเหล่านี้ ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ขาดทุนและล่มจมเป็นผู้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปโดยลำดับ"
    • ••••••••••••••••••••••••••••• •
    องค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เล่าถึงองค์หลวงปู่แก้ว สุทฺโธ

    พระอีสานที่ขึ้นไปเมืองเหนืออีกองค์หนึ่งชื่อหลวงปู่แก้ว (สุทฺโธ) เป็นคนบ้านหนองบ่อ อำเภอนาแก นครพนม

    ผู้ข้าฯ ขึ้นไปเมืองเหนือได้ไปพักอยู่กับเพิ่นหลายวันกับท่านอาจารย์สิม (พุทฺธาจาโร) บวชในคณะพวกนิกาย แต่มาปฏิบัติเป็นลูกศิษย์ของเพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต)

    หลวงปู่แก้วองค์นี้เป็นหมู่เพื่อนกันกับหลวงปู่พา ถ้ำตับเต่าเมืองฝาง ครูบาเฒ่าทั้งสององค์นี้พากันตั้งใจในการบำเพ็ญบารมีที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งต่อไปเมื่อหน้าครั้นบารมีพอแล้ว ก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่ต่อกันไป หลวงปู่พาจะได้ตรัสรู้ก่อนหลวงปู่แก้ว (สุทฺโธ)

    พอผู้ข้าฯ กับท่านอาจารย์สิมไปหา ก็ถามว่า
    “หมู่ท่านบวชคณะไหน ถ้าเป็นคณะธรรมยุตเป็นลูกศิษย์อัญญาท่านมั่น (ภูริทตฺโต) ก็อยู่กับครูบาได้”

    คุยกันไปอีกรู้จักว่าเป็นผู้ไทเหมือนกันอีก ก็ยิ่งพูดสอนแนะนำนั่นนี่เพิ่นว่า ...
    “ขึ้นมาอยู่เมืองเหนือนี้มันได้เจริญภาวนา แต่จะไม่เข้ากับพระเมืองเหนือก็อยู่ลำบาก ก็เลยเป็นอยู่อย่างพระเมืองเหนือ แต่เจริญภาวนาอย่างพระอีสาน”

    หลวงปู่แก้ว (สุทฺโธ) เล่าให้ฟังว่า ...
    “เลาะน้ำแม่โขงแต่ธาตุพนมขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงเมืองเชียงแสนไปถึงเมืองลาวเหนือ จะเข้าเมืองจีนแล้วกลับลงมาถึงเชียงแสน วกเข้ามาเมืองเชียงรายเชียงใหม่ ได้มาอยู่ดอยโมคคัลลาน์ จึงได้ที่เจริญภาวนาของตน ศึกษาอยู่กับอัญญาท่านมั่นแต่อยู่อีสาน แล้วอัญญาท่านมั่นขึ้นมาอยู่เมืองเหนือ ก็ได้เข้าศึกษาอยู่ด้วยอีกก็หลายคราว”

    ตัวเพิ่นแท้ ๆ นั้น พ่อเป็นไทญ้อเมืองนาแก แม่เป็นผู้ไทเรณูนคร ชอบพอใจอยู่กับการก่อสร้างปั้นพระพุทธรูป ก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ การนุ่งห่มอะไรก็เอาระเบียบของเมืองเหนือ เพราะครูบาศรีวิชัยแนะนำเพิ่นว่า
    “หากจะอยู่เมืองเหนือสบาย ๆ ก็ให้เอาอย่างครูบาเจ้าเน้อ”

    ส่วนหลวงปู่พา ถ้ำตับเต่านั้น ก็เหมือนกันอยู่แต่ในป่า ไม่ชอบเข้าเมืองเข้าเวียง เดินธุดงค์ก็ไปตามบ้านป่าบ้านเขา รู้จักภาษาสัตว์ทั้งหลาย ว่าร้องอะไร พูดคุยกันอย่างไร จะไปทางไหน ต้องการอย่างไร

    อุบายภาวนาที่หลวงปู่แก้ว (สุทฺโธ) แนะนำก็อุบายเดียวกันกับแบบคำสอนของเพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) เทศนาเอาไว้
    “กายคตาสติ ไม่เอาใจออกไปที่อื่น มันจึงจะเป็นไป เอาใจแทรกรู้เข้าไปในอาการ ๓๒ ให้มันรู้ ให้มันแจ้ง เหมือนกับพระจันทร์พ้นขี้เมฆ”

    “อย่าไปสนใจข้างนอก ตามเรื่องมัน ภายในนี้ค้นลงไป ม้างออกมา”

    หลวงปู่แก้ว ตนนี้เก่งทางการระลึกชาติ รู้จักของภายหลังของตนเองและของผู้อื่นที่มาเกี่ยวข้อง”
    หลวงปู่แก้ว สุทฺโธ ละสังขารเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒
    สิริอายุ ๘๘ ปี ๖๘ พรรษา
    #บรรณานุกรมอ้างอิง : คัดลอกจากหนังสือ
    • นิตยสารโลกทิพย์ ; ฉบับที่ ๙๘ ; ปีที่ ๖ เดือนกุมภาพันธ์(ฉบับแรก) ๒๕๓๐ ; หน้า ๑๙ - ๒๐
    • "ธรรมประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ" : เดินทางเสาะหาครู สู่เมืองเหนือล้านนา (ตอนที่ ๑๙๑) ; พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ วันมาฆบูชา ๒๕๕๐ ; หน้า ๒๖๖ - ๒๖๗
    อ่านเรื่องราวของศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่นได้ที่ link

    " หลวงปู่ครูบาแก้ว สุทโธ พระโพธิสัตว์แห่งวัดดอยโมคคัลลาน์ "
    ท่านเป็นหนึ่งในอริยสงฆ์แดนล้านนาที่มีฤทธิ์แก่กล้า เสียดายแต่คนรุ่นหลังหาคนรู้จักไม่มี หาคนสืบทอดเรื่องราวและประวัติของท่านไม่มี
    ย้อนไปสมัยก่อนหลวงปู่แก้ว สุทโธ ท่านเป็นคนบ้านหนองบ่อ อำเภอนาแก นครพนม กับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านเป็นคนจังหวัดเลย ท่านเป็นพระมาจากภาคอิสานท่านทั้งสองเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินธุดงค์มาด้วยกันและมาพักปักกลดอยู่วัดบนยอดดอยโมคคัลลาน์
    หลวงปู่แก้ว สุทโธ เลยตัดสินใจอยู่พักสร้างวัดที่นี่ โดยหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้เดินธุดงค์ต่อไปคนเดียว
    วัดดอยโมคคัลลาน์อยู่ใกล้แม่น้ำปิง ทำให้มีเหล่าพญานาคอาศัยอยู่มาก ครั้นต่อมาเมื่อหลวงปู่แก้ว สุทโธ มาพำนักที่นี่ก็มักออกมาหาหลวงปู่แก้วบ่อยๆ โดยเลื้อยจากแม่น้ำปิงขึ้นไปสู่ยอดดอย
    ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้มีชาวบ้านในอดีตเห็นกันมานักต่อนัก โดยพญานาคนั้นชอบนั่งตักหลวงปู่แก้ว (สุทโธ) เพื่อให้หลวงปู่แก้ว(สุทโธ)ป้อนกล้วยให้กิน
    นอกจากพญานาคแม่น้ำปิงแล้ว พญนาคแห่งบ่อน้ำดอยเต่า ก็ชอบมาหาหลวงปู่แก้ว(สุทโธ) เช่นกัน
    โดยบ่อดอยเต่าในอดีตนั้นเป็นบ่อลึกลับ เหล่านาคชอบออกมาเล่นน้ำ ทำให้ผู้คนสมัยนั้นหวาดกลัวกันยิ่งนัก
    หลวงปู่แก้ว(สุทโธ) มีความผูกพันธ์กับพญานาคมาก โดยครั้งหนึ่งมีรถขับผ่านเส้นทางจอมทอง – ฮอด เกิดไปทับพญานาคตนหนึ่งเข้า ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ทุกข์เวทนายิ่งนัก
    ครั้นเมื่อได้สติก็เลื้อยขึ้นไปหาหลวงปู่แก้ว (สุทโธ) ซึ่งท่านก็ได้เมตตาเป่ามนต์รักษาให้นาคตนนั้นหายเป็นปกติ เป็นต้น
    หลวงปู่แก้ว (สุทโธ) นอกจากจะเป็นที่พึ่งให้กับญาติโยมแถวจอมทอง ฮอด เหล่าลูกศิษย์จากทุกสารทิศ
    ข้าราชการโดยเฉพาะทหารอากาศแล้ว ยังเป็นที่พึ่งให้เหล่าพญานาคอีกด้วย สำหรับพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังนั้นหลวงปู่แก้ว(สุทโธ) สร้างไว้ไม่มาก ซึ่งจะมีแค่เหรียญไม่กี่รุ่น รูปถ่ายไม่กี่รุ่น
    ซึ่งปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่ง พระเครื่องของหลวงปู่นั้น มีนาายทหารอากาศได้ห้อยเหรียญหลวงปู่แก้วแก้ว (สุทโธ) มีครั้งหนึ่งเฮลิคอปเตอร์ระเบิดไปทั้งลำ ทหารคนนั้นที่อยู่ในนั้นไม่เป็นอะไรเพราะห้อยเหรียญหลวงปู่แก้ว แก้ว(สุทโธ)
    วัดดอยโมคคัลลาน์ ตั้งอยู่ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (ระหว่างเส้นทางจอมทอง - ฮอด)
    ที่นี่เมื่อครั้งอดีตเคยมีพระอริยสงฆ์นามหลวงปู่แก้ว สุทโธ ซึ่งเป็นสหายทางธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ผู้โด่งดัง
    และหลวงปู่พา พระโพธิสัตว์ แห่งวัดถ้ำตับเต่า จ.เชียงใหม่ เป็นคนภูไท บ้านม่วงไข่ พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เช่นกัน
    ซึ่งในกัปป์นั้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปป์เดียวกัน หลวงปู่พา จะได้ตรัสรู้ ก่อนหลวงปู่แก้ว สุทฺโธ (อ้างอิงมาจากธรรมประวัติองค์หลวงป่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ)
    เรื่องราวของหลวงปู่ครูบาแก้ว (สุทโธ) นั้นปัจจุบันหาคนรู้ประวัติได้ยาก
    เรื่องราวอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่แก้ว(สุทโธ) นั้นสืบทอดกันปากต่อปาก ซึ่งชาวบ้านดอยโมคคัลลาน์และชาวบ้านใกล้เคียงนั้นต่างรู้ดี
    แม่น้ำปิงในสมัยก่อนนั้นมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อยู่ ๓ องค์ หลวงปู่ครูบาแก้ว (สุทโธ) ได้อัญเชิญขึ้นมาจากน้ำเพื่อช่วยโปรดชาวโลก
    ซึ่งพระพุทธรูป ๓ องค์นี้ศักดิสิทธิ์มาก สามารถบันดาลฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาลได้ ปัจจุบันมีการเก็บรักษาไว้อย่างดี ณ วัดดอยโมคคัลลาน์
    หลวงปู่แก้ว สุทโธ ถือเอาคำพูดที่ชาวบ้านประสบพบเห็นพญานาคราชเลื้อยขึ้นสู่ยอดดอย ท่านจึงได้สร้างบันไดทางขึ้นสู่ดอยโมคคัลลาน์เป็นรูปพญานาคเลื้อยเอาส่วนหัวขึ้น ส่วนหางทอดลงไปยังเชิงดอยต่างจากที่แห่งอื่น
    ซึ่งเมื่อจัดสร้างบันไดนาค จะทำราวบันไดเป็นรูปพญานาคเอาส่วนหัวดึงลงข้างล่าง ส่วนหางอยู่ด้านบน เป็นสัญลักษณ์พิเศษของบันไดขึ้นดอยโมคคัลลาน์
    พระธาตุดอยโมคคัลลานะ วัดพระธาตุดอยโมคคัลลานะ สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๕ โดยหลวงปู่แก้ว สุทโธ (สหธรรมิก ผู้เคยธุดงค์กับหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ศิษย์ของพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) ได้ธุดงค์ผ่านมา และได้ตั้งสัจจะอธิฐานขอสร้างพระธาตุขึ้นบนดอยแห่งนี้ โดยได้แรงศรัทธาจากชาวบ้านร่วมกันสร้างจนสำเร็จ และตั้งชื่อว่าพระธาตุดอยโมคคัลลาน์

    มาถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕ ได้ย้ายสำนักสงฆ์จากยอดดอยมาสร้างวัดที่บ้านหนองเตา ตั้งชื่อวัดเสียใหม่ว่า วัดโมคคัลลาน ต่อมาได้เกิดอุทกภัย อาคารต่างๆ ชำรุดเสียหาย จึงได้ทำการย้ายวัด ขึ้นไปอยู่บนเนินเขาและได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่จนถึงปัจจุบัน
    ตำนานโบราณจากสมัยดึกดำบรรพ์ มีการจารึกข้อความเกี่ยวกับ “ดอยโมคคัลลาน์” แห่งภาคเหนือสุดของแผ่นดินสยามไว้ดังนี้
    “สมัยพุทธกาล เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเสด็จออกโปรดเหล่าเวไนยสัตว์อยู่ในชมพูทวีป พร้อมด้วยพระอรหันตสาวกทั้งหลายที่ร่วมกันเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ขจรขจาย
    คราวหนึ่ง พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรวจตราหมู่สัตว์ผู้เข้ามาข้องเกี่ยวอยู่ในพุทธญาณตามพุทธประเพณี พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดทัศนาเห็น “พญาอังครัฏฐะ” เจ้าผู้ครองนครอังครัฏฐะ (อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในสมัยปัจจุบัน) เป็นผู้ประกอบไปด้วยศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา บัดนี้พญาอังครัฏฐะมีความประสงค์จะถวายมหาทานแด่พระบรมศาสดา
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสั่งให้องค์อัครสาวกเบื้องซ้าย “พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า” กับพระอรหันต์ผู้เป็นบริษัทของท่านอีก ๔ รูป มาโดยอากาศ (เหาะ) สู่นครอังครัฏฐะ เพื่ออนุเคราะห์แก่พญาอังครัฏฐะผู้มีศรัทธาแรงกล้า
    เมื่อพระเอกอัครสาวกเบื้องซ้าย “พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า” พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๔ รูป มาถึง ดอยแห่งนี้ อยู่ในอาณาเขตของนครอังครัฏฐะ จึงสำแดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้เป็นที่ประจักษ์ โดยก้าวลงมาจากอากาศเบื้องบน สู่พระบรมมหาราชวังของพญาผู้เป็นใหญ่ ณ นครแห่งนี้
    พญาอังครัฏฐะ แลเห็นพุทธสาวกเหาะลงมาจากท้องฟ้า นึกอัศจรรย์ใจในฤทธานุภาพเป็นกำลัง เข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยพระองค์เอง รีบออกจากพระราชวังไปกราบอภิวาทวันทา
    “เป็นบุญวาสนาเหลือเกิน ที่ข้าพระพุทธเจ้ามีโอกาสได้ถวายสักการะแด่สมเด็จพระบรมศาสดา”
    พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า ผู้เป็นเลิศทางอิทธิฤทธิ์ยิ่งกว่าพระอรหันต์ทั้งปวง กล่าวว่า...
    “อาตมามิใช่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า อาตมาเป็นเพียงสาวกของพระองค์ บัดนี้องค์พระศาสดาของอาตมาตรัสสั่งให้มาเพื่อยังความอนุเคราะห์แก่มหาบพิตร”
    ทราบดังนั้น พญาอังครัฏฐะก็ยังทรงโสมนัสยินดี เพราะพระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ทรงฤทธานุภาพเหนือโลก จึงอัญเชิญพระเถรเจ้าทั้ง ๕ รูป ไปยังที่นั่งอันสมควร ทรงสมาทานศีล ๘ แล้วถวายภัตตาหารบิณฑบาตแด่พระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์
    หลังจากฉันภัตตาหารอันมีรสเลิศแล้ว พระมหาเถรเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาอังครัฏฐะ ให้พญาผู้เป็นใหญ่แห่งนครนี้ ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการประพฤติธรรมในการปกครองอาณาประชาราษฎร์ แล้วลาพญาอังครัฏฐะไปยัง “ดอยอังคะ สักการะ” (ดอยอินทนนท์) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนคร
    พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า พยากรณ์เหตุการณ์ที่จะอุบัติขึ้นในกาลเบื้องหน้าดังนี้
    “เมืองพญาอังครัฏฐะ ต่อไปจากเพลานี้ถึงอนาคตอันยาวไกล จักอุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล จักจำเริญรุ่งเรืองด้วยพระบวรพุทธศาสนาไปตลอดครบ ๕,๐๐๐ ปี ”
    ( อ้างอิง ตำนาน “พระธาตุจอมทอง” ที่เล่าลือกันมาแต่ครั้งโบร่ำโบราณกล่าวอยู่ว่า )
    มีเทพยดาจำนวน ๒ องค์ กับ พญานาคราชผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ ๒ ตน ทราบว่ากาลในอนาคตจักมีพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์พระศาสดา มาสถิตเป็นมหามงคลอยู่ที่ดอยจอมทอง”
    เทพยดาผู้มีอำนาจมากทั้ง ๒ องค์ กับ พญานาคราช ๒ ตน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่ประทับ ขออาสาเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องดูแลพระธาตุเจดีย์ มิให้เป็นอันตรายไปด้วยเหตุร้ายประการใด...”
    ช่วงปัจฉิมวัย หลวงปู่แก้ว สุทโธ
    ช่วงปัจฉิมวัย หลวงปู่แก้ว สุทโธ ท่านได้ออกธุดงค์อีกเนิ่นนานหลังจากสร้างพระธาตุเจดีย์สำเร็จ ท้ายที่สุดท่านจึงย้ายกลับมาจำพรรษาที่ “วัดดอยโมคคัลลาน์” อบรมพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนศรัทธาญาติโยมทั้งปวง ให้รู้จักการรักษาศีล เจริญภาวนา ตามแนวทางของพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จวบจนวาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน
    เพิ่มเติมข้อมูลสำหรับผู้มีจิตศรัทธาจะเดินทางไปกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุดอยโทคคัลลานะ รายละเอียดดังนี้
    การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยโมคคัลลานะ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ (ถนนเชียงใหม่-ฮอด) มุ่งหน้าสู่อำเภอจอมทอง ผ่านวัดพระธาตุศรีจอมทอง ประมาณ ๔ กิโลเมตร ผ่านปากทางเข้าวัดโมคคัลลาน มาประมาณ ๕๐๐ เมตร ก็จะเห็นถนนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยโมคคัลลานะ อยู่ด้านขวามือของถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘
    ประวัติย่อหลวงปู่ครูบาแก้ว สุทโธ พระโพธิสัตว์แห่งวัดดอยโมคคัลลาน์ ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    ๔ เมษายน ๒๕๕๙
    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่านครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงปู่แก้ววัดดอยโมคคัลลาน์ สวยเดิมๆครับ
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ


    IMG_20250401_132140.jpg IMG_20250401_132205.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    157-9116.jpg

    ปฏิปทาบางส่วนของหลวงปู่ครูบาคำแสนน้อย
    สมัยที่ท่านได้ทราบข่าวจากชาวบ้าน ว่าทางราชการได้จับ ครูบาเจ้าศรีวิชัย
    ยอดนักบุญแห่งลานนาไทย มากักขังไว้ที่วัดศรีดอนไชย
    ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    หลวงปู่ครูบาคำแสนน้อย มีความเคารพและเลื่อมใสในท่านครูบาฯ เป็นอย่างยิ่ง
    ก็ให้รู้สึกเสียใจ และอยากจะไปกราบนมัสการให้กำลังใจท่าน
    ได้ชักชวนพระสงฆ์และชาวบ้านให้พากันไปเยี่ยม แต่คนทั้งหลายกลัวจะถูกตำหนิ
    หรือถูกกลั่นแกล้งจากทางราชการ ในที่สุดก็เดินทางไปกับเณรและลูกศิษย์เพียง ๒-๓ คนเท่านั้น
    ได้เดินทางประมาณ ๑๕-๑๖ กิโลเมตรกว่าจะถึงวัดศรีดอนไชย
    เมื่อเข้าไปภายในวิหารนั้น เขาใช้เชือกมนิลาเส้นโตผูกเสาวิหารไว้เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนคอกหมู
    ภายในคอกสี่เหลี่ยมนั้น มีพระสงฆ์รูปหนึ่งสูงอายุนั่งอยู่ด้วยอาการสงบ
    ในลักษณะขัดสมาธิ ห่มผ้าสีกลัก มีลูกประคำเส้นโตๆ คล้องคอ
    กำลังนับลูกประคำนั้นอยู่ จึงคลานเข้าไปกราบตรงหน้า
    ในขณะที่กราบลงไปนั้นก็เกิดอารมณ์อ่อนไหว จิตใจอ่อนแอจนร้องไห้ออกมาโฮใหญ่
    ด้วยอารมณ์สงสารใน]ครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ต้องมาถูกจองจำ และจะถูกจับสึกที่กรุงเทพฯ
    เสียงร้องไห้สะอึกสะอื้นของพระคำแสนในขณะนั้น คงจะทำให้ท่านครูบาฯ ออกจากการปฏิบัติ
    เพราะได้เอื้อมมือมาตบที่ไหล่ พร้อมกับดุว่า ท่านเป็นพระจะร้องไห้ไม่ได้
    พระเป็นผู้ตัดแล้วซึ่งกิเลส เมื่อเป็นเช่นนั้นต้องระงับอารมณ์ ไม่ให้มีการร้องไห้เด็ดขาด
    ขณะเดียวกันก็เริ่มสอนให้นั่งขัดสมาธิ เอามือประสานกันวางไว้บนตัก
    หลับตาพร้อมกับท่องคำ นโม ในใจ หลายสิบหลายร้อยจบให้ท่องไปเรื่อยๆ
    พระคำแสนก็ปฏิบัติตามคำสั่ง ท่องไปท่องมาไม่นานอาการสะอื้น
    และน้ำตาก็หายไป ท่านครูบาฯ จึงสั่งให้ลืมตาขึ้น แล้วก็สอบถามว่าเป็นใครมาจากไหน
    พระคำแสนก้มลงกราบแทบเท้า และนมัสการว่ามาจาก อำเภอสันกำแพง
    ท่านครูบาฯ ได้เทศน์อบรมเกี่ยวกับขันติให้พระคำแสนฟัง
    พร้อมกับแนะนำสั่งสอนให้ศึกษาวิปัสสนาธุระ
    โดยเริ่มต้นปฏิบัติดังที่ได้ทำมาแล้วเมื่อสักครู่ แล้วก็ให้นมัสการลา
    จึงนับว่าเป็นบทเรียนบทแรกในชีวิตเกี่ยวกับการศึกษาวิปัสสนา
    และท่านก็ดิ้นรนหาลู่ทางจะศึกษาในเรื่องนี้ จากทุกแห่งที่มีข่าวว่ามีอาจารย์สอน
    ต่อมาเมื่อท่านได้เรียนกัมมัฏฐานจาก ท่านครูบาแก้ว ชยเสโน
    แล้วท่านก็ขอลาพระอาจารย์ออกเดินธุดงค์จาริกไปในที่ต่างๆ
    เมื่อถึงคราวเข้าพรรษา ท่านจึงจะกลับมาอยู่ที่วัดดอนมูล
    พออายุได้ ๓๔ ปี ๑๓ พรรษา ท่านเจ้าอาวาสก็มรณภาพลง
    ทางคณะศรัทธาจึงได้นิมนต์หลวงปู่ครูบาคำแสนน้อย เป็นเจ้าอาวาสแทนสืบต่อมา
    จนท่านมีอายุได้ ๓๙ ปี ๑๘ พรรษา มีพระธุดงค์ชื่อ ท่านพระอาจารย์แหวน สุจิณโณ
    เดินธุดงค์มาพักอยู่ที่อู่ทรายคำ ในเมืองเชียงใหม่ เมื่อหลวงปู่ทราบดังนั้น
    ท่านได้ให้โยมไปนิมนต์พระอาจารย์แหวน ให้มาเผยแผ่อบรมศรัทธาที่วัดดอนมูล
    ต่อมา ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้มาพำนักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง
    ท่านพระอาจารย์แหวน และหลวงปู่ครูบาคำแสนน้อย
    ก็ได้ไปนมัสการและได้มอบกาย มอบจิตถวายเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นแต่บัดนั้นมา
    ต่อมาท่านพระอาจารย์แหวน ท่านได้จาริกไปๆ มาๆ ในเมืองเชียงใหม่
    และไปจำพรรษาที่วัดป่าห้วยน้ำริน อำเภอแม่แตง
    ส่วนหลวงปู่ครูบาคำแสนน้อย หลังจากได้เรียนพระกัมมัฏฐานจากท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว
    ท่านก็ออกเดินธุดงค์ไปยังประเทศพม่า ย่างกุ้ง หงสาวดี แล้วเดินย้อนกลับ
    เดินธุดงค์ไปสู่ภาคอีสาน ไปอยู่กับ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ที่โคราช
    แล้วกลับขึ้นไปทางเหนืออีก ที่ใดเป็นที่วิเวกเป็นป่าเปลี่ยวท่านก็ได้พักภาวนาตามอัธยาศัยของท่าน
    ระยะหลังๆ ท่านได้ไปอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์แหวน
    ตามวัดป่าต่างๆ ๑ พรรษาบ้าง ๒ พรรษาบ้าง
    แม้เมื่อท่านพระอาจารย์แหวนย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
    หลวงปู่ฯ ก็ไปมาคารวะท่านพระอาจารย์อยู่เสมอๆ
    และสมัยหนึ่งที่หลวงปู่ฯ ท่านกำลังหนีคนไปสร้างวัดใหม่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากวัดเดิม
    ซึ่งเริ่มไม่สงบ ท่านเรียกว่า “วัดป่าดอนมูล” ลูกศิษย์ท่านเคยท้วงติง
    โดยถามท่านว่า ด้านหลังวัดอยู่ติดลำห้วย มีป่าโปร่งๆ อยู่นิดหน่อยกระหรอมกระแหรม
    ไหงหลวงปู่ตั้งชื่อเสียน่ากลัวว่า วัดป่า
    ท่านว่าป่าที่เอาเป็นชื่อวัดนั้น ไม่ได้หมายความตามอย่างที่ลูกศิษย์ท่านเข้าใจ
    ท่านหมายถึงป่าช้าต่างหาก เพราะเดิมที่ตรงนั้นเป็นป่าช้า
    เป็นอันว่าที่ท่านตั้งชื่อว่า “ป่า” ไม่ใช่เพื่อเพิ่มความขลังให้กับสถานที่
    แต่เพราะเดิมมันเป็นป่าช้า ได้ตัดคำว่า “ช้า” ออกไปเพราะเกรงว่ามันจะน่ากลัวเกินไปต่างหาก
    หลวงปู่ครูบาคำแสนน้อย มรณภาพ
    เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เวลา ๑๐.๑๒ น.
    สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี พรรษา ๖๔
    เกร็ดประวัติหลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร
    .........................
    องค์นี้ภายหลังหลวงพ่อฯ ของเราเปิดเผยว่า เคยเป็นพี่ชายของท่านมาหลายชาติแล้ว ท่านเป็นคนใจบุญ ได้ทรัพย์ได้สมบัติมาเท่าใดก็ไม่สะสม เทออกทำบุญจนหมดสิ้น ทำบุญจนหมดตัวเหมือนกับท่านมหาทุกขตะยังไงยังงั้น แต่จริงๆแล้วสมัยเดิมโน้น...โน้น...โน้น ท่านเคยมีชื่อว่า “ท่านทุกขิตะ หรือ ท่านทุพภิกขะ”
    เพราะฉะนั้นเมื่อประสบพบกัน ทั้งสององค์ก็คุยกันกระหนุงกระหนิง แต่โน่นแน่ะเป็นเรื่องราวสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช มีโต้มีเถียงกันกระจุ๋มกระจิ๋มบ้างเรื่องยุทธการสมัยนั้น (แล้วพวกผมจะไปรู้เรื่องเรอะ..!)
    ตอนที่กำลังคุยรู้เรื่องกันเพียง ๒ องค์ ต่างองค์ก็แสดงทัศนะในเรื่องรายละเอียดของมหายุทธวิธีในยุคที่ว่านั้น หลวงปู่ว่าถ้าหลวงพ่อเชื่อท่าน ทำตามที่ท่านคิด เหตุการณ์จะเป็นอย่างนี้ หลวงพ่อฯก็ว่าท่านมีเหตุผลที่ดีกว่านั้น ถึงอย่างไรก็ต้องเป็นไปอย่างโน้น เฮ้อ ดีครับดี รู้เรื่องกันเพียง ๒ องค์ ตาเถรเณรยายชีไม่มีใครรู้เรื่อง บางตอนหลวงพ่อฯ ท่านก็หันมาถามท่าน พล.อ.ท. ม.ร.ว. เสริม ศุขสวัสดิ์ ที่พวกเรามักจะเรียกท่านว่า "ท่านเจ้ากรมเสริม" หรือ "ลุงเสริม" นั่นแหละ
    (ท่านที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน จะไม่มีวันทราบเลยว่าท่านเป็นนายทหารใหญ่ครองยศถึงพลอากาศโท และเป็นเชื้อพระวงศ์ถึงหม่อมราชวงศ์ เพราะท่านวางตัวเป็นกันเอง มีเมตตาต่อพวกเราทุกคนเหมือนลูกเหมือนหลาน ไม่ถือเนื้อถือตัว ให้เกียรติและยกย่องผู้อื่น ยิ่งท่านทำตัวเป็นกันเองกับพวกเราเท่าใด พวกเราก็ยิ่งให้ความเคารพท่านมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งท่านทำตัวเล็กลงเท่าใด ก็ดูเหมือนตัวท่านจะยิ่งโตใหญ่ขึ้นๆ เป็นทวีคูณ ท่านผู้นี้หลวงพ่อฯ ว่าเป็นเพื่อนเคียงบ่าเคียงไหล่กับท่านมาทุกยุคทุกสมัย)
    สมัยนั้นหลวงปู่ฯ ท่านกำลังหนีคนไปสร้างวัดใหม่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากวัดเดิมซึ่งเริ่มไม่สงบ ท่านเรียกว่า “วัดป่าดอนมูล” ผมเคยท้วงติงโดยถามท่านว่าด้านหลังวัดอยู่ติดลำห้วย มีป่าโปร่งๆ อยู่นิดหน่อยกระหรอมกระแหรม ไหงหลวงปู่ตั้งชื่อเสียน่ากลัวว่า "วัดป่า"
    ท่านว่าป่าที่เอาเป็นชื่อวัดนั้นไม่ได้หมายความตามอย่างที่ผมเข้าใจ ท่านหมายถึงป่าช้าต่างหาก เพราะเดิมที่ตรงนั้นเป็นป่าช้า ไอ๊หยา! เป็นอันว่าที่ท่านตั้งชื่อว่า “ป่า” ไม่ใช่เพื่อเพิ่มความขลังให้กับสถานที่ แต่เพราะเดิมมันเป็นป่าช้า ได้ตัดคำว่า “ช้า” ออกไปเพราะเกรงว่ามันจะน่ากลัวเกินไปต่างหาก พอรู้แล้วผมก็หมดกังขาว่าเวลาวิกาล หลวงปู่ฯจะต้องได้ความสงบวิเวกอย่างเต็มที่เพราะท่านเข้าไปจำวัดอยู่ในป่าช้า คงไม่มีใครกล้าเข้าไปรบกวนหรอกครับ บรื๊อ...!
    และแล้ววันหนึ่งกรรมของผมก็มาถึง จำไม่ได้ว่าหลวงพ่อใช้ให้ไปหาเรื่องอะไร ก็ไปกันหลายคนกับรุ่นน้องๆ นี่ละครับ สมัยนั้นกำลังหนุ่มแน่น (ผมนะหนุ่มใหญ่ แต่น้องๆ เพิ่งจะสอนขัน แต่เพราะเพิ่งจะสอนขันก็เลยอยากจะขันบ่อยๆ)
    ดังนั้นแทนที่พวกเราจะรีบไปทำธุระให้หลวงพ่อ เจ้าลิงพวกนี้ก็เลยแวะโน่นแวะนี่ (ไม่เห็นเจ้าเห็นหลังคาบ้านเจ้าก็ชื่นใจแท้) เที่ยวกันจนดึกดื่น พอเลี้ยวควับเข้าเข้าไปที่วัดนอก (วัดดอนมูล) กะนอนที่วัดนอก ตายแล้วหลวงพี่ที่เราคุ้นเคยก็ไม่อยู่ หลวงปู่ก็ไปจำวัดอยู่ที่วัดป่า (ก็ที่ป่าช้านั่นแหละคุณ..!)
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลทุกๆที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญโภคทรัพย์หลวงปู่คำแสนวัดป่าดอนมูล ๒๕๒๐

    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250401_132244.jpg IMG_20250401_132314.jpg
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,034
    ค่าพลัง:
    +21,372
    FB_IMG_1743501603743.jpg

    สมเด็จข้างดาว วัดระฆังโฆสิตารามปี2521เนื้อทองแดงรมดำผิวเดิม ๆสมบูรณ์
    หลวงปู่โต๊ะ , เจ้าคุณเที่ยง ปลุกเสก
    ประวัติเจ้าคุณเที่ยง อคคฺ ธมฺโม วัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย กทม.
    พระธรรมธีรราชมหามุนี(เจ้าคุณเที่ยง อคคฺ ธมฺโม) ปธ.9 เจ้าคณะภาค11 เจ้าอาวาส วัดระฆังโฆสิตารามเขตบางกอกน้อย กทม. อายุ79 ปี 56พรรษา นามเดิมท่านชื่อ เที่ยงชูกระโทก โยมบิดาชื่อ นายโปย โยมมารดาชื่อ นางสี ชูกระโทก เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2478 ที่ จังหวัดนครราชสีมา เรียน จบ ชั้นประถมที่ 4 เจ้าคุณเที่ยงฯ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสมอราย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพระครูพรหมวิหารเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเจ้าอาวาสวัดสมอรายได้นำสามเณรเที่ยง ไปฝากเรียนธรรมที่วัดระฆังโฆสิตารามสามเณรเที่ยงตั้งใจศึกษาธรรมและปัญญาดีจึงสามารถสอบนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก สำเร็จและยังสามารถท่องคาถาชินบัญชรได้อย่างแม่นยำ เมื่อเจ้าคุณเที่ยงอายุครบ20ปีในวันที่ 1 พ.ค. 2501 ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดดอนชมพู อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา โดยมีพระครูพินิจยติกรรมวัดใหม่สุนทร จ.นครราชสีมาเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา อคคฺธมฺโม ต่อมาเจ้าคุณเที่ยง ท่านได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังฯ เพื่อศึกษาธรรม จนสอบเปรียญธรรม9ประโยค ในพ.ศ. 2514 จากความมุ่งมานะขยันหมั่นเพียรท่องจำตำรา เรียนทุกวัน ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จนเป็นตัวอย่างแก่พระภิกษุสามเณร วัดระฆังฯ และวัดอื่นๆด้วยในพ.ศ.2550 เจ้าคุณเที่ยงฯ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาส วัดระฆังฯ ท่านเป็นพระนักเทศน์และพระนักพัฒนา ท่านสร้างคุณงามความดีมาโดยตลอดจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระธรรมธีรรานมหามุนี เจ้าคณะภาค11 เจ้าคุณเที่ยงท่านได้เรียนวิชาไสยเวทย์ตามแนวทางสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังฯ จากหลวงปู่นาคและหลวงปู่หิน วัดระฆังฯ โดยเฉพาะวิชาผสมมวลสารเพื่อนำมากด พระสมเด็จและพระพิมพ์ต่างๆ ด้วยความชำนาญ พ.ศ.2500 เจ้าคุณเที่ยงฯ ท่านได้สร้างวัตถุมงคล ขึ้นเองโดยมี หลวงปู่หินฯ หลวงปู่นาคฯ และพระคณาจารย์ มากมายร่วมปลุกเสก จากนั้นเจ้าคุณเที่ยงก็ได้สร้างพระสมเด็จและพระพิมพ์ต่างๆ ออกมาอีกหลายครั้ง ปัจจุบันเจ้าคุณเที่ยงฯ ท่านมีชื่อเสียงเป็นพระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ได้รับความ ยกย่องให้เป็นพระที่มีจริยธรรมงดงามปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
    ขอขอบคุณ ร.ต.ท. เจริญ เกตครองกวย
    เหรียญสมเด็จข้างดาว เจ้าคุณเที่ยงวัดระฆังกรุงเทพฯ หลวงรูปเหมือนสมเด็จโต สภาพสวย
    เจ้าคุณเที่ยง "พระเทพวิสุทธิเมธี" (เที่ยง อคคธมฺโม) เจ้าอารามวัดระฆังฯ กรุงเทพฯ รูปปัจจุบัน ท่านเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากลูกศิษย์ลูกหาและพุทธสาสนิกกาชนทั่วไปเป็นอย่างมากด้านพระเครื่องวัตถุมงคลที่สร้างชื่อให้กับเจ้าคุณเที่ยงคือพระสมเด็จเนื้อดิน และปิดตาเนื้อดินสร้างจากเนื้อดินหุ่นหรือดินไทยที่เหลือจาก
    พิธีการสร้างหล่อรูปเหมือนสมเด็จโตจึงนำดินนั้นมาสร้างเป็นพระเครื่องเนื้อดินมีลักษณะสีดำเกรียม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และเนื่องจาก
    พื้นเพของท่านเป็นชาโคราชพระของท่านส่วนมากมักจะถูกนำไปแจกให้กับลูกศิษย์ลูกหาทางภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250401_165023.jpg IMG_20250401_165103.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...