ระหว่าง ชาณ 3 ไป ชาณ 4 กำหนดจิตอย่างไรครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย somkiatfem, 18 พฤษภาคม 2016.

  1. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    ระหว่าง ชาณ 3 ไป ชาณ 4 กำหนดจิตอย่างไรครับ
     
  2. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    แปลว่าผู้ ถอดจิต ต้องเป็นพระ อนาคามีด้วย ใช้ไหมครับ

    มีเทคนิคทดสอบไหมครับ ถ้าจะให้เรามั่นใจว่าเราถึง อนาคามีเเล้ว หรือว่า ทำใจตอนนั้นให้เป็นพระอนาคามีชั่วคราวก็ได้หรืออย่างไรดีครับ ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2016
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,049
    จากฌาน ๓ ไปฌาน ๔ ถ้าจะกำหนดจิตได้
    โดยนัยยะมันคือ ระดับบุคคลที่สามารถ
    ใช้งานทางจิตได้แล้วครับ
    พูดง่ายๆก็คือ สามารถลืมตาใช้งานได้
    เข้าถึงได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีครับ...


    ส่วนถ้าเรานั่งหลับตาทำสมาธิ
    เราจะไปกำหนดเอาไม่ได้ครับ..
    มันจะเป็นไปตามลำดับของมันเอง
    เพราะถ้าเราไปกำหนดมันจะกลายเป็นว่าเราจะ
    ไปติดที่ตัว วิตกและวิจารณ์ และจะกลาย
    เป็นความลังเลสงสัยครับ
    ซึ่งมันเป็นกิริยาของระดับฌานที่ ๑ ครับ
    และในระดับฌานที่หนึ่งนี้มันยังมี
    วิตก วิจารณ์ และปิติครบครับ..
    พวกเห็นแสงสว่างได้ทั้งห้อง
    แต่ไม่เย็นนี่ก็แค่ระดับปฐมฌานนะครับ
    และมันยังระลึกดูคำภาวนา
    ดูลมหายใจ พูดง่ายๆว่ายังตรึกเรื่อง
    พวกนี้ได้อยู่ เพียงแต่ว่าไม่ค่อยสนใจเสียง
    และยังพออยู่ในสภาวะอารมย์ได้..
    และถ้าเราขึ้นรูปฌานต่างๆ ภาพก็จะยัง
    ปรากฏเป็นรูปภาพได้อยู่ครับ
    ซึ่งความจริงรูปมันสามารถขึ้นได้
    ตั้งแต่จิตเป็นอุปจารสมาธิแล้วครับ..
    ซึ่งส่วนมากพอติดรูปในระดับนี้มักจะหลง
    ตัวเองได้ แม้ว่าจะไม่มีความสามารถทางจิต
    หรืออฐิษฐานจิตไม่เกิดผลอะไรซักอย่าง
    อย่างคาดไม่ถึงและไม่น่าเชื่อครับ

    พอจิตลดระดับคลื่นความถี่ได้
    หรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือ ไต่ระดับฌาน
    ขึ้นไปฌานที่ ๒ นั้นจะไม่สนใจเสียงเลย
    และจิตจะไม่มีคำภาวนาใดๆครับ
    แต่ว่าตัวปิติต่างๆที่ทำให้รู้สึกทางกายได้
    มันก็ยังมีอยู่ครับ..

    แต่อาการปิตินั้นมันจะหายไปตั้งแต่ฌานที่ ๒
    อย่างเด็ดขาดแล้วครับ
    ถ้าสังเกตุตรงนี้ไม่ออก แนะนำให้อ่านในหน้า
    อภิญญาสมาธิดูได้ครับ...

    พอขึ้นในระดับฌานที่ ๓ ได้นั้นกิริยามันจะคล้ายๆ
    กับระดับฌานที่ ๔ ครับ คือตัวจิตมันจะเริ่มแยกกับ
    กายได้เกือบจะเด็ดขาดแล้วครับ เพราะฉนั้นเป็นไป
    ไม่ได้เลยที่เรายึดเกี่ยวเอาการสังเกตุกิริยาทางกาย
    เพื่อไว้เป็นแนวทางในการไต่ระดับฌาน ซึ่งมันเป็นไป
    ไม่ได้เลยครับ ในทางปฏิบัติครับ..

    พอขึ้นระดับฌานที่ ๔ ได้ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องอะไร
    ที่จะสืบมาถึงกายได้ครับ เพราะมันหายไปตั้งแต่ฌานที่ ๓ แล้วครับ..
    และแทบจะเรียกได้ว่า แยกกับกายได้อย่างเด็ดขาดชั่วคราว
    และหลักการสังเกตุตัวเอง ป้องกันการหลงตัวเอง
    ไปเผลอคิดว่า ระดับอุปจาระสมาธิเป็นฌานที่ ๔ นะครับ..
    เพราะอะไร เพราะว่าระดับอุปจารสมาธิมันสามารถ
    เล่นกับภาพได้ หลายท่านเลยหลงตัวเอง
    และไปเผลอคิดว่า แสงที่ได้ปกติในระดับฌานที่ ๑
    เป็นการบรรลุคุณธรรมของตน ระดับนี้ถ้าไม่ระวัง
    มักจะโดนวิญญานมีฤิทธิ์แทรกได้ง่ายๆครับ...

    หลักสังเกตุอีกอย่างก็คือ ถ้าเราถึงระดับฌานที่ ๔ ได้จริงๆนะครับ
    ถ้าเรามาทางการอฐิษฐานจิต เวลาเราอฐิษฐานจิตได้นั้น
    อารมย์มันตกลงมาอุปจาระสมาธิในขณะที่เรากำลังอฐิษฐานจิตหรือไม่
    และเมื่อเรารักษาอารมย์ต่อ สมาธิมันไต่ระดับขึ้นมาของมันเอง
    และเกิดผลได้อย่างที่เราอฐิษฐานหรือไม่ครับ..
    ถ้าไม่ให้ระมัดระวังให้ดีครับ...
    และในเวลาลืมตาปกติ
    ตาเราถ้ามองไปในอากาศ
    ดีกว่าปกติไหม ถ้าไม่ให้ระวังไว้ครับ

    ถ้าเรามาทางขึ้นรูปกสิณ หรือรูปพระพุทธฯลฯ
    ให้ดูว่า ถ้าภาพเริ่มเป็นประกายในตัวเอง
    หรือทางปฏิบัติเรียกว่า ปฏิภาคนิมิตนั้น
    ถ้าเราเล่นกับภาพได้แล้ว...
    เวลาที่เราลืมตาขึ้นมา..
    เราเกิดมีความสามารถในการรับรู้
    เข้าถึงเรื่องพลังงานได้หรือไม่
    เรียกได้ ดึงได้ ดูดได้ อัดได้..
    และทำได้ในเวลาลืมตาปกติ
    ย้ำว่า ในเวลาลืมตาปกตินะครับ
    ถ้าทำไม่ได้ ให้ระมัดระวังไว้ครับ

    ส่วนการถอดจิตได้ มันเป็นเรื่องที่บ่งบอก
    ว่าสติทางธรรมเรามันอ่อนครับ..
    เพราะจิตปกติมันชอบท่องเที่ยว
    มันจะสร้างให้นักปฏิบัติหลงตัวเองง่ายๆ

    และการถอดจิตแม้ว่าไม่เคยจะฝึกสมาธิอะไรมา
    ก็สามารถเกิดขึ้นได้เองครับ เคยเห็นบางคน
    นอนๆอยู่แล้วเห็นตัวเองอีกตัวนอนอยู่ไหมครับ
    หรือบางคน ก็เหมือนตัวเองลอยทะลุเพดาน
    แต่ที่เป็นเหมือนกันคือ จะไม่สามารถบังคับอะไรได้
    การที่ไม่สามารถบังคับอะไรได้นี่หละครับ
    เค้าเรียกว่า กำลังสติทางธรรมเรามันอ่อน
    ต้องมาสร้างครับ..

    สร้างกำลังสติให้มี เรียกว่า ถ้าจิตมันจะไปต้องไม่ให้มันไป
    หรือถ้ามันจะไปกำลังสติทางธรรมจะตามไปไหนไปด้วยตลอด
    และถ้าเรามีกำลังสติทางธรรมที่มากพอ เราจะรู้ตั้งแต่ตอนที่
    มันกำลังจะไปครับ..
    ถ้าประเภทไปได้ แต่ไม่รู้ว่าที่ไหน ไปได้ยังไง
    เห็นโน้นเห็นนี่ก็ไม่รู้ว่าคืออะไร
    ในทางปฏิบัติเค้าเรียกว่า
    กำลังสติทางธรรมยังอ่อนครับ...

    ส่วนระดับต่างๆเราดูกันที่
    ระยะเวลาที่จิตสามารถคลายตัวได้ครับ
    คลายตัวในที่นี้ก็คือ ไม่มีอะไรมาเกาะที่ตัวจิตได้เลย
    และจิตมันก็ขยายตัวออกไปไม่เป็นวงกลมครับ...
    และที่สำคัญก็คือ คลายตัวเองโดยธรรมชาติ
    ไม่มีการใช้วิธีใดๆไปบังคับทั้งสิ้นด้วยครับ..

    นึกๆสภาวะตอนที่เราทำบุญแล้วตรงลิ้นปี่เรามัน
    โล่งๆเบาๆได้ไหมครับ อารมย์คล้ายๆแบบนั้น
    หละคับ แต่เป็นไปได้เองตามธรรมชาติของมันเองครับ


    ระดับพระอนาคามีจริงๆ ท่านเรียกได้
    คลายแบบนั้นแทบจะทั้งวันแล้วครับ..
    แม้ว่าจะมีอะไรเข้ามา จิตท่านก็ไม่เกาะครับ
    อย่างเราๆ เริ่มได้ในหลักวินาทีก็ถือว่าดีแล้วครับ...
    ย้ำว่าเป็นไปโดยธรรมชาติ ปราศจากวิธีการใดๆ
    และในเวลาลืมตาปกติ ไม่ใช่ตอนหลับตานั่งสมาธิด้วยนะครับ...

    ทรงฌานทางปฏิบัติก็คือ ถ้าเราต้องการเข้าฌานระดับไหน
    เราสามารถที่จะเข้าถึงได้ภายในเวลาเสี้ยววินาที
    และเข้าได้แม้ในเวลาลืมตาปกติครับ
    ไม่ใช่ว่าเคยนั้นได้ระดับไหนมาก่อนนะครับ
    อย่างนี้จะทำให้หลงตัวเอง...
    และเราทรงฌานระดับไหน
    เราดูที่ความสามารถในการทำได้จริง
    ในระดับของกำลังฌานนั้นๆครับ..

    และที่สำคัญการพยายามอยู่ในระดับฌานนานๆ
    เพื่อไม่ให้มีอารมย์เข้ามาเลย อย่างนี้ต่อไป
    จิตจะเกิดอาการพิการ พูดง่ายๆจิตอับเฉา
    และไม่เกิดปัญญาทางธรรมครับ
    ยกเว้นว่า จะเข้าใจกิริยาที่จิตเป็นกลาง
    แล้วมาวิปัสสนาอย่างนี้ไม่เป็นไรครับ...

    แต่ก่อนจะเข้าใจกิริยาที่จิตเป็นกลาง
    ต้องทราบนะครับ ว่า อาการจิตกระเพื่อมเป็นไง
    กิริยาที่จิตรวมกับความคิดเป็นไง
    กิริยาที่จิตรวมกับขั้น ๕ นามธรรมเป็นไง
    กิริยาที่จิตรวมกับกระแสแหย่ภายนอก
    เป็นอย่างไร(ข้อสุดท้ายสำหรับพวกใช้งานทางจิตได้ครับ)

    ปล.ประมาณนี้ ลองอ่านแล้วพิจารณาดูครับ


     
  4. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    อ่านคำตอบทั้ง 2 ท่านเเล้วมีความสุขครับ

    ท่านผู้ทรงความดีและความรู้ทั้ง 2 เขียนเเสดงข้อเเนะนำได้เป็นกลางดีมากครับ
    และเมื่อผมอ่านเเล้ว ทำให้เกิดความกระชับทางความเข้าใจมากขึ้นครับ

    ขอบพระคุณท่านทั้ง 2 เป็นอย่างยิ่งครับ
     
  5. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    เรียนถามอาจารย์ ถึงอาการ

    ผมรู้สึกว่าไม่ก้วหน้า ตอนนี้มีอาการดังนี้ โยกโครง หัวหมุน ตัวลอยจากล่างขึ้นไปที่หัว
    ได้ยินสัมผัสเส้นเลือดเต้น หลังจากอาการนี้หายไปเเล้วเรียบนิ่ง อาหารต่อมาคือ นิ่ง
    เเละ ปวดลิ้นปี่ พอปวดมากเข้า (เข้าใจว่าลืมหายใจเเล้ว) สำลักลมหายใจจนต้องสูดอาการเข้าไป ไม่ก้าวหน้าต่อไปครับ อารมไม่เดินต่อครับ ผมพยายามกำหนดว่าไม่คิดให้จิตว่างๆ คือรู้ว่าว่าง เเต่ไม่ได้ไปจับลมเเล้วเพราะมันเลือนไปเอง ถ้าผมพยายามจับลมมันก็กลับไปจับได้ เเต่ผมไม่จับปล่อยให้เลือนไปเอง เเล้วจับเเต่อารมว่างดูอาการปิติไปจนมันหาย เเล้วก็นิ่ง เเล้วก็ตัน ครับ
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,049
    พื้นฐานระบบหายใจยังไม่ได้ครับ
    ก็คือ มันยังไม่ลึกเลยหน้าอกผ่าน
    ลิ้นปี่จนไปถึงที่ท้อง และการตัด
    ระบบใช้ความคิดก็ยังไม่ขาด
    ตรงนี้มันจะทำให้เราเผลอไปใช้ความคิด
    ที่มันมาจากสมอง หรือ พูดง่ายๆว่า
    ความคิดจากสัญญาความจำได้ในอดีต
    เข้ามาเพื่อที่จะหนุนให้สมาธิเราก้าวหน้า
    เพราะเวลาหลับตาทำสมาธิมันก็จะเผลอไป
    ใช้สายตาปกติเหมือนตอนลืมตาเพื่อมองออกไป
    ตรงนี้เป็นตัวสร้างให้จิตไปดึงความคิดจากสมอง
    อย่างที่เราคาดไม่ถึง แถมเป็นตัวขวางการสร้าง
    ความสามารถพิเศษให้กับสายตาเราร่วมอีกด้วย
    และยิ่งถ้าเราเผลอไปกำหนดจิตไว้ที่ตรงไหน
    มันก็จะปวดจะตึงตรงนั้นร่วมด้วย
    เพราะมันจะไปดึงกระแสความคิด
    ให้มาหมุนวนบริเวณที่เราเผลอไปกำหนดจิตเอาไว้
    ตรงนี้จะเป็นอะไรที่ขวางการพัฒนายกระดับ
    สมาธิเราได้อย่างที่คาดไม่ถึง แต่ว่าไม่ใช่
    ปัญหาใหญ่ เพราะเป็นกันได้ทุกคนครับ
    และกิริยาอย่างที่เขียนมาทุกอาการถือว่า
    ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากๆ ไม่ต้องให้ความสำคัญตรงนี้...
    เพราะไม่มีประโยชน์อะไร
    เพียงแต่ปล่อยไปให้สุดๆ ในแต่ละครั้งที่เป็น
    ถ้าทำได้จะไม่เกิดอีก..

    อาการพวกนี้ที่มันทำให้เรา แป๊ก
    หรือ ตันอย่างนี้ ส่วนตัวเรียกว่า
    วิถีขวางการพัฒนายกระดับสมาธิ
    อย่างคาดไม่ถึง.....

    วิธีแก้ ให้ปรับระบบหายใจใหม่
    เวลาหายใจเข้าให้ลึกถึงท้อง
    พูดง่ายๆหายใจเข้าท้องพอง
    หายใจออกท้องยุบ..ที่สำคัญก็คือ
    อย่าไปตามลมหายใจเด็ดขาด
    เพราะจะเป็นการทำให้จิตเกิด
    ก็จะไม่มีทางเกินปฐมฌานแน่นอน...

    หายใจเข้าอย่างที่บอก ร่วมกับการทำความ
    รู้สึกรับรู้ว่ามีลมเข้ากระทบหยุดอยู่ที่ปลายจมูก
    หายใจออกร่วมกับการทำความรู้สึกรับรู้ว่ามีลม
    กระทบและหยุดที่ปลายจมูก
    ในขณะเดียวก็ดันลมให้ลึกถึงท้องร่วมด้วย
    ไม่ใช่แค่ในเวลานั่งสมาธินะครับ
    ต้องทำให้เป็นระบบหายใจปกติ
    ในชีวิตประจำวันไปเลย..ซึ่งอย่าไปเร่งรีบ
    เพราะร่างกายจะค่อยๆปรับตัวเอง
    ใช้เวลาอย่างน้อย ๒ สัปดาห์ ถึง ๒ เดือน
    เป็นต้นไปครับ...
    จะได้กำลังสมาธิสะสมเพื่อมาหนุนการในการ
    ยกพัฒนาระดับสมาธิ เป็นเหมือนการเติมน้ำมัน
    เพื่อไปต่อ ส่วนกำลังสติทางธรรมที่ได้การทำ
    ความรู้สึกรับรู้ที่ปลายจมูก เสมือนกับแผนที่
    สำหรับการเดินทาง...

    และที่สำคัญเวลานั่งสมาธิ ให้หลับสายตาปกติ
    คือให้มองลงมาที่ลิ้นปี่ เหมือนสายตาพระพุทธรูป
    เราจะมีความรู้สึกว่า มีเสมือนลูกตาเดียว มอง
    ผ่านเหนือระหว่างคิ้วได้เองอัตโนมัติ ตรงนี้
    ก็จะเป็นการตัดระบบความคิด ตัดสัญญาความ
    จำได้ในอดีตอัตโนมัติ และเป็นการพัฒนา
    สายตาพิเศษของเรา..ซึ่งมันจะเหมือนเรา
    มองตอนกลางคืนพระอาทิตย์พึ่งเริ่มตก
    ซึ่งจะไม่ชัดเป็นเรื่องธรรมดา
    และถ้าเราไม่สนใจ และทำไปเรื่อยๆ
    เราก็จะเริ่มเห็นชัดขึ้น เหมือนพระอาทิตย์
    ที่กำลังขึ้น จนกระทั่งขึ้นเต็มดวงนั้นหละครับ
    ถ้าจะให้เป็นอย่างนี้ได้ การที่เราเห็นอะไรได้
    ก็ตามห้ามสนใจไม่ว่าจะพิศดารอลังการงานสร้าง
    เพียงใดก็ตาม และสัมผัสกิริยาอะไรได้ไม่ว่ามันดู
    วิเศษเลิศหรูอย่างไรก็ตาม
    ระหว่างนี้ ห้ามสนใจทุกๆกรณี
    ย้ำว่าห้ามสนใจทุกๆกรณี
    ให้ถือว่า มันเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้อง
    ไปสนอยากรู้ว่ามันคืออะไรทั้งสิ้น

    ปล.ส่วนี้ฟังหูไว้หูนะครับ..
    ของคุณพอมีพื้นฐาน ระบบหายใจ
    จะเริ่มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในสัปดาห์ที่ ๒
    สัปดาห์แรกมันจะหลงๆ รู้สึกปั่นป่วนที่ท้องเล็กน้อย
    ส่วนระบบความคิดมันจะยังตัดไม่ขาด
    เพราะมันติดเป็นนิสัยมานาน ชอบเผลอ
    ไปดึงสัญญาในอดีตมาเพื่อหนุนการยกระดับ
    พัฒนาสมาธิซึ่งเป็นอะไรที่พลาดอย่างคาดไม่ถึง
    ตรงสัปดาห์ที่ ๖ นะครับถึงจะเริ่มตัดได้ขาดจริงๆ
    เวลาเรานั่งสมาธิ...
    ถ้าทำตามที่แนะนำได้..
    และถ้าทำได้สมาธิเราจะยกระดับ
    พัฒนาได้เอง และระดับที่พัฒนานี้
    จะเริ่มเห็นผลในสัปดาห์ที่ ๑๐ ขึ้นไป
    ได้ด้วยตัวเราเอง...
    สมาธิยิ่งไม่รู้ ไม่คิด ยิ่งไปได้เร็ว..
    มันไม่ใช่การเรียนรู้ทางโลกนะครับ..
    มันเป็นการฝึกเพื่อลดระดับคลื่นความถี่
    ให้ตัวจิต ที่มันมาจากสิ่งยึดเกาะต่างๆ
    ที่ตัวจิต..เพราะฉนั้นเราจึงอย่าไปเอา
    ความรู้ทางโลกมาปนเข้าไปอีกเวลาเรานั่ง
    และก็พยายามหาวิธีตัดพวกที่มาเกาะต่างๆ
    ออกจากตัวจิต และก็เตรียมน้ำมันเพื่อให้มัน
    เดินหน้าต่ออย่างที่แนะนำไปนั้นหละครับ

    ประมาณนี้หละครับ..
     
  7. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    ขอบพระคุณ อาจารย์ทั้ง 2 ครับ

    ขอบพระคุณ อาจารย์ Nopphakan และ อาจารย์ Nilakran ครับ
     
  8. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    ผลการปฏิบัติที่น่าพอใจเพิ่มขึ้นครับ

    หลังจากได้คำแนะนำจากอาจารย์ทั้งหลายสิ่งที่ผมนำไปปฏิบัติดังนี้

    พยายามทรงสมาธิขั้นต่ำตลอดเวลาโดยกำหนดว่า ลมหายใจคือชีวิตมีชีวิตต้องรู้ลมหายใจ กำหนดเแบบนี้เเล้วจะเบาไม่เครียด(ก่อนหน้านี้ก็ได้ปฏิบัติมาบ้างเเล้ว)

    กำหนดสายตามองเอียงต่ำช่วยขจัดความคิดฟุ้งได้ดีครับที่อาจารย์เเนะนำ

    ไม่รีบเข้าสมาธิ ผ่อนคลาย ๆ ตามอาจารย์เเนะนำ

    เข้าถึงอาการดังนี้

    นั่ง 4-5 นาทีอารมณ์เรียบเข้าถึงชาญ 3ได้ ไว

    เกิดปิติไม่รุนเเรง สลับเข้า สลับออก เบาๆ วนๆไปมา

    ปิติสงบไปแบบเบาๆ จิตจรดอารมณ์นิ่งคือคล้ายให้ตามองต่ำจิดจรดที่ระหว่างตา(ตรงนี้เข้าใจว่าต้องมีกำลังไม่งั้นแกว่ง)

    ต่อมาได้ยินเสียง จีดๆ อี้ดๆ นี้ดๆ จื้ดๆ คล้ายๆเสียงวิ้งๆ หูอื้อๆ (อาการนี้จะเข้ามาทดแทนเสียงที่จะได้ยินจากภายนอก) พอนานๆเข้า จิตจรดนิ่งดี ลมหายใจจะเนียนมากถ้าไม่คิดจะไม่รู้ว่าตอนนั้นหายใจเข้าหรือหายใจออก ถ้าจิตเเกว่งไปคิดถึงรู้ว่ายังหายใจ เเละลืมเสียงภายนอกมากขึ้น ครับบ

    ช่วงท้ายๆ เริ่มคุมจิตให้หนี นิวร อาการชาทางกายได้ หลังจากก่อนหน้าที่นิวรเริ่มไล่บี้เข้ามา ตอนสุดท้ายนี้จิตมันเบาไหลไปเรื่อยๆ

    ขอบพระคุณอาจารย์ รวมถึงผู้สร้างเพจนี้ด้วยครับ ไม่งั้นผมก็คงจะลำบากกว่านี้มากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...