มีดโต้สับช้าง หลวงพ่อเดิม

ในห้อง 'ห้องแสดงวัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย otiger, 13 พฤษภาคม 2021.

  1. otiger

    otiger สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +226
    วันนี้แม้งโม้ว่อนอีกแล้ว พอมีเวลาเอาเครื่องรางที่สะสมบูชา ออกมาถ่ายภาพทำระเบียน มาโม้เหมือนเคย ผมได้เอาคชกุศของควาญช้างเลี้ยงของหลวงพ่อเดิม มาลงให้ชมไปแล้ว วันนี้เป็นมีดอาคมขลังหายากอีกชิ้นนึง ของควาญช้างเลี้ยงของหลวงพ่อท่าน ที่อยู่ในชุดมีดหลวงพ่อเดิม ที่ผมสะสมบูชา เอามาให้ชม มีดโต้อาคม เล่มนี้ เป็นมีดใช้งาน เจ้าของเดิมท่านได้มาจากหนึ่งในควาญช้างเลี้ยงของหลวงพ่อ (คนละเชือกกับเจ้าของคชกุศ)เมื่อช้างล้มไปก็เก็บไว้ไม่ค่อยได้ใช้งาน ท่านเรียก มีดโต้สับช้าง หลวงพ่อเดิม ท่านเล่าประวัติตอนมอบมีดให้ผม ท่านบอกว่า
    ควาญเจ้าของมีดได้เล่าไว้ว่าใบมีดโต้หล่อและตีขึ้นรูปด้วยโลหะอาถรรพ์ ตามตำรา จารอักขระยุคต้นทั้ง2ข้าง ด้ามทำจากตาไม้พยุง ปลอกรัด กลั่นมีดหลอมตีขึ้นรูป จากเศษทองหล่อพระประทาน ที่กระเดนออกนอกเบ้าพิมพ์ จากการเททอง เป็นโลหะผสมแบบเดียวกับการหล่อพระแต่โบราณที่เรียกโลหะทองดอกบวบ
    บรรจุผงพุทธคุณ แผ่นตะกรุด ผงครั่งบด ผสมผงขี้สูดเพียงดิน หรือชันโรงดิน ลงในด้ามมีด แล้วเอากลั่นมีดที่จารอักขระ ที่เผาจนแดงดันเสียบเข้าด้ามมีด จนมวลสารที่ใส่อยู่ในด้ามละลาย จนค่อยๆเย็นแข็งตัวอุดกลั่นมีด จนยึดติดกับด้ามมีดแนบแน่น
    มีการลับใช้งานแต่เดิม ผมเก็บบูชาตาสภาพเดิมๆที่ได้รับมายังคงความคมจนทุกวันนี้ ผมเรียก มีดด้ามนี้ว่าอีโต้แก้วหน้าม้า แบบขำๆตามนิยายแก้วหน้าม้าที่เรียกใช้เป็นอาวุธยามคับขัน
    มีดโต้สับช้าง หลวงพ่อเดิม จัดเป็นเทพศาสตราอีกชิ้นนึงที่อาคมขลังมาก ที่ควาญช้างของหลวงพ่อเดิม ในสมัยนั้นพกติดตัว เอาไว้ใช้แทนคชกุศ ในบางเวลายามที่ไม่ได้หยิบคชกุศมา ถือเป็นของ ทำเฉพาะ เหมือนคชกุศ เป็นของหวงอีกชิ้นนึงที่ผมเก็บบูชาไว้คู่กับคชกุศ ของหลวงพ่อท่าน น้อยคนที่จะเคยเห็น
    มีดโต้สับช้าง หลวงพ่อเดิม เอามาให้ชมกันครับ

    เกร็ดเล็กน้อยแต่โบราณ
    โลหะทองดอกบวบ คือ โลหะที่มีส่วนผสมของทองคำกับ โลหะอื่น ๆ คือต้องย้อนความให้ฟัง ครูบาอาจารย์สมัยก่อน ถ้าท่านดำริ การสร้างพระประเภทโลหะ รูปหล่อ อะไรต่าง ๆ ทางวัด มักจะไม่มีโลหะ หรือ หาซื้อ หรือ จ้างหล่อได้ง่าย ๆ เหมือนสมัยนี้ ส่วนใหญ่ จะมาจาก ชาวบ้าน ที่ศัทธรา ในตัวครูบาอาจารย์ท่านนั้นๆ หรือ วัดนั้น ๆ บริจาค ซึ่งคหบดีหรือใครพอจะมีฐานะหน่อย ก็จะบริจาคเป็นทองคำ ส่วนฐานะ ปานกลาง ลงมาหน่อย ก็เป็นเงิน ทองเหลือง สัมฤทธิ์หรือโลหะอะไรที่สุดแท้แต่จะหาได้ พอนำมาหลอมรวม ๆ กัน ด้วยความที่สีทอง เป็นสีที่เด่นที่สุด เนื้อพระจึงออกเหลือง ๆ คล้าย ดอกบวบ โบราณจึงนิยมเรียกว่า ทองดอกบวบ และเนื่องจาก เป็นสีจากทองคำจริง ๆ จึงไม่ลอก แต่อาจจะมีซีดได้ตามกาลเวลา แต่หากนำมาล้างมาขัดก็จะ เหลืองทองงดงาม

    "ชันโรง" (ชัน นะ โรง)
    ลักษณะของ "ชันโรง" ที่นำมาใช้ประกอบจัดสร้างวัตถุมงคงหรือวัตถุอาถรรพ์นั้น จะเป็นยางไม้เหนียวข้นคล้ายกับชันที่ยาเรือ ตัวชันโรง จะเก็บยางจากไม้ใหญ่ต่างๆนำมาผสมกับมูลแล้วอุดรูร่องรอยสร้างขึ้นเป็นรัง
    เราจะสามารถพบเห็นรังของชันโรงได้ตามโคนตันไม้ใหญ่ๆ ตามโพรงของกิ่งไม้และบริเวณดิน ชันโรงใต้ดิน ตามธรรมชาติชันโรง เป็นชื่อของผึ้งชนิดหนี่งมีรังเป็นยางเหนียว สีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ชันโรง ส่วนใหญ่ทำรังบนต้นไม้ ชาว เรือเอาไปอุดรอยต่อของไม้กระดานเรือ มี 2 ชนิด
    คือชันโรงบนต้นไม้และ ชันโรงใต้ดิน ซึ่งชันโรงใต้ดินถือเป็นของอาถรรพณ์ ปกติชันโรง ใต้ดินอยู่ที่ไหนที่นั่นจะไม่ไหม้ไฟ ชันโรงใต้ดินมีอิทธิคุณ ตามธรรมชาติเป็นมหาอุด กันไฟ กันคุณไสยได้
    ทางภาคเหนือจะเรียกว่า แมลงขี้ตังนี หรือแมลงขี้ตึง แปลว่าแมลงที่ผลิตหรือเก็บน้ำยางได้ ทางภาคอีสานเรียก แมลงขี้สูด นิยมนำมาอุดแคน หรือถ่วงเครื่องดนตรีประเภทระนาด โปงลาง
    ทำให้เกิดเสียงไพเราะ ส่วนภาคใต้เรียกตัว อุง ถ้าตัวเท่าแมลงหวี่เรียกอุงแมงโลม เพราะชอบมาตอมไต่ผู้คนเวลาเดินป่า ถ้าตัวใหญ่เรียก อุงหมี นอกจากนี้ บางพื้นที่ยังรู้จักในชื่อ ตัวชำมะโรง อีกด้วย
    ชันโรงดินเป็นของดีโดยธรรมชาติ ที่ไม่ต้องปลุกเสกถือเป็นของทนสิทธิ มีฤทธิ์ในตัวเอง แมลงที่ทำรังในระดับทางเดินของคน มีชื่อเรียกภาษาอีสานว่า สูดเพียงดิน หมายถึงแมลงชนิดนี้ ทำรังระดับเดียวกันกับพื้นดิน แล้วทำท่อขึ้นมาจากพื้นดินครับ


    C9E5CA73-F511-4367-B923-16C036A15D1B.jpeg CF1677E4-CA6C-45DB-B14A-E72AF79FE073.jpeg E695D5A5-3ECC-40F2-A53E-978A308DF421.jpeg D0E84735-20D2-47BA-93FF-CE7B4A324FB7.jpeg 4A200627-8C4E-4F0F-8081-A019D10B2A31.jpeg 54D5651B-7A87-4DA9-8EEE-07EE6CB8221D.jpeg 6B92255A-FEF8-42F9-9037-8E1966B5269B.jpeg C4DD4E5D-017A-4B04-A321-B83D97FA6D4C.jpeg
     
  2. ice5509876

    ice5509876 พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2015
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +92
    สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...