พระหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Classbanza, 16 เมษายน 2020.

  1. Classbanza

    Classbanza สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2020
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +17
    พระเจ้าสัว 1 หลวงปู่บุญ
    instagrid_2021227233354125.jpg
    instagrid_2021227233225331.jpg
    IMG_25631017_115611.jpg
    IMG_25631017_115607.jpg
    IMG_25631017_115623.jpg
    IMG_25631017_115738.jpg
    พระชัยวัฒน์์ รศ.118 หลวงปู่บุญ นับวันยิ่งหายาก การดู ต้องดูพิมพ์ รูปทรงหน้าเป็นผลมะตูม พระศกเป็นธรรมชาติ ความเก่า คาบสนิมที่เกิดเองขึ้นปกคลุมทั่วทั้งองค์พระ และที่สำคัญ สนิมที่เกิดขึ้นจะต้องมีสีที่ไม่เท่ากัน บางจุดสนิมสีแดงแซมสีดำ และผิวแห้ง (ถ้าใช้กล้องที่ซูมได้มากจะเห็นความฉ่ำของเนื้อเกิดจากแว็ค (หุ่นเทียน) ตอนหล่อพระ) ดูสบายตา ฐานต้องเป็นบัว 2 ชั้น ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า 118 และต้องเป็นพระที่เกิดจากหุ่นเทียนมีรอยประกบ ต่อเดือย เนื้อของพระเป็นทองผสม บางองค์มีเนื้อทองคำเห็นเป็นเกร็ดเล็กๆ ที่เกิดจากญาติโยมสมัยนั้นมีจิตศรัทราต่อหลวงปู่บุญ ได้นำเงินทองนาคที่ตนเองมีมาหล่อผสม และเมื่อสร้างเสร็จได้ตัดแจกจ่ายให้กับญาติโยมที่มาร่วมทำบุญ ผู้ที่มีพระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ มักจะหวงแหนและเก็บเป็นอย่างดี ทำให้บางองค์ยังคงสภาพใหม่ แต่เต็มไปด้วยมนเสน่ห์ของพระที่ถึงยุค เพราะพระได้ผ่านการเวลามาตั้งแต่ พ.ศ. 2443 มีอายุมากกว่า 100 ปี ซึ้งปัจจุบันนี้หาได้ยากและมีราคาเช่าหากันสูง ผู้ที่สนใจต้องศึกษาประวัติพระจากคนเถ้าคนแก่ตามริมแม่น้ำนครชัยศรี และคนฝั่งคลองจินดาที่มีองค์ความรู้เรื่องพระหลวงปู่บุญจริงๆ และที่สำคัญ ศิษย์ดีต้องมีครู มีครูดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เช่น ศึกษาจากกลุ่มพระหลวงปู่บุญที่มีความน่าเชื่อถือ ศึกษาความเก่าสนิมพระ พิมพ์ รักชาด (รักชาดจีน) วิธีการสร้าง เนื้อของพระ อย่างเช่นเนื้อโลหะมี ทอง เงิน เงินพดด้วง เนื้อนกขี้เขาเปล้า เนื้อทองผสม เป็นต้น โดยเฉพาะเนื้อทองผสม สามารถศึกษาจากองค์ที่ผมได้ลงไว้ ดูง่าย ทั้งพิมพ์ เนื้อ สนิม การหดตัวของโลหะ ถ้าเกิดเรารู้ตรงนี้แล้ว ก็สามารถแยกความเก่าใหม่ของพระได้ และได้ของแท้มาบูชาอย่างแน่นอน สมัยก่อน คนที่อาศัยอยู่แถบนครชัยศรีมีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกองุ่น และพระหลวงปู่บุญก็เล่นหากันในพื้นที่ จึงยังไม่มีราคาที่สูงนักเหมือนสมัยนี้ คนเถ้าคนแก่แถบนครชัยศรี จึงนำพระหลวงปู่บุญที่ตนเองมีมาแลกปุ๋ยยาหรือปล่อยเช่า เพื่อนำเงินมาซื้อปุ๋ยใส่ต้นองุ่น ต่อมาเมื่อพระหลวงปู่บุญเป็นที่นิยมมากๆ ผู้คนต่างก็เก็บรักษาไว้เป็นมรดกให้กับลูกหลาน พระหลวงปู่บุญมีมากกว่า 200 พิมพ์ ซึ้งจะรวบรวมมานั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก บางพิมพ์แทบจะไม่มีให้เห็นผ่านตา เพราะคนนครปฐมต่างก็นับถือหลวงปู่บุญกัน จึงหวงแหนและเก็บพระหลวงปู่บุญไว้เป็นอย่างดี รวมทั้งพระหลวงปู่บุญยังได้รับความนิยมออกไปยังต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เป็นต้น ทำให้พระดีๆนั้น ไปอยู่กับมือต่างชาติก็ไม่น้อย ซึ้งก็เป็นที่ยืนยันแล้วว่าพระหลวงปู่บุญนั้นเป็นที่นิยมจริงๆ จึงทำให้มีการปลอมพระหลวงปู่บุญในบางรุ่นที่นิยมออกมา คนที่จะเช่าหาหรือเล่นพระหลวงปู่บุญ คนที่ยังไม่มีประสบการและความรู้จึงตกเป็นเหยื่อกับคนจำพวกนี้ได้ง่าย จึงอยากจะแนะนำว่า ให้ศึกษาให้ดีก่อน แต่ยังงัยพระแท้ก็ดูได้ง่าย เหมือนมีบาร์โค๊ตตอกเอาไว้ เพราะการเรียนแบบธรรมชาติของพระที่ผ่านการเวลามาอย่างยาวนานนั้น ก็ยังไม่มีใครทำได้เหมือน
    สรุปการดูพระชัยวัฒน์ รศ.118
    1. พระชัยวัฒน์์ หลวงปู่บุญมีการสร้างหลายครั้ง หลายพิมพ์
    2. พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ จะต้องเป็นพระที่เกิดจากหุ่นเทียน
    3. พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ จะต้องทำเป็นช่อและต่อเดือย
    4. เนื้อของพระนั้นมีหลายเนื้อ เช่น เนื้อเงิน เนื้อนกขี้เขาเปล้า เนื้อเงินนกขี้เขาเปล้า เนื้อทองเหลือง เนื้อทองผสม
    5. ความเก่าของรักชาด
    6. ต้องส่องด้วยกล้องที่มีอัตราการซูมที่สูง จึงจะเห็นการหดตัวของโลหะ
    7. ต้องมีขี้เบ้า
    8. ผิวพระดูด้วยตาป่าวมีความแห้ง แต่ถ้าส่องด้วยกล้องที่มีอัตรสการซูมสูงจะเห็นความฉ่ำของผิว ที่เกิดจากแว็ค ในขั้นตอนของการเทโลหะและดันเทียนออกมา
    9. ดูทางน้ำ
    10. ต้องศึกษาการเกิดสนิมพระ และศึกษาการยุบตัวของโลหะควบคู่ไปด้วย
    11. หลุมทรายและเม็ดทราย แบบเป็นธรรมชาติการหล่อพระแบบโบราณ
    12. ศึกษาจากองค์จริงก่อน และหาข้อมูลกับคนเถ้าคนแก่ที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับพระวัดกลางจริงๆ
    ***ที่สำคัญ ต้องเป็นคนดี สวดมนต์ก่อนนอน เน้นที่พุทธคุณและคุณงามความดีของท่าน อย่าเอาเรื่องเงินมาเป็นปัจจัยในการเล่นพระหลวงปู่บุญ ให้เอาความรู้และความดีเป็นหลัก

    :):):):):):):):):):):):):):):)
    อ้างอิงจากเว็บไซต์ posttoday ข้อมูลเพิ่มเติม
    https://www.posttoday.com/dhamma/492553
    :):):):):):)
    และ

    :):):):):):):)

    :):):):):):):)

    พระเจ้าสัว หลวงปู่บุญ อ้างอิงจากหนังสืือ อ.รวิโรจน์
    FB_IMG_1604413221541.jpg
    FB_IMG_1604413215698.jpg
    FB_IMG_1604413212661.jpg
    FB_IMG_1604413208344.jpg
    FB_IMG_1604413205929.jpg
    FB_IMG_1604413201397.jpg
    FB_IMG_1604413197431.jpg
    FB_IMG_1604413170274.jpg
    FB_IMG_1604413166540.jpg
    Screenshot_25631122_210303.png
    FB_IMG_1604413139010.jpg
    พระผงยาวาสนาจินดามณี พิมพ์เศียรโล้นปกโพธิ์ สะดุ้งกลับ ลักษณะเนื้อ เป็นสีดำละเอียด เนื้อแน่นเบา ผิวดูฉ่ำแข็งจากน้ำผึ้ง และเหี่ยวๆ จากการคลายความชื้น ไม่ใช่จากการเอาไปอบในเตา
    IMG_20210301_105934.jpg IMG_20210301_110037.jpg
    ลักษณะเนื้อพระผงยาวาสนาจินดามณีและผลึกที่เกิด
    FB_IMG_1614608712061.jpg
    เนื้อผงยาจินดามณีคลุกรัก
    IMG_20210314_165621.jpg
    IMG_20210314_165639.jpg
    มีเม็ดทองผสมในเนื้อพระ ส่องด้วยกล้อง 1000x
    IMG_20210315_202057.jpg IMG_20210315_202042.jpg
    received_429389278350361.jpeg
    received_547453586216902.jpeg
    เพื่อความไม่สับสน พระเนื้อผงยาจินดามณีนั้นแบ่งได้เป็น 3 เนื้อ คือ
    1. เนื้อผงยาวาสนาจินดามณีผสมน้ำผึ้ง มีลักษณะเป็นเนื้อสีดำละเอียด เมื่อเก่าถึงอายุจะแห้งและย่น มีน้ำหนักที่เบา แข็ง(พระที่สร้างด้วยเนื้อชนิดนี้มักจะบาง ไม่หนา)
    2. เนื้อผงยาจินดามณีผสมว่านพญาไม้ผุ ลักษณะคือ เป็นสีน้ำตาล และมีว่านพญาไม้ผุเป็นส่วนผสม เนื้อต้องแห้งและเบา (พระที่สร้างด้วยเนื้อชนิดนี้ มีทั้งบางค่อนไปทางหนาและหนาเป็นหลังนูน ๆ )
    3. เนื้อยาจินดามณีคลุกรัก (มีลักษณะเป็นเนื้อยาที่ไม่ละเอียดมาก จึงจำเป็นต้องคลุกรักเพื่อนำมาทำพระ เพื่อไม่ให้พระแตกหักง่าย)
    พระเจ้าสัว รุ่น 1 พิมพ์ที่ 3 ตัวอย่างพระและเนื้อหาความเก่า
    IMG_20210301_214239.jpg
    ลักษณะเนื้อพระเนื้อทองแดงองค์นี้ จะไม่ออกไปทางทองแดงเลยทีเดียว แต่จะมีลักษณะเป็นเนื้อทองแดงปนทองเหลือง และมีกระแสเนื้อทอง เป็นลักษณะของเนื้อพระที่สมัยโบราณไม่สามารถแยกมาลสารโลหะได้ และอีกประการตอนหล่อพระที่น่าวัดชาวบ้านนำโลหะอื่นๆ มาร่วมผสมหล่อลงไปด้วย ถ้าพระหลวงปู่บุญเป็นเนื้อทองแดงเพียว ๆ ดูแล้วใหม่ ให้สันนิษฐานก่อนเลยว่าเป็นการสร้างสมัยใหม่ เพราะสามารถแยกมวลสารโลหะได้ และพระองค์นั้นไม่ได้สร้างที่น่าวัด และจากที่ศึกษามา พระช่อสวนมาก มักจะหล่อช่อด้วยเนื้อทองเหลืองเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นพระหล่อช่อด้วยทองแดง ต้องมองให้เก่า หลักการสร้างต้องถูกต้องตามเชิงช่างยุคนั้นๆ
    FB_IMG_1614608727861.jpg FB_IMG_1614608730984.jpg รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเม็ดทอง?
    *เม็ดทองจะสะท้อนแสง แม้แสงมีน้อยมาก เมื่อดูผ่านกล้อง โละหะอื่นๆ จะไม่เล่นแสง จะมืดเมื่อลดแสงลง
    FB_IMG_1614608735280.jpg
    เจ้าสัว 1 เนื้อเปียกทอง พิมพ์ที่ 5
    IMG_20210301_214348.jpg
    กลุ่มพระเจ้าสัว เพื่อศึกษา
    https://www.facebook.com/groups/401563314329407/?ref=share
    ถ้าชอบ และคิดว่าเป็นประโยชน์ ช่วยแชร์ให้ด้วยนะครับ
    https://palungjit.org/threads/พระชัยวัฒน์-รศ-118-หลวงปู่บุญ-วัดกลางบางแก้ว.715162/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...