พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

ในห้อง 'ห้องแสดงวัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย วะระปัญญ์, 17 กันยายน 2018.

  1. วะระปัญญ์

    วะระปัญญ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2018
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +53
    ...ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผล การได้มาของผลภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดถือเป็นสาระสำคัญ สิ่งแรกที่ต้องรู้จักในเรื่องตรรกศาสตร์คือ

    ..ประพจน์ ข้อความหรือประโยคที่มีค่าเป็นจริง(T)หรือเป็นเท็จ(F) อย่างใดอย่างหนึ่ง

    ส่วนข้อความหรือประโยค คำสั่ง คำขอร้อง คำอุทาน คำปฏิเสธ ฯลฯ ซึ่งไม่สามารถบอกว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ไม่ถือเป็นประพจน์
    ...การเชื่อมประพจน์(เงื่อนไข) โดยปกติเมื่อกล่าวถึงข้อความหรือประโยค มักจะมีกริยามากกว่าหนึ่งตัวเสมอ แสดงว่าได้นำประโยคมาเชื่อมกัน มากกว่าหนึ่งประโยค จะได้ประพจน์ใหม่ สามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ตัวเชื่อมประพจน์มีอยู่ 5 ตัว คือ1.และ,กับ,แต่ 2.หรือ 3.ถ้า…แล้ว, ถ้า...ดังนั้น, เพราะว่า...ดังนั้น 4.ก็...ต่อเมื่อ 5.ไม่ ,ไม่จริงที่ว่า.
    ..ประโยคข้อความเป็นที่ยอมรับกันว่า *สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)สร้างพระพิมพ์เนื้อผงมวลสารแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟักไว้3วัด คือวัดระฆังฯ, วัดบางขุนพรหม ,วัด(เกศ)ไชโย *

    ..ปัจจุบันนี้พวกมือผีทำพระเก๊ ทั้งตำหนิ พิมพ์ทรง ทำได้ทุกจุด ร้อยเปอร์เซ็นก็ว่าได้ แต่เนื้อหา ทำได้ใกล้เคียงเท่านั้น เนื้อหามวลสารใหม่ พยายามทำให้เก่า เช่น ทอดให้เนื้อหาฟู ฝังดินให้มีคราบ อบตู้ไมโครเวฟเพื่อรีดความชื้นฯลฯ เหมือนเป็นการข่มขืน ฝืนธรรมชาติ

    ...ความเห็นส่วนตัวถือหลักยึดเนื้อหา ดูด้วยตา หาความเก่า กฎไตรลักษณ์(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ผุพังย่อยสลาย) หลักวิทยาศาตร์ ส่วนพิมพ์ทรงยึดเป็นรอง เริ่มตั้งแต่แกะออกจากแม่พิมพ์ เนื้อพระไม่แห้ง การหยิบจับ วางทับกัน เคลื่อนย้ายไปผึ่งลม การเก็บกู้ ย่อมมีการแปรเปลี่ยน การบิดเบี้ยว บิ่นแหว่ง ระแหง ย่อมเกิดได้ตามปัจจัยหลายอย่าง ตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ” การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∨q ซึ่งจะมีค่าความจริงอันเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงอันเป็นเท็จ (F) ทั้งคู่ ( พิมพ์ไม่ใช่ของจริง "หรือ" เนื้อหาไม่ไช่ของจริง ) นอกนั้นมีค่าความจริงอันเป็นจริง (T) แสดงว่า เนื้อหาใช่ หรือ พิมพ์ไม่ใช่ มีค่าความจริงอันเป็นจริง (T)

    ...พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เนื้อละเอียด พิมพ์ลึกแม้ถูกล้างมา ก็ยังเห็นเส้นสายคมชัด โดยเฉพาะเส้นชายจีวรที่ข้อศอก เส้นซุ้มล่ำคล้ายวางเส้นขนมจีนขดไว้ในภาชนะ ฐานชั้นที่1ทึบตัน ฐานชั้นกลางปรากฎฐานสิงห์ชัด หัวฐานชั้นที่3 ด้านซ้ายองค์พระ เชิดขึ้นเหมือนหัวเรือ บั้นเอวผาย พื้นผิวในเส้นต่ำกว่าพื้นผิวนอกเส้นซุ้ม และมีลักษณะเหี่ยวย่น เส้นบังคับพิมพ์(เส้นวาสนา)ยังพอปรากฎให้เห็น เป็นลางๆ ปลายพระเกศติดไม่ชัด แต่ยังพอเห็นได้ เนื้อหาส่วนนี้บางเป็นเดิมทุนอยู่แล้ว ประกอบกับผ่านกาลเวลาอันยาวนาน พระถูกห้อยแขวนบูชาเปลี่ยนมาหลายมือ พระเศียรเขยื้อนไปทางซ้าย(เข้าใจว่าตอนถอดออกจากแม่พิมพ์ เพราะเนื้อพระละเอียด)
    ด้านหลังองค์พระ เนื้อหาอย่างที่เห็น นุ่มหนึก จรดกล้อง มองผ่านเลนส์ครั้งใด ซึ้งตา ตรึงใจ ไม่สร่างซา ภาพนี้ถ่ายจาก Samsung Note4 เชิญชมครับท่านทั้งหลาย.
    SD_pimy01.jpg SD_pimy02.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...