พระพุทธิวงศมุนี วัดพระพุทธชินราช

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 ตุลาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    0b898e0b8b4e0b8a7e0b887e0b8a8e0b8a1e0b8b8e0b899e0b8b5-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89e.jpg
    พระพุทธิวงศมุนีวัดพระพุทธชินราช

    พระพุทธิวงศมุนี วัดพระพุทธชินราช : พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนา เลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ผู้ทรงคุณแก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2562

    ในการนี้ พระธรรมเสนานุวัตร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นพระเถระที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามที่พระพุทธิวงศมุนี

    ปัจจุบันพระพุทธิวงศมุนี (บำรุง ฐานุตตโร) สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก และรองหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 3

    มีนามเดิม บำรุง มากก้อน เกิดเมื่อวันที่ 23 ก.พ.2480 ที่บ้านเลขที่ 36 หมู่ที่ 3 ต.มะขามสูง อ.เมือง จ.พิษณุโลก บิดา–มารดา ชื่อ นายล้วน และนางเหรียญ มากก้อน ครอบครัวประกอบอาชีพกสิกรรม

    อายุ 15 ปี เข้าพิธีบรรพชา เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2495 ที่วัดกระบังมังคลาราม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก มีพระพิศาลธรรมภาณี วัดกระบังมังคลาราม เป็นพระอุปัชฌาย์

    อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 23 เม.ย.2500 ที่พัทธสีมาวัดกระบังมังคลาราม โดยมีพระพิศาลธรรมภาณี (เชื้อ สุธมฺโม) วัดกระบังมังคลาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหานเรศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ เจ้าอธิการถนอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    จากนั้นมุ่งศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งนักธรรมและบาลีอย่างจริงจัง พ.ศ.2500 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี–โท–เอก ตามลำดับ

    แต่ด้วยเห็นว่าวัดในต่างจังหวัดยังมีความไม่พร้อมในด้านการศึกษาหลายด้าน จึงตัดสินใจมุ่งหน้าเข้าเมืองหลวง

    พ.ศ.2502 สำเร็จการศึกษาสามัญชั้น ม.8 โรงเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พ.ศ.2516 สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค สำนักเรียนวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ

    ได้รับความไว้วางใจจากเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณขณะนั้น ให้เป็นเจ้าคณะ 13 รวมทั้งได้รับมอบหมายภารกิจงานด้านการคณะสงฆ์ด้วย

    แต่ในที่สุดก็ต้องเดินทางกลับพิษณุโลก เพื่อปฏิบัติศาสนกิจ ทั้งในด้านการปกครอง การศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และอื่นๆ[​IMG] [​IMG]

    พ.ศ.2517 เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก และเป็นผู้จัดการโรงเรียนพุทธชินราชวิทยา (ฝ่ายสงฆ์) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

    พ.ศ.2518 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2531 เป็นเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2532 เป็นอุปัชฌาย์วิสามัญ พ.ศ.2533 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พ.ศ.2534 เป็นเจ้าอาวาส

    ส่วนงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านจะมุ่งเน้นควบคู่กันไปกับงานพระธรรมทูตและงานการศึกษา โดยจะไม่ยึดติดกับเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือวัตถุนิยมแต่อย่างใด

    เกียรติคุณ พ.ศ.2537 ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จากสภาการฝึกหัดครู สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก พ.ศ.2545 ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2521 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่พระศรีรัตนมุนี พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่พระราชรัตนมุนี พ.ศ.2542 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่พระเทพรัตนกวี

    พ.ศ.2548 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่พระธรรมเสนานุวัตร

    พ.ศ.2562 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ที่พระพุทธิวงศมุนี

    ชีวิตส่วนตัวของท่านเป็นไปอย่างเรียบร้อย การบริหารท่านกล้าคิด กล้าทํา ทรงไว้ซึ่งสง่าราศีน่าเคารพยำเกรง

    แต่ในส่วนลึกเป็นคนอ่อนโยน มีเมตตาปรานี เอาใจดูแลความเป็นอยู่ของผู้ใต้ปกครอง

    จึงเป็นที่เคารพนับถือของคณะสงฆ์และชาวสองแควเป็นอเนกประการ

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_2946723
     

แชร์หน้านี้

Loading...