เรื่องเด่น ปางช้างผจญวิกฤติ “โควิด-19” จนปัญญาเลี้ยง-อดทั้งคนทั้งช้าง

ในห้อง 'ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 29 เมษายน 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    “เจ้าของปางช้างแต่ละแห่งต้องใช้เงินซื้ออาหารให้ช้างและควาญช้าง เมื่อไม่มีการท่องเที่ยวผลกระทบรายได้กลายเป็น “ศูนย์” ไม่มีอาหารให้ช้าง ปางช้างบางแห่งเจ้าของสายป่านยาวก็อยู่ได้ แต่ปางช้างเล็กๆเช่าช้างมาจาก จ.สุรินทร์ จ.ชัยภูมิ จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยว เจ้าของปางช้างก็ไม่รับผิดชอบ เจ้าของช้างต้องนำช้างกลับบ้าน” นางแสงเดือน กล่าวถึงวิกฤติที่ประสบอยู่

    พร้อมเปิดเผยอีกว่า ทุกวันนี้จะเห็นช้างกำลังย้ายถิ่นจำนวนมาก ช้างจาก สุรินทร์ บุรีรัมย์ อ.แม่แจ่ม อ.อมก๋อย และ จ.แม่ฮ่องสอน กำลังเริ่มทยอยเดินทางกลับบ้าน

    0b8b2e0b887e0b89ce0b888e0b88de0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b8b4-e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894.jpg
    ศูนย์อนุรักษ์ช้างฯ แม่แตง รับภาระเลี้ยงช้างในความดูแลและช้างจากปางช้างอื่นนำมาให้ดูแล มีทั้งปกติ ช้างพิการ และช้างแก่.

    การเดินทางกลับช้างทุกเชือกต้องใช้วิธีเดินเท้า และใช้เวลานานหลายวัน กว่าจะกลับถึงบ้าน ท่ามกลางอากาศร้อนระอุ สองข้างทางแห้งแล้งและป่าถูกไฟไหม้ แทบจะไม่มีหญ้าหรือใบไม้ให้ช้างกินระหว่างเดินทางเลย

    หากนำช้างขึ้นรถบรรทุกกลับต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ช้าง 10 เชือก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 3 แสนบาท แค่ช่วงเวลาอาทิตย์เดียว มูลนิธิฯต้องช่วยช้าง ที่ถูกขับไล่ออกจากปางช้าง จำนวน 17 เชือก

    8b2e0b887e0b89ce0b888e0b88de0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b8b4-e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-1.jpg
    นางแสงเดือน ชัยเลิศ เล่นกับสุนัขจำนวนมากที่นำมาเลี้ยงไว้ในความดูแล ภายในศูนย์อนุรักษ์ช้างฯ แม่แตง พร้อมกับสัตว์ต่างๆในปางช้างรวมกว่า 3,000 ตัว.

    ช้างและควาญมีชีวิตแสนลำบาก ไปอาศัยที่หมู่บ้านไหนชาวบ้านจะไม่ให้อยู่ เกรงว่าควาญช้างจะนำไวรัสโควิด-19 เข้าสู่หมู่บ้าน ต้องหนีออกกันมาแบบหัวซุกหัวซุน

    “สอบถามเจ้าของช้างส่วนใหญ่ยืนยันว่า ถ้าสถานการณ์ไม่ดีขึ้น การท่องเที่ยว ไม่กลับมาในช่วงปลายปีนี้ พวกเขาต้องหาทางออกด้วยตัวเอง เอาช้างไปหางานทำ ถึงแม้เป็นงานลากไม้ก็ต้องทำ สิ่งที่น่ากังวลคือ อนาคตช้างไทยกำลังหันหลังกลับไปเหมือนอดีตอย่างนั้นหรือ” นางแสงเดือน กล่าวด้วยความเป็นห่วง

    8b2e0b887e0b89ce0b888e0b88de0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b8b4-e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-2.jpg
    วัว จำนวนมาก ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างฯ แม่แตง เลี้ยงไว้ภายในศูนย์ เป็นภาระ ในการดูแลเช่นเดียวกับช้างจำนวนมาก ที่กำลังประสบวิกฤติด้านอาหาร.

    นางแสงเดือน ยังกล่าวอีกว่าตนไม่อยากเห็นช้างออกไปเดินเร่ร่อนเหมือน ในอดีต ไม่อยากเห็นเจ้าของช้างพาช้างไปลากไม้ทั้งๆที่วันนี้กลายเป็นอาชีพ ผิดกฎหมายไปแล้ว อยากวิงวอนให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือช้างด้วย

    ช้างที่ทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวลงทะเบียนมีจำนวนร่วม 3,700 เชือก ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเจ้าของช้างได้ขอความช่วยเหลือมายัง มูลนิธิอนุรักษ์ช้างฯ มากกว่า 1,000 เชือก

    บางรายเดินทางมาพบเสนอขายปางช้างและช้าง 20 เชือก บอกว่าการระบาด ของไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงทำให้ถอดใจ เงินจะเลี้ยงช้างไม่มีแล้ว ช้างที่นำมาฝากเลี้ยงมีจำนวนมาก จนปางช้างแทบไม่มีพื้นที่รองรับ

    8b2e0b887e0b89ce0b888e0b88de0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b8b4-e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-3.jpg
    แมว น่ารักจำนวนมาก ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างฯ เลี้ยงไว้เพื่อรักษาชีวิตและให้คนชมด้วย.

    มูลนิธิฯเองมีช้างที่ต้องดูแลเช่นกัน แต่ต้องเลี้ยงช้างคนอื่นด้วย ควาญช้างทิ้งช้างหนีกลับบ้าน มูลนิธิฯจึงต้องรับช้างมาเลี้ยง แบกรับภาระต้องเปิดรับบริจาคเงินซื้ออาหารช้าง หรือสถานที่ดินรกร้างว่างเปล่าเพื่อใช้ปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง

    “ยอมรับว่าสถานการณ์โควิดไม่ใช่ผลกระทบธรรมดา แต่กระทบต่อชีวิต ช้างไทยอย่างมหาศาล เรารู้ว่ารัฐบาลไม่มีเงินที่จะมาช่วย แค่ช่วยคนตกงาน ยังไม่ได้ ปัญหาของคนยังวุ่นวายอยู่ ปัญหาช้างจะให้รัฐบาลช่วยคงน้อยนิด จึงต้อง ช่วยเหลือตัวเองกันก่อน” นางแสงเดือน กล่าวถึงสภาพในปัจจุบัน

    สำหรับแนวทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มูลนิธิฯ กำลังหาพื้นที่ปลูกหญ้า ปลูกกล้วย ช่วยช้างทั่ว ประเทศ สถานการณ์โควิด-19 ดูแล้วไม่ใช่ 3 เดือน แต่คาดว่าจะขยายออกไปอีกนาน คนเลี้ยงช้างจะมารอความช่วยเหลือจากส่วนอื่นไม่ได้แล้ว ต้องกลับมาช่วยกันปลูกอาหารช้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ผ่านไปให้ได้

    8b2e0b887e0b89ce0b888e0b88de0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b8b4-e0b982e0b884e0b8a7e0b8b4e0b894-4.jpg
    กระต่าย นับร้อยตัว ภายในศูนย์อนุรักษ์ช้างฯ แม่แตง เป็นสัตว์อีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องดูแล.

    ปัญหาขณะนี้คือขาดพื้นที่ปลูกหญ้า หากมีผู้ใจบุญมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เช่า หรือให้เข้าปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงช้างก็จะเป็นพระคุณยิ่ง

    “ศูนย์อนุรักษ์ช้างเดิมมีช้างอยู่ 80 เชือก เป็นช้างพิการ ตาบอด ขาไม่ดี ช้างแก่ ช้างถูก ใช้งานอย่างหนัก แต่จากสถานการณ์โควิด-19 เราต้องรับภาระเลี้ยงช้างที่ปางช้างนำมาฝากเลี้ยงกว่า 100 เชือก และภายในมูลนิธิฯยังมีสัตว์อื่นๆอีก มากกว่า 3,000 ตัว” นางแสงเดือน บอกกล่าวถึงผู้ใจบุญทั้งหลาย

    สำหรับผู้ใจบุญบริจาคได้ที่


    มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม
    220px-KBANK.png
    ธ.กสิกรไทย สาขาช้างคลาน จ.เชียงใหม่
    เลขที่บัญชี 407- 2 - 33 888 - 5



    อยากเห็นชาวไทยช่วยกันฝ่าวิกฤติไวรัส “โควิด–19” ไปด้วยกันทั้งคน ช้างและสัตว์อื่นๆ.

    ชัยพินธ์ ขัติยะ รายงาน

    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/local/north/1832336
     
  2. Earth n Water

    Earth n Water เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    983
    ค่าพลัง:
    +2,105

    วันนี้ที่ 1 พ.ค. . 2563, เวลา 09.46 น.
    ได้โอน 1,500 บาท เพื่อ...
    ร่วมช่วย…. อนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม

    หมายเลขอ้างอิง : 565685

    ทิพา เยบเศณอิ์ และ ครอบครัว
     

แชร์หน้านี้

Loading...