ท่องดินแดน

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย guawn, 27 มกราคม 2007.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE id=Table9 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=118><TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff height=32><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>ท่องดินแดน ‘พุทธคยา’ ตามรอยพระบาทพระพุทธเจ้า

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle></TD><TR><TD vAlign=center align=middle height=20></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD><TR><TD vAlign=center align=middle height=20>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left>ในชีวิตไม่เคยคิดฝัน ว่าจะไปอินเดีย หรือ “ดินแดนภารตะ” เพราะภาพลักษณ์ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เยาว์วัยรวมทั้งการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทำให้เข้าใจว่าแดนภารตะไม่มีอะไรที่น่ารื่นรมย์เหมือนประเทศศิวิไลซ์อื่น ๆ นอกเสียจากพวกที่ชื่นชอบ “การผจญภัย” แบบท้าทายหรือต้องการมีประสบ การณ์ชีวิตแปลก ๆ ใหม่ ๆ ไม่แน่เหมือนกัน อาจจะอยากไปเยือนสักครั้งก็ได้

    ในช่วงก่อนปีใหม่ไม่กี่ วัน ดร.วิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรม การอำนวยการ บมจ.ไทยออยล์ ได้พาคณะสื่อมวลชนรวมกว่า 60 ชีวิต บินลัดฟ้าจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมุ่งหน้าสู่เมืองพุทธคยา แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ตามโครงการ “สานสัมพันธ์ไทยออยล์- สื่อมวลชนประจำปี 49” โดยเป้าหมายคือการแสวงบุญตามรอยพระบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและศึกษาประวัติศาสตร์แหล่งกำเนิดของศาสนาพุทธ

    หลังจากคณะผู้บริหาร ไทยออยล์และสื่อมวลชนย่ำแดนภารตะ 3 วัน โดยมี พระมหาพรหมสร หนึ่งในผู้นำคณะสงฆ์ไทยในอินเดียสละเวลามาบรรยายประวัติความเป็นมาของแต่ละสถานที่ให้ฟังชนิดหลับตา ก็เห็นภาพ ทำให้ทั้งคณะเพิ่มพูนความรู้มากมายเกี่ยวกับพุทธศาสนา และน่าหวั่นใจไปพร้อม ๆ กัน ยิ่งเมื่อทราบว่าพุทธศาสนาที่ มีความสำคัญในประเทศไทยรวมทั้งประเทศอื่น ๆ แทบไม่มีความหมายในอินเดีย ผู้คนส่วนใหญ่ ไม่รู้จักว่า “พระพุทธเจ้า” หรือที่พวกเขาเรียกว่า “Buddha” ด้วยซ้ำว่าเป็นใคร เพราะผู้คนที่นั่นร้อยละกว่า 80 นับถือศาสนาฮินดู รองมาเป็นศาสนาอิสลาม คริสต์ ซิกข์ นาซิ นอกนั้นจะนับถือ ลัทธิอื่น ๆ เช่น ลัทธิเซน ลัทธิบูชาไฟ ลัทธิบูชาภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ ส่วนศาสนาพุทธครองใจคนอินเดียไม่ถึงร้อยละ 2 เท่านั้น

    แต่ก็มองในแง่ดีไว้บ้าง ว่า “พุทธคยา” แหล่งกำเนิดของศาสนาพุทธในอินเดียอาจจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง เนื่องจากเป็นที่ ตั้งของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ “ต้นพระ ศรีมหาโพธิ์” และ “พระมหาเจดีย์พุทธคยา” สถานที่ตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประดิษฐานมานานกว่า 2,500 ปี น่าจะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้ชาวพุทธทั่วโลกหลั่งไหลไปนมัสการ มีทั้งชาวจีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม พม่า ลาว เนปาล ทิเบต ภูฏาน รวมถึงคน ไทยจนแน่นขนัดทุกวัน ที่สำคัญ “องค์ดาไลลามะ” ผู้นำแห่งจิตวิญญาณชาวทิเบตก็มาปฏิบัติธรรมที่นั่นด้วย ทำให้เมืองเล็ก ๆ ที่เคยเงียบเหงาคึกคักทันตา เม็ดเงินมหาศาลจากการใช้จ่ายหมุนเวียนไม่ต่ำกว่าวันละ 4-5 ล้านบาท

    นอกเหนือจาก ต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระมหาเจดีย์ พุทธคยาแล้ว ยังมีสถานที่อื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่ เขาคิชฌกูฏ สถานที่พำนักของ พระพุทธเจ้า กุฏิพระอานนท์ ถ้ำสุกรขาตา ที่พระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งจะต้องเดินเท้าขึ้นเขาเป็นระยะทางกว่า 3 กม. กว่าจะถึงจุดหมายทำให้คณะเหงื่อ หยดไปตาม ๆ กัน นอกจากนี้ ยังมีโอกาสไป ถ้ำดงคศิริ สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญทุกรกิริยา (อดอาหาร) ก่อนบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ บ้านนางสุชาดา อดีตภรรยาเศรษฐีใจบุญที่ถวาย “ข้าวมธุปายาส” แด่พระพุทธเจ้าที่ใต้ต้นโพธิ์ แม่น้ำเนรัญชรา สถานที่อีกแห่งที่พระพุทธเจ้าทรงอธิษฐานจิตขอให้ บรรลุธรรมก่อนลอยถาดทองคำ ในปัจจุบันแม่น้ำเนรัญชราแห้งเหือดเป็นผืนทรายกว้างสุดลูกหูลูกตา กลายเป็นที่ปลดทุกข์ยามเช้าของชาวอินเดียไปแล้ว

    จากนั้นคณะเราก็ไป วัดเวฬุวัน วัดในศาสนาพุทธแห่งแรกในโลกและเป็นที่ชุมนุมของพระอริยสงฆ์ 1,250 รูปโดยมิได้นัดหมาย เป็นต้นกำเนิดของวันมาฆบูชา รวมทั้งแวะไปชมความยิ่งใหญ่ของ มหาวิทยาลัยนาลันทาคาม บ้านเกิดพระสารีบุตร และสถาบันการศึกษาของพระสงฆ์ ที่นี่เคยมีชื่อเสียงมากเมื่อ 1,500 ปีล่วงมาแล้วและมีบันทึกไว้ว่า “พระถังซำจั๋ง” หรือ “หลวงจีนหยวนฉาง” เดินธุดงค์จากประเทศจีนมาบันทึกพระไตร ปิฎกก็เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีก่อนจะเหลือเพียงซากปรักหักพังจนถึงทุกวันนี้ด้วยฝีมือ “พวกนอกรีต” ยกทัพมาเผาทำลายจนเสียหายและยังมีที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น เรือนคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร สถานที่พระเจ้าอชาตศัตรูจับพระบิดาคุมขังให้อดอาหารจนสิ้นพระชมน์ ชีวกัมพวัน โรงพยาบาล แห่งแรกของ “พ่อหมอชีวกโกมารภัจจ์” โดยสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญทางพุทธศาสนาทั้งสิ้น

    ส่วนเรื่องอาหารการกินที่น่าลิ้มลองของอินเดียที่ได้สัมผัสก็มี จาปาตี แป้งแผ่นปิ้งด้วยไฟร้อน ๆ คล้ายโรตีบ้านเรา แต่ไม่กรอบ เป็นแป้งปิ้งนิ่ม ๆ รับประทานกับชาร้อนใส่นมอร่อยไม่เบา ไกด์บอกว่าของแท้ต้องใช้มูลวัวตากแห้งเป็นเชื้อไฟมาปิ้งถึงจะอร่อยสะใจ นอกจากนี้ยังมี ข้าวหมกแพะ ซุบถั่ว แกงกะหรี่แพะ รสชาติค่อนข้างเผ็ดร้อนและขนมคู่เมืองพุทธคยาเรียกว่า “ขนม คัชช่า” คล้าย ๆ แป้งทอดกรอบบ้านเรานี่แหละ ทำขายกันมากว่า 2,500 ปีตั้งแต่สมัยพุทธกาลโน่น เขาว่าอร่อยนักหนา ลองชิมดูรสชาติเค็ม ๆ มัน ๆ แปลกดี ส่วนของฝากที่น่าซื้อจำพวกผ้าหลากชนิด ไม้แกะสลัก พระบูชาโลหะ หินสีและเครื่องประดับต่าง ๆ ราคาไม่แพงนัก สามารถเลือกช้อปปิ้งตามอัธยาศัย แต่ขอแนะนำว่าควรต่อรองให้ราคาถูกไว้ก่อนและจ่ายเป็นเงินบาทไทยได้

    หากใครที่คิดจะไปพุทธคยาขอแนะนำให้เลือกเดินทาง ไปช่วงหน้าหนาวราวเดือน พ.ย.- ก.พ. อุณหภูมิกำลังเย็นสบาย กลางวันเฉลี่ย 20-25 องศาเซล เซียส แต่กลางคืนเย็นจัด 8-12 องศาเซลเซียส เหนือสิ่งอื่นใดที่ควรคำนึงมากที่สุดคือ “ทำใจ” เพราะพุทธคยาไม่ได้สะดวกสบายเหมือนเมืองไทยหรือแดนศิวิไลซ์อื่น ๆ เป็นเมืองที่ค่อนข้างกันดารและแห้งแล้ง ประชาชนก็ยากจนที่สุดในอินเดีย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่บรรดา “ขอทาน” ที่นี่จะค่อนข้างมากเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวอาจจะรำคาญใจกับบรรดาทายาทชูชกหรือพวกขอทานที่ดาษดื่นเต็มเมือง มักชอบเดินล้อมหน้าล้อมหลังขอเงินหรืออาหาร แต่พวกนี้จะไม่มาทึ้งหรือแย่งชิงสิ่ง ของจากมือเรา เพราะผิดกฎหมายของที่นั่น เพียงแต่เดินตามต้อย ๆ เหมือนเราเป็นคนสำคัญสำหรับพวกเขาและชอบเรียกเราว่า “อาจารย์” หากเราไม่ให้อะไรก็จะเปลี่ยนมาเรียกว่า “อาจม” แทน

    หากคิดว่าไปแสวงบุญกันแล้ว อย่าคิดเล็กคิดน้อยก็จะมีความสุขกับการเดินทางไปพุทธคยาอย่างแน่นอน.
    ศิวสรร เมฆสัจจากุล



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle></TD><TR><TD vAlign=center align=middle height=20></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle></TD><TR><TD vAlign=center align=middle height=20></TD></TR></TBODY></TABLE>ref.http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?Newsid=115388&NewsType=1&Template=1</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...