ทำไมพระไม่ฉันเนื้องูสิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย MonYP, 13 เมษายน 2021.

  1. MonYP

    MonYP เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,370
    กระทู้เรื่องเด่น:
    32
    ค่าพลัง:
    +769
    "สมณะศากยบุตร" เป็นคำที่ชาวอินเดียสมัยพุทธกาลเรียกพระภิกษุในพระพุทธศาสนา สาเหตุจากที่พระพุทธเจ้าของเราทรงเป็นเจ้าชายแห่งศากยะวงศ์ ดังนั้นไม่ว่าใครก็ตามเมื่อบวชเขามาในพระพุทธศาสนาแล้วชาวบ้านก็ยกย่องเสมือนเป็น “ศากยบุตร” ด้วย

    ด้วยที่เป็นศากยบุตรการประพฤติของพระจึงต้องเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ ดูดีมีสกุล จะกินเสียงดังก็ไม่ได้ จะวิ่งก็ไม่ได้ หรือจะทำอะไรแปลก ๆ เกินเลยก็ไม่ได้

    โดยเฉพาะการกินพระพุทธเจ้าทรงห้ามพระฉันเนื้อ 10 ชนิด คือ 1. ห้ามฉันเนื้อมนุษย์ 2. ห้ามฉันเนื้อช้าง 3. ห้ามฉันเนื้อม้า
    4. ห้ามฉันเนื้อสุนัข 5. ห้ามฉันเนื้องู 6. ห้ามฉันเนื้อราชสีห์ 7. ห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง 8. ห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง 9. ห้ามฉันเนื้อหมี 10. ห้ามฉันเนื้อเสือดาว สาเหตุที่ห้ามฉันนั้นล้วนมีสาเหตุที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเนื้องู พญานาคถึงขั้นมาขอกับพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว

    พญานาคกับพุทธศาสนานั้นมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันมากมาย เพราะหากพิจารณาอาคารสถาปัตยกรรมทางศาสนาแล้ว จะพบเห็นเค้าเงื่อนที่ “พญานาค” ทำหน้าที่ปกป้องดูแลพระศาสนาอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น การทำช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ เป็นรูปพญานาคเลื้อยลงมา การทำคันทวยเป็นรูปนาค เรียกกันว่า “นาคทัณฑ์” ล้อมรอบอุโบสถวิหารไว้ หรือ “นาคสะดุ้ง” ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได ตามความเชื่อเรื่อง “บันไดนาค” ตอนพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากดาวดึงส์ เป็นต้น

    สาเหตุที่ห้ามพระภิกษุฉันเนื้องูนั้นเนื่องจากมีพญานาคชื่อสุปัสสะมาทูลขอปรากฏในพระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๙. หัตถิมังสาทิปฏิกเขปกถา ว่า

    สมัยนั้น ในคราวข้าวยากหมากแพง คนทั้งหลายพากันกินเนื้องู ได้ถวาย
    แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุจึงฉันเนื้องู
    คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย ศากย-
    บุตรจึงฉันเนื้องูเล่า งูเป็นสัตว์น่าเกลียดน่าชัง”
    ฝ่ายพญานาคสุปัสสะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
    ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืน ณ ที่สมควร พญานาคสุปัสสะซึ่งยืน
    ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า นาคงูที่ไม่ศรัทธา
    ไม่เลื่อมใสมีอยู่ นาคเหล่านั้น พึงเบียดเบียนภิกษุแม้ด้วยเหตุเล็กน้อยได้ พระพุทธเจ้าข้า
    ขอประทานวโรกาส พระคุณเจ้าทั้งหลายไม่พึงฉันเนื้องูเลย”
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พญานาคสุปัสสะเห็นชัด ชวนให้
    อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
    ธรรมีกถา
    ลำดับนั้น พญานาคสุปัสสะผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้
    อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
    ธรรมีกถาแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้วจากไป
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
    ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้องู รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”

    เป็นอย่างไรบางครับหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มากไม่น้อย ถ้าชอบแล้วฝากกดไลค์กดแชร์ด้วยนะครับขอบคุณครับ

    ขอบคุณข้อมูลจาก
    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง : พญานาคกับพระพุทธศาสนา
    เกร็ดน่ารู้ : พญานาคกับพุทธศาสนา
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ มีทั้งหมด 507 หน้า

     

แชร์หน้านี้

Loading...