ตึง..ไม่สบายตัวเลย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย อาโลกสิณัง, 16 พฤศจิกายน 2009.

  1. อาโลกสิณัง

    อาโลกสิณัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +57
    ขอบคุณทุกท่านครับที่แนะนำ...
    พวกเพื่อนๆที่นั่งสมาธิครับ
    เวลาหายใจเข้า-ออก เนี่ย
    หายใจหยาบ เข้ายาว ออกยาว
    กับ
    หายใจละเอียดขึ้นมา(หายใจเบา แต่ก็ยังหยาบอยู่ดี ) เข้ายาว ออกยาว
    กับ
    หายใจละเอียดที่ทำกันอยู่(แต่ความละเอียดไม่เท่ากันในแต่ละคน ซึ่งของผมยังหยายอยู่ดี) เข้าสั้น ออกสั้น
    รู้สึกอึดอัดขนาดไหนกันบ้างอ่ะคับ
    ของผม
    หายใจเข้า-ออกสั้น แต่เบาเนี่ย สบายสุด แต่มันก็ยังตึงขมับสองข้างอยู่
    แล้วพอเลิกนั่งเนี่ย
    รู้สึกไปเองป่าวไม่รู้นะครับว่า
    ทำไมตัวเองขี้เกียจมากขึ้นแฮะ...มากขึ้นจนรู้สึกได้เลยอ่ะ..:z12
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    23,010
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021
    ผมไม่รู้สีกอึดอัดนะ ผมหา้ยใจยาวก็ได้ สั้นก็ได้ครับ ตอนที่ทําเราอย่าไปยึดติดครับ เเล้วทุกอย่างจะดีเอง เเต่้ถ้า จขกท อึดอัด เเนะนําให้สูดหายใจเข้าลึกๆช้าๆพุท ออกช้าที่สุดออกให้หมดโธ ทําเเบบนี้ไปเรื่อยๆครับ หรือจะลองเปลี่ยนไปเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิก้ได้จะดีมากครับ การเดินจงกรมช่วยให้สมาธิเราทรงตัวได้ดีครับ ก้าวเท้าซ้ายพุท เท้าขวาโธครับ ลองไปทําดูนะครับ เจริญในธรรมครับ ลองมาอ่านกระทู้นี้ดูเเล้วกันครับเเล้วลองนําไปปฏิบัติดู ลองอ่าน comment ต่างๆดูครับ

    ผมมีวิธีเเก้สําหรับคนที่นั่งสมาธิไม่ได้เเล้วครับ


    http://palungjit.org/threads/ผมมีวิธีเเก้สําหรับคนที่นั่งสมาธิไม่ได้เเล้วครับ.211726/
     
  3. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ทำไมคุณไม่ฝึกอาโลกสิณตามชื่อสมาชิกอะครับ

    ลองเจริญสติเวลาเดินไปไหนมาไหนดูครับ สาธุๆๆ
     
  4. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ก้ทำแบบพอดีแล้วกัน จะสั้น หรือจะยาว หรือจะลึก หรือจะตื้น ให้ได้จังหวะ
    แต่ถ้าเน้นหายใจเบาๆ การหายใจก้ควรจะเบาๆช้าๆ สบายๆ หาจุดสบายที่สุดสำหรับ
    การหายใจเอาลม และเอาลมออกนั่นแหละจะเป้นจุดสมดุลในการปฏิบัติ

    บางครั้งเราตั้งใจปฏิบัติจำจากผู้รู้ในนี้ หรือจากอาจารย์มา แล้วไปทำให้ได้เดี่ยวนั้น
    แต่ประสบการณ์ อินทรีย์ ธาตุ ยังปรับไม่ทันก้อาจมีผลข้างเคียงได้ ต้องทำไปสักพัก
    จนเหนจุดที่ตัวเองถนัดก้ค่อยปรับจนรู้ว่าหายใจประมาณนี่แหละพอดีๆสบายๆไม่อึดอีด
    ปฏิบัติมากเข้าก้เริ่มชิน และลมหายใจที่บอกว่าหยาบมันจะค่อยละเอียดของมันไปเอง ที่ละเอียดๆเพราะจิตใจเราละเอียดขึ้นสูงขึ้น และทำได้เป็นธรรมชาติขึ้น ถ้ายังหยาบก้ดูที่หยาบๆจนชินไปก่อน ดูนานๆเข้ามันก้เปลี่ยนแปลงแปรผันของมันไปเอง
     
  5. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    คำแนะนำของคุณอินทรี ดี ครับ

    จับลมแบบสบายๆ อย่าไปบังคับลมนะครับ ลมจะหยาบหรือละเอียดจะเป็นไปเองตามธรรมชาติ หากเราสบายใจ ลมจะละเอียดเองครับ สิ่งสำคัญคือตั้งอารมณ์ (คือสิ่งที่เรากำหนดรู้ หรือลมนั่นเอง) ให้พอดี จะรู้ได้อย่างไร ก็อยู่ตัวของเรา คำแนะนำของหลวงพ่อฤาษีลิงดำอาจช่วยให้คุณจขกทขจัดลมหยาบได้นะครับ คือหายใจเข้ายาวๆ แล้วกั้นไว้แป๊บโดยบริกรรมพุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วจึงปล่อยลมออก ทำจนพอมีสติอยู่กับลมหายใจ (อาจจะคลาดเคลื่อนไปบ้างจากคำแนะนำของหลวงพ่อ ฯ ครับ ลองหาอ่านหัวข้ออานาปานานุสสติ นะครับ) จากนั้น ก็จับลมที่เรารู้สึกสบายครับ ทำไปเรื่อยๆ จนสติอยู่กับลมและกาย คราวนี้ไม่ว่าอิริยาบถใด ก็ขอให้จับลม ครับ

    อนุโมทนาบุญของการนั่งสมาธิครับ
     
  6. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    ที่รู้สึกขี้เกลียด เพราะมัน เบอร์ ครับ

    ที่บอกว่า หายใจเข้าออก สั้นเบา สบายสุด นั้นแหละครับ สาเหตุของความ เบอ และ อาการตึงขมับ ของคุณอาโลกสินัง

    เรื่องลมหายใจ ความสั่น ยาว ของแต่ละคนนั้น บอกได้ว่า ไม่ค่อยเท่ากันในแต่ละคน ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้อง คงต้อง บอกไว้ว่า หายใจให้ทั่วปอด หรือทั่วท้อง จุดของแต่ละคน และ คำว่าทั่วท้อง ไม่เท่ากัน ที่บอกว่าทั่วท้องคือ หายใจเข้าออก แล้วรุ้สึกสบายปลอดโปร่ง การไหลเข้าออกของลมหายใจเป็นไปโดยธรรมชาติ สบายๆ ถ้าคนที่หายใจได้ปรกติจริงแบบที่ว่า ปัญหาก็จะน้อยหน่อย แต่ สำหรับคนที่ยังหายใจเข้าออก ผิดปรกติ ซึ่งโดยมาก ก็จะไม่ค่อยรู้ตัวเองนัก อาจจะต้องใช้เวลาสังเกตุสังกา วิธีการหายใจของเราเอง

    หากการหายใจเข้าออก ไม่เป็นไปโดยธรรมชาติที่ ถูกต้อง มันก็ต้องแก้ไข ให้สังเกตุ
    และ หาจุดที่ เป็นธรรมชาติ และ สบายที่สุดของตัวเอง ให้ได้ก่อน เช่น เวลาเราสบายใจ หรือาขณะเรากำลังเดินทอดน่องอย่างสุขสบาย ชิว ๆ หรือตอนไปเที่ยวทะเล ป่าเข้า แล้วลอง สุ่มสังเกตุว่า ร่างกายเราหายใจยังไง อันนั้นและครับ คือ จุดสมดุลย์ของเรา แล้วก็พยายามจดจำ ความรู้สึกนั้นเอาไว้มาฝึก ให้เป็น นิสัย เนื่อง มันก็จะปรับสมดุลย์

    บางคนหายใจผิดปรกติ พยายามไปเข็น ให้ยาว ให้ สั้น มันก็ผิดธรรมชาติตัวเอง แต่ บางคนที่กำลังแก้ไข ใหม่ ๆ ก็ต้องฝืนปรับตัวเองสักระยะหนึ่งให้ พอดี ถ้า กรณีแบบนี้ ก็ไม่ว่ากัน

    บางคนหายใจเข้ายาว แต่ออกสั้น ประมาณออกไม่หมด ก็สุดเข้าไปใหม่ ของเก่าที่ออกไม่หมด ก็มายันกัน ในระหว่างทางอีก ก็อึดอัด มีพวกหายใจเข้าสั้นออกยาว ก็เป็นปัญหาเช่นกัน

    ปัญหาของคุณ อโลกสินัง คือ สั้นเกิน แล้ว ไม่ชัด และที่มันตึงขมับเพราะ ถ้าหายใจในลักษณะนั้นแล้วหลับไปก็ โอเค ไม่มีปัญหาตึงแน่นอนหรอกครับ แต่ถ้าทำในลักษณะที่ว่าขณะภวานา ระบบมันก็รวนกันสิครับ ถ้าจะอธิบายง่าย ๆคือ เหมือนเรา set Mode ระบบหายใจเป็นระบบ sleeping mode แต่ เจตนา ความตั้งใจเรา กลับดัน set เป็นการ ภวานา สงบระงับแต่ สติต้องตื่นตัว ความรับรู้ต้องชัด หรืออีกแง่มุมคือ จิตกับเจตนาอย่างก็อย่างหนึ่ง กายหรือการกระทำไปอีกทาง นั้นแหละครับ ความตึงถามหา

    การหายใจ เบา สั้น ละเอียดนั้น ต้องให้ กายจิต เป็นตัวปรับสมดุลย์ของเค้าเอง คือเป็นไปเอง ในวิถีดำเนินไป เมื่อจิตสงบระงับ กายก็จะสงบระงับตาม เมื่อจิตสงบระงับถึงจุดหนึ่ง ร่างกาย ก็ต้องการ อากาศน้อยกว่าปรกติ ร่างกาย ก็จะปรับการนำ ลมเข้าพอ เหมาะต่อสภาพขณะนั้น ยิ่งถ้า ทำละเอียดลงไป มันก็จะน้อยตามลำดับ โดยธรรมชาติเอง แบบไม่ได้ จงใจทำ ผมเห็นหลายคนมากที่มาภวานาด้วย พอนั่งหลับตาปัป พยายามจะทำ สงบ โดยเร็ว มันก็เป็นการบังคับ พร้อมกับเป็นการหลี่สติลง พร้อมกับไปกับบังคับลมให้สงบ โดยไม่รู้สึกตัว เหมือนกลัวว่าตัวเองจะไม่สงบ ทำไป ๆ ติดเป็นนิสัย ปล่อยลมแผ่วตั่งแต่ ยังไม่ start ผลคือ หลับ หรือไม่ ก็เหมือนนั่งอุดอู่ในห้องแคบ ไม่รู้อะไรเลย กลายเป็น สมาธิหัวต่อ เป็นกันเยอะ เหมือนกัน case แบบนี้
    พอทักแก้ให้ปรับ ก็ถึงสังเกตุเห็น ก็รู้ว่าดีขึ้น ผิดคาด เผลอไม่เจอกัน สักสองสามเดือน กลับไปเหมือนเดินอีกละ นี่แหละครับ อุปนิสัย ความเคยชิ้นของคนเรา อันนี้ไม่รู้ช่วยยังไง

    ก็ลองไปพิจารณาดู หวังว่าจะพอจะประโยฃน์ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...