เรื่องเด่น ด่วนที่สุด !!! โปรดเกล้าฯ "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์" เป็นสังฆราช องค์ที่ 20 แล้ว!

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 7 กุมภาพันธ์ 2017.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ด่วนที่สุด !!! โปรดเกล้าฯ "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์" เป็นสังฆราช องค์ที่ 20 แล้ว!


    1486453361_5610.jpg

    วันนี้ (7 ก.พ.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ามีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แล้วได้ดำเนินการตามขั้นตอนมาโดยตลอด และได้มีการนำรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติครบตามที่ได้บอกไว้สามประการทูลเกล้าขึ้นไปทั้งห้ารูป ซึ่งคงไม่ต้องถามว่าเป็นใครและวันเดียวกันนี้ได้รับการ แจ้งมาว่าการโปรดเกล้าฯลงมาเรียบร้อยแล้ว คือสมเด็จวัดราชบพิธ ได้ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ จะมีการสถาปนาที่วัดพระแก้วในเวลา 17.00 น. ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะเสด็จด้วยพระองค์เอง




    สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) นามเดิม: อัมพร ประสัตถพงศ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม และแม่กองงานพระธรรมทูต
    เจ้าพระคุณสมเด็จ เกิดเมื่อ วันเสาร์ ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อ นายนับ ประสัตถพงศ์ โยมมารดาชื่อ นางตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
    บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพ.ศ. 2480 ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    สามเณรอัมพร ประสัตถพงศ์ เคยไปอยู่จำพรรษาที่วัดตรีญาติ ต.พงสวาย เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2483 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี จากนั้น พ.ศ. 2484 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโทและ พ.ศ. 2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อพ.ศ. 2488 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
    เมื่อ พ.ศ. 2490 ได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดย สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก
    ภายหลังอุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2491 ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. 2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และ พ.ศ. ๒๔๙๓ สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค


    ต่อมา เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษา รุ่นที่ 5 จบ ศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
    ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์
    ปี พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ
    ปัจจุบัน พ.ศ. 2560 เจ้าประคุณสมเด็จมีอายุ 89 ปี 68 พรรษา เจ้าประคุณสมเด็จ พระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เกิดปีเดียวกับพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แต่แก่เดือนกว่า 3 เดือน





    เรียบเรียง บุญชัย


    -----------------

    ที่มา
    http://panyayan.tnews.co.th/contents/300412






     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S__5660894.jpg
      S__5660894.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.3 KB
      เปิดดู:
      541
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2017
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    โปรดเกล้าฯ "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์" เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20

    1486453361_5610.jpg

    วันนี้ ( 7 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม แต่งตั้ง สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ใหม่องค์ที่ 20 แล้ว และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นี้ จะมีการสถาปนาที่วัดพระแก้วในเวลา 17.00 น. ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะเสด็จด้วยพระองค์เอง
    สำหรับประวัติ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชาคณะ เมื่อปี 2552 นามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ เป็นสมเด็จพระราชา คณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และรองแม่กองงานสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2470 (ปัจจุบันอายุ 90 ปี) ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อนายนับ ประสัตถพงศ์ โยมมารดาชื่อนางตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

    เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี 2480 ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2491 ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม
    สามเณรอัมพร ประสัตถพงศ์ ไปอยู่จำพรรษาที่วัดตรีญาติ ต.พงสวาย เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ปี 2483 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี จากนั้นปี 2484 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท และในปี 2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อปี 2488 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคเมื่อปี 2490 ท่านได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายกและภายหลังอุปสมบทเมื่อปี 2491 ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. 2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค

    และปี 2493 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยคต่อมา เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี 2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีปี 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ปี 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศตำแหน่งปัจจุบัน สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร, กรรมการมหาเถรสมาคม, กรรมการคณะธรรมยุต, กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ฯลฯ
    ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติผ่านความเห็นชอบร่างแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 ให้พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระราชโองการ ตามที่ คณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปวัฒนธรรมและการ ท่องเที่ยว พร้อมสมาชิก สนช.กว่า 80 คน เป็นผู้เสนอ โดยตัดขั้นตอนการพิจารณาเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยมหาเถรสมาคมออกไปโดย พ.ร.บ.ฉบับที่ได้มีการแก้ไขดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ การบัญญัติให้ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ จากเดิมที่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2535 กำหนดให้สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชนั้น จะต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมก่อน โดยให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมเสนอนาม สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์และนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช"

    วิทย์ณเมธา สำนักข่าวทีนิวส์

    ---------------
    ที่มา
    http://panyayan.tnews.co.th/contents/300421




     
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    กราบสาธุ...เปิดประวัติ "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์" สังฆราชองค์ใหม่ (รายละเอียด)

    tnews_1486453787_6866.jpg

    สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ นามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกายปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม และแม่กองงานพระธรรมทูต

    สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อนายนับ ประสัตถพงศ์ โยมมารดาชื่อนางตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

    2(58).jpg



    บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2480 ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์

    ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    สามเณรอัมพร ประสัตถพงศ์ ไปอยู่จำพรรษาที่วัดตรีญาติ ต.พงสวาย เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2483 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี จากนั้น พ.ศ. 2484 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโทและ พ.ศ. 2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อพ.ศ. 2488 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค

    เมื่อ พ.ศ. 2490 ได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก

    ภายหลังอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2491 ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. 2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และ พ.ศ. ๒๔๙๓ สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค

    ต่อมา เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

    ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์

    ปี พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ

    ปัจจุบัน พ.ศ. 2560 เจ้าประคุณสมเด็จมีอายุ 89 ปี 68 พรรษา เจ้าประคุณสมเด็จ พระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เกิดปีเดียวกับพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แต่แก่เดือนกว่า 3 เดือน



    4(30).jpg



    งฆราช หรือที่เรียกในสังฆมณฑลไทยว่า สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่า สังฆราช ไว้ด้วย สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจาก คณะสงฆ์ไทยนำแบบอย่างมาจากลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอาราธนาพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย

    สมเด็จพระสังฆราช คือ ประมุขแห่งคณะสงฆ์ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก กฎหมายกำหนดให้มีพระองค์เดียวมาตั้งแต่โบราณ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความแตกแยกสามัคคีในหมู่สงฆ์ จึงเท่ากับดำรงอยู่ในฐานะ พระสังฆบิดร ด้วย

    สำหรับขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 นั้น ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2535 ตามมาตรา 7 ใจความว่า พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง วรรคสอง เมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช หรือสมเด็จพระสังฆราชไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบตามมติของมหาเถรสมาคม (มส.) เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

    ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบตามมติของ มส. ให้เสนอสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสชั้นรองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

    สำหรับลำดับของสมเด็จพระราชาคณะ เรียงลำดับความอาวุโสตามสมณศักดิ์ ดังนี้

    1.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ปธ.9) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (มหานิกาย) เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ แม่กองบาลีสนามหลวง ถือว่ามีอาวุโสทางสมณศักดิ์สูงที่สุดทุกด้าน ได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ.2538 เกิดวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2468 อายุ 88 ปี

    2.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย) ได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ.2544 เกิดวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2460 อายุ 95 ปี

    3.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย) ได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ.2552 เกิดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2470 อายุ 86 ปี

    4.สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย) ได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ. 2552 เกิดวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2479 อายุ 77 ปี

    5.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร (มหานิกาย) ได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ. 2553 เกิดวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2473 อายุ 83 ปี

    6.สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย) ได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ. 2553 เกิดวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2490 อายุ 66 ปี

    7.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร (มหานิกาย) ได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ. 2554 เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 อายุ 72 ปี

    ส่วนระยะเวลาการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่แทนองค์เดิมนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชไปแล้ว 6 รูป ตั้งแต่ลำดับที่ 14 ถึง 19 โดยมีระยะเวลาการสถาปนาที่น่าสนใจดังนี้

    ลำดับที่ 14 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.9) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 1 ปี 5 เดือน

    ลำดับที่ 15 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(อยู่ ญาโณทโย ปธ.9)วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 10 เดือน

    ลำดับที่ 16 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี ปธ.9)วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 6 เดือน

    ลำดับที่ 17 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ ปธ.6) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 7 เดือน

    ลำดับที่ 18 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(วาสน์ วาสโน ปธ.4) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 7 เดือน

    ลำดับที่ 19 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน ปธ.9) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ระยะเวลาสถาปนา 7 เดือน

    ตามธรรมเนียมและประเพณีปฏิบัติการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชของคณะสงฆ์ไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะยึดหลัก "สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์"

    ส่วนระยะเวลาการสถาปนาไม่มีระเบียบปฏิบัติว่าต้องสถาปนาในวันสำคัญ ส่วนใหญ่จะสถาปนาช่วงกลางปี ระหว่างเดือนเมษายน-พฤศจิกายน แต่การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ ระยะเวลาสถาปนา 10 เดือน (องค์ที่ 15) สถาปนาในวันฉัตรมงคล

    สำหรับการสถาปนาพระราชาคณะ(การตั้งชื่อ) พระธรรมคุณาภรณ์ หรือ เจ้าคุณพิมพ์ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา และรองเจ้าคณะภาค 7 หรือผู้ริเริ่มสร้างโปรแกรมสมณศักดิ์ที่คณะสงฆ์ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเป็นผู้รวบรวมทำเนียบสมณศักดิ์ฉบับสมบูรณ์ ให้ข้อมูลว่า การสถาปนาองค์ใหม่ตามธรรมเนียมปฏิบัติจะใช้พระนามสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ว่า "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" ทั้งนี้ แล้วแต่ทรงจะพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อีกครั้งหนึ่ง

    1(58).jpg





    เรียบเรียง Patong




    ------------
    ที่มา
    http://panyayan.tnews.co.th/contents/300417

     
  4. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    FB_IMG_1486462508497.jpg

    อาตมาได้ฟังคำของท่านอาจารย์ใหญ่ฝั่น
    อาจาโร ตั้งแต่แรกที่ได้เข้าหาท่าน มากราบท่าน
    คำที่ท่านบอกว่า " ทำใจให้สบาย "
    สำเนียงของท่านยังปรากฏติดอยู่ในใจจนป่านนี้
    ได้ยินแล้วรู้สึกจับใจและทำให้ใจสบายตาม
    อันนี้แหละทำให้รู้สึกประทับใจอยู่จนมิรู้ลืม

    #สมเด็จพระสังฆราช ( อัมพร อัมพโร ) องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑๐
     
  5. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    FB_IMG_1486549877158.jpg
     
  6. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    FB_IMG_1486551655314.jpg
     
  7. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    FB_IMG_1486554592563.jpg

    สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อัมพโร)
    [ในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐
    ท่านจะได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์]
    นำพาคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชน
    เข้ากราบนมัสการถวายมุทิตาสักการะแด่
    “พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)”
    เนื่องในโอกาสฉลองอายุวัฒนมงคลครบ ๙๓ ปี
    เมื่อวันจันทร์ที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
    ณ วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร กรุงเทพมหานคร

    *

    นี่ล่ะพระแท้ !! พระสงฆ์เคารพนับถือกันที่อายุพรรษา
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านคำนึงถึงอายุพรรษา ไม่ใช่สมณศักดิ์
    หรือตำแหน่งทางคณะสงฆ์ หรืออายุขัย
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านจึงเป็นฝ่ายนั่งก้มลงกราบหลวงพ่อวิริยังค์

    **************************************************
    -----------------------------------------------------------

    = ประวัติและปฏิปทา “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อัมพโร)”
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=23000

    = ประวัติและความสำคัญวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19364

    = คำเรียกตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช” มี ๓ อย่าง
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51799

    = ประวัติและปฏิปทา “พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20338

    **************************************************
     
  8. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    FB_IMG_1486562496451.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...