ช่วยผมด้วย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย จิตวิปริต, 1 ตุลาคม 2009.

  1. จิตวิปริต

    จิตวิปริต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +13
    ที่ผมสนใจเรื่องนี้ ตอนแรกผมอยากมีคาถาอาคมไว้คุ้มตัว ต่อมารู้ว่า ต้องมีฌาญถึงจะทำได้ ก้เลยหาว่าฌาณคืออะไร จนได้มาเจอกับกสิณแล้วก็ฝึกกสิณก็หาเกี่ยวกับกสิณ เจอหลวงพ่อฤาษีลิงดำ(เทป)ก็ทำตามท่านบอกว่า ต้องขึ้นที่อานาปานสติก่อนเป็นอันดับแรก ผมก็ ใส่อานาปานสติเรื่อยมาจนบัดนั้น แต่ผมไม่ต้องการมีคาถาอาคมอีกแล้วผมต้องการแต่อยากจะรับรู้และสัมผัสกับสิ่งที่เขาเรียกกันว่า ฌาณ แค่นั้น

    จากที่ผม ปฏิบัติมา ตามคำสอนของหลวงพ่อ นั้น (ประมาณ หนึ่งปีได้แล้ว) ผมยังไม่รู้เลยว่าตัวเองไปถึงไหน แต่ ที่รู้แน่ๆ ผมมักแพ้ให้กับกามอารมณ์อยู่เสมอ ผมทำสมาธิ ก่อนนอนทุกวัน จับลมหายใจเข้าออก อยู่จนหลับ แต่พยายาม จับให้ได้สามฐาน แต่ก็รู้สึกแค่ ที่ปลายจมูกตอนเข้าและ ออกแค่นั้น หากท่านผู้รู้ท่านใดใครบอกผมทีว่า จะทำอย่างไร ให้จับได้สามฐานสักที เออ
    ตอนทำสมาธิ ผมจะจดจออยู่กับ ลมหายใจเพียงเท่านั้น ถ้ามีเรื่องแวบเข้ามาในสมองผมจะ เริ่มใหม่ ตลอด

    อาการ ที่เคยได้ รับ คือ รู้สึกโหวงๆ ช่วงเหนือสดึด อยู่เป็นระยะๆ และไม่เคย ขนลุก คนพอง ใดๆ ไม่เคยน้ำตา ไหล เลยแม้แต่สักครั้งเดียว

    จบ


    กรุณาช่วยแนะนำด้วยนะ คับ ผมคิดว่า คนในบอร์ดนี้ คงจะให้คำตอบผมได้

    ปล. มีหลายครั้งที่เห็นนิมิต ภาพหลวงพ่อฤาษีลิงดำนั่งยิม แต่ เห็นไม่นานท่านก็ไป
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    23,010
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021
    ดีเเล้วครับ ขอให้ปฏิบัติต่อไปครับเดี๋ยวก็ละกามได้เอง ผมก็สู้กับตนเองเรื่องกามอยู่ ทุกวันนี้ไม่ค่อยสนใจเค้าละ ถ้าเราไม่เอาใจไปสนใจ เรา้ก็จะไม่มีเวลาหมกมุ่นกับเขาครับ เจริญในธรรมครับ
     
  3. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    เราฝึกสมาธิเพื่อให้ตั้งมั่นและสงบ (ซึ่งสามารถระงับกิเลสอย่างกลาง คือนิวรณ์) เป็นการสร้างกำลังแก่จิต เมื่อจิตมีกำลัง เราจะสามารถพิจารณาสภาวะแห่งความเป็นจริงของชีวิตได้ง่ายขึ้น (กล่าวคือสมาธิเป็นฐานให้เกิดปัญญา)

    ดังนั้นก่อนเริ่มทำสมาธิ อย่าได้หวังผลใดๆ จากสมาธิ (ซึ่งเป็นเหตุให้กิเลสมารเกิด) และอย่ากังวลหรือสงสัยว่าเราอยู่ขั้นใดของสมาธิ (ซึ่งเป็นเหตุให้จิตไม่รวมตัว)

    จิตของเราจะเป็นสมาธิหรือไม่ ให้เราสังเกตสติ (คือความระลึกได้) และสัมปชัญญะ (คือความรู้ตัว) กล่าวคือสติและสัมปชัญญะดี สมาธิก็ดีด้วย

    ก่อนการปฏิบัติกสิณ ควรทำอานาปานสติ สิ่งนี้ชอบแล้ว (ตามคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    ในอานาปานสติภาวนา จากที่คุณจขกทเล่ามา อยู่ที่ขั้นที่สาม (รู้กองลมทั้งปวง) คือสามารถกำหนดรู้ลมหายใจทั้งสั้นทั้งยาวตามจุดที่ลมกระทบทั้ง ๓ จุด คือจมูก กลางอก และท้อง

    เบื้องต้นของลมหายใจเข้า-ออก ปรากฏแก่บางท่าน แต่ท่ามกลางและที่สุดไม่ปรากฏ กล่าวคือเขาสามารถกำหนดเฉพาะเบื้องต้นเท่านั้น แต่ย่อมยากในการกำหนดท่ามกลางและที่สุด ซึ่งเป็นกรณีของคุณจขกท

    วิธีแก้ไขคือเราต้องใช้สติ สัมปชัญญะ จินตนาการ และการนึกเห็น เริ่มต้นคือทำขั้นที่หนึ่ง (คือสังเกตลมหายใจยาว) และขั้นที่สอง (คือสังเกตลมหายใจสั้น) ให้ดีเสียก่อน (ไม่ว่าอิริยาบถใด) เมื่อทำได้ดีแล้ว เราจะรู้เบื้องต้น (คือปลายจมูก) และที่สุด (คือท้องหรือกระบังลม) ซึ่งต้องใช้สติและสัมปชัญญะเพื่อสังเกตที่ร่างกายของเรา เราจะรู้สึกว่าลมผ่านจมูกและรู้สึกว่าท้องพองเมื่อหายใจเข้า เป็นต้น

    เมื่อผ่านขั้นนั้น จะเหลือท่ามกลาง (คืออกของเรา) เมื่อเรารู้เบื้องต้นและที่สุดแล้ว ค่อยๆ สังเกตเส้นทางของลมหายใจ อาจใช้การจินตนาการว่าเส้นทางของลมหายใจมีรูปร่างคล้ายไม้เท้า ส่วนปลายที่งอเป็นปลายจมูกของเรา ส่วนปลายที่ตรงเป็นท้องของเรา เป็นต้น แล้วค่อยสังเกตหน้าอกของเรา (ตอนนี้ เราอาจละการกำหนดรู้ที่เบื้องต้นและที่สุด เพื่อให้รู้เพียงแค่ท่ามกลาง) หน้าอกเราจะพองหรือยืดขึ้นขณะหายใจเข้า ให้กำหนดสิ่งนี้เป็นท่ามกลาง เมื่อเราจินตนาการแล้ว เราก็ต้องนึกเห็นสิ่งนั้นในใจได้อย่างชัดเจนด้วย (คล้ายการทำอุคคหนิมิต)

    ก่อนที่เราจะสามารถกำหนดรู้ทั้งสามกองให้ครบภายในการหายใจเข้าหรือออกแต่ครั้ง เราอาจลองกำหนดรู้เพียงจุดๆ เดียวก่อน เช่น กำหนดรู้ที่ปลายจมูก แล้วเปลี่ยนมากำหนดรู้ที่อก แล้วจึงกำหนดรูปที่ท้อง จากนั้นสลับตำแหน่ง เช่น กำหนดรู้ที่ท้องก่อน แล้วกำหนดรู้ที่ปลายจมูก จึงมากำหนดรู้ที่อก ทำเช่นนี้ให้คล่องก่อน (คล้ายๆ กับการนึกปฏิภาคนิมิตในการปฏิบัติกสิณ) เมื่อเราคล่องแล้ว จึงมากำหนดรู้ทั้งสามกอง เมื่อทำได้ดีแล้ว ถือว่าสำเร็จขั้นที่สาม

    ขอใ้ห้สำเร็จโดยเร็วนะครับ
     
  4. Waritham

    Waritham เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +124
    ลองทีละฐานก่อนดีกว่านะครับ
    วิธีผมนะครับ
    1. ดูลมหายใจเฉยๆ ( ไม่เจาะจงว่าฐานไหน ) เริ่มหายใจเข้า ภาวณา พุทธ ( คำว่าพุทธต้องให้ทันการเริ่มต้นของหายใจ นะครับ หรือมีสติ ) หายใจออก
    ภาวณา โธ ทำไปเรื่อยๆจนรู้สึกว่าจิตไม่แกว่ง
    2. เพ่งอารมณ์ ไปที่ปลายจมูก คือต้องรู้ สัมผัสทั้งหมดที่เกิดจากลม ให้ผลเป็นยังไง รูสึกอย่างไร ( ตัวอย่างเช่น ถ้าดูดวงอาทิตย์ จากรูปภาพ กะ ของจริง ยอมให้อารมณ์ที่ต่างกัน )
    ถึงขั้นนี้ ลมหายใจจะละเอียดขึ้นแล้วครับ ไม่ต้องสามฐานครับ เมื่อคุณหายใจเข้า จะรู้สึก ว่ามันกระทบยาวไปตลอดทั้งเส้น มันนุ่ม มันเย็น อย่างบอกไม่ถูก
    และขั้นนี้องค์ฌาณจะเกิดขึ้นแล้วได้แก่ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
    ซึ่งอารมณ์ปฐมฌาณ คุณก็จะสัมผัสได้ด้วยตนเองครับ ซึ่งความรู้สึกมันต่างกันอยู่ และขึ้นอยู่กับคุณว่าจะทรงมันได้นานแค่ไหน
    ลองทำดูครับ
     
  5. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    อนุโมทนาสาธุค่ะ
    ที่อยากมักไม่ได้....
    ที่ได้มักไม่อยาก....

    ทำไปเรื่อยๆค่ะ....
    ดูสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น.....
    ไม่ต้องอยากให้มี
     

แชร์หน้านี้

Loading...