เรื่องเด่น ชำแหละ…หลักสูตรพระบวชใหม่ระยะสั้น

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 7 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    เมื่อเร็วๆ นี้ มหาเถรสมาคมมีมติเห็นชอบหลักสูตรพระบวชใหม่ระยะสั้น 15 วัน และ 30 วัน ต่อจากนี้ไปพระบวชใหม่จะมานั่งรอวันสึกหรือบวชแล้วเพื่อมานั่ง นอน กิน อย่างเดียวไม่ได้แล้ว จะต้องศึกษาเรียนหนังสือตามหลักสูตรดังกล่าวด้วย ในหลักสูตรดังกล่าวมีทั้งวิชา ธรรมะ วินัย พุทธศาสนา วิชาเทศนา ศาสนาพิธีและการเจริญวิปัสสนาด้วย ส่วนชั่วโมงการเรียนก็มีความแตกต่างกันออกไปตามระยะเวลาบวชเรียน

    ผมก็ไม่มั่นใจใน “ศักยภาพ” ของวัดตามต่างจังหวัดเท่าไรว่า ใน “การปฎิบัติจริง” จะเป็นไปตามมติมหาเถรสมาคมนี้หรือเปล่า?? เพราะปัจจุบันวัดต่างจังหวัดไม่ต้องพูดถึงวัดที่ไม่มีอุปัชฌาย์ บางวัดมีมีเจ้าอาวาสชราเพียงรูปเดียว หากเกิดมีกุลบุตรบวชใหม่แล้ว ต้องการอยู่ใกล้พ่อแม่หรือญาติพี่น้องเพื่อบิณฑบาตโปรด ใครจะเป็นคนสอนตามหลักสูตรนี้

    หรือแม้บางวัดเจ้าวาสเป็นเจ้าคณะตำบล เป็นอุปัชฌาย์ด้วย แต่ในวัดไม่มีความพร้อมที่จะสอนตรงนี้ มหาเถรสมาคม สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติจะหาทางออกอย่างไร?? เหตุที่พูดแบบนี้เพราะผมไปต่างจังหวัด มีวัดหลายวัดขาดอาจารย์ผู้สอน หรือบางวัดมีอาจารย์สอน แต่หากพูดแบบไม่เกรงใจพระสงฆ์ก็คือ “บางวัดพระขี้เกียจสอน” ซ้ำเกิดไปเจอพระบวชใหม่ไม่อยากเรียนด้วย ตรงนี้คณะสงฆ์จะหาทางออกอย่างไร? จะต้องบังคับให้เรียนได้อย่างไร? อันนี้เป็นข้อสังเกตที่คณะสงฆ์จะต้องรับไปพิจารณา

    0b8b0-e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a7e0b88ae0b983.jpg

    เมื่อเจาะไปในเนื้อหาผมเห็นด้วยว่า มหาเถรสมาคมและสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้วางหลักสูตรได้ดีและทันสมัย เช่น ในวิชาธรรมะ ในส่วนที่ 2 ได้นำหลักธรรมที่ควรทราบเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง มีหลักธรรมที่เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของคนดี อันนี้ก็คงเหมือนกับวิชาพลเมืองของกระทรวงศึกษาธิการในอดีต วิชาคิหิปฎิบัติ อันเป็นวิชาพื้นฐานในการทำหน้าที่ของ “ฆราวาส”

    เช่น บุตรต้องดูแลบิดามารดาอย่างไร? ภรรยาสามีต้องมีหน้าที่ปฎิบัติต่อกันอย่างไร? หลักธรรมปฎิบัติเพื่อความเจริญเพื่อความมั่นคงและสงบสุขขอบบ้านเมืองมีอะบ้างดังนี้ เป็นต้น

    วิชาพระวินัย อันนี้ก็เป็นวิชาพื้นฐานสำหรับพระบวชใหม่อยู่แล้วว่า “พระวินัย 227 ข้อ” มีอะไรบ้าง? สิกขาบทอันไหนต้องแล้วต้องขาดจากความเป็นพระ ต้องแล้วต้องอยู่ปริวาสกรรม หรือต้องแล้วปลงอาบัติก็ได้ หากพระบวชใหม่ได้เรียนวิชาเหล่านี้แล้ว อนาคตหากมีพระภิกษุต้องอาบัติจะได้รู้ว่า…ต้องอาบัติแบบไหนขาดจากความเป็นพระ ต้องอาบัติแบบไหนไม่ขาดจากความเป็นพระ

    8b0-e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a7e0b88ae0b983-1.jpg

    ไม่ใช้สังคม “มโนโมเม” ตัดสินบนฐานของ “ความรู้สึกส่วนตัวไม่มีหลักการมาจับ” ว่ารูปนั้น รูปนี้ ขาดจากความเป็นพระแล้ว เพราะปัจจุบันชาวพุทธจำนวนมาก “ตัดสินพระแบบไม่มีหลักการ” เช่น พระดื่มเหล้า พระฉันข้าวเลยเที่ยงว่า “ท่านขาดจากความเป็นพระ” แล้ว

    ส่วนวิชาที่ผมคิดว่า “ถูกทางที่สุด” สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด คือ “วิชาพุทธประวัติ” ในหลักสูตรนอกจากได้บรรจุวิชาพุทธประวัติแล้ว ได้พูดถึง ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในประเทศไทย ความเป็นมาและความสำคัญ พัฒนาการการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความหมายของสมณศักดิ์ จุดมุ่งหมายของการมีสมณศักดิ์

    แต่ที่ผมคิดว่าต้อง “ชมเชย” ก็คือมีหลักสูตรสถานการณ์พระพุทธศาสนาในปัจจุบัน มีการวิเคราะห์สถานการณ์ว่า ปัจจุบันพุทธศาสนาอยู่ในสถานการณ์แบบไหน มีอะไรเป็น “ภัยคุกคาม” บ้าง? เราจะต้องเตรียมรับอย่างไร? รวมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์พุทธศาสนาในอนาคตและแนวโน้มที่ควรจะเป็น

    0-e0b8abe0b8a5e0b8b-2e0b88-2e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a7e0b88ae0b983-2.jpg

    ส่วนศาสนพิธีเสียดาย ผมไม่มีรายละเอียดว่า ในหลักสูตรได้สอนให้พระบวชใหม่อาราธศีล อาราธธรรม อาราธนาพระปริตรด้วยหรือไม่? แต่โดยภาพรวมผมว่า “คณะสงฆ์อันนำโดยมหาเถรสมาคม” น่าจะทำมาตั้งนานแล้ว เพราะคนพวกนี้ต่อไปในอนาคตหากเราฝึกอบรมดีก็จะกลายเป็น “ปากเป็นเสียง” แทนคณะสงฆ์ได้

    เพราะมีความรู้และมีหลักการที่ตนเองได้บวชและเรียนมา อันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่ต้องการให้

    “พระบวชใหม่” มีความศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัยและซาบซึ้งในคุณค่าพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อเพศภาวะ ต่อวัด ต่อพุทธศาสนิกชน ต่อศาสนกิจ และต่อพระพุทธศาสนา

    แต่เชื่อเถอะ ผมเติมให้ “เพื่อคณะสงฆ์” ด้วย ถูกไหมพระคุณเจ้า…?
    …………………………………….
    คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
    โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com

    ขอบคุณคุณภาจาก : เฟชบุ๊ค พระนวกะ รุ่นจงรักภักดี วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก, โครงการอุปสมบทหมู่เทิดพระเกียรติฯ วัดไทยพุทคยา ร่วมกับ วัดสระเกศ รุ่นที่ 2, พระหนึ่ง ฐิตสาโร และ บวชพระทุกเดือน ปราจีนบุรี

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/625730
     

แชร์หน้านี้

Loading...