ชมสถาปัตย์เก่า ไหว้พระ ไหว้เจ้า ที่ "สามแพร่ง"

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 2 พฤศจิกายน 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หลวงพ่อพระร่วง ประดิษฐานที่พระวิหารวัดมหรรณพาราม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลังจากที่ได้เดินทอดน่องท่องบรรยากาศเก่าๆ และแวะกินของอร่อยๆ ในย่านแพร่งสรรพสาสตร์ แพร่งภูธร และแพร่งนราไปบ้างแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่งฉันก็ได้ทั้งความอิ่มเอมใจและอิ่มเอิบท้องอย่างเต็มที่ แต่ก็ใช่ว่าเรื่องกิน เรื่องเที่ยว และเรื่องราว ในสามแพร่งจะมีเพียงแค่นั้น เพราะสิ่งๆ ดียังมีอยู่อีกมาก จนต้องมีภาคสองของสามแพร่งตามมาติดๆ

    แต่ก่อนที่จะเข้าไปฟื้นความหลังสัมผัสกรุ่นกลิ่นแห่งอดีตกันต่อ ฉันจะขอพาไปไหว้พระไหว้เจ้า เพื่อความเป็นสิริมงคลกันเสียก่อน อย่างที่บอกไปเมื่อครั้งที่แล้วว่า ในเส้นทางที่มุ่งไปยังสามแพร่งนั้น จะมีถนนตะนาวเชื่อมอยู่ ซึ่งมีสถานที่สำคัญอยู่คู่กับชาวชุมชนในถิ่นแถบมาเนิ่นนาน นั่นคือ "วัดมหรรณพาราม" สร้างโดยกรมหมื่นอุดมรัตนราษี หรือนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอรรณพ ผู้เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 โดยที่สถาปัตยกรรมภายในวัดมีทั้งแบบไทยและแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน หลังคาของพระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าใบระกา ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเด่นของวัดที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3

    และที่พระวิหารจะมีพระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัยประดิษฐานอยู่ ชื่อ "หลวงพ่อพระร่วง" ซึ่งมีพุทธลักษณะสวยงาม มองดูนัยน์ตาท่านก็เหมือนว่าจะยิ้มนิดๆ ชวนให้รู้สึกอิ่มอุ่นใจ ฉันรู้มาว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เห็นมีผู้คนมากราบไหว้ไม่ขาด และที่แปลกอย่างหนึ่งคือ ของไหว้บนบานที่ท่านชอบนั้นก็ไม่เหมือนที่อื่น เพราะเป็นตะกร้อ ว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ซึ่งอันนี้ก็น่าเสียดายที่ฉันหาใครให้คำตอบไม่ได้ว่าทำไมจึงต้องเป็นของสองสิ่งนี้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ทุกๆวันจะมีผู้คนมากราบไหว้สักการะที่ศาลเจ้าพ่อเสือเป็นจำนวนมาก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ฉันได้รู้ก็คือ วัดมหรรณพารามแห่งนี้ยังนับว่าเป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกของประเทศไทยด้วย โดยย้อนไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้พสกนิกรทั่วไปได้มีความรอบรู้เชี่ยวชาญในสรรพวิชา เพื่อความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาตนและบ้านเมือง จึงได้ทรงขยายการศึกษา โดยอาศัยวัดซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ และอบรมศีลธรรมแก่ประชาชนมาแต่โบราณ ว่าง่ายๆ ก็คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพ์" เป็นโรงเรียนวัดแห่งแรกนั่นเอง ซึ่งการศึกษาลักษณะนี้ก็ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั่วกรุงเทพฯ และทั่วประเทศในเวลาต่อมา

    ไม่ไกลจากวัดมหรรณพารามนัก ก็ยังมีสถานที่สำคัญอีกแห่ง นั่นคือ "ศาลเจ้าพ่อเสือ" หรือที่คนจีนเรียกกันว่า "ตั่วเล่าเอี้ย" ศาลเจ้าเก่าแก่ของลัทธิเต๋า เป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อเสือ เจ้าพ่อกวนอู เจ้าแม่ทับทิม ฯลฯ ที่ศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็น 1 ใน 3 มหาสถานของกรุงเทพฯที่ชาวจีนต้องสักการะบูชา และเป็นที่ไหว้พระ 1 ใน 9 วัด เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยเชื่อว่าจะเสริมอำนาจบารมีแก่ผู้สักการะ ซึ่งฉันก็ไม่พลาดที่จะกราบไหว้ขอพรจากท่าน

    ถือว่าได้ทำบุญไหว้พระไหว้เจ้าอย่างสมบูรณ์แล้ว ก็ถึงเวลาตะลุยย่านสามแพร่งกันอีกรอบ ซึ่งครั้งที่แล้วรู้สึกว่าฉันจะเดินวนเวียนแวะกินโน่น แวะชมนี่ ที่แพร่งภูธรเสียเป็นส่วนใหญ่ มาครั้งนี้ฉันจึงเปลี่ยนมาเริ่มต้นซอกแซกที่แพร่งนราอย่างเป็นจริงเป็นจังบ้าง ซึ่งก็มีของกินขึ้นชื่อมากมาย รวมทั้งวิถีชีวิตของผู้คนก็ยังดำเนินไปอย่างสงบเรียบง่ายเช่นกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>อาคารเรียนของโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ที่ปัจจุบันถูกปิดทิ้งไว้อย่างน่าเสียดาย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เส้นทางไปสู่ "แพร่งนรา" นั้น นอกจากจะเดินจากสถานีอนามัยสุขุมาลย์ตรงแพร่งภูธรแล้วเลี้ยวขวาก็จะเข้าสู่แพร่งนราแล้ว ก็ยังสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ที่ริมคลองหลอดตรงข้ามกับอาคารกระทรวงกลาโหมเก่า ซึ่งจะเห็นซอยเล็กๆ ที่มีป้ายบอกชื่อแพร่งอย่างชัดเจน

    ที่แพร่งนรายังคงมีร้านอาหารเก่าแก่แสนอร่อยอยู่หลายเจ้า ทั้งร้านอาหารตามสั่ง ร้านข้าวหมูแดงหมูกรอบ ร้านก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ ส่วนร้าน "สนามเดินป่า" และอีกหลายร้านที่ขายเครื่องเดินป่าหรือเครื่องทหาร มาเนิ่นนานก็ยังเต็มไปด้วยสินค้าและอุปกรณ์เก่าใหม่ให้เลือกซื้อหาอย่างหลากหลายครบถ้วน ส่วนร้านหนังสือ "นิติบรรณการ" ก็ยังเป็นที่พึ่งพิงของเหล่านักกฎหมายที่ต้องอาศัยตำราว่าความเพิ่มพูนความรู้ แม่แต้ร้านตัดเสื้อ ร้านตัดผม ร้านขายเทปเพลงเก่าๆ ก็ยังมีให้ผู้พิสมัยบรรยากาศเก่าๆ ได้มาสัมผัสและเยี่ยมเยือน

    สิ่งที่ฉันสังเกตและรู้สึกได้ ก็คือแพร่งนราดูเงียบสงบและผู้คนไม่คึกคักเท่ากับแพร่งภูธร แต่อาคารบ้านเรือนและกลิ่นอายเก่าๆ ที่แสนคลาสสิกก็ยังคงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของชาวสามแพร่ง โดยเฉพาะกับอาคารเรียนของ "โรงเรียนตะละภัฏศึกษา" ในชุมชนแพร่งนรา ซึ่งเดิมนั้นเคยเป็นส่วนหนึ่งของตำหนักที่ประทับของสมเด็จกรมพระนราทิปพงษ์ประพันธ์ และบริเวณนี้ยังเคยเป็นโรงละครปรีดาลัย โรงละครร้องแห่งแรกของประเทศไทยด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ร้านสนามเดินป่า ที่ขายวัสดุอุปกรณ์เครื่องเดินป่าและแคมป์ปิ้งอย่างครบครัน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อาคารนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งยังคงความงดงาม เพียงแค่เห็นครั้งแรกก็สวยสะดุดตาแล้ว เพราะทั้งส่วนที่เป็นไม้ฉลุและส่วนที่เป็นปูนปั้นนั้นก็ล้วนแต่เป็นลวดลายละเอียดอ่อนช้อยสวยหวานแบบไทยๆ แต่น่าเสียดายว่าตอนนี้โรงเรียนเอกชนแห่งนี้ได้ปิดมานานหลายปี มีหลายส่วนที่เริ่มชำรุดทรุดโทรม ซึ่งก็เนื่องจากการขาดทุนทรัพย์เป็นหลักใหญ่นั่นเอง ก็ไม่รู้ว่าจะมีใครหยิบยื่นมาดูแลตรงนี้ได้หรือไม่

    แม้ว่าพลวัตแห่งยุคสมัยจะมีการขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา ทำให้หลายสิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง บางอย่างอาจทรุดโทรมและร่วงโรย มีสิ่งใหม่กำเนิดมาแทนที่ แต่ดูเหมือนความสัมพันธ์ในชุมชนจะไม่มีแปรผัน

    เพราะเท่าที่ฉันสังเกตจะเห็นว่าชาวชุมชนส่วนใหญ่มักเป็นวัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ ฉันจึงเข้าไปถามไถ่กับพี่บุญทรง ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของชุมชนแพร่งนรา ได้ความว่า หลังจากที่สถานที่ราชการต่างๆ ได้ย้ายออกไป ทำให้ความคึกคักในย่านนี้ลดน้อยลงไปด้วย บวกกับที่เมื่อลูกหลานคนในชุมชนมีจำนวนเพิ่มขึ้น ก็เริ่มมีออกไปอยู่ที่อื่นนอกชุมชน เพราะเนื่องจากที่อยู่เดิมอาจจะคับแคบไม่สามารถต่อเติมขยับขยายได้ ส่วนบรรดาพ่อแม่คนรุ่นเก่าที่ผูกพันอยู่มานาน ยังเต็มใจจะอยู่ที่เดิม กระทั่งกลายเป็นคนแก่สูงอายุอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บางมุมในสามแพร่งดูสงบไม่พลุกพล่าน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> คนข้างนอกทั่วไปอาจจะมองว่า เป็นความเงียบเหงา อึมครึม จนดูเหมือนซึมเศร้านั้น แท้ที่จริงแล้ว นี่ล่ะคือเอกลักษณ์ของสามแพร่ง เพราะความสัมพันธ์ใกล้ชิดของชาวชุมชนยังเหนียวแน่น มีการพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือกันด้วยดี เพราะอยู่กันมานาน ไม่ว่าคนที่อยู่หัวถนน ท้ายถนน หรือคนแพร่งไหนๆ ก็เรียกว่ารู้จักกันถ้วนทั่ว พอพระอาทิตย์ขึ้น ไก่ขัน คนตื่น ได้เวลาเปิดร้าน พูดคุยทักทายกัน พอพระอาทิตย์ตก ก็ปิดร้าน มีเสวนากันยามเย็น แล้วก็แยกย้ายเข้าบ้านอยู่เงียบๆ เป็นอย่างนี้เรื่อยมา

    บรรยากาศอย่างนี้ชวนให้คิดถึงชนบทบ้านฉัน ไม่นึกว่าท่ามกลางตึกสูงระฟ้า และเทคโนโลยีความทันสมัยที่ถาโถม เหมือนจะแสดงว่านี่คือความศิวิไลซ์ของเมืองกรุงนั้น จะยังมีชุมชนที่ยังคงรักษาความสัมพันธ์แน่นแฟ้นไว้ได้อย่างแนบแน่นเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งฉันก็หวังว่า ถ้าใครได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนย่านสามแพร่ง ก็คงจะไม่ใช่แค่ดูงานสถาปัตยกรรมและบรรยากาศเก่าๆ เท่านั้น แต่น่าจะรับเอามิตรไมตรีของชาวชุมชนไปปรับใช้กับตัวบ้าง อย่างน้อยๆ ก็อาจจะทำให้ได้รับ 'อมยิ้มรสความสุข' มาลิ้มลองเพิ่มขึ้นอีกหลายอัน

    * * * * * * * * * * * * *
    การเดินทางไปที่ ย่านสามแพร่ง วัดมหรรณพาราม ศาลเจ้าพ่อเสือ จะมีรถโดยสารประจำทางสาย 10,12, 19, 35, 42, 56 ผ่าน โดยพระวิหารวัดมหรรณพาราม และศาลเจ้าพ่อเสือ มีเวลาเปิด-ปิด 08.00-16.00 น.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. hexidecimal

    hexidecimal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,026
    ค่าพลัง:
    +1,637
    อยากไปเดินเล่น ดูอะไรเรื่อยเปื่อยจัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...