ความรู้เรื่อง เบี้ยแก้

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย montrik, 22 มีนาคม 2021.

  1. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
    ผมได้อ่านเจอ ข้อมูลเกี่ยวกับเบี้ยแก้ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้นิยมเครื่องลางของขลัง ประกอบการตัดสินใจ ในการเช่าหา สะสม อย่างมีสติ และรอบคอบยิ่งขึ้น

    เชิญอ่าน ศึกษาได้ครับ

    เบี้ยแก้ และ ภควจั่น
    200px-Monetaria_moneta_600x600.jpg
    ในบรรดาวัตถุมงคลต่างๆ มีเครื่องรางของขลังอยู่ชนิดหนึ่งที่สร้างมาเพื่อแก้คุณไสย์โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้จักเบี้ยแก้ ก็ทำความรู้จักไว้เสียก่อน เบี้ยแก้ทำมาจากหอยเบี้ยโดยหอยเบี้ยถือเป็นเงินตราในสมัยโบราณ ซึ่งก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับหอยเบี้ยในโบราณทั้ง 8 ชนิดกันก่อน
    1. เบี้ยโพล้ง
    2. เบี้ยแก้
    3. เบี้ยจั่น
    4. เบี้ยนาง
    5. เบี้ยหมู
    6. เบี้ยพองลม
    7. เบี้ยบัว
    8. เบี้ยตุ้ม
    cowrie.jpg

    สำหรับเบี้ยที่ใช้เป็นเครื่องรางมีเบี้ยจั่น หรือเบี้ยจักจั่น โดยลักษณะทั่วไปของเบี้ยจั่น คือ มีเปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง 2 ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง 2 เป็นหยักคล้ายฟัน ไม่มีฝาปิด มีความยาวประมาณ 12-24 มิลลิเมตร มีถิ่นแพร่กระจายอยู่ในทะเลเขตอบอุ่นทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาทิ ทะเลแดง อินโด-แปซิฟิก นอกชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกากลาง ชายฝั่งทะเลทวีปแอฟริกาตอนตะวันออกและใต้ ทะเลอันดามัน อ่าวไทย ทะเลญี่ปุ่น ไปจนถึงโอเชียเนีย ดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและสาหร่ายทะเลที่ลอยมาตามกระแสน้ำ
    images+%25281%2529.jpg images+(4).jpg

    เปลือกหอยของหอยเบี้ยชนิดนี้ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตราในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคำว่า "เบี้ย" ในภาษาไทยก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "รูปี" ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของอินเดียมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
    small-purple-top-cowrie.jpg
    นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังใช้เป็นเครื่องรางของขลังในวัฒนธรรมไทย โดยมักนำไปบรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่า ถ้าพกเปลือกหอยเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางสัญจรในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกันและแก้ไขอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้ หรือนำไปตกแต่งพลอยเรียกว่า "ภควจั่น" ในเด็ก ๆ เชื่อว่าช่วยป้องกันฟันผุ หรือพกใส่กระเป๋าสตางค์ เชื่อว่าทำให้เงินทองไหลเทมาและโชคดี “ภควจั่น” นี้แยกออกเป็นสองคำคือ ภคว เป็นคำย่อของ ภควดี อันเป็นสมญานามของ พระลักษมีและจั่น เป็นคำสามัญหมายถึง เบี้ยจั่น อันเป็นเครื่องหมายของพระลักษมี ซึ่งเป็นเครื่องรางในสมัยอยุธยาที่นำเอาเบี้ยจั่นมาหุ้มด้วยทองแล้วประดับพลอย
    b28_arkhom1.jpg
    2hpqc2.jpg

    ปัจจุบัน เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังนิยมสะสมกันเป็นของประดับและของสะสมกันอีกด้วย โดยมีชนิดที่แปลกแตกต่างไปจากปกติ คือ "ไนเจอร์" (Niger) ที่หอยจะสร้างเมลามีนสีดำเคลือบเปลือกไว้จนกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลคล้ำทั้งหมด และชนิดที่มีราคาสูงที่สุด เรียกว่า "โรสเตรท" (Rostrat) หรือ หอยเบี้ยจักจั่นงวง คือ เป็นหอยเบี้ยจักจั่นในตัวที่ส่วนท้ายของเปลือกมิได้กลมมนเหมือนเช่นปกติ แต่สร้างแคลเซี่ยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาหลายปี จนกระทั่งยาวยืดออกมาและม้วนขึ้นเป็นวงอย่างสวยงามเหมือนงวงช้าง ซึ่งหอยในรูปแบบนี้จะพบได้เฉพาะแถบอ่าวด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะนิวแคลิโดเนียที่เดียวในโลกเท่านั้น มีการประเมินราคาของเปลือกหอยลักษณะนี้ไว้ถึง 25 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นราคาของเปลือกหอยที่มีค่าสูงที่สุดในโลกอีกด้วย


    เบี้ยแก้
    4854.jpg

    เบี้ยแก้มีอิทธิฤทธิ์ทางด้านการป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ยาเสน่ห์ กันเขี้ยวงา หรือ แม้กระทั่งกันผี เบี้ยแก้ที่ดังๆ เป็นที่รู้จักกันมีอยู่ 2 สำนัก คือ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง และ เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ว่ากันว่าอาคมของหลวงปู่ทั้งสองนี้ เข้มขลังนัก ขนาดที่ว่าเสกเบี้ยให้คลานเหมือนหอยได้เลยทีเดียว
    114526_5pYTt.jpg

    วิธีการสร้างเบี้ยแก้คือการนำปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้า ไปอยู่ในตัวเบี้ย แล้วหาวิธีอุดไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาได้ อย่างของอาคมประเภท ลูกอม หรือลูกสะกด ต่างๆ ที่ต้องนำปรอทมาหลอมกับทองแดง เงิน ทองคำนั้นเรียกว่าปรอทที่ตายแล้ว ส่วนปรอทที่นำมาทำเบี้ยแก้เรียกว่าปรอทเป็น โดยเมื่อเขย่าตัวเบี้ยแก้แล้วจะได้ยินเสียงดัง "ขลุกๆ" อยู่ในตัวเบี้ย
    ถ้าทำเบี้ยในช่วงฤดูร้อน ปรอทจะมีการขยายตัวมาก ทำให้เวลาเขย่าในสภาวะอากาศร้อนก็จะไม่ค่อยได้ยินเสียง "ขลุก" แต่ถ้าในเบี้ยตัวเดียวกันมาเขย่าในช่วงอากาศหนาวปรอทจะหดตัวลงทำให้มีพื้นที่ในตัวเบี้ยเหลือทำให้เขย่าแล้ว ได้ยินเสียง "ขลุก" ได้ชัดเจน เมื่อกรอกปรอทเสร็จแล้วจะปิดช่องด้วยชันนะโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้ว และหุ้มด้วยผ้าแดงหรือแผ่นตะกั่วแผ่นทองแดงแล้วจึงนำ มาถักเชือกหรือหุ้มทำห่วงไว้ให้ ผูกเอวหรือห้อยคอ ขั้นตอนสุดท้ายคือการปลุกเสกกำกับอีกครั้งหนึ่ง เสียงของเบี้ยแก้แต่ละตัวไม่เหมือนกันบางตัวก็ดังมาก บางตัวก็ดังน้อย บางตัวบรรจุปรอทน้อยเกินไปการกระฉอกของปรอทจะดังคล่องแคล่วดีแต่ก็ขาดความหนักแน่น บางตัวบรรจุปรอทมากไปก็อาจจะทำให้เสียงน้อยหรือไม่ได้ยินเลยก็มีสำหรับผู้ที่ชื่นชอบนะครับ คราวหน้าคราวหลังถ้าได้ไปเช่าหาเบี้ยแก้ก็อย่าลืม "เขย่า" ใกล้ๆ หู ฟังเสียงปรอทมันกระฉอกชอบเสียงแบบไหนก็เลือกตัวนั้นเลย
    BoardP1-692554153620.jpg

    ลูกสะกดปรอท พระปรอท และเมฆสิทธิ์ลักษณะต่าง ๆ เพราะอิทธิวัตถุเหล่านี้ใช้ปรอทแข็ง ซึ่งเป็นปรอทผสมกับโลหะต่าง ๆ เช่น ทองแดง เงิน และทองคำ เป็นต้น บางทีก็เรียกว่า “ปรอทที่ฆ่าตายแล้ว” ซึ่งจะมีความหมายลึกซึ้ง ประการใดก็ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก ส่วนปรอทที่ใช้บรรจุในตัว เบี้ยจั่น นั้นเป็น ปรอทเป็น หรือปรอทดิน เวลาเขย่าเบี้ยแก้ใกล้ ๆ หู จะได้ยินเสียปรอทกระฉอกไปมา เสียงดัง “ขลุก ๆ” ซึ่งเรียกว่า “เสียงขลุก” ของปรอท ดังชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณปรอทที่บรรจุปริมาตรของโพรงในท้องเบี้ย และอุณหภูมิฤดูกาลในขณะนั้น ๆ ถ้าหากการสร้างเบี้ยแก้กระทำในฤดูร้อนบรรจุปรอทมากจนเต็มปริมาตรและเขย่าฟัง เสียงในอากาศร้อน ๆ จะฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินเลย แต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกัน ลองเขย่าและในฤดูหนาวที่อากาศเย็น ๆ จะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น
    เวลานำปรอทที่ปลุกเสกแล้วก็กรอกลงไปในท้องเบี้ยจั่นพอประมาณ เอาชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้วอุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ยให้สนิทเรียบ ร้อย แล้วจึงหุ้มด้วยผ้าแดงที่ลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกแล้ว เสร็จแล้วจึงเอาด้วยถักหุ้มเป็นลวดทองแดงขดเป็นห่วง เพื่อให้ใช้คล้องสร้อยแขวนคอ หรือทำเป็นสองห่วงไว้ใต้ท้องเบี้ย เพื่อร้อยเชือกคาดเอว
    pubun.jpg

    เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว ต่างกับเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดวัดนายโรง ตรงที่หุ้มผ้าแดงลงอักขระเพราะของหลวงปู่รอดใช้แร่ตะกั่วหุ้ม แล้วจึงลงอักขระลงบนพื้นตะกั่วรอบตัวเบี้ยอีกครั้ง การที่ทราบเช่นนี้ได้ก็เพราะมีผู้อุตริสอดรู้สอดเห็นบางคน เคยผ่าเบี้ยแก้ของทั้งสองสำนักนี้ดู จึงได้ปรากฏหลักฐานการห่อหุ้มอิทธิวัตถุชั้นในภายใต้ด้ายถักลงรัก ซึ่งเป็นเปลือกหุ้มด้านนอกดังกล่าว
    ลักษณะการถักด้ายหุ้มด้านนอกเท่าที่สังเกตดู ถ้าเป็นเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ จะมีการถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ยและเป็นลายถักเรียบ ๆ สม่ำเสมอกันตลอดตัวเบี้ย ส่วนเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด จะปรากฏทั้งแบบที่ถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ย กับถักเว้นวงกลมไว้บริเวณกลางหลังเบี้ย และลายถักนี้ก็มีทั้งแบบลายเรียบสม่ำเสมอกันแบบลานสอง (เป็นเส้นสันทิวขนานคู่แบบผ้าลายสอง) แต่ข้อสังเกตอันนี้จะถือเป็นกรณีแน่ชัดตายตัวนักไม่ได้ เพราะคาดว่าลักษณะการถักดังกล่าวคงจะมีปะปนกันทั้งสองสำนัก
    เสียง “ขลุก” ของปรอท จากการสังเกตเสียงขลุกของปรอทในขณะที่เขย่าเบี้ยแก้ที่ริมหู จะได้ยินเสียงการกระฉอกไปมาของปรอทภายในท้องเบี้ยสำหรับของจริงของสองสำนัก ดังกล่าวนี้จะมี “เสียงขลุก” คล้ายคลึงกันกล่าวคือ จะมีลักษณะเป็นเสียงกระฉอกของปรอทซึ่งสะท้อไปสะท้อนมาหลายทอดหรือหลาย จังหวะ ชะรอยการบรรจุปรอทลงในเบี้ยแก้จะต้องมีเทคนิคหรือกรรมวิธีที่แยบคายบาง ประการเช่น บรรจุปรอทในปริมาณที่พอดีกับปริมาตรภายในห้องเบี้ยกล่าวคือให้เหลือช่อง ว่างไว้พอสมควรให้ปรอทได้มีโอกาสกระฉอกไปมาได้สะดวงและน่าจะเป็นการบรรจุ ปรอทในฤดูร้อน ตอนกลางวันเพราะอุณหภูมิในห้วงเวลานั้น ๆ ปรอทจะมีสภาพขยายตัวมากเมื่อได้รับการบรรจุแล้ว ปรอทก็จะลดตัวลงตามฤดูกาลทำให้เกิดช่องว่างภายในท้องเบี้ยเพิ่มขึ้น สะดวกแก่การกระฉอกหรือคลอน
    เบี้ยแก้บางตัวจะมีเสียงขลุกไพเราะมาก เป็นเสียงขลุกที่มีหลายจังหวะ และหลายแบบ คือมีทั้งเสียงหนักและเสียเบา สลับกันอุปมาเสมือนนักร้องที่มีลูกคอหลายชั้นหรือนกเขาเสียงคู่ เสียงเอกที่มีลูกเล่นหลายชั้นส่วนเบี้ยแก้บางตัวที่บรรจุปรอทน้อยเกินไป การกระฉอกของปรอทคล่องแคล่วดีแต่เสียงขลุกขาดความหนักแน่นตรงกันข้ามกับ เบี้ยแก้บางตัว บรรจุปรอทมากเกินไป การกระฉอกหรือคอลนจึงมีน้อย จนเกือบสังเกตไม่ได้
    num4.jpg


    เบี้ยแก้ของสำนักอื่นๆ
    นอกจากเบี้ยแก้ของสำนักวัดกลางบางแก้วของหลวงปู่บุญ และของหลวงปู่รอด วัดนายโรงแล้ว ยังมีของสำนักอื่น ๆ อีก เช่น เบี้ยแก้วัดคฤหบดี วัดอยู่ในคลองบางกอกน้อยเช่นเดียวกันกับวัดนายโรงแต่ยังสืบทราบความเป็นมา ของการสร้างเบี้ยแก้ได้ไม่ชัดเจนนัยว่าหลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้เป็นศิษย์ของ หลวงปู่รอดวัดนายโรงนั้นเอง เบี้ยแก้ของวัดคฤหบดีจัดว่าเป็นเบี้ยแก่รุ่นเก่า รองลงมาจากของสำนักดังกล่าวลักษณะของเบี้ยแก้วัดคฤหบดีนั้นเท่าที่ทราบและ พิจารณาความจริงของจริงมาบ้างนั้นเข้าใจว่าสัณฐานของตัวเบี้ยค่อนข้างจะเบา กว่าของวัดกลางและของวัดนายโรงสักเล็กน้อย แต่ถ้าค่อนข้างเล็กมากก็กล่าวกันว่า จะเป็นของหลวงปู่แขก เส้นด้ายที่ถักหุ้มตัวเบี้ยของวัดคฤหบดี ค่อนข้างหยาบกว่าของวัดนายโรง และมีทั้งลงรักปิดทองและลงยางมะพลับ (สีน้ำตาลไหม้คล้ำ) ลักษณะการถักหุ้มคงมีสองแบบคือ แบบถักหุ้มทั้งตัวเบี้ยกับ แบบถักเหลือเนื้อที่เป็นวงกลมไว้หลังเบี้ย และเสียง “ขลุก” ของปรอทมีจังหวะและน้ำหนักของเสียงน้อยกว่าของสองสำนักนอกจากนี้ยังสืบทราบมาว่า ทางจังหวัดอ่างทองยังมีเบี้ยแก้อีกสามสำนักด้วยกันคือ
    %E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99.jpg

    เบี้ยแก้วัดนางใน วัดนางในอยู่หลังตลาด อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง หลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้ได้มรณภาพไปนานปีแล้ว และท่านเป็นอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อโปร่ง เจ้าอาวาสวัดท่าช้างรูปปัจจุบัน ลักษณะของเบี้ยแก้ไม่ได้ ถักด้ายหุ้ม เมื่ออุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วก็ใช้หุ้มเลี่ยมด้วยเงิน ทอง หรือนาค และเหลือให้เป็นเนื้อเบี้ยเป็นวงกลมไว้ด้านหลัง
    เบี้ยแก้วัดโพธิ์ปล้ำ วัดตั้งอยู่ในตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง หลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้ก็คงมรณภาพไปนานแล้วเช่นเดียวกัน และท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อโปร่งลักษณะของเบี้ยแก้คงทำนองเดียวกันกับของ วัดนางใน
    เบี้ยแก้วัดท่าช้าง วัดตั้งอยู่ในตำบลสี่สร้อย อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง หลวงพ่อโปร่ง “ปญฺญาธโร” เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเป็นผู้สร้างลักษณะของเบี้ยแก้คงคล้ายกับสองสำนักดัง กล่าว เพราะเชื้อสายเดียวกัน
    product_kota_1350631362.jpg

    ความสำคัญของเบี้ยแก้
    เบี้ยแก้ตัวนี้สำคัญนัก พ่อค้าแม่ขายจักหมั่นไหว้บูชา จะไต่เต้าเจ้าสัวแสนทะนาน ลาภเต็มห้องทองเต็มไห ขุนนางใดมีไว้ในตัวดีนักแล จักให้คุณเป็นถึงท้าวเจ้าพระยาพานทอง ทรัพย์สินสิ่งของเต็มวัง อีกช้างม้าวัวความนับได้หลายเหลือ หลวงปู่เฒ่าเจ้าสั่งสิ่งอาถรรพณ์ อาเทพอัปมงคลทุกข์ภัยพิบัติทั้งยาสั่ง ให้อันตรธานสิ้นไป ศัตรูปองร้ายให้พ่ายแพ้ภัยตัว ขึ้นโรงขึ้นศาลชนะปลอดคดีความสิงค์สาราสัตว์สารพัดร้าย ปืนผาหน้าไม้ผีป่าปอบและผีโป่ง ทั้งแขยงมิกล้ากล้ำกราย หากมีเหตุเภทภัยอันตรายจะบอกกล่าวเตือนว่า จงอย่าไป
    images.jpg

    เบี้ยแก้เป็นอิทธิวัตถุชั้นหนึ่งเตือนใจให้สะดุ้งกลัวภัยที่มองไม่เห็นตัว หากบุคคลใดมีไว้เป็นสมบัติ นำติดตัวโดยคาดไว้กับเอว หรือโดยประการอื่นใด ย่อมปกป้องภยันตรายได้ทั้งปวง เป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาดมหาอุดคงกระพันทุกประการ คุ้มกันเสนียดจัญไร คุณไสยยาสั่ง และการกระทำย่ำยี ทั้งหลายทั้งปวงได้ชะงัดนักป้องกันภูตพรายได้ทุกชนิด

    เขียนโดย ๙ มหาเวทย์ ที่ 07:30
    ขอขอบคุณ
    http://9mahawed.blogspot.com/2013/08/blog-post_7460.html
     
  2. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
     
  3. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
     
  4. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
     
  5. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
     
  6. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
     
  7. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
    ตัวอย่างหนังสือ ตำรา ที่ยังพอหาซื้ออ่านได้ครับ

    dk.jpg
    v2.jpg
    m6.jpg
    mv.jpg
    sv.jpg
    uh.jpg
    5c.jpg
    2e.jpg
    76.jpg
    dz.jpg
    us.jpg
    l1.jpg
    30.jpg
    xi.jpg
    f4.jpg
     
  8. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
    บทความจาก นสพ ข่าวสด โดยคุณแทน ท่าพระจันทร์
    14 ม.ค. 2563-09:47 น.
    upload_2021-3-24_7-19-51.png
    เบี้ยแก้
    คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง

    เบี้ยแก้ – สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเบี้ยแก้ คนโบราณนิยมนำมาห้อยติดตัวเพื่อปกป้องคุ้มครองป้องกันตัว ทั้งแก้และกันได้สารพัด เบี้ยแก้ของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ หายาก สนน ราคาสูง

    เบี้ยแก้ คือเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง มีกันมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หรืออาจจะนานกว่านั้น มีตำราการสร้างเบี้ยแก้ตกทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เบี้ยแก้ก็คือการนำเอาหอยเบี้ย ที่เรียกว่าเบี้ยพลู และเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่ง

    และในยุคหนึ่งเคยนำมาเป็นเบี้ยแทนเงินตราในการซื้อ–ขาย ความเชื่อในอินเดียทางศาสนาฮินดู มีความเชื่อว่าเป็นตัวแทนพระลักษมี นิยมห้อยคอเด็ก เพื่อปกป้องคุ้มครองสรรพอันตรายต่างๆ ในวรรณคดีของไทยเราก็ยังกล่าวถึงเรื่อง เบี้ยแก้ไว้มากมาย เช่น ในเรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องอิเหนา เป็นต้น

    เบี้ยแก้ที่เป็นเครื่องรางของขลังของไทยเรา เท่าที่ปรากฏหลักฐาน เป็นที่นิยมกันนั้น ทำมาจากเบี้ยพลู และเบี้ยจั่น โดยมีการบรรจุปรอทเข้าไปไว้ในท้องเบี้ย แล้วจึงอุดด้วยชันโรงใต้ดินปิดทับ บ้างก็หุ้มด้วยตะกั่วหรือผ้าแดงอีกครั้งหนึ่ง มีการลงอักขระลงยันต์ต่างๆ ตามสูตรของแต่ละอาจารย์ จากนั้นบ้างก็นำไปถักเชือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง เพื่อสะดวกในการพกติดตัวด้วยการคาดเอว หลังจากถักเชือกแล้ว ก็มีการลงรักหรือทายางมะพลับ เพื่อให้เชือกมีความคงทนในการใช้งาน

    พุทธคุณของเบี้ยแก้นั้น มีความเชื่อว่าใช้ในการแก้และกัน สามารถคุ้มครองป้องกันมิให้สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ คุณไส ไม่สามารถทำร้ายได้ และปกป้องคุ้มครองผู้ที่มีเบี้ยแก้ให้พ้นภัยต่างๆ ได้ หรือแก้กันสิ่งอัปมงคลต่างๆ


    เบี้ยแก้เท่าที่มีการสืบค้นได้และได้รับความนิยมมาแต่โบราณได้แก่ เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ถือว่าเก่าแก่และหายากมาก หลวงปู่รอดท่านศึกษาวิชาเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก วัดบางบําหรุ เบี้ยแก้สายนี้ก็มีสืบทอดต่อกันมาอีก เช่น หลวงพ่อม่วง วัดคฤหบดี และหลวงพ่อทัต วัดคฤหบดี

    เบี้ยแก้สายวัดกลางบางแก้ว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ศึกษาวิชาเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่ทอง วัดกลางบางแก้ว ซึ่งหลวงปู่ทองเป็นพระธุดงค์มาจากอยุธยา ผู้สืบทอดวิชาเบี้ยแก้ต่อมาจากหลวงปู่บุญคือ หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ต่อมาก็เป็น หลวงปู่ใบ วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว

    เบี้ยแก้สายจังหวัดอ่างทอง ได้แก่ หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ เป็นต้น เบี้ยทางสายอ่างทองมีทั้งที่ลงรักถักเชือก และเป็นเบี้ยเปลือย นอกจากนี้ยังมีที่เลี่ยมหุ้มด้วยโลหะเงิน ทอง และนาก

    โดยเจ้าของนำไปให้ร้านทองในตลาดวิเศษชัยชาญเลี่ยมให้ ในสมัยก่อน และมักจะตอกชื่อ “หมง ดำ หรือ เฮง” ซึ่งเป็นชื่อช่างทองในสมัยนั้นที่ใต้ท้องเบี้ย ส่วนมากที่เจอเลี่ยมเก่ามักจะเป็นของ หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ หรือหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน ซึ่งเป็นเบี้ยที่มีขนาดย่อมหน่อย เหมาะแก่การเลี่ยมหุ้ม

    เบี้ยแก้ตามที่ได้กล่าวไว้ขั้นต้น ปัจจุบันหายากแล้วครับ พระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสกเบี้ยแก้ตามที่กล่าวมานั้น ท่านมรณภาพหมดแล้ว อย่างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ตัวสวยๆ สมบูรณ์ก็ต้องมีตัวเลขหกหลักครับ เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วก็เช่นกัน หายากมาก ตัวเลขก็ต้องมีหกหลักเช่นกันครับ เบี้ยแก้สายอ่างทอง

    เช่น หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ ก็ต้องมีหกหลักเช่นกัน นอกจากนั้นก็ว่ากันตามความหายากหาง่ายลดหลั่นกันลงมา แต่ก็มีสนนราคาสูงทั้งสิ้น และก็หาแท้ๆ ยากนะครับ ต้องเช่าหาจาก ผู้ที่รู้จริง หรือสืบสายการตกทอดมาครับ

    ในวันนี้ผมได้นำรูปเบี้ยแก้ยอดนิยม ของ หลวงปู่รอด วัดนายโรง จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ

    ด้วยความจริงใจ
    แทน ท่าพระจันทร์


    ขอขอบคุณ
    https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_3381374
     
  9. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
    “เบี้ยแก้” ครอบจักรวาล กันมนตร์ดำ..คุณไสยเข้าตัว
    รัก-ยม
    20 ต.ค. 2562 05:20 น.

    dFQROr7oWzulq5FZYRjfk4RehmCei4myT6l7Rwp8Ivd8wgoKbQA72z9x3ATL7f0HWrq.jpg
    ศรัทธามากล้นที่ผู้หญิงหลายต่อหลายคนนิยมบูชา “เบี้ยแก้” เพื่อแก้มนตร์ดำ ยาสั่งทำเสน่ห์ให้เสียผู้เสียคน...จนต้องหาเครื่องรางมาพกติดตัวเพื่อความสบายใจ มั่นใจ

    หลายๆ เสียงกล่าวตรงกันว่า เบี้ยแก้ที่บูชามาเพื่อพกติดตัวนั้นสำคัญที่กรรมวิธีปลุกเสก จะต้องมีที่มาที่ไปผ่านมือเกจิอย่างละเอียดทุกขั้นตอน และอีกประเด็นสำคัญคือองค์ประกอบต่างๆจะต้องครบถ้วน เพื่อกันไม่ให้ของเข้าตัว พลิกตำราทำความเข้าใจให้ตรงกัน “เบี้ยแก้” หมายถึง เครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งสำหรับแก้คุณไสย มนตร์ดำ ยาสั่ง ทำด้วยเบี้ยจั่นซึ่งเป็นหอยทะเลชนิดหนึ่ง บรรจุปรอทเอาไว้ภายใน แล้วปลุกเสกด้วยอาคม


    คำว่า “เบี้ยแก้” มาจากคำว่า “เบี้ยแก้บน” เนื่องจากใช้เป็นเงินบนบานศาลกล่าวและเกิดสัมฤทธิผลความหมายจึงพ่วงการแก้ไขจากร้ายให้กลายเป็นดี จึงมีอานุภาพทางแก้กันสิ่งอาถรรพณ์ที่จะให้โทษ

    แน่นอนว่าหัวใจสำคัญก็คือ...ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง

    โบราณาจารย์จะทำเบี้ยแก้โดยนำหอยเบี้ยมาบรรจุปรอท แล้วอุดด้วยชันโรง หุ้มด้วยแผ่นตะกั่วหรือผ้า แล้วนำมาถักด้วยเชือกทารัก หรือยางมะขวิด ผ่านการปลุกเสกกำกับ ใช้ผูกเอวหรือห้อยคอแก้คุณไสยโดยการแช่น้ำมนต์เพื่อไว้ดื่ม...อาบ

    Dtbezn3nNUxytg04OYRQaQQUdNRYlFd5uQnKXW9FSarU2l.jpg

    “เบี้ยแก้” เป็นเครื่องรางอันทรงคุณค่ามาแต่โบราณกาล โดยทำจากหอยเบี้ยซึ่งบรรจุปรอทไว้ภายใน ทั้งกันทั้งแก้สิ่งชั่วร้าย เสนียดจัญไร คุณไสย คุณคน คุณผี ยาสั่ง ยาเบื่อ ยาเมา พิษสัตว์ร้ายทั้งหลาย

    วิธีการสร้างเบี้ยแก้ ส่วนสำคัญประกอบด้วย หอยเบี้ยแก้, ปรอท, ชันโรงใต้ดิน, ตะกั่ว, น้ำรักสีดำ, หอยเบี้ยแก้ ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่งที่มีลาย เป็นเอก9ลักษณ์เฉพาะตัว ปรอท

    โบราณท่านว่า “ปรอท” เป็นสิ่งมีชีวิต มีฤทธิ์ในตัวเป็นรองเพียงแต่เหล็กไหลเท่านั้น แม้ว่าจะยังไม่ผ่านการทำพิธีก็มีฤทธิ์ มีอาถรรพณ์ในตัว พวกผีกลัวมาก จำนวนปรอทที่ใช้กรอกลงในเบี้ยแก้จะต้องมีน้ำหนัก 1 บาท

    ส่วน “ชันโรงใต้ดิน” ตามธรรมชาติชันโรงมี 2 ชนิด คือชันโรงบนต้นไม้ และชันโรงใต้ดิน ซึ่งชันโรงใต้ดินเป็นของอาถรรพณ์ ปกติชันโรงใต้ดินอยู่ที่ไหนที่นั่นจะไม่ไหม้ไฟ ชันโรงใต้ดินมีอิทธิคุณตามธรรมชาติเป็นมหาอุด กันไฟ กันคุณไสยได้

    ชันโรงใต้ดินใช้ปิดปากเบี้ยไม่ให้ปรอทหนีตะกั่ว โบราณท่านว่า ตะกั่วเป็นของกายสิทธิ์ดีทางอยู่ ยงคงกระพัน ครูบาอาจารย์ท่านจะนำตะกั่วมาตีเป็นรูปหอยเบี้ยทาบหุ้มลงไปจนแน่นหนา จารอักขระเพิ่มลงไปเป็นสื่อชักนำพุทธบารมี ธรรมบารมีและสังฆบารมี ลงมาสู่ตัวเบี้ยแก้ ทำให้เกิดความขลังเพิ่มขึ้น

    น้ำรักสีดำ ถือเคล็ดความศักดิ์สิทธิ์อีกประการหนึ่งว่า คำว่า “รัก” มีความหมายที่ดี คือเป็นที่รัก ที่เมตตาของคนทั่วไป เมื่อนำรักมาย้อมหุ้มเบี้ยแก้ย่อมเพิ่มอำนาจทางเสน่ห์เมตตา...ว่ากันว่าเสกเบี้ยจนคลานได้ กระนั้นเบี้ยแก้ที่ผ่านการบรรจุปรอทและหุ้มตะกั่ว ลงจาร และถักหุ้มแล้ว ถือว่ายังไม่ครบขั้นตอน?

    Dtbezn3nNUxytg04OYRQaQQUdNRYlFd5q5je9qPrFHkt4p.jpg

    “เพราะจะต้องปลุกเสกกำกับ เป็นการประชุมธาตุ หนุนธาตุ เพื่อให้เกิดฤทธิ์ เล่ากันว่ามีผู้พบเห็น หลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่มแห่งวัดกลางบางแก้ว สามารถปลุกเสกเบี้ยจนคลานได้ อยู่ไม่น้อยปรอทครางในเบี้ย เรื่องที่น่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ผู้ที่มีสมาธิมั่นสามารถสัมผัสได้ โดยการนำเบี้ยมาวางกลางฝ่ามือทำจิตให้เป็นสมาธิ”

    จะพบว่าปรอทในตัวเบี้ยมีอาการไหวตัวและมีเสียงครางเบาๆ การทำสมาธิร่วมกับเบี้ยแก้ยังเป็นการรับอิทธิคุณ พลังอำนาจจากเบี้ยแก้เข้าสู่ตัว ถ้าเป็นโรคอยู่ เบี้ยแก้จะดูดโรคภัยถอนออกจากตัวเรา

    เบี้ยแก้ของดีไม่มีเสื่อม ปกติเครื่องรางของขลังโดยทั่วไปมักจะมีข้อห้ามบางอย่างกำหนดไว้ หากผู้ใดไม่ทำตามจะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์นั้นเสื่อมลงไป เบี้ยแก้ไม่มีข้อห้ามใดๆ เบี้ยแก้เปรียบเสมือนทองคำอยู่ที่ไหนก็เป็นทองคำอยู่วันยังค่ำ ไม่ว่าจะอยู่ใต้ถุน ใต้สะพาน ใต้ราวผ้า ไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น...

    เบี้ยแก้เมื่อเขย่าจะดังขลุกๆ อันเป็นเสียงปรอทที่กรอกเข้าไปในตัวเบี้ยกลิ้งไปกลิ้งมา เนื่องจากสามารถหดและขยายตัวตามอุณหภูมิ หากเขย่าเบี้ยแก้ตอนอากาศร้อนจะไม่ค่อยได้ยินเสียงเพราะปรอทจะขยายตัว แต่ถ้าอากาศเย็นจะมีพื้นที่ว่างในตัวเบี้ยมากกว่า เสียงจะดังฟังชัด

    สรุปได้ว่า “เบี้ยแก้” มีคุณครอบจักรวาล คือดีทางป้องกัน คงกระพัน กันได้สารพัด เป็นเสน่ห์เมตตาทางโชคลาภอีกต่างหาก ควรจะรีบหาติดตัวกันเอาไว้ ซึ่งเบี้ยแก้นั้นถ้าสร้างถูกวิธีการสร้างยากมาก

    Dtbezn3nNUxytg04OYRQaQQUdNRYlFd5Gh1ng41Ca5HzCY.jpg

    “เบี้ยแก้” เกจิที่นิยมกันมาก ได้แก่ สายของวัดกลางบางแก้ว เช่นของหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม ท่านอาจารย์ใบ หลวงปู่เจือ สายวัดนายโรง อาจารย์ทัด วัดคฤหบดี...สายทางอ่างทองก็มีหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ และสายลูกศิษย์ของหลวงพ่อพักตร์ ได้แก่ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำและของวัดท่าช้าง

    เช่นเดียวกับเครื่องรางของขลังที่วัดถ้ำเสือจังหวัดกาญจนบุรี ก็มีเปิดให้เช่าบูชา ทั้งเบี้ยแก้ มีดหมอ แก้วสารพัดนึก โดยเจ้าหน้าที่ของวัดถ้ำเสือ เล่าว่า เครื่องรางทุกชิ้นได้ผ่านการปลุกเสกมาจากเกจิอาจารย์ โดยตรง ซึ่งจะมาร่วมกันทำพิธี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ครอบครอง

    ซึ่งความเชื่อเรื่องอำนาจที่เหนือธรรมชาติมีมาแต่ครั้งโบราณ เรื่องของเทวดาและภูตผีปีศาจมีอยู่ในความเชื่อของทุกชาติในโลก แน่นอนว่าต้องรวมความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถาเอาไว้ด้วย เวทมนตร์คาถาต่างๆนั้นนับเป็นเครื่องมือที่ใช้สนองความต้องการของมนุษย์ ให้ใช้ไปในด้านต่างๆสารพัด แต่เมื่อพิจารณาแล้วล้วนไม่พ้นไปจากหลักใหญ่สองประการคือ ใช้ในทางร้ายที่นิยมเรียกว่า “ไสยดำ” และใช้ในทางดีที่นิยมเรียกว่า “ไสยขาว”

    เป็นที่น่าสังเกตว่า...ทั้งไสยดำไสยขาวนั้น ต่างก็มีความเห็นตรงกันว่า ผู้เรียนรู้ทางเวทมนตร์คาถานั้น จำเป็นที่จะต้องมีวัตถุอาถรรพณ์ หรือของวิเศษประเภทหนึ่งเอาไว้ประจำตัว ซึ่งของวิเศษดังกล่าวนี้ ทั้งทางไสยขาวและไสยดำต่างมีวัตถุประสงค์ในการใช้ตรงกัน...คือใช้ในการป้องกันตัวและใช้ทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม นั่นคือต้องมีอาวุธวิเศษประจำตัว โดยอาวุธวิเศษนี้จะต้องมีฤทธิ์ใช้กำจัดศัตรู ใช้ทำลายล้างเวทมนตร์อาถรรพณ์ภูตผีปีศาจ และป้องกันภัยจากอำนาจเร้นลับเหนือธรรมชาติได้

    Dtbezn3nNUxytg04OYRQaQQUdNRYlFd5MQiZcgsBogk7e1.jpg

    “ของวิเศษดังกล่าวนี้...ทางไทยเรามักนิยมที่จะใช้เป็นมีด พระขรรค์ ดาบ กริช เส้นหวาย ไม้เท้ายาว ไม้เท้าสั้น ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องลงอาคมอักขระเลขยันต์เสกปลุกไว้ ที่นิยมสร้างกันมากที่สุดก็คือทำเป็นมีดสั้นลงอักขระเลขยันต์ ลงคาถาอาคม เรียกว่ามีดหมอ...และเพื่อเพิ่มความสบายใจให้กับตัวเองและครอบครัว ก็จะบูชาเครื่องรางเพื่อให้มีคุณ ก็ต้องศึกษาที่มาที่ไปกันพอสมควร”

    แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องไม่ตั้งอยู่ในความประมาทมีสติและระมัดระวังให้มากที่สุดเป็นการดี

    “ศรัทธา” นำมาซึ่ง “ปาฏิหาริย์” เชื่อไม่เชื่ออย่างไรโปรดอย่าได้ “ลบหลู่”.

    รัก-ยม


    ขอขอบคุณ
    https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1685643
     
  10. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
  11. lotusbudth

    lotusbudth สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +155
    ขอบคุณค่ะ
     
  12. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
    สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ถ้าเราเพียรตามหายังพอมีให้พบเจอ สมัยอยุธยาหอยเบี้ยจักจั่นยังนำมาใช้เป็นเครื่องรางของขลังเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูง โดยมักนำไปบรรจุปรอทแล้วปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่า ถ้าพกเปลือกหอยเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางสัญจรในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกันและแก้ไขอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้ หรือนำไปตกแต่งพลอยเรียกว่า "ภควจั่น" ในเด็ก ๆ เชื่อว่าช่วยป้องกันฟันผุ หรือพกใส่กระเป๋าสตางค์ เชื่อว่าทำให้เงินทองไหลเทมาและโชคดี “ภควจั่น” นี้แยกออกเป็นสองคำคือ ภคว เป็นคำย่อของ ภควดี อันเป็นสมญานามของ พระลักษมีและจั่น เป็นคำสามัญหมายถึง เบี้ยจั่น อันเป็นเครื่องหมายของพระลักษมี ซึ่งเป็นเครื่องรางในสมัยอยุธยาที่นำเอาเบี้ยจั่นมาหุ้มด้วยทองแล้วประดับพลอย

    ขอขอบคุณ ภาพ และข้อมูลจาก Ayothaya Group
    FB_IMG_1617368734606.jpg FB_IMG_1617368738661.jpg FB_IMG_1617368740917.jpg FB_IMG_1617368736698.jpg FB_IMG_1617368743571.jpg FB_IMG_1617368745630.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087


    ขอขอบคุณ
    เรื่องสั้นคั่นเวลา EP : 102 เบี้ยแก้
     
  14. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087


    ขอขอบคุณ
    อภินิหารเบี้ยแก้ (ไพฑูรย์ พันธุ์เชื้องาม) | สองยาม
     

แชร์หน้านี้

Loading...