ขอเชิญร่วมงานไหว้ครูบูรพาจารย์ หลวงพ่อเปิ่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๒

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย จรัสกุล, 3 กุมภาพันธ์ 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]
    กำหนดงานไหว้ครูบูรพาจารย์ หลวงพ่อเปิ่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๒
    ณ วัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

    ต ร ง กั บ

    วันเสาร์ ที่ ๗ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

    (ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด)

    เวลา ๐๙.๓๙ น.

    ข อ เ ชิ ญ ศิ ษ ย า นุ ศิ ษ ย์ ผู้ ที่ มี จิ ต ศ รั ท ธ า เ ลื่ อ ม ใ ส

    และผู้ที่มีความสนใจในพิธีกรรมโบราณทุกท่าน เข้าร่วมพิธีโดยทั่วกัน.

    *** ขอความร่วมมือ แต่งกายชุดขาว หรืออย่างน้อยขอเป็นเสื้อขาว ***

    ขอขอบคุณสำหรับการให้ความร่วมมือครับ

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]




    ขอขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,4940.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2009
  2. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    สาธุแล้วเจอกันวันงานครับ ขอบคุณคุณจรัสกุลครับที่นำงานไหว้ครู ประจำปี 2552มาบอกครับ
     
  3. ปทุมธานี

    ปทุมธานี ยอมไม่ทำดีกว่าทำร้ายคนอื่น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,876
    ค่าพลัง:
    +1,217
    น้องมี๋ อย่าไปเชื่อป๋าหน่อง ชอบบอกว่าจะมาแล้วเบี้ยวครับ
     
  4. pawidtra

    pawidtra Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    641
    ค่าพลัง:
    +89
    แล้วเจอกันนะคะ
     
  5. ซักวันจะคิดออก

    ซักวันจะคิดออก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,556
    ค่าพลัง:
    +6,330
    ครับ
    ปีนี้ทีวีทั้งไทย ทั้งเทศก็คงมากันหนาแน่นอีกเช่นเคย
    และพี่เสือ พี่ลิง ก็คงลุกกันอีกแน่แน่

    กราบ กราบหลวงพ่อ ยังคิดถึงหลวงพ่ออยู่เสมอ
     
  6. กำธร นครปฐม

    กำธร นครปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2,756
    ค่าพลัง:
    +7,205
    ถ้าไม่ติดธุระอะไรก็เจอกันวันงานครับ อาจจะอยูที่กุฏิหลวงพี่ต้อย
     
  7. thaiput

    thaiput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    9,528
    ค่าพลัง:
    +27,656
    *-* พี่กำธร วันงานเจอกันที่กุฏิอาจารย์ต้อยนะครับ ขอบคุณครับ *-* thaiput007@hotmail.com
     
  8. thaiput

    thaiput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    9,528
    ค่าพลัง:
    +27,656
  9. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    อยากไปครับ ถ้าว่างวันนั้นอาจจะเจอกัน คนคงเยอะน่าดูนะ
     
  10. Hugostars

    Hugostars เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    462
    ค่าพลัง:
    +676
    น้อมนมัสการหลวงพ่อขอรับ
     
  11. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    ครับ
    วันงานลูกศิษย์หลวงพ่อเปิ่นเยอะทุกปีครับ
    อนุโมทนาครับ
    ขอบคุณครับ
     
  12. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ


    วัดบางพระ
    ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม



    ๏ อัตโนประวัติ

     
  13. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]
     
  14. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]
     
  15. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]
     
  16. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    งานไหว้ครูเมื่อปี่2551
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2009
  17. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]
    ประวัดวัดบางพระ
    วัดบางพระ เป็นชื่อในทางราชการชื่อเดิมคือ วัดปากคลองบางพระ สังกัดมหานิกายอยู่ในการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่วัด ๓๑ ไร่ ๑ งาน ๖๐ ตารางวา และธรณีสงฆ์ ๒๒ ไร่ ๒ งาน ๑๙ ตารางวา
    วัดบางพระสร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๒๒๐จัดอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างที่แน่ชัดเพราะคนในยุคนั้นมิได้มีการบันทึกกันที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ในปัจจุบันก็คือภาพจิตกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถหลังเดิมซึ่งกว้างประมาณ๔วายาวประมาณ๘วาหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาธรรมดาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางภายในพระอุโบสถหลังเดิมมีพระประธานเป็นพระปฏิมากรหินทรายแดงประทับนั่งปางมารวิชัยลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง๓๐นิ้วชาวบ้านเรียกกันว่า"หลวงพ่อสิทธิมงคล"เป็นองค์ที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักเบื้องหน้าพระประธานเป็นพระพุทธปฏิมาประทับนั่งปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง๒๖นิ้วและยังมีพระพุทธปฏิมาประทับนั่งทางด้านขวามือองค์พระประธาน๓องค์และทางด้านซ้ายมือองค์พระประธานอีก๓องค์มองกันตามแบบแล้วพระอุโบสถหลังเก่าของวัดบางพระช่างทรงคุณค่ายิ่งนักลักษณะทั่วไปก่ออิฐถือปูนหลังคาลด๒ชั้นประกอบด้วยช่อฟ้าใบระกาที่สำคัญคือหลังคาอันมุงด้วยกระเบื้องดินธรรมดากรมศิลปากรจัดให้อยู่ในดินเผาสมัยอยุธยาตอนกลางพระประธานที่เป็นพระปฏิมากรหินทรายแดงจัดให้อยู่ในสมัยอโยธยาสุพรรณภูมิ(อู่ทอง)
    ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นภาพเก่าแก่เป็นผลให้ทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาเป็นภาพเทพชุมนุมสลับกับอดีตขององค์พระพุทธเจ้ามีการปฏิสังขรณ์เมื่อสมัยรัชการที่๔คงมีการเขียนทับและแก้ไขเพียงเล็กน้อยแต่พื้นกราวน์ดูเบื้องหลังยังคงใช้สีอ่อนมีดอกไม้ร่วงอันเป็นคติของอยุธยาภาพที่น่าสนใจอีกภาพหนึ่งก็คือ"ภาพมารผจญ"เป็นภาพที่พระพุทธเจ้าทรงจีวรแดงประทับนิ่งบนดอกบัวแก้วแม่ธรณีบีบมวยผมนับเป็นศิลปะแบบเก่าที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางสีในภาพเขียนใช้เพียง๔สีคือขาวดำแดงและเขียวใบแค
    มาถึงช่วงตอนเจริญรุ่งเรืองอย่างสุดขีดของวัดบางพระในช่วงนั้นเมื่อเจ้าอธิการหิ่มอินทโชโตเข้ามาปกครองวัดบางพระในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายที่เหมือนกันของเจ้าอาวาสวัดบางพระทุกรูปคือจะเป็นพระนักปฏิบัติกัมมัฏฐานทรงซึ่งคุณธรรมมีเมตตาธรรมสูงมากเมื่อมาถึงหลวงปู่หิ่มเป็นยุคที่วัดบางพระเจริญอย่างยิ่งท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ นอกจากนี้แล้วหลวงปู่หิ่มยังสร้างพระพุทธบาทจำลองเพื่อช่วยเหลือในศรัทธาของชาวบ้านที่ใคร่จะไปนมัสการพระพุทธบาทจำลองณสถานที่ต่างๆที่อยู่ไกลต้องเสียค่าใช้จ่ายกันสูงพระพุทธบาทจำลองนี้มีขนาดกว้าง๑.๑๐เมตรยาว๔.๒๐เมตรสร้างด้วยโลหะทุกกลางเดือนสี่จะมีงานเทศกาลเพื่อให้ประชาชนชาวบ้านได้นมัสการปิดทองกราบไหว้พระพุทธบาทจำลองสร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๖๙นั้นเป็นไปในด้านวัตถุในด้านทางจิตใจในด้านทางสายวิชาแล้วหลวงปู่หิ่มนับเป็นหนึ่งในส่วนนี้ท่านเก่งในทางปรุงยาเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านได้อย่างน่าอัศจรรย์คนบ้าคนคลั่งหรือโรคมะเร็งเมื่อมาหาหลวงปู่หิ่มเพื่อให้ท่านรักษาหลวงปู่หิ่มจะให้คนปั้นหุ่นดินเหนียวแทนตัวคนป่วยลงวันเดือนปีเกิดพร้อมด้วยเงินค่าครู๑สลึง(สมัยนั้น)แล้วท่านจะนั่งตรวจดูอาการคืนหนึ่งก่อน
    จึงจะปรุงยาให้ไปเมื่อคนไข้ได้รับยานั้นไปรับประทานแล้วจะหายแทบทุกราย

    ในส่วนสายพระเวทด้านอักขระพระคาถาไม่เป็นที่เปิดเผยกันมากนักทราบเพียงแต่ว่าหลวงปู่หิ่มท่านสุดยอดในสายพระเวทคาถามีอะไรแปลกๆอยู่เสมอในส่วนการสักยันต์นั้นหลวงพ่อเปิ่นท่านรับมาจากหลวงปู่หิ่มเต็มๆพ.ศ.๒๔๙๕หลวงปู่หิ่มก็มรณภาพลงพ.ศ.๒๔๙๖-พ.ศ.๒๖๑๖พระอธิการทองอยู่ปทุมรตนเป็นเจ้าอาวาสพ.ศ.๒๕๑๘-พ.ศ.๒๕๔๕พระอุดมประชานาถ(หลวงพ่อเปิ่น)เป็นเจ้าอาวาส
    ความเป็นมาของอุโบสถหลังเก่าของวัดบางพระนั้นไม่มีการบันทึกเอาไว้ว่าสร้างในสมัยใดมีเพียงการคาดคะเนเอาตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันคำนวณเอาจากอายุของเนื้อแท้ของถาวรวัตถุลักษณะโบสถ์เป็นแบบมหาอุตม์พื้นที่ภายในกำแพลงแก้วยกดินสูงมีสถูปเจดีย์ล้อมรอบสี่ด้านด้านหน้าหันออกสู่แม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน)ด้านหน้ามีเรือสำเภาก่ออิฐถือปูนกลางลำเรือก่อขึ้นไปเป็นเจดีย์เป็นการบ่งให้ทราบว่าแถบถิ่นแถวนี้มีการค้าขายกันทางเรือเมื่อชุมชนขยายผู้คนเข้ามาอาศัยกันมากขึ้นล่วงมาจนหลวงปู่หิ่มท่านเล็งเห็นว่าอุโบสถหลังเก่านั้นเล็กเกินไปเมื่อทำสังฆกรรมจึงไม่ค่อยสะดวกไม่พอที่จะรองรับญาติโยมเป็นจำนวนมากและสภาพของโบสถ์นั้นก็ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาโบสถ์หลังใหม่ของวัดบางพระจึงกำเนิดขึ้นมาในสมัยนั้นในการสร้างโบสถ์หลังใหม่นั้นท่านได้เกณฑ์พระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านมาช่วยกันทำโดยการชักลากไม้ในป่าแถวนั้นเล่ากันต่อๆมาว่าพื้นที่แถบนั้นยังเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยต้นไม้และสัตว์ป่านานาชนิดโดยมีชาวบ้านมาช่วยกันอย่างมืดฟ้ามัวดินทั้งนี้เป็นเพราะบุญบารมีของหลวงปู่หิ่มนั่นเองโบสถ์หลังใหม่ที่หลวงปู่หิ่มสร้างใหม่นั้นค่อนข้างใหญ่โตในละแวกคุ้งน้ำนครชัยศรีนับ
    เนื่องแล้วเวลานั้นถือเป็นหนึ่งได้ทีเดียวเสาที่สร้างโบสถ์เป็นไม้ขนาดใหญ่ส่วนเพดานโบสถ์ปูด้วยแผ่นไม้กระดานทั้งหมดภายในพระอุโบสถประดิษฐานหลวงพ่อโต(พระประธาน)ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมารหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมากในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่๒เคยปรากฏว่ามีคนเห็นองค์หลวงพ่อโตมีน้ำตาไหลออกมาจากพระเนตรทั้งสองสาธุชนที่เข้าบนบานต่อองค์หลวงพ่อโตมักจะประสบผลสำเร็จในทุกอย่างการบนบานหลวงพ่อโตท่านชอบว่าวจุฬาและประทัด

    หลวงปู่หิ่มสร้างโบสถ์หลังใหม่แล้วเสร็จในปีพ.ศ.๒๔๗๐จนกระทั่งล่วงมาถึงยุคสมัยของหลวงพ่อเปิ่นปกครองวัดบางพระศาสนวัตถุเริ่มทรุดโทรมลงไปโบสถ์ที่ทำสังฆกรรมซึ่งทำมาจากไม้เริ่มผุกร่อนเพดานโบสถ์หักพังมีรูรั่วอยู่ทั่วไปฝนตกลงมาพระภิกษุสงฆ์ทำสังฆกรรมไม่สะดวกได้รับความเดือดร้อนกันมากจึงเริ่มที่จะทำการบูรณะกันใหม่เปลี่ยนจากเสาไม้มาเป็นเสาปูนเพดานก็เทคานพื้นเพดานเทปูนทั้งหมดเพื่อความคงทนในการบูรณะนั้นค่อนข้างจะเป็นงานใหญ่เพราะต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมากช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีร้านค้าบริษัทโรงงานได้ปิดกิจการเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังหลวงพ่อเปิ่นในสมันนั้นยังไม่ค่อยมีชื่อเสียงมากมายสักเท่าไหร่ถนนหนทางที่เข้าไปยังวัดบางพระยังขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อพอฝนตกลงมาสภาพถนนกลายเป็นโคลนตมสาะชนที่เข้าไปในวัดบางพระในเวลานั้นเข้าไปด้วยพลังศรัทธาอันสูงส่งต่อหลวงพ่อเปิ่นเข้ากราบด้วยศรัทธาอันใสบริสุทธิ์ บุญบารมีของหลวงพ่อเปิ่นในการจรรโลงพระศาสนาในการสร้างศาสนวัตถุแม้ท่านจะลำบากตรากตรำทำงานหนักเพียงใดท่านไม่เคยบ่นหรือย่อท้อยิ้มแย้มแจ่มใสเต็มไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่งเมตตาธรรมที่ท่านมอบให้กับสาธุชนที่เข้ากราบสาธุชนที่เดือดร้อนทุกข์ยากพระเครื่องเหรียญวัตถุมงคลที่ท่านมอบให้ไปนั้นเกิดเป็นประสบการณ์อย่างมากมายจนถึงปัจจุบันต่างยอมรับกันว่าหลวงพ่อเปิ่นท่านเป็นพระแท้ที่สร้างสมบารมีด้วยการพัฒนาจนลือเลื่องยอมรับกันไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศในเวลานี้
    ลำดับเจ้าอาวาส
    รูปที่ ๑ ฯลฯ พ.ศ. ถึง พ.ศ.
    รูปที่ ๒ ฯลฯ พ.ศ. ถึงพ.ศ.
    รูปที่ ๓ พระอธิการเฒ่า พ.ศ.๒๓๓๐ ถึง พ.ศ.๒๓๗๙
    รูปที่ ๔ พระอธิการวัชร ์พ.ศ.๒๓๘๐ ถึง พ.ศ.๒๔๑๙
    รูปที่ ๕ พระอธิการแพ พ.ศ.๒๔๒๐ ถึง พ.ศ.๒๔๔๐
    รูปที่ ๖ เจ้าอธิการหิ่ม อินฺทโชโต พ.ศ.๒๔๔๑ ถึง พ.ศ.๒๔๙๕
    รูปที่ ๗ พระอธิการอยู่ปทุมรัตน พ.ศ.๒๔๙๖ ถึง พ.ศ.๒๕๑๖
    รูปที่ ๘ พระอุดมประชานาถ(เปิ่น ฐิตคุโน) พ.ศ.๒๕๑๗ ถึง พ.ศ.๒๕๔๕
    รูปที่ ๙ พระครูอนุกูลพิศาลกิจ(สำอาง ปภสฺสโร) พ.ศ.๒๕๔๕ ถึงปัจจุบัน
    สังกัดมหานิกาย อยู่ในการปกครองคณะสงฆ์ตำบลวัดละมุด(วัดศรีมหาโพธิ์) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมภาค ๑๔


     
  18. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]

    การสักยันต์
    วัฒนธรรมการสักบนผิวหนัง การสักลวดลายบนผิวหนังหรือที่เรียกว่าสักลายหรือสักยันต์เป็นวัฒธรรมอย่างหนึ่งของไทย ที่มีมาช้านานแต่ทุกวันนี้ลายสักหรือสักยันต์ตามความเชื่ออย่างโบราณแทบจะไม่มีแล้ว จะมีเพื่อความสวยงามเป็นการตกแต่งเสริมความงามให้กับร่างกายบ้างแต่ไม่มากนัก
    เรื่องราวของลายสักของคนไทยเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่ง แต่ดูเหมือนจะไม่มีใคร สนใจใคร่ศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่งและนับวันจะสูญหายไป
    "สัก" คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ.๒๕๒๕ เขียนว่า "สัก" คือ การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่างๆ กันใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันงาผสมว่าน ๑๐๘ ชนิดเป็นต้นแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมายหรือลวดลายถ้าใช้หมึกเรียกว่าสักหมึก, ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่าสักน้ำมันทำเครื่องหมายสักเพื่อแสดงเป็นหลักฐานเช่น "สักข้อมือแสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือมีสังกัดกรมกองแล้วสักหน้าแสดงว่าเป็นผู้ต้องโทษปราชิกเป็นต้น" จากคำอธิบายดังกล่าวทำให้รู้ว่าการสักลายหรือลายสักของไทยคืออะไร ประเพณีการสักนั้นมีไม่แพร่หลายนักบางหมู่บ้านจะพบว่าผู้ชายไม่ว่าหนุ่มหรือแก่มักมีลายสักที่หน้าอกและแผ่นหลังตามสมัยนิยมในขณะที่ผู้ชำนาญในการสักของท้องถิ่นแสดงความสามารถที่สืบทอดมาอย่างเต็มที่ผู้ที่ทำหน้าที่สักมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส (คนธรรมดา)
    ในอดีตสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสักไม่ได้รับความสนใจเหมือนอดีต คือชาวเมืองและรวมถึงผู้คนทั่วไปมองว่าผู้ที่มีลายสักเป็นคนชั้นต่ำ เป็นนักเลงความคิดเช่นนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตกที่มองผู้ที่มีลายสักว่าส่วนใหญ่มักเป็นกลาสีขี้เมาหรือคนจรจัด คนเมืองจึงเกิดความรู้สึกว่าลายสักเป็นวัฒนธรรมของคนบ้านนอกคนไม่มีการศึกษา ทัศนคติเช่นนี้มิได้มีแต่คนกรุงเทพฯ เท่านั้นแต่แพร่ไปสู่เมืองอื่นๆ ด้วย โดยคิดว่า การสักลายเป็นเรื่องของคนจน กรรมกร และคนบ้านนอก ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องลายสัก จึงกระทำได้ยากในปัจจุบัน เพราะคนที่มีลายสักมักจะปกปิดลายสักไว้อย่างมิดชิด ผู้ที่จะให้ข้อมูลและเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับการสักจะเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อในอำนาจของศิลปะโบราณนี้เท่านั้น
    การศึกษาค้นคว้าศิลปะชาวบ้านประเภทนี้ ควรจะได้รับการศึกษาบันทึกเกี่ยวกับการออกแบบ กรรมวิธีและพิธีกรรม ศึกษาเปรียบเทียบแต่ละกลุ่มชน ศึกษาค่านิยมและความเปลี่ยนแปลง ศึกษาการสักที่สืบทอดมาแต่โบราณ การสักมีรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่ ๒ รูปแบบคือ ลายสักที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ และลายสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ แต่ละรูปแบบจะมีวิวัฒนาการตามแบบฉบับของมันและแสดงให้เห็นรูปแบบของธรรมเนียมในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในแต่ละแง่แต่ละมุมของลายสักที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย
    นักประวัติศาสตร์ซึ่งคุ้นเคยกับชีวิตแบบไทย ๆ คงจะทราบความจริงว่าข้าราชการของไทยจะทำตำหนิที่ข้อมือคนในบังคับซึ่งเป็นหน้าที่ของแผนกทะเบียนเป็นผู้บันทึกและรวบรวมสถิติชาย และอาจะเดาได้ว่าการสักเป็นจุดเริ่มต้นขอการแบ่งส่วนราชการของไทย หรือการสักเป็นไปตามการแบ่งส่วนราชการ การทำเครื่องหมายลงบนร่างกายนี้อาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ( พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ )
    การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ วัตถุประสงค์ของการสัก ผู้ชายบางคนจะสักยันต์ด้วยเหตุผลทางเวทมนต์คาถาเพื่อความแข็ง แกร่งของจิตใจและต้องการอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประเพณีนิยมใน ชนบางกลุ่ม การสักลักษณะนี้จะสักให้เฉพาะชายฉกรรจ์เท่านั้น การสักมีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ก่อนทำการสักจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครู ในการสักนั้นก็จะประกอบด้วยการร่ายเวทมนต์โดยอาจารย์สักจะถูผิวหนังของผู้มาสักทั้งก่อน ขณะสักลายหรือสักยันต์ และหลังจากสักเสร็จแล้ว อาจารย์สักแต่ละคนจะมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง และผู้ที่ต้องการจะสักสามารถเลือกลายที่อาจารย์มีอยู่ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นสัตว์ในเทพนิยาย และ เป็นอักขระขอมและเลขยันต์ อาจจะสักลายทั้งสามประเภทผสมกัน ดังนั้นลายสักของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
    การสักในประเทศไทยอาจจะมีมาแต่โบราณ แต่จะมีมาตั้งแต่สมัยใด ไม่มีหลักฐานชัดเจน การสักยันต์เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อว่ามีมานานแล้วดังปรากฎในวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผน และวรรณกรรมอื่นๆ แต่การสักมักมองว่าเป็นเรื่องของนักเลง ถูกมองไปในทางลบ ทำให้ศิลปะบนผิวหนังประเภทนี้เกือบจะสูญไปจากสังคมไทย
    เหตุผลที่การสักยังคงมีอยู่คือ หลาย ๆ คนยังเชื่อว่าการสักจะทำให้มีโชคและอยู่ยงคงกระพันพ้นอันตราย รูปแบบของการสักแต่ละชนิดจะมีความขลังที่แตกต่างกัน ลายสักหรือยันต์บางชนิดสามารถช่วยผู้ที่สักให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ยุ่งยากได้ สัญลัษณ์บางอย่างของลายสักสามารถทำให้ผิว หนังเหนียวได้ ศัตรูยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เชื่อว่าการสักจะช่วยให้รอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้ายได้ด้วย
    นอกจากนี้ การสักทางไสยศาสตร์ยังเชื่อมโยงกับการระวังอันตรายและความปลอดภัย ทำให้แคล้วคลาดต่ออันตรายต่างๆ ศิลปะพื้นบ้านประเภทนี้ อาจจะกระตุ้นความรู้สึกให้เกิดศรัทธาความเชื่อมั่น เกิดความมั่นใจ มันอาจเป็นเครื่องแสดงความจริงต่างๆ วัฒนธรรมสมัยใหม่นั้นเมื่อมองแล้วอาจจะไม่ทำให้ปลอดภัย ส่วนวัฒนธรรมการสักยันต์จึงช่วยให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจเขามีความมั่นใจมั่นคงมากยิ่งๆ ขึ้น
    ลายสักยอดนิยม ลวดลายสักแต่ละสำนักแต่ละครูอาจารย์มักจะมีความคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ลายเสือเผ่นลายหนุมาน ลายยันต์ชนิดต่างๆ ฯลฯ จะแตกต่างกันที่รายละเอียดในส่วนปลีกย่อย เท่านั้น เช่น ถ้าเป็นลายหนุมาน แต่ละอาจารย์ก็จะคงรูปร่างลักษณะและโครงร่างของหนุมานไว้แต่จะมีความแตกต่างกันที่รายละเอียดของนิ้วมือ นิ้วเท้า และเครื่องประดับของหนุมานเป็นต้น
    ลวดลายที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในบรรดาผู้ที่นิยมการสักคือ ลวดลายสักที่ให้ผลทางไสยศาสตร์ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือเพื่อผลทางเมตตามหานิยม และเพื่อผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีให้แคล้วคลาดจากของมีคม อุบัติเหตุ หรืออันตรายทั้งปวถ้าเป็นการสักเพื่อผลทางเมตตามหานิยมมักจะสักเป็นรูปจิ้งจก หรือนกสาริกาเพื่อเป็นตัวแทนของความมีเสน่ห์เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป โดยเฉพาะให้ผลดีทางการเจรจา ค้าขายทำให้เจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้น
    ส่วนลายสักเพื่อผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี จะนิยมสักลวดลายซึ่งเป็นตัวแทนความดุร้ายความปราดเปรียว ความสง่างาม ความกล้าหาญ ได้แก่ลายเสือเผ่น หนุมานคลุกฝุ่น หงส์ และลายสิงห์ เป็นต้น หรือเป็นลายที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันภยันตราย เช่น เก้ายอด ยันต์เกราะเพชร หรือลายยันต์ชนิดต่างๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นแก่นแท้ของการสักเพื่อผลทางไสยศาสตร์ และถือกันว่าเป็นหัวใจของการสักคือ หัวใจของคาถาที่กำกับลวดลายสักแต่ละลายอยู่ เพราะสิ่งนี้คือเคล็ดลับวิชาคาถาอาคมที่เป็นวิชาชั้นสูงของแต่ละอาจารย์สักที่จะไม่เปิดเผยให้แก่ผู้ใดเป็นอันขาดนอกจากลูกศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้รับถายทอดวิชาสักของอาจารย์สืบต่อไป
    นอกจากนั้นยังมีผู้นิยมสักเพื่อความสวยงาม ซึ่งการสักเพื่อความสวยงามจะไม่เกี่ยวข้องกับกับการเพื่อผลทางไสยศาสตร์แต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นการสักเฉพาะรูปสวยเฉยๆ ไม่มีการลงหัวใจของอักขระเลขยันต์ต่างๆ หรือลงอักขระกำกับรูปภาพ ลวดลายสักจึงมักขึ้นอยู่กับความต้องการหรือรสนิยมของผู้สัก เช่น รูปผู้หญิงเปลือย ผีเสื้อ ดอกไม้ หัวใจ ฯลฯ โดยรูปภาพเหล่านี้จะบอกนิสัยใจคอของผู้สักหรือบอกอดีตที่เป็นความประทับใจหรือความทรงจำของผู้สักที่ต้องการประทับตราไว้กับตัวเขาตลอดไป เช่น ชื่อคน ชื่อประเทศ วันเดือนที่สำคัญ เป็นต้น
    ลายสักดังกล่าวจะต้องถูกสักอยู่ในตำแหน่งที่ถูกที่ควร ไม่เช่นนั้นความขลังจะไม่เกิด โดยมากผู้มาสักประสงค์จะให้ลายสักอยู่ภายในร่มผ้ามากที่สุด ตำแหน่งที่นิยมสักเรียงตามลำดับดังนี้คือ บริเวณหลัง หน้าอก คอ ศีรษะ ไหล่ แขน ชายโครง หน้า มือ และหัวเข่า
    แดวงคนสักลาย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสักคือเพื่อผลทางไสยศาสตร์ จึงต้องสักโดยครูอาจารย์ที่มีวิชาอาคมศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะเท่านั้น ฆราวาสหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่มีวิชาความรู้ทางด้านนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ ครู และอาจารย์และช่างสักส่วนใหญ่จึงเป็นพระภิกษุ หรือเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป และความศักดิ์สิทธิ์ของการสักก็มักจะได้รับการทดสอบจนเห็นผลเป็นที่ร่ำลือมาแล้ว
    จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่งให้ความรู้ว่า ปัจจุบันอาจารย์สักที่ลงคาถาอาคมและมีอานุภาพดังคำร่ำลือมีไม่เกิน ๑๐ สำนักในเมืองไทย ผลการศึกษาของนักวิชาการระบุออกมาว่า อาจารย์สักส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป มีประสบการณ์มากกว่า ๒๐ ปี อาจารย์สักถ้าเป็นผู้หญิงจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เช่นเดียวกับผู้ที่มารับการสักโดยมากจะเป็นผู้ชาย จะเป็นผู้หญิงก็เป็นส่วนน้อย ซึ่งมักจะมาสักเพียงเพื่อต้องการจะดึงดูดเพศตรงข้าม หรือต้องการจะมีเสน่ห์ในการพูดจาเพื่อค้าขายได้คล่อง ฉะนั้นลายสัก นะหน้าทอง และสาริกาลิ้นทอง จึงเป็นลายสักที่ นิยมในเพศหญิง ตรงกันข้ามกับฝ่ายขายที่มีความกระหายอยากจะได้ของดีติดตัวคือเหตุผลที่มาเป็นอันดับหนึ่ง ความศรัทธาเชื่อมั่นในครูอาจารย์และเพื่อนฝูงญาติพี่น้องชักชวนให้มาสัก เป็นเหตุผลที่รองลงมาแต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ชายหรือหญิงคนนั้นจะต้องมีใจรักและเชื่อมั่นในเรื่องนี้อย่างเหนียวแน่น เท่าที่ผ่านมาผู้ที่ได้รับการสักครั้งแรกไปแล้วก็มักจะกลับมาสักอีกครั้งเป็นอย่างน้อย บางคนอาจถึง ๑๐ ครั้งขึ้นไป
    อย่างไรก็ตาม แม้ทุกวันนี้จะมีผู้เชื่อมั่นและศรัทธาในการสักอยู่ แต่ก็นับว่าลดลงไปมากเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา และนับวันข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับลายสักจะสืบค้นได้ยากยิ่งขึ้น เป็นเพราะขาดผู้รู้ผู้ชำนาญ อาจารย์บางท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์ ทำให้นับวันผู้ที่รู้วิชานี้ยิ่งลดน้อยลงทุกที อีกทั้งสังคมปัจจุบันไม่ค่อยยอมรับคนที่มีลายสักโดยดุษณีเช่นแต่ก่อนอีกแล้วในทางกลับกันทัศนคติของคนไทยในวันนี้กลับมองว่าคนที่มีรอยสักเป็นผู้ที่มีการศึกษาน้อย เป็นผู้มีอาชีพใช้แรงงาน เป็นนักเลงหัวไม้ หรือเข้าใจหนักลงไปอีกว่า คนที่สักลายคือ พวกขี้คุกขี้ตรางที่มีลายสักซึ่งสักกันเองภายในเรือนจำ ประกอบกับการสักเป็นอุปสรรคในการรับราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน
    ความเสื่อมอีกประการหนึ่ง ผู้ได้รับการสักปฏิบัติตนไม่เหมาะสมใช้ผลของการสักทางไสยศาสตร์หรือการอยู่ยงคงกระพันชาตรีไปในทางที่ผิด เช่น โอ้อวด ท้าทาย ประลองต่อสู้กับผู้อื่น ทำตนเป็นมิจฉาชีพ ก่ออาชญากรรม ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ค่านิยมของคนที่มีต่อลายสักเป็นไปในทางลบยิ่งขึ้น
    ผู้ที่มีลายสักจำนวนไม่น้อยที่อยากจะลบรอยสักนั้นทิ้งเสีย อาจด้วยความรู้สึกว่าเมื่ออายุมากขึ้นลายสักบนผิวหนังกายทำให้แลดูสกปรกเลอะเทอะ หรือทำให้คนตั้งข้อรังเกียจไม่อยากเข้าใกล้ เป็นต้น ในบางรายก็ค้นพบด้วยตนเองว่าการสักไม่ได้ให้ผลทางไสยศาสตร์แก่ตนแต่อย่างใดเพราะความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันทำให้ไม่สามารถยึดถือปฏิบัติสัจจะที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัดได้ ทว่า การลบรอยสักนั้นเป็นไปได้ยากมากเพราะหมึกที่ใช้สักถูกฝังลึกเข้าไปถึงชั้นของหนังแท้ ถ้าลบออกจะทำให้เกิดแผลเน่าน่าเกลียด แต่ก็อาจทำได้โดยกรรมวิธีศัลยกรรมตกแต่ง คือ ลอกผิวหนังตรงที่มีรอยสักทิ้งไป แล้วเอาผิวหนังส่วนอื่นของร่างกายปะไว้แทน แต่ก็จะเป็นรอยแผลเป็นอยู่ดี ฉนั้นจึงกล่าวได้ว่าการที่จะลบรอย สักโดยไม่ให้เหลือร่องรอยปรากฎอยู่เลยนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2009
  19. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]

    ****** ลายสัก สายวัดบางพระล้วนๆๆเลยครับ ******
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  20. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]

    **ลายมือหลวงพ่อเปิ่น ยันต์หอมเชียง**
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2009
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...