ขออนุญาติถามเรื่องประสบการณ์ ญาญ ครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย สราวุธ ลำพูน, 2 สิงหาคม 2007.

  1. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    กระผมเองได้นั่งสมาธิชั่วขณะประมาน1 นาที แบบขัดสมาธิเพรชแต่มือขวาปล่อยตกไปแตะพื้น แบบสบายตัว

    1.ลำดับแรกผมก็จับอาณาปณสติควบพุทธานุสติ หายใจเข้าพุทออกโท จิตของผมนั้นก้ฟุ้งซ่านเล็กน้อย

    2.เมื่อถึงเวลาประมานเล็กน้อยชั่วขณะจิตของผมแต่ไม่รู้ว่ากี่นาทีความฟุ้งซ่านก็หายไป สมองไม่ได้คิดอะไร แล้วก้ไม่ได้นึกอะไร มีความรู้สึกว่าโปร่ง แต่ระหว่างนั้นอาการของปิติก็ไม่ได้เกิด (ปิติทั้ง5)เพียงแต่คงความสดชื่นไม่อยากออกจากกรรมฐานเท่านั้น หูได้ยินเหมือนกัน แต่เหมือนไม่ได้ยินเหมือนผมไม่ใส่ใจและเผลอไม่รู้ว่าหายใจเข้าออก แต่ถ้าเผลอนึกออกได้ก็ได้ยิน ก็หายเข้าใจ

    3.มีอาการเหมือนคนง่วงหลับแต่ก็รู้ตัว หัวไม่สัปงกแต่ก็เข้าไม่ได้เพราะถ้าความรู้สึกนั้นเข้ามากระผมก็กลับมาเหมือนอาการ ที่2

    4.ถ้าอาการของบางวันเกิดเกินขั้นที่3ก้จะกลับกลายมาเห็นคน บ้างสัตว์บ้าง แต่กายแปลกๆโดยที่เรา ไม่นึกถึงมาก่อน แต่ภาพนั้นชัดเจนมาก เห้นหน้าชัดเจน แต่ไม่สนใจ ในขณะที่ไม่สนใจนั้น ก็ปรากฏว่า ภาพยิ่งมาเรื่อยๆ เหมือนไล่ตั้งแต่ยุคโบรานนุ่งห่มแบบโบราน มั่ง พระกับโบสแบบเก่าๆมั่ง เทียนพรรษามั่ง ยาจก หน้าเหมือนคนอินเดียมั่งเป้นต้น แต่ถ้าลองดูภาพเหล่านั้นภาพไดภาพหนึ่ง ก็รู้ว่าอยู่ได้นาน มองหน้ากันได้ แต่คุยไม่ได้

    5.หลังจากผมคิดว่าผมจะพอละ จออกจากกรรมฐานหละ มีความรู้สึกเหมือนกับว่า เรากำลังเดินออกไปประตูสัก10เมตร ถึงจะมาอยู่มองเห็นที่เรานั่งสมาธิอยู่(เปรียบเที่ยมความรู้สึกขณะนั้นเหมือนการเดินออกไปที่ประตู แต่ความจริงเราไม่ได้เดิน) และกว่าจะลืมตาขึ้นได้ ก็เหมือนกับว่ามันลำบาก

    6.อาการทั้งหมดนี้ เหมือนยาวนานมาก แต่ก้นั้งได้แค่ 30 นาทีเท่านั้น สาเหตุที่ต้องออกไม่ไช่ถึงที่สุดของความพยายาม แต่เนื่องด้วยเวลาบังคับ
    อาการทั้งหมดนี้ ขอให้ท่านผุ้รู้ ช่วยพิจารณาอาการของกระผมด้วยครับ ว่าผมได้อะไรมามั่งได้ ขณิกสมาะหรือเปล่า หรือเป้นต้นเหตุบ่งบอกถึงอ่ะไร เรียนถามท่านผู้รู้ทีครับ..ขอบคุณครับ
     
  2. countdown

    countdown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,016
    ค่าพลัง:
    +3,165
    เหมือนพี่ชายผมเลยแกไปนั่งที่สวนมาอาการแบบเดียวกันเลยละแต่มีวิญาณมาหาแกตลอดตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบัน ซามูไรยังมาเลยแกบอก
     
  3. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    อยากให้ลองหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านน่ะครับ สามารถนำมาเป็นแผนที่ในการปฏิบัติได้เลยครับ

    การพัฒนาจิต
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/P-6.htm
     
  4. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    หนักไปในอารมณ์ของสมาธิ แต่สติไม่มากพอจึงเคลิ้มเหมือนจะหลับ ถ้าเผลอสติอีกนิดก็จะตกภวังค์ (หลับ) ไปเลย นิมิตที่เห็นอาจไม่ใช่ของจริง เพราะจิตสร้างได้แม้แต่ นรก-สวรรค์-นิิพพานของตัวเอง ดังนั้นอย่าไปยึดถือ เมื่อหมดกิิเลส สิ้นความยึดถือแล้วนั่นแหละจึงจะพอมั่นใจในนิมิตที่เห็นได้ว่าเป็นของจริง

    ควรฝึกสติให้มากขึ้นครับ และสุขภาพร่างกายก็มีผลต่อการเจริญสติ-สมาธิด้วย
     
  5. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เป็นอาการของคนที่มีความคิดฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ โดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว
     
  6. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    ลุง!
     
  7. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ขอบคุญมากครับ ทุกข้อท้วงติง ยินดีครับที่มีโอกาศได้สนทนาด้วย สงสัยผมคงมี อุทัจจะ มากเกินไป สงสัย วิจจิกิฉา มากเกินไป สงสัย ว่ากระผมเน้นเกินไป สงสัยว่ากระผม ไม่พิจารณา มหาสติปัติฐานสูตร สงสัยที่ผม ยังไม่ละใน นิวรณ์5 สงสัยกระผม ยังไม่เข้าใจเรื่องขั้นตอน สงสัยเพราะผม ไร้ซึ่งคนช่วงสั่งสอนครับ 555
     
  8. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ....
    คำว่าหนักไปในอารมณ์ สมาธิ หมายถึงอย่างไรครับท่าน
     
  9. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    .....
    ผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งครับ ว่า ก่อนที่ผมจะอยู่ในภาวะที่ท่านหนึ่งได้พูดว่าอยู่ในภวังนั้น สติผมจับกับลมหายใจเข้าออก ไม่ได้ไหลไปไหนเลย แล้วอาการได้ยิน หรือรับรู้ ก็เหมือนกับเราไม่ได้ยิน ส่วนนี้ เป็นส่วนที่กระผมฟุ้งซ่านหรือไม่ ครับท่านผู้รู้
     
  10. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    เท่าที่เล่ามาข้างบนนี้ี้ ไม่ใช่ความฟุ้งซ่านครับ แต่เป็นตัวสมาธิที่จับอยู่กับลมหายใจ จนไม่ใส่ใจในสิ่งรอบข้าง ราวกับว่าไม่ได้ยินเสียงอะไร เหมือนเวลาเราอ่านหนังสืออย่างจดจ่อ หรือเวลาเรากำลังคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่อย่างจดจ่อ ใครมาเรียกเราอยู่ข้างๆ เราก็อาจไม่ได้ยิน จนคนเขาคิดว่าเราใจลอยฟุ้งซ่าน แต่จริงๆแล้วเป็นเพราะการทำงานของสมาธิในการอ่าน หรือการใช้ความคิดต่างหาก
     
  11. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,168
    นิมิต แปลว่า เปลี่ยนไปเรื่อยท่าจะจริง
    การทำสมาธิ หัวใจอยู่ที่การกำหนดรู้ คือ สติ ๆ เป็นมรรคย่อมกำจัดสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์กับสมาธิ คุณสราวุธ ยังโดนกิเลสปรุงแต่ง ลากไปถึงประตูตั้ง 10เมตร
    ไม่เป็นไรสู้กันใหม่ ตุ๊เจ้าเชียงใหม่เอาใจช่วย

    เจริญพร

    สาธุเจ้า 12
     
  12. Baby_par

    Baby_par เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2007
    โพสต์:
    2,743
    ค่าพลัง:
    +3,265
    จิตคนเราจะหยาบ ถ้าเกิดหมั่นทำบุญ ถือศีล นั่งสมาธิ หรือทำใจให้สงบแล้วจากจิตที่หยาบจะกลายเป็นจิตที่ระเอียดค่ะ เเล้ววิญญาณหรือผีเป็นพลังงานที่ระเอียด พอจิตเราละเอียดก็จะเห็นค่ะ >"<
     
  13. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    เป็นการเลื่อนขึ้นลงของสมาธิ นับจากขณิกสมาธิ อุปาจารสมาธิ ฌาน1 และฌาณ2

    ช่วงที่เกิดนิมิตของคุณ เป็นอุปาจารสมาธิระดับลึก (คนที่ฝึกอานาปานุสสติ จะมีอาการนิ่ง เข้าในๆๆๆ) แต่นิมิตนั้นแหละ เป็นเหตุให้จับสนใจมัน โดยละเลยการพัฒนาสมาธิให้สูงยิ่งๆขึ้นไป หากติดในนิมิต ก็จะอยู่แค่อุปาจารสมาธิ ไม่เข้าไปถึงฌาน 1 2 3 4 ได้

    วิธีการ คือ อย่าไปสนใจนิมิต เป็นอะไรมาก็ช่าง เฉยลูกเดียว ภาวนาดูลมหายใจไป แต่ถ้าถึงขึ้นหยุดภาวนาไปเองแล้ว และเสียงต่างๆ สิ่งรอบข้าง ไม่สนใจ มีความสุข นิ่งอยู่ พึงทราบว่าเป็นฌาน 2 ให้นิ่งๆ ต่อไป จะเข้าฌาน 3 อาการภายนอกดับ จะรู้ได้ถึงจิตกับกายแยกกันคนละส่วนชัดเจน เมื่อถึงฌาน 4 จะเกิดแสงสว่างโพงขึ้นมาทีเดียว จนสังเกตได้ ใจตอนนั้นจะนิ่งเฉย สว่างโพง
    บางทีอาจมีอารมณ์สุขใจ สลับกับนิ่งบ้าง นั้นคือ เกิดการสลับฌานกัน เดี๋ยว 3 เดี๋ยว 4 มันหากเป็นไปเอง

    ขอให้ทุกท่าน จงมีความเจริญในธรรม ยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด
     
  14. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    กระผม ขอน้อมรับทุกข้อความที่มีเจตนาที่ดี ทุกท่าน เพื่อกระผมเองจะได้พัฒาตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิมครับ..
     
  15. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    การเจริญสมาธิโดยนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร จะให้ความรู้สึกที่หนักแน่นและมั่นคง และเมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้กำลังศรัทธาและกำลังสติเข้าต่อสู้กับเวทนา(ความรู้สึกต่างๆ) โดยไม่มีกำลังสมาธิหรือฌานเป็นเครื่องอาศัย (ไม่อยู่ในสมาธิหรือฌาน) เวทนาที่เกิดขึ้นจะมีความเผ็ดร้อนมากกว่าปกติ ถ้าสามารถทำความเพียรต่อโดยพิจารณา(กำหนดในความรู้สึก) ว่าเวทนานี้ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตน เป็นเพียงสภาวะตามธรรมชาติ แล้วสามารถทรงอารมณ์เป็นอุเบกขาตั้งอยู่ได้ จะทำให้อินทรีย์ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) มีกำลังเพิ่มขึ้น การภาวนาจะก้าวหน้าได้เร็ว

    ในข้อนี้ 2.เมื่อถึงเวลาประมาณเล็กน้อยชั่วขณะจิตของผมแต่ไม่รู้ว่ากี่นาทีความฟุ้งซ่านก็หายไป สมองไม่ได้คิดอะไร แล้วก็ไม่ได้นึกอะไร มีความรู้สึกว่าโปร่ง แต่ระหว่างนั้นอาการของปิติก็ไม่ได้เกิด (ปิติทั้ง5)เพียงแต่คงความสดชื่นไม่อยากออกจากกรรมฐานเท่านั้น หูได้ยินเหมือนกัน แต่เหมือนไม่ได้ยินเหมือนผมไม่ใส่ใจและเผลอไม่รู้ว่าหายใจเข้าออก แต่ถ้าเผลอนึกออกได้ก็ได้ยิน ก็หายเข้าใจ เข้าสู่อุปจารสมาธิเต็มขั้น ความรู้สึกว่าโปร่งหรือเบาคืออาการของปิติ ส่วนความรู้สึกสดชื่น(เหมือนอิ่มอยู่ภายใน)คือสุข ถ้าสติมีกำลังสามารถทรงอารมณ์ให้ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงกว่านี้ ก็จะเข้าสู่ฌาน 1 แล้วละครับ ทำต่อนะครับ

    ส่วนข้อ 4.ถ้าอาการของบางวันเกิดเกินขั้นที่3ก้จะกลับกลายมาเห็นคน บ้างสัตว์บ้าง แต่กายแปลกๆโดยที่เรา ไม่นึกถึงมาก่อน แต่ภาพนั้นชัดเจนมาก เห้นหน้าชัดเจน แต่ไม่สนใจ ในขณะที่ไม่สนใจนั้น ก็ปรากฏว่า ภาพยิ่งมาเรื่อยๆ เหมือนไล่ตั้งแต่ยุคโบรานนุ่งห่มแบบโบราน มั่ง พระกับโบสแบบเก่าๆมั่ง เทียนพรรษามั่ง ยาจก หน้าเหมือนคนอินเดียมั่งเป้นต้น แต่ถ้าลองดูภาพเหล่านั้นภาพไดภาพหนึ่ง ก็รู้ว่าอยู่ได้นาน มองหน้ากันได้ แต่คุยไม่ได้ ภาพนิมิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ในระดับอุปจารสมาธิ นิมิตสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน อันนี้เป็นนิมิตภายใน เกิดจากสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ปรุงแต่งขึ้นมา เรื่องนิมิตนี้ครูบาอาจารณ์ท่านสอนให้ละครับ ไม่มีประโยชน์ที่จะตามดู ดูเป็นปีก็ไม่หมดครับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า (นิมิตอันนี้ไม่เกี่ยวกับนิมิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่งดวงกสิณนะครับ คนละอย่างกัน)

    ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ญาณนะครับ จะต้องได้ฌานก่อนจึงจะเจริญให้เกิดญาณได้

    ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ
    ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
  16. pk96025

    pk96025 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +14
    สวัสดีคะทุกคน

    ดิฉันเป็นสมาชิกใหม่ พอดีมีข้อสงสัยคล้ายๆกับของคุณสราวุธ ขออนุญาติถามต่อเลยนะคะ ดิฉันขอให้ผู้รู้ช่วยกรุณาตอบหน่อยเพราะดิฉันไม่ทราบว่าจะไปถามใครที่ไหน บอกตรงๆว่าห่างวัดคะ

    ส่วนตัวดิฉันเพิ่งเริ่มนั่งสมาธิไม่นาน ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการนั่งสมาธิเป็นเรื่องเป็นราว อาศัยถามน้องที่ทำงานเป็นแนวทางแล้วมาลองทำเองที่บ้าน ศัพท์แสงก็ไม่เข้าใจ ดิฉันขอรบกวนคำอธิบายแบบพื้นๆนะคะ

    ดิฉันเคยนั่งสมาธิมาถึงจุดที่ไม่รู้สึกตัวว่าหายใจอยู่ รู้สึกสบายและคิดว่าเข้าใจถึงคำว่าปิติ แต่ทำได้แปลบเดียวก็หลุด ดิฉันไม่เคยเห็นแสงสว่างหรือนิมิตแบบของคุณสราวุธพูดถึงในข้อ 4 ส่วนน้องที่ทำงาน เขาทำได้ถึงขั้นนี้เช่นกัน คือสงบ นิ่ง ไม่คิดอะไร ไม่รู้สึกว่าหายใจอยู่ เขาทำได้แบบนี้มา 3 ปีแล้ว

    ที่นี้มาถึงคำถาม ดิฉันอยากทราบว่า ในลักษณะการทำสมาธิแบบน้องคนนี้ คือ สงบนิ่ง ไม่คิดอะไร ไม่รู้สึกว่าหายใจ นั่งได้นานๆ แล้วขั้นต่อไปจะต้องทำอย่างไร คือ ดิฉันก็ถามเขาว่า การทำสมาธิทำให้เกิดปัญญา ถ้าไม่คิดอะไรในระหว่างนั่งสมาธิ แล้วจะเกิดปัญญาได้อย่างไร เขาก็สงสัยเช่นกัน แต่ไม่ทราบคำตอบ

    คำถามที่ 2 ถ้าเขาติดอยู่กับการนั่งแล้วรู้สึกสบาย ปิติ แล้วเขาจะพัฒนาไปขั้นต่อไปอย่างไร ขอโทษนะคะ คือดิฉันก็ไม่ทราบว่าจะมีขั้นต่อไปหรือเปล่า

    รบกวนถามแค่นี้ก่อนนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกๆคำตอบคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2007
  17. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    สวัสดีครับ คุณ pk96025 ถ้าสนใจการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ อย่างนี้ไม่เรียกว่าห่างวัดแล้วนะครับ ถือว่าใกล้วัดอาจเรียกได้ว่าถึงวัดแล้ว (วัดกายวัดใจ)

    การปฏิบัติกรรมฐาน การฝึกจิต หรือ นั่งสมาธิ มี ธรรม 2 ข้อ ที่คุณควรรู้จักเป็นเบื้องต้นเสียก่อน เพราะเป็นเหมือนเครื่องมือที่ใช้ ดุจเดียวกับการทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ต้องอาศัยเครื่องมือที่ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่ทำ ธรรม 2 ข้อนี้คือ สติ และ สัมปชัญญะ แปลตามตัวง่ายๆ สติ คือการระลึกรู้ สัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว เช่น ในขณะที่เรานั่งทำสมาธิอยู่โดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ความรู้สึกตัวทั้งหมดว่าขณะนี้เรากำลังทำอะไร นั่งอยู่ท่าไหน มีความรู้สึกปรากฎอยู่อย่างไร คือ สัมปชัญญะ ส่วนที่ตามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เฝ้าระมัดระวังไม่ให้พลั้งเผลอ ไม่ปล่อยให้จิตไหลไปตามอารมณ์ ความนึกคิดต่างๆ คือ สติ จะเห็นว่าสัมปชัญญะจะทำหน้าที่ควบคุมสติอีกทีหนึ่ง คงพอเข้าใจนะครับ ธรรม 2 ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการฝึกสมาธิ

    วางเจตนาและความใส่ใจให้ถูกต้อง เมื่อเราฝึกใหม่ๆ มักจะไม่เข้าใจในจุดนี้ มุ่งเน้นแต่ว่า สงบหรือไม่สงบ นิ่งหรือไม่นิ่ง สว่างหรือไม่สว่าง เห็น(อะไร)หรือไม่เห็น(อะไร) ซึ่งทั้งหมดหรือมากกว่านี้ล้วนเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามลำดับขั้นความก้าวหน้าของจิต เป็นสิ่งที่ไม่สามารถบังคับควบคุมให้เกิดขึ้นตามใจเราได้ สิ่งที่เราต้องสนใจคือตั้งเจตนาและความใส่ใจในสิ่งที่ต้องมุ่งกระทำ ในที่นี้คือการกำหนดอารมณ์ของกรรมฐาน เช่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์(อานาปาณสติ)

    การปฏิบัติต้องมุ่งกระทำที่เหตุ อย่ามุ่งเอาที่ผล เพราะผลย่อมเกิดจากเหตุ
    เมื่อ เหตุดี ผลย่อมดี
    เมื่อ เหตุถูกต้อง ผลย่อมถูกต้อง
    เมื่อ เหตุถึงพร้อม ผลย่อมเกิด

    เตรียมกายใจให้พร้อม อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ละเครื่องกังวลทั้งหลาย เช่น ภาระหน้าที่การงานที่ทำ ตกลงปลงใจกับตนเสียในเบื้องต้นว่า บัดนี้หน้าที่การงานทั้งหลายที่เราต้องทำเราได้ทำแล้ว เราจะทำความดีให้แก่ต้วเราเองบ้าง นั่งในท่านั่งที่สบายเหมาะกับตนเอง ไม่เครียด ไม่กด ไม่เกร็ง

    กำลังใจและการวางอารมณ์ สร้างกำลังใจให้เกิดแก่ตนเอง โดยการอารธนาขอบารมีคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดจนครูบาอาจารย์ที่ตัวเรานับถือ ให้ท่านช่วยอบรมจิต นำการปฏิบัติให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ให้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม (เป็นตัวอย่างนะครับ จะใช้คำอารธนาใดๆ ก็ได้ ตามที่เราชอบและทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจในการปฏิบัติ) ส่วนการวางอารมณ์ ทำใจให้สบายๆ วางใจให้เป็นอุเบกขา อย่าให้มีความอยากเกิดขึ้นแก่ใจตนเอง ถ้าอยากสงบจะไม่สงบเลย อันนี้สำคัญมากครับ


    สู้ตายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ตามกำลังศรัทธาและความเพียรน่ะครับ

    ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติครับ
    ขออนุโมทนา
     
  18. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    สงบนิ่ง ไม่คิดอะไร ไม่รู้สึกว่าหายใจ นั่งได้นานๆ ถ้าเป็นสมาธิที่ดำเนินมาอย่างถูกต้องจะปรากฏ รู้เด่นชัดสว่างไสวอยู่ภายใน แต่ถ้าไม่ใช่แสดงถึงกำลังสติยังอ่อนอยู่ การที่ไม่รู้สึกว่าหายใจ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีลมหายใจ ที่จริงยังคงมีลมหายใจเข้าออกอยู่ เพียงแต่ลมหายใจละเอียดและเบาลงเลยไม่รู้สึก(ตามกำลังของสติ) สมาธิที่ไม่มีลมหายใจจริงๆ เท่าที่ทราบมีแต่ผู้ที่เข้า อปาณกฌาน(ไม่ทราบว่าสะกดถูกต้องหรือเปล่า) ตัวจะแข็งเหมือนหิน ไม่มีการหายใจ อาจารย์ท่านให้คนอุ้มโยนลงน้ำตูม ตั้งนานจึงให้คนลงไปงมขึ้นมา ไม่เป็นอะไรและไม่รู้เรื่องอะไรเลย

    ถ้าเข้าสู่ความสงบแล้ว ไม่มีความรู้ปรากฏเด่นชัดอยู่ภายใน แสดงว่าสติยังมีกำลังไม่พอ ให้ทำความเพียรในการเจริญสติให้มากขึ้น อาจจะเดินจงกลม(กำหนดรู้ในอิริยาบทการเดิน) หรือกำหนดรู้อยู่กับลมหายใจให้ได้นานขึ้นโดยไม่ปล่อยให้จิตเข้าสู่ความสงบ เมื่อสติมีกำลังมากขึ้น เราจะรู้ลมหายใจได้ชัดเจนขึ้น จนรู้สึกราวกับว่าลมหายใจเป็นสิ่งที่จับต้องได้

    แล้วจะทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้อย่างไร การทำปัญญาให้เกิดขึ้น การรู้แจ้งในสภาวธรรมทั้งหลายตามที่เป็นจริง หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า การเจริญวิปัสสนา คือการพิจารณาสภาวธรรมของสังขารทั้งหลาย(รูปนาม) โดยน้อมลงสู่กฏไตรลักษณ์ อนิจจัง(สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง) ทุกขัง(มีสภาพอันแปรเปลี่ยนตลอดเวลาไม่อาจตั้งมั่นอยู่ได้) อนัตตา(ไม่สามารถบังคับควบคุมให้เป็นตามที่เราต้องการได้) แม้แต่สมาธิและฌานก็ยังตกอยู่ใต้อำนาจอนิจจังเช่นกัน จึงไม่ใช่ที่พึ่งที่อาศัยได้จริง เพราะเสื่อมได้ แต่คำว่าพิจารณาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการนึกคิดแต่อย่างใด เป็นการใช้กำลังของความรู้(ตัวรู้)ที่เกิดขึ้นจากการฝึกสมาธิ(สมถะ) กำหนดจดจ่ออยู่ในสภาวธรรมใดสภาวะหนึ่ง เช่น กำหนดรู้กาย จนกว่าจะเห็นกายในกายปรากฏ แล้วแสดงสภาวะแห่งไตรลักษณ์ให้เราดู เป็นต้น จุดนี้ขอไม่อธิบายเพิ่มเพราะเมื่อปฏิบัติถึงแล้วจะเห็นเองเข้าใจได้เอง ไม่จำเป็นต้องมีผู้ใดมาอธิบายให้ฟัง พึงระลึกไว้เสมอว่า ไม่ว่าสภาวธรรมใดปรากฏขึ้นก็ให้น้อมลงสู่ไตรลักษณ์

    พยายามอธิบายให้ง่ายและสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วนะครับ มีคำหลายคำมากที่ใช้ในภาษาไทยกับภาษาธรรม คำเดียวกันแต่มีความหมายต่างกัน

    ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏบัตินะครับ
    ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
  19. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    พื้นจิต เหมาะเป็นนักภวานา หากเพียรกระทำถูกทาง จะมีความก้าวหน้าได้

    การเห็นอาจเป็นจริง สิ่งที่รู้เห็นอาจมิเป็นจริง หรือ อาจจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง
    ยังมิถึงเวลา หากประมาทติดในสิ่งที่เห็น จะพลาดเสียการใหญ่ที่ประเสริฐยิ่งกว่า พึงตรองดูให้ถี่ถ้วน

    ให้ย้อนพิจาราณาฐานที่ตั้งของจิตดูให้ดีๆ ว่ามีสิ่งใดควรปรับปรุงแก้ไข
    อย่างไรคือ ความตั่งมั่น อย่างไรคือ ความไหวออกไป อย่างไรคือตั้งได้ถูก

    สำหรับคำถามของคุณ Pk96025
    การจะเข้าถึงวิชชา ก็ต้องมี ปัญญานั้น โดย

    สุตตมยปัญญา คือ การฟัง อ่าน ศึกษา จากคำสอนของพระพุทธเจ้า จาก ครูบาอาจารย์

    จิตตามยปัญญา คือ การนำความรู้จากการฟัง อ่านถาม มาพิจารณาตามความเข้าใจ โดยการย่อยออกมาให้เกิดความเข้าใจในระดับความคิดนึก จิตนาการ
    ตามภูมิ (น้อมนำมาพิจารณาอยุ่เนื่อง ๆจนเกิดความเข้าใจ)

    ส่วนปัญญาที่สำคัญ คือ ภวานามยปัญญา เป็นการปฏิบัติให้เกิดประสบการณ์ตรง ความรู้ตรงกับตนเอง รุ้แจ่มแจ้งแท่งตลอด หรือ ที่กล่าวว่ารู้ได้เฉพาะตน เพราะปัญญาสองอันด้านบนนั้น นับว่าเป็นความรู้ของบุคคลอื่น มิใช่เกิดกับตน เพราะเกิดจากการ อ่าน ฟัง ถาม แล้วก็จินตนาการขึ้น แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ยังมิเข้าใจในหลักธรรมะ

    ความรู้ที่เกิดจาก ภวนามยปัญญา เป็นความรู้ที่ต้องเกิดจากเหนือสำนึก มิใช่
    จิตใต้สำนัก subconcious แต่เป็น superconcious เหนือความนึกคิด
    การจะทำให้เกิดปัญญาในระดับนี่ จึงจำเป็นต้องมีขั้นตอน มีการประพฤติปฏิบัติ
    ทำจิตใจบริสุทธิ์ และ พร้อมที่จะให้ธรรมบังเกิดปรากฏเป็นความเข้าใจเฉพาะตนได้

    สติ คือ ความระลึก สัมปัชญญะคือ ความรู้พร้อมทั่วถึง หรือ บางครั้งก็นับว่าเป็นปัญญา

    การที่จะมี สติระลึกรู้สภาวะธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง (สัจจะ) และ ถอดถอนความยึดมั่น ยินดี ยินร้ายใด ๆในโลก

    เพียงประโยคเดียว แต่กลับต้องลงมือเพียรฝึกฝนขัดเกลาตนเอง ไปตลอดทาง แต่ละคนต้องเพียรไป เพียงแต่ ใครจะรู้เห็นได้ตรง ได้มาก น้อยเพียงใดก็ต้องแล้วแต่ ตบะ บารมี วิริยะ วาสนา ที่จะต้องสั่งสมทำกันไป

    สภาวะธรรมปรากฏ เกิดดับตลอดเวลา แต่ จะทำอย่างไรที่จะกำหนดได้ตรงจรดลงได้ตรงสภาวะธรรมที่กำลังปรากฏ การนั่งสมาธิภาวนา วันละ เพียงครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง มิเพียงพอต่อการจะบรรลุคุณธรรมต่าง ๆ นักภวนาหลายท่านกลับปล่อยเวลาที่เหลืออีก ยี่สิบสามชั่วโมงไหลไปกับกระแสโลกโดยมิมีสติสัมปชัญญะ เวลาที่ภวานา หนึ่งชั่วโมงนั้นอาจสุญเปล่า


    แต่ การภวานาจนจิตสงบระงับ จาก อกุศล หรือ กิเลสได้ ในแต่ละวัน ก็นับว่าสำคัญ เป็นการสั่งสมอินทรี เพราะอินทรีทั้ง 5 และ พละ ต้อง เสมอกัน

    การภวานาแล้วเข้าไปว่างอยู่ภายในนั้น สิ่งที่ได้ก็เป็นแค่ความสงบระงับ มีปิติ สุข หล่อเลี้ยงจิต แต่จะต้องปล่อย และ ละออกเป็น มิฉะนั้นก็จะไม่ก้าวหน้า
    หากรู้ สังเกตให้ละเอียด และ ปล่อยวางความยึดมั่นในสุขแห่งองค์ ณานได้ ก็จะก้าวหน้า เพราะแม้แต่ความสุขในองค์ ณานที่นับว่าเป็นความสุขที่สุดยอมมิมีสิ่งใดมาเปรียบได้ ยังวางลงได้ ก็จะสามารถถอดถอนอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ลงได้ สิ่งที่ดีที่สุดยังตัดใจทิ้งได้ จะนับประสา ความสุขภายนอกอะไร ต่อมิอะไรมันก็เป็นเรื่อง เล็กไปเสีย

    จิตที่จะรวมลงเป็นสมาธิได้ ต้องมี ปิติสุขเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ใช่ว่าความสุขจะเป็นโทษ นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องผ่าน แต่อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าต้องรู้จักวางลงให้เป็นเมื่อถึงเวลา มิฉะนั้น มันก็จะว่าง ๆ พอจิตยึดติดอยู่กับความว่าง เมื่อเปลี่ยนภพภูมิ เค้าถึงมักกล่าวว่า ไปเป็นพรมลูกฝัก สูญเปล่า

    อนุโมทนาในจิตอันเป็นกุศลที่ใฝ่ธรรม ครับ
     
  20. pk96025

    pk96025 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +14
    สวัสดีคะ

    ขอขอบคุณคุณวิมังสาและคุณ V.mut มากนะคะสำหรับคำอธิบาย ดิฉันไม่มีพื้นฐานเลย ขออนุญาติถามอีกนิดที่คุณวิมังสาเขียนนะคะเรื่องการพิจารณาไตรลักษณ์ ไม่ทราบว่ามันอยู่ขั้นตอนไหนคะ แล้วการกำหนดจดจ่ออยู่ในสภาวธรรม ทำไมต้องกำหนด หรือว่าปฎิบัติไปเรื่อยๆ ก็เกิดขึ้นเอง หรือเราต้องเป็นผู้กำหนด

    ในกรณีของน้องที่ทำงาน นิพพานเป็นจุดมุ่งหมายของเขา เขาไม่ได้อยากได้ตาทิพย์หรือหูทิพย์ ไม่ทราบว่าการที่เขาปฏิบัติจนได้ณาน 4 แล้ว แล้วทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เขาจะมีโอกาสจะบรรลุจุดมุ่งหมายของเขาไหมคะ ในกรณีสมมติว่าเขามีวาสนาพอ แล้วที่คุณ V.mut เขียนว่าต้องปล่อยและละออก จากปิติและความว่างนั้น ขั้นตอนไปคืออะไรคะ

    ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคำตอบคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...