การเผยแผ่ธรรมทานนี้เป็นการประกอบบุญ-กุศล สนับสนุนให้คนมีสัมมาทิฐิ

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 4 สิงหาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ผลบุญกุศลใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอน้อมถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ทุกท่านเทอญ ฯ

    (คัดมาจากพระไตรปิฎก)



    กรรม ๑๒ประเภท

    กรรมประเภทต่างๆ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกกรรม

    ไว้ ๑๒ อย่าง คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑ อโหสิกรรม ๑

    อุปปัชชเวทนียกรรม ๑ อปรปริยายเวทนียกรรม ๑ ครุกกรรม ๑

    พหุลกรรม ๑ ยทาสันนกรรม ๑ กฏัตตาวาปนกรรม ๑ ชนกกรรม ๑

    อุปัตถัมภกกรรม ๑ อุปปีฬกกรรม ๑ อุปฆาตกกรรม ๑.



    โดยแยกเกี่ยวกับการให้ผลของกรรมเหล่านั้นดังนี้

    ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม

    ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม นั้น ให้ผลในอัตภาพนี้(ชาตินี้)เท่านั้น



    ๒. อโหสิกรรม

    คือ ถึงความเป็นกรรมที่ไม่มีผลกรรมนั้น



    ๓. อุปปัชชเวทนียกรรม

    อุปปัชชเวทนียกรรมนั้น อำนวยผลในอัตภาพ(ชาติ) ต่อไป แต่ในบรรดากุศล

    อกุศลทั้งสองฝ่ายนี้ อุปปัชชเวทนียกรรม ในฝ่ายที่เป็นกุศล พึงทราบด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ ในฝ่ายที่เป็นอกุศล พึงทราบด้วยสามารถแห่งอนันตริยกรรม ๕

    บรรดากรรมทั้งสองฝ่ายนั้น ผู้ที่ได้สมาบัติ ๘ จะเกิดในพรหมโลก ด้วยสมาบัติอย่างหนึ่ง. ฝ่ายผู้กระทำอนันตริยกรรม ๕ จะบังเกิดในนรกด้วยกรรมอย่างหนึ่ง. สมาบัติที่เหลือ และกรรม (ที่เหลือ) จะถึงความเป็นอโหสิกรรมไปหมด คือ เป็นกรรม ที่ไม่มีวิบาก.



    ๔. อปรปริยายเวทนียกรรม

    ชื่อว่าอปรปริยายเวทนียกรรม.นั้นได้โอกาสเมื่อใดในอนาคตกาลเมื่อนั้นจะให้ผลเมื่อความเป็นไปแห่งสังสารวัฏฏะยังมีอยู่ กรรมนั้นจะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรมย่อมไม่มี.

    กรรมทั้งหมดนั้นแสดงด้วย (เรื่อง) พรานสุนัข.

    เปรียบเหมือนสุนัขที่นายพรานเนื้อปล่อยไป เพราะเห็นเนื้อ จึงวิ่งตามเนื้อไป ทันเข้าในที่ใดก็จะกัดเอาในที่นั้นแหละ ฉันใด กรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โอกาสในที่ใด ก็จะอำนวยผล ในที่นั้นทันที. ขึ้นชื่อว่าสัตว์ จะรอดพ้นไปจากกรรมนั้น เป็นไม่มี.



    ๕. ชนกกรรม

    กรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิอย่างเดียว หรือกรรมที่นำให้เกิด ไม่ให้เกิดปวัตติกาล (ขณะปัจจุบัน) กรรมอื่นย่อมให้เกิดวิบาก ในปวัตติกาล ชื่อว่า ชนกกรรม อุปมา เสมือนหนึ่งว่า มารดาให้กำเนิดอย่างเดียว ส่วนพี่เลี้ยง นางนมประคบประหงมฉันใด ชนกกรรมก็เช่นนั้นเหมือนกัน ให้เกิดปฏิสนธิเหมือนมารดา (ส่วน) กรรมที่มาประจวบเข้าใน ปวัตติกาล เหมือนพี่เลี้ยงนางนม.



    ๖. อุปัตถัมภกรรม

    ธรรมดาอุปัตถัมภกรรม มีได้ทั้งในกุศล ทั้งในอกุศล เพราะว่า บางคนกระทำกุศลกรรมแล้วเกิดในสุคติภพเขาดำรงอยู่ในสุคติภพนั้นแล้วบำเพ็ญกุศลบ่อยๆ สนับสนุนกรรมนั้นย่อมท่องเที่ยวไปในสุคติภพนั่นแหละตลอดเวลาหลายพันปี. บางคนกระทำอกุศลกรรมแล้วเกิดในทุคติภพ เขาดำรงอยู่ในทุคตินั้น กระทำอกุศลกรรมบ่อย ๆ สนับสนุนกรรมนั้นแล้ว จะท่องเที่ยวไปในทุคติภพนั้นแหละ สิ้นเวลาหลายพันปี. อีกนัยหนึ่งควรทราบดังนี้ ทั้งกุศลกรรม ทั้งอกุศลกรรม ชื่อว่าเป็นชนกกรรม. ชนกกรรมนั้นให้เกิดวิบากขันธ์ทั้งที่เป็นรูปและอรูป ทั้งในปฏิสนธิกาล ทั้งในปวัตติกาล.

    ส่วนอุปัตถัมภกกรรม ไม่สามารถให้เกิดวิบากได้ แต่จะสนับสนุนสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะวิบาก ที่ไม่เกิดปฏิสนธิที่กรรมอื่นให้ผลแล้ว ย่อมเป็นไปตลอดกาลนาน.



    ๗. อุปปีฬกกรรม

    กรรมที่เบียดเบียน บีบคั้นสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นในเพราะวิบากที่ให้เกิดปฏิสนธิ ที่กรรมอื่นให้ผลแล้ว จะไม่ให้(สุขหรือทุกข์นั้น) เป็นไปตลอดกาลนาน ชื่อว่าอุปปีฬกกรรม.

    ในอุปปีฬกกรรมนั้น มีนัยดังต่อไปนี้. เมื่อกุศลกรรมกำลังให้ผลอกุศลกรรมจะเป็นอุปปีฬกกรรมไม่ให้ (โอกาส) กุศลกรรมนั้นให้ผล. แม้เมื่ออกุศลกรรมนั้นกำลังให้ผลอยู่ กุศลกรรมจะเป็นอุปปีฬกกรรมไม่ให้(โอกาส) อกุศลกรรมนั้นให้ผล. ต้นไม้ กอไม้ หรือเถาวัลย์ ที่กำลังเจริญงอกงามใครคนใดคนหนึ่งเอาไม้มาทุบ หรือเอาศาสตรามาตัด เมื่อเป็นเช่นนั้นต้นไม้กอไม้หรือเถาวัลย์นั้นจะต้องไม่เจริญงอกงามขึ้นฉันใด กุศลกรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกำลังให้ผล (แต่ถูก) อกุศลกรรมเบียดเบียน หรือว่าอกุศลกรรมกำลังให้ผล (แต่ถูก) กุศลกรรมบีบคั้นจะไม่สามารถให้ผลได้. ในสองอย่างนั้น อกุศลกรรม (ชื่อว่า) เบียดเบียนกุศลกรรม กุศลกรรม(ชื่อว่า) เบียดเบียนอกุศลกรรม.



    ตัวอย่าง เรื่องเพชฌฆาต ชื่อตาวกาฬกะ

    เล่ากันว่า ในกรุงราชคฤห์ นายตาวกาฬกะ กระทำโจรฆาตกรรม(ประหารชีวิตโจร) มาเป็นเวลา ๕๐ ปี. ลำดับนั้น ราชบุรุษทั้งหลายได้กราบทูลเขาต่อพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพนายตาวกาฬกะแก่แล้วไม่สามารถจะประหารชีวิตโจรไดพระราชา รับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงปลดเขาออกจากตำแหน่งนั้น. อำมาตย์ทั้งหลายปลดเขาออกแล้ว แต่งตั้งคนอื่นแทน. ฝ่ายนายตาวกาฬกะ ตลอดเวลาที่ทำงานนั้น (เป็นเพชฌฆาต)ไม่เคยนุ่งผ้าใหม่ ไม่ได้ทัดทรงของหอมและดอกไม้ ไม่ได้บริโภคข้าวปายาส ไม่ได้รับการอบอาบ. เขาคิดว่า เราอยู่โดยเพศของผู้เศร้าหมองมานานแล้ว จึงสั่งภรรยาให้หุงข้าวปายาส ให้นำเครื่องสัมภาระสำหรับอาบไปยังท่าน้ำดำเกล้า และนุ่งผ้าใหม่ ลูบไล้ของหอม ทัดดอกไม้ กำลังเดินมาบ้าน เห็นพระสารีบุตรเถระ ดีใจว่า เราจะได้พ้นจากกรรมที่เศร้าหมอง และได้พบพระผู้เป็นเจ้าของเราด้วย จึงนำพระเถระไปยังเรือน แล้วอังคาส(ประเคน) ด้วยข้าวปายาสที่ปรุงด้วยเนยใส เนยข้น และผงน้ำตาลกรวด. พระเถระได้อนุโมทนาของเขา. เขาได้ฟังอนุโมทนาแล้ว กลับได้อนุโลมิกขันติ ตามส่ง พระเถระแล้วเดินกลับในระหว่างทางถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิด ให้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วไปเกิดในดาวดึงส์พิภพ.

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระตถาคตว่า พระพุทธเจ้าข้า วันนี้เอง นายโจรฆาตอันพระสารีบุตรเถระช่วยนำออกจากกรรมที่เศร้าหมองถึงแก่กรรมแล้วในวันนี้เหมือนกัน เขาเกิดในที่ไหนหนอ.

    พ. ในดาวดึงส์พิภพ ภิกษุทั้งหลาย.

    ภิ. พระพุทธเจ้าข้า นายโจรฆาตฆ่าคนมาเป็นเวลานาน และพระองค์ก็ตรัสสอนไว้อย่างนี้ บาปกรรมไม่มีผลหรือ อย่างไรหนอ.

    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวเช่นนั้น นายโจรฆาตได้กัลยาณมิตรผู้มีกำลังเป็นอุปนิสัยปัจจัยถวายบิณฑบาตแก่พระธรรมเสนาบดีฟังอนุโมทนากถาแล้ว

    กลับได้อนุโลมขันติ จึงได้บังเกิดในที่นั้น.นายโจรฆาต ได้ฟังคำเป็นสุภาษิตในเมืองแล้วได้อนุโลมขันติบันเทิงใจ ไปเกิดในไตรเทพ.



    ๘. อุปฆาตกกรรม

    ส่วนอุปฆาตกกรรม ที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง มีอยู่เอง จะตัดรอนกรรมอื่น ที่มีกำลังเพลากว่า ห้ามวิบากของกรรมนั้นไว้แล้วทำโอกาสแก่วิบากของตน. ก็เมื่อกรรมทำ (ให้) โอกาสอย่างนี้แล้ว กรรมนั้นเรียกว่า เผล็ดผลแล้ว. อุปฆาตกกรรมนี้นั่นแหละ มีชื่อว่าอุปัจเฉทกกรรมบ้าง.

    ในอุปัจเฉทกกรรมนั้น มีนัยดังต่อไปนี้ ในเวลาที่กุศลกรรมให้ผลอกุศลกรรมอย่างหนึ่งจะตั้งขึ้นตัดรอนกรรมนั้นให้ตกไป ถึงในเวลาที่อกุศลกรรมให้ผล กุศลกรรมอย่างหนึ่งก็จะตั้งขึ้น ตัดรอนกรรมนั้นแล้วให้ตกไป. นี้ชื่อว่า อุปัจเฉทกกรรม.



    ๙. ครุกกรรม

    ส่วนในบรรดากรรมหนักและกรรมไม่หนักทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลกรรมใดหนัก กรรมนั้นชื่อว่า ครุกกรรม. ครุกกรรมนี้นั้น ในฝ่ายกุศลพึงทราบว่าได้แก่ มหัคคตกรรม ในฝ่ายอกุศล พึงทราบว่าได้แก่ อนันตริยกรรม ๕.

    เมื่อครุกกรรมนั้นมีอยู่ กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่เหลือจะไม่สามารถให้ผลได้.

    ครุกกรรมแม้ทั้งสองอย่างนั้นแหละจะให้ปฏิสนธิ.

    อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ก้อนกรวดหรือก้อนเหล็ก แม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่โยนลงห้วงน้ำ ย่อมไม่สามารถจะลอยขึ้นเหนือน้ำได้ จะจมลงใต้น้ำอย่างเดียว ฉันใด ในกุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมฝ่ายใดหนัก เขาจะถือเอากรรมฝ่ายนั้นแหละไป.



    ๑๐. พหุลกรรม (อาจิณกรรม)

    ส่วนในกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลาย กรรมใดมาก กรรมนั้นชื่อว่า พหุลกรรม. พหุลกรรมนั้นพึงทราบด้วยอำนาจ อาเสวนะที่ได้แล้วตลอดกาลนาน

    อีกอย่างหนึ่ง ในฝ่ายกุศลกรรมกรรมใดที่มีกำลังสร้างโสมนัสให้ ในฝ่ายอกุศลกรรมสร้างความเดือดร้อนให้ กรรมนั้นชื่อว่า พหุลกรรม. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เมื่อนักมวยปล้ำ ๒ คนขึ้นเวที คนใดมีกำลังมาก คนนั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม (แพ้)ไปฉันใด พหุลกรรมนี้นั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะทับถมกรรมพวกนี้ที่มีกำลังน้อย (ชนะ) ไป.

    กรรมใดมากโดยการเสพจนคุ้นหรือมีกำลังโดยอำนาจ กรรมนั้นจะให้ผล เหมือนกรรมของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย ฉะนั้น.



    ตัวอย่างเรื่องพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย เล่ากันมาว่า พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยนั้น รบพ่ายแพ้ในจูฬังคณิยยุทธ์ ทรงควบม้าหนีไป. มหาดเล็กชื่อว่า ติสสะอำมาตย์ของพระองค์ ตามเสด็จไปได้คนเดียวเท่านั้น. ท้าวเธอเสด็จเข้าสู่ดงแห่งหนึ่งประทับนั่งแล้ว เมื่อถูกความหิวเบียดเบียน จึงรับสั่งว่า
     
  2. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    ได้ความรู้เรื่องกรรม ดีครับเพื่อนๆจะได้รู้ชนิดของกรรมต่างๆ
    ขออนุโมทนาครับ...สาธุ!
     

แชร์หน้านี้

Loading...