เรื่องเด่น การคุกคามของมาร

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 7 กันยายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    118761768_3131598903618999_1697032638014329191_o-jpg.jpg
    cr.ภาพจาก https://www.facebook.com/pratripitaka


    มารตัชชนียสูตร การคุกคามของมาร


    เรื่องมารมาแกล้งท่านพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกผู้มีฤทธิ์

    มารเข้าท้องให้ปวดท้อง ท่านกำหนดจิตจึงรู้ จึงแสดงธรรมสั่งสอนว่ารู้ทัน และเล่าเรื่องที่เคยเกิดเป็นมาร ชื่อ ทูสี ได้เคยดลใจคนให้ด่าพระเพื่อยั่วให้ตบะแตก แต่ไม่เป็นผล จึงดลใจให้คนสรรรเสริญให้หลง แต่ก็ไม่เป็นผลอีก ด้วยความโกรธจึงเข้าสิงเด็กปาหินใส่พระอัครสาวกในอดีตจนหัวแตก พระกกุสันธพุทธเจ้าทรงหันมอง ตรัสว่า ไม่ประมาณตนเลย แค่นั้้นก็เคลื่อนคือจุติจากภพนั้น ไปเกิดในนรกทันที ต้องตกนรกอยู่ยาวนาน หลายขุม จึงขอเตือนว่า การปองร้ายพระตถาคต และศิษย์ตถาคต ไม่ใช่สิ่งดีเลย จะเป็นไปเพื่อความทุกข์ มารได้ฟังเรื่องทั้งหมด พร้อมคาถาสุดท้ายที่ท่านประพันธ์เล่าถึงกิตติคุณของพระอัครสาวก มารได้ฟังรู้สึกเสียใจและจากไป ภพชาติมีจริง คนไม่เจอย่อมไม่รู้ เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่พิสูจน์ได้ด้วยจิต ด้วยการปฏิบัติ ด้วยบุญบารมี เหมือนวิทยุที่จูนคลื่นได้ตรงกัน หากไม่เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีจริง เท่ากับเป็นมิจฉาทิฎฐิ บรรลุธรรมไม่ได้ ตรัสสอนไว้ครบถ้วน แต่ยังมีคนเผยแพร่กันว่า นี่ไม่ใช่คำสอนศาสนา ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เป็นการบิดเบือนคำสอนอย่างร้ายแรงอีกทางหนึ่ง ด้วยความไม่แตกฉานทั้งปฏิบัติ และปริยัต ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า มาร ซึ่งมีอยู่ห้าจำพวก มีฤทธิ์มากกว่าที่คิด เข้าสิงแกล้งได้กระทั่งพระอัครสาวก พระสูตรที่แล้วก็เข้าสิงกระทั่งพรหม ซึ่งพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า มารพยายามยั่วพระให้ตบะแตก เพื่อให้ตกอยู่ในอำนาจมาร พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีแก้ไว้ทั้งสองประการแล้ว ข้อนี้ใช้ได้สำหรับทุกคนเช่นกัน ถ้าจะเชื่อเรื่องพวกนี้ ให้พึงระวังพวกเข้าทรง หรืออ้างว่ารู้เห็นโลกอื่น ส่วนใหญ่หาของจริงได้ยาก ปฏิบัติเพื่อรู้เองดีที่สุด แนวทางแก้ไขทุกอย่าง พระพุทธเจ้าสอนไว้หมดแล้ว ศึกษาพระไตรปิฎกให้จบอย่างน้อย พระสูตร และพระวินัย ซึ่งจัดทำให้กระชับขึ้นมากแล้ว แม้จะยากไปหน่อย แต่ถ้าค่อยๆ ฟัง สบายๆ ไปเรื่อยๆ ก็จะพบความสุข และความเข้าถึงศาสนา ที่พระองค์และสาวก ได้แสดงธรรมสั่งสอนเราไว้ครบถ้วน บริสุทธิ์ บริบูรณ์แล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    [๕๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในเภสกลาวันเขตเมืองสุงสุมารคีระ ในภัคคชนบท.

    สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ถูกมารผู้ลามกเข้าไปใน ท้องในไส้ ได้มีความดำริว่า ท้องเราเป็นดังว่ามีก้อนหินหนักๆ และเป็นเช่นกะทอ อันเต็มด้วยถั่วหมัก เพราะเหตุอะไรหนอ จึงลงจากจงกรม แล้วเข้าไปสู่วิหาร นั่งอยู่บน อาสนะที่ปูไว้ ครั้นนั่งแล้ว ได้ใส่ใจถึงมารที่ลามกด้วยอุบายอันแยบคาย เฉพาะตน.

    [๕๕๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นมารผู้ลามก เข้าไปในท้องในไส้แล้ว ครั้นแล้ว จึงเรียกว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่า เบียดเบียน พระตถาคต และสาวกของพระตถาคตเลย วิเหสนกรรมนั้น อย่าได้ม ีเพื่อโทษไม่เป็น ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่ท่านตลอดกาลนาน.

    ลำดับนั้น มารมีความดำริว่า สมณะนี้ไม่รู้และไม่เห็นเรา

    จึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียน พระตถาคต และสาวกของพระตถาคตเลย วิเหสนกรรม นั้น อย่าได้มีเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่ท่านตลอดกาลนาน ดังนี้ แล้วจึงดำริว่า แม้สมณะที่เป็น ศาสดายังไม่พึงรู้จักเราได้เร็วไว ก็สมณะที่เป็นสาวกไฉน จักรู้จักเราได้.

    ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้บอกว่า

    ดูกรมารผู้ลามก เรารู้จักท่านแม้ด้วยเหตุนี้แล ท่านอย่าเข้าใจว่า สมณะนี้ไม่รู้จักเรา ท่านเป็นมาร ท่านมีความดำริว่า สมณะนี้ไม่รู้ และไม่เห็น เราจึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ฯลฯ ก็สมณะที่เป็นสาวกไฉน จักรู้จักเรา.

    ลำดับนั้น มารมีความดำริว่า สมณะนี้รู้จักและเห็นเรา

    จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ฯลฯ วิเหสนกรรมนั้น อย่าได้มีเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ท่าน ตลอดกาลนาน ดังนี้ แล้วจึงออกจากปากท่านพระมหา โมคคัลลานะ แล้วยืนอยู่ที่ข้างบาน ประตู

    [๕๕๙] ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นมารผู้ลามกยืนอยู่ที่ข้างบานประตู ครั้นแล้วจึง กล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก เราเห็นท่านแม้ที่ข้างบานประตูนั้น ท่านอย่าเข้าใจว่า สมณะนี้ไม่เห็นเรา ท่านนั้นยืนอยู่แล้วที่ข้างบานประตู

    (จากนั้น..พระโมคคัลลานะ เล่าเรื่องในอดีตสมัยเป็นมาร ว่าเคยทำร้ายอัครสาวกของ พระผู้มี พระภาคกกุสันธะ สมัยเมื่อมนุษย์อายุ 4 หมื่นปี ทำให้ตนเองในร่างของมาร ต้องตกนรก ชั้นอุสสทนรก แห่งมหานรก )

    ดูกรมารผู้ลามก เรื่องเคยมีแล้ว เราเป็นมารชื่อ ทูสี มีน้องหญิงชื่อ กาลี ท่านเป็น บุตรน้องหญิง ของเรานั้น ท่านนั้นได้เป็นหลานชายของเรา.

    ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุสันธะ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ อุบัติขึ้นในโลก(ยุคมนุษย์อายุ4หมื่นปี) พระองค์มีคู่พระมหาสาวกชื่อ วิธุระ*และชื่อ สัญชีวะ*เป็นคู่เจริญเลิศ
    (อัครสาวกเบื้องขวาและเบื้องซ้าย)

    พระสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุสันธะอรหันสัมมาสัมพุทธเจ้า มีประมาณ เท่าใด ในพระสาวกมีประมาณเท่านั้น ไม่มีองค์ใดที่จะสม่ำเสมอด้วยท่านพระวิธุระ ในทางธรรมเทศนา.

    ด้วยเหตุนี้ ท่านพระวิธุระ จึงมีนามเกิดขึ้นว่า วิธุระ วิธุระ. ส่วนท่านพระสัญชีวะ ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ด้วยความลำบากเล็กน้อย.

    ดูกรมารผู้ลามก เรื่องเคยมีแล้วท่านพระสัญชีวะ นั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่ที่โคน ต้นไม้ แห่งหนึ่ง. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกคนไถนา และ พวกคน เดินทาง ได้เห็น ท่านพระสัญชีวะนั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่ที่โคนต้นไม้ แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วได้ปรึกษากันว่า ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์แปลกปลาดหนอ พระสมณะนี้ นั่งทำกาละเสียแล้ว มิฉะนั้น พวกเรา จงเผาท่านเถิด. ครั้งนั้น คนเหล่านั้นจึงหาหญ้าไม้ และโคมัยมากองสุมกายท่านพระสัญชีวะ เอาไฟจุดเผา แล้วหลีกไป.

    เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว ท่านพระสัญชีวะออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ก็สลัดจีวร เวลาเช้า นุ่งห่มแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. พวกคนเลี้ยงโค พวกคน เลี้ยงปศุสัตว์ พวกคน ไถนา และพวกคนเดินทาง ได้เห็นท่านพระสัญชีวะ เที่ยว บิณฑบาตแล้ว ก็ปรึกษากันว่า ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์ แปลกปลาดหนอ พระสมณะ นี้ นั่งทำกาละแล้ว พระสมณะนี้นั้นกลับ มีสัญญาอยู่แล้ว. ด้วยเหตุนี้ ท่านพระสัญชีวะ จึงได้มีชื่อเกิดขึ้นว่า สัญชีวะ สัญชีวะ.

    [๕๖๐] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแหละ ทูสีมาร มีความดำริว่า เราไม่รู้จักความมา และ ความไป ของภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้ ถ้ากระไร เราพึงดลใจ พวกพราหมณ์ และคฤหบดี ว่ามาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าไฉนภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียนอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยอาการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง.

    ครั้งนั้น ทูสีมารก็ดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีตามดำรินั้น พวกพราหมณ์ และ คฤหบดี ถูกทูสีมารดลใจแล้ว ก็ด่าบริภาษ เสียดสี เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นสมณะหัวโล้น เป็นคฤหบดี เป็นค่าง เป็นผู้เกิดแต่ หลังเท้าของพรหม พูดว่าพวกเราเจริญฌาน พวกเราเจริญฌาน เป็นผู้คอตก ก้มหน้า เกียจคร้าน ย่อมรำพึง ซบเซาหงอยเหงา. เหมือนนกเค้าจ้องหาหนูที่กิ่งต้นไม้ และ เหมือนสุนัขจิ้งจอก จ้องหาปลา ใกล้ฝั่งน้ำและเหมือนแมวจ้องหาหนูที่ ที่ต่อเรือน อันรุงรัง และกองหยากเหยื่อ และเหมือนลา ที่ปลดต่างแล้วต่างก็รำพึง ซบเซา เหงาหงอยอยู่ฉะนั้น.

    ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้น มนุษย์เหล่าใดทำกาละไปมนุษย์เหล่านั้น เบื้องหน้า แต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกโดยมาก.

    [๕๖๑] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงพระนามว่ากกุสันธะ เป็น พระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วรับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์ และคฤหบดีถูก ทูสีมาร ดลใจชักชวนว่า มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เสียดสีเบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าไฉน ภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียนอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยอาการที่ ทูสีมารพึงได้ช่อง.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิดพวกเธอจงมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิด แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วย เมตตา อันกว้างขวางเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลก มีสัตว์ ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้เถิด.

    มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ...มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิด แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้าง เป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไป สู่โลก มีสัตว์ทั้งมวลโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้เถิด.

    ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธ เจ้าทรงสั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่า ก็ดี ก็มี จิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้นแผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มี จิตสหรคต (อ่าน สะ หะ ระ คะ ตะ แปลว่าจิตที่ประกอบด้วย...) ด้วย เมตตา อันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลก มีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวงทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ ดังนี้.

    มีจิตสหรคตด้วยกรุณา... มีจิตสหคตด้วย มุทิตา...มีจิตสหรคตด้วย อุเบกขาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้นแผ่ไปสู่ทิศ ที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ ดังนี้.

    [๕๖๒] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารมีความดำริดังนี้ว่า เราทำอยู่แม้ถึงอย่างนี้ แล ก็มิได้ รู้ความมาหรือความไปของภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้เลย ถ้ากระไร เราพึงชักชวน พวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า เชิญท่านทั้งหลายมา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้น อันท่านทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการ ที่ทูสีมารพึงได้ช่อง.

    ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแลทูสีมารชักชวนพราหมณ์ และคฤหบดีเหล่านั้นว่า เชิญท่าน ทั้งหลาย มาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุ เหล่านั้นอันท่านทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ ทูสีมารพึงได้ช่อง ดังนี้.

    ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น ถูกทูสีมาร ชักชวนแล้ว พากันสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม.

    ดูกรมารผู้ลามก สมัยนั้นแล มนุษย์เหล่าใดกระทำกาละไป มนุษย์เหล่านั้น เมื่อกายแตก ตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ โดยมาก.

    [๕๖๓] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์ และคฤหบดีอันทูสีมาร ชักชวนว่า เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุ ทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านทั้งหลายสักการะ เคารพนับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง ดังนี้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเชิญท่านทั้งหลายจงพิจารณา เห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญ ในอาหาร ว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวง ว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นใน สังขารทั้งปวง ว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่เถิด.

    ดูกรมารผู้ลามก ภิกษุเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง เปล่าก็ดี ก็พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความ สำคัญในโลกทั้งปวง ว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวง ว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่.

    [๕๖๔] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครองสงบ แล้วทรงบาตรและจีวร มีท่านพระวิธุระ เป็นปัจฉา สมณะ เสด็จเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต.

    ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารเข้าสิงเด็กคนหนึ่ง แล้วเอาก้อนหินขว้าง ที่ศีรษะ ท่านพระวิธุระ ศีรษะแตก.

    ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ท่านพระวิธุระ มีศีรษะแตกเลือดไหลอยู่ เดินตาม เสด็จพระผู้มี พระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปข้างหลังๆ.

    ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชำเลือง ดูเหมือนช้างชายตาดูด้วยตรัสว่า ทูสีมารนี้ มิได้รู้ ประมาณเลย.

    ดูกรมารผู้ลามก ก็แหละ ทูสีมารเคลื่อนแล้วจากที่นั้น และเข้าถึงมหานรก พร้อมด้วยพระกิริยา ที่ทรงชำเลืองดู.

    [๕๖๕] ดูกรมารผู้ลามก ก็มหานรกนั้นแลมีชื่อ ๓ อย่าง ชื่อ ฉผัสสายตนิกะ ก็มีชื่อ สังกุสมาหตะ ก็มี ชื่อ ปัจจัตตเวทนียะ ก็มี. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พวกนายนิรยบาล เข้ามาหาเราแล้ว บอกว่าเมื่อใดแล หลาวเหล็กกับหลาวเหล็ก มารวมกันที่กลางหทัยของท่านเมื่อนั้น ท่านพึงรู้ว่า เราไหม้อยู่ในนรกพันปีแล้ว.

    ดูกรมารผู้ลามก เรานั้นแล หมกไหม้อยู่ในมหานรกนั้นหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี และ หมกไหม้อยู่ใน อุสสทนรกแห่งมหานรก นั้นแล เสวยทุกขเวทนา หนักกว่าก่อน อีกหมื่นปี.

    เรานั้นมีกายเห็นปานนี้คือ มีศีรษะเหมือนศีรษะมนุษย์ก็มี เหมือนศีรษะปลา ก็มี.

    อวสานคาถา

    [๕๖๖] ทูสีมารประทุษร้ายพระสาวกชื่อวิธุระ และพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ พระนามว่า กกุสันธะ แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร ทูสีมาร ประทุษร้ายพระสาวกชื่อวิธุระ และพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐพระนามว่า กกุสันธะ แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ คือ มีหลาวเหล็กร้อยหนึ่ง ล้วนให้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น

    ภิกษุใดเป็นพระสาวกของ พระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักนรกนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก วิมานทั้งหลายตั้งอยู่ ใน ท่ามกลางมหาสมุทร มีความตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์ มีความรุ่งเรือง มีรัศมี โชติช่วง เป็นประภัสสร

    พวกนางอัปสรมีวรรณะต่างๆ เป็นอันมาก ฟ้อนรำอยู่ที่วิมาน เหล่านั้น ภิกษุใด เป็นสาวก ของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักวิมานนั้น มาร ประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบ ทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดแล อันพระพุทธเจ้าทรงเตือนแล้ว เมื่อภิกษุสงฆ์ เห็นอยู่ ยังปราสาท ของมิคาร มารดาให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกของ พระพุทธเจ้าย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก

    ภิกษุใดเข้มแข็งด้วยกำลังฤทธิ์ ยังเวชยันตปราสาท ให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า และ ยังพวก เทวดา ให้สังเวช ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้าย ภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดทูลสอบถาม ท้าวสักกะ ในเวชยันตปราสาทว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านย่อมรู้ความน้อมจิตไปในธรรม เป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ท้าวสักกะ ถูกถามปัญหาแล้ว พยากรณ์แก่ภิกษุนั้นตามควรแก่กถา ภิกษุใดเป็นสาวก ของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จัก เหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์ อย่างหนัก ภิกษุใด ย่อมสอบถามพรหม ณ ที่ใกล้สุธรรมาสภาว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิของท่านในวันนี้ และทิฏฐิของท่าน มีในวันก่อน ท่านย่อมเห็น ทิฏฐินั้น ล่วงไปแล้ว และรัศมีเป็นประภัสสร ในพรหมโลกบ้างหรือ พรหมพยากรณ์ แก่ภิกษุนั้น ตามลำดับ โดยควรแก่กถาว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ข้าพเจ้าไม่มีทิฏฐินั้น และทิฏฐิในวันก่อน

    ข้าพเจ้าเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้ว และเห็นรัศมีเป็นประภัสสรในพรหมโลก(ฉะนั้น)วันนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวว่า เราเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน ได้อย่างไร

    ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดได้กระทบ ยอดภูเขามหาเนรุด้วย ชมพูทวีปด้วย ทวีปของชาวปุพพวิเทหะด้วย พวกนรชนผู้อยู่ในแผ่นดิน [ชาวอมรโคยานทวีป และชาวอุตตรกุรุทวีป] ด้วยวิโมกข์

    ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้เหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อม ประสบทุกข์อย่างหนัก ก็คนพาลมาเข้ากองไฟ ที่กำลังลุกโชน ย่อมเดือดร้อน อยู่ว่า ไฟย่อมไม่คิดจะเผาเรา แต่เราย่อมเผาตนผู้เป็นคน พาลเอง

    ดูกรมาร ท่านเบียดเบียนพระตถาคตแล้วจักเผาตัวเอง ดังคนพาลที่ถูกไฟเผา ฉันนั้น เหมือนกัน ดูกรมาร ท่านเบียดเบียนพระตถาคตแล้ว ต้องประสบบาปมิใช่บุญ ท่านอย่า สำคัญว่า บาปไม่ให้ผลแก่เราหรือหนอการกชนที่สั่งสมบาป ย่อมโอดครวญ ตลอดกาลนาน

    ดูกรมาร ท่านเบื่อหน่ายพระพุทธเจ้า อย่าได้ทำความหวัง [ซึ่งความพินาศ] ในภิกษุ ทั้งหลาย เลย ภิกษุได้คุกคามมารในเภสกลาวัน ด้วยประการฉะนี้

    ลำดับนั้น มารนั้นมีความเสียใจได้หายไป ในที่นั้น ฉะนี้แล.


    จบมารตัชชนียสูตร ที่ ๑๐

    จบจูฬยมกวรรคที่ ๕
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

    [​IMG]
    [​IMG]
    นาคสูตร
    ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นพญาช้าง

    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

    ๑. ปฐมวรรค ๓. สุภสูตร

    มารผู้มีบาปเอ๋ย พอกันทีสำหรับการแปลงกายของท่าน
    มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
    ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง


    นาคสูตรที่ ๒ จบ
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    [๑๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดเกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้พ้นแล้วหนอจากทุกกรกิริยานั้น เราเป็นผู้พ้นดีแล้วหนอจากทุกกรกิริยาอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั้น เราเป็นผู้บรรลุโพธิญาณแล้ว”

    ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้ทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

    มาณพทั้งหลายบริสุทธิ์ได้
    ด้วยการบำเพ็ญตบะใด
    ท่านหลีกจากการบำเพ็ญตบะนั้นแล้ว
    เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ สำคัญว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
    ท่านพลาดจากทางแห่งความบริสุทธิ์แล้ว

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

    เรารู้แล้วว่าตบะอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ตบะทั้งปวงหาอำนวยประโยชน์ให้ไม่
    ดุจไม้พายหรือไม้ถ่อ ไม่อำนวยประโยชน์บนบก ฉะนั้น
    จึงเจริญมรรค คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อตรัสรู้
    เป็นผู้บรรลุความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว
    มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว

    ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
    ............
    ตโปกัมมสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=137

    ครั้นทรงละตบะอย่างอื่นๆ นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทางที่เกิดเป็นพระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า สีลํ เป็นต้น.

    ในคำว่า สีลํ เป็นต้นนั้น ทรงถือเอาสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ด้วยคำว่า สีลํ. ทรงถือเอาสัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ ด้วยสมาธิ. ทรงถือเอาสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ด้วยปัญญา.

    บทว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ ได้แก่ ทรงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อตรัสรู้.

    ก็ในคำนี้ บทว่า โพธาย ได้แก่ เพื่อมรรค เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายต้มข้าวต้มอย่างเดียว ก็เพื่อข้าวต้ม ปิ้งขนมอย่างเดียว ก็เพื่อขนม ไม่ทำกิจไรๆ อย่างอื่นฉันใด บุคคลเจริญมรรคอย่างเดียว ก็เพื่อมรรคฉันนั้น.

    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ ดังนี้.

    บทว่า ปรมํ สุทฺธึ ได้แก่ พระอรหัต.

    บทว่า นีหโต ได้แก่ ท่านถูกเราตถาคตขจัดออกไป คือทำให้พ่ายแพ้ไปแล้ว.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาตโปกรรมสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=416
    #ศีล #สมาธิ #ปัญญา

    yx3qtzj73inojrdti5vhkegugp150klbyeiyjcri-_nc_ohc-jz7gtxdync4ax9z2h0m-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ทรงเจริญ #อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ #ศีล #สมาธิ และ #ปัญญา เพื่อตรัสรู้
    …………
    [๑๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดเกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้พ้นแล้วหนอจากทุกกรกิริยานั้น เราเป็นผู้พ้นดีแล้วหนอจากทุกกรกิริยาอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั้น เราเป็นผู้บรรลุโพธิญาณแล้ว”
    ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้ทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    มาณพทั้งหลายบริสุทธิ์ได้
    ด้วยการบำเพ็ญตบะใด
    ท่านหลีกจากการบำเพ็ญตบะนั้นแล้ว
    เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ สำคัญว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
    ท่านพลาดจากทางแห่งความบริสุทธิ์แล้ว
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
    เรารู้แล้วว่าตบะอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ตบะทั้งปวงหาอำนวยประโยชน์ให้ไม่
    ดุจไม้พายหรือไม้ถ่อ ไม่อำนวยประโยชน์บนบก ฉะนั้น
    จึงเจริญมรรค คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อตรัสรู้
    เป็นผู้บรรลุความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว
    มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
    ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
    ............
    ตโปกัมมสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=137
    ครั้นทรงละตบะอย่างอื่นๆ นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทางที่เกิดเป็นพระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า สีลํ เป็นต้น.
    ในคำว่า สีลํ เป็นต้นนั้น ทรงถือเอาสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ด้วยคำว่า สีลํ. ทรงถือเอาสัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ ด้วยสมาธิ. ทรงถือเอาสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ด้วยปัญญา.
    บทว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ ได้แก่ ทรงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อตรัสรู้.
    ก็ในคำนี้ บทว่า โพธาย ได้แก่ เพื่อมรรค เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายต้มข้าวต้มอย่างเดียว ก็เพื่อข้าวต้ม ปิ้งขนมอย่างเดียว ก็เพื่อขนม ไม่ทำกิจไรๆ อย่างอื่นฉันใด บุคคลเจริญมรรคอย่างเดียว ก็เพื่อมรรคฉันนั้น.
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ ดังนี้.
    บทว่า ปรมํ สุทฺธึ ได้แก่ พระอรหัต.
    บทว่า นีหโต ได้แก่ ท่านถูกเราตถาคตขจัดออกไป คือทำให้พ่ายแพ้ไปแล้ว.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาตโปกรรมสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=416

    ?temp_hash=8e6a1123170bfc3f84ce3861dff6d14f.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

    [​IMG]
    มารธีตุสูตรที่ ๕

    [๕๐๕] ครั้งนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา
    จึงพากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงถามพระยามารด้วยคาถาว่า
    ข้าแต่คุณพ่อ คุณพ่อมีความเสียใจด้วยเหตุอะไร หรือ
    เศร้าโศกถึงผู้ชายคนไหน หม่อมฉันจักผูกผู้ชายคนนั้นด้วย
    บ่วง คือราคะ นำมาถวาย เหมือนบุคคลผูกช้างมาจากป่า ฉะนั้น
    ชายนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของคุณพ่อ ฯ
    [๕๐๖] พระยามารกล่าวว่า
    ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้
    อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมาร
    ไปแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ
    [๕๐๗] ครั้งนั้นแล มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึง
    พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่าง
    นี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักขอบำเรอพระบาทของพระองค์ ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงใส่พระทัยถึงคำของนางมารธิดาเหล่า
    นั้น เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ
    [๕๐๘] ลำดับนั้น มารธิดา คือนางตัณหา นางอรดี นางราคา จึง
    หลีกออกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของ
    บุรุษมีต่างๆ กันแล อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรนิรมิตเพศเป็นนางกุมาริกาคน
    ละร้อยๆ ฯ
    ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันนิรมิต
    เพศเป็นนางกุมาริกาคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้ว
    กราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอ
    พระบาทของพระองค์ ฯ
    พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงใส่พระทัยถึงถ้อยคำของมารธิดา เพราะพระองค์
    ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ
    [๕๐๙] ลำดับนั้น มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา
    พากันหลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ร่วมกันคิดอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของ
    บุรุษมีต่างๆ กัน อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรพากันจำแลงเพศเป็นหญิงยังไม่เคย
    คลอดบุตรคนละร้อยๆ ฯ
    ลำดับนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึง
    พากันจำแลงเพศเป็นหญิงยังไม่เคยคลอดบุตรคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
    *พระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ
    พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอบาทของพระองค์ ฯ
    ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เพราะพระองค์
    ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ
    [๕๑๐] ฝ่ายนางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันหลีกไป ณ ที่ควร
    ข้างหนึ่งแล้ว ร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของบุรุษทั้งหลายมีต่างๆ กัน
    อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรจำแลงเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้วคราวเดียวคนละ
    ร้อยๆ ฯ
    ลำดับนั้นแล นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันจำแลงเพศเป็นหญิง
    คลอดแล้วคราวเดียวคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้ว
    กราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอ
    พระบาทของพระองค์ ฯ
    ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง เพราะพระองค์ทรง
    น้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ
    [๕๑๑] ลำดับนั้นแล นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากัน
    จำแลงเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้ว ๒ คราว คนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
    *พระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง
    เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ
    [๕๑๒] ลำดับนั้น นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากัน
    จำแลงเพศเป็นหญิงกลางคน คนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ฯลฯ ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เพราะพระองค์
    ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ
    [๕๑๓] ลำดับนั้น นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากัน
    จำแลงเพศเป็นหญิงผู้ใหญ่คนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ
    ฯลฯ แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง เพราะพระองค์ทรง
    น้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ
    [๕๑๔] ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากัน
    หลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงพูดกันว่า เรื่องนี้จริงดังบิดาของเราได้พูด
    ไว้ว่า
    ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้
    อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมารไป
    ได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ
    ก็ถ้าพวกเราพึงเล้าโลมสมณะหรือพราหมณ์คนใดที่ยังไม่หมดราคะ ด้วย
    ความพยายามอย่างนี้ หทัยของสมณะหรือพราหมณ์คนนั้นพึงแตก หรือโลหิตอุ่น
    พึงพลุ่งออกจากปาก หรือพึงถึงกับเป็นบ้า หรือถึงความมีจิตฟุ้งซ่าน (จิตลอย)
    เหมือนอย่างไม้อ้อสดอันลมพัดขาดแล้ว ย่อมหงอยเหงาเหี่ยวแห้งไป แม้ฉันใด
    สมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงซูบซีดเหี่ยวแห้งไป ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
    ครั้นแล้ว นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๕๑๕] นางตัณหามารธิดา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
    กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    ท่านถูกความโศกทับถมหรือ จึงได้มาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้
    ท่านเสื่อมจากทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้วหรือ หรือว่ากำลัง
    ปรารถนาอยู่ ท่านได้ทำความชั่วอะไรๆ ไว้ในบ้านหรือ
    เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ทำมิตรภาพกับชนทั้งปวงเล่า หรือว่า
    ท่านทำมิตรภาพกับใครๆ ไม่สำเร็จ ฯ
    [๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    เราชนะเสนาคือปิยรูปและสาตรูป (รูปที่รักและรูปที่พอใจ)
    เป็นผู้ๆ เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้ความบรรลุประโยชน์ และความ
    สงบแห่งหทัย ว่าเป็นความสุข ฯ
    เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำความเป็นมิตรกับชนทั้งปวง และ
    ความเป็นมิตรกับใครๆ ย่อมไม่อำนวยประโยชน์ให้แก่เรา ฯ
    [๕๑๗] ลำดับนั้น นางอรดีมารธิดาได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    ภิกษุในพระศาสนานี้ มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่าง
    ไหนมาก จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ แล้ว เวลานี้ได้ข้ามโอฆะที่ ๖
    แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ซึ่งบุคคลผู้เพ่ง-
    ฌานอย่างไหนมาก ฯ
    [๕๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    บุคคลมีกายอันสงบแล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว เป็นผู้ไม่มี
    อะไรๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง มีสติ ไม่มีความอาลัย ได้รู้ทั่ว
    ซึ่งธรรม มีปรกติเพ่งอยู่ด้วยฌานที่ ๔ อันหาวิตกมิได้ ย่อม
    ไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป ไม่เป็นผู้ย่อท้อ ฯ
    ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่
    อย่างนี้มาก จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้แล้ว บัดนี้ได้ข้ามโอฆะที่
    ๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ ซึ่งภิกษุผู้
    เพ่งฌานอย่างนี้มาก ฯ
    [๕๑๙] ลำดับนั้นแล นางราคามารธิดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วย
    คาถาว่า
    พระศาสดาผู้เป็นหัวหน้าดูแลคณะสงฆ์ ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว
    และชนผู้มีศรัทธาเป็นอันมาก จักประพฤติตามได้แน่แท้
    พระศาสดานี้เป็นผู้ไม่มีความอาลัย ได้ตัดขาดจากมือมัจจุราช
    แล้ว จักนำหมู่ชนเป็นอันมาก ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ฯ
    [๕๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ตถาคตมีความแกล้วกล้าใหญ่ ย่อมนำสัตว์ไปด้วยพระสัท-
    ธรรมแล เมื่อตถาคตนำไปอยู่โดยธรรม ไฉนความริษยา
    จะพึงมีแก่ท่านผู้รู้เล่า ฯ
    [๕๒๑] ลำดับนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา
    พากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ฯ
    พระยามารเห็นมารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา มาแต่ไกล
    ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวพ้อด้วยคาถาทั้งหลายว่า
    พวกคนโง่พากันทำลายภูเขาด้วยก้านบัว ขุดภูเขาด้วยเล็บ
    เคี้ยวเหล็กด้วยฟันทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะทำพระโคดมให้
    เบื่อเข้าต้องหลีกไป เป็นประดุจบุคคลวางหินไว้บนศีรษะแล้ว
    แทรกลงไปในบาดาล หรือดุจบุคคลเอาอกกระแทกตอ
    ฉะนั้น ฯ
    พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นางอรดี และนางราคา ผู้มีรูป
    น่าทัศนายิ่ง ซึ่งได้มาแล้วในที่นั้นให้หนีไป เหมือนลมพัด
    ปุยนุ่น ฉะนั้น ฯ
    จบวรรคที่ ๓
    -----------------------------------------------------
    รวมสูตรในวรรคที่สามมี ๕ สูตร คือ สัมพหุลสูตรที่ ๑ สมิทธิสูตรที่ ๒
    โคธิกสูตรที่ ๓ สัตตวัสสสูตรที่ ๔ มารธีตุสูตรที่ ๕ นี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
    ทรงแสดงแล้วกะมารธิดา ฯ
    จบมารสังยุต
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=e366f93f5c281d3ea83364d291630631.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

    [​IMG]
    มารสูตร
    โพชฌงค์เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร
    [๕๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมารและเสนามารแก่เธอ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น ก็มรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมารและเสนามารเป็นไฉน? คือ
    โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร และเสนามาร.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=fb15541a0fcd5798127d7889332844b7.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

    [​IMG]
    [​IMG]
    ๙. ปฐมอายุสูตร
    ว่าด้วยอายุ
    สูตรที่ ๑


    [๑๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
    เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
    เรื่องนี้ว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ
    ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ภิกษุ
    ทั้งหลาย คนที่มีชีวิตอยู่ได้นานก็อยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือจะอยู่เกินไปบ้างก็มีน้อย”

    [๑๔๕]@เชิงอรรถ :
    @๑ ดูเทียบคาถาข้อ ๑๒ หน้า ๑๒ ในเล่มนี้
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๘๔}
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

    ๑. ปฐมวรรค ๑๐. ทุติยอายุสูตร


    ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    มนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนยาว
    คนดีไม่ควรดูหมิ่นอายุนั้นเลย
    ควรทำตัวเหมือนเด็กอ่อนที่คอยแต่จะดื่มนม ฉะนั้น
    ความตายยังมาไม่ถึงหรอก
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
    ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
    มนุษย์ทั้งหลายมีอายุน้อย
    คนดีควรดูหมิ่นอายุนั้น
    ควรทำตัวเหมือนคนที่ถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
    ความตายที่จะมาไม่ถึงไม่มี

    ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
    ปฐมอายุสูตรที่ ๙ จบ
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์
    [​IMG]
    ๑๐. โพชฌงควิภังค์
    สุตตันตภาชนีย์
    โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑

    [๕๔๒] โพชฌงค์ ๗ คือ
    ๑. สติสัมโพชฌงค์
    ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์
    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
    ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์



    [๕๔๓] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง ระลึกได้
    ระลึกได้ย่อยๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นานๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นานๆ นี้เรียกว่า
    สติสัมโพชฌงค์
    ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้น
    ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร พิจารณา
    ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์
    ปีติ อันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่พระภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว
    นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์
    กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้เรียก
    ว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
    ภิกษุนั้น เป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    [​IMG]
    ๕. วักกลิสูตร
    ว่าด้วยการเห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า


    [๒๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
    ใกล้พระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่านพระวักกลิอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกข-
    *เวทนา พักอยู่ที่นิเวศน์ของนายช่างหม้อ. ครั้งนั้น ท่านพระวักกลิ เรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลาย
    มาแล้ว กล่าวว่า มาเถิดอาวุโส ท่านทั้งหลาย จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ จงถวาย
    บังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราแล้ว ทูลว่า พระเจ้าข้า วักกลิภิกษุอาพาธ
    เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา ท่านถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า และ
    พวกท่านจงทูลอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้า ได้ยินว่า ท่านขอประทานวโรกาส ขอทูลเชิญพระผู้มีพระภาค
    ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาท่านวักกลิถึงที่อยู่เถิด. ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านวักกลิ
    แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า พระเจ้าข้า วักกลิ-
    *ภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา ท่านถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียร
    เกล้า และทูลอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้า ได้ยินว่า ท่านขอประทานพระวโรกาส ขอทูลเชิญพระผู้มี-
    *พระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาวักกลิภิกษุถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับ
    นิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.
    [๒๑๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงครองผ้าแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
    ไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ ท่านพระวักกลิ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็น
    แล้ว ก็ลุกขึ้นจากเตียง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระวักกลิว่า อย่าเลย วักกลิ
    เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ ที่เขาปูลาดไว้มีอยู่ เราจะนั่งที่อาสนะนั้น. พระผู้มีพระ-
    *ภาคประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้. ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระวักกลิว่า ดูกรวักกลิ
    เธอพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนานั้น ปรากฏว่าทุเลาลง ไม่กำเริบ
    ขึ้นหรือ. ท่านพระวักกลิกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ไม่สามารถ
    ยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แรงกล้า มีแต่กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย ทุกข-
    *เวทนาปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย.
    พ. ดูกรวักกลิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อนอะไรบ้างหรือ?
    ว. พระเจ้าข้า ที่แท้จริง ข้าพระองค์มีความรำคาญไม่น้อย มีความเดือดร้อนอยู่ไม่น้อย
    เลย.
    พ. ดูกรวักกลิ ก็ตัวเธอเอง ไม่ติเตียนตนเองได้โดยศีลบ้างหรือ?
    ว. พระเจ้าข้า ตัวข้าพระองค์เอง จะติเตียนได้โดยศีลก็หาไม่.
    พ. ดูกรวักกลิ ถ้าหากว่า ตัวเธอเองติเตียนตนเอง โดยศีลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
    เธอจะมีความรำคาญและมีความเดือดร้อนอะไร?
    ว. พระเจ้าข้า จำเดิมแต่กาลนานมาแล้ว ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาค แต่ว่าในร่างกายของข้าพระองค์ ไม่มีกำลังพอที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้.
    พ. อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิ
    ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม. วักกลิ
    เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม. วักกลิ เธอจะ
    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ว. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ว. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
    เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
    ว. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
    พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ว. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ว. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
    เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
    ว. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
    พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอน ท่านพระวักกลิ ด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ทรงลุก
    จากอาสนะ เสด็จไปยังภูเขาคิชฌกูฏ.
    [๒๑๗] ครั้งนั้นแล พระวักกลิ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ได้เรียก
    ภิกษุอุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า มาเถิด อาวุโส ท่านจงช่วยอุ้มเราขึ้นเตียงแล้ว หามไป
    ยังวิหารกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ก็ภิกษุผู้เช่นกับเรา ไฉนเล่า จะพึงสำคัญว่าตนพึงทำกาละ ใน
    ละแวกบ้านเล่า? ภิกษุอุปัฏฐากเหล่านั้น รับคำท่านวักกลิแล้ว อุ้มท่านพระวักกลิขึ้นเตียง หาม
    ไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ที่ภูเขาคิชฌกูฏตลอด
    ราตรีและวันที่ยังเหลืออยู่นั้น. ครั้งนั้น เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดา ๒ องค์ มีฉวีวรรณ
    งดงาม ทำภูเขาคิชฌกูฏให้สว่างทั่วไปทั้งหมดแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
    ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว เทวดาองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า
    วักกลิภิกษุ คิดเพื่อความหลุดพ้น. เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า
    ก็วักกลิภิกษุนั้นหลุดพ้นดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่แท้. เทวดาเหล่านั้น ได้กราบทูลอย่างนี้แล้ว
    ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว ก็หายไป ณ ที่นั้นเอง.
    [๒๑๘] ครั้นพอราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า มา
    เถิด ภิกษุทั้งหลาย จงพากันเข้าไปหาวักกลิภิกษุถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงบอกวักกลิกภิกษุอย่างนี้ว่า
    อาวุโส วักกลิ ท่านจงฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคและคำของเทวดา ๒ องค์ อาวุโส
    ณ ราตรีนี้ เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว เทวดา ๒ องค์ ผู้มีฉวีวรรณงดงาม ทำภูเขาคิชฌกูฏให้
    สว่างทั่วไปทั้งหมด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว เทวดาองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า
    วักกลิภิกษุ คิดเพื่อความหลุดพ้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า
    ก็วักกลิภิกษุนั้น หลุดพ้นดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่แท้. อาวุโส วักกลิ แต่ว่าพระผู้มีพระภาค
    ตรัสกะท่านอย่างนี้ว่า อย่ากลัวเลย วักกลิ อย่ากลัวเลย วักกลิ จักมีความตายอันไม่ต่ำช้าแก่
    เธอ จักมีกาลกิริยาอันไม่เลวทรามแก่เธอ. ภิกษุเหล่านั้น รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
    เข้าไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านวักกลิว่า อาวุโส วักกลิ ท่านจงฟัง
    พระดำรัสของพระผู้มีพระภาค และคำของเทวดา ๒ องค์.
    [๒๑๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระวักกลิเรียกภิกษุอุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า มาเถิด
    อาวุโส ท่านจงช่วยกันอุ้มเราลงจากเตียง เพราะว่า ภิกษุผู้เช่นกับเรานั่งบนอาสนะสูงแล้ว จะ
    พึงสำคัญว่า ตนควรฟังคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นอย่างไรเล่า? ภิกษุเหล่านั้น รับคำของ
    ท่านพระวักกลิแล้ว ก็ช่วยกันอุ้มท่านพระวักกลิลงจากเตียงแล้ว กล่าวว่า ณ ราตรีนี้ เมื่อปฐม
    ยามล่วงไปแล้ว เทวดา ๒ องค์ ฯลฯ ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว
    เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า วักกลิภิกษุ คิดเพื่อความหลุดพ้น
    เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า ก็วักกลิภิกษุนั้น หลุดพ้นแล้ว
    จักหลุดพ้นได้แน่แท้. อาวุโส วักกลิ แต่ว่าพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงท่านอย่างนี้ว่า อย่ากลัว
    เลย วักกลิ อย่ากลัวเลย วักกลิ จักมีความตายอันไม่ต่ำช้าแก่เธอ จักมีกาลกิริยาไม่เลวทราม
    แก่เธอ. พระวักกลิกล่าวว่า อาวุโส ถ้าเช่นนั้น ท่านจงช่วยถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มี
    พระภาคด้วยเศียรเกล้า ตามคำของผมด้วยว่า พระเจ้าข้า วักกลิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนักได้รับ
    ทุกขเวทนา เธอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และยังได้สั่งมา
    กราบทูล อย่างนี้ว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงว่า รูปไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใด
    ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์. ข้าพระองค์
    ไม่เคลือบแคลงว่า เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง
    สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ความพอใจก็ดี กำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์ ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้น
    รับคำท่านพระวักกลิแล้วหลีกไป ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้น หลีกไปไม่นาน ท่านพระวักกลิก็นำเอาศาตรามา.
    [๒๒๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วักกลิภิกษุอาพาธเป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา ท่านขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าและยังได้สั่งมากราบทูลอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงว่า รูปไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์. ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงว่า เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง ไม่
    สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์ ดังนี้.
    [๒๒๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า มาไปกันเถิดภิกษุทั้งหลาย เราจะพากันไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นที่ที่วักกลิกุลบุตรนำเอาศาตรามา. ภิกษุเหล่านั้น รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อมด้วยภิกษุเป็นจำนวนมาก. ได้ทอดพระเนตรเห็น ท่านพระวักกลินอนคอบิดอยู่บนเตียงแต่ไกลเทียว. ก็สมัยนั้นแล ปรากฏเป็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอกลอยไป ทางทิศบูรพา ทิศปัศจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ.
    ลำดับนั้นเอง พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไปทางทิศบูรพา ฯลฯ และอนุทิศหรือไม่? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละคือมารใจหยาบช้า ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตรด้วยคิดว่าวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งไหนหนอ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรมีวิญญาณไม่ได้ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้ว.

    จบ สูตรที่ ๕.
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    +++ ฤทธิ์เทวปุตตมาร +++
    หมอกมืดมัวจนแทบมองไม่เห็นทาง อาตมาต้องช่วยน้องเล็กเพ่งดู คนหนึ่งสายตายาว คนหนึ่งสายตาสั้น เวลามีอะไรผิดปกติจะได้เตือนกันทัน หือม์..ผิดปกติ..??

    "ใช่..ท่านจะไปรับบิณฑบาต #ผมก็ต้องทำหน้าที่ขวางตามระเบียบ" โธ่..ไอ้เขี้ยวนี่เอง ไม่มีอะไรจะทำแล้วหรือวะ ? "มีครับ ก็ขวางท่านอยู่นี่ไง..!"

    "ถามจริง..มีความสุขมากใช่ไหม ที่ได้ขวางคนอื่นเขา ?"

    "ไม่ใช่ครับ #นี่เป็นหน้าที่ซึ่งต้องทำต่างหาก ผมอุตส่าห์ไล่คนออกจากวัด เห็นไหมครับ..? งานพิธีทางศาสนาห้ามมีคนเกิน ๒๐ คน แต่งานรื่นเริงมีได้ ๒๐๐ คน #ทำจนขนาดนี้แล้ว #ท่านยังทำโครงการดึงคนเข้าวัดอีก ผมก็ต้องขวางเป็นธรรมดา"

    เอาวะ..เอ็งขวางได้ก็ขวางไป อาตมากลับไปถึงวัดท่าขนุนตีห้าเศษ กลัวว่าถ้านอนพักจะโดนพ่อเจ้าประคุณแกล้งให้เผลอหลับยาว #จึงนั่งอ่านหนังสือจนหกโมงสิบห้านาที #ก็นำพระเณรออกบิณฑบาตเลย แต่..พอเดินถึงหน้าตลาด รู้สึกง่วงจนแทบจะเดินไม่ออก..!

    "อะไรอีกวะนี่ ?"
    "ยาครับ..ยาที่ท่านฉันเมื่อตอนออกเดินทาง เพิ่งจะออกฤทธิ์ครับ..!”"
    "เฮ้ย..ตั้งสามสี่ชั่วโมงมาแล้วนะ..?"
    "จำได้ไหมครับ ? เมื่อ ๒๙ ปีที่แล้ว #หลวงพ่อของท่านแทบจะยืนไม่ติด #ตอนที่ออกรับแขก #ขนาดต้องหามใส่เก้าอี้ไป" นั่นก็ฝีมือเอ็งหรอกหรือ ?

    "รับด้วยความภูมิใจว่าใช่ครับ #ผมทำหน้าที่อย่างเต็มที่เลยนะนั่น"
    "ถามจริงอีกที..เอ็งทำได้อย่างไรวะ ? ยากินลงไปตั้งนานเนกาเล แล้วไม่ออกฤทธิ์ ?"
    "ง่ายจะตายไป..#ก็แค่ใช้พลังงานห่อหุ้มเอาไว้ก่อน #พอจะให้ออกฤทธิ์ตอนไหนก็ค่อยปล่อยให้ละลาย อาศัยขันธมาร ๕ ส่วน อภิสังขารมาร ๔ ส่วน เทวปุตตมารอย่างผมออกแรงแค่ ๑ ส่วนเท่านั้น"

    "อภิสังขารมารเกี่ยวอะไรด้วยวะ ?"​
    "ท่านอย่าทำเป็นความจำสั้น ออกรบมากี่ครั้ง ? วางยาข้าศึกไปเท่าไร ? #ผมก็แค่เอาการกระทำของท่านมาส่งคืนให้ท่านเท่านั้นเอง..!"

    เออ..เอ็งเก่ง..! พยายามตั้งสติเดินให้ตรงทาง #ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเราจริง#แทบจะบังคับให้เดินไม่ได้เอาเลย ต้องใช้กำลังกายกำลังใจแบบสุดความสามารถ ที่จะต้านฤทธิ์ยาเอาไว้ ไม่ให้หลับหรือล้มจนคนเขาแตกตื่นกันทั้งตลาด พยายามหายใจยาว ๆ เพื่อเรียกความสดชื่นให้กับร่างกาย #แต่หน้ากากอนามัยก็ทำให้หายใจไม่ถนัดอีก นายแน่มากเลยว่ะ..!

    มาถึงสวนสาธารณะหัวสะพานแขวนหลวงปู่สาย ท่านนายกฯ ประเทศ บุญยงค์ นำชาวบ้านและนักท่องเที่ยวมารออยู่แล้ว ทีข้าบ้างละนะ..!

    "สะหัสสะเนตโต เทวินโท ทิพพะจักขุง วิโสธายิ อิกะวิติ พุทธะสังมิ โลกะวิทู"

    #แสงสว่างลำมหึมาแหวกม่านหมอกมืดมัวของ "พลังมาร" #พุ่งตรงลงมาครอบคลุมทั่วบริเวณจนสว่างไสวไปทั่ว อาตมาให้ศีล ให้พร แล้วเดินรับบาตรแบบสบายใจเฉิบ..!

    "#เก่งเหมือนกันนี่หว่า #ถึงแม้ว่าจะขี้โกงด้วยการใช้กำลังของพระของเทวดามาช่วยก็เถอะ"

    "แน่น้อนนน..#ขืนแสดงตั้งแต่ต้นทาง #เอ็งก็เปลี่ยนวิธีแกล้งอีก จึงต้องรอจนวินาทีสุดท้ายค่อยปล่อยไม้ตาย ขงเบ้งบอกว่า "#แกล้งโง่ไม่เป็น #เป็นใหญ่ไม่ได้โว้ย..!"

    เก็บตกบ้านเติมบุญ ต้นเดือนมกราคม ๒๕๖๔
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ถาม : มารใช้วิธีกระตุ้นกิเลสที่มีอยู่แล้วในใจคนให้กำเริบขึ้น ทำให้คนเราทำความชั่วได้ง่าย ในทางกลับกัน เราพอจะมีวิธีกระตุ้นให้ความดีในใจคนให้รุนแรงขึ้น เพื่อที่คนเราจะได้มีกำลังใจในการทำความดีเพิ่มขึ้น แบบมีประสิทธิผลไม่แพ้มารบ้างไหมครับ ?

    ตอบ : นั่งสมาธิให้ได้ตั้งแต่ปีติขึ้นไป กระตุ้นดียิ่งกว่าเสพยาบ้าอีก แต่ต้องระวัง..ถ้าขยันจนลืมการพักผ่อน มารจะแทรกเข้ามาได้ง่าย..!

    __________________
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนมกราคม ๒๕๖๔
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=7ed98c52cf6d0b9014abbadf61470d3a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=e2116ee700d2cd9d024d8230d53ccf07.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    0aZEIf_dfssdiNanJ8I5orkSxbC9IcKrAU7WOFXM5Z8R&_nc_ohc=6VljS2LR59IAX-K_a7c&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    พระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า เมื่อเช้าของวันศุกร์ท่านตื่นขึ้นมา แล้วเดินเซ เลือดไม่พอเลี้ยงสมอง เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ท่านกล่าวถึงเรื่องของมารว่า "มารเขาทดสอบเราอยู่ตลอดเวลา เขาใช้คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือ

    วันพุธมีเรียนช่วงเช้า กะว่าตอนบ่ายจะได้พักผ่อนสักครึ่งวัน ปรากฏว่าโยมเขามีปัญหา เขาก็เลยต้องพาเราตะลอน ๆ ไปถึงวัดท่าขนุน เวลาพักผ่อนก็หายไป ไปถึงวัดท่าขนุนจัดการแก้ปัญหาให้เขาเสร็จเรียบร้อย ก็ว่าจะพักผ่อน พอนอนลงเท่านั้นแหละ หมาเห่ากันสนั่นหวั่นไหวไปหมด อาตมาก็สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ก็ลุกขึ้นมาดู ปรากฏว่าแม่ชีเขาจะมาจัดสวนให้ ตรงตึกแดง

    ปกติแล้วเวลาแม่ชีไปไหน บรรดาหมาจะแห่ตามประมาณ ๑๐ ตัวขึ้นไป ทีนี้พอหมาไปข้ามเขตแดนของหมาตัวอื่นเข้า หมาทางด้านตึกประจวบดีและตึกเตชะไพบูลย์ก็ไปลุยกับเขา พอแม่ชีเขาเห็นอาตมา "อ้าว..หลวงพ่ออยู่หรือ ?" เขาก็ตัดสินใจกลับ ไม่จัดสวนแล้ว อาตมาก็คิดว่า "เออ..จะได้นอนแล้ว"

    พอนอนลงไป คราวนี้ไก่ตัวหนึ่งไข่ พวกนี้พอไข่แล้วต้องประกาศให้ตัวอื่นรู้ว่าไข่แล้ว ก็ร้องกระต๊ากขึ้นมา ไก่ที่เหลือประมาณ ๒๐๐ กว่าตัวก็ช่วยกันแห่ร้อง สนั่นไปหมด อาตมาก็เปิดประตู "กูทำงานก็ได้วะ..!" เพราะรู้ว่าไม่ได้นอนแน่ ถึงนอนต่อเขาก็หาวิธีอื่นมาจัดการอีก

    จนกระทั่งทำวัตรเย็นเสร็จ กะนอนตอนหัวค่ำ พอเสียงตามสายรอบสองทุ่มดังขึ้นก็นอน พอสี่ทุ่มก็สะดุ้งตื่น เสียงอะไรดังสนั่นหวั่นไหว ? ตอนแรกคิดว่ามีหนูอยู่ในห้อง พอเปิดไฟดู ก็เงียบ พอปิดไฟจะนอนต่อ เสียงก็ดังอีก คราวนี้เลยรีบลุกขึ้นมาตั้งใจฟัง ปรากฏว่าเสียงดังอยู่ข้างหลังตึก ไม่ได้ดังอยู่ในห้อง ก็เลยลุกไปเปิดหน้าต่างดู โดยไม่เปิดไฟ เลยเห็นพวกหมาวัยรุ่น ไปวิ่งไล่กันบนกองสังกะสี และอาตมาเป็นคนที่ตื่นแล้วจะไม่หลับอีก ก็แปลว่าได้นอนแค่สองชั่วโมง..!"

    "รุ่งเช้าบิณฑบาตเรียบร้อยก็โทรตรวจสอบถึงรถที่จะมารับ เขาบอกว่าเพิ่งจะถึงแคมป์หินตก ก็เหลือระยะเวลาอีกประมาณ ๑ ชั่วโมง อาตมาก็คิดว่าคราวนี้ได้นอนแน่ ๆ
    อากาศเช้านั้น ๑๗ องศา อาตมาก็มุดเข้าใต้ผ้าห่มกำลังนอนสบาย โทรศัพท์ก็ดังกริ๊ง....

    "หลวงพ่ออยู่ไหนคะ ? หนูจะเอาบัญชีมาคืน" พวกธนาคารเขาเอาบัญชีไปตั้งหลายวันไม่คืน ดันเอามาคืนตอนนอน อาตมาก็คิดว่า "ก็ได้วะ" พอรับบัญชีจากเขาเสร็จ ไล่ตะเพิดไป ปิดประตูจะนอน

    โยมมาอีกชุดหนึ่ง เขาจะมาลากลับ อาตมาก็ต้องมุดจากผ้าห่มมาให้เขาลา อวยชัยให้พรเสร็จ มุดกลับเข้าไปนอนอีก โทรศัพท์กริ๊ง... "มาถึงแล้ว.." ไม่ได้นอนอีกตามเคย
    เมื่อวานวิ่งมาก็ต้องมาคุมสอบต่อ คุมสอบจนกระทั่ง ๕ โมงเย็นจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ มา และก็ไม่รู้ว่ารถติดอะไร กว่าจะมาถึงที่นี่ก็เกือบสองทุ่ม...

    อาตมาก็มานั่งคิดว่า "จะเจอเหมือนเดิมหรือเปล่า ?" เพราะว่าพอร้านก๋วยเตี๋ยวข้างล่างเลิกงาน เขาจะเล่นคาราโอเกะกัน เขาร้องเพลงกันข้างล่างนี่ พื้นสะเทือนเลยนะ...
    ปรากฏว่าคาดผิด เพราะสงบกว่าที่คิด อาจจะเป็นเพราะว่าอาตมาเตรียมรับไว้แล้ว กะจะแผ่เมตตาให้สุด ๆ เลย ดันไม่โผล่มาเลย ก็เลยหลับยาว แต่ร่างกายยังไม่พอ เพราะขาดทุนมาหลายวัน ลุกขึ้นมานี่เดินเซเลย รู้ว่าเลือดไม่เลี้ยงสมอง ก็มานั่งคิดว่าขนาดอาตมายังไม่คิดจะเว้นเลย ไหนคุยว่าเป็นพวกกัน

    งานอะไรก็ตามที่เราทำเพื่อส่วนรวมโดยเฉพาะในส่วนของความดี เขายิ่งต้องขวางให้มากเป็นพิเศษ ก็เลยกลายเป็นอะไรที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

    เจอเข้านี่อย่าเป๋นะ ถ้าไปเสียหลัก หลุดจากอารมณ์เฉพาะหน้าเมื่อไร รัก โลภ โกรธ หลง จะเข้าได้ ทีนี้ยาวเลย นั่นเขาแค่แหย่ให้เราขุ่น พอเราขุ่นเขาก็สามารถที่จะจูงเราไปทางไหนก็ได้ ต้องระวังให้ดี ๆ

    ถ้าจู่ ๆ คุณลูกสุดที่รักงี่เง่าขึ้นมาเฉย ๆ จากนางฟ้าน้อย ๆ ก็กลายเป็นลูกปิศาจขึ้นมาเฉยเลย นั่นแหละ..วิธีทดสอบ เขาสอบได้แสบมาก ๆ"

    เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์
    เดือนมีนาคม ๒๕๕๓
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    RAO7VphfbXbZW2CLaVWx99x_dkzZFeu6ng5yn-iKm1I&_nc_ohc=x9-8DTg0nM8AX_UTllV&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,803
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,142
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=0e851c721d1eb0955787c47cbf650ee2.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...