กรดกัดแก้ว หน้าล่าสุด

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 พฤศจิกายน 2018.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    กระทู้นี้ผมตั้งใจมอบวิทยาทานนี้ให้แก่คนที่สนใจหลอมแก้วเป็นพระพุทธรูปและรูปอื่นๆเท่านั้น ผมจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ผมเคยผ่านงานเหล่านี้มาด้วยตนเองด้วยวิธีเล่า หรือฝึกให้คนที่สนใจได้สามารถจินตนาการตาม นึกคิดตาม หรือแม้แต่นึกคิดให้เท่าทัน และในที่สุดก็จะสามารถก้าวให้ไกลและไปให้ถึงสุดความฝันนั้นๆ ดังนั้น กระทู้นี้อาจมีลักษณะเหมือนคนพูดจาแบบว่า วาดฝันบ้าง เพ้อเจ้อบ้าง เพ้อฝันบ้าง แต่ความจริงของศิลปินหรือช่างหลอมแก้วควรต้องมี ก็คือความฝันและความกล้าที่จะฝัน และเมื่อทุกอย่างตกผลึกแล้ว เมื่อวันนั้นมาถึง วันที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่วาดฝันไว้ก็อาจเป็นจริงขึ้นมาได้

    การเล่าประสบการณ์ตรงของผมในกระทู้นี้นั้น บางครั้งอาจมีการข้ามไปยังวิชาอื่นๆ เช่น วิชาหลอมแก้วในเตาหลอมขนาดเตา 6 - 8 เบ้าใหญ่ ( เบ้าละ 350 kg ) และมีเบ้าเล็กอีกหลายๆเบ้า ( เบ้าเล็กเบ้าละ 35 - 55 kg ) ซึ่งนั่นเป็นวิธีการหลอมแก้วจากทรายและเคมีภัณฑ์ ไม่ใช่หลอมแก้วจากก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อที่เป็นเป้าหมายของกระทู้นี้ครับ

    เป้าหมายของกระทู้นี้คือวิชา Lost Wax Glass แต่เนื่องจากวิชา Lost Wax Glass นั้น หากเราเริ่มต้นโดยไม่ได้รู้เรื่องแก้วมาก่อนเลย เราอาจไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของแก้ว ในอดีตช่างหลอมแก้ว Lost Wax Glass ควรต้องผ่านการเป็นช่างหลอมแก้วในระบบเตาหลอมใหญ่มาก่อนไม่มากก็น้อย แต่ปัจจุบันคนเราไม่มีโอกาสเช่นนั้น เรามักข้ามมาถึงเป้าหมายทันที ผมเห็นว่า หากเราได้เข้าใจธรรมชาติของแก้วจากการเล่าประสบการณ์จริง การผ่านงานเหล่านี้มา จะสามารถถ่ายทอดธรรมชาติของแก้วได้ไม่มากก็น้อย

    ประโยชน์คือท่านที่นึกตามได้ ฝันตามได้ ในที่สุดจะสามารถฝันไกลไปถึง และจะสามารถข้ามขั้นตอนอื่นๆ โดยสามารถมาเป็นช่างหรือศิลปินหลอมพระพุทธรูปจากก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อได้ในทันทีครับ ซึ่งนั่นก็คือวิชา Lost Wax Glass
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    หน้า 1 ความคิดเห็นที่ #1 เนื้อความของกระทู้
    หน้า 1 #2 - #10 สารบัญ
    หน้า 1 #11 ภาพขาวดำโรงหลอมแก้วในฝรั่งเศสเมื่อหลายร้อยปีที่แล้ว
    และภาพเตาหลอมแก้วชนิดเบ้าหมูหันหลังชนกันของบริษัทจื่อโปหลงไท่
    zibolongtai cave industry technology co.,ltd. ที่รับสร้างเตาข้ามประเทศ
    หน้า 1 #12 ภาพเตาหลอมชนิดเบ้าหมูหันหลังชนกันที่ไม่เผื่อพื้นที่เบ้าทดลองสี ( หลังคาเตี้ย )
    หน้า 1 #13 เตาหลอมแก้วคริสตัลของโรงหลอมแก้วในฝรั่งเศส
    หน้า 1 #14 เครื่องวัดอุณหภูมิไร้สายระยะห่างปานกลาง
    หน้า 1 #15 การเปลี่ยนเบ้าหลอมแก้วของโรงหลอมแก้วลาลีคฝรั่งเศส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2018
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สำรองพื้นที่สารบัญ 2
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สำรองพื้นที่สารบัญ 3
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สำรองพื้นที่สารบัญ 4
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สำรองพื้นที่สารบัญ 5
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สำรองพื้นที่สารบัญ 6
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สำรองพื้นที่สารบัญ 7
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สำรองพื้นที่สารบัญ 8
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    สำรองพื้นที่สารบัญ 9
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    Plate_27_10_1.jpg
    เมื่อหลายร้อยปีหรือนับพันปีที่ผ่านมา หลายประเทศในโลกเรียนรู้วิธีหลอมแก้วแบบเตาหลอมชนิดเบ้ารูปหมูหันหลังชนกันหลายเบ้า ส่วนมากในยุโรปเมื่อหลายร้อยปีที่แล้วมาถึงปัจจุบันปี ค.ศ. 2018 ก็ยังมีโรงหลอมแก้วหลายแห่งที่เรียนรู้และผลิตสินค้าชิ้นงานแก้วด้วยเตาหลอมแบบเดิม
    Glass_Melting_Crucible_Furnace_For_Sale.jpg
    ตั้งแต่โบราณนับพันปีถึงปี ค.ศ. 2018 หรือ พ.ศ. 2561 โรงหลอมแก้วชนิดที่ต้องการแก้วหลายสีหรือหลายชนิดแก้วพร้อมกับมีการทดสอบทดลองแก้วต่างๆมักใช้เตาหลอมแก้วชนิดนี้ คือเตาหลอมแก้วชนิดเบ้ารูปหมูหันหลังชนกันชนิด 6 หรือ 8 เบ้าใหญ่ และเบ้าทดลองหลายๆเบ้าเล็ก เฉพาะเบ้าใหญ่เท่านั้นที่นับน้ำหนักแก้วที่หลอมวันละประมาณ 2 ตันครึ่งขึ้นไป เบ้าเล็กมักไม่ได้รับการนับน้ำหนักแก้ว เพราะเป็นการทดลอง รูปร่างเตาหลอมชนิดนี้แทบไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบเลยมานับพันปี แต่มีการต่อยอดวิชาหลอมแก้วออกเป็นแก้วหลายชนิด และหลายวิชาการขึ้นรูปชิ้นงานแก้ว
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    2001.gif
    ภาพนี้เป็นเตาหลอมแก้วชนิดน้ำแก้วโซดาไลม์ซิลิก้าขนาด 10 เบ้าหลอม เบ้าละประมาณ 250 - 350 kg แต่ไม่เผื่อเนื้อที่สำหรับใส่เบ้าเล็กสำหรับการทดลองไว้ในเตา ทั้งนี้แล้วแต่จุดประสงค์ในแต่ละโรงหลอมที่มักไม่เหมือนกัน หากไม่ต้องการเบ้าเล็กสำหรับทดลองก็ไม่จำเป็นต้องเผื่อเนื้อที่ เพราะการเผื่อเนื้อที่จะทำให้ฝาเตาสูงขึ้นโดยใช่เหตุ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    Pot_melting_furnaces-regenerative-foto.jpg
    ในยุโรปโดยเฉพาะในฝรั่งเศส ยังคงรักษารูปแบบโรงหลอมแก้วที่ขึ้นรูปชิ้นงานแก้วด้วยหลายๆเทคนิควิธีเข้าไว้ในโรงหลอมเดียวกัน แต่ยังคงเตาหลอมแก้วชนิดเบ้าหมูหันหลังชนกันหลายๆเบ้าไว้อย่างเดียวกับอดีตที่ผ่านมาหลายร้อยปี สังเกตุฝาเบ้าที่มีรูปร่างแบบนี้ พอเห็นปั๊บก็จะทราบได้ทันทีว่า โรงหลอมนี้มีแต่น้ำแก้วคริสตัลเท่านั้น การที่มีหลายเบ้าหลอมทำให้สามารถใช้น้ำแก้วคริสตัลสีต่างๆกันได้ในการขึ้นรูปครั้งเดียวกันในขณะเดียวกัน

    เตาหลอมน้ำแก้วคริสตัลชนิดนี้ยังคงยึดถือทั้งวิธีโบราณและสูตรการหลอมแก้วโบราณ แต่พัฒนาต่อยอดขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ส่วนมากยังคงยึดถือการหลอมทรายทะเลสีขาวพร้อมกับเคมีภัณฑ์ต่างๆด้วยความร้อนประมาณ 1,480C นานกว่า 10 ชั่วโมงทรายและเคมีภัณฑ์จึงจะสุกกลายเป็นน้ำแก้วในเบ้าหลอม ส่วนที่เมื่อน้ำแก้วสุกแล้ว จะใช้งานทันทีหรือไม่ ? นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการขึ้นรูปชิ้นงานที่เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญ ทางฝรั่งเศสมักเลือกให้ความร้อนที่ 1,480C ต่อเนื่องนานถึง 48 ชั่วโมง แม้น้ำแก้วจะสุกไปตั้งแต่ชั่วโมงที่ 10 แล้วก็ตาม แต่เขาเลือกหลอมต่อไปอีกเพื่อเปิดทางให้ฟองอากาศหลุดออกไปจนหมดสิ้นก่อน จึงจะม้วนน้ำแก้วขึ้นมาใช้งาน
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    TB18CrEGpXXXXbgXVXXXXXXXXXX_!!0-item_pic.jpg
    การเลือกซื้อเครื่องมือในปัจจุบัน มีสินค้าให้เลือกซื้อหลายระดับ ถ้าเป็นผม ผมจะเลือกซื้อตัวที่ 50 - 1,850C ถึงแม้การใช้งานส่วนมากจะใช้ตัวที่ 50 - 1,600C ก็พอแล้ว ถ้าไม่แพงกันมากก็เลือกที่ดีกว่าครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    16464517_288439831559410_8490021682621186048_n.jpg
    ทบทวนครับ เมื่อเห็นฝาหรือปากเบ้าหลอมแก้วรูปแบบนี้ ก็รู้ได้ทันทีครับ ว่านี่คือเบ้าหลอมแก้วคริสตัล ไม่ใช่เบ้าหลอมแก้วโซดาไลม์ซิลิก้า

    ในภาพนี้คือการนำเบ้าหลอมแก้วขนาดน่าจะถึง 500 kg ออกจากเตาวอร์มอัพ เตานี้จะอุ่นเบ้าหลอมใหม่เอี่ยมป้ายแดงจากอุณหภูมิห้องให้ขึ้นถึงประมาณ 650 - 700C โดยช่างหลอมแก้วที่เชี่ยวชาญต้องย้ายเบ้าออกจากเตาวอร์มไปเข้าสู่เตาหลอมใหญ่

    เมื่อจะนำเบ้าหลอมใหม่เอี่ยมมาทดแทนเบ้าเก่าที่ถึงเวลาต้องเปลี่ยน ช่างเฝ้าเตาหลอมใหญ่ ต้องลดอุณหภูมิเตาหลอมใหญ่จาก 1,480C ลงมาให้ใกล้เคียงกับเบ้าใหม่ซึ่งขณะนั้นก็คือประมาณ 700C โดยต้องค่อยๆลดนะครับ ไม่ใช่ลดฮวบฮาบ และเมื่อนำเบ้าหลอมใหม่ป้ายแดงเข้าเตาหลอมใหญ่สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิขึ้นอย่างช้ามากๆครับ จนในที่สุดก็ขึ้นถึงอุณหภูมิเดิมคือ 1,480C นี่หมายถึงแก้วคริสตัลเกรดดีที่หลอมแก้วจากทรายและเคมีภัณฑ์นะครับ ( ในโอกาสต่อไปภายหลังจะได้พูดถึงเตาหลอมชนิดและขนาดเดียวกัน แต่หลอมแก้วจากก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อที่อุณหภูมิหลอมเหลวต่ำกว่านี้มาก โรงหลอมแก้วชนิดนี้เพิ่งเกิดมาได้ไม่กี่สิบปีในยุโรปครับ ไว้โอกาสต่อไปจะได้เล่าให้ฟัง )
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    Factory-High-Quality-Clay-Crucible-For-Melting.jpg_350x350001.jpg
    เบ้าหลอมเล็กขนาดสามารถสั่งทำได้ จะเริ่มต้นที่เบ้าจุ 20 kg ขึ้นไปถึงเท่าไรก็สั่งทำได้ แต่ส่วนมากก็มักเลือกใช้เบ้า 35 kg แล้วเลือกใส่ทรายและเคมีภัณฑ์เพียงแค่ครึ่งๆเบ้า โรงหลอมแก้วที่มีเบ้าทดลองยิ่งมาก และใช้บ่อยมาก เช่นยิ่งมีการทดลองทุกวัน วันละหลายๆเบ้า ก็แปลว่าโรงหลอมแก้วนั้นจะยิ่งรู้สูตรสีของแก้วได้มากสีกว่า หรือการหลอมชนิดของแก้วก็จะยิ่งรู้มากกว่าโรงหลอมที่ไม่ได้ทดลองหรือที่ทดลองน้อย
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    Glass_Melting_Crucible_Furnace_For_Sale01 (2)03.jpg
    นี่คือเบ้าหลอมแก้วขนาดมาตราฐาน ชนิดหลอมแก้วโซดาไลม์ซิลิก้า หรือแก้วธรรมดา แก้วธรรมดาๆคือแก้วที่นำมาขึ้นรูปถ้วย โถ โอ ชาม โคมไฟที่ไม่ต้องทนความร้อนมากเกินไป เช่นโคมไฟสวยงามที่ทนแค่ไม่เกิน 80C ( แต่สมัยที่ผมหลอมแก้วโซดาไลม์ซิลิก้าเพื่อทำโคมไฟสวยงาม ผมหลอมและทดสอบทดลองที่ประมาณ 100C ทั้งๆที่ก็ยังเป็นแก้วโซดาไลม์ แต่คุณภาพดีกว่าโซดาไลม์ที่ผสมเศษแก้วมากๆเคมีภัณฑ์น้อยๆเพื่อลดต้นทุน เราเลือกคุณภาพได้ด้วยตัวเราเอง และยังมีปรมาจารย์แก้วอีกมากที่หลอมได้ดีกว่านี้ เช่น ทนได้ถึง 150C ทั้งที่เป็นแก้วธรรมดาด้วยซ้ำไป )
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    candia-floor-lamp-by-gino-vistosi-for-vistosi.jpg
    โคมไฟสวยงามที่อยู่ภายนอกอาคาร เช่น โคมสนามก็ดี โคมติดผนังภายนอกอาคารก็ดี ในรูปนี้คือโคมไฟติดผนังนอกบ้านรูปเห็ด ในอดีตผมเคยสร้างโคมเห็ดสนามทุกขนาด ตั้งแต่สูงแค่ฟุตเศษๆ ถึงสูง 70 c.m. โคมชนิดนี้สมัยนั้นถึงแม้ในสมัยนี้ในต่างประเทศก็ยังนิยมแก้วสีขาวนม ซึ่งแก้วที่เป็นสีขาวนมนี้ขวางทางแสงมาก ทำให้ต้องเร่งแสงด้วยการใช้หลอดแสงจันทร์ Mercury Lamp ซึ่งมีความร้อนสูงมากพอสมควร อุณหภูมิที่หลอดไฟปล่อยออกมานั้นสูงถึงร้อยกว่า C และเมื่อความร้อนมาถึงผิวแก้วก็จะร้อนถึงเกือบ 100C การทดลองคือเปิดไฟไว้นานหลายชั่วโมง แล้วใช้น้ำฉีดให้เหมือนฝนตก ให้หยดน้ำกระทบผิวแก้วทันที ทำเช่นนี้หลายครั้งมาก จนกว่าจะแน่ใจว่า น้ำแก้วโซดาไลม์ซิลิก้าเกรดที่เราหลอมจะสามารถทนได้โดยแก้วไม่แตกร้าวเลยแม้แต่ครั้งเดียว
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    โคมถนนหลังเต่า01.jpg
    โคมถนนในสมัยก่อนใช้ฝาครอบแก้ว ที่โรงหลอมแก้วผมใช้แก้วโซดาไลม์ซิลิก้าและได้ผลิตฝาครอบแก้วนี้ใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา โดยโคมไฟถนนเหล่านี้สมัยนั้น ใช้แค่หลอดแสงจันทร์หรือ Mercury Lamp ขนาด 125 - 160 watt

    ต่อมาภายหลังคาดว่าหลังปี พ.ศ. 2530 มีการเริ่มใช้หลอดไฟที่ให้ความร้อนสูงกว่าหลอดแสงจันทร์ขนาดไม่เกิน 160 watt แต่ขณะนั้นผมไม่ได้อยู่ในสายงานการผลิตโคมถนนชนิดนี้แล้ว จึงไม่ทราบความเคลื่อนไหวของการทดสอบทดลองใดๆ และยิ่งผ่านปี พ.ศ. 2535 ทราบว่ามีการเปลี่ยนวัสดุจากแก้วไปใช้พลาสติคทนความร้อนที่ทั้งราคาถูกกว่าและน้ำหนักเบากว่ามาก
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,316
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    EL30748.jpg
    รูปนี้เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น

    ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมาแก้วโคมไฟหน้ารถยนต์ในรูปแบบต่างๆทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกลม แผ่นเหลี่ยม มีนูน หรือมีโค้งมนใหญ่โค้งมนเล็กที่โรงหลอมแก้วของคุณพ่อผมสมัยนั้น เราได้รับออร์เด้อร์จากผู้ผลิตรถยนต์บางยี่ห้อให้ผลิตส่งให้ ต่อมาปรมาจารย์แก้วของผมได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ศิษย์อีกท่านหนึ่งซึ่งเลือกใช้แก้วโบโรซิลิเกต ( แก้วโบโรซิลิเกตทนความร้อนสูงกว่าแก้วโซดาไลม์ซิลิก้ามาก ) แต่ถึงกระนั้น ผมเองก็เคยผ่านงานนี้เป็นเวลาหลายปี

    ต่อมาไม่ทราบปี พ.ศ. โคมไฟหน้ารถยนต์ส่วนมากหันมาใช้พลาสติคกันมากยิ่งขึ้น และคาดว่า เกือบ 90% ในปัจจุบันโคมไฟหน้ารถยนต์หรือแก้วไฟหน้ารถยนต์หันมาใช้พลาสติคเป็นวัสดุหลักแล้ว

    หากแต่ยังมีโรงหลอมแก้วชนิดแก้วโบโรซิลิเกตอยู่ทั้งในเมืองไทยและในต่างประเทศที่ยังผลิตโคมไฟหน้ารถยนต์และภาชนะทนความร้อนสูงอยู่ และยิ่งวันแก้วโบโรซิลิเกตในไทยก็ยิ่งทวีความสามารถทนร้อนได้สูงขึ้น จากเดิมแก้วโบโรซิลิเกตเกรดไทยเราจะทนแค่ 250C ปัจจุบันเราน่าจะทนได้ถึง 350C แล้วและกำลังพัฒนาให้ทนได้สูงขึ้นไปอีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...