กฏแห่งกรรม: หลายคำถามที่คุณอาจเคยสงสัย

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย โตโต้, 22 มีนาคม 2007.

  1. โตโต้

    โตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +610
    ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
     
  2. โตโต้

    โตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +610
    1) กรรม

    คำว่า กรรม จริงๆแล้วเป็นคำกลางๆ หมายถึง ‘การกระทำ’ อาจเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ได้ ทุกครั้ง ที่สิ่งมีชีวิตกระทำกรรมโดยเจตนาทั้งทางกาย วาจา ใจ จะมีผลย้อนกลับมาหาผู้กระทำเสมอ ผลที่ย้อนกลับมานี้ก็คือ ‘วิบาก’ หรือผลของกรรมนั่นเอง พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ได้มาฟรีหรือเสียไปเปล่า เหมือนเช่นกฎ ‘conservation of energy and mass’ ในฟิสิกส์ ที่ว่า สสารและพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปแบบกันได้แต่สุดท้ายแล้วจะไม่มีอะไรสูญหายไปไหน แต่กฏแห่งกรรมนั้นพิเศษยิ่งกว่าคือมีตัวคูณอยู่ด้วยไม่ใช่ว่าทำ 1 ได้ 1ซึ่งตัวคูณนี้ขึ้นอยู่กับ จิต(คุณธรรม) ของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำนั่นเอง (ถ้ามีโอกาสผู้เขียนจะเขียนเรื่องพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ในโอกาสต่อไป)
    วิบากนี้เอง เป็นพลังงานอย่างหนึ่งซึ่งเป็นตัวผลักดัน หรือกำหนดให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้ พลังงานของ กรรมนั้นไม่สามารถจับต้องได้โดยตรงแต่สามารถรับรู้ได้ด้วยจิต พลังงานอันเกิดจากกรรมนี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่สิ่งมีชีวิตที่มีจิตกระทำการใดๆโดยเจตนาและจะคอยตามให้ผลไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดแรงส่งของมันเองขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาไหนกรรมตัวไหนเหมาะสมที่จะส่งผล ซึ่งแม้แต่วิบากของกรรมทั้งกุศลและอกุศลเล็กๆน้อยๆก็ไม่ได้หายไปไหนสุดท้ายแล้วผู้กระทำนั่นเองจะเป็นผู้ได้รับผล ในทางตรงกันข้ามถ้าเรื่องใดไม่มีกรรมมารองรับให้เกิด เรื่องนั้นๆ ก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้
    กล่าวโดยสรุปแล้วคือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตคนทุกคนไม่ไช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะตนเองที่ทำให้เรื่องนั้นๆเกิด การที่พวกเราได้มาเกิดเป็นคนก็เพราะกรรมดีที่เคยสั่งสมบุญบารมีส่งให้เรามาเกิดเป็นคน แต่ในสังคมปัจจุบันคนส่วนใหญ่มัวหลงประมาทกับชีวิตไม่ยอมรักษาแม้แต่ศีล 5 ทำให้โอกาสไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ต่ำกว่าคนนั้นช่างง่ายแสนง่าย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2) ใครเป็นผู้กำหนดกฏแห่งกรรมขึ้นมา

    ไม่มีใครสร้างหรือกำหนดกฏนี้ขึ้นมา กฏนี้เป็นกฏของธรรมชาติและไม่ใช่ของศาสนาพุทธ ภายหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ถึงความจริงของธรรมชาติแล้ว จึงได้นำธรรมะและกฏแห่งกรรมมาพร่ำสอนสรรพชีวิตที่ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารเพื่อประโยชน์สุขของสิ่งมีชีวิตสืบไป เนื่องจากกฏนี้เป็นกฏของธรรมชาติ ดังนั้น ไม่ว่าก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ หรือภายหลังถ้าศาสนาพุทธเสื่อมหายไปจากโลก กฏแห่งกรรมก็จะยังคงดำรงอยู่ไม่สูญหายไปไหน<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    3)ทำไมจะต้องใส่ใจเรื่องกฏแห่งกรรมด้วย

    กฏแห่งกรรมนั้นเป็นความจริงของจักรวาล ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตจะรู้ หรือไม่รู้จักกฎนี้ก็ตาม ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎนี้อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากจะเปรียบกับการเล่นเกมส์ ผู้เล่นย่อมต้องรู้กฎ กติกาของเกมส์นั้น เพื่อที่จะได้มีโอกาสชนะและไม่พลาดพลั้งโดนลงโทษ เช่นเดียวกับเกมส์ที่ทุกคนเล่นอยู่ทุกขณะจิตนี้ เป็นเกมแห่งวัฏสงสาร ซึ่งเดิมพันนั้นอาจเป็น ความสุข – ทุกข์ ชั่วกัปชั่วกัลป์ทีเดียว หรือเปรียบเสมือนบุคคลผู้ถูกผูกตาแน่นหนา(ด้วยอวิชชา) ไม่สามารถเห็นทางข้างหน้าได้ กำลังเดินอย่างไม่รู้จุดหมาย ถ้ามีคนตาดีมาบอกว่าข้างหน้ามีหน้าผา อย่าเดินไป แต่บุรุษผู้ถูกผูกตาไม่เชื่อดึงดันที่จะไป แล้วในที่สุดเดินตกลงไปในเหว เขาจะโทษใครได้เล่า? ในทางตรงกันข้าม ถ้าบุรุษผู้ถูกผูกตายอมเอาผ้าออก(ละมิจฉาทิฐิ) ยอมดูทางข้างหน้าซักนิด(มีสัมมาทิฐิ) อันตรายย่อมไม่เกิด นอกจากจะไม่ตกเหวแล้วเขายังสามารถเดินไปตามทิศทางที่ถูกต้องเพื่อไปสู่จุดหมายอย่างปลอดภัยและมีความสุขได้อีกด้วย
     
  3. โตโต้

    โตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +610
    4) การให้ผลของกรรม

    กรรมทุกชนิดที่เหล่าสัตว์ทั้งหลายกระทำไม่ว่าจะเล็กจะน้อยอย่างไรก็ตาม ล้วนมีผลกระทบกลับไปหาตัวผู้กระทำแน่นอน ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงแค่คิดตั้งใจจะทำ ไปจนถึงกรรมหนักที่สุดคือ อนันตริยะกรรม 5 กรรมทุกชนิดส่งผลแน่นอน แต่ขอให้ระลึกไว้ว่า วิบากนั้นก็ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์... อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นกัน นั่นก็คือ การให้ผลกรรมนั้นไม่เที่ยง ไม่มีใครสามารถบังคับได้ว่ากรรมชนิดนี้ต้องให้ผลอย่างนี้อย่างนั้น เวลานี้เวลานั้น และ การให้ผลของกรรมนั้น ไม่ว่าจะดูยาวนานแค่ไหนสุดท้ายแล้วจะต้องดับไป ดังนั้น เมื่อเรามีเจตนาทำกรรมทางใดก็ตาม แน่ใจได้เลยว่าเราได้สร้างเหตุที่จะให้ผลของกรรมย้อนกลับมาหาตัวเองแล้ว ส่วนผล คือจะย้อนมาเมื่อไหร่ อย่างไร เท่าไรนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปกำหนดได้
    ส่วนการให้ผลของกรรมนั้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่จิตได้เจตนากระทำไว้ ทำอกุศลด้วยอำนาจ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ส่งผลเป็นทุกข์ ถ้ากระทำกรรมด้วยกุศลก็ส่งผลเป็นสุข (เรื่องความสุขที่แท้จริงนั้นถ้ามีโอกาสจะเขียนถึงในโอกาสต่อไป) ดังนั้น การที่คนหนึ่งไปตีหัวคนอื่นไว้ก็ไม่แน่ว่าจะโดนตีหัวกลับ แต่อาจเป็นโรคปวดหัวเรื้อรังเป็นต้น
    เคยสังเกตกันไหมว่าเรื่องบางเรื่องนั้นดูเหมือนจะบังเอิญเสียจริงถ้าองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งคลาดเคลื่อนไปเพียงไม่กี่นาทีหรือวินาทีเรื่องบางเรื่องก็คงไม่เกิดหรือไปเกิดกับคนอื่น ความจริงแล้วเรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเลย แต่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้น ณ วินาทีนั้นๆ เพราะมันมีเหตุให้เกิดตามนั้น
    หลายคนที่ไม่เชื่อกฏแห่งกรรมนั้น อาจมองว่าการไปทำให้คนอื่นทุกข์จะไม่มีผลกรรมย้อนกลับมาหา ตัวเองเพราะคนอื่นก็คือคนอื่น ตัวเราก็คือตัวเรา ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกัน จึงไม่น่าจะมีผลอะไรย้อนกลับมาหาผู้กระทำได้ แต่ความจริงแล้ว จิตเรานั่นเองที่ เกิด ดับอยู่กับตัวเราตลอดเวลาและคอยส่งผลตามที่จิตดวงก่อนหน้าได้กระทำไว้ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

    <O:p</O:p

    5) จะเชื่อได้อย่างไรว่ากฏแห่งกรรมมีจริง

    กฎแห่งกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้เพียงแต่คนเราไม่สนใจและกลัวที่จะรู้ว่ากฎแห่งกรรม และชาติก่อนชาติหน้ามีจริง ทำให้ตู่เอาว่ากฎแห่งกรรมเป็นรื่องพิสูจน์ไม่ได้ เปรียบเสมือนตัวกฎหมาย คนบางคนอาจไม่เคยเห็นตัวกฎหมายเลย แต่ทุกคนย่อมต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเชื่อในกฎหมายหรือไม่ ผู้ปฏิบัติผิดกฎหมายย่อมต้องได้รับโทษ จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายมิได้ เพราะประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรู้กฎหมาย กฎแห่งกรรมก็เช่นกัน สิ่งมีชีวิตทุกสิ่งก็ต้องอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม และมีหน้าที่ต้องระลึกรู้ผลลัพธ์ของกฎแห่งกรรมจึงจะไม่ถลำสู่อบายไปมากกว่านี้
    วิธีที่จะเห็นกฎแห่งกรรมอย่างง่ายๆ ก็คือการเจริญวิปัสสนา มีสัมมาสติตามรู้กายรู้ใจเนืองๆ ถ้าทำถูกต้องจะเห็นได้ในเวลาไม่นาน ว่าสิ่งต่างๆล้วนเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆ รวมทั้งจิตของสิ่งมีชีวิตก็เกิดดับเป็นทอดๆ ตามเหตุปัจจัยที่กระทบก่อนหน้า ถ้าจิตอกุศลเกิดขึ้นผลตามมาก็คือทุกข์
    สำหรับผู้ที่เข้าใจกฏแห่งกรรมแล้ว จะเห็นตามจริงว่า ไม่มีอะไร เกิด-ดับโดยบังเอิญทุกสิ่งที่เกิดขึ้นดับไปนั้น ล้วนเป็นไปตามเหตุอันควรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ตั้งแต่ความหงุดหงิดระหว่างวัน ไปจนถึง เรื่องใหญ่ๆ เช่น การเกิดกับพ่อแม่คนนั้นๆ การเกิดในที่นั้นๆ เรื่องความรัก ซึ่งทำให้คนมีทั้งสุขทุกข์แทบเป็นแทบตาย ก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญทั้งสิ้น แต่ล้วนเพราะมีเหตุซึ่งอาจมาจากชาติที่แล้วหรือชาตินี้ องค์ประกอบต่างๆจึงมาประชุมกันในเวลาที่เหมาะสมแล้วเรื่องต่างๆ จึงเกิดขึ้น

    แท้จริงแล้ว ความแตกต่างกันอย่างมากของมนุษย์บนโลกก็เป็นข้อพิสูจน์ได้แล้วว่ากฎแห่งกรรมมีจริง บางคนดูเหมือนชีวิตจะเพียบพร้อมไปเสียหมด พบแต่ความสุขสมหวังในชีวิต ในขณะที่คนบางส่วนแทบไม่เคยพบความสุขในชีวิตเลย อะไรเป็นเหตุให้มีความแตกต่างเช่นนี้? ดูเหมือนจะไม่ยุติธรรมเลยถ้าจะบอกว่าเป็นเพราะความบังเอิญ หรือเพราะคนที่พบความสุขนั้นถูกเลือกปฏิบัติโดยอะไรก็ตาม<O:p
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    6) ชาติก่อนกับชาติหน้าไม่ใช่ตัวเราแล้วทำไมจะต้องสนใจกฎแห่งกรรมด้วย & ดูเหมือนจะไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่ไม่ได้ทำแต่กลับต้องมารับโทษ

    เราจะมาวิเคราะห์ปัญหานี้จาก 2 มุมมอง มุมมองแรก คือมุมมองของคนทั่วๆ ไป ที่คิดว่า ตัวเขาเป็นตัวเป็นตนของเขาอยู่ทุกขณะจิต ในกรณีนี้ เขาก็ยังเป็นเขาอยู่ไม่ว่าชาติที่แล้ว ชาตินี้ หรือชาติหน้า ไม่ว่าเขาจะจำเรื่องที่ผ่านๆมาได้หรือไม่ ลองคิดดูเล่นๆว่า จะมีใครจำตอนที่คลอดออกมาจากท้องคุณแม่ได้หรือไม่ แน่นอนคำตอบก็คือไม่ได้ ดังนั้นจะบอกว่าไม่ได้เกิดมาจากท้องแม่หรือไม่? คนเราจึงไม่ได้ประกอบด้วยแค่ความจำ ฉะนั้นการที่คนเราจำชาติที่แล้วไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่เคยผ่านชาติก่อนมา หรือถ้าจะมองย้อนให้สั้นกว่าการเกิดจากท้องแม่ ลองมองความสุข ความทุกข์ใหญ่ๆที่เคยผ่านมาในชีวิตก็ได้ ถ้ามองตามความเป็นจริงแล้วจะพบว่าความสุขความทุกข์ไม่ว่าใหญ่หลวงแค่ไหน ล้วนผ่านมาแล้วผ่านเลยไปตามแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น สำหรับคนที่เคยผ่านทุกข์ใหญ่ๆมาแล้ว อาจเห็นทุกข์ที่ผ่านมาเป็นเรื่องเล็ก ดังนั้นไม่ว่าใครจะเคยตกนรกขึ้นสวรรค์มาอย่างไร การที่จำความสุข-ทุกข์ที่ผ่านมาไม่ได้ ย่อมไม่ใช่ว่าไม่เคยผ่านจุดนั้นมา ฉะนั้นก็เป็นสิ่งมีชีวิตนั่นแหละ ที่ต้องไปเกิดใหม่ รับผลกรรมที่ได้กระทำไว้ ไม่ว่าจะจำชาติที่แล้วได้หรือไม่ก็ตามที ทุกอย่างจึงยุติธรรมที่สุด

    ในมุมมองที่ 2 ซึ่งเป็นคำตอบที่แท้จริงในทางปรมัตถ์ ผู้ปฎิบัติดีปฏิบัติชอบที่เห็นความจริง(ด้วยวิปัสสนา)ย่อมมองเห็นว่าตัวตนเขาไม่มีอยู่จริง ไม่ว่าในขันธ์ไหน ไม่ว่าในชาติที่แล้ว ชาตินี้ ชาติหน้า ก็ไม่มี ‘เรา’อยู่ ความทุกข์นั้นมีอยู่จริงแต่ผู้รับทุกข์รวมไปถึงชื่อว่า ‘ทุกข์’นั้นเป็นเพียงสมมุติ ทุกอย่างเป็นเพียงการหมุนเวียนของธาตุขันธ์ตามเหตุปัจจัย
    ไม่ว่า ‘เรา’จะจดจำกรรมที่เคยทำได้หรือไม่ แต่ประเด็นก็คือจิตที่เกิดอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นปัจจัยที่เกิดต่อเนื่องมาจากดวงจิตที่เคยทำกรรมชนิดนั้นๆมา ดวงจิตที่เกิดจากปัจจัยที่เป็นบาปย่อมได้รับทุกข์เป็นผลลัพธ์ สิ่งต่างๆมีเหตุจึงเกิดไม่มีเหตุก็ดับ นี้แลคือความยุติธรรม
    สำหรับคนที่หลงมัวเมาทำกรรมชั่วอยู่เป็นนิจ แล้วนึกว่าจะไม่ส่งผลอะไรนั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะกรรมดีที่ส่งให้มาเกิดเป็นมนุษย์ยังไม่หมดต่างหาก เมื่อไรที่กรรมดีที่หนุนให้เป็นมนุษย์หมดลงจะมาสำนึกก็สายไปเสียแล้ว
    ข้อสังเกตุ: เป็นเรื่องน่าแปลกที่เวลาคนเรามีความสุขไม่ค่อยมีใครคิดหรือพูดว่า ‘ไม่ยุติธรรมเลย ที่เราไม่เคยทำบุญไว้แต่กลับได้รับความสุขเช่นนี้.....’ ..........มนุษย์หนอช่างเห็นแก่ตัวเหลือเกิน
     
  4. โตโต้

    โตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +610
    7) ทำไมกรรมต้องรอเวลาส่งผล ทำไมไม่ส่งผลต่อหน้าต่อตาคนจะได้รู้ว่ากรรมมีจริง?

    การที่กรรมจะให้ผลได้นั้น ต้องรอให้องค์ประกอบและปัจจัยทุกๆอย่างเหมาะสม ซึ่งองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้นต้องใช้เวลา ใช่ว่าจะสามารถจัดขึ้นมาได้ง่ายๆ ดังจะเห็นได้ว่าเหตุการณ์บางอย่างอาจเกิดขึ้นเพียงเพื่อให้ผลหลายสิบปีภายหลัง ตัวแปลต่างๆที่จะมีผลต่อการส่งผลของกรรมในโลกก็มีมากมายเกินกว่าจะพรรณนาได้หมด ไม่ว่าจะเป็นความเจริญของโลกในขณะนั้นๆ การพบปะสิ่งมีชีวิตซึ่งเคยทำบุญทำบาปร่วมกันมา รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งหมด จะต้องมาประชุมกันในเวลาที่เหมาะสมที่จะให้ผลดังที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆสมควรได้รับ ยิ่งไปกว่านั้น การที่กรรมส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตใดๆ มักจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆเป็นลูกโซ่ที่ร้อยเป็นวงกลมไม่มีหัวไม่มีปลายและสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตต้องได้รับผลตามสมควร ดังนั้น จะเห็นได้ว่า กว่าสิ่งแวดล้อมทุกชนิดจะมาประชุมกันอย่างเหมาะสมต้องใช้เวลาจัด(บางทีก็หลายปีบางทีก็หลายชาติ) ยิ่งไปกว่านั้นภพบางภพก็ไม่เหมาะที่กรรมบางชนิดจะให้ผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เรื่องบางเรื่องจึงต้องรอไปก่อนอีก
    (ขอให้อ่าน ทำไมทำดีตั้งนานไม่เห็นได้ดี…… กับ เปรียบเทียบปิดท้าย เพิ่มเติม )<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    8) กรรมเก่า vs. กรรมใหม่

    ความเข้าใจเรื่องกรรมนั้นเป็นเรื่องลึกซึ้ง ทุกสิ่งที่เกิดกับเรานั้น เป็นผลมาจากทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่ไม่ใช่ว่าเป็นผลจากกรรมเก่าอย่างเดียวหรือกรรมใหม่ที่เราจำได้อย่างเดียว อย่างเช่น ถ้ารู้ว่าจะไปเมืองหนาวแต่ไม่เตรียมเสื้อผ้าหนาๆ แล้วเกิดไม่สบายขึ้นมา จะมาโทษกรรมเก่าทำให้ไม่สบายไม่ได้ ในลักษณะเดียวกัน คนที่ขี้เกียจเอาแต่นอนทั้งวัน จะมาโทษกรรมเก่าว่าทำให้จนไม่ได้ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างกรรมเก่ากับกรรมใหม่จะขอยกตัวอย่าง เช่นบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศแต่กลับตัดสินใจโกงกินประเทศชาติเพื่อความร่ำรวย กรรมเก่าของเขา (ทั้งชาตินี้และชาติผ่านๆมา) เป็นตัวส่งให้เขามาอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจนั้นๆแต่กรรมเก่าไม่ได้กำหนดให้เขาโกง เมื่อเขาตัดสินใจโกงกินไปแล้ว เขาได้ก่อกรรมใหม่ขึ้น ซึ่งอาจส่งผลเฉพาะหน้าให้เขามีเงินมีทองขึ้นมา แต่เขาหารู้ไม่ว่า ผลของการโกงกินนั้น คือความทุกข์ที่ยึดเยื้อยาวนานจนความสุขเล็กๆน้อยๆของความรวยในชาติหนึ่งๆนั้น ไม่มีความหมายใดๆเลย .....ระหว่างความร่ำรวยชาติหนึ่งด้วยการโกง แลกกับการต้องมีชีวิตขัดสน เช่นเกิดในเอธิโอเปียเป็นร้อยๆชาติ หรือการไม่โกงใช้ชีวิตไปเรื่อยๆแต่ไมต้องเกิดในที่กันดาล....จะเลือกทางไหน? นี่เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆ แท้จริงแล้ว ผลของการกระทำบาปอย่างไม่รู้จักเกรงกลัว ส่งผลร้ายแรงเกินกว่าที่จะคาดคะเนถึงมากมายนัก ดังนั้นคนที่เข้าใจกฏแห่งกรรมอย่างถูกต้อง จะทำปัจจุบันให้ดีที่สุดแต่จะไม่ทุกข์ร้อนถ้าผลออกมาไม่ถูกใจ เพราะกรรมเก่านั้นผ่านมาแล้วจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา มันมีผลต่อเราแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด.....จงทำกรรมปัจจุบันให้ดีที่สุด แล้วกรรมใหม่จะค่อยๆบั่นทอนผลของกรรมเก่าเอง
    </O:p
    9) ทำไมทำดีตั้งนานไม่เห็นได้ดี คนเลวบางคนกลับได้ดี

    คนเรามักมีนิสัยเข้าข้างตัวเองอยู่เป็นนิจ มองว่าตัวเองทำดีแล้วถูกแล้วเสมอ แต่แท้ที่จริงแล้ว เอาอะไรเป็นตัววัดว่าดีจริงหรือไม่? แต่ละคนต่างมีบัญชีกรรมยาวยิ่งกว่าหางว่าว แต่อยู่ดีๆก็ต้องการให้กรรมดีที่ทำในปัจจุบันแซงหน้าบัญชีกรรมเก่า และแช่งให้กรรมชั่วที่คนอื่นทำในปัจจุบันรีบตามทันเร็วๆ พอไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ก็ตัดพ้อต่อว่า หาว่ากฎแห่งกรรมไม่มีจริงบ้าง หาว่าทำดีไม่ได้ดีบ้าง ทั้งๆที่ตัวเองไม่เคยพิจารณาถึงความเลวของตัวเองและความดีของคนอื่นเป็นองค์ประกอบเลย
    ที่ว่าคนเลวบางคนกลับได้ดีนั้นก็เช่นกัน ส่วนใหญ่ที่ว่าได้ดีก็คือรวย แต่ความรวยนั้นไม่ใช่ความสุข คนบางคนอาจรวยแต่ไม่มีความสุขก็ได้
    จะเอาอะไรเป็นตัววัดว่าคนๆนี้เป็นคนดีจริง? ถ้าจะพูดโดยกว้างๆ คนดีก็คือคนที่ไม่ทำร้ายตัวเองและคนอื่น รวมถึงการลงมือช่วยคนอื่นเมื่อมีโอกาส ตัววัดที่เหมาะสมในขั้นต้นก็คือศีลนั่นเอง ถ้าบุคคลใดเริ่มต้นจากศีล 5 ได้ และดำเนินชีวิตภายใต้พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ธรรมอันดีงามต่างๆจะตามมาปรากฏให้เห็นได้ในภายหลัง (เรื่องพรหมวิหาร 4 ถ้ามีโอกาสจะเขียนในโอกาสต่อไป)
    อย่างไรก็ตาม ต่อให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นคนดีหรือคนเลวจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว ที่จะเห็นผลกรรมอย่างเต็มน้ำเต็มเนื้อภายในชาตินั้นๆ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าปัจจัยต่างๆ ต้องใช้เวลาในการจัดล่วงหน้าพอสมควร และเนื่องจากกฎแห่งกรรมนั้นก็ตกอยู่ภายใต้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นกัน จึงไม่แน่ว่ากรรมที่ทำในชาตินี้จะส่งผลให้เห็นในชาตินี้เลยหรือยังไม่เห็นเต็มน้ำเต็มเนื้อซะทีเดียว คนเราจึงต้องทำกรรมปัจจุบันให้ดีที่สุดอย่างน้อยเพื่อจะช่วยบั่นทอนกรรมชั่วที่ผ่านมา แต่กรรมดีจะส่งผลเมื่อไหร่นั้น ไม่แน่นอน และไม่ใช่เรื่องที่ใครจะสามารถกำหนดได้
    สรุปหัวข้อนี้ให้สั้นที่สุดก็คือ เราไม่ต้องไปสนใจคนอื่นว่าเขาได้ดีได้เลวเหมาะสมหรือขัดกับตัวเขาอย่างไรเพราะเรื่องของกรรมนั้นเป็นเรื่องลึกซึ้งเกินกว่าที่จะมาคาดคะเนกันเล่นตามใจอยาก แต่ในที่สุดแล้วขอให้สบายใจได้ว่าสิ่งที่เกิดกับสิ่งมีชีวิตที่มีจิตทุกดวงนั้น เหมาะสมกับจิตดวงนั้นๆ ที่สุดแล้ว
    (ขอให้อ่าน เปรียบเทียบปิดท้ายเพิ่มเติม)
     
  5. โตโต้

    โตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +610
    10) ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับและหลังความตาย

    ชาวไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับความตายและชีวิตหลังความตายหลายอย่างแต่ที่น่าเสียดายก็คือความเข้าใจเหล่านี้มักเป็นความเชื่อนอกพุทธศาสนา ไม่ใช่ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักพุทธะที่แท้จริง
    ความเข้าใจที่มักเชื่อกันว่าเรามีตัวตนอยู่อีกหนึ่งภายในตัวเรา เมื่อเราตาย ตัวตนคือ 'เรา' นี้ก็ล่องลอยไปหาที่อื่นอยู่นี่เป็นความเข้าใจผิดสุดโต่งทางที่หนึ่ง
    ในอีกด้านหนึ่ง ความเข้าใจที่คิดว่าตายแล้วสูญ ตายแล้วจบกันก็เป็นความเข้าใจที่ผิดสุดโต่งอีกข้างหนึ่ง
    ที่ผิดก็เพราะว่าจิตเป็นของเกิดดับรวดเร็วมากไม่ได้มีตัวตนถาวรอยู่ที่ไหน จิตที่เกิดใหม่ ทั้งในภพเดียวกันหรือข้ามภพ คือหลังตายนั้น ไม่ใช่จิตดวงเดิม แต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากจิตที่ดับไปก่อนหน้า เมื่อตายแล้วจิตดวงใหม่ก็ไปสร้างภพสร้างชาติในภพใหม่ทันที ในอีกด้านหนึ่ง ตายแล้วไม่สูญไปเฉยๆแน่นอน เพราะตัวเหตุปัจจัยที่นำ ‘เรา’ มาเกิดในชาตินี้คืออวิชชายังคงอยู่
    จิตที่ไปเกาะในภพใหม่นั้นจะไปเกิดตามอารมณ์ของจิตก่อนเสียชีวิตซึ่งเราจะไม่สามารถไปควบคุมได้แต่จิตเขาเลือกอารมณ์ของเขาเองตามกรรมและความเคยชิน ถ้าเป็นอารมณ์ อกุศลก็ไปทุกข์คติ ถ้าเป็นอารมณ์กุศลก็ไปสุขติ อย่างนี้เป็นต้น
    สำหรับคนที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานจะพบความจริงที่น่ากลัวข้อหนึ่งว่าจิตของสัตว์ทั้งหลายเกาะอารมณ์ที่เป็นอกุศลตลอดวัน ถ้าปล่อยใจตามกิเลสไปเรื่อยๆ โอกาสไปเกิดในสุขติภพนั้นยากแสนยาก

    11) ประโยชน์ต่อสังคมเมื่อรู้และเข้าใจกฏแห่งกรรมอย่างถูกต้อง

    ความเข้าใจกฏแห่งกรรมที่ถูกต้องนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสัมมาทิฐิที่ยังประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอย่างเกินพรรณนา ทำให้คนคนหนึ่งสามารถ พัฒนาศักยภาพตนเอง และพบความสุขในชีวิตทั้งชาตินี้และชาติต่อๆไปได้ ถ้ามองในภาพกว้างการที่คนเข้าใจกฏแห่งกรรมมากขึ้นจะทำให้สังคมร่มเย็นสงบสุขขึ้นอีกเยอะทีเดียว สังคมไทยทุกวันนี้หย่อนด้วยศีลธรรมอย่างน่าใจหาย วิธีจะแก้ปัญหาต่างๆในสังคมไม่ว่าจะเป็นเรื่องคอรัปชั่นไปจนถึงปัญหาการทำแท้งสามารถแก้ไขได้โดยเริ่มต้นที่การปลูกผังความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฏแห่งกรรม เนื่องจากพ่อแม่ไม่สามารถเฝ้าลูกตลอดเวลาและตำรวจก็ไม่สามารถเฝ้าโจรตลอดเวลาได้ การขยายความเข้าใจที่ถูกต้อง(สัมมาทิฐิ) ต่อจิตสำนึกของประชาชนจึงเป็นวิธีที่ลัดที่สุดและได้ผลที่สุด ในการแก้ปัญหาต่างๆ การช่วยกันเผยแพร่ความเข้าใจเรื่องกรรมที่ถูกต้องต่อ ลูก พ่อแม่ เพื่อนฯ จึงจะมีประโยชน์ทั้งต่อทั้งสังคมและสัตว์โลกอย่างสูง
    ผลของการที่คนแม้เพียงคนเดียวมีความรู้ที่ถูกต้องขึ้นมา ย่อมไม่หายไปไหนและจะยิ่งทำให้สังคมนั้นๆ น่าอยู่ยิ่งขึ้น ยิ่งเปอรเซ็นต์ของคนในสังคมไทยเข้าใจได้อย่างถูกต้องมากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งเข้าใกล้สังคมในอุดมคติมากขึ้นเท่านั้น
    </O:p
    12) เปรียบเทียบปิดท้าย

    เพื่อให้เข้าใจ กฎแห่งกรรม ได้ง่ายๆ จะขอยกสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่อย่างเช่น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นตัวอย่าง
    แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ก่อตั้งตั้งในปี คศ1878 โดยใช้ชื่อว่า Newton Heath LYR ถ้าเรามาดูว่าเมื่อ 127 ปีก่อนกับปีนี้ มีอะไรที่ยังเหมือนเดิมบ้าง คำตอบก็คือไม่มีเลย ทั้ง ชื่อ ผู้บริหาร นักเตะ สนาม คนเชียร์
    แต่ทำไมเราจึงเรียกว่าเป็นสโมสรเดิม? ทั้งนี้ ก็เพราะว่าสิ่งที่พวกเขาทำไว้ตลอด 127 ปีก่อน ส่งผลให้เป็นเขาในวันนี้นี่เอง จะบอกว่า Manchester United ในวันนี้เป็นสิ่งเดียวกับเมื่อ 127 ปีก่อนก็ไม่ใช่เพราะไม่มีอะไรเหมือนเดิมซักอย่างเดียว แต่จะบอกว่าเป็นคนละสิ่งกันก็ไม่เชิง เพราะสิ่งที่เขาทำมันส่งผลมาถึงวันนี้
    โดยนัยเดียวกัน เวลาคนเราตายแล้วไปเกิดใหม่ จะบอกว่าเป็นคนเดียวกันก็ไม่ใช่เพราะไม่มีอะไรเหมือนเดิมเลย ทั้ง ร่างกาย รูป ความรู้สึก แต่จะบอกว่าเป็นคนละคนก็ไม่เชิงเพราะสิ่งที่เขาทำมาในอดีตนั่นแหละ จะเป็นตัวกำหนดส่งผลให้เขาไปเกิดใหม่เป็นอย่างนั้นๆ (จริงๆแล้ว ไม่ต้องพูดถึงข้ามชาติหรอก ดูภายในชาติเดียวกันนี่แหละ ตอนที่เราเด็กๆ กับตอนนี้มีอะไรเหมือนกันบ้าง?)
    กรรมเก่าก็เหมือนสิ่งที่ผู้บริหารชุดก่อนได้ทำไว้ จะบอกว่ามันไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะมันส่งผลถึงเราทุกวันนี้แต่จะบอกว่ามันคือทุกสิ่งก็ไม่ใช่ เพราะเหตุปัจจัยบางอย่างเราสามารถควบคุมได้ ก็ควรทำให้ดีที่สุด
    การทำกรรมชั่วก็เปรียบได้กับการซื้อนักเตะฝีเท้าไม่ดีเข้าทีม การทำกรรมดีเปรียบเหมือนการซื้อนักเตะฝีเท้าดีเข้าทีม บางคนทำดีแล้วไม่เห็นผลดีก็เพราะว่า นักเตะฝีเท้าดีที่เราใส่เข้าไปในทีมยังไม่สามารถช่วยอะไรได้มาก เพราะมีนักเตะฝีเท้าห่วยคอยฉุดดึงอยู่เยอะ แต่อย่าท้อ ถ้าเราหมั่นเปลี่ยนนักเตะฝีเท้าเลวออกเอา พวกดีใส่เข้าไปเรื่อยๆ ซักวันหนึ่งทีมของเราจะต้องเจิดจ้าขึ้นมาแน่นอน
    ในทางตรงกันข้าม บางคนที่เคยทำดีไว้เยอะก็เหมือนมีนักเตะฝีเท้าดีเต็มทีม การที่บางคนกลับมาทำชั่วในชาตินี้แล้วมองไม่เห็นผลทันทีทันใดก็เพราะนักเตะดีๆ คอยช่วยรั้งไว้ แต่ถ้ายังไม่สำนึกตัว ไม่เลิกทำชั่ว พอรู้ตัวอีกทีนักเตะฝีเท้าเลวก็เต็มทีมแล้ว นักเตะดีๆก็ออกจากทีมไปหมด พอหมดฤดูการแล้ว(ตายจากชาตินี้) ต้องตกชั้นแน่นอน(เกิดในภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์) แล้วทีนี้กว่าจะขึ้นมาใหม่ก็ยากเสียแล้ว


    สรุป

    .......คุณยังไม่ต้องเชื่อทุกสิ่งที่อ่านในนี้...... แต่อย่างน้อย.......ขอให้ลองเข้ามาศึกษาคำสอนของ.....พระพุทธศาสนา รวมทั้ง..... กฎแห่งกรรม..... เมื่อศึกษาด้วยจิตที่เป็นกลางแล้ว.... จะเข้าใจความจริงของธรรมชาติ .....เมื่อไหร่ที่เข้าใจความจริงของธรรมชาติ......จะนึกเสียดายเวลาที่ปล่อยผ่านเลยไปก่อนเข้ามาศึกษา.......
    .............การเกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นเสมือนดาบสองคม..... มีประโยชน์อนันต์สำหรับผู้มีปัญญา รู้ว่าอะไรควรไม่ควร.......แต่ก็เป็นโทษมหันต์เช่นกันสำหรับผู้ที่มีมิจฉาทิฐิ...... เพราะมนุษย์นั้นมีศักยภาพที่จะทำตั้งแต่เรื่องดีที่สุด ไปจนถึงเรื่องเลวที่สุด......ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง..... คุณต้องการสุขหรือทุกข์.....ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองแล้ว...
    สุดท้ายนี้ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ช่วยดลบันดาลให้ สัมมาทิฐิ จงบังเกิดกับชนชาวไทยทุกคนด้วยเทอญ.................................................
     
  6. โตโต้

    โตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +610
    ทำไมกรรมไม่ตามทันให้เห็นในชาตินี้

    ถาม "ถ้ากรรมดีและกรรมชั่วมีจริง ทำไม บางคนทำชั่วกลับได้ดี แต่บางคนทำดี กลับได้ชั่ว ?"

    ตอบ "ปัญหาข้อนี้มีผู้ชอบถามและสงสัยกันมาก จะต้องใช้หน้ากระดาษตอบยาวหน่อย เพราะมีประเด็นที่จะต้องพูดกันหลายแง่หลายมุม

    กรรมดีกรรมชั่วมีจริงแน่นอน เพราะกรรมหมายถึงการกระทำ ถ้าทำดีก็จัดเป็นกรรมดี เรียกว่ากุศลกรรม หรือบุญกรรม ถ้าทำชั่วก็เป็นกรรมชั่ว เรียกว่าอกุศลกรรม หรือบาปกรรม ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว ก็มีจริง คือ ใครทำดีก็ย่อมได้ดี ใครทำชั่วก็ย่อมได้ชั่ว เห็นกันอยู่เป็นจำนวนมาก

    แม้ในปัจจุบัน เป็นเพียงแต่ว่า กรรมนั้นจะให้ผลเร็วหรือช้าเท่านั้น ในการพิสูจน์ผลของกรรมจะต้องใช้กาลเวลาด้วย เพราะกรรมบางอย่างให้ผลเร็ว กรรมบางอย่างให้ผลช้า กรรมบางอย่างให้ผลในชาตินี้

    กรรมบางอย่างให้ผลในชาติต่อไป ดังนั้นจึงกล่าวกันว่า "กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ผลของกรรม"

    การทำกรรมเหมือนการปลูกพืช คือ บุคคลหว่านพืชชนิดใดชนิดหนึ่งลงไปก็ย่อมได้รับผลของพืชชนิดนั้น เช่นปลูกถั่วไว้ ผลที่ได้รับก็ต้องเป็นถั่ว จะเป็นข้าวหรือเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ปลูกอ้อยไว้ ผลที่ได้รับก็ต้องเป็นอ้อย จะเป็นข้าวโพดหรืออย่างอื่นไปไม่ได้

    กรรมก็เช่นเดียวกัน เมื่อทำกรรมใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม จะต้องได้รับผลของกรรมนั้น คือทำดีต้องได้ดี ทำชั่วก็ต้องได้ชั่ว เป็นเพียงแต่ว่าต้องใช้เวลาสำหรับกรรมบางอย่าง เพราะกรรมบางอย่างให้ผลช้า

    เช่น การศึกษาเล่าเรียน กว่าจะเรียนจบต้องใช้เวลาหลายปี จบแล้วก็ต้องหางานทำอีก เมื่อมีงานทำแล้วจึงได้เงินมาใช้ อันเป็นผลส่วนหนึ่งของการเรียน แต่กรรมบางอย่างเห็นผลเร็ว เช่นหุงข้าวในวันนี้ ก็ได้รับผลในเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมงในวันนี้

    แต่คนบางคน ทำชั่วแล้วยังมีความสุขความเจริญดีอยู่ ยังไม่ได้รับผลของกรรมชั่วที่ทำไว้ หรือคนทำดีบางคนยังต้องได้รับทุกข์ทรมานเดือดร้อนอยู่ ยังไม่ได้รับผลกรรมดีที่ทำไว้ จึงมีคนไม่น้อยเข้าใจผิดไปว่า "ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว"

    ทั้งนี้ก็เพราะความซับซ้อนในกฎแห่งกรรมนั่นเอง คือ การที่คนบางคนทำชั่วแล้วยังไม่ได้รับผลชั่ว ก็เพราะกรรมดีที่เขาทำไว้ยังให้ผลอยู่ แต่กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ถึงวาระให้ผล แต่เมื่อใดกรรมดีของเขาอ่อนพลังลงหรือหมดไป

    กรรมชั่วที่เขาทำไว้จะต้องถึงวาระให้ผลอย่างแน่นอน หรือคนทำดี แต่ยังเดือดร้อนลำบากอยู่ และเมื่อใดกรรมชั่วของเขาอ่อนกำลังลง หรือหมดไป กรรมดีของเขามีพลังมากขึ้น เขาก็ย่อมได้รับผลอย่างแน่นอน

    เพื่อความเข้าใจชัดในเรื่องนี้ จะขอยกตัวอย่างให้ดูสัก ๒ เรื่อง คือ เรื่องนายแดงสำนึกผิด และเรื่องนายมีนักเลงการพนัน

    นายแดง ใจกล้า ฆ่าคนตายที่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วหนีการจับกุมไปหลบซ่อนตัวที่จังหวัดสงขลา สำนึกในความผิดของตัวว่า ตนได้ทำความชั่วกรรมนั้นจะตามมาให้ผลในวันข้างหน้า เขาจึงตั้งใจทำดีเพื่อลบล้างกรรมชั่วของเขา คือเมื่อเขาไปอยู่ที่สงขลา ก็ตั้งใจทำมาหากินอยู่ที่นั่น

    คนที่นั้นไม่มีใครรู้เบื้องหลังชีวิตของเขา เขาเข้าวัดทุกวันพระ ทำบุญฟังธรรม และรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำ และตั้งใจทำงานโดยสุจริต

    คนทางจังหวัดเชียงใหม่ ที่รู้พฤติกรรมชั่วของเขาในการฆ่าคนแล้วหนีไป จึงพูดกันว่า "ทำชั่วได้ชั่วมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" เพราะนายแดงทำชั่วแล้ว ไม่เห็นได้รับผลชั่ว แต่ไปหลบตัวสบายอยู่ที่จังหวัดสงขลา

    ๑๐ ปีต่อมา ตำรวจสืบทราบว่า นายแดงหนีไปหลบซ่อนอยู่ที่จังหวัดสงขลา จึงตามไปจับกุมได้ในขณะที่นายแดงกำลังนั่งฟังธรรมอยู่บนศาลาการเปรียญอยู่ในวันหนึ่ง แล้วใส่กุญแจมือนำไปดำเนินคดีตามกฏหมาย ฝ่ายชาวบ้านทางสงขลาแถบนั้นไม่รู้เรื่องเดิมมาก่อน

    เห็นแต่นายแดงเป็นคนดี เป็นอุบาสก รักษาศีล ๘ ทุกวันพระ มาวัด ฟังธรรม ทำบุญอยู่เสมอจึงพูดกันว่า "คนดีแท้ ๆ ถูกใส่ความ ทำดีได้ดีมีที่ไหน ดูนายแดงเป็นตัวอย่าง ทำดีแท้ ๆ กลับได้ชั่ว" แต่ถ้าทั้งคนที่เชียงใหม่และที่สงขลา รู้ความจริงของนายแดงโดยตลอดแล้ว พวกเขาคงไม่เข้าใจผิดในเรื่องกฎแห่งกรรม

    เรื่องที่สอง คือ นายมี ชอบใจ เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี มีนาและสวนอยู่หลายแปลง แต่เป็นคนขี้เกียจ ทั้งชอบเล่นการพนัน และมีลูกหลายคน เขาจึงยากจน และเป็นหนี้สินเขา ต่อมานายมี รู้สึกตัวว่า การที่ตนต้องลำบากเดือดร้อนยากจน ต้องเป็นหนี้สินเขา ก็เพราะตนขี้เกียจและชอบเล่นการพนัน จึงเลิกเล่นการพนัน

    หันมาช่วยลูกเมียทำนา ทำสวนอย่างขยันขันแข็ง เพราะมีที่ทำมาหากินอยู่พร้อมแล้ว เมื่อเขาทำนาทำสวนในปีนั้น ทั้งข้าวในนาและพืชผลในสวนของเขากำลังงอกงามอุดมสมบูรณ์ แต่ยังไม่ทันได้เก็บเกี่ยว นายมีก็ยังยากจนและเป็นหนี้เขาอยู่เช่นเดิม และยังมีความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นเสียอีก

    เพราะต้องลงทุนลงแรงในการทำงานทั้ง ๆ ที่เขาและครอบครัวได้ทำทำมาหากินโดยความขยันหมั่นเพียรและสุจริต คนบางคนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวิตเบื้องหลังของนายมี เห็นแต่นายมีขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน แต่ยังยากจนและเดือดร้อนอยู่

    จึงพูดกันว่า "ไหนว่า คนทำดีได้ดี แต่ทำไมนายมีทำงานโดยสุจริต และขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน แต่ยังยากจนและเดือดร้อนอยู่"

    ต่อมา เมื่อข้าวในนา และพืชผลในสวนของเขาเก็บเกี่ยวแล้ว และให้ผลดีมาก เขาก็มีกินมีใช้อย่างสบาย หมดหนี้สิน หลายปีเข้าเขาก็มีความร่ำรวยขึ้น เพราะความขยันหมั่นเพียร และเพราะรู้จักตั้งตัวประกอบอาชีพสุจริต

    ต่อมา นายมีกลับคบเพื่อนเก่า ที่เป็นนักเลงการพนัน ซึ่งมาชวนเล่นการพนันอีก เขาจึงเลิกกิจการในนาและในสวน หันมาเล่นการพนันตามเดิมอีกเหมือนเมื่อก่อน แต่ก็ยังมีกินมีใช้อยู่ เพราะเงินทองที่เก็บไว้ตอนขยันหมั่นเพียรนั้นยังเหลืออยู่มาก

    บางคนที่ไม่รู้จักประวัติเดิมของนายมี เห็นนายมีเล่นการพนันและไม่ยอมทำการงาน แต่ยังมีกินมีใช้อยู่สบาย จึงพูดว่า "ไหนว่า คนเราทำชั่วได้ชั่ว แต่นายมีขี้เกียจไม่ทำงาน และเล่นการพนัน กลับอยู่สบาย คนที่ขยันเสียอีกต้องเหนื่อยยากลำบากในการทำมาหากิน"

    ทั้งนี้ก็เพราะว่า คนที่พูดเช่นนั้นไม่ทราบความจริงโดยตลอด การที่นายมียังมีกินมีใช้อยู่ก็เพราะกรรมดีครั้งก่อนของเขา คือความขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน จึงมีเงินเก็บไว้ ทำให้เขาสบายดีอยู่ แต่ถ้าเขายังขี้เกียจอีก และยังไม่ยอมเลิกเป็นนักเลงการพนัน ในที่สุด เขาก็ต้องเดือดร้อน ยากจน และเป็นหนี้เป็นสินเขาอีกอย่างแน่นอน

    เพราะฉะนั้น การพิสูจน์กฏแห่งกรรมจะต้องใช้กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ด้วย แต่เท่าที่ผู้เขียนสังเกต อย่างมากไม่เกิน ๓๐ ปี จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วที่ตนทำไว้อย่างแน่นอน

    นอกจากกาลเวลาแล้ว ยังต้องพิจารณาให้รอบคอบอีกหลายด้าน เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เป็นตัวประกอบในความซับซ้อนของเรื่องกฎแห่งกรรม เช่นยังอยู่กับเจตนาของผู้กระทำ

    ขึ้นอยู่กับกรรมนั้นว่า เป็นกรรมเล็กน้อยหรือมาก เบาหรือหนัก และยังขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และสถานที่อื่น ๆ ที่เข้ามาประกอบอีกด้วย

    ในการพิสูจน์หรือเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมนั้น ถ้าจะให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เราต้องศึกษาให้เข้าใจเรื่องกรรม ๑๒ ประการด้วย คือ กรรมให้ผลตามกาล ๔ อย่าง กรรมให้ผลตามหน้าที่ ๔ อย่าง และกรรมให้ผลตามลำดับ ๔ อย่าง

    อีกอย่างหนึ่ง จะต้องเข้าใจเหตุและผลของกรรมดีและกรรมชั่วนั้นรวมทั้งสภาพจิตใจ ของคนที่ทำกรรมดีและกรรมชั่วนั้นด้วย จึงจะเข้าใจกฎแห่งกรรมชัดยิ่งขึ้น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องเกิดจากเหตุ เมื่อมีเหตุแล้วก็ต้องมีผล จึงควรทำความเข้าใจเรื่องบุญบาปว่า คืออะไรด้วย

    ทั้งบุญและบาปก็มีเหตุและผลของมัน เหตุของบุญก็คือการทำดี ผลของบุญก็คือความสุข ส่วนสภาพจิตใจของคนที่ทำบุญ ก็คือ ความสะอาดผ่องใสของจิต

    แต่เหตุของบาปก็คือการทำชั่ว ผลของบาปก็คือความทุกข์ ส่วนสภาพจิตใจของคนที่ทำบาปก็คือความเศร้าหมอง สกปรกของจิต

    บางคนมองกรรมดีกรรมชั่วเฉพาะแต่ผลของมัน คือมองแค่ความสุขหรือความทุกข์เพียงฝ่ายเดียว แต่ไม่ได้มองเหตุของมัน หรือมองเฉพาะแต่เหตุของมัน คือ การทำดีหรือทำชั่วเพียงฝ่ายเดียว ไม่มองผลของมัน

    หรือบางคนมองเฉพาะแต่เหตุกับผลของกรรม แต่ไม่ได้มองถึงสภาพจิตใจของคนที่ทำบุญหรือบาป จึงทำให้เห็นไม่ตลอดสาย ฉะนั้น จึงต้องดูให้ตลอดสาย จึงจะเข้าใจเรื่องกฏแห่งกรรมได้ชัด เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุผล หากปราศจากเหตุผลก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา

    แท้ที่จริง ถ้าจะมองถึงสภาพจิตใจของคนที่ทำดีทำชั่วแล้ว คนทำดีและคนทำชั่วย่อมได้รับผลทันทีที่ทำกรรมนั้น ๆ คือ จิตใจของคนที่ทำดีย่อมประเสริฐขึ้นในทันทีที่ทำดี ส่วนคนทำชั่วก็มีจิตใจต่ำลงในทันทีที่ทำชั่วนั้น

    แม้คนบางคนจะทำชั่วด้วยความร่าเริงยินดี แต่จิตใจที่แท้จริงของเขานั้นเศร้าหมอง ต่ำทราม ลดคุณภาพลง ส่วนคนทำดีบางคน แม้จะมองดูว่าลำบาก เหนื่อยยาก แต่จิตใจของเขาก็สะอาดและสูงขึ้น ย่อมส่งผลเป็นความสุขความเจริญอย่างแน่นอน

    ฉะนั้น การเข้าใจกฏแห่งกรรม จำจะต้องพิจารณารอบคอบด้วย จึงจะสามารถเข้าใจได้ชัด"


    ถาม "ทำไม กรรมชั่วจึงไม่ให้ผลทันตาเห็น คนจะได้เลิกทำกรรมชั่ว ทำแต่กรรมดี?."

    ตอบ "เพราะเป็นธรรมชาติในกฏแห่งกรรมอย่างนั้นเอง เนื่องจากกรรมบางอย่างให้ผลในชาตินี้ แต่กรรมบางอย่างให้ผลในชาติหน้า หรือชาติต่อไป เช่นเดียวกับการปลูกพืชและต้นไม้ คือ พืชบางอย่างให้ผลภายในระยะเวลาเพียง ๓ - ๔ เดือน เช่น ข้าวและถั่ว เป็นต้น

    แต่พืชบางอย่างให้ผลนานกว่านั้น เช่น อ้อยและสับปะรด เป็นต้น ต้นไม้บางอย่างกว่าจะให้ผลต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๕ ปีขึ้นไป เช่น มะม่วงและมะพร้าว เป็นต้นแต่บางอย่างต้องใช้เวลานานกว่านั้นจึงจะให้ผล เช่น ตาลและไม้สัก เป็นต้น

    เราจึงไม่อาจจะเร่งผลของกรรมบางอย่างที่ยังไม่ถึงเวลาเผล็ดผลได้เลย"

     
  7. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    เรื่องกฎแห่งกรรม เรื่องดีๆที่อยากให้ใครหลายๆคนได้อ่าน โดยเฉพาะผู้ที่ทนทุกข์อยู่กับวิบากกรรม ขอให้ชดใช้กรรมให้หมด แล้วพยายามสร้างกรรมดีในชาติปัจจุบัน และขอให้มีความคิดที่ตรงทางเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการสร้างเวรสร้างกรรม

    ตราบใดที่เรายังไม่เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ก็ขอให้พยายามสร้างแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว เพราะเราไม่อาจรู้เลยว่า วิบากกรรมนั้นจะส่งผลถึงเราเมื่อไร และรุนแรงแค่ไหน ไม่มีใครมีความสุขแน่เมื่อต้องรับวิบากกรรม

    เมื่อมีเหตุอย่างนี้ ก็ต้องมีผลอย่างนี้ อยากได้ผลเยี่ยงไร ก็สร้างเหตุให้ตรงเยี่ยงนั้น
     
  8. Nar

    Nar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,154
    ค่าพลัง:
    +37,385
    ตัดภพตัดชาติ หนีการเกิดอีกให้เร็วที่สุด นั่นแหละดีที่สุด เกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายได้ยิ่งดี จริงเปล่า คุณ khomeraya
     
  9. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    เมื่อวิบากกรรมตามทัน อาวุธที่ดีที่สุดที่จะต่อสู้กับวิบากกรรมนั้นคือ

    1 ยอมรับความจริง การยอมรับความจริงจะทำให้ใจสงบลงได้เป็นอันมาก
    2 อดทน อย่างที่เค้าเรียกว่า ก้มหน้ารับกรรมไป

    จนกว่าจะชดใช้กรรมนั้นเสร็จสิ้น.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...