สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    ลอเรน รีด จอห์นสัน อายุ 24 ปี อาศัยอยู่ที่นอร์ธฮอลิวูด แคลิฟอร์เนีย เขาเป็นนักบำบัดด้วยการนวด เป็นครูสอนโยคะ และเป็นนักเรียนการแสดง
    ลอเรนฝึกโยคะซึ่งเรียนมาจากครูชาวอินเดียอยู่ทุกวันเป็นเวลานานถึง 5 ปี เขารู้สึกว่ารีชี่โยคะช่วยให้เขานั่งเจริญภาวนาได้ดี การฝึกโยคะนี้รวมถึงการจำกัดอาหารเหลือแค่ผลไม้และผักเท่านั้น ลอเรนและภรรยามาฮันนีมูนกันในประเทศไทยซึ่งเป็นบ้านเกิดของฝ่ายหญิง แล้วตระเวนไปตามวัดต่างๆ เพื่อหาผู้ที่สอนเจริญภาวนาเป็นภาษาอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้เองได้นำเขามาสู่วัดหลวงพ่อสดฯ เขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับธรรมกายเลย พระภาวนาวิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดจึงแนะนำให้เขามาร่วมกิจกรรมแบ่งกลุ่มเจริญภาวนาตอนเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งทำให้ท่านรับรู้ถึงความสามารถอันพิเศษของลอเรน ท่านจึงให้รองอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาทำหน้าที่สอนเขาทุกๆ วัน หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ หลวงป๋าก็เริ่มสอนเขาเป็นการส่วนตัว แม้ลอเรนเรียนได้แค่ 2 สัปดาห์ แต่เขาก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ได้บันทึกการสัมภาษณ์ลอเรนมีความยาว 15 นาที


    ผู้สัมภาษณ์ของช่อง 9 : สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้พบคุณ. คุณได้เรียนรู้อะไรจากการเจริญภาวนา ?

    ลอเรน: อันดับแรก ผมได้เรียนวิธีการรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกาย. หยุดนิ่งถูกส่วนตรงนั้น ศูนย์กลางขยายออกไปเป็นดวงใสรอบตัว เมื่อใจหยุดกลางของหยุดเรื่อยไปก็หยุดในหยุดกลางของหยุดเรื่อยๆ ไป ได้เข้าถึงกายละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดจนถึงธรรมกาย

    คุณรู้สึกอย่างไร เมื่อคุณถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายในท้องของคุณ ?

    ผมรู้สึกสงบเยือกเย็นมาก อย่างล้ำลึก และความสุขที่แผ่ขยายออกมา

    เมื่อเจริญภาวนาถึง 18 กาย และถึงธรรมกายนั้น คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ?

    รู้สึกว่าแต่ละกายที่เข้าถึงนั้น [กิเลส]เบาบางลงตามลำดับ เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ซึ่งเป็นกายที่หยาบที่สุดและเป็นกายโลกิยะ ถึงกายมนุษย์ละเอียดต่อๆ ไปจนถึงสุดละเอียดได้ถึงธรรมกาย ซึ่งเป็นกายที่ทึบน้อยที่สุด. มันพ้นจากความรู้สึกยึดถือในความเป็นตัวตนใดๆ ทั้งสิ้น.

    คุณรู้สึกไหมว่า สิ่งที่คุณได้เห็นเป็นของจินตนาการหรือของจริง ?

    ใช้จินตนาการน้อยมาก [อาจใช้ในช่วงแรกๆ ในระดับขณิกสมาธิ]. แต่สิ่งที่เห็นนั้นปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ. ผมเพียงแต่เพ่งไปที่กลางของกลาง แล้ว[ดวงและกายต่างๆ]ก็ปรากฏขึ้นเอง.

    คุณได้เห็นนรก-สวรรค์บ้างไหม

    เห็นครับ

    แล้วคุณเห็นอะไรที่นั่น

    ได้เห็นหลายอย่างครับ. ในนรก, เห็นการลงโทษที่แตกต่างกันหลายระดับมาก. เห็นผู้คน[สัตว์นรก]มากมายกำลังถูกสุนัขกัด มันดุร้ายและเกรี้ยวกราดมาก. พวกเขาพยายามวิ่งหนี - ปีนต้นไม้ที่มีหนามแหลม [ต้นงิ้ว]. ยังถูกสัตว์ที่คล้ายแร้งจิกทึ้งจนพลัดตกลงมาจากต้นงิ้ว แล้วก็ถูกสุนัขก็จะเข้ามาจัดการกับพวกเขา.
    ผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้ เห็นเป็นสีดำมืด. ผมได้มองเข้าไปในจุดศูนย์กลางกายของพวกเขาเพื่อดูว่าทำไมพวกเขาจึงต้องไปอยู่ในนั้น - เป็นเพราะประพฤติผิดในกาม. และผมได้เห็น[ว่าเขาทำ]สิ่งที่น่าละอาย ความผิด และสิ่งที่ชั่วร้ายต่อจิตใจ.
    ผมไปยังอีกระดับหนึ่ง [นรกอีกขุมหนึ่ง] เห็นผู้คน[สัตว์นรก]อยู่ในกระทะ[ทองแดง]ใหญ่ … ใหญ่มาก! ร้อน! มีสิ่งซึ่งดูเหมือนของเหลวร้อนหรือโลหะหลอมเหลว เหมือนตะกั่ว [หมายถึงน้ำทองแดงร้อนจัดที่สัตว์นรกต้องดื่ม]. มันแผดเผา[อวัยวะ]ภายใน. บางคนก็ต้องดื่มของเหลว ที่มีกลิ่นเหม็นมาก แย่มาก [หมายถึงน้ำทองแดงนั้นเอง].
    และผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้อีก ได้เห็นว่า [พวกเขาได้รับวิบากกรรมเช่นนี้ เป็นเพราะ]ดื่มแอลกอฮอล์กันเป็นส่วนมาก. รวมทั้งยาเสพติดอื่นๆ, แต่ส่วนมากเป็นแอลกอฮอล์ [เพราะเป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมาย และโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้].
    และแล้ว, ในนรก, สิ่งที่ร้ายสาหัสที่สุดที่ผมเห็น - ลึกลงไปกว่าระดับ[นรกขุม]ที่ 8 - ลึกกว่านรกของพวกที่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พวกที่พูดโกหกหลอกลวง และพวกที่ขโมย โกง คอร์รัปชั่น ของผู้อื่น - ในนรกขุมนั้น ผมเห็นผู้ที่สอนผู้อื่นผิดๆ พวกเขาเหล่านี้ถูกปิดตาจนมืดมิด. พวกเขาไม่สามารถมองเห็นได้และต่างคนต่างวิ่งเข้าหากันด้วยความสับสนอลหม่าน และทุกข์ทรมานมาก. ร่างกายของพวกเขาถูกเผาไหม้จนดำเหมือนกับถูกลวกด้วยน้ำกรด มีกลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ กลิ่นตลบอบอวลมาก.
    ผมได้เจริญภาวนาถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ได้เห็นสวรรค์ซึ่งตรงข้ามกับนรก อย่างสิ้นเชิง. สว่างไสวมาก - สวยงามมาก. ศูนย์กลาง[กาย - ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย]ของเทพดาเหล่านี้ส่องรัศมีสว่างนัก. ในนรก สัตว์นรกมีศูนย์กลาง ดำมืดมัวมาก. ในสวรรค์ ผมเห็นเทพยดาบนสวรรค์มีรัศมีใสสว่างเป็นประกาย ประดุจดังแก้วผลึก. และผมสามารถดูไปที่ศูนย์กลางของเทพดาเหล่านี้ และรู้เห็นว่า ทำไมพวกเขาได้มาอยู่บนสวรรค์ - ก็เนื่องจากสิ่งที่เป็นบุญกุศลทั้งหมด, กรรมดีมากมายที่เขาได้ทำแก่[ตนและ]ผู้อื่น.
    เทวดาบางตนอยู่บนพื้นดิน; บางตนอยู่ในอากาศ และผมเห็นเทวดาอยู่ในต้นไม้ก็มาก.
    แต่, ความแตกต่างสำคัญระหว่างสวรรค์กับนรก ก็คือ สิ่งที่ผมเห็นที่ศูนย์กลางกายของสัตว์นรกและเทพดาเหล่านั้น - ไม่กรรมดีก็กรรมชั่ว อย่างใดอย่างหนึ่ง [สองอย่างนี้เท่านั้น ที่พวกเขาได้ทำลงไป เห็นปรากฏได้ที่ศูนย์กลางกาย - บุญกุศลนำให้มาเกิดเป็นเทวดา ส่วนบาปอกุศลนำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก].

    คุณก็ได้เห็นทั้ง 2 ฝ่าย - ระหว่างสวรรค์กับนรก ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่ผู้คนพากันทำ. แล้วคุณได้เห็นพระนิพพานไหม ?

    ครับ, ผมเห็น. พระนิพพานอยู่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เราคิดว่าเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ. ผมไม่เห็นธาตุทั้ง 4 เหล่านี้เลย. ผมได้เห็นพระนิพพานธาตุ นับไม่ถ้วน - เท่าที่ผมจะเห็นได้. และมีรัศมีเจิดจ้า สว่างไสว.

    คุณคิดว่าอะไร คือประสบการณ์ที่ดีที่คุณได้ปฏิบัติเข้าถึง ได้รู้ และได้เห็นจากการเจริญภาวนานี้ ?

    ผมรู้สึกว่า วิธีเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายนี้ มีความพิเศษ เป็นการปฏิบัติทางตรง ทำให้ผมได้มีประสบการณ์อย่างสูง.

    เมื่อคุณกลับไปสหรัฐอเมริกาแล้ว คุณจะทำอะไร ?

    ผมวางแผนไว้ว่า จะสอนวิชชาธรรมกาย. ผมมีลูกค้าซึ่งผมสอนโยคะ, การเจริญภาวนา และการนวดอยู่แล้ว และผมเชื่อว่าการแนะนำวิชาธรรมกายให้จะช่วยให้พวกเขาให้ช่วยตนเองได้.



    Channel 9 Interviewer: Good morning. It's nice to meet you. What did you learn from meditation?
    Loren: Well, I learned first to focus my attention on the center of the center of the body. And, from there, the center expanded to surround my entire body. As I continued to focus on the center, I saw my refined human body and became that - continuing to focus on the center. This happened again and again, all the way until I reached my refinest Dhammakaya body.
    And, how did you feel when you first reached your own nucleus in your stomach?
    It felt very and calm and a very deep, expanding sense of joy... happiness.
    And how did you feel after you completed all 18 bodies and reached Dhammakaya?
    Well, each body became less and less dense. So, we begin with the human body which is the most crude and mundane, and then it becomes more and more refined until it reaches the most refined Dhammakaya which is the least dense. It totally transcends any sense of personal ego.
    And, did you feel that what you saw was imagination or reality?
    Very little imagination. It happened automatically. I just focused on the center of the center and it appeared by itself.
    And did you see hell or heaven?
    Yes.
    And what did you see there?
    Well, many things. In hell, I saw many levels of different punishments. I saw different people in one level who were being attacked by a dog - very mean and angry. And, they were trying to escape - climbing a tree with thorns. Also, like vultures were trying to attack them and they would fall and then the dog would get them.
    And, I would look at the nucleus of the people - very dark. In the nucleus I would see why they were there - because of sexual misconduct. And I would see lots of shame and guilt and mental poison.
    And then we went to another level and I saw a large caldron ... Large! People were inside it. Hot! With what looked like a very hot liquid or melted metal like lead.
    And they are inside, burning. And some had to drink this very smelly - very bad liquid.
    And I look at their nucleus and I see that most had drunk alcohol. Also some drugs and things, but mostly alcohol. And they drink the liquid and it cooks their organs - especially the brain. It fries the brain.
    And then, in hell, the worst thing I saw - below the 8th level - below the murders and all the liars and thieves - I saw the false teachers. And they had blindfolds. They couldn't see and they were running into each other - chaos and lots of torment. And their bodies were burned dark like they had been scalded with acid. There was a dead smell - a very thick smell.
    And then I became the refined Dhammakaya and then we saw heaven. And there we saw the opposite, really. Very luminous - very beautiful. The center of the beings was very radiant. In hell the beings had a very dark, cloudy nucleus. In heaven I saw them very radiant and glowing like a stal sphere. And, I could look into the center and see why they were there - all the meritorious things, the many good deeds they did for the people.
    Some were on earth; some flying through the sky. I saw many in trees. But, the main difference between heaven and hell was what I saw at the center of the beings - either evil deeds or good, meritorious deeds.
    So, you saw both sides - hell and heaven and the good things and bad things that people do. And, did you see Nirvana?
    Yes, I did. It goes beyond what we think of as earth and water and fire. All of these things, I saw none of. I saw countless saints and Buddhas - as far as the eye could see. And they were very very radiant, with glowing centers. I focused on them and I could see all the good things they did to make them so brilliant.
    But, the most luminous, in the center, was Buddha - the Primordial Buddha - surrounded by Buddhas. And, I asked for permission, and I touched Lord Buddha on the leg. And it felt very very cold, like ice.
    What do you think were the good points that you got from meditation?
    Well, I feel that this particular style of meditation, Dhammakaya, is a very very direct way to experience directly my highest self.
    And, when you are back in America, what will you do? Well, I plan on teaching Dhammakaya. I have clients that I practice meditation, yoga and massage with already, and I believe that sharing Dhammakaya with them will help them to help themselves.
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มีนาคม 2015
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เห็นตัวเราในที่ศูนย์กลางกาย

    
    ดวงนิมิตในศูนย์กลางกายยังไม่ใส แต่เห็นตัวเราในนิมิตศูนย์กลางกาย จะปฏิบัติอย่างไร ? และนิมิตตัวเราให้เห็นชัดขึ้น เจริญขึ้นอย่างไรบ้าง ?

    -------------------------------------

    ตอบ:


    ที่เห็นนิมิตยังไม่ใส ควรปฏิบัติเช่นนี้

    1. หากใจยังไม่หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ให้หยุดนิ่ง กริ๊กลงไป ให้นึกในใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง นิดเดียว พอใจหยุดนิ่งถูกส่วน จะใสขึ้นมาทันที นี่ข้อที่หนึ่ง

    2. เมื่อศูนย์กลางขยายออก ใสพอสมควร ก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียด ถึงแม้จะยังเห็นไม่ใสก็ไม่เป็นไร มีอุบายวิธีทำอย่างนี้ ละอุปาทาน ละความรู้สึกที่เนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ ไม่สนใจ ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้น แม้เห็นไม่ชัด แม้เห็นลางๆ ก็ทำความรู้สึกว่าเป็นกายละเอียดนั้น ใจจะละจากอุปาทานในกายหยาบ เข้าไปเป็นเวทนา จิต ธรรมของกายละเอียด เมื่อใจกำหนดหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางกาย ก็จะเห็นดวงธรรมใสสว่างขึ้น กลางของกลาง หยุดในหยุด กลางของหยุด ให้ใสสว่างขึ้น จะใสสว่างทั้งดวงและทั้งกาย และองค์ฌานแล้วใจก็ หยุดในหยุดเรื่อยไป ดับหยาบไปหาละเอียด หยุดนิ่ง ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายละเอียดอื่นๆ ก็จะปรากฏขึ้นมาใหม่ ให้จำไว้เลย ดับหยาบไปหาละเอียด ทำความรู้สึกเป็นกายละเอียดต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของกลาง ให้ใสสว่างทั้งดวงทั้งกาย และองค์ฌาน

    เราจะเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ที่ผ่องใส สวยงามโตใหญ่ขึ้นกว่าเดิมไปตามลำดับจนถึงธรรมกาย แต่ว่าดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของแต่ละกายในภพ 3 นั้น เนื่องจากยังมีอวิชชานุสัย หุ้ม “ดวงรู้” กามราคานุสัยหุ้ม ” ดวงคิด” ปฏิฆานุสัยหุ้ม “ดวงเห็น” อยู่ เพราะฉะนั้น ดวง เห็น จำ คิด รู้ ที่ตั้งอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมนั้น จึงยังไม่เบิกบาน คือ ยังไม่ขยายโตเต็มกาย แต่ว่าขยายโตขึ้นในระดับหนึ่ง เช่นของกายมนุษย์จะประมาณฟองไข่แดงของไข่ไก่เท่านี้ สำหรับผู้ที่จะสามารถเจริญกัมมัฏฐานได้ แต่ถ้าใครเห็นดวงเล็กขนาดนิดเดียว เท่าดวงดาว คนนั้นชาตินี้เจริญกัมมัฏฐานสำเร็จได้ยาก บางท่านเห็นดวงโต อย่างโตเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ขึ้นอยู่ที่บุญบารมีของแต่ละท่านที่บำเพ็ญมาแล้วไม่เหมือนกัน ของกายทิพย์เป็น สองเท่าของกายมนุษย์ ของกายรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายทิพย์ ของกายอรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายรูปพรหม

    เพราะเหตุไร ?

    เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่หุ้มซ้อนอยู่นั้นค่อยๆ จางหมดไป ด้วยการรวมใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยๆ เราจึงถึงคุณธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่ากันไปตามลำดับ จากมนุษย์ธรรมไปถึงเทวธรรม ถึงพรหมธรรม อรูปพรหมสุดละเอียด ของคุณธรรมของกายในภพ 3 ก็จะถึงธรรมกาย

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี้จึงเบิกบานเต็มที่ เต็มธาตุเต็มธรรม หมายความว่า ดวงธรรม และดวงเห็น จำ คิด รู้ ของธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู แม้จะมีขนาดหน้าตักและความสูงเพียง 4 วาครึ่ง แต่เส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม และเห็น จำ คิด รู้ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนั้น ขยายโตเต็มส่วนเต็มธาตุเต็มธรรม คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย จากธรรมกายโคตรภูไปสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ก็เป็นอย่างนี้.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เห็นดวงแก้วอยู่ข้างหน้า ไม่สามารถน้อมเข้ามาได้

    
    เมื่อเริ่มปฏิบัติธรรมเห็นดวงแก้วอยู่ข้างหน้า ไม่สามารถน้อมเข้ามาได้ ควรทำอย่างไร จึงจะน้อมเข้ามาในตัวได้ ?

    ---------------------------------------------------


    ตอบ:

    วิธีปฏิบัติ  ก็ให้เหลือบตากลับนิดๆ ในขณะที่หลับตาภาวนาอยู่   พร้อมๆ กับรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ มีที่หมายเป็นจุดเล็กใส   พยายามจดจำอารมณ์ที่เห็นดวงแก้วใสนั่นไว้ 

    แล้วนึกให้เห็นดวงแก้วใสนั้นปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกาย   โดยกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกายนั้นไว้ให้มั่น   เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน   หยุดในหยุดกลางของหยุด   นิ่งลงตรงนั้น   ถ้าใจจะซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านออกนอกตัว ก็ให้มีสติรู้เท่าทันในนิวรณ์กิเลสเช่นนั้น   และกำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ”  เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งลงตรงนั้น

    ไม่ช้า  ใจจะรวมลงหยุดเป็นจุดเดียวกัน  ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสสว่าง  ปรากฏขึ้นมาเอง

    เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว ก็ปล่อยตาซึ่งเหลือบกลับให้เป็นไปตามธรรมชาติต่อไป   เห็นแล้วก็อย่าตื่นเต้น  ให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดกลางของกลางดวงใสสว่างนั้น   หยุดนิ่งถูกส่วน  ศูนย์กลางก็จะขยายออก  และจะเห็นดวงใสสว่างละเอียดยิ่งกว่าเดิมปรากฏขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ใสละเอียดที่สุด

    เมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุด  ศูนย์กลางจะขยายออกแล้วจะเห็นกายในกาย ณ ภายในของเราปรากฏขึ้นมาเอง ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด  คือละความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายหยาบเข้าไปเป็นกายละเอียด พร้อมกับรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกายละเอียดๆ ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ให้ใสละเอียดหมดทั้งดวงธรรมและกาย เมื่อกายในกายปรากฏขึ้นใหม่ ก็ให้ปฏิบัติตามแบบเดิม คือดับหยาบไปหาละเอียด  เป็นกายที่ละเอียดๆ นั้น  รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงและกายเรื่อยไป   โตใหญ่ใสละเอียดไปตามกายจนถึงธรรมกายที่สุดละเอียด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 เมษายน 2015
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]

    ------------------------------------------------------------------------

    ตะล่อม...... อาการเห็น อาการจำ อาการคิดนึก อาการรู้

    ให้ อยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เช่น อาการของลมหายใจที่จุดเดียว ,ภาพบริกรรมนิมิต ฯลฯ ที่สบายๆ มีสติ--สัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม


    ตรงศูนย์กลางกาย ฐานที่เจ็ด เหนือกลางตัวระดับสะดือ สององคุลี( 2ข้อนิ้วมือเจ้าของ )



    ...................เมื่ออารมณ์ล่อ ที่สบายๆ ทำให้อาการทั้งสี่ มารวม"หยุด"เป็นจุดเดียวแล้ว

    อารมณ์นั้น จะตกศูนย์ไปฐานที่6ระดับสะดือ


    ของจริง คือ ดวงปฐมมรรค จะเห็นได้ที่ศุนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นั้นเอง...........




    --------------------------------------------------------



    นึกบ่อยๆ ในอารมณ๋สบายที่เป็นกุศล นั้น .ไว้กลางกาย

    ทุกอิริยาบถ ทั้งหลับตา ลืมดา


    ของจริงจะมา ได้ทุกขณะ ที่ใจหยุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2015
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    "กสิณกลาง" คือ "อาโลกกสิน"
    นั้นดีอย่างไร ??


    ใครมักมีจิตใจฟุ้งซ่าน ถ้าเอากสิณเพ่งอยู่ในใจ นึกให้เห็นอยู่ในใจ ผูกใจไม่ให้วอกแวกไปได้โดยง่าย เหมือนที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี ท่านบอกว่า เหมือนกับเรา เอาเชือกผูกล่ามลูกโคติดกับหลัก ลูกโควิ่งวนไปวนมาๆ ประเดี๋ยวก็เหนื่ิอย ก็นอนแหมะตรงนั้นแหละ จิตเราเหมือนลิง เพราะฉะนั้น กสิณนี่แหละ ผูกใจให้อยู่ในที่ที่เราต้องการให้ใจหยุดอยู่

    เรื่องการเพ่งกสิณนี่ เขาปฏิบัติกันมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล แต่ว่าปฏิบัติแล้ว ทำไมถึงไม่เกิดประโยชน์สูงสุด คือมรรคผล นิพพาน ??

    เกิดประโยชน์แค่ว่าไปอุบัติในพรหมโลกเท่านั้น คือเป็นแต่สมถะเฉยๆ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

    เพราะใจที่จะให้เป็นสมาธิ ไม่ถูกที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต ธรรม ให้สามารถเข้าไปรู้-เห็น กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม สุดละเอียดไปถึงธรรมกาย ถึงนิพพาน ปฏิบัติทางจิตไม่ถูกมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางของจิต เพราะฉะนั้น..ถ้าใครคลำทางตรงนี้ถูก คือ ถ้ากำหนดใจให้เป็นสมาธิ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็ถูกทางสายกลาง ถูกมหาสติปัฏฐาน ๔ โดยตรง ถึงนิพพาน..


    .............................
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    ปฐมเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรรมกายาราม
    ..............................


    จากหนังสือ
    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มีนาคม 2015
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    
    ผู้ที่จะได้รูปฌาน อรูปฌาน เป็นของไม่ใช่จะได้กันง่ายๆ (เป็นบางคนเท่านั้น) และผู้ที่อยู่ในฌาน เหมือนคนนอนหลับ ที่มีความสุขมาก จะพิจารณาอะไรไม่ได้ นอกจากจะอยู่ในอุปจารสมาธิ พระศาสดากว่าจะเข้าปรินิพพานยังเข้าฌานออกฌานแล้วออกจากฌานที่ 4 จึงปรินิพพาน ความเข้าใจเช่นนี้ของผม ถูกต้องหรือไม่ ?

    --------------------------------------------------

    [​IMG]






    ตอบ:

    ประการสำคัญที่สุด คำว่าเจริญฌานสมาบัติ แล้วพิจารณาสภาวธรรม เจริญฌานสมาบัติแล้วน้อมเข้าสู่วิชชา จะเป็นวิชชา 3 หรือจะเรียกว่า อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปันนังสญาณ ก็ได้ พิจารณาสภาวธรรม

    การพิจารณสภาวธรรม ไม่ได้เจริญฌานสมาบัติ 8 ท่านเข้าใจผิด ไปอ่านใหม่ เขากล่าวถึงเจริญฌานสมาบัติเฉยๆ ที่ให้พิจารณาทั้งหมด เขาถอยฌานลงมาทั้งหมด เจริญฌานเพื่อให้จิตละเอียด จิตละเอียดตั้งมั่น อ่อนโยนแล้ว อธิษฐานจิต เช่นว่า พิจารณากายคตาสติทั่วสังขารร่างกาย อธิษฐานจิตลงมาในระดับอุปจารสมาธิ คือ อธิษฐานให้เห็นรูป สัณฐาน กลิ่น สี ตามที่เป็นจริง เราเกือบจะไม่พูดกันถึงเรื่องฌาน เมื่อพูดไปแล้วจะไปเรื่องใหญ่เรื่องโตของสมถะอย่างเดียว แต่เราพูดถึงเรื่องสติปัฏฐาน 4 ทั้งสมาธิและปัญญา เราเจริญขึ้นพร้อมกัน

    ในทางปฏิบัติ เมื่อพิจารณาสังขารร่างกาย ให้ถอยให้เห็นสี กลิ่น สัณฐาน ตามที่เป็นจริง

    ฌาน ยากสำหรับคนทำไม่ได้ คนทำได้ก็ง่าย ท่านพูดเรื่องฌาน อรูปฌาน ท่านไม่พูดเรื่องสติปัฏฐาน 4 เราทำสติปัฏฐาน 4 อย่าไปสนใจเรื่องฌาน เพราะเกิดขึ้นเป็นผล แต่ถ้าเราไปตั้งต้นทำฌานสมาบัติ จะออกไปทางฤาษีชีไพร

    เพราะฉะนั้น การพิจารณาสภาวธรรม ละระดับสมาธิลงโดยอัตโนมัติที่ในหนังสือบอกไว้ นั่นเขาพิจารณาสภาวธรรมแล้ว เขาอาศัยกำลังฌาน อาศัยวิกขัมภณวิมุตติ เพื่อชำระธาตุธรรมเขา เพื่อให้ถึงธรรมกายที่ละเอียดๆ สุดละเอียด เพื่อไม่ให้อวิชชาทำอะไรได้ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในอายตนะนิพพาน ได้รู้ได้เห็น ได้สัมผัส และได้อารมณ์พระนิพพานด้วย

    จริงๆ แท้ๆ พระคุณเจ้า อันนี้กระผมไม่กล้ายืนยัน เพราะยังไม่เห็นในตำราไหน แต่มันเป็นเพียงคำพูดที่จงเก็บมาฟังไว้ ในตำราวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส กล่าวถึงอาการที่จะบรรลุมรรคผล อันชื่อว่า อุภโตวุฏฐาน คือ ออกจากภาคทั้ง 2 คือ ออกจากสังขารนิมิต และออกจากตัณหาปวัตติเครื่องปรุงแต่ง พร้อมกันว่า

    เมื่อพระโยคาวจร เจริญสมถวิปัสสนา เมื่อมรรคจิตจะเกิดขึ้นนั้น กำลังฝ่ายสมถะและวิปัสสนาเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ มรรคจิตมรรคญาณเจริญขึ้นปหานสัญโญชน์ให้หมดสิ้นไป จึงเข้าสู่ผลสมาบัติ เป็นพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    คำว่า เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่นึกเอา ในวิชชาธรรมกาย พิสดารกายไปสู่สุดละเอียด มีสภาวะเป็นตัวนิโรธ หรือจะเรียกว่า วิกขัมภณะก็ได้ ด้วยการข่มกิเลส ปหานอกุสลจิตของกายในภพ 3 หรือดับสมุทัย ดับหยาบไปหาละเอียดจะอวิชชาทำอะไรไม่ได้ เป็นวิกขัมภณวิมุตติ ตกศูนย์เข้าอายตนนิพพาน แล้วจึงซ้อนหยุดแน่นนิ่งไปตรงกลางของพระนิพพาน ตรงนี้แหละ เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ประการหนึ่ง

    ประการที่สอง ออกจากสังขารนิมิต ดับหยาบไปหาละเอียดจนจิตละเอียดหนัก ปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ชั่วคราว ของกายในภพ 3 เป็นอันว่านิมิตซึ่งประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง คือตัณหานั้นหมดไป พ้นจากสังขารนิมิตนี้ เป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกาย

    ในขณะเดียวกัน เมื่อมรรคจิตของธรรมกายเกิดและเจริญเต็มที่ ปหานสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก หรือปหานตัณหาปวัตติเครื่องปรุงแต่งให้หมดไป เข้าผลสมาบัติเป็นพระอริยบุคคลตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ชื่อว่า อุภโตวุฏฐานะ ออกจากภาคทั้ง 2

    เมื่อมาถึงตรงนี้ ท่านจะเข้าใจที่ผมพูดนี้ ผมพูดตามตำราที่ครูบาอาจารย์สอนไว้ หรือประสบการณ์ของคนที่เขาปฏิบัติได้ กระผมกราบเรียนไว้อย่างนี้ กระผมมิได้กล่าวว่ากระผมเป็นอริยเจ้า.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ..............................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มีนาคม 2015
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ...................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มีนาคม 2015
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?


    ------------------------------------------



    ตอบ:

    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข

    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ

    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน

    ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด 18 กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา 18 กาย รวมเรียกว่ากายเถา

    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด 18 กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ

    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละ



    ที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน

    ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว

    ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา

    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ 8 ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน



    เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ



    เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง

    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ 8 ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐาน 5 สาย
    1.พุทโธ
    2.อานาปานสติ
    3.ยุบหนอ พองหนอ
    4.รูปนาม
    5.สัมมาอรหัง


    “หนังสือคู่มือการปฏิบัติธรรม (สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔)”
    ของสำนักปฏิบัติธรรมใหญ่ ๕ สำนัก
    คือ สำนักพุทโธ สำนักอานาปานสติ สำนักยุบพอง สำนักรูปนาม และสำนักสัมมาอรหัง โดยให้รวบรวมข้อมูลจากสำนักปฏิบัติธรรมทั้ง ๕ นั้น มาเรียบเรียงขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาสัมมาปฏิบัติพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าตามแบบที่สำนักใหญ่ ๕ สำนัก ต่างเลือกถือธรรมเป็นอารมณ์สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามจริตอัธยาศัยของตน

    เราจะได้เรียนรู้การปฏิบัติในแต่ละแนวทางเพื่อสร้างสติและปัญญาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลลองอ่านได้จากเล่มนี้ครับ หนังสือดีมากๆ



    คลิกอ่านได้ที่..........

    http://palungjit.org/attachments/a.2362154/
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    รายการบ่ายนี้มีคำตอบ ตอนธรรมปฏิบัติ 9 ภาษาใช้ประโยชน์อะไร กับพระเทพญาณมงคล เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรม


    https://youtu.be/YYp8dlSq7Uk
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 999.JPG
      999.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      464
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    ติลกฺขณาทิคาถา
    ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="33%" align=center><COLGROUP><COL width="49%"><COL width="42%"><TBODY><TR><TD>สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ</TD><TD>ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD>เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR><TR><TD>สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ</TD><TD>ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD>เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR><TR><TD>สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ</TD><TD>ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD>เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR><TR><TD>อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ</TD><TD>เย ชนา ปารคามิโน</TD></TR><TR><TD>อถายํ อิตรา ปชา</TD><TD>ตีรเมวานุธาวติ</TD></TR><TR><TD>เย จ โข สมฺมทกฺขาเต</TD><TD>ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน</TD></TR><TR><TD>เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ</TD><TD>มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ</TD></TR><TR><TD>กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย</TD><TD>สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต</TD></TR><TR><TD>โอกา อโนกมาคมฺม</TD><TD>วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ</TD></TR><TR><TD>ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย</TD><TD>หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน</TD></TR><TR><TD>ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ</TD><TD>จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต</TD></TR><TR><TD>เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ</TD><TD>สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ</TD></TR><TR><TD>อาทานปฏินิสฺสคฺเค</TD><TD>อนุปาทาย เย รตา</TD></TR><TR><TD>ขีณาสวา ชุติมนฺโต</TD><TD>เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ. </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร
    ” ​

    วันนี้เป็นวันอัฏฐมีดิถีขึ้นแปดค่ำแห่งปักษ์ในมาฆมาสนี้ ที่เราท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า เมื่อถึงวันธรรมสวนะ ได้พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพราะว่าเราช่วยกันรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่กุลบุตรกุลธิดาในยุคนี้และภายหน้า เป็นตัวอย่างอันดีแก่ภิกษุสามเณรในยุคนี้และต่อไปในภายหน้า ได้ชื่อว่าทำตัวของอาตมาให้เป็นเนติแบบแผนตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไปการกระทำของตนให้เป็นแม่พิมพ์หรือให้เป็นกระสวนหรือให้เป็นตัวอย่างเช่นนี้ ได้ชื่อว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่จะชี้แจงแสดงธรรมเทศนาในวันนี้ แก้ด้วย หนทางอันหมดจดวิเศษ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นผู้รู้เห็นเหตุอันลึกลับยิ่งนักหนา จึงได้ ทรงแสดงหนทางอันหมดจดวิเศษ ให้เป็นตำรับตำราไว้
    หนทางอันหมดจดวิเศษนั้น ท่านยกพระไตรลักษณ์ขึ้นไว้เป็นตำรับตำราว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เมื่อนั้นก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่หนทางหมดจดวิเศษข้อ ๑
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่าย ในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๒
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตน ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๓
    หนทางหมดจดวิเศษนั้นคืออะไร ? เมื่อฟังเพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ หนทางหมดจดวิเศษน่ะ หนทางตั้งต้นที่จะไปสู่มรรคผลนิพพาน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงพระอรหัต พระอรหัตเป็นหนทางหมดจดวิเศษ หนทางหมดจดวิเศษน่ะอะไร ? ก็ทำใจให้หยุดคำเดียวเท่านั้นแหละ ให้หยุดที่ตรงไหน ? หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไปหยุดอยู่ตรงนั้นแหละ ไปหยุดก็เข้ากลางของหยุดเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น อย่าไปที่อื่นต่อไปเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าอรหันต์ ถ้าหยุดได้ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ หยุดนั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษละ ที่พระองค์ทรงรับสั่งทางมรรคผลนิพพานว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา ขนฺตี นั่นความอดทน ตีติกฺขา กล่าวคือ ความอดใจ อดจนกระทั่งหยุด พอใจหยุดเรียกว่าอดละ ต่ออดมันก็หยุดทีเดียว ใจหยุด หยุดนั่นแหละเป็นสำคัญละ ยืนยันด้วยตำรับตำราว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ยังรับรองอย่างนี้อีก สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ต้องทำใจให้หยุดนั่นแหละ เป็นหนทางบริสุทธิ์หมดจดวิเศษทีเดียว
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ต่อจากนี้จงฟังวาระพระบาลีสืบต่อไปว่า อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมี ปกติไปสู่ฝั่งคือนิพพาน ชนทั้งหลายเหล่านั้นน้อยนัก ส่วนชนนอกนี้เลาะอยู่ชายฝั่งนั่นเทียว คือ โลกโอกอ่าววัฏฏสงสาร ฝั่งน่ะคือวัฏฏะนี่เอง กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ วัฏฏะ นี่เป็นฝั่งข้างนี้ ที่ไปสู่ฝั่งคือนิพพาน คือฝั่งข้างโน้น โบราณท่านแปลว่าไปสู่ฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพาน ไปสู่ฝั่งข้างนี้คือวัฏฏสงสาร วางหลักไว้สองประการดังนี้ เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ชนเหล่าใดแล ประพฤติธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือนิพพานได้ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ เป็นที่ตั้งอันล่วงเสียซึ่งวัฏฏะ เป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ อันบุคคลข้ามได้ยากยิ่งนัก กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตละธรรมอันดำเสียแล้ว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ อาศัยนิพพานไม่มีอาลัยจากอาลัย ยินดีในนิพพานอันสงัด ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน พึงละกามทั้งหลายเสีย ไม่มีกังวลแล้ว พึงปรารถนายินดีในนิพพานนั้น ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต บัณฑิตควรชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้ว ในองค์เป็นเหตุแห่งตรัสรู้ อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่นยินดีแล้วในอันสละความยึดถือ ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ มีความโพลงดับสนิทในโลก ด้วยประการดังนี้ นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เป็นทางปริยัติ หาใช่ทางปฏิบัติไม่ เป็นทางปริยัติก่อน ทางปริยัติชี้ชัดอยู่ว่า คนทั้งหลายเหล่าใด คนทั้งหลายเห็นตามปัญญา เมื่อบุคคลเห็นตามปัญญา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ บรรดามนุษย์ทั้งสิ้น ชนพวกใด ชนที่เป็นมนุษย์พวกใดที่จะไปถึงฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพานนั่น น้อยตัวนัก ส่วนชนนอกนี้ ส่วนชนคือมนุษย์นอกนี้ แล่นไปสู่ฝั่งนั้นแล ไปในกามวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ก็ชนเหล่าใดแลเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เป็นธรรมที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงพระนิพพานได้ พระนิพพานไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นของง่าย เพราะฉะนั้นทางไปนิพพานก็เป็นของไม่ใช่ง่าย เป็นของยากนัก ธรรมอันนี้ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงชี้ว่า ทางอันหมดจดวิเศษ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย เห็นความเป็นทุกข์ของสังขารทั้งหลาย เห็นความไม่ใช่ตัวของธรรมทั้งปวง นี่เป็นข้อสำคัญควรจะเข้าใจให้มั่นหมายทีเดียว สังขารทั้งหลายคือธาตุธรรมผลิตขึ้นเป็นสังขารทั้งหลาย เหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งของติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ถ้าไม่มีแผ่นดินแล้ว ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ผุดเกิด นี่เพราะอาศัยแผ่นดินนี้ฉันใด สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร
    ธาตุธรรมนั้นแยกออกเป็นสราคธาตุสราคธรรม เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วอยู่ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นสราคธาตุสราคธรรม ธาตุธรรมที่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้วนั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสังขตธาตุสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ ไปได้บ้างแล้ว ยังไม่สิ้นเชื้อ เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ สิ้นเชื้อแล้ว นั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่เราจะเอาธาตุธรรมที่ไหน เราจะเห็นอย่างไร รู้อย่างไรกัน ธาตุธรรมทั้งหมดปรากฏที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นสราคธาตุสราคธรรม ไม่ใช่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม อาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่ เมื่ออาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่เช่นนี้ เราจะต้องเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ ถ้าเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมไม่ได้ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี่ไม่มีจบมีสิ้น เหตุนี้ต้องตั้งใจให้แน่แน่ว ต้องทำใจให้หยุด ตั้งใจให้หยุด มุ่งที่จะไปพระนิพพานทีเดียว เพราะน้อยตัวนักที่ตั้งใจจะไปสู่ฝั่งพระนิพพาน มากตัวนักที่จะมุ่งไปสู่โลกในสราคธาตุในสราคธรรม ในสังขารทั้งหลาย มุ่งไปในสังขารทั้งหลายน่ะมากตัวนัก ที่จะปราศจากสังขารทั้งหลายนะน้อยตัวนัก เหตุนี้เราต้องคอยระแวดระวังทีเดียวในเรื่องนี้ เมื่อเป็นผู้จะไปสู่ในทางวิราคธาตุวิราคธรรม ต้องประกอบตามธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวแล้ว ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วน่ะธรรมอะไร ? ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วนั่นน่ะไม่ใช่อื่น ทางมรรคทางผลนี่เอง ทางมรรคผลไม่ใช่ทางอื่น ทางมรรคผลน่ะอะไร ? อะไรเป็นทางมรรค ? อะไรเป็นทางผล ? นี้จะกล่าวถึงทางมรรคผล ก็การทำใจให้หยุดนั่นแหละเป็นตัวมรรคทีเดียว พอใจหยุดก็เป็นตัวมรรค ก็จะมีผลต่อไปเมื่อใจหยุดเป็นตัวมรรคแน่นอนแล้ว มรรคผลเกิดเป็นลำดับไป พอใจหยุดก็ได้ชื่อว่าเริ่มต้นโลกิยมรรค เข้าถึงมรรคแล้ว มรรคผลนี้แหละเป็นธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ต้องเอาใจหยุด ถ้าใจไม่หยุดเข้าทางมรรคไม่ได้ เมื่อไปทางมรรคไม่ได้ ผลก็ไม่ได้เหมือนกัน
    เมื่อวานนี้บวชสามเณรองค์หนึ่ง พอใจหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้น ไปตลอดเทียวทางมรรคผล ทำใจได้หยุด เอาผมมาปอยหนึ่งที่โกนแต่เมื่อบวชนั่น เขาก็จำได้ ให้น้อมเข้าไปในช่องจมูกข้างขวา ไปตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางตัวเจ้านาคที่บวชเป็นเณรนั่น เห็นผมจำได้ว่าโคนน่ะไปทางตะวันออก ปลายไปทางตะวันตก ผมมันมีคู้กลางอยู่กลางหน่อย ถามว่ามันล้มไปทางซ้ายหรือล้มไปทางขวา ตรงกลางที่โค้งอยู่หน่อยน่ะ เจ้านาคบอกว่าไม่ล้ม โคนตั้งโค้งขึ้นมาด้วย โค้งก็เอาใจหยุดอยู่ ตรงกลางโค้งนั่นแหละ หยุดอยู่ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น หยุดนิ่งเถอะประเดี๋ยวเถอะ ผมนั่นแปรไป แปรสีไป พอถูกส่วนเข้าก็เป็นดวงใส ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละ เณรเห็นแล้วเป็นดวงใส ผมนั่นก็แปรไปๆ แปรสีไปเป็นดวงใส ดวงนั้นโตเล็กเท่าไหน เจ้านาคบอกเท่าหัวแม่มือได้ เอ้ารักษาไว้ดวงนั่นน่ะ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นแหละ ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่น พอนิ่งแล้ว ก็เข้ากลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้า นึกว่ากลางของกลางหนักเข้า ประเดี๋ยวเดียวแหละ ดวงนั่นขยายโตออกไปๆๆ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นเจ้านาคขยายได้แล้ว ดวงนั่นขยายออกไปเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แล้ว ถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้าหนักเข้าเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นแหละดวงนี้แหละเขาเรียกว่า เอกายนมรรค หรือเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่แหละทางหมดจดวิเศษละทางนี้ ไม่มีทางอื่นมาคัดง้างได้ละ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วนั่นแหละ กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น หยุดเข้าเถอะ พอใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงศีล เมื่อเข้าถึงดวงศีลแล้ว ใจหยุดอยู่กลางของดวงศีลนั่นแหละ ก็เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กลางของกลางดวงศีลหนักเข้ากลางของ กลางหนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน เจ้านาคทำได้ประเดี๋ยวเดียวเข้าถึงดวงสมาธิแล้ว กลางดวงสมาธินั่นแหละ หยุดเข้าเถอะ กลางของกลางๆๆ ดวงสมาธินั่น พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอใจหยุดกลางดวงปัญญา ก็กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ อยู่กลางดวงปัญญานั่น หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุดก็กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ จนกระทั่งหยุดหนักเข้า หนักเข้า ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ หยุดหนักเข้า กลางของกลางๆๆๆ พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายมนุษย์ละเอียด ที่นอนฝันออกไป ถามเจ้านาคว่า อย่างไร กายนี้เคยเห็นไหมละ เมื่อเวลานอนฝัน เจ้านาคบอกว่าเห็นเมื่อนอนฝัน เห็นมัน ถูกทีเดียว นี่ไม่ใช่เป็นของยาก ชั่วบวชนาคประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละไปตลอดแล้ว พอเห็นกายละเอียดก็เอาละถูกส่วนละ จำได้นะ
    • ต่อไปอีก ให้กายละเอียดนะ นั่งเหมือนกายมนุษย์นี่ เขาก็ทำถูกแบบเดียวกัน แล้วเอาใจของกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ นิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกัน พอนิ่งถูกส่วนเข้าละก้อ กลางของกลางๆๆ ที่นิ่งนั่นแหละ ประเดี๋ยวเดียว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เห็นดวงศีลอยู่ในดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงศีลนั่นแหละ พอใจหยุดก็หยุดอยู่กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้าเห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนแล้วก็เข้ากลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นเห็นดวงปัญญา อยู่ในดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงปัญญานั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนเข้าแล้ว กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติแล้ว ก็กลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นแหละ ไม่ได้ไปไหน พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ พอเห็นกายทิพย์เข้า เอ้าเป็นกายที่ ๒ ละ อยากจะรู้มรรคผลไหมละ นั่นแหละที่ดำเนินการนั่นแหละเป็นมรรคทั้งนั้น ที่มาโผล่เห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นผลแล้ว ตั้งแต่ดำเนินมาหยุดอยู่ที่กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เข้าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายทิพย์เข้า นั่นกายทิพย์นั่นเป็นผลแล้ว แต่ว่าเป็นโลกียผล โลกียมรรค ไม่ใช่ โลกุตตรผล ไม่ใช่โลกุตตรมรรค ให้รู้จักหลักอันนี้ นี่โลกีย์ นี่ทางหมดจดวิเศษ ไม่ใช่ทางอื่น นี้เป็นทางหมดจดวิเศษทีเดียว
    • ให้กายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูกส่วนเท่านั้น ให้เอาใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูก ส่วนเข้า ก็หยุดอยู่กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานของกายทิพย์ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่ใจหยุดอีกนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน-นอก-ใน ไม่ไป กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลาง ดวงศีลนั่นอีก พอใจหยุด ก็เข้ากลางของใจที่หยุดอีกนั่นแหละ แบบเดียวกัน กลางของ กลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ละเอียด ทำไปดังนี้อีก นี่เป็นมรรคเป็นผลไปอย่างนี้ แล้วก็เดินไปตามมรรคอีก
    • ให้นั่งนิ่งแบบเดียวกับกายทิพย์หยาบอีก นั่งนิ่ง ก็เอาใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดอีก นั่นเข้ามรรค หยุดนิ่งแล้วก็กลางของกลางๆๆ ที่ใจนิ่งทีเดียว พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่มรรคทั้งนั้น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลอีก กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ที่ใจหยุดนิ่งเข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก กลางของกลางๆๆ กลางดวงปัญญานั่น ก็เข้าถึงดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก กลางของกลางๆๆ ที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่ในกลางดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ ที่ให้หยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหม พอถึงกายรูปพรหม นี่ก็เป็นตัวผลแล้ว นี่มรรค มาแล้ว มาถึงผลแล้ว นี่ ๕ ผลแล้ว
    • พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีลอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอใจหยุดก็กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่หยุดนั่น เข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติอยู่กลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอถูกส่วนเข้าก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดนี่ก็เป็นตัวผลอีก เดินมาตามมรรคนั่น เข้าถึงผลอีกแล้ว นี่ต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้จะไม่รู้จักมรรคผล มรรคผลนี่เป็นของยากนัก ไม่ใช่เป็นของง่าย
    • ใจของกายรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ไม่ได้ถอยออกละ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีก พอใจหยุด ก็กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ ใจหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม เห็นกายอรูปพรหม นี่เป็นผล กายอรูปพรหมนี่เป็นผล ที่ดำเนินมานั้นเป็นมรรค
    • ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก หยุดอยู่นั่น หยุดนิ่งอยู่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุด ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้ากลางของหยุดอีก พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงสมาธิอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด
    • จากกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แบบเดียวกัน ไม่ได้มีเคลื่อนกันละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอกลางของกลางหนักเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ในกายอรูปพรหมละเอียด ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมาเกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน อย่างโตที่สุดไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วา อย่างเล็กที่สุดก็ตามส่วนลงมา นั่นเรียกว่า กายธรรม เข้าถึงพุทธรัตนะแล้ว พุทธรัตนะนั่นแหละเป็นตัวผล ไม่ใช่ตัวมรรค เป็นตัวผลทีเดียว มรรคเดินมาตามลำดับนั่น
    • ใจของกายธรรมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสยิ่งกว่ากระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด นี่เข้าถึงผลอีกแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลม รอบตัว ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายธรรม หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดนั่น พอหยุดถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงธรรมกายพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
    • ใจของพระโสดาหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นธรรมกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระสกทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นสกทาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอนาคา
    • ใจของพระอนาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา ใสหนัก ขึ้นไป
    • ใจพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด ใสหนักขึ้นไป
    นี้วานนี้ได้สอนเจ้านาคให้ถึงนี้ พอบวชเณรเสร็จแล้ว ไปตามญาติ ไปนิพพานก็ได้ ไปโลกันต์ก็ได้ พวกพ้องไปตายอยู่ที่ไหน ไปตามเอารับส่วนบุญเสียด้วย ตากับยายทั้งสองคนไปตามมาและเห็น ฝ่ายพระบวชใหม่ก็เห็นด้วย นี่ทางพุทธศาสนาความจริงเป็นอย่างนี้
    นี่แหละ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา หนทางหมดจดวิเศษทีเดียว หมดจดวิเศษกว้างขวางนัก ทางปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ทางมรรค ทางผล ทางศีล ทางสมาธิ ทางปัญญา ทางวิมุตติ ทางวิมุตติญาณทัสสนะ นี่แหละเป็นทางหมดจดวิเศษ ทางอื่นไม่มี นี่วันนี้ที่ตั้งใจแสดงก็ให้รู้ทางหมดจดวิเศษ ที่จะเข้าไปทางนี้ก็เพราะเห็นสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ก็ตกอกตกใจหา หนทางไป ทางนี้ก็ถูกมรรคผลนิพพานทีเดียว นี้ทางเป็นหลักเป็นประธานเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ต้องฟังจริงๆ ตั้งใจจริงๆ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นง่าย เป็นของยากนัก ผู้แสดงก็ตั้งอกตั้งใจแสดง ถ้าผู้ฟังไม่ตั้งใจฟัง ก็ขี้เกียจ เดี๋ยวก็เลิกเสียเท่านั้น ถ้าผู้ฟังตั้งใจฟัง ผู้แสดงก็ตั้งใจแสดง ตรงกันเข้า ขันกับพานมันก็รับกันเท่านั้น นี่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผู้แสดงก็ได้ ผู้รับก็ได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าว่าพูดเสีย ผู้แสดงก็สะดุดใจเสีย ก็หยุดเสียไม่แสดง ก็เสียทั้งสอง ฝ่ายเป็นฝ่ายดำไป ไม่ใช่ฝ่ายขาว ได้ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายขาวไม่ใช่ฝ่ายดำ ให้รู้จักความจริงทางพุทธศาสนาดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ปัญญาเบื้องต่ำและปัญญาเบื้องสูง..........โดย หลวงปู่สด<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->ปัญญาเบื้องต่ำและปัญญาเบื้องสูง
    ๔ มีนาคม ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยาติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ ภิกฺขุ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในทางปัญญา ในวันมาฆบูชา ทางปัญญาเป็นขั้นปลายของศีล สมาธิ แต่ในวิสุทธิมรรค ในอัฏฐังคิกมรรค ได้แสดงปัญญาไว้เบื้องต้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป แสดงศีลไว้ในท่ามกลาง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว แสดงสมาธิไว้ในเบื้องท้าย สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ย่อลง ศีลอยู่เบื้องกลาง สมาธิอยู่เบื้องปลาย ปัญญาอยู่เบื้องต้น แต่ในลำดับของเทศนาอื่น พระองค์ทรงตรัสเทศนา ทรงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง ปัญญาเป็นเบื้องปลาย ที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา เป็นปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในครั้งนั้น ทรงตรัสเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เพราะปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เป็นผู้ชำนาญดีแล้วในเรื่องศีล สมาธิ แต่ว่าไม่ฉลาดในทางปัญญา ยังไม่คล่องแคล่วในทางปัญญา พระศาสดาทรงเห็นเหตุนั้น เป็นผู้รู้แล้วเห็นแล้ว จึงได้ทรงแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ทีเดียว เมื่อแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้งแล้ว ก็กลับมาแสดงศีลโดยปริยายท่ามกลาง สมาธิเป็นเบื้องปลายไป ครั้นจะไม่มาแสดงเรื่องศีล สมาธิ ก็จะแตกแยกกันไป หาเข้าเป็นแนวเดียวรอยเดียวกันไม่
    เพราะพุทธศาสนามีศีลเป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็นท่ามกลาง มีปัญญาเป็นเบื้องปลาย แม้พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปกระทำปฐมสังคายนา ก็เลยประชุมสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ พร้อมกัน พระมหาอริยกัสสปได้แสดงในที่ประชุม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า อิธ ภิกฺขุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติรู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติรู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นความดับทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติรู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาอย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้
    ต่อแต่นี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ และปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงเป็นลำดับไป
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ยกอริยสาวกขึ้นเป็นตำรับตำรา ก็เพราะพระอริยสาวกมีความไม่ยักเยื้องแปรผันแล้ว มีความรู้ความเห็นที่แน่นอนแล้ว ยกพระสาวกของพระตถาคตเจ้าตั้งแต่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค-สกิทาคามิผล, อนาคามิมรรค-อนาคามิผล, อรหัตตมรรค-อรหัตตผล ๘ จำพวกนี้เป็นอริยสาวก ไม่ใช่เป็นปุถุชนสาวก ถ้าต่ำกว่านั้นลงมามีธรรมกาย แต่ว่าไม่ได้พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต อะไร นั่นสาวกชั้นโคตรภู พวกไม่มีธรรมกายมีมากน้อยเท่าใด เป็นสาวกชั้นปุถุชน เรียกว่า ปุถุชนสาวก สาวกที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลส ที่เป็นโคตรภูบุคคลน่ะ ปรารภจะข้ามขึ้นจากโลก จะเข้าเป็นอริยสาวกล่ะ เป็นอริยสาวกก็ไม่ใช่ เป็นปุถุชนก็ไม่เชิง ถ้ากลับมาเป็นปุถุชนก็ได้ เข้ากลับเป็นอริยสาวกก็ได้ ทั้งสองอย่างนี้เรียกว่าโคตรภู ท่านเหล่านั้นเป็นโคตรภู
    เพราะว่า ที่ท่านยกว่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เอาความเห็นความรู้ที่ตายตัวกัน ปญฺญวา โหติเป็นผู้มีปัญญา ปัญญาที่แสดงแล้วน่ะ ที่แสดงนี่แหละ คำว่าปัญญานี้น่ะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ถ้าให้ฟังไปร้อยปีว่าปัญญาน่ะอะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร โตเล็กเท่าไหน อยู่ที่ไหน กลม แบน ยาว รี สี่เหลี่ยม อย่างไรกัน เอาเถอะ หมดทั้งประเทศไทย ถ้าว่าเข้าดังนี้ละก็ ไม่รู้เรื่องกันทีเดียวแหละ ได้ยันกันป่นปี้ เหตุนี้ ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ปัญญานี้ประสงค์อะไร ประสงค์ว่า อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามนั้นว่า ปิฎกทั้ง ๓ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เราจะยกปิฎกใดขึ้นก่อนจึงจะสมควร พระอรหันต์ทั้งหลายก็พร้อมกันว่าวินัยปิฎกเป็นข้อสำคัญอยู่ ถ้าว่าวินัยปิฎกยังครบถ้วน ผ่องใสแล้ว ศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองเพราะอาศัยวินัยปิฎก เมื่อจบวินัยปิฎกพระอริยกัสสปก็ถามอีก ในปิฎกทั้ง ๒ คือสุตตันตปิฎกกับปรมัตถปิฎก ใครจะเป็นผู้วิสัชชนา ตกลงให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นพหูสูต พระองค์ทรงตั้งไว้เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าสาวกในพระพุทธศาสนา ให้วิสัชนาในสุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎกทั้งสองนี้ แต่ว่า ปรมัตถปิฎกเป็นข้อสำคัญ เป็นทางปัญญา วินัยปิฎกน่ะเป็นศีล สุตตันตปิฎกเป็นสมาธิ
    ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ นี้จะเคลื่อนมิได้เลย เพราะศีลมีหน้าที่สำหรับปราบปรามชั่วด้วยกาย วาจา ฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม มุสาวาท ชั่วด้วยกายนี้ต้องอาศัยศีลสำหรับปราบความชั่ว อันนี้ ไม่ให้เข้าไปแตะต้องกับกายได้ ให้กายสะอาดผ่องใส ถ้าไม่มีศีลแล้วละก็ ปราบความชั่วด้วยกายอย่างนี้ไม่ได้ ฝ่ายสมาธิก็สำหรับปราบความชั่วทางใจ ความเกียจคร้านไม่ให้มีทางใจ หรือความพลั้งเผลอไม่ให้มีทางใจ หรือความไม่มั่นคงเหลวไหลลอกแลกไม่ให้มีทางใจ แก้ไขให้ใจมั่นคง ให้มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน ให้มีความเพียรอาจหาญ ไม่ครั่นคร้าม ๓ อย่างนี้เป็นหน้าที่ของสมาธิ ส่วนปัญญาเล่ายังหาได้แสดงไม่ ที่แสดงแล้วนี่ทางศีลทางสมาธิ
    ปัญญาที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นตัวสำคัญนัก แต่ว่าไม่ค่อยจะได้แสดง ที่วัดปากน้ำนี่ สมภารผู้เทศน์นี้ได้มาจำพรรษาอยู่วัดปากน้ำนี้ ๓๗ พรรษาแล้ว แต่ว่าในทางปัญญาไม่ค่อยแสดงมากนัก แสดงในศีล สมาธิ เป็นพื้นไป ทีนี้ตั้งใจจะแสดงในทางปัญญา ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยชอบนั้น โดยปริยายเบื้องสูงบ้าง จึงได้มีปุจฉาวิสัชนาเป็นลำดับไปว่า กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉนเล่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ปญฺญวา โหติย่อมเป็นผู้มีปัญญา อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต เป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ ปัญญาที่รู้ความเกิดความดับนั่นเป็นตัวสำคัญ ปัญญาน่ะมีแต่รู้ ไม่ใช่เห็น ปัญญาที่เป็นแต่รู้ แต่เขาว่าเห็นด้วยปัญญา เห็นปัญญาไม่มีดวงตานี่ ถ้ามีดวงตาค่อยพูดเห็นกัน นี่ปัญญาจะมีดวงตาอย่างไร ไม่มีดวงตา แต่ว่าแปลกประหลาดอัศจรรย์เหลือเกิน เมื่อถึงพระอริยบุคคลแล้ว เป็นธรรมกายแล้ว ถ้ามารไม่ขวางนะ ความเห็นของตาไปแค่ไหน ความรู้ของทางปัญญาก็ไปแค่นั้น ความจำก็ไปแค่นั้น ความคิดก็ไปแค่นั้น
    ความรู้ ความคิด ความจำ ความเห็น ๔ อย่างนี้แหละ ๔ อย่างนี้เขาเรียกว่า ใจ ๑ ความเห็น ๒ ความจำ ๓ ความคิด ๔ ความรู้ ๔ อย่างนี้แหละ หยุดเข้าเป็นจุดเดียว ซ้อนเป็นจุดเดียวเข้า เรียกว่า “ใจ” ดวงรู้มันซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ ดวงจำซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น มันเป็นชั้นๆ กันอย่างนี้ ๔ อย่างนี้แหละ รวมเข้าเรียกว่าใจ ถ้าแยกออกไปละก็ เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกาย จำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิดนั่น ย่อมลงมาเท่าดวงตาดำข้างใน นั่นมีหน้าที่รู้ เรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั่น ดวงจิตเท่าลูกตานั่นดวงใจ เท่ากับเบ้าตานั่นดวงเห็น หมดทั้งร่างกายมี ๔ อย่างเท่านี้ มี ๑) ดวงเห็น ครอบอยู่ข้างนอกดวงจำ ๒) ดวงจำ อยู่ข้างนอกดวงคิด ๓) ดวงคิด อยู่ข้างนอกดวงรู้ ๔) ดวงรู้ อีกดวงอยู่ข้างในดวงคิด เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละเป็นตัวสำคัญล่ะ
    เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ อย่างนี้มาจากไหน ที่ตั้งของมันอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ดวงนั้น เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แท้ๆ กายมนุษย์จะเป็นอยู่ได้ก็เพราะอาศัยธรรมดวงนั้น ถ้าธรรมดวงนั้นไม่มีแล้วละก็ กายมนุษย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ดับ ถ้าธรรมดวงนั้นยังมีปรากฏอยู่ละก็ มนุษย์ไม่ดับ เป็นมนุษย์ปรากฏอยู่เหมือนกัน จะแก่เฒ่าชราช่างมัน พอดวงนั้นดับมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้ ต้องดับกัน ถ้าธรรมดวงนั้นผ่องใส มนุษย์ก็รุ่งโรจน์ผ่องใสเหมือนกัน ถ้าธรรมดวงนั้นขุ่นมัวเสีย มนุษย์ก็ซูบเศร้าไปไม่ผ่องใส ดวงนั้นเป็นสำคัญ ดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของเห็นของจำ ของคิด ของรู้ ดวงเห็นก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่อยู่ข้างนอก ดวงจำก็อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้ก็อยู่ข้างในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ในกลางของดวงคิดอีกทีหนึ่ง ๔ ดวงอยู่นั่น ต้นเหตุอยู่นั่น ที่ออกมาปรากฏที่กายมนุษย์ก็ดี ที่หัวใจมนุษย์นี่ก็ดี ออกมาปรากฏอยู่เป็นดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ข้างนอกนี้ นี่เป็นดวงหยาบ นี่เป็นชั้นเป็นต้นเป็นปลาย นี่เป็นรากเง่า อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ในกลางดวงนั้นแท้ๆ
    อ้าย ๔ ่ดวงนั้นแหละเรียกว่า ใจ ถ้าว่าหยุดเป็นจุดเดียวกันละก็ เอาละ ท่านยืนยันสมาธิมาแล้ว สมาหิตํ ยถาภูตํ ปชานาติ จิตตั้งมั่น หยุดเป็นจุดเดียวกัน รู้ตามความเป็นจริงทีเดียว ถ้าว่าไม่ตั้งมั่นก็ไม่เรียกว่าเป็นสมาธิ ตั้งมั่นแล้วก็เป็นสมาธิ นี่ได้แสดงมาแล้ว สมาธินี่แหละเป็นต้นของปัญญา ปัญญาที่จะมีขึ้นก็เพราะอาศัยสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ เข้าถึงสมาธิไม่ได้ก่อน มีปัญญาไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวสำคัญ เป็นปลาย เป็นของละเอียดมากทีเดียว ผู้ที่มีปัญญาเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ผู้ที่มีปัญญาต้องเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ปัญญาเป็นดวงอยู่ ปัญญาที่เป็นดวงอยู่นั่น จะต้องพูดให้กว้าง แสดงให้กว้างออกไป จึงจะเข้าเนื้อเข้าใจกันแท้ๆ ปัญญาเป็นดวงปลาย
    ธรรมในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๕ ดวง ถ้าว่าจะกล่าวถึงองค์ มี ๑๐ ทสหิ องฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ องค์ ๑๐ คืออะไร สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่ ๘ องค์แล้ว สัมมาญาณ เป็นองค์ที่ ๙ สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ ๑๐ นี่มี ๑๐ อย่างนี้ เมื่อผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ต้องมี ๑๐ องค์ อย่างนี้จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าไม่เข้าถึงองค์ ๑๐ อย่างนี้ เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ๘ องค์ย่อลงเป็น ๓ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นปัญญาไป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นศีลไป สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิไป ก็รวมว่าศีลอยู่กลาง สมาธิอยู่ปลาย ปัญญาอยู่ต้น แต่ว่าเมื่อมาถึงพระสูตรนี้เข้า ปัญญาอยู่ข้างปลาย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา องค์ ๑๐ ย่อลงเหลือ ๕ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นี่แหละหลักพระพุทธศาสนาละ
    ศีลน่ะ อยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ศีลถ้าว่าจะกล่าวตัวจริงละก็ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนั่นแหละ อยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด นี้แหละเป็นที่ตั้งของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้งนั้น ตลอดขึ้นไป ๑๘ ดวง
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ๘ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด [รวมเป็น] ๑๐ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา-กายพระโสดาละเอียด [รวมเป็น] ๑๒ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคา-กายพระสกิทาคาละเอียด [รวมเป็น] ๑๔ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา-กายอนาคาละเอียด [รวมเป็น] ๑๖ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต-กายพระอรหัตละเอียด [รวมเป็น] ๑๘ กาย
    มีดวงธรรมทั้งนั้น ดวงโตขึ้นไปเป็นลำดับ เมื่อถึงธรรมกายโคตรภู ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้วดวงธรรมจะมีขนาดเท่าหน้าตักธรรมกาย ตลอดจนกระทั่งถึงเป็นพระอรหัต พระอรหัตหน้าตัก ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใส ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว อยู่ศูนย์กลางกายพระอรหัตนั้น นี่ให้รู้จักหลักนี้ก่อน
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในกลางดวงนี้ ดวงศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ดวงสมาธิก็อยู่ศูนย์กลางดวงศีลนั่นแหละ ดวงเท่าๆ กัน ดวงปัญญาก็อยู่ศูนย์กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงวิมุตติก็อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญานั่นแหละ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ กายมนุษย์ละเอียดก็อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น ถ้าต้องแสดงให้กว้างออกไปกว่านี้ ให้เข้าใจปัญญาชัดๆ อย่างนี้ละก็ จนกระทั่งถึงพระอรหัต ก็จะเข้ารู้จักปัญญาชัดๆ อย่างนี้ว่าปัญญามีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร
    เมื่อรู้จักดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา เช่นนี้แล้ว
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะอีก เข้าถึงกายทิพย์
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เดินแบบเดียวกันนี้ทั้ง ๑๘ กาย เดินไปแบบเดียวถึงพระอรหัตทีเดียว
    นั่นแหละต้องเดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะทั้งนั้น เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละเป็นหนทางนี่ ไม่ใช่ธรรมนี่ บอกเป็นหนทางนี่ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโคหนทางมีองค์ ๘ ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ก็พูดถึงหนทางนี่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทาง ถ้าว่าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีทางไป ไปนิพพานไม่ถูก ถ้าจะไปนิพพานให้ถูก ต้องไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนี่
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้จะแสดงในเรื่องปัญญา ดวงปัญญาของมนุษย์ก็ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ของมนุษย์ละเอียด ทิพย์-ทิพย์ละเอียด รูปพรหม-รูปพรหมละเอียด โตเป็นลำดับขึ้นไป ของอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด โตหนักขึ้นไป แต่ว่าถึงเป็นลำดับขึ้นไปเท่าไร ก็ยังไม่ถึงเท่ากายธรรม กายธรรมใหญ่มาก ดวงปัญญานั้นขนาดไหน ปัญญาน่ะออกจากดวงนั้น ธรรมดวงนั้นของปุถุชน ปัญญาของปุถุชนมัว ความเห็นมัวไม่ชัดนัก คล้ายๆ เปลือกๆ ปัญญา ไม่ได้ใช้กำเนิดของปัญญา ไม่ได้ใช้ปัญญาที่เป็นแก่น ใช้ปัญญาที่เป็นเปลือกๆ เท่านั้น ปุถุชนใช้ปัญญาผิวๆ เผินๆ ตัวเองก็ไม่เห็นปัญญา ไม่รู้จักว่ามันอยู่ที่ไหน และก็ไม่รู้จักว่ารูปพรรณสัณฐานมันเป็นอย่างไร เพราะไม่เห็น เพราะทำไม่เป็น พอทำเป็นแล้วจึงเห็น ทำเป็นน่ะเห็นปัญญาทีเดียวว่า ดวงโตเท่านั้นเท่านี้ อยู่ที่นั่นที่นี่ ใช้ถูกทีเดียว ถ้าว่าทำไม่เป็นแล้วไม่เห็นปัญญา เป็นแต่รู้จักปัญญาเท่านั้น ไม่เห็นมัน ปัญญาที่ว่า อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีปัญญา ปัญญานั่นดวงนั้นแหละ ประสงค์ดวงนั้น เรียกว่ามีปัญญาละ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิดความดับ ปัญญาก็ไม่ได้ดูอื่นนี่ ปัญญาน่ะมองดูแต่ความเกิดดับเท่านั้นแหละ หมดทั้งสากลโลกมีเกิดกับดับเท่านั้น รู้ชัดปรากฏชัดอยู่ว่าเกิดดับๆๆ เท่านั้น มีเกิดกับดับ ทั้งรู้ทั้งเห็นชัดทีเดียว เห็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น รู้อย่างไรก็เห็นอย่างนั้น เห็นกับรู้ ตรงกัน แต่ว่าเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ ตั้งต้นแต่มนุษย์ถึงรูปพรหมอรูปพรหม เห็นไม่ถนัดนักหรอก เห็นรัวๆ ไม่ชัดนัก เพราะเป็นของละเอียด เห็นความเกิดดับจริงๆ ตามนุษย์เรานี่ก็เห็น เอาไปเผาไฟเสียออกย่ำแย่เชียว ทิ้งน้ำ ฝังดิน เกิดดับๆ ทั้งนั้นแหละ หมดทั้งสากลโลก ตึกร้านบ้านเรือน ต้นไม้ ภูเขา สิ่งที่เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับ หมดทั้งนั้น เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้แหละ ไม่ใช่เห็นพอดีพอร้าย เราก็รู้ด้วยเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด รู้ชัดทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนปลาย รู้ได้ถี่ถ้วนดีทีเดียว นี้เรียกว่าปัญญา
    ปัญญาที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ ก็รู้เรื่องเหมือนกัน จะสิ้นไปแห่งทุกข์ด้วยวิธีอย่างไร ใช้ปัญญา แต่ว่ามัว ไม่ชัดทีเดียว เห็นโดยชอบที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันจริงแท้ หรือที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ เห็นจริงๆ รู้จริงๆ อย่างนี้ เห็นความสิ้นไป สิ้นไปแห่งทุกข์ทีเดียว ว่าทุกข์จะหมดไปได้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้ ถ้าไม่ถึงธรรมขนาดนี้ทุกข์หมดไปไม่ได้ นี้ความจริงก็รู้อยู่ชัด แต่ว่ารู้ด้วยปัญญา อย่างนี้รู้ด้วยปัญญา รู้อย่างชนิดนี้ เรียกว่า ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงนั้นขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ หมดทั้งก้อนกายเป็นตัวทุกข์แท้ๆ เกิดนี้เป็นทุกข์แท้ๆ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พวกนี้เป็นทุกข์แท้ๆ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ว่า อ้ายนี่ทุกข์แท้ๆ ทุกข์ทั้งก้อน พึงเห็นชัดว่าเป็นตัวทุกข์ทีเดียว ทุกข์แท้ๆ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ อ้ายทุกข์อันนี้เป็นผล ทำอะไรไม่ได้ เป็นทุกข์แท้ๆ ทั้งก้อนร่างกายนี้ เหตุให้มี เหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ให้รู้ชัดเห็นชัดเทียว กามตัณหา ความอยากได้ ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความไม่อยากให้มีให้เป็น นึกดูซี อยากได้อะไรเล่า ถ้าอยากได้ลูกสักคนซี เมื่อได้ แล้วเอามาทำไม เอามาเลี้ยงน่ะซี เมื่ออยากได้สัก ๑๐๐ คนเล่า ให้เสีย ๑๐๐ คนเทียว เอาแล้ว เห็นทุกข์แล้ว ๑๐๐ ร้อยคน ต้องทำบริหารใหญ่แล้ว นี่ทุกข์แท้ๆ อยากได้ลูกนี่ อยากได้เมียสักคน อ้าวได้มาแล้ว เอามาทำไม อ้าวให้สัก ๑๐๐ คนเชียว เอาอีกแล้ว เลี้ยงไม่ไหวอีกแล้ว เห็นทุกข์อีกแล้ว อ้าวอยากได้ไปซี เป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่อื่น เพราะกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อได้มาแล้ว ไม่อยากให้มันแปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ต้องแปรเป็นธรรมดา ไม่แปรไม่ได้ ต้องแปรอยู่เป็นธรรมดา เมื่อไม่อยากให้แปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ได้ฝืนกันล่ะ ได้ขืนกันล่ะ รู้ชัดๆ ซีว่าเป็นอย่างนี้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นทุกข์แท้ๆ
    ที่จะหมดไปสิ้นไป ไม่เป็นทุกข์ เราจะทำอย่างไร ต้องดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกข์เหล่านั้นจึงจะหมด ถ้าไม่ดับกามตัณหา ทุกข์ไม่หมดหรอก ถ้าดับเสียได้เป็นอย่างไร ถ้า ดับเสียได้ก็เป็นนิโรธนะซี นิโรธเขาแปลว่าดับ จะเข้าถึงซึ่งความดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องทำอย่างไร จะเข้าดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องเข้าถึงซึ่งมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง ไม่ใช่อื่น มรรคน่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง เดินไปทาง ศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์หยาบ
    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หลุดเสียแล้วกายมนุษย์หยาบ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียด หลุดไปแล้ว หมดทุกข์ไป อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ทุกข์หมด เข้ากายมนุษย์ละเอียด อย่างหยาบหมด เข้าถึงกายทิพย์ อย่างหยาบอย่างละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายรูปพรหม ส่วนโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม ส่วนราคะ โทสะ โมหะ หมด
    • เข้าถึงกายธรรม กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย หมด เข้าถึงกายธรรม เดินทาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระโสดา สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส หมด
    • เข้าถึงกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด
    • เข้าถึงกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด หมดกิเลส รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดไม่เหลือเลย เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม
    ที่พระองค์แนะนำให้รู้จักว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี วิราคธรรม เป็นยอดกว่าธรรมเหล่านั้น ถึงพระอรหัต ก็เข้าวิราคธรรมทีเดียว เป็นธรรมกายหน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่หมดทุกข์ แค่นี้หมดทุกข์ ทุกข์หมดไป สิ้นไป หาเศษ มิได้ นี่ดับทุกข์ได้จริงๆ อย่างนี้ เพราะดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าถึงวิชชา ดับ อวิชชาได้ทีเดียว นี่หลุดได้อย่างนี้นะ เมื่อหลุดได้อย่างนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในพระอรหัตยังมีไหมล่ะ ก็มีอยู่ซิ ทำไมจะไม่มีล่ะ ถ้าศีลไม่มี ท่านจะ บริสุทธิ์ได้ดีอย่างไร สมาธิมีไหมล่ะ สมาธิก็ดวงวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา ศีลก็เท่ากัน สมาธิ ก็เท่ากัน ปัญญาก็เท่ากัน นั่นแหละของพระอรหัต ท่านเรียกว่า โลกุตตรปัญญา เรียก ศีล สมาธิ ปัญญา ขั้นนั้นเป็นโลกุตตระอย่างสูง เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว พ้นจากสราคธาตุสราคธรรมไป เมื่อรู้จักชัดอย่างนี้แล้ว นี้แหละ ทางปัญญานี่แหละให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ครั้นจะชี้แจงแสดงให้กว้างขวาง เวลาไม่จุพอ เสียงระฆังตีบอกเวลาอาราธนาให้สวด มนต์อีกแล้ว เหตุนี้ต้องย่นย่อในทางปัญญานี้ไว้พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวจฺเชน ด้วยอำนาจ ความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในเรื่องทางปัญญาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจง บังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก

    ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน
    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า
    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ
    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ
    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง
    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร


    [​IMG]



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มีนาคม 2015
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    พระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล ได้อธิบายคำว่า “นิโรธ” ไว้ว่า
    ... “นิโรธ ดับสมุทัย (มิใช่นิโรธสมาบัติ) ตามความหมายของ ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ’ กล่าวคือเป็นการละ (ปหาน) อกุศลจิตของกายในภพ ๓ [ซึ่งเป็นที่ตั้ง หรือ เป็นที่สะสม – หมักดอง – ตกตะกอนนอนเนื่องของกิเลส (หยาบ-กลาง-ละเอียด) เป็น ‘อาสวะ/อนุสัย’ ในจิตตสันดาน] ให้กิเลสเบาบางลง ถึงหมดสิ้นไป บรรลุมรรค-ผล-นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้” ...
    (สมถวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า หน้า ๗๖)

    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้กล่าวถึงอริยสัจ ๔ ไว้ว่า
    ทุกข์ เป็นผล สมุทัย เป็นเหตุ
    นิโรธ เป็นผล มรรค เป็นเหตุ
    (คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย หน้า ๑๖๕)

    ดังนั้น การทำนิโรธให้ได้ผลดีนั้น ต้องทำมรรคให้ดีเสียก่อน เพราะมรรคเหตุให้เกิดนิโรธ นิโรธเป็นผลมาจากมรรค
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • s];'xJk.JPG
      s];'xJk.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.9 KB
      เปิดดู:
      287
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มีนาคม 2015
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐาน 5 สาย
    1.พุทโธ
    2.อานาปานสติ
    3.ยุบหนอ พองหนอ
    4.รูปนาม
    5.สัมมาอรหัง


    “หนังสือคู่มือการปฏิบัติธรรม (สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔)”
    ของสำนักปฏิบัติธรรมใหญ่ ๕ สำนัก
    คือ สำนักพุทโธ สำนักอานาปานสติ สำนักยุบพอง สำนักรูปนาม และสำนักสัมมาอรหัง โดยให้รวบรวมข้อมูลจากสำนักปฏิบัติธรรมทั้ง ๕ นั้น มาเรียบเรียงขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาสัมมาปฏิบัติพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าตามแบบที่สำนักใหญ่ ๕ สำนัก ต่างเลือกถือธรรมเป็นอารมณ์สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามจริตอัธยาศัยของตน

    เราจะได้เรียนรู้การปฏิบัติในแต่ละแนวทางเพื่อสร้างสติและปัญญาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลลองอ่านได้จากเล่มนี้ครับ หนังสือดีมากๆ



    คลิกอ่านได้ที่..........

    http://palungjit.org/attachments/a.2362154/
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...