ปุถุชน....คนช่างสงสัย...

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย raming2555, 4 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    เพื่อไม่ให้ไปรบกวนผีปอบของแม่กาลีนะ...
    จึงมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่...
    เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อสงสัยในการฝึกสมาธิ และ วิปัสนากรรมฐาน
    การเจริญสติ และการบรรลุธรรม

    เป็นข้อสงสัย ที่หลายคนอยากถาม แต่ถามไปก็หาคนตอบไม่ได้
    หรือมักจะได้รับคำตอบว่า ห้ามสงสัย เป็นนิวรณ์
    ตกลงก็เลยพลอยโง่กันไปหมด...รวมทั้งตัวผมด้วย ที่เป็นจอมโง่ และช่างสงสัย
    สมัยเด็กผมจึงได้รับฉายาจากอาจารย์อีกชื่อหนึ่งว่า มนุษย์เจ้าปัญหา...

    กระทู้นี้เอามาถามท่านผู้รู้ และท่านผู้ไม่รู้ รวมถึงท่านที่รู้บ้างไม่รู้บ้าง
    มาช่วยกันพิจารณา โดยไม่ได้ถือเอาว่าใครจะดีกว่าใคร ใครจะเก่งกว่าใคร
    เพราะถ้าพวกที่เก่งจริงๆ ก็คงไม่ต้องมานั่งพิมพ์เหยงๆแบบนี้แล้วล่ะนะ
    เพราะที่จะเก่งจริงๆนี่ผมเห็นว่าคือท่านที่ทำความดับไม่มีเชื้อแล้ว นั่นแหละครับ เก่งจริง...
    ประสาปุถุชน คนช่างสงสัยแล้ว...การถามปัญหาบางอย่างในการปฏิบัติธรรมนั้น อาจไม่ถูกใจต่อท่านผู้เจริญในธรรมแล้ว อาจดูไม่ถูกกาละเทศะ

    จึงได้ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาในหลุมดำ...เพราะมันเป็นมุมมืดอีกมุมหนึ่ง...
    ที่หลายคนอยากรู้ครับ...

    โพสต้นๆจึงจะเป็นโพสที่ลงไว้ในกระทู้ปอบ...
    เพื่อให้เรื่องราวต่อเนื่องกันไปนะครับ...
     
  2. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    พายุ เป็นเด็กฉลาด มิใช่น้อย...
    อ่านพระไตรปิฎกมาก็พอสมควร...
    แต่ก็ไม่เข้าใจที่คุณนพฯ อธิบายเรื่องสติ และแนวทางเดินสู่ปัญญา...
    ครั้นจะไปโพสในบอร์ดอภิญญา ก็เกรงจะโดนหาว่าโง่ บุญน้อย ด้อยวาสนา...
    เพื่อเป็นการไม่ให้เสียโอกาสในหลุมดำ
    ดังนั้นจึงคิดว่าผมจะปุจฉา...ในเรื่องที่พายุสงสัย...เพื่อให้คุณนพฯ วิสัจฉนา ให้หายข้องใจ...

    1. สติทางธรรม...ต่างจากสติทางโลก อย่างไร?
    2. สติ กับ สัมปชัญญะ ต่างกันอย่างไร?
    3. ในมหาสติปัฎฐานสูตร บทแรก กายากาเยนุปัสสี พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ...คำว่า กายในกาย หมายความว่าอย่างไร?
    4. จิต คือ อะไร ?
    5. ทำยังไงถึงจะเห็นจิต ตนเอง
    6. เมื่อเห็นแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่านั่นคือจิต ไม่ใช่นึกคิด คาดเดา หรือ จิตนาการไปเองว่านั่นคือจิต มีวิธีทดสอบอย่างไรว่า นั่นคือ จิต
     
  3. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    อูยยยยปกติแล้วเรื่องแบบนี้ ป๋า มิงค์จะมีความรู้มากกว่านะครับ.แถมทรัพย์
    แสงก็ยังดีกว่าด้วย. งั้นขอเล่าให้อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นเชิงยกตัวอย่าง
    และขอให้วางสิ่งที่เคยรู้มาก่อนหน้าไว้ก่อนนะครับ..คงไม่ตอบให้
    เป็นข้อๆ.แต่จะเขียนเป็นเชิงเล่าให้ฟัง พยายามจะให้ครบทุกประเด็น
    ที่ถามครับ..
    แต่ตามกมลสันดานขอย้อนอดีตให้อ่านเป็นบทนำไปก่อนเล็กน้อย
    เพื่อปรับความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนนะครับ...

    ปกติแล้วจิตคืออะไรในความเข้าใจก็คือจิตนั่นหละครับ เป็นพลังงานอย่างหนึ่ง..เป็นนามธรรม
    มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถเก็บสัญญาความจำได้
    ไม่จำกัดถ้าหากว่าได้เข้าไปอาศัยร่วมกับธาตุ ๔ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์
    หรือสัตว์ต่างๆ ก็จะกลายเป็นที่เราเรียกว่า ร่างกาย รูปร่าง
    ซึ่งจะมี เวทนา สัญญา วิญญาน สังขาร ร่วมด้วย
    ..หรือไม่ว่าจะมีแต่ตัวจิตกับพลังงานหนุน(พูดง่ายๆก็คือมีแต่เวทนาและสัญญา)
    ไม่มีวิญญาน และสังขาร แต่เรามักเรียกกันว่า ผี เรียกว่า
    วิญญานบ้าง ตามภาษาสมมุติเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ส่วนวิญญานจริง
    แปลว่าเครื่องรับรู้.สังขางก็การปรุงแต่ง ประมาณนี้เนาะ
    แต่เราจะเข้าใจกันว่าผลของเวทนานั้นก็คือบุญและบาปนั่นเองครับ
    จึงส่งผลให้ไปเป็นโน้นเป็นนี่ในแบบนามธรรมทั้งหลายนั่นหละครับ..
    และก็ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีกี่ชาติก็ตาม.ก็จะมีสัญญากับเวทนาตรงนี้
    เป็นองค์ประกอบหลักๆถ้ามีแต่ดวงจิตนะครับ..

    .และสามารถที่จะพัฒนาทำอะไรๆได้มากมายเกินกว่าที่วิทยา
    ศาสตร์จะตามทันได้ เช่นการที่มีเครื่องรู้พิเศษมากมายก็คือการที่ดวง
    จิตมีความสามารถในการขยายสัญญาจากตัวจิตออกไปเชื่อมกับ
    แหล่งองค์ความรู้อื่นๆซึ่งก็เป็นดวงจิตที่มีสัญญาเช่นกัน.เรียกว่าสัญญา
    เชื่อมกับสัญญา.ที่นี้การรู้นั้นๆก็ขึ้นอยู่กับว่าตัวจิตมีความชำนาญ มีความ
    ละเอียดในการเชื่อมสัญญานั่นๆจากดวงจิตอื่นๆได้มากน้อยเท่าไร..
    เราจึงค้นพบว่า ในบางตำราที่มีการเชื่อมสัญญาองค์ความรู้ วิชาต่างๆ
    เอาไว้นั้น.บางคนเพียงเอามือไปวางแล้วใช้หลักการเชื่อมนี้ ก็จะค้นพบ
    วิธีการต่างๆและเทคนิคโดยไม่จำเป็นต้องเปิดอ่านก็มีครับ..ส่วนตัวเคย
    เห็นหนังสือแบบนี้นะครับของรุ่นน้องคนหนึ่งครับ..แต่สำหรับท่านเดิน
    มาทางสายพุทธฯที่เน้น ศีล สมาธิปัญญา บางท่านก็มีความสามารถ
    ในการเข้าถึงแบบนี้ได้เช่นกัน.เพียงแต่เปิดหน้าปก อ่านคำนำก็จะ
    เข้าใจประเด็นหลักๆขององค์ความรู้รวมทั้งหมดในหนังสือได้ครับ..
    ประเด็นนี้เด่วเอาไว้วันหนึ่งจะพาไปพิสูจน์ให้ดูครับ..เสียดายว่าองค์
    ความรู้ต่างๆทางโลกยังๆไงก็ต้องอาศัยการท่องจำ การวิเคราะห์.
    ไม่งั้นถ้าเข้าถึงได้แบบการเชื่อมป่านนี้พวกที่ทำได้คงเป็นดอกเตอร์
    กันได้ง่ายๆ ๕๕๕๕..

    แต่เราจะพูดกันวันนี้ไม่ใช่เรื่องความสามารถพิเศษทางจิตตรงนี้
    ไม่ใช่เรื่องที่จิตสามารถทำอะไรได้บ้าง..แต่พูดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้อง
    กับดวงจิตที่จะเป็นฐานทำให้จิตดวงนั้นๆ หรือดวงไหน ไม่ต้องมา
    เวียนว่ายตายเกิดในเขตคลื่นพลังงานกลุ่มหนึ่ง หรือที่เราเรียกกัน
    ง่ายๆว่า ไตรภพนั้นเองครับ..บางคนก็รู้จักในชื่อ นรก สวรรค์อะไร
    ก็แล้วแต่จะเรียกครับ..แต่เนื่องด้วยเอกลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง
    ของจิต ที่จะมีเวทนาและสัญญาตรงนี้นี่หละครับ ที่ทำให้มันยัง
    วนเวียนในกลุ่มของคลื่นพลังงานหรือเขตไตรภพอยู่ครับ..
    บางท่านก็ว่า เพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ เพราะว่าเรายังไม่ฉลาด
    เราก็เลยยังต้องมาเกิด.แต่โดยความรู้รวม มันก็เป็นสัญญาความจำได้
    อย่างหนึ่งเป็นนามธรรมที่อยู่ในตัวจิตนั่นหละครับ..และตัวหนึ่งที่ยัง
    มีก็คือเวทนา ที่เราเข้าใจว่าบุญหรือบาปนั่นหละครับ แม้จะมีความ
    สามารถตัดสัญญาได้แล้วก็ตาม แต่หากยังมีบุญอยู่ ยังไงจิตก็จะยัง
    ต้องไปเสวยเวทนาตรงนี้ที่เป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายบุญอยู่ครับ.
    หลายคนอาจได้ยินคำที่ให้เข้าใจง่ายๆก็คือการเสวยกองบุญกองกุศล
    นั่นหละครับ.เพราะสุดท้ายๆจริงๆจิตจะไม่เวียนว่ายตายเกิดหรือไม่ติด
    ในกลุ่มคลื่นพลังงานไตรภพได้.ก็จะต้องไม่เอาเวทนาใดๆทั้งสิ้น
    หรือแม้แต่ตัวจิตเองก็ต้องวางการเกิดด้วย ก็คือเห็นว่าการมีเวทนา
    มีสัญญามันเป็นยังเป็นทุกข์อยู่ เป็นสาเหตุที่ทำให้ยังเวียนว่ายตาย
    เกิดอยู่ครับ..แต่ ณ ปัจจุบันนี้เรามาเข้าถึงตรงนี้ได้อย่างไร
    แม้ว่าจะรู้ในมุมที่แตกต่างกันแต่ก็มีเป้าหมายและปลายทางเดียวกัน
    คือการไม่ต้องกลับมาเกิดนั่นหละครับ..แต่เนื่องด้วยดวงจิตที่มัน
    อยู่กับเรา ณ ปัจจุบันนี้ มันไม่รู้ว่า มันเคยไปอาศัยอยู่ร่วมกับธาตุ ๔
    อื่นๆไม่รู้ว่าเปลี่ยนไปเท่าไรแล้ว และก็ไม่รู้ว่า มันเคยมีแต่ดวงจิต
    ที่ประกอบด้วยเวทนาและสัญญา มาแล้วกี่ภพกี่ชาติครับ..
    เป็นที่มาของความชำนาญ ความชอบทางด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน
    ของแต่ละบุคคล ตลอดจนลักษณะนิสัยต่างๆ เราเรียกกันง่ายๆว่าจริต
    ที่แตกต่างๆกันนั้นหละครับ..เป็นเหตุให้มีการก่อกำเนิดกรรมฐาน
    ที่สามารถทำให้เข้าสู่เส้นทางที่ไม่ต้องกลับมาเกิดได้ที่เรารู้จักกัน
    ก็ประมาณ ๔๐ กองนั้นหละครับ..แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราทราบเราเริ่มรู้
    เรื่องแบบนี้กันได้อย่างไรหละครับ..

    ก็นับตั้งแต่โลกใบนี้ได้กำเนิดมหาบรุษผู้ที่ที่ได้รับ
    การยอมรับและเคารพจากทุกภพภูมิ หรือเราเรียกกันว่าผู้เป็นเลิศทั้ง ๓ ภพ
    .จนมิสามารถคาดเดาถึงความสามารถได้
    .ขนาดอยู่ในป่าทึบยังรู้ได้ว่า
    มีดวงอาทิตย์ ๗ ดวงปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์ค้นพบแค่ว่ามี ๔ ดวง.
    และมีเครื่องรู้มากมายจนแม้กระทั่งต่อให้พระสาวก
    ระดับปฏิสัมภิทาญานมากมายความสามารถก็มิอาจหยั่งถึง.
    บรุษที่แม้กระทั่งครูบาร์อาจารย์ผู้ที่ชำนาญด้าน
    ฌานสมาบัติยังยกให้มหาบรุษผู้นี้เป็นครูบาร์อาจารย์ของท่าน
    ซึ่งมหาบรุษท่านนี้ได้ค้นพบสิ่งที่สำคัญ
    มากต่อมวลมนุษย์ชาติเลยก็ว่าได้ นั่นคือท่านได้ค้นพบเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    และค้นพบหนทางดับทุกข์นั่นเอง..ในลำดับต่อมาจึงกลายภาคตัวหนังสือ
    ต่างๆที่เราเคยได้ยินมา ณ ปัจจุบันนี้.ซึ่งก็ได้มีการบันทึกไว้โดยหลายๆกลุ่ม
    ที่ล้วนแล้วแต่ขึ้นชื่อว่า มีความสามารถระดับปฏิสัมภิทาญานขึ้นไปทั้งนั้น.
    และในบันทึกก็ยังเป็นหลายสายในการปฏิบัติ
    ไม่ว่าจะเป็นสายแบบผู้เป็นเลิศก็อย่างหนึ่ง
    สายพระโพธิสัตว์ก็อย่างหนึ่ง สายอื่นๆก็มี.
    ซึ่งน้อยคนที่จะรู้ต้องนี้.จึงเป็นเหตุที่มาของการ
    ทะเลาะเบาะแว้งนั้นเอง..ซึ่งก็ได้มีการ
    แปลและเขียนบันทึกไปไม่รู้กี่รอบ.แล้วก็มาทางเรือ
    ส่วนมาเทียบท่านี่ไหน ไม่ทราบเหมือนกันครับ ๕๕๕๕.
    .และในวันที่ท่านจะเสด็จปรินิพพานนั้น
    ท่านก็ได้บอกว่า ต่อไปธรรมคำสอนก็เปรียบเสมือนท่าน
    ดังเหมือนคำว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา.และเอากันจริงๆ
    เราๆจะไม่รู้จักหรอกครับ คำว่า ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ อะไรนั่น
    ถ้าหากว่า ในวันที่ผู้เป็นเลิศทั้ง ๓ ภพ
    ท่านเสด็จปรินิพพาน ผู้เป็นเลิศทางทิยพ์จักขุ
    ท่านไม่ตามดู ผู้เป็นเลิศในขณะนั้น..
    .และด้วยจริตของบุคคลที่เข้าไปอ่านตำรา มีพื้นฐานที่ผ่านมาของ
    ดวงจิตแตกต่างกันออกไป บางก็เรียกว่ามีการสะสมบารมีมาแตกต่างกัน
    เอาจริงๆก็คือการสะสมสัญญาต่างๆที่มีในดวงจิตนั่นหละครับ.
    ด้วยฐานที่แตกต่างกันอย่างนี้.หากพลั้งเผลอไปตีความด้วยฐานความคิด
    ของตนเอง..เราจึงพบว่า จึงมีการการตัดสินว่านี้ใช่นี้ไม่ใช่่ ชี้ชัด
    ว่านี้ผิดนี้ถูก มีการแยกแยะ แบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นต้นเหตุให้เกิดการ
    ทะเลาะเบาะแวงกันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ณ ปัจจุบันครับ..
    เพราะฉนั้น.เพื่อไม่ให้ดวงจิตของเรามันเผลอเข้าไปยึดตรงนี้.
    เผลอไปสร้างสัญญาความจำได้ตัวใหม่ จากการอ่านตำรา จากการ
    ได้ยิน ได้ฟังมา.แล้วเผลอไปพลาดพลั้งตีความตามความเข้าใจ
    ของตนเองไปหนุนย้ำเข้าไปอีก..
    ทั้งที่ความสามารถของตนไม่ถึงขั้นระดับปฏิสัมภิทาญานแล้วนั้น.
    จึงจำเป็นที่เราจะต้องมาสร้างผู้รู้ตัวใหม่ ก็คือ สติทางธรรม นั้นเอง..
    เป็นเหตุที่มา ของการที่จะตอบคำถาม ป๋ามิงค์ และที่มาของเรื่องที่จะเล่าให้ฟังตอนต่อไปครับ..
    ปล.นี่แค่คำนำครับ...เด่วต่อตอนต่อไป..และขอตอบให้เสร็จ
    ก่อนนะครับ อย่าพึ่งถามก่อน.. ๕๕๕๕..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2015
  4. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    คร๊อกกกฟี้ๆๆๆๆ ขยี้ตาเสร็จแหละ มาต่อกันครับ...
    อย่าลืมนะครับ ทิ้งความรู้เดิมๆไว้ก่อนนะครับ.
    และก็อ้างอิงมาเพื่อเป็นแนวทางในการตอบครับ....
    มีตุ๊กตาอย่างหนึ่ง บอกเอาไว้ก่อน ยังไม่ต้องเข้าใจอะไร
    ตอนนี้..เด่ววันหนึ่งหากปฏิบัติจนสามารถเข้าถึงได้
    จะทราบได้เองว่าเป็นอย่างที่ตั้งตุ๊กตาเอาไว้ให้หรือไม่
    และจะเข้าใจในเรื่อง นามธรรมต่างๆได้เองอัตโนมัติครับ...
    โจทย์คือ ให้ตัดร่างกายนี้ทิ้งออกไปเลย..ตอนนี้ที่เหลือคือ

    ๑.ดวงจิต ๒.ความคิดที่เกิดจากดวงจิต ๓.ความคิดที่เกิดจาก
    ขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม หรือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เป็นฝ่ายอารมย์ เป็นนามธรรมหรือเรียกอีกอย่างว่า
    ความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจคิค
    ไม่เลือกเวลา สถานที่ บ้างก็บอกว่าคือวิบากกรรมเก่า.
    บางก็ว่าเป็นกองสังขาร อะไรก็แล้วแต่จะเรียก.ฯลฯ
    และให้เข้าใจเอาไว้ว่า ทั้ง ๓ ส่วนนี้
    เป็นคนละตัว ไม่ใช่ตัวเดียวกันครับ

    และมีเอกลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้..
    ๑.ดวงจิต..
    แยกเป็นกิริยา ๑.๑ คือสามารถที่จะรวมเป็นดวงกลมๆได้
    ๑.๒ สามารถหมุนๆเป็นก้อนก่อนที่จะรวมเป็นดวงกลมๆได้
    ๑.๓ สามารถหมุนๆเป็นเกลียวคล้ายคลื่นพายุทอร์นาโด
    ก่อนที่จะหมุนเป็น ๑.๒ ได้...
    และ ๑.๔ สามารถผุดขึ้นมาเป็นแท่งได้ก่อนที่จะหมุนเป็นเกลียวๆ
    เหมือนข้อที่ ๑.๓
    ๑.๕ สามารถที่จะกระเพื่อมได้ คล้ายคลื่นทะเลซัดเข้าหาชายฝั่ง.
    หรือคล้ายๆเงาใสๆสะท้อนบนผิวถนนพอเราขับรถเข้าไปใกล้ก็หายไป
    หรือเหมือนพยับแดด..
    ๑.๖ คือหน้าตาเป็นยังไงวะ..อยู่ตรงไหนว๊าาาา ๕๕๕๕
    และจิตก็มีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งก็คือ เป็นธาตุรู้
    ปล.๑ ข้อที่ ๑.๓ และ ๑.๔ ในบุคคลผู้สูงอายุจะไม่มีตรงนี้
    หรือบุคคลที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ประเภทพรุ้งนี้ต้อง
    หาเงินใช้หนี้ ๑๐ ล้านบาทแล้วนอนหลับได้ปกติ.บุคคลประเภท
    นี้จะไม่พบกิริยาของจิตในข้อดังกล่าวครับ..
    อีกประเภทก็คือ กลุ่มที่เคยโดยเจาะทางท้ายทอยแบบยัดพวกภูติ
    พวกอสูรกายมาก่อนก็จะไม่มีเหมือนกันครับ..

    ๒. ความคิดที่เกิดจากดวงจิต...มีลักษณะดังนี้
    ๒.๑ แหล่งกำเนิดอยู่ตรงที่จิต..อยู่ร่วมกันกับตัวจิต..
    ๒.๒ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามแต่ที่จะนึกคิด..เช่น คิดว่า
    ก้อนหินนี้สวย หรือ จะคิดว่าก้อนหินก้อนเดียวกันนี้ไม่สวยก็ได้..
    หรือไม่ใช่ก้อนหินก็ได้ เป็นฟอสซิลก็ได้
    หรือชอบก็ได้ ไม่ชอบก็ได้ ดำก็ได้น้ำตาลก็ได้ เล็กก็ได้ไม่เล็กก็ได้ ฯลฯ
    ๒.๓ สามารถเพิ่มกำลังในตัวเองได้ ถ้าคิดแต่เรื่องเดิมๆซ้ำไปซ้ำมา
    และถ้าคิดมากๆ จนมีกำลังมากในระดับหนึ่งจะเกิดเป็นพลังงานจนกระทั่ง
    ทำลายระบบสมอง จนกลายเป็นคนวิกลจริตได้..
    ๒.๔ สามารถคิดปรุงแต่งร่วมกับสมอง จนสามารถสร้างเป็นภาพขึ้นมาได้
    และถ้าแยกตรงนี้ไม่ได้..ต่อไปก็จะเกิดการวิกลจริตได้.
    เพราะกำลังในการคิดสร้างเป็นภาพมันมีกำลังมาก
    จนทำลายระบบสมองได้..
    ๒.๕ สามารถดึงความคิดที่ผุดขึ้นมาอย่างไม่ได้ตั้งใจที่เป็นฝ่ายอารมย์
    ให้เข้ามาร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถเกิดเป็นอารมย์ต่างๆได้
    ไม่ว่า รัก โลภ โกรธ หลง และส่งผลต่อร่างกายไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง..
    ๒.๖ สามารถที่จะแยกมันออกจากตัวจิตได้..จากการเจริญสติ ด้วยการ
    สร้าง''ผู้รู้ตัวใหม่'' ก็คือ ''สติทางธรรม" เด่วว่ากันตอนต่อไป..
    ๒.๗ มีเอกลักษณ์ในการดีดตัวเองออกจากดวงจิตได้..ถ้าสติทางธรรม
    หรือ''ผู้รู้ตัวใหม่''สามารถเห็นมันได้ทันตั้งแต่ตอนที่มันกำลังจะเกิด
    หรือกำลังจะผุดขึ้นมาจากดวงจิต ซึ่งตรงนี้เป็นข้อแตกต่างที่ สติทางโลก
    ไม่สามารถทำได้..เพราะสติทางโลก ยังต้องอาศัยดวงจิตกับความคิด
    ที่เกิดจากตัวจิตร่วมกันนั่นเอง..


    ตัวที่ ๓..ความคิดที่เกิดจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม ตรงนี้ขอให้อ่านก่อน
    ถ้าหากปฏิบัติยังไม่ถึงจริงๆจะไม่มีทางเข้าใจได้เลย..และถ้าหากยังไม่เห็น
    ความคิดตัวนี้ อย่าไปให้ความสำคัญในถึงเรื่องวิปัสสนา
    .อย่าพึ่งรีบด่วนสรุปกิริยาอะไรต่างๆ .
    เพราะเราจะไม่ทันตอนทีความคิดตัวนี้มันรวมกับ
    ดวงจิตซึ่งเป็นความสามารถอย่างหนึ่งของมัน
    และไม่ทันตอนที่มันรวม
    กับความคิดที่เกิดจากจิต ซึงก็เป็นความสามารถของมันอย่างหนึ่ง.
    และเราจะเข้าใจไปเองว่าเรารู้ เราเข้าใจ..เราก็เลยจะคิดว่าเรารู้ เราเห็น
    ซึ่งเป็นอันตรายมาก มันจะทำให้เรากลายเป็นคนหลงตัวเอง คิดว่า
    ความคิดของเราถูกต้อง คิดว่าตัวเราเองบรรลุโน้นบรรลุนี้..ทั้งๆที่
    ไม่มีความเข้าใจในเรื่องนามธรรม สัมผัสนามธรรมไม่ได้ ไม่มีความ
    สามารถพิเศษทางจิตใดๆเพิ่มขึ้น ไม่มีการรับรู้ใดๆทางนามธรรม
    เพิ่มขึ้น..ตลอดจนเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ก็จะไม่ทันกิเลสตัวต่างๆ ไม่ว่ารัก โลภ โกรธ หลง..ตลอดจน
    กลายเป็นคนยึดมั่นถือมั่นในความคิดตัวเอง อยากได้รับการยอมรับ
    จากสังคมโดยไม่รู้ตัว..ทั้งๆที่ไม่มีอย่างนี้ กระแสจิตไม่เชื่อมข้างบน
    พูดๆง่ายๆตายไปสูงสุดคือคน..แต่ส่วนมากจะลงข้างล่าง มันก็จะยัง
    ทำให้เราคิดว่า เราบรรลุโน้น บรรลุนี้ได้ เพราะฉนั้นอ่านก่อน
    และพึงระมัดระวังให้ดีๆด้วยครับ.....
    ซึ่งมันจะมีเอกลักษณ์พิเศษคือ ต้องเจอถึงจะเข้าใจ
    ต้องปฏิบัตให้เข้าถึงเราถึงจะรับรู้ตรงนี้ได้นะครับ.
    ๓.๑ ขึ้นมาแบบไม่ได้ตั้งใจ เราบังคับมันไม่ให้ขึ้นมาก็ยาก..
    ๓.๒ ถ้ามันขึ้นมาแล้วเป็นเรื่องอะไรก็ตาม มันก็จะขึ้นเป็นเรื่องนั้นๆ
    วนไปวนมาอยู่อย่างนั้น..เช่น 1234 มันก็จะ 1234,1234 ฯฯฯฯ
    ๓.๓ และต่อให้เราพยายามจะคิดไปเปลี่ยนมัน เราก็จะเปลี่ยนแปลง
    มันไม่ได้ เช่น มันขึ้นมา 1234 ให้คิดเปลี่ยนแทบตายว่า 4321
    แต่มันก็จะยังเป็น 1234 และก็ 1234
    ปฏิบัติจนเข้าถึงได้จะเข้าใจเองว่าจริงหรือไม่
    ๓.๔ แต่มันสามารถถูกตามดู ตามรู้ ตามทำความเข้าใจได้..ถ้าเรามี
    สติทางธรรมหรือผู้รู้ตัวใหม่ แต่การตามดู ตามทำความเข้าใจได้นั้น
    ตัวจิตจะต้องมีความเป็นกลาง คือไม่กระเพื่อมเหมือนใน ข้อ ๑.๕
    คือไม่มีความคิดที่เกิดจากจิต ไม่มีฝ่ายอารมย์มาปรุงร่วม.และการตาม
    ดูนั้นจะต้องทำ ณ ปัจจุบันเท่านั้น..
    ความเป็นกลางตรงนี้ก็แล้วแต่แนวทางการปฏิบัติ บางก็ใช้สมาธิก่อน
    แล้วก็กลับที่มั่น บางก็ว่าให้จิตตั้งมั่นอะไรก็แล้วจะเรียก ฯลฯ ประเด็นคือ
    จิตไม่มีความคิด ไม่มีอารมย์มาร่วมนั่นเอง..
    ๓.๕ ถ้าสามารถทำ ๓.๔ ได้ก็จะเกิดเป็นปัญญาตัวหนึ่งขึ้นมาได้
    ก็คือ ปัญญาทางธรรม เป็นปัญญาที่สามารถทำให้ ลด ละ คลายกิเลส
    ในดวงจิตออกจากดวงจิตได้จริงๆ...ระดับปัญญาทางธรรมก็ขึ้น
    อยู่กับความสามารถในการตามทำความเข้าใจตรงนี้..ซึ่ง ณ ตอนนี้
    ผู้เขียนที่อธิบายให้อ่านแบบนี้ ยังถือว่าอยู่ในระหยาบ(ห่มเหลืองที่สอน
    ที่ดูแลเรื่องภพภูมิท่านบอกมา ซึ่งก็จริงอย่างที่ท่านว่า ๕๕๕๕)
    ๓.๖ การตามทำความเข้าใจ ขันธ์ ๕ นามธรรมตรงนี้ได้ ทะลุทะลวง
    ก็จะเป็นการรอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในอวิชชา แล้วแต่จะเรียกนั่นหละครับ

    ปล ๓. ถ้าผ่าน ๓.๖ ได้ ก็จะเป็นขั้นของการไม่ยึดทั้งบุญทั้งปาบ การกระทำ
    อะไรก็ตามต่อไปจะเป็นเพียงกิริยา แม้แต่ตัวจิตเองก็ต้องวาง ตัวสติ
    ตัวปัญญาเองก็ต้องวาง ถึงจะมีโอกาสไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
    ไม่งั้นจะต้องไปติดในกองบุญกองกุศลอีก
    กลับมาเกิดเหมือนเดิม ๕๕๕ พูดแล้วอารมย์เสีย....
    ปล.ใน #Rep นี้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจตอนนี้..แต่ถ้าพอจับหลักสังเกตุได้
    จะเริ่มทำให้มีความเข้าใจนามธรรมมากขึ้น ถ้าแยกตรงนี้ได้ เข้าใจตรงนี้ได้
    กรรมฐานไม่ว่ากองไหนๆมันก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
    แต่การตามทำความเข้าใจในขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมได้
    จนตัวจิตสามารถเข้าสู่ความว่างได้ในสภาวะลืมตาปกติ
    ในชีวิตประจำวันได้ ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ
    สังคมได้อย่างปกตินั้น
    โดยไม่ต้องใช้สมาธิข่ม
    หรือใช้กำลังจิตในการบังคับ
    ตัวใครตัวมันนะครับ เพราะผู้เขียนก็
    ทุลักทะเลอยู่ครับ...๕๕๕๕๕๕
    วันนี้ขอจบเท่านี้ก่อน เด่วพรุ้งนี้มาเขียนวิธีการสร้าง.
    ."ผู้รู้ตัวใหม่"ครับ

    ราตรีสวัสดิ์ก่อนครับคืนนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2015
  5. The eyes

    The eyes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    968
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,638
    ขอบพระคุณท่านระมิงค์ที่อวยพรให้ค่ะ จะได้ทำอะไรๆที่อยากทำแบบจริงๆจังๆซะที .แต่ " อุกอั่ง" ศัพท์ใหม่ที่ไม่มีในพจนานุกรม มันคืออะไรคะ? อาจไม่เข้ากับชื่อกระทู้ แต่ชาวบ้านก็อยากรู้ค่ะ หุหุ
    ปล.ตอนนี้ก็พยายามไปสไตล์ชาวบ้านค่ะ แต่บางทีก็ยังงงๆๆๆๆๆ(หลายงงอยู่)
     
  6. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    อุกอั่ง แบบว่า แน่นอก อึดอัด รวยจนอึดอัด ไม่รู้ว่าจะเอาเงินเอาทองไปทำอะไรดีน๊า...
    ดังแข็ง คือ ดั้งจมูกแข็ง หมายถึง คนที่หยิ่ง เชิด(จมูก) มองไม่เห็นหัวคนอื่น
    ลุงที่ขอนแก่นท่านนึงได้กล่าวเอาไว้....
    ผมก็ชอบจำอะไรบ้าๆบอๆแบบนี้แหละครับ...สนุกสนานเฮฮาดี...
     
  7. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    กระทู้นี้ไม่ใช่กระทู้สอบอารมณ์นะครับ...
    เพราะอารมณ์ไม่ได้มีเอาไว้ให้สอบ...
    อารมณ์นี่มีไว้ให้รู้เท่าทัน...
    ถ้าจะสอบ ขอเชิญติดต่อครูติง...
    โอเน็ตพึ่งสอบเสร็จไปนี่นา...ครูติงจะให้สอบอะไรดีล่ะ...
    .............
    กระทู้นี้จึงเป็นกระทู้ที่ ไปถามที่ไหนก็ไม่ได้...
    ผู้ตอบ จะไปตอบที่ไหนก็ไม่ได้...
    เพราะผู้ถาม ถามไปแล้วก็จะโดนด่า...
    ผู้ตอบ ตอบไปแล้วก็จะโดนแซว...
    จึงเอามาถามๆตอบๆกันในหลุมดำนี่แหละครับ...
    สวัสดี...
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,049
    สวัสดีครับคุณ ป๋า เพิ่งทราบว่ามีกระทู้นี้ครับ.:cool:
    เล่าในกระทู้ ปอบ จบตอบไปแล้วครับ..
    ปวดเมื่อยนิ้วเหมือนคับ..

    ปล.ตั้งมาดีเหมือนกันครับ.จะได้เล่าอะไรๆได้สดวกหน่อยครับ.
     
  9. พรานยึ้ม

    พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    591
    ค่าพลัง:
    +682
    ปุถุชน คนสงสัย


    พรานแก่เฒ่าเหลาเย่ ก็สงสัยว่า คุณ มึ 'ง จะสงสัย อะไรกันหนักหนา
     
  10. aeziss

    aeziss เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +1,295
    ขอบคุณมากครับ...ติดตามผลงาน..ของบรรดา..ป๋าๆ..อยู่เสมอ..อิอิ
     
  11. พรานยึ้ม

    พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    591
    ค่าพลัง:
    +682
    ขี้สงสัยจุงเบยยยยย
     
  12. ราคุเรียวซาย

    ราคุเรียวซาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,940
    ค่าพลัง:
    +8,516
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ raming2555 อ่านข้อความ

    1. สติทางธรรม...ต่างจากสติทางโลก อย่างไร?

    2. สติ กับ สัมปชัญญะ ต่างกันอย่างไร?
    3. ในมหาสติปัฎฐานสูตร บทแรก กายากาเยนุปัสสี พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ...คำว่า กายในกาย หมายความว่าอย่างไร?
    4. จิต คือ อะไร ?
    5. ทำยังไงถึงจะเห็นจิต ตนเอง
    6. เมื่อเห็นแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่านั่นคือจิต ไม่ใช่นึกคิด คาดเดา หรือ จิตนาการไปเองว่านั่นคือจิต มีวิธีทดสอบอย่างไรว่า นั่นคือ จิต

    เอาเท่านี้ก่อนนะ...มากไปเดี๋ยวพายุ จะมึนในคำตอบ...วันหน้าแม่กาลีนะก็จะต้องได้ดำเนินไปตามวิถีทางนี้นี่แหละ...ดังนั้น วันนี้ต้องศึกษาเอาไว้สักหน่อยนึงนะ...


    ท่านนพ ตอบว่าอย่างนี้

    ตอบ
    ''ผู้รู้ตัวใหม่'' หรือ ''สติทางธรรม'' ก็คือเครื่องมือตัวหนึ่ง
    ตอนนี้ให้นึกๆเอาไว้ก่อนว่า ดวงจิตคือ ก้อนกลมๆ..ผู้รู้คือ ฝ่ามือที่คลอบ
    ก้อนกลมๆดวงนี้เอาไว้อยุ่..จะทำให้อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น.
    และให้เข้าใจเอาไว้ว่า จิต,ความคิดที่เกิดจากจิต,ความคิดที่เกิดจาก
    ขันธ์ ๕ นามธรรมที่เป็นฝ่ายอารมย์เป็น คนละส่วนกันครับ..
    และผู้รู้ตัวนี้ก็จะทำหน้าที่
    คอยควบคุมความคิดต่างๆที่เกิดจากดวงจิตไม่กุศลหรืออกุศล


    ..และก็ยังทำหน้าที่คอยควบคุมความคิดที่ผุดขึ้นมาอย่างไม่ได้
    ตั้งใจหรือขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม..ก็เพื่อให้ดวงจิตของเรานั้น.
    ค่อยๆคลายทั้งความคิดจากจิตและค่อยคลายทั้งขันธ์ ๕ นามธรรม
    ที่เป็นฝ่ายอารมย์ตรงนี้ ออกจากตัวจิตเราเอง..และเมื่อคลายตรงนี้
    ได้แล้ว.ตัวจิตก็จะเข้าสู่สภาวะเป็นกลางคือไม่มีทั้งความคิดทั้งขันธ์ ๕
    เข้ามาร่วมกับตัวจิต เราพูดง่ายๆคือจิตไม่มีการปรุงแต่ง หรือจิตไม่กระเพื่อม
    หรือจิตไม่มีอารมย์ใดๆมาร่วม หรือจิตไม่เกิด ณ เวลานั้น
    แล้วแต่จะเรียกครับ..

    ที่นี้ก็จะเหลือแต่ตัวจิต

    ..ผู้รู้ตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ลำดับต่อมาก็คือ คอยควบคุมตัวจิตที่เข้าสู่
    สภาวะเป็นกลางนี้..และปล่อยให้จิตเค้ารับรู้ เพราะเอกลักษณะอย่างหนึ่ง
    ของจิตก็คือธาตุรู้...ตัวผู้รู้หรือสติทางธรรมตัวนี้..ก็จะทำหน้าที่ปล่อยให้
    ดวงจิตเค้ารับรู้.แต่ไม่ให้ดวงจิตเค้าเกิด..มาถึงตรงนี้ได้ก็จะเป็นการเริ่ม
    ต้นสำหรับการเดินปัญญาได้..ให้จำการมาถึงสภาวะตรงนี้ได้ว่าเป็นการ
    เริ่มต้นสำหรับการเดินปัญญาได้เท่านั้น..เปรียบเสมือนว่าเราขึ้นบันได
    มาถึงชานพักของบ้าน.แต่บนชานพักนั้นถ้าเราไม่ทำความสะอาดเลย
    ต่อไปเราก็ไม่สามารถที่จะอาศัยและยืนอยู่ได้ และก็ต้องก้าวถอยหลัง
    ลงบันไดมา..


    เพราะฉนั้นแม้ว่าจะขึ้นบ้านได้แล้ว ก็จะต้องคอยทำความ
    สะอาดเช็ดถูปัดฝุ่นอยู่เรื่อยๆ ฝุ่นในที่นี้ก็เปรียบได้ดัง กิเลสต่างๆนั้นเอง..
    ที่นี้เมื่อจิตมีความเป็นกลางได้ มีผู้รู้คอยกำกับได้แล้ว มีผู้รู้คอยกับ
    กำให้จิตรับรู้อย่างเดียวโดยที่ไม่ให้จิตเกิด..เนื่องจากจิตเค้าเป็นธาตุรู้..
    แต่เอาลักษณะที่พิเศษของ ผู้รู้ตัวใหม่ หรือ สติทางธรรม ก็คือ จะเป็น
    ทั้งธาตรู้และก็ผู้รู้ ครับ..เพราะฉนั้นบุคคลที่เข้าใจทางนามธรรมต่างๆ
    ได้ง่ายก็ขึ้นอยู่กับ ผู้รู้ตัวใหม่นี่หละครับว่ามีมากน้อยแค่ไหน...
    แล้วพอผู้รู้เค้าปล่อยให้จิตได้รับรู้ ได้เห็น ตามความเป็นจริง..ณ เวลา
    ปัจจุบันนั้นๆ..ด้วยความเป็นกลางแล้ว..จึงจะเกิดสิ่งหนึ่งขึ้นมาได้..
    ก็คือ "ปัญญาทางธรรม" ปัญญาทางธรรมตัวนี้หละครับ..ที่จะเป็นตัวที่
    จะทำให้ดวงจิต ลด ละ คลายกิเลสตัวต่างๆออกจากตัวจิตของเราเองได้
    จริงๆ ไม่ว่าเรื่อง โลภ โกรธ หลง ปัญญาทางธรรมตัวนี้จะช่วยให้ค่อยๆ
    คลายๆกิเลสพวกนี้ออกจากจิต จนสุดท้ายกระทั่งไม่มีเหลือเลย.

    ซึ่งจะไม่เหมือนปัญญาทางโลกที่เราได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังมา
    ปัญญาทางโลกไม่ใช่ไม่ดี แต่เป็นปัญญาที่ใช้เป็นแนวทางเดิน
    ให้กับตัวจิตได้.เพียงแต่ว่ามันไม่สามารถช่วยให้ตัวจิตคลายกิเลสได้จริงครับ
    ซึ่งการที่จะคลายได้นั้น ก็เป็นไปตามขั้นตอน เพราะตัวกิเลสเองก็มี
    ทั้งแบบที่หยาบๆ แบบที่กลางๆ แบบที่ละเอียด เพราะฉนั้นเราจึงจำเป็น
    ต้องอาศัยความเพียรเข้ามาร่วม กับการเดินปัญญาตรงนี้ บวกกับการ
    สร้างสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบต่างๆ..พูดง่ายๆก็คือการสร้างสม
    ความดี การสะสมบุญบารมี ในทางด้านต่างๆ รวมทั้งการมีสัจจะใน
    การที่จะลด ละ กิเลสต่างๆ ก็เพื่อที่จะมาหนุนปัญญาทางธรรมตรงนี้.
    ให้ค่อยๆคลายกิเลสลง และคลายกิเลสลงเรื่อยๆ จากระดับหยาบๆจนกระทั่ง
    ไปถึงระดับที่ละเอียดได้นั่นเองต่อไปในอนาคตครับ..

    สรุปในขั้นตอนที่กล่าวมาจากข้างบนนี้
    .เป็นขั้นตอนการสร้างผู้รู้ตัวใหม่ จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่การเดิน
    ปัญญาเพื่อให้เกิดปัญญาทางธรรมได้นั่นเอง ส่วนใครจะมีมาก
    หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ เหตุและปัจจัยต่างๆส่วนบุคคลครับ........


    ในลำดับต่อมา..สำหรับบุคคลที่พอมีกำลังสมาธิไม่ว่าจะระดับไหนก็ตาม
    ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับในเรื่องของสติปัฎฐาน ๔ ด้วยครับ...บุคคลกลุ่มนี้
    ก็มักจะกล่าวหรือพูดถึงในเรื่องของการพิจารณา.ไม่ว่าจะพิจารณากาย
    พิจารณาธรรม พิจาณาจิต พิจารณาเวทนา หรือพิจารณากิเลสต่างๆ
    ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่บุคคลที่พอมีความสามารถเข้าสมาธิได้ในระดับสงบ
    หรือมีความสามารถดึงจิตเข้าสู่สภาวะความเป็นทิพย์ได้..หรือแม้แต่
    บุคคลที่มีความสามารถใช้กำลังจิตได้..หรือบุคคลที่มีความสามารถ
    ดึงจิตเข้าสู่ความสงบแล้วใช้ความสงบเป็นทุนบวกกับการบริกรรมต่างๆ
    เพื่อให้เกิดผลในด้านต่างๆได้.และแม้แต่บุคคลที่มีสัมผัสพิเศษภายใน
    ต่างๆในระดับใช้งานได้หรือมีกำลังจิตในระดับใช้งานได้แล้วต่างๆก็ตาม..

    ยังไงๆ บุคคลเหล่านี้..ก็จะต้องมาพิจารณาหรือมาวิปัสสนาเพื่อคลาย
    กิเลสไม่ว่าจะส่วนหยาบ ส่วนกลางหรือส่วนละเอียดเช่นกัน.เพื่อปลาย
    ทางเดียวกัน เพื่อเข้าสู่ อริยะทรัพย์ภายในเช่นเดียวกัน..อริยะทรัพย์
    ภายในก็คือความว่าง ในความว่างนั้นมีดวงจิตอยู่ จิตที่ว่างจากความคิด
    จิตที่ว่างจากอารมย์ จิตที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นในความคิด ว่าง
    จากความยึดมั่นถือมันในอารมย์ และต่อมาจิตที่ว่างจากกิเลส ตัวจิต
    เค้าถึงจะไม่เกิด..ตัวจิตเค้าถึงจะสงบในลำดับต่อมา เมื่อตัวจิตเค้าสงบ
    เค้าก็จะรู้ว่าการเกิดนั้นเป็นทุกข์ เมื่อรู้ว่าการเกิดนั้นเป็นทุกข์ ตัวจิตเค้า
    ก็จะไม่อยากเกิดอีกนั้นเอง....แต่การที่เราจะไปถึงขั้นที่ตัวจิตจะไม่อยาก
    เกิดได้นั้น...


    แน่นอนว่าเราจะใช้เพียงสติทางโลกและปัญญาทางโลกหรือเรียกว่าปัญญา
    ทางสมมุติ. ที่เราได้มาจากการอ่าน การฟัง การได้ยิน แม้ว่าเราจะมีปัญญา
    ทางโลกในระดับอัจฉริยะก็ตาม..
    ซึ่งทุกๆคนถ้ามีความเพียร ก็สามารถสร้างปัญญาทางโลก
    ของเราให้เป็นอัจฉริยะกันได้ทุกๆคน..เพียงแต่ว่าปัญญา
    ทางโลกนี้มันไม่ได้คลายกิเลสออกจากตัวจิตเราได้นั่นเอง..และสติทางโลก
    ที่หลายบุคคลเข้าใจนั้น..มันเป็นการระลึกรู้ ในขณะที่ดวงจิตของเรา
    มันรวมกับความคิดที่เกิดจากจิตไปแล้ว และดวงจิตของเรามันรวมกับ
    ขันธ์ ๕ ฝ่ายนามธรรมไปแล้วครับ...เราจึงเข้าใจว่าตัวเราเองรู้ ตัวเราเองเห็น
    ทั้งๆที่เรายังยึดติดอยู่กับความคิด เรายังมีอารมย์ปนอยู่ด้วย..แต่เราก็เข้าใจ
    ว่าเรารู้เราเห็นนั่นหละครับ..เราจึงพูดๆไปว่าเรามีสติ..ทั้งๆที่เราไม่มีสติ
    ก็คือ ไม่มีสติทางธรรม ที่จะทันว่าตอนนั้น ดวงจิตเรามันรวมกับความคิด
    และรวมกับอารมย์อยู่นั่นเองครับ...

    ถ้าเราไม่มาสร้างผู้รู้ตัวใหม่ ด้วยความเพียรจริงๆ เราจะไม่ทันตรงนี้ครับ..
    เราจะไปเผลอว่า ตัวความคิดที่เกิดจากจิตซึ่งมันเป็นสัญญาที่ได้มา
    จากทางโลก ได้มาจากการอ่าน การได้ยิน ได้ฟัง แล้วเผลอไปคิดว่า
    ตัวนี้เป็นสติทางธรรม..เป็นตัวปัญญาทางธรรม แล้วก็เผลอซ้ำสองก็คือ
    นำไปพิจารณาอีก..ก็จะยิ่งกลายเป็นว่า เราไม่ทันทั้งขันธ์ ๕ นามธรรม
    ไม่ทันทั้งตัวกิเลส..ตัวจิตเราก็จะเข้าสู่การวิปัสสนาในรูปแบบ ที่มันสร้าง
    หรือมันฟอร์มตัวขึ้นมาเอง..จนกระทั่งกลายเป็น วิปัสสนึกนั่นเองครับ..
    เราจึงได้พบได้เห็นว่า ทำไมนักปฏิบัติทั้งหลาย ที่หลงตัวเอง คิดว่า
    ตัวเองบรรลุคุณธรรมชั้นสูงระดับต่างๆ..กลับไม่มีเครื่องรู้ ไม่มีสัมผัสต่างๆ
    ไม่มีความเข้าใจทางด้านนามธรรมต่างๆ ตลอดจนมีความยึดมั่นถือมั่น
    ในความคิดของตัวเอง สังเกตุได้หากมีการแย้ง และก็จะมีความยึดมั่น
    ถือมั่นในอารมย์ของตัวเอง ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นๆได้อยาก..
    ตลอดจนเรื่องที่เป็นกันไม่รู้ตัวก็คือ การอยากได้รับการยอมรับจากทางสังคม
    และจะยึดมั่นถือมั่น ว่าในเรื่องที่ตนถ่ายทอด ในเรื่องที่ตนรู้เป็นเรื่อง
    ที่ดีที่สุด แม้ใครจะพูดประเด็นไหนๆก็ตาม ก็จะต้องแย้งว่าสิ่งที่ตนถ่ายทอด
    ดีที่สุด ถูกที่สุด..ทั้งที่พุทธศาสนา.ท่านๆสอนให้เราไม่ยึดติดในสิ่งใดๆ
    ไม่ว่าจะเป็นผู้สอน ในคำสอน.แต่ท่านให้เราวางความเห็นส่วนตัวไว้
    แล้วก็ไปปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงให้รู้ด้วยตัวเอง พอเข้าถึงแล้ว พอรู้แล้ว
    ท่านก็ให้ละ ให้วาง ทุกๆเรื่องครับ...
    ปล.เด่วอีกตอนก็จบครับ

    __________________

    ตอนจบครับ..หลังจากที่เราพอเข้าใจภาพโดยรวมๆแล้ว ถึงหน้าที่และเอกลักษณ์ต่างๆ
    พอเข้าใจบ้างแล้วว่า มันเป็นคนละส่วนกัน ไม่ว่าจะ จิต ความคิด อารมย์
    สติทางธรรม และการสร้างปัญญาทางธรรม ดวงจิตเราก็จะแยกแยะได้เอง
    ว่า อะไรเป็นจิต ฐานของจิตของตรงไหน(เราสังเกตุได้ตอนที่จิตกระเพื่อม)
    กิริยาต่างๆของความคิดที่เกิดจากจิตเป็นอย่างไร กิริยาต่างๆของขันธ์ ๕
    นามธรรมเป็นอย่างไร ตลอดจนสร้างผู้รู้ให้ต่อเนื่อง จนสามารถเข้าสู่สภาวะ
    ที่เป็นกลางได้แล้ว.และเริ่มเดินปัญญาได้แล้ว..ณ เวลาปัจจุบัน ก็จะมาเข้า
    สู่เรื่องของการยกเรื่องพิจารณาครับ...


    แต่การที่เราจะยกเรื่องพิจารณาได้ ในขณะที่พิจารณาก็จำเป็นจะต้องมีพื้น
    ฐานมาบ้าง พอทราบว่า ณ เวลาใดที่จิตเราเป็นกลาง กิริยาแบบใดจิตเรา
    เป็นกลาง..และที่สำคัญก็คือ เราจะพิจารณาเรื่องอะไรนั่นหละครับ ?????
    ตรงนี้หละครับ คือปัญหาของนักปฏิบัติแม้ว่า เราจะรู้วิธีการเข้าถึงอารมย์
    ที่เราจะพิจารณาได้ แต่ก็ไม่มีเรื่องอะไรที่มันผุดขึ้นมาให้เราพิจารณาได้ครับ..
    มันมีแต่เรื่องที่เราคิดหรือยกมันขึ้นมาพิจารณา.แต่พอเราพิจารณาไปแล้ว
    พอออกมาสู่สภาวะปกติ ก็กลับพบว่า กิเลสตัวนั้นๆ มันก็ยังอยู่ ไม่ได้ลดน้อย
    ลงไปเลย...สาเหตุที่ทำให้เราพลาดตรงนี้ไปได้อย่างคาดไม่ถึง..

    ก็เพราะเราขาดการสร้างผู้รู้ตัวใหม่ให้ต่อเนื่อง..จนกระทั้งผุ้รู้ตัวนี้สามารถ
    ทราบได้ว่า ตัวจิตดวงนี้ของเรานั้น มันยังสอบตก ในกิเลสเรื่องใดๆอยู่นั่นเองครับ
    ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบและความเพียรเช่นกัน ก่อนที่เราจะเห็นกิเลส
    ละเอียดแต่ละตัวของเราได้ครับ..ซึ่งกิเลสละเอียดแต่ละตัวตรงนี้จะเป็น
    เสมือนการที่เรากำลังอยู่บนถนนสายหลัก แล้วมีท่อนไม้มันมาขวางทางอยู่
    เราก็ต้องหาวิธีที่จะข้ามหรือผ่านตรงนี้ไปให้ได้ เพื่อที่เราจะเดินทางต่อไป
    นั่นเองครับ...


    สมมุติว่า ผู้รู้หรือสติทางธรรมเราทำหน้าที่อย่างต่อเนื่องได้ เราจับสังเกตุ
    ผู้รู้ตรงนี้ได้..เช่น เวลาเราเจอเหตุการณ์อะไรก็ตาม เมื่อก่อนเหตุการณ์นี้
    ถ้าเกิดขึ้นแล้วเราเห็น เราจะรู้สึกไม่ดี และมีความคิดไปผสมร่วม บางทีถึง
    ขั้นออกท่าทาง แสดงกิริยา หรือพูดแสดงอารมย์..แต่ ณ ตอนนั้น
    ผู้รู้เราจับได้ทันและก็ไม่สนใจในขณะที่จิตเราก็นิ่งๆและไม่มีอารมย์ร่วม.
    นั่นหละครับตัวที่จับได้ทันและตัดไม่ให้มีอารมย์ร่วมนี่หละครับ.
    คือผู้รู้ตรงนี้ แต่เราขาดการสังเกตุ


    โดยมาก..เรามักจะรู้ทันก็ต่อเมื่อมันมีความคิดมีอารมย์เข้าไปร่วมแล้ว..
    และเราก็ขาดการสังเกตุอีกว่า..
    อารมย์และความคิดตรงนี้มันเข้าไปร่วมได้อย่างไร
    และก็เกือบร้อยทั้งร้อย..ก็จะสังเกตุไม่ทันอีกว่า มันวางไปตอนไหน และมัน
    วางเรื่องนั้นๆได้เพราะอะไรครับ..หรือมันดับไปตอนไหนครับ
    ซึ่งเราก็จะลืมๆกันเป็นปกติและกลายเป็นเรื่องธรรมดาครับ.
    .ถ้าเราเพิ่มการสังเกตุ


    ตรงนี้ได้นานขึ้นแม้เพียงอีก ๒ ถึง ๓ วินาทีในทุกๆเรื่องที่วาง
    ผู้รู้ของเรา ก็จะเริ่มก้าวเข้าสู่ ผู้รู้ยิ่งกว่า หรือ ก้าวเข้าสู่มหาสติได้
    ส่วนจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการสร้างผู้รู้พื้นฐาน
    และการจับหลักการสังเกตุตรงนี้นั้นเองครับ ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย..
    ถ้าเราเพิ่มเวลาตรงนี้ได้เพียงแค่เสี้ยววินาที เราจะมีความรู้ความเข้าใจ
    ในเรื่องนามธรรมต่างๆได้ดีขึ้นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนครับ...
    พอเราสร้างผุ้รู้จนเรา ทราบแล้วว่า เรายังอ่อนกิเลสตัวไหนอยู่...
    เราก็มาเข้าสูสภาวะเป็นกลาง จะโดยวิธีการตามที่เล่าให้ฟังมา

    หรือใครจะใช้กำลังสมาธิก็แล้วแต่...
    เราจะต้องไม่ลืมหลักการอย่างหนึ่งก็คือ เรื่อง "การวางอารมย์"ครับ
    วางอารมย์เรื่องที่เราจะยกขึ้นพิจารณานั่นเอง..ไม่งั้นพอถึงอารมย์ที่เรา
    จะพิจารณานั้น เราจะนึกอะไรไม่ออกครับ..พอนึกออกหรือนึกขึ้นมาเอง
    ก็จะกลายเป็นว่า เรื่องนั้นๆมันก็จะกลายเป็นความคิดที่เข้าไปปรุงกับตัวจิต
    เข้าไปปรุงกับขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมและปรุงร่วมกับกิเลสไปแล้ว..จึงกลาย
    เป็นเสมือนปัญญาทางโลก พอออกมาถึงไม่ส่งผลกับการคลายกิเลสของ
    เราได้จริงๆ เป็นเพียงการเอาปัญญาทางโลกมาเป็นตัวขวางไว้เฉยๆนั่นเองครับ.
    เพราะถ้าเรานึกขึ้นมาเอง เรื่องๆนั้นจะทำให้ ดวงจิตหลุดจากสภาวะเป็นกลาง
    ขาดความสามารถในการรับรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาทางธรรม..

    การวางอารมย์ก็คือ ถ้ารู้ว่าเราอ่อนเรื่องอะไร เราก็คิดๆไว้ระหว่างวัน
    แล้วก็ลืมๆไป ไม่สนใจ เด่วพอเวลาเข้าถึงอารมย์วิปัสสนาได้มันจะผุด
    ขึ้นมาได้ของมันเองอัตโนมัติ และไม่หลุดจากอารมย์ความเป็นทิพย์
    หรืออารมย์ที่เราจะวิปัสสนาได้นั่นเองครับ..
    ที่นี้จะพิจารณาอะไร ก็ปล่อยให้จิตเค้าว่างรับรู้อยู่ภายใน...
    จะพิจารณาจิตก็ปล่อยให้ จิตเค้าว่างรับรู้อยู่ภายใน จะพิจารณากาย
    ก็ปล่อยให้จิตเค้าว่างรับรู้อยู่ภายใน จะพิจารณาเวทนาจะพิจารณาธรรม
    ก็ปล่อยให้จิตเค้าว่างรับรู้อยู่ภายใน..ถึงจะเป็นสติปัฏฐาน ๔ ได้ตามลำดับ
    ของมันเองครับ...ถ้าเราสังเกตุตรงนี้ได้..การพิจารณากายกับจิตมันแทบ
    จะไม่ได้แยกขาดจากกัน.ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ได้ว่า กายกับจิตมันมีความสัมพันธ์
    กันมาเราก็จะต่อไปในเรื่องเวทนาได้ของมันเองตรงนั้น สุดท้ายเราถึงจะเห็น
    ธรรมได้ครับ...ไม่งั้นถ้าเราไปพิจารณาอาการ ๓๒ อะไรรู้ว่ากายเราตรงนี้
    มันเน่ามันเหม็น มันจะยังเป็นการพิจารณาในส่วนของรูปธรรมอยู่มันจะยัง
    ไม่ส่งผลให้เกิดมรรคผลกับตัวจิตในการตัดเรื่อง ความยึดมั่นถือมันได้จริงๆครับ
    เพราะจะเหมือนกับตัวจิตยังส่งออกอยู่ ส่งออกคือส่งออกไปปรุงแต่ง
    ร่วมกับความคิด ส่งออกไปปรุงแต่งร่วมกับขันธ์ ๕ นามธรรมนั่นเองครับ..


    เพราะฉนั้นให้เราทำความเข้าใจ ในเรื่องนามธรรมต่างๆที่เล่ามาให้ดีๆครับ
    ให้รู้กิริยาต่างๆของจิต รู้กิริยาต่างๆของความคิดให้ได้ก่อน เข้าถึงสภาวะที่จิต
    เป็นกลางให้ได้ก่อน..เราจะต้องแยกรูปธรรม กับ นามธรรมให้มันได้ก่อนครับ
    ยังไม่ต้องรีบร้อน ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่งั้นแม้ว่าเราจะพิจารณาได้
    ถึงขั้นพิจารณาธรรมแต่ตัวจิต มันยังไม่ว่าง รับรู้ มันก็จะกลายเป็น กิเลสธรรม
    มันจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมุติ เป็นปัญญาทางโลก หรือปัญญาโลกีย์
    เราจะรู้เห็นเฉพาะในภาพรวมๆครับ

    เพราะฉนั้นแล้วพยายามสร้างความเพียรไว้ ให้จิตเรามันแยกรูปแยกนาม
    ให้ได้ก่อน คอยดู คอยสังเกตุให้ดีๆครับ..เราถึงจะเข้าสู่การเจริญสติปัฏฐาน
    ๔ ได้ครับ..คงพอเข้าใจนะครับว่า ทำไมสมัยพุทธกาล ท่านถึงไม่สอน
    เรื่องสติปัฏฐาน ๔ กับมนุษย์ครับ..เพราะมนุษย์ยังขาดการแยกแยะตรงนี้
    ยังหลงยึดมั่นถือมัน กับความคิดกับอารมย์ของตนเองอยู่นั่นเองครับ..
    และทำไมแทนที่ถ้าพิจารณาในสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้วความสามารถใน
    การเข้าใจนามธรรมจะทะลุลวง ตลอดจนมีความสามารถพิเศษต่างๆมากมาย
    เพราะจิตจะเข้าสูความว่างได้ในเวลาปกตินั้น.มันจึงไม่บังเกิดขึ้น
    เพราะว่า จิตมันยังไม่นิ่ง ไม่ว่างรับรู้ นั่นเองไงครับ..
    ส่วนวิธีการตรวจสอบง่ายๆ ถ้าดวงจิตมันได้คลายเรื่องใดเรื่องหนึ่งลงไป
    แล้วนะครับ แต่ให้เราพยายามจะนึกแทบตาย หรือคิดจนกระทั่งโลกระเบิด
    กิเลสเรื่องนั้นๆมันก็จะไม่


    ผุดขึ้นมาอีก..หรือเราไปเจอเหตุการณ์ที่เคยทำให้เรามีอารมย์ร่วมแบบ
    เดิมๆอีก ตัวจิตเราก็จะไม่มีอารมย์ใดๆเกิดขึ้นเลยนั้นหละครับ..
    ถ้ามันมีผุดขึ้นมาแม้แต่นิ๊ดดดด เดียวแสดงว่ามันยังคลายไม่หมด.
    เราก็ค่อยมาเพิ่มความเพียร หายอุบาย ในการวางเรื่องนั่นๆให้หมดไป
    และไม่ว่าเรื่อง โลภ โกรธ หรือ หลง เราก็ต้องพยายามคลายมันออก
    ให้หมดทุกเรื่องในอนาคตกันต่อไป ตามเหตุตามวาระครับ..
    ปล.จบคำถาม ของ ป๋า มิงค์ครับ

    __________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2015
  13. ราคุเรียวซาย

    ราคุเรียวซาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,940
    ค่าพลัง:
    +8,516
    นี้ท่าน นพ ว่าต่อ อย่างนี้

    ข้อความที่คุณ Empire triumph เขียนผมเห็นแล้วหละครับ
    แต่ผมรอให้ ป๋า มิงค์ ตอบก่อนดีกว่า เพราะอาวุโสกว่า
    น่าจะตอบได้ดีกว่าผมครับ..
    เรื่องการทำให้เห็น วิญญานในรูปนะครับ..ความจริง
    ส่วนตัวทำให้บุคคลอื่นๆเห็นได้ง่ายมากเลยครับ.
    ผมพาดึงให้เห็นแบบมองภาพด้วยตาเปล่าๆนี่หละครับ.
    เห็นได้แม้กระทั่งหน้าตา ทรงผม และรู้กำลังจิตก็ยังได้
    ถ้าพอเข้าถึงได้นะครับ....
    แต่อย่าง ป๋า มิงค์ ว่าละครับ เห็นได้แล้วมันทำให้ตัว
    เรามันดีขึ้นเป็นคนดีขึ้นหรือเปล่าครับ..และ
    เราต้องการจะเห็นไปเพื่ออะไรครับต้องตอบ
    คำถามตรงนี้ในใจเอาไว้ให้ดีๆด้วยครับ.
    ถ้าเห็นแล้วมันโน้มน้าวเข้ามา
    พิจาณาในตัวเราให้เกิดประโยชน์ได้เพื่อลดละกิเลสได้
    ให้เรายึดมั่นในพระรัตนตรัยได้อย่างมั่นคง หรือเห็นแล้วเราสามารถ
    ใช้ประโยชน์จากการเห็นในทางที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่นๆ
    หรือมีประโยชน์ในทางธรรมได้นั่นอีกประเด็นครับ.
    พูดง่ายๆว่าเข้าใจวัตถุประสงค์ที่เห็นได้หรือไม่
    ไม่ใช่ว่าต้องการทราบว่าสิ่งที่เห็นคืออะไรนะครับ.
    แต่อยากเห็นเพื่อความอยาก เพื่ออยากรู้
    เพื่ออยากพิสูจน์.อะไรทำนองนี้..มีทางสายวิชาพิเศษก็มีสอนครับ.
    และก็ควรปล่อยให้เป็นไปตามวาระและเวลาของมันดีกว่าครับ.
    .เพราะการเห็นเป็นภาพได้ยังไงๆมันก็ยังไม่พ้นสัญญาไม่ว่าจะจากตัวจิต
    เราหรือจากภายนอกที่ส่งสัญญามาเพื่อเชื่อมให้เราเห็นได้
    มันก็ยังอยู่ภายใต้สภาวะการปรุงแต่งเหมือนเดิมไม่ว่ามันจะจริง
    หรือไม่จริงก็ตามครับ...
    ใช้ปม เห็นใจ
    ใช้ใจ เห็นมาร
    ใช้มาร เห็นธรรม
    ใช้ธรรม เห็นเรา
    ใช้เรา เห็นอุปทาน
    เห็นแบบนี้ให้ได้นะครับ....
    ปล.ประมาณนี้หละครับ...
     
  14. ราคุเรียวซาย

    ราคุเรียวซาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,940
    ค่าพลัง:
    +8,516
    คือ ท่านระมิงค์ เห็นว่า

    ป๋านพ ตั้งใจ ถ่ายทอด ข้อสงสัยอย่างตั้งใจ

    จึงวานข้าน้อย ช่วย ก๊อปปี้เพส ข้อความ ท่านนพฯ มา ไว้ให้ พิจารณา (พลางติชม วิพากษ์วิจารณ์ รึจะนินทา ก็แล้วแต่ตัวใครตัวมันนะคะ เป็นปัตจัตตัง ค่ะ)

    ๕๕๕๕
     
  15. ราคุเรียวซาย

    ราคุเรียวซาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,940
    ค่าพลัง:
    +8,516
    ขออภัย ที่เป็นเหตุให้ ท่านพรานผู้เฒ่าเหลาเหย่ บังเกิด ความ รำคาญ



    เนื่องด้วย ความสงสัย เป็นเรื่อง ปัตจัตตัง

    เกิดจาก อวิชชา รึความ ไม่อาจ หยั่งรู้สิ้นดินฟ้า ที่ต่ำที่สูง ยังไม่อาจ กำหนดจิตอันวุ่นวาย ให้รู้เท่าทัน เย็นร้อนอ่อนแข็ง นอกใน ทั้งสิ้นใส้
    เข้าครอบงำ

    ข้าน้อยก็เลย สงสัยอยู่ร่ำไป

    ซึ่งเป็นธรรมดา
    ของ ปุถุชน ผู้ยังไม่ได้ ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2015
  16. *ธรรมดา*

    *ธรรมดา* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +924
    ข้าน้อย ขอมาติดตาม อ่าน ขอรับ
     
  17. ราคุเรียวซาย

    ราคุเรียวซาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,940
    ค่าพลัง:
    +8,516
    แล้ว อารมณ์ กับจิต มันอันเดียวกันไหมคะ

    การรับรู้ว่าเย็นร้อน อ่อนแข็ง ชอบใจไม่ชอบใจ ความรู้สึกเหล่านี้

    มันคือจิต แล้ว อารมณ์ และสติ เกิดเมื่อใดคะ
     
  18. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,620
    ค่าพลัง:
    +13,004
    :cool:

    ก็แค่อยากบอกว่า..ยังอยู่ ยังไม่ตายครับป๋า
     
  19. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,049
    ไม่ใช่คนละตัวกับจิต เขียนไว้หมดแล้วลองอ่านดีๆ ที่ คุ พูดคือขันธ์ ๕ ฝ่ายนามธรรมเป็นฝ่ายอารมย์ เป็นนามธรรม
    ถ้าเรารู้สึกแสดงว่ามันรวมกับจิตไปแล้ว แต่เราไม่ทันตอนมันรวมไง
     
  20. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,620
    ค่าพลัง:
    +13,004
    แล้วเขาไปทำให้ชีวิตคุณมันลำบากขึ้นหรือเปล่า??

    หรือว่ามันส่งผลทำให้เซลล์สมองคุณ...มันลดลงเรื่อยๆอยากทราบ....!!!

    หาสร้างสรรอย่างอื่นทำดีกว่ามั๊ย??
     

แชร์หน้านี้

Loading...