สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]

    - เมื่อเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงแล้ว มีวิชชาที่ไขอายุให้ยืนยาวขึ้น แต่มีความคิดว่าเมื่ออายุยาวแล้วจะเป็นภาระของคนอื่น จึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้มีอายุเพียง 70 ปี อยากทราบว่าจะผิดหรือถูก ?




    ตอบ:

    เรื่องวิชชานั้น ถ้าทำถูกทำดีก็มีผล แต่จะมีผลมากหรือผลน้อยขึ้นอยู่ที่ผู้ทำวิชชานั้นทำถูกเพียงไร ที่พูดมิได้มีเจตนาอวดอุตตริมนุษยธรรมนะครับ พระพุทธเจ้า เคยตรัสกับพระอานนท์ว่า ถ้าพระอานนท์ได้ทูลขอชีวิตของพระองค์ไว้ให้ยืนยาวแม้เป็นกัปป์ ถ้าพระองค์ทรงรับ ก็ทรงมีพระชนมายุยืนยาวได้ด้วยการเจริญอิทธิบาท 4ในระดับฌาน นั่นหมายถึงว่า วิชชาลึกๆ ของพระพุทธเจ้าทรงมีอยู่ จึงตรัสอย่างนั้นว่า มีได้เป็นได้...
    แต่สำหรับท่านผู้ถามมานี้ ได้ขอไว้ว่าจะขอมีอายุเพียง 70 ปี ได้ใหม ? ไม่มีปัญหา ก็ต้องลองดูซิ และท่านถามว่าจะดีไหม ? ก็ตอบว่า ดี แต่ให้เฉลียวใจสักนิดว่า ถ้าท่านลองอธิษฐานโดยไม่จำกัดเวลา แต่อธิษฐานให้มีชีวิตอยู่ถึงเท่าที่สามารถจะช่วยตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของคนอื่น ก็อาจจะได้ผลอยู่ว่า การอธิษฐานแม้เพียงเล็กน้อย ก็มีได้เปรียบกับเสียเปรียบภาคมาร ภาคมารเขาคอยสอดละเอียดอยู่เรื่อย ระวังนะข้ออธิษฐาน แต่ก็แล้วแต่ความพอใจของท่าน สมมติว่า ถ้าเป็นอาตมา อาตมาจะอธิษฐานว่า “ขอให้มีอายุอยู่ทำประโยชน์แก่ตนเองและประโยชน์กับผู้อื่นให้มากที่สุด ให้ยืนยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่สังขารร่างกายนี้ อย่าให้ถึงขั้นต้องลำบากจนช่วยตนเองไม่ได้ และต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่นมากมายเลย” ถ้าอธิษฐานอย่างนี้ก็กว้างๆ ดี เป็นอันว่าเราก็ไม่ต้องไปคิดว่าจะตายเมื่อไหร่ อธิษฐานไว้ก็แล้วแต่บุญแต่กรรม ไม่ต้องไปคิดว่าจะให้ตายเมื่อนั้นเมื่อนี้อย่างนี้ ก็คงจะดีกว่า
    สมมติว่าทำได้จริง สมมติว่าท่านทำได้ถึงอายุ 90 ปี โดยที่ไม่ต้องให้ใครพยุงลุกพยุงนั่ง สามารถทำประโยชน์ตนประโยชน์ท่านได้มาก ไม่เอาหรือ ? เพราะว่าสังขารร่างกายของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน คือบางคนแม้จะมีอายุมากก็ยังแข็งแรงพอใช้ได้อยู่
    ดังตัวอย่างครั้งเมื่อยังเป็นฆราวาส อาตมาเคยไปทอดกฐิน มีโยมคนหนึ่งอายุ 93 ปี นั่งอยู่ใกล้อาตมา เพียงแต่หูตึงไปหน่อยเท่านั้น แก่ปูนนั้นยังสามารถขึ้นบันไดไปพร้อมกับอาตมา ไปวัดหลวงปู่สิม ที่ถ้ำผาปล่อง บันไดเป็นร้อยขั้น แกก็ขึ้นได้ แถมยังสูบบุหรี่ซิการ์ตัวยาว เรานั่งใกล้แก พ่อคุณเอ๊ย เราเมาซิการ์ไปด้วยเลย แกสูบซิการ์ตัวโต พ่นควันขโมง พูดเสียงดัง ทำไมถึงพูดเสียงดัง แกบอกว่าหูมันตึง กลัวคนอื่นไม่ได้ยินเหมือนที่แกไม่ค่อยได้ยินคนอื่นพูด แต่เดินกระฉับกระเฉง เพราะฉะนั้นอย่าไปคาดคะเนว่าแก่เกิน 70 แล้วจะแย่เสมอไป นี้เอาแน่ไม่ได้ ควรตั้งจิตอธิษฐานกว้างๆ ให้มีประโยชน์สูงสุดเอาไว้ คิดให้รอบคอบก่อนอธิษฐาน เวลาจะอธิษฐานอะไร จงคิดให้รอบคอบก่อน จะได้ไม่เสียท่าภาคมารเขา
    การอธิษฐานนี่ดีนะ เวลาเราทำบุญก็จงอธิษฐานว่า ขอจงเป็นพลวปัจจัยให้ถึงมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง ที่เป็นบรมสุข ก็จะเป็นอานิสงส์ส่งผลประคับประคองการดำเนินชีวิตของเรา ให้มุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพาน ให้ตรงแน่วอย่างนี้ดีทั้งนั้นแหละ...



    ***พระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า) วัดหลวงพ่อสดฯ
     
  3. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • thamakaya.jpg
      thamakaya.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.6 KB
      เปิดดู:
      71
    • page001.jpg
      page001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      186.3 KB
      เปิดดู:
      81
    • page003.jpg
      page003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.2 KB
      เปิดดู:
      67
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ผมมีข้อเสนอแนะครับ


    สอนให้เค้าเห็นดวงธรรม หรือกายภายในเบื้องต้นแล้ว

    ควรมีวิทยากรประจำท้องถิ่นนั้นๆ โรงเรียนนั้นๆ หน่วยงาน หมู่กลุ่มนั้นๆ
    ที่จะคอยให้คำปรึกษา ได้ในระดับดี เพื่อประคองอารมณ์
    คอยสอบถาม มีปฏิสัมพันธ์บ้าง ไม่ทิ้งห่าง แก้อารมณ์กรรมฐานเบื้องต้นได้ แล้วส่งต่อไปยังครูบาอาจารย์ที่มั่นใจว่า ไม่ออกนอกทางที่หลวงปู่ฯ ครูอาจารย์ต้นๆท่านวางไว้

    ไม่ได้ปล่อยให้เค้าไปตามยถากรรม หรือนำไปใช้ในทางผิด หลงเป็นฐานให้ฝ่ายอกุศล , ติดลบเร็ว ติดลบมากไปกว่าปกติที่ยังไม่ได้ฝึก

    พฤติกรรมโดยรวม ควรดีขึ้นกว่าไม่ได้ฝึก แม้ยังเจอสภาพแวดล้อมเดิมๆ
    เช่นใจเย็นขึ้น มีศีลมีธรรมโดยออกมาจากใจข้างในเอง ทิฐิมานะ ลดลง
    มีเมตตา กรุณา พรหมวิหารมากขึ้น ให้อภัยคนง่ายขึ้น เป็นต้น



    .....ถ้าจะทำบันทึก จากคนที่เข้าถึงดวงธรรมหรือองค์พระ ให้เค้าบัันทึกการเปลียนแปลงในชีวิตจริง ตั้งแต่เข้าถึงองค์พระ เป็นระยะเวลานานๆ แล้วนำบันทึกนั้นมาเผยแผ่ เผยแพร่ ว่าธรรมภายในที่เข้าถึง นั้นเปลียนคนเข้าสู่กุศลจากภายในได้จริง...คาดว่า สังคมจะยอมรับและให้การสนับสนุนมากขึ้นกว่านี้



    ......ไม่ประมาท ผยอง ว่าได้เห็นดวงฯหรือองค์พระ ตราบใดที่ยังไม่สามารถเข้าเขตพระอริยเจ้า ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย3ข้อต้นได้ขาด เพราะว่า
    ยืิ่งสูงยิ่งตกมาเจ็บ ยื่งขาวเมื่อถูกพลิกก๋็ยิ่งดำ.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มกราคม 2015
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    กลางธาตุ คือ อะไร ?

    ( อ้างอิงจากครูอาจารย์ที่สืบวิชชาโดยตรงสายพระ แต่ขอตัดบางตอนออก
    เพื่อไม่ให้คนที่พื้นฐานไม่พอ เกิดการปรามาสด้วยกรรมสาม)


    "การเจริญวิชชาชั้นสูง" ... ต้องผ่านการเจริญ สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    ในสองระดับข้างต้นมาก่อน ... เพื่อเข้า มรรค ผล นิพพาน
    ทั้ง "นิพพานถอดกาย" และ "นิพพานเป็น"
    เมื่อได้คำนวณวิชชา ได้เร็วและแรง ละเอียดเข้าไปเพียงใด
    ก็จะยิ่งเข้าถึง "ธาตุล้วนธรรมล้วน" ...... ฯลฯ ได้มากเพียงนั้น
    เมื่อยิ่งทำวิชชาได้ละเอียดเข้าไป
    จนถึง "ปราสาททำวิชชาของหลวงพ่อ"
    ก็จะพบธาตุธรรมของ หลวงพ่อ (สด จนฺทสโร )
    และ "กลางธาตุ" ทั้งหลายของหลวงพ่อ
    กำลังทำวิชชาสะสางธาตุธรรม และพระนิพพาน
    เพื่อช่วยสัตว์โลกทั้งหลายอยู่ ... มิได้หยุดเลย


    และเมื่อทำวิชชาละเอียดเข้าไป ก็จะทราบว่า ...
    ใคร??? คือภาคพระซึ่งได้ "ถอยพืดกำเนิดธาตุธรรมเดิม" ... มาสร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลก
    ช่วยรื้อสัตว์ ขนสัตว์ ที่ยังหลงติดอยู่ในไตรวัฏฏ์
    ให้เข้านิพพานเป็น อีกต่อไปนั้นเอง



    ส่วนผู้ที่ช่วยเหลือทำวิชชาอยู่กับหลวงพ่อ
    ซึ่งจะเห็นอยู่โดยรอบ ๆ หลวงพ่อนั้น ชื่อว่า "กลางธาตุ" ของท่าน
    บางรายก็ยังเป็น "กลางธาตุกายมนุษย์" (คือ ยังมีชีวิตเป็นมนุษย์)
    สร้างบารมี และ ทำหน้าที่เป็นทนายแก้ต่างพระศาสนาอยู่

    บางท่าน ... ก็ล่วงลับไปแล้ว
    และว่าโดยที่จริงแล้ว ผู้มีบารมีระดับกลางธาตุนั้นมีมาก
    แต่ปฏิบัติพระศาสนา ไม่ตรงตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ก็เพราะว่า ...
    ภาคมาร เขาพยายามปัดบังวิชชานี้
    และ ภาคมาร ... จะปัดเข้านิพพานถอดกาย ( ถ้าเขาต้านทานบารมีไม่อยู่ )
    เพื่อให้สิ้นฤทธิ์ ที่จะช่วยเหลือสัตว์โลก
    บรรดากลางธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ... จึงไม่ปรากฏอยู่ในผังปราสาทที่ทำวิชชาของหลวงพ่อ


    อนึ่ง "กลางธาตุกายมนุษย์"
    บรรดาที่สร้างบารมี และทำหน้าที่อยู่ในปัจจุบันนี้
    หากปฏิบัติตรง และ เจริญวิชชาชั้นสูงนี้
    ... ก็จะพบอยู่ในปราสาทที่ทำวิชชาของหลวงพ่อ
    ตามฐานะของอำนาจ สิทธิ และสิทธิเฉียบขาด ... ในการปกครองธาตุธรรมของแต่ละท่าน
    แต่ถ้าผู้ใดปฏิบัติไม่ตรง
    หลงกลทำประโยชน์ หรือ เป็นฐานให้แก่ภาคมาร ( เป็น "ฐานทัพ"ให้ฝ่ายมาร )
    "ต้นธาตุต้นธรรม" ... ก็จะเก็บวิชชา อำนาจ สิทธิ ของผู้นั้นเสีย
    แล้วอำนาจสิทธินั้น ก็จะเปลี่ยนไปเป็นของ ... "ผู้ที่ปฏิบัติตรง"
    และ สร้างบารมีสูงขึ้นมาแทนที่ใหม่ต่อไป.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มกราคม 2015
  6. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    ......................................................................

    ขอบคุณที่ได้แนะนำนะครับ
    ผมเห็นด้วย เพียงแต่วิทยากรสอนสมาธิวิชชาธรรมกายของเรายังมีจำนวนน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อความต้องการของสังคม

    ตามคติ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ถ้าภาครัฐเห็นความสำคัญของการพัฒนาใจคน พร้อมช่วยสนับสนุนการฝึกวิทยากรสอนประจำทุกโรงเรียน เสมือนเป็นครูประจำวิชชาพัฒนาใจให้สว่างใส มีการเขียนแผนการสอน มีการสอบให้คะแนนแก่นักเรียน มีการวัดผลอย่างจริงจัง เป็นรายภาคเรียน รับรองได้ว่า เด็กๆ ของชาติจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นภายในเวลาไม่เกิน 3 ปี

    แต่ทั้งนี้เราต้องฝึกวิทยากรคุณภาพให้ได้ก่อน ซึ่งน่าจะใช้เวลาฝึกประมาณ 4 ปี เหมือนการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง

    คณะของผมเคยทำการวิจัย ฝึกแก้ไขพฤติกรรมของเด็กกำพร้าแห่งหนึ่ง ประมาณ 75 คน เด็กกลุ่มนี้มีพฤติกรรมเกเร ไม่เป็นระเบียบ ชอบทะเลาะกัน เมื่อฝึกหนึ่งถึงสองเดือนแรก วิทยากรเหนื่อยมาก พอผ่านไปประมาณ 3 เดือน ฝึกทุกเสาร์หรืออาทิตย์ เด็กเริ่มมีพฤติกรรมดีขึ้น นิ่งขึ้น เริ่มทำอะไรเป็นระเบียบ จิตใจสงบไม่ทะเลาะไม่แก่งแย่งข้าวของกัน เชื่อฟังคำสั่งพี่เลี้ยง ถึงขนาดพี่เลี้ยงแปลกใจ ซึ่งตรงตามหลักวิชชาที่ว่า เมื่อใจหยุดนิ่งได้จริง คุณธรรมจะเกิดตามมา

    ถ้าภาครัฐเห็นความสำคัญ จัดหลักสูตรฝึกวิทยากรสอนสมาธิวิชชาธรรมกายเพื่อพัฒนาใจของนักเรียนทั่วประเทศให้เกิดความสว่างใส เมื่อใจเกิดความสว่างใส คุณธรรมพื้นฐานก็จะเจริญขึ้น นั่นคือ หิริและโอตตัปปะ ผมเชื่อว่าคนของเราจะพัฒนาไปได้ตามหลัก ความรู้คู่คุณธรรมอย่างแท้จริง

    ผลงานการสอนสมาธิภาวนา https://www.facebook.com/khunsamatha2557

    และนี่คือข้อมูลในการฝึกสอนเด็กๆ กลุ่มนั้น เสียดายที่รูปถ่ายหมดอายุ ไม่สามรารถเปิดดูภาพได้เลย
    http://group.wunjun.com/khunsamatha/topic/301789-8820
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2015
  7. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    คุณนักรบเงาครับ

    ผมได้ส่งข้อความส่วนตัวไปสอบถามปัญหา ไม่ทราบว่าท่านนักรบเงาได้รับข้อความของผมหรือเปล่าครับ

    ขอบคุณครับ
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542

    ได้รับแล้วครับ เพิ่งอ่าน
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ขอเชิญพุทธศาสนิกชนเพศชายอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เข้าร่วมบรรพชาอุปสมบทหมู่ ในโครงการ "สร้างพระในใจตน สร้างคนให้รู้ธรรม นำคนดีคืนสู่สังคม" เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่..พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชนีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ณ สำนักปฏิบัติธรรมป่ามงคลธรรม(สาขาวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 24 - 31 มกราคม 2558 นี้ บวชฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ



    เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึง 22 มกราคม 2558 นี้
    และขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพบวชพระองค์ละ 5,000 บาท ตลอดจนถึง
    ค่าภัตตราหาร-ปานะแก่พระภิกษุ
    ค่าอุปกรณ์เครื่องกันหนาวแก่พระภิกษุ
    ค่าเต็นนอนสำหรับพระ(เนื่องจากยังไม่มีกุฎิที่พัก)
    ค่าน้ำ ไฟฟ้า ตลอดการอบรมและอื่นๆ ตามแต่กำลังศรัทธา
    และอุบาสก-อุบาสิกยังสามารถเข้าร่วมปฏิบัติธรรมบวชเนกขัมมะได้ตลอดโครงการ
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณสาริยบุตร 090-1192-479



    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    "ในบทบูชาพระพุทธเจ้า ๒ ล้านกว่าพระองค์ นี้เป็นคัมภีร์เก่าที่มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยไปอยู่ศึกษาที่ประเทศพม่าแล้วได้คัมภีร์เก่ามา จนผุแล้ว ก็มีขาดๆ ตกๆ แต่ก็พอจับส่วนมากได้กว่า ๙๐ เปอร์เซนต์ ที่เล็กๆ น้อยๆ ก็พอรู้ว่ามันคืออะไร บทเจริญพระพุทธมนต์นี้น่ะ เป็นบทอาราธนาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตั้งแต่อดีตนับเป็นล้านๆ องค์มาถึงปัจจุบัน ถ้าท่านปฏิบัติถึงธรรมกาย พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียดถึงพระนิพพาน อาราธนาพระนิพพานธาตุทับทวีขึ้นมาที่ศูนย์กลางท่าน ซึ่งมีลักษณะที่ผ่านโอกาสโลก ขันธโลก สัตวโลก ภพสาม ผ่านโลกมนุษย์และทับทวีมาถึงตัวท่านขณะนั้นน่ะ นอกจากช่วยชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของท่านให้ใสบริสุทธิ์ เป็นการช่วยให้อายุยืน สุขกายสุขภาพจิตดีแล้วยังช่วยสังคม ตั้งแต่สังคมพระไปถึงสังคมโยมและประเทศชาติได้ ถ้าท่านทำได้"
    หลวงป๋า

    เสียงคณะสงฆ์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เจริญพระพุทธมนต์บูชาพระพุทธเจ้า ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ นำโดย พระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า)
    wlps47010103 พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้า ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์

    เจริญพระพุทธมนต์บูชาพระพุทธเจ้า ๒,๐๔๘,๑๐๙ พระองค์ นำโดย พระครูอาทรปริยัติสุธี
    พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้า 2,048,109 พระองค์
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มกราคม 2015
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    มื่อตั้งอยู่ในพรหมวิหารเช่นนี้แล้ว ได้ชื่อว่าไม่มีอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิเข้าแทรกแซง ได้ชื่อว่าดำเนินตามร่องรอยของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์แล้ว แล้วที่ยังมีอภิชฌา
    พยาบาท มิจฉาทิฏฐิอยู่ นั่นดำเนินตามร่องรอยพญามารแล้ว นี่ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ นี่เป็นทางไปของมารเสียแล้วอย่างนั้น คนอย่างชนิดนั้นรวยไม่ได้ มั่งมีไม่ได้
    คนจะรวยได้ จะมีได้ ต้องประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ดังกล่าวแล้ว นั่นแหละเป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เป็นทางไปของพระแท้ๆ

    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๔๕
    เรื่อง โอวาทปาฏิโมกข์
    ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๗
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    ผู้มีสติ-สัมปชัญญะ รู้เวทนาในเวทนา รู้จิตในจิต อยู่ เมื่อกระทบอารมณ์ที่พอใจ จิตจะทรงตัวดี แม้ถูกดึงดูดไปในความพอใจ (สุขเวทนา) ที่ได้กระทบกับอารมณ์อันน่าพอใจ ก็รู้ตัวอยู่ ว่าเวทนานั้น เป็นเวทนาที่อาศัยการปรุงแต่งจากโลกียะ หรือ ธรรมเครื่องนำออกจากโลกียะ ไม่ได้เพลิดเพลิน ดื่มด่ำกับอารมณ์อันน่าพอใจที่เป็นผลมาจากโลกียะปรุงแต่ง พอหมดเหตุการปรุงแต่งแล้ว ก็ทราบ และไม่ดิ้นรนด้วยตัณหา จนเป็นทุกข์




    อารมณ์อันน่าพอใจนั้นกำหนดยากกว่า อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ เพราะ ธรรมดาของสัตว์โลกย่อมผลักออกซึ่งสิ่งไม่น่าพอใจ และ ดิ้นรน ไขว่คว้า(จนเป็นทุกข์) ด้วยแรงตัณหา กับสิ่งที่น่าพึ่งพอใจ อยู่แล้ว ชิน เสพคุ้นกับสิ่งที่น่าพึ่งพอใจ(ระดับโลกียยะ)เป็นนิสัย อาสวะ เป็นอนุสัย อยู่แล้ว


    การกำหนดรู้เวทนา ในเวทนา ที่จิตใจ ให้ทัน เป็นปัจจุบัน จะช่วยให้มีแรงสะสมของจิตใจที่จะเอาชนะตัณหาได้


    ผู้เข้าถึงดวงธรรมหรือกายละเอียด ที่ดับหยาบไปหาละเอียดประจำ

    จะมีสติสัมปชัญญะ เป็นกลางได้มาก เมื่อธรรมอันเป็นโลกียะดับไปตามเหตุ ก็จะเห็นตามจริง ของเหตุในเหตุ ณ ภายในกาย ในใจตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มกราคม 2015
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    ร้อนด้วย ราคะ โทสะ โมหะ นั้นสำคัญนัก อันนี้จะแก้ไขวันนี้ ว่าเกิดมาจากไหน ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมาจากจักขุบ้าง รูป บ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสทางจักขุบ้าง มันเกิดมาทางนี้ ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทาง ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะทั้ง ๖ นั้น

    ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้น ดับหมด พอหยุดได้เสียอันเดียวเท่านั้นก็ดับหมด พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย เบื่อหน่ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เบื่อหน่ายในทางความรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายในทางสัมผัส

    ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายหมด ต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ฯ

    อะไรเป็นมรรค อะไรเป็นผล อะไรเป็นนิพพาน มรรคผลนิพพานกายธรรมอย่างหยาบ กายธรรม โคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตต์ อย่างหยาบนั่นแหละ เป็นตัวมรรค กายธรรมอย่างละเอียด นั่นแหละ แล้วนิพพานล่ะ ธรรมที่ทำให้เป็นกายโคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตต์ พอถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ก็ถึงนิพพานกัน นิพพานอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่มี

    ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ ก็ไปนิพพานไม่ได้ ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม ตัวนิพพานเป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม เขาก็ดึงดูดกันรั้งกันไปเอง เหมือนมนุษย์ในโลกนี้ คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนอยากจนก็

    เหนี่ยวรั้งคนอยากจนไปรวมกัน นักเลงสุรามันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงสุราไปรวมกัน นักเลงฝิ่นมันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงฝิ่นไปรวมกัน

    ภิกษุก็เหนี่ยวพวกภิกษุไปรวมกัน สามเณรก็เหนี่ยวพวกสามเณรไปรวมกัน อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน อุบาสิกาก็

    เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน มีคล้าย ๆ กันอย่างนี้ แต่ที่จริงที่แท้เป็นอายาตนะสำคัญ อายตนะดึงดูดเช่น โลกายาตนะ

    อายตนะของโลกในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด

    เพราะอยู่ในปรกครองของรูปฌาณ อายตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌาน ดึงดูดเข้ารวมกัน

    อตถิ ภิกขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลสแล้ว นิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้นให้รู้จักหลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้ ฯ
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ขอเชิญพุทธศาสนิกชนเพศชายอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เข้าร่วมบรรพชาอุปสมบทหมู่ ในโครงการ "สร้างพระในใจตน สร้างคนให้รู้ธรรม นำคนดีคืนสู่สังคม" เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่..พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชนีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ณ สำนักปฏิบัติธรรมป่ามงคลธรรม(สาขาวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 24 - 31 มกราคม 2558 นี้ บวชฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ



    เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึง 22 มกราคม 2558 นี้
    และขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพบวชพระองค์ละ 5,000 บาท ตลอดจนถึง
    ค่าภัตตราหาร-ปานะแก่พระภิกษุ
    ค่าอุปกรณ์เครื่องกันหนาวแก่พระภิกษุ
    ค่าเต็นนอนสำหรับพระ(เนื่องจากยังไม่มีกุฎิที่พัก)
    ค่าน้ำ ไฟฟ้า ตลอดการอบรมและอื่นๆ ตามแต่กำลังศรัทธา
    และอุบาสก-อุบาสิกยังสามารถเข้าร่วมปฏิบัติธรรมบวชเนกขัมมะได้ตลอดโครงการ
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณสาริยบุตร 090-1192-479



    [​IMG]
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    คำหลวงปู่
    .............................. ถึงหลวงพ่อจะสอนวิธีการบรรลุธรรมอย่างละเอียดลออ บอกกันอย่างถึงแก่นกันทีเดียว ไม่ใช่บอกแต่เปลือก สอนกันอย่างไม่หวงวิชชาความรู้ไม่มีขยักกั๊กไว้แม้สักน้อย สำหรับคนที่ยังไม่ได้ ท่านก็ให้เจริญอิทธิบาท ๔ ท่านอธิบายไว้ ดังนี้

    อิทธิบาท ๔ เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จทั้งมวล ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา แปลอย่างจำได้ง่ายว่า ปักใจ บากบั่น วิจารณ์ ทดลอง ไม่ว่าจะทำกิจการใด ถ้าประกอบด้วย ๔ อย่างนี้ เป็นสำเร็จทั้งสิ้น ว่าโดยเฉพาะในการบำเพ็ญภาวนา

    ๑) ต้องปักใจรักการนี้จริง ๆ ประหนึ่งชายหนุ่มรักหญิงสาว
    ๒) ต้องบากบั่น พากเพียรเอาจริงเอาจัง การทำใจให้หยุดเป็นของทำได้ยากแก่บุคคลผู้เกียจคร้านคนมีความเพียรทำไม่ยาก
    ๓) วิจารณ์ ตรวจดูการปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามแนวสอนของอาจารย์ให้ดีที่สุด
    ๔) ทดลอง ในที่นี้ได้แก่หมั่นใคร่ครวญสอดส่องดูว่าวิธีการที่ทำไปนั้น มีอะไรขาดตกบกพร่องบ้าง รีบแก้ไข อย่างนั้นไม่ดี
    เปลี่ยนอย่างนี้ลองดูใหม่ เช่นนั่งภาวนาในที่นอน มักจะง่วง ก็เปลี่ยนมานั่งเสียที่อื่น เป็นต้น

    ข้อสำคัญให้ยึดแนวสอนเป็นหลักไว้ อย่าออกนอกทาง ๔ อย่างนี้ เรียกว่าอิทธิบาท เป็นเครื่องที่จะช่วยให้เกิดความสำเร็จในกิจทั้งปวง

    ท่านปรารภเรื่องความเพียร อันเป็นข้อ ๒ ของอิทธิบาท ๔ เสมอว่า วัน คืน เดือน ปีล่วงไป ๆ มิได้ล่วงไปแต่วัน คืน เดือนปีเปล่า ๆ ชีวิตของเราล่วงไปตามวัน คืน เดือน ปีนั้นไปด้วย ชีวิตที่เป็นอยู่ร้อยปีพอหมดไปเสียวันหนึ่ง ก็ขาดร้อยปีไปวันหนึ่ง แล้วลดคืนหนึ่ง ผ่านร้อยปีไปแล้วคืนหนึ่ง แล้วหมดเสียวันกับคืนหนึ่ง ขาดร้อยปีไปวันกับคืนหนึ่งแล้ว อย่างนี้เรื่อยไป เมื่อวัน คืน เดือน ปีล่วงไปเท่าไร ชีวิตก็หมดไปเท่านั้น

    ท่านให้หมั่นยึดถือสุภาษิตนี้ แล้วจะหลุดพ้นได้เร็ว

    “ ด้วยความหมั่นมั่นใจไม่ประมาท
    รักษาอาตม์ข่มใจไว้เป็นศรี
    ผู้ฉลาดอาจตั้งหลักพำนักดี
    อันห้วงน้ำไม่มีมารังควาน ”

    คำว่าห้วงน้ำ หลวงพ่อหมายถึงการวนเวียนอยู่ในภพด้วยอำนาจโอฆะกิเลส ๔ ประการ ที่เปรียบเหมือนกระแสคลื่นท่วมทับครอบงำจิตใจสัตว์อยู่ทุกเมื่อ ได้แก่ กาโมฆะ โอฆะคือกาม ภโวฆะ โอฆะคือภพ ทิฏฺโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา

    หลวงพ่ออธิบายถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของเบญขันธ์ว่า รูปทั้งหลายไม่ว่าจะประณีตสวยงามหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม ก็มาลงเอยที่อนิจจังด้วยกันทั้งสิ้น คือตายหมดไม่มีเหลือ ไม่ว่าจะถือกำเนิดมาจากชั้นวรรณะใด ย่อมเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่อย่างนี้ มีแต่ความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ถ้าจะหาความเที่ยงความสุขก็ต้องหาภายในกายมนุษย์เข้าไป จนกระทั่งพบกายมนุษย์ละเอียด

    แต่ในกายมนุษย์ละเอียดก็ยังไม่สามารถหาความสุขเที่ยงได้ ต้องเดินเข้าไปอีกในกายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมละเอียด จนถึงการธรรม พอเข้าไปพบการธรรมนั่นแหละ จะรู้สึกตัวเองทันทีว่า นี่เองที่เที่ยงที่เป็นสุขจะเห็นสิ่งที่เที่ยงที่เป็นสุขในกายธรรม หรือธรรมกายนี้เอง

    เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้วใจคอที่เคยคับแคบก็เวิ้งว้างกว้างขวางสุขสบาย ใครไปถึงกายธรรมได้ก็แจ่มใสเบิกบาน กายธรรมนี่เป็นของเที่ยง การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอะไร ๆ ไม่เที่ยงนั้น จุดประสงค์ก็คือจะให้เข้าถึงกายธรรม จึงมีหลักว่านอกจากกายธรรมแล้ว จะเป็นกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด เหล่านี้ต่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งสิ้น คือต้องเวียนว่ายอยู่ในภพทั้ง ๓ จึงเป็นกายที่ยังไม่เที่ยง ยังต้องเป็นทุกข์อยู่

    ต่อเมื่อเข้าถึงกายธรรมจึงเป็นนิจจัง สุขขัง อัตตาขึ้นทันที เป็นของเที่ยง เป็นสุขเป็นตัวตนทันทีเมื่อถึงกายธรรมละเอียดก็ยิ่งดีหนักขึ้น กายธรรมพระโสดา พระโสดาละเอียดก็ยิ่งดีหนักขึ้น เที่ยงหนักขึ้นสุขหนักขึ้นไม่มีถอย กายธรรมพระสกิทาคา พระสกิทาคาละเอียดก็เที่ยงหนักขึ้น สุขหนักขึ้น กายธรรมพระอนาคามี พระอนาคามีละเอียดก็ยิ่งเที่ยงหนักขึ้นสุขหนักขึ้น กายธรรมพระอรหัตต์ พระอรหัตต์ละเอียดก็ยิ่งเที่ยงทีเดียว สุขที่เดียวไม่แปรผันต่อไป เป็นกายคงที่คงวา อุปมาเหมือนเสาเขื่อน ย่อมไม่เขยื้อนไปตามอารมณ์โลกธรรมทั้ง ๘ คือ อิฏฐารมณ์ ๔ ได้แก่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ และอนิฏฐารมณ์ ๔ ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ ติฉินนินทา ไม่สามารถทำให้ยุบลงหรือฟูขึ้นได้

    หลวงพ่อท่านได้ยกพระพุทธภาษิตประกอบว่า

    ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
    อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

    จิตของบุคคลผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวไม่เศร้าโศก ไม่ยินร้ายไม่ยินดี ย่อมปราศจากความขุ่นมัว เป็นแดนเกษมจากโยคะ ได้ชื่อว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ฯ

    หลวงพ่อท่านให้คติธรรม วิธีการประสบผลสำเร็จด้านการปฏิบัติธรรม ตามขั้นตอนไว้ดังนี้

    ประกอบเหตุ สังเกตผล สนใจเถิด ประเสริฐนัก
    ประกอบในเหตุ สังเกตในผล สนใจเข้าเถิดประเสริฐดีนัก
    ประกอบที่ในเหตุ สังเกตที่ในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐยิ่งนัก

    ทำใจให้ใสเท่านั้นแหละ เป็นใช้ได้

    อิฏฐารมณ์เป็นที่นิยมชื่นชอบของทุกคนส่วนอนิฏฐารมณ์ไม่เป็นที่นิยม ไม่เป็นที่ปรารถนา เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต เมื่อรู้จักอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เหล่านี้แล้วมีทางเลี่ยงได้โดยทำดังนี้ คือต้องบังคับจิตให้ดี ต้องตั้งจิตให้ดี ถ้าตั้งจิตให้ดีถูกหลักถูกฐานของที่ตั้งจิตแล้ว จะสามารถต่อสู้กับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ได้

    ต้องหมั่นเอาใจจดจ่ออยู่ที่กลางกั๊ก อันเป็นศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ให้หมั่นเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นเสมอ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน กิน ดื่ม จะทำ จะพูด แม้แต่จะอุจจาระ ปัสสาวะ ก็หยุดอยู่ตรงนั้นเสมอ จรดหนักเข้า ๆ ๆ ๆ พอชินหนักเข้า ก็ชำนาญหนักเข้า ๆ ๆ ๆ ก็หยุดได้

    พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติฉินนินทา ทุกข์ ไม่มีทางกระทบกระเทือนแล้ว เฉยเสียแล้ว ถ้าทำจิตให้ได้ขนาดนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า ถึงซึ่งมงคลสูงสุดแล้วถ้ายังอาดูรเดือดร้อนไปตามอนิฏฐารมณ์ เป็นอัปมงคลแท้ ๆ

    หลวงพ่อย้ำว่า “อัปมงคลมิใช่เป็นแต่เฉพาะฆราวาส หญิง ชายเท่านั้น ภิกษุ สามเณรก็เป็นได้เหมือนกัน พอสงบไม่ลง ทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เป็นอัปมงคล หลวงพ่อท่านเคยสอนพระสงฆ์ สามเณรว่า “ ภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา พอบวชแล้วไม่ต้องทำอะไร ทำใจให้ใสเท่านั้นแหละเป็นใช้ได้ ถ้าใจไม่ใส ภิกษุ สามเณรนั้นใช้ไม่ได้ ยังเป็นภิกษุสามเณรภายนอก ภายในเป็นไม่ได้ พอทำใจให้ใสได้เท่านั้นก็เป็นที่บูชาของมหาชนทีเดียว”



    https://www.facebook.com/Rakangdham...3385195862661/333561413511704/?type=1&theater
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]


    การเจริญภาวนา จำเป็นต้องผ่านนิมิตหรือไม่ ?

    -----------------------------------

    ตอบ:






    ความหมายของนิมิต

    คำว่า "นิมิต" แปลว่า เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล โดยความหมายหลายอย่างต่างๆ กันนี้เอง ที่มีผู้ใช้คำว่า "นิมิต" ในหลายสถาน เช่นว่า
    ความฝัน ที่เวลาบุคคลนอนหลับแล้วฝันไป ก็เรียกว่า สุบินนิมิต
    การแสดงนัยให้ทราบ อย่างเช่นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงนัยให้พระอานนท์ทราบถึงวาระที่พระพุทธองค์จะทรงปลงสังขารแล้ว อย่างนี้ก็เรียกว่า พระองค์ได้ทรงแสดง "นิมิต"

    ส่วนคำว่า "นิมิต" ที่ใช้เรียกกันในหมู่ผู้ปฏิบัติภาวนานั้น มุ่งหมายถึง "เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นที่ใจ" เช่น บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต
    1.เครื่องหมายใดๆ ที่กำหนดขึ้นในใจ คือนึกให้เห็นเครื่องหมายนั้นด้วยใจ ก็เรียกว่า บริกรรมนิมิต
    2. ถ้านึกเห็นนิมิตด้วยใจได้ชัดเจนเพียงชั่วขณะ ก็เรียกว่าได้ อุคคหนิมิต
    3. และถ้าเห็นเครื่องหมายนั้นได้ชัดเจน นาน ติดตา จะนึกขยายให้โตใหญ่ หรือย่อให้เล็กลงด้วยใจ ก็ทำได้ อย่างนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต

    ใช้นิมิตเป็นอุปกรณ์ฝึกใจให้สงบ เป็นสมาธิ การกำหนดเครื่องหมายขึ้นในใจ หรือที่ปรากฏเห็นขึ้นในใจ ที่เรียกว่า บริกรรมนิมิต นั้น เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจ อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มารวมอยู่ในอารมณ์เดียว แนบแน่นเป็นสมาธิดี เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตได้ ตามลำดับของใจที่หยุดนิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง

    อนึ่ง อุบายวิธีอีกอย่างหนึ่งที่มักใช้ควบคู่กับ "บริกรรมนิมิต" ก็คือให้กำหนด "บริกรรมภาวนา" คือให้นึกท่องในใจว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" หรือ "พุทโธๆๆ" ไปด้วย เพื่อให้ใจช่วยประคองนิมิตนั้นไว้ เป็นอุบายวิธีรวมใจที่มีสภาพเบา กวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านได้ง่าย ให้หยุด ให้นิ่งสงบ เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น

    เมื่อใจถูกประคองให้มารวมอยู่เสียกับบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กัน หนักเข้าๆ ก็จะค่อยๆ เชื่อง และสงบรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็น เอกัคคตารมณ์ คือมีอารมณ์เดียวเป็นหนึ่งนิ่งอยู่

    เมื่อ "ใจ" อันประกอบด้วย ความเห็นนิมิต, ความจำนิมิต, ความคิด และความรู้ในนิมิต มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นนิมิตนั่นชัดขึ้น เป็น อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตได้ ตามระดับของใจที่รวมหยุดเป็นสมาธิได้แนบแน่นมั่นคง
    ในขณะที่ผู้ปฏิบัติภาวนาเพิ่งกำหนดบริกรรมนิมิตนั้น ใจเพิ่งจะเริ่มเป็นสมาธิ คืออยู่ในอารมณ์เดียว สมาธิในระดับนี้เรียกว่า ขณิกสมาธิ
    แต่พอเห็นนิมิตได้ชัดเจนขึ้นชั่วขณะ ที่เรียกว่า อุคคหนิมิต นั้น ใจที่สงบนิ่งเป็นสมาธิระดับนี้ เป็นสมาธิในระดับ อุปจารสมาธิ
    และเมื่อเห็นนิมิตได้ชัดเจน นาน ติดตา และสามารถจะนึกขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงได้ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ใจที่สงบหยุดนิ่งสนิทระดับนี้ เป็นสมาธิในขั้น อัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน

    กล่าวคือเมื่อจิตประกอบด้วย วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิตอยู่, และประกอบด้วย ปีติ ยินดีที่ได้พบเห็นสิ่งที่เย็นตาเย็นใจ ก่อให้เกิดความ สุข อย่างละเอียดๆ เช่นนั้น และอยู่ในอารมณ์เดียว สงบหยุดนิ่งสนิทได้แนบแน่นดี เป็น เอกัคคตา เช่นนี้ จัดเป็นสมาธิในขั้น ปฐมฌาน

    ใจที่เป็นสมาธิตั้งแต่ระดับปฐมฌานขึ้นไปนี้เอง ที่มีองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา คุณเครื่องปหานกิเลสนิวรณ์ทั้ง 5 คือ ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา พยาบาท อุทธัจจกุกกุจจะ และ กามฉันทะ ให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสควรแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามที่เป็นจริง ให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ชัดแจ้ง

    เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ "นิมิต" เป็นอุบายวิธีในการเจริญสมาธิภาวนาถึงระดับฌาน เพื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต เพื่อรวมใจให้หยุดให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ยกระดับจิตใจขึ้นสู่องค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา อันเป็นธรรมเครื่องปหานกิเลสนิวรณ์

    และเมื่อเจริญภาวนาจนเป็นสมาธิระดับฌานต่างๆ นั้น ก็จะต้องมีนิมิตหรือผ่านนิมิตทั้งสิ้น แม้แต่อรูปฌาน ที่ว่าไม่กำหนดรูปเป็นอารมณ์ อย่างเช่น กำหนดยึดหน่วงเอาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เมื่อจิตละเอียดหนักเข้า ก็เห็นนิมิตคืออากาศนั้น หรือในกรณีที่กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือกำหนดยึดหน่วงเอาความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ก็เห็นวิญญาณ หรือความว่างเปล่านั้นแหละ ที่เห็นนั่นแหละคือนิมิต,

    แม้เมื่อจิตเป็นอุเบกขา ที่เรียกว่า อุเบกขินทรีย์ ก็ยังต้องมีนิมิต ดังพระพุทธดำรัสว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ อุเบกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ดั่งนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้..."1

    เจริญวิปัสสนา ก็ต้องมีนิมิต

    ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ต้องมีนิมิตแห่งวิปัสสนาจิต กล่าวคือถือเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาสภาวธรรมอีกเช่นกัน เช่น การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยนิมิต นึกเห็นนิมิต จึงจะพิจารณาสภาวธรรมได้ จึงจะเห็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริงได้

    อย่างเช่น การเจริญอสุภกัมมัฏฐานอันนับเนื่องอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่าจะต้องไปพิจารณาดูแต่ที่ซากศพ หรือจะต้องนำศพไปพิจารณาด้วย หรือจะต้องสาวไส้สาวพุงของใครต่อใครมาดู จึงจะเรียกว่า อสุภกัมมัฏฐาน ก็หาไม่ ในทางปฏิบัตินั้น เมื่อได้เคยเห็นซากศพหรืออวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายในหลายๆ ลักษณะ ก็จำภาพนั้นหรืออารมณ์นั้น แล้วน้อมเอาอารมณ์นั้นหรือภาพนั้นมาพิจารณาด้วยใจ การพิจารณาก็จะต้องนึกเห็นทั้งลักษณะและสภาพที่เป็นจริง ว่าเป็นแต่สิ่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด และเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เหล่านี้เป็นต้น จึงจะเรียกว่ารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ถ้านึกไม่เห็นแล้วทำไมจึงจะอ้างได้ว่า เห็นแจ้งตามสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงได้เล่า การเห็นของจริงด้วยตาเนื้อนั้นเป็นแต่เพียงเริ่มต้นของเรื่องที่จะนำมาพิจารณาเท่านั้น แต่การเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจทางใจ แม้จะเห็นธรรม ณ เบื้องหน้าซากศพ ก็เป็นการเห็นด้วย "ใจ" หาใช่เห็นธรรมด้วยตาเนื้อไม่ และการเห็นสิ่งที่น้อมนำมาพิจารณาสภาวะธรรมด้วยใจนั้น ก็คือนิมิต อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งที่ชื่อว่า "สังขารนิมิต" นั่นเอง

    เรียกว่า หนีนิมิตไม่พ้น ในทางปฏิบัติแล้วจะต้องผ่านนิมิตเสมอไป ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ได้เห็น ถ้าไม่ได้เห็น ก็จะอ้างว่าเห็นแจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงไม่ได้ ก็มีแต่ท่องจำเอาจากตำราเท่านั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงปฏิเสธนิมิตในการเจริญภาวนาธรรม และยังประทานพระบรมพุทโธวาท มีความว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์, ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต (คือนิมิตแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์"2

    นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงการถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ในการปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีความว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล."3

    จึงว่าการเจริญภาวนาจะต้องผ่านนิมิต อาศัยนิมิตแน่นอน

    ข้อสังเกตในเรื่องนิมิต

    ประการที่ 1 ที่ว่า การเห็น นั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ
    1.การเห็นรูปด้วยตาเนื้อ สำหรับคนทั่วไป และเห็นด้วยตาใน (ตาทิพย์) สำหรับท่านที่เจริญวิชชาหรือมีทิพพจักขุ นี้อย่างหนึ่ง กับ
    2.การเห็นนิมิต คือเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นให้เห็นในใจ เพื่อเจริญสมาธิ นั้นอีกอย่างหนึ่ง

    และสำหรับสิ่งที่เห็นด้วยใจนั้น จึงมีทั้ง นิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ที่นึกหรือคิดให้เห็นในใจเพื่อเจริญสมาธิ ได้แก่ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง หรือน้อมสังขารนิมิตเข้ามาพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการเห็น รูป หรือ ธาตุธรรมละเอียด ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ด้วยสามารถแห่งทิพยจักขุ เสมือนหนึ่งตาเนื้อเห็นรูป ฉะนั้น นี้อย่างหนึ่ง อย่าปนกัน

    ประการที่ 2 การเห็นนิมิต มิได้หมายความว่า ติดนิมิต หากแต่เป็นเพียงอาศัยการกำหนด บริกรรมนิมิต ขึ้นเพื่อเจริญสมาธิ พัฒนาการเห็นนิมิตนั้นขึ้นไปเป็น อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ตามระดับสมาธิที่สูงขึ้น และเป็นความจำเป็นที่จะต้องน้อมนำเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ในสติปัฏฐานสูตรจึงแสดงวิธีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน, เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน, และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ว่าคือการมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม

    สำหรับท่านผู้เจริญภาวนาได้ถูกวิธี สามารถเจริญวิชชา และมีอภิญญา เป็นต้นว่า เกิดอายตนะทิพย์ ให้สามารถรู้เห็นสิ่งที่ละเอียดประณีต หรืออยู่ห่างไกล ลี้ลับได้ กว่าอายตนะของกายเนื้ออย่างเข่น ตา หู ของกายเนื้อ จึงสามารถเห็นสัตว์ในภูมิต่างๆ ที่ละเอียด อย่างเช่น นรก สวรรค์ และแม้แต่เห็นอายตนะนิพพานนั้น ก็เป็นเรื่องความสามารถพิเศษของท่าน และก็เป็นการเห็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เหมือนกับตาเนื้อเห็นรูปทั้งหลายนั่นเอง เหมือนกับเราผ่านไปทางไหนก็ได้พบได้เห็นบ้านเมือง ผู้คน หรือสัตว์ทั้งหลายตามปกติธรรมดา

    แม้จะเจตนาที่พิจารณาดูความเป็นไปของอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น ก็เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เป็นการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า นรก สวรรค์ นิพพานนั้น มีจริงหรือเปล่า ถ้ามี มีอย่างไร มีความเป็นไปในนรก สวรรค์ ตลอดทั้งอายตนะนิพพานอย่างไร ด้วยผลบุญและผลบาปอะไร จึงต้องไปเสวยวิบากอยู่ในนรกหรือสวรรค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรู้จักความเป็นไปในนิพพานนั้น เป็นยอดของความรู้ เป็นยอดของปัญญาทีเดียว และประการสำคัญที่สุด ผู้ที่สามารถเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายอันเป็นธรรมขันธ์ที่พ้นโลกแล้ว สามารถให้เข้าถึงอายตนะนิพพานได้นั้น ทำให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นโดยชัดแจ้ง ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระบรมพุทโธวาท ว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะนั้น [คือพระนิพพาน] มีอยู่...." และว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว [คือพระนิพพาน] นั้น มีอยู่...." 4

    จึงทำให้สามารถเห็นอรรถ เห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้วนี้โดยชัดแจ้ง

    ประการที่ 3 การเจริญสมาธิภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน แล้วมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนามีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือมีสติพิจารณาสภาวธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมาก และไม่รู้อุบายวิธีออกจากสังขารนิมิตที่ถูกต้องนั้น จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้ แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ปล่อยหรือให้ปฏิเสธนิมิตนั้น ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจโดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่าเกิดวิปัสสนูปกิเลสข้ออุปัฏฐาน อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้

    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย เป็นกัมมัฏฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน และมีมหาสติปัฏฐานสี่ อยู่ครบถ้วนในตัวเสร็จ คือมีการพิจารณาเห็นเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม อยู่ในทุกขั้นตอน มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้ทั้งเห็น เมื่อยกสังขารนิมิตใดขึ้นพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีอุบายวิธีออกจากสังขารนิมิต โดยให้พิสดารกายไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตใจก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปได้เองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นสำหรับผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเกิดอภิญญาและวิชชา ให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรม กับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย จึงควรที่ท่านสาธุชนจะเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าพึ่งท้อแท้ใจว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้, ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผล ให้ถูกต้องตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า ระวังอย่าให้
    เพียรหย่อนเกินไปจนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
    อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือพลอยหงุดหงิดเมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
    สะดุ้งตกใจกลัว หรือตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่านหรือเคลื่อนจากสมาธิ
    และพึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาส อย่างน้อยก็ศีล 5 ขึ้นไป
    พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
    สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย ตลอดทั้งดูการละเล่น หรือประโคมดนตรี เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น

    ถ้าประสงค์จะได้สิ่งที่ดี มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างสูง ก็ต้องพยายามละสิ่งที่ชั่ว หรือที่เป็นข้าศึกแก่ความดีเหล่านั้นเสีย

    พึงเข้าใจว่า ธรรมอันประเสริฐนั้น ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่บุคคลจะพึงบรรลุได้โดยง่าย แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยของบุคคลที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงหรือบรรลุได้ ขอแต่ให้ปฏิบัติถูกวิธีด้วยอิทธิบาทธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมได้ผลแน่นอน

    พระพุทธองค์ก็ได้ทรงประทานบรมพุทโธวาทไว้ มีความว่า เมื่อได้ศึกษาและปฏิบัติอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว ก็แล้วกัน เราไม่มีอำนาจที่จะไปบันดาลให้บรรลุธรรมหรือมรรคผลเมื่อนั้นเมื่อนี้ได้ อุปมาดั่งชาวนาซึ่งไถคราด เตรียมดิน หว่านพันธุ์ข้าว และปักดำ ไขน้ำเข้านา ดูแลใส่ปุ๋ย ดีที่สุดแล้ว ก็ต้องรอให้ข้าวออกรวงเอง การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ทำไปก็แล้วกัน พยายามให้ดีที่สุดแล้ว ถึงเวลาก็ได้บรรลุผลเอง

    และพึงสังเกตว่า ในระหว่างเวลาปฏิบัติที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมหรือมรรคผลนั้น ก็ได้ผลดีไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว แต่ขอให้หมั่นดูที่เหตุ สังเกตดูที่ผลให้ถ้วนถี่ก็แล้วกัน การปฏิบัติธรรมตามแนวนี้ให้ผลดีทั้งในทางโลกและในทางธรรมจริงๆ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...