ประสบการณ์ทำสมาธิของผม

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย lerkiat, 6 พฤษภาคม 2013.

  1. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,302
    อนุโมทนากับท่านจขคด้วย มีบุญมากที่ท่านทำได้แบบนั้น อาการที่ท่านเล่ามาเหมือนกับที่คุณแม่ดิฉันเล่าให้ฟังเวลาท่านนั่งสมาธิ เลย แต่อย่างว่าคนจะทำได้ถึงจุดนั้นตามปกติเป็นผู้มีความสุขอยู่เป็นอารมย์อยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ยังมีหวงมมีทุกข์ การจะทำได้เช่นนั้นยากมาก;aa2
     
  2. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    สมัยก่อนผมก็นั่งสมาธิแบบสมถะอย่างเดียวครับ ไม่เคยรู้จักคำว่าวิปัสสนา จนกระทั่งได้มาบวชเรียน ได้ปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐาน4 ได้ทำวิปัสสนาร่วมกับสมถะ ได้ลองปฏิบัติตามทางของหลวงปู่ดูลย์ จึงทำให้เข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์ศาสดามากขึ้น และเห็นผลของการปฏิบัติอย่างเป็นปัจจัตตังเช่นกัน

    ผมเชื่อครับว่าจริตของคนแต่ละคนต่างกัน และเส้นทางที่จะเดินไปสู่เป้าหมายเดียวที่คุณฐสิษฐ์929 และผมตั้งใจนั้นมีหลายเส้นทาง ขอให้เส้นทางนั้นเดินไปบนฐานของสัมมาทิฏฐิ ย่อมจะยังผลให้ถึงที่สุดได้อย่างแน่นอน

    ขอขอบคุณคุณฐสิษฐ์929 ที่ได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น(ผมไม่ได้มองเป็นการโต้แย้งแต่อย่างใด) และขออนุโมทนาในสิ่งที่คุณฐสิษฐ์929ได้ทำไว้ดีแล้วด้วยครับ
     
  3. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    เป็นเรื่องของการสั่งสมและปฏิบัติเพิ่มเติมในบารมีนั้น ซึ่งบารมีแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ฉะนั้นบางคนอาจจะเนิ่นช้ากว่าจะถูกทาง แต่ในขณะเดียวกันบางคนมาถูกทางโดยระยะเวลาอันสั้น คงแล้วแต่กรรมที่ได้สร้างสมกันมา ผมและพี่ตุ้ย ก็คงทำได้เพียงเผยแผ่คำสอนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีบารมีในการที่จะน้อมรับฟังและลองปฏิบัติตามดู ซึ่งเหตุเช่นนี้หลวงปู่ท่านก็เคยกล่าวว่า การเผยแผ่ธรรมนั้นยากยิ่ง อุปมาคล้ายกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ที่ไม่อยากจะสั่งสอนใคร เพราะเบื่อหน่ายต่อปุุถุชนทั้งหลาย ที่ยังมืดบอดกันอยู่มาก เพียงแต่สั่งสอนแค่หลานของท่านเท่านั้น.... หลวงปู่ก็ได้เพียงแต่ทำตามหลัก ที่ว่า เอหิปัสสิโก เท่านั้น เชื้อเชิญให้ลองเข้ามาพิสูจน์ เข้ามาปฏิบัติดูแล้วจะเห็นเป็นปัจจัตตังได้ แต่หลักในปัจจัตตังนั้น หลวงปู่ก็ได้กล่าวไว้แล้วว่าเป็นเช่นไรบ้าง อาทิเช่น รู้ปฏฺิจจสมุปบาทไหม รู้ปฏิสัมภิทาญาณไหม เป็นต้น ถ้าไม่มีหลักเช่นว่านี้ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นปัจจัตตังแต่อย่างใด
    คำว่าพระอรหันต์ ซึ่งเป็นอเสขะบุคคลนั้น ต่างจาก เสขะบุคคลมากนัก
     
  4. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    การมีสติกำหนดรู้สัมผัสของการหายใจเข้า-ออก ไม่ว่าจะเปนการภาวนาเพื่อความสงบ(สมถะ) หรอืเพื่อการหยั่งรู้ (วิปัสสนา) นั่นก้คือ การปฏิบัติเพื่อความสุขสงบหรือไม่ก้
    เพื่อเข้าถึงความจริงอันประเสริฐในชีวิต ทำให้ความโกรธ ความเห็นแก่ตัว มลทินที่มีในจิตใจลดน้อยลงเรื่อยๆ เปนกุญแจดอกเดียวที่ไขแก้ปัญหาชีวิตได้ จึงต้องปฏิบัติอยู่ทุกๆนาที ทุกๆวัน ทุกๆปี จากชีวิตหนึ่งไปสู่ชีวิตอื่นๆที่ดึขึ้น
     
  5. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    เสริมนะครับ ไม่ว่าจะเป็นสมถะหรือวิปัสสนา ควรทำให้เป็นพื้นฐานก่อน และสิ่งที่สมควรอย่างยิ่งคือทำให้สูงขึ้นไปอีก โดยการเพ่ง ไม่พิจารณาอะไรอีกแล้วเพ่งอยากเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นสมถะหรือวิปัสสนาเราก็ได้ทำเป็นพื้นฐานมาแล้ว การเพียรเพ่งเป็นการเพิ่มกำลังของสติให้มีมาก ตัวตัดกระแสกิเลสไม่ใช่ การพิจารณาจนเกิดปัญญา เพราะปัญญาที่ได้จากการเพียรพิจารณานั่นยังเป็นปัญญาโลกีย์อยู่ ปัญญาโลกีย์ทำให้เห็นความเป็นจริงตามธรรมชาติไม่ได้ เป็นเพียงขั้นจินตามยปัญญาเท่านั้น แต่ตัวตัดกิเลสที่แท้จริงคือตัวสติยิ่งมีมากยิ่งดี เมื่อตัดกระแสกิเลสได้แล้ว จึงจะเกิดปัญญาที่เรียกว่า โลกุตระปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงตามธรรมชาติ จึงเสริมไว้เพื่อความไม่หลง หรือเป็นมิจฉาทิฎฐิ คงไว้ซึ่งหนทางแห่งพุทธะที่แท้จริง นี่เป็นหลักการที่หลวงปู่สาวกโลกอุดร ที่ออกเทศน์ออกธรรมนำคำสอนของพระพุทธองค์ที่ คนส่วนใหญ่ลืมกันไป มิได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร
     
  6. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    งั้นขอถามนะ คำว่าอารมณ์ซึ่งอยู่ในฌาน 1 มันเป็นอย่างไร
    ทำอย่างไรกรรมฐานถึงทำให้เกิดอารมณ์ได้อธิบายด้วยครับ
     
  7. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    โมทนาสาธุครับ
    ใครถูกใครผิดนั้น เราปฏิบัติไปด้วย เจอสภาวะดั่งกล่าวเอง
    แล้วเมื่อนั้นเราจะทราบเอง ว่าใครที่โพสไว้นั้น
    เป็นผู้ปฏิบัติจริงๆ หรือจำตารามาโพสครับ
    ผู้ปฏิบัติจริงก็มีหลายแบบ
    แบบที่ปฏิบัติเก่ง อธิบายเก่งมีน้อย
    ปฏิบัติเก่ง อธิบายไม่เป็น มีมาก
    และถึงแม้จะอธิบายได้
    แต่ผู้ไม่ปฏิบัติ ไม่มีวันเข้าใจได้
    ดังนั้น ปฏิบัติก่อน แล้วค่อยสงสัย
    อย่าเพิ่งสงสัย ตั้งแต่ยังไม่ปฏิบัติ
    แต่พอปฏิบัติไปเรื่อย ก็สิ้นสงสัยได้เอง
     
  8. ไม่ยึด

    ไม่ยึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +263
    ขออนุโมทนาครับ

    ไม่กล้าให้คำแนะนำเลย แต่ผมว่าถ้ามาทางกสิณ จริตความชอบของจิตทำแล้วพัฒนาได้ดีก็น่าจะเลือกทางนี้ ถึงผมจะไม่รู้ว่าสุดทางของกสิณคืออะไรก็ตาม
    แต่มีความเห็นว่าจริตคุณมาทางนี้ได้ดีก็ควรทำและพัฒนาไปยังขั้นต่อไปถึงการปฏิบัติจริงๆมันไม่ได้เป็นขั้นๆก็เหอะ
    ขอให้กำลังใจครับทำมาได้ดีมากเลย
     
  9. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    คือ ในตำรามักจะให้ เรานั่งไปให้ถึง วางเฉยกับทุกสิ่ง

    แต่ปรกติกสิน ที่ให้เราวาดรูป สีแดง เหลือง เขียวขาว กลมๆ
    ถ้าคนปฏบัติเป็นคนที่มีตาประสาทการรับรูป สองข้าง
    คือไม่ได้ตาบอด มานานๆ

    เวลาคุณกำหนด ภาพที่มีขอบ ขอบของภาบกำหนดสีและขอบของรูป
    ปรกตืภาพในใจจะเป็นภาพสองภาพ
    เพราะความชิน ฌานนั้นแหละ

    ถ้าคุณนึกภาพนั้นๆ จนเหลือแค่ภาพเดียวจริงๆ
    จะเรียกปฏิภาคนิมิตร ปฏิภาคนิมิต จะไม่เหมือนภาพที่กำหนดในจิต

    มันไม่ซ้อนแล้ว ทั้งสีและขอบของมันเป็นของอีกอันไม่ใช่ภาพ ที่เรากำหนดในใจ

    ถ้าเป็นคนไม่ชอบการกำหนดภาพมาก่อน
    เช่นผึกกรรมฐานที่รังเกียจภาพมาก่อน
    พอภาพที่กำหนดในใจ แบบที่มันซ้อนกันสองภาพ มันหายไปกลายเป็นปฏิภาคนิมิต

    บางที่มันไม่มีรูปเหลือเลย
    มันไม่มีสีไม่มีขอบ
    แต่มันคือปฏิภาคนิมิต ของกสินอันเดิม

    ก็เลยอดหัดเพ่งกสิน
     
  10. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    ภาพกสินเช่นเรากำหนดจะนึกถึงภาพ วงกลมสีแดง
    ถ้าเป็นนิมิต ที่เรากำหนด แล้วมันแบบซ้อน มีวงกลมแดงสองอันซ้อนกัน
    นิมิตอันนี้จะเคลื่อนไปไหนมาไหน ไม่ได้ จะเป็นวิปัสสนึก
    ภาพจะแบบจิตตนาการๆ มันแบบไม่ใช่ภาพวาบเข้ามา

    ถ้าเป็นปฏิภาคนิมิต
    จะปฏิบัติตามคำสัง
    ไม่ได้ปฏิบัติตามจินตนาการ
    เหมือนเราสั่งมันได้ ว่าให้เข้ามาใกล้ๆ ให้ออกไปห่างๆ
    ให้ เพิ่มจำนวน
     
  11. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    คือผมหัดกสินไม่สำเร็จหรอกนะ
    ผมกลัวนิมิต
    ถ้าผมหัดจะเพ่งทรงกลมสีแดง ผมก็หลับตานึกถึงภาพพยายามให้กลมก็ไม่กลมมันฟุ้ง
    ผมเองแหละฟุ้ง
    พยายามให้แดงก็ไม่แดง

    พอเริ่มจะอุปจารสมาธิก็ตกภวังค์
    กลายเป็นกรรมฐานกองอื่นไป

    แต่ถ้าผมทำสำเร็จ
    ภาพสีแดงที่ปรากฏมาหลังจากไอ้จินตนาการที่ไม่สำเร็จ
    แดงก็ไม่ยอมแดงให้ กลมก็ไม่กลมให้
    คราวนี้กลมเลย แดงเลย

    ไม่ยอมไปไหนด้วย
    ตัวใครตัวมันหละทีนี้
     
  12. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    ปรกติแล้วมันจะทำตามคำสั่ง
    หวังว่าคุณจะพบมัน และสั่งมัน
    อย่าให้มันพบเรา และสั่งเราหละ
     
  13. klangprai

    klangprai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    5,167
    ค่าพลัง:
    +6,057
    ("สิ่งที่ได้จากการทำสมาธิ
    จิตใจผมนิ่งมาก ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน
    แต่ละวันมีสิ่งมากระทบมากมาย แต่ว่า มันทำอะไรเราไม่ได้เหมือนก่อน
    ผมไม่ค่อยโกรธแล้ว(ยังมีอยู่) แต่ความถี่ในความโกรธน้อยลง แต่ก่อนโกรธบ่อย โมโห ชอบตะคอกใส่หน้าคนอื่นบ่อยๆ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้ว")​


    ดิฉันยังปฎิบัติไม่ได้เหมือนคุณ
    แต่สิ่งที่ได้จากการทำสมาธิเหมือนกันเลยค่ะ
    ทุกวันนี้ก็เป็นแบบคุณเลยค่ะ สิ่งกระทบต่างๆมันวางได้
    แล้วสบายสุดๆค่ะ เพราะเราจะไม่ทุกข์
    อนุโมทนาด้วยค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2013
  14. popeye6530

    popeye6530 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +12
    ช่างมันเถอะ เอาง่ายๆถึง จุดสิ้นสุดของสมาธิคือ ไม่มีอะไรเลย มีแต่สติตั้งโด่อยู่ ไม่มีความนึกคิดไดๆทั้งสิ้น มีแค่สภาวะเบาสบายไม่รู้สึกถึงกาย และสิ่งภายนอก มีแต่ความรู้สึกเฉยๆ ตั้งโด่อยู่ รู้สึกตัวเท่านั้น พร้อมกับแสงสว่างที่ สว่างไปทั่ว หรืออาจจะมีดวงแสงสว่างดวงแก้วอยู๋ด้วยก็ได้ ขึ้นอยุ๋กับแต่ละคนเพราะจะเห้นต่างกัน แต่ความรู้สึกที่ทำถึงที่สุดของสมาธิแล้วนั้นก็คือ สภาวะ แค่รู้สึกตัว เบาสบายไร้กายไร้น้ำหนักไม่มีความนึกคิดไดๆ มีเพียงแค่ คิดถอดออกมา กับอยู่นิ่งๆแล้วพุ่งต่อไป หากพุ่งต่อไป ก็จะกลายเป้นว่า คุณจะหลุดออกมาจากร่างกาย เป็นมโนมยิทธิ หรือถอดจิตออกมานั้นเอง ไม่ต้องไปใส่ใจกับช่วงที่ฝึกตอนแรกๆหรอกว่าจะเกิดอะไรเป้นอะไรยังไง มันก็แค่ของเล่นของแถมไปงั้นๆ เอาไว้เล่นสนุกๆแก้เบื่อแก้เซง และมันก็เป้นกำลังจิตชนิดหนึ่งที่จะเอามาเป็นพลังจิตไว้ใช้งานต่างๆได้ตามปราถนา(แต่ก็ขึ้นอยุ๋กับกำลังจิตของเราด้วยนะ) ไม่ต้องไปคิดมากหรอกครับว่าจะต้องเข้าฌานนั้นฌานนี้ เพราะเวลาทำจริงๆบางที มันไม่เป้นไปตามขั้ตอนหรอก บางทีมันก็อยุ๋ๆก็แว็บไป ฌาน4เลย บางคนก็ฌาน1 บางคนก็เพิ่งขนิกสมาธิ มันขึ้นอยุ๋กับความพร้อม แต่เวลาทำจริงๆและผ่านแต่ละอย่างจริงๆสำหรับคนที่ไม่เคยฝึกมาก่อน จะไม่รู้ว่าคืออะไรรุ้แค่ว่าสงบดี มีความสุข สว่างดี และไหลรื่นไปเรื่อยๆจนไปถึงที่สุด ไม่ได้คิดไม่ได้ไปจับองค์ฌานอะไรมากมาย พอคล่องแล้วชินแล้ว เขาก็ค่อยมาเทียบอารมณ์เอาเองทีหลัง แต่เวลาทำสมาธิเขาไม่มาไล่เบี้ยเอาตั้งแต่ต้นหรอก เข้าได้แค่ไหนก็เข้าไปเลย คล้ายๆเราเรียนจบ ป.1 2 3 แล้วเราจะมาเรียนซ้ำชั้นอยุ๋ทำไม ? เราก็ต้องไปเรียนในชั้นที่เราอยู่ได้สิ นอกนั้นก็แค่เอาไว้ทบทวนความรู้เก่าๆก็แค่นั้น เช่นถ้าอยากรู้ความรู้ ป.1 เราก็เอาหนังสือ ป.1 มาอ่าน ก็แค่นั้น ก็เหมือนฌานนั้นละ ถ้าอยากรู้ฌาน1ก็แค่ย้อนกลับมาที่อารมณ์องค์ แต่ตอนแรกๆนั้นไม่ค่อยจะรู้เรื่องหรอกต้องไปอ่านเอาในหนังสือเอา เพราะงั้น ไม่ต้องไปคิดอะไรมากหรอก ขนาดอาจารย์ผมท่านยังบอกเลยว่า ถ้าถึงที่สุดของสมาธิแล้ว ก็ไม่จำเป้นต้องไปไล่เบี้ยตั้งแต่เริ้มต้นมาหรอก เพียงแค่กำหนดจิตเป้นสมาธิปุ๊บมันก็เข้าไปถึงที่สุกของมันเลย คุณลองเอาอำนาจจิตไปใช้มัียละ เดี่ยวผมจะบอกวิธีง่ายๆ
    1. เรียกกสิณหรือดวงแสงสว่างขึ้นมา
    2. พอเรียกแล้วก็ให้ทำจิตให้ถึงที่สุด ที่สุดของสมาธิที่คุณได้นั้นละ หรือที่เรียกว่า ทำจิตให้ว่าง
    3. พอเข้าแล้วก็ถอยออกมาอยู๋ที่เดิมเหมือนขั้นแรก
    4. อธิฐานหรือนึกถึงสิ่งที่จะทำ
    5. สั่งให้มันเกิดขึ้น
    แต่จะทำได้มากน้อยแค่นั้นก็อยุ๋กับความสามารถของคุณเอง ส่วนใหญ่แล้ว ดวงแสงสว่างนั้น จะให้ผลในด้านตาทิพย์ซะมากกว่า แล้วก็ ปล่อยแสงสว่างออกมาได้ คุณลองฝึกปล่อยแสงว่างออกจากนิ้วมือดูสิ พอถึงขั้นที่4 ก็ให้นึกว่ามีแสงสว่างออกมาจากมือเหมือนแสงไฟฉายสีขาวๆ จากนั้นก็ กำหนดจิต สั่งให้มันเกิดขึ้น มันก็จะเกิดขึ้นทันที แต่ต้องกำหนดจิตคุมเอาไว้ด้วยไม่งั้นมันก็อาจจะเกิดแปบเดียวหรือไม่เกิดเลย
    ...... ที่ผมบอกนี่คือ เอาไว้เล่นแก้เซงไปงั้นๆ สำหรับคนที่อยากทดลองดูอำนาจของสมาธิเล่นๆ หรือทดสอบอำนาจของสมาธิเท่านั้นนะ จะได้รู้ว่า ผลของสมาธิมันมีจริง พลังแห่งความสงบสุข จิตคนเราสามารถควบคุมมวลสารได้ทุกอย่าง ปรับเปลี่ยนมวลสารได้ทุกอย่าง คล้ายๆกับว่ามันคือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงสสารทุกอย่างได้ตามที่เราต้องการ เพียงแต่ จะเปลี่ยนได้มากน้อยแค่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า ตัวเรานั้นมีพลังจิตมากแค่ไหนนั้นเอง
    หากฝึกใช้อำนาจจิตคล่องแล้ว รูปแบบการใช้จะ ย่อลงอยู่ที่
    1. ทำจิตให้ว่าง (กำหนดจิตปุ๊บเข้าถึงที่สุดทันที)
    2. คิดถึงสิ่งที่จะทำ(พอเข้าปุ๊บแล้วพอเรานึกจะคิดจิตมันจะถอยออกมาให้เองเลย แต่ยังอยู๋ในระดับที่พร้อมจะใช้งาน ไม่ใช่ถอยออกมาจนหมด)
    3. สั่งให้มันเกิดขึ้น
    ประมาณนี้เอง (บ่นยาวอีกละตูTT)
     
  15. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    เพิ่มเติม...

    หลังจากเล่าประสบการณ์การทำสมาธิของตนเองไว้เมื่อเกือบปี
    ก็พบว่ามีผู้สนใจเข้ามาอ่านพอสมควร และบังเอิญได้เข้ามาดู ก็เลยถือโอกาสเพิ่มเติมข้อมูลอีกหน่อย ถูกหรือผิด ขอให้ทุกท่านพิจารณา ไตร่ตรองด้วยตนเองเถิดนะครับ

    การทำสมาธิ ถ้าทำได้อย่างต่อเนื่อง ก็ขอให้ทำ ทำวันละนิด วันละหน่อย พยายามทำให้ต่อเนื่อง แบบไม่ควรมีข้ออ้างสำหรับตนเองว่าไม่มีเวลา จริงๆ ในชีวิตจริงของเราก็สามารถทำสมาธิได้หลายเวลา หลายสถานที่ นะครับ

    การทำสมาธิบ่อยๆ จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการเข้าสมาธิ ซึ่งเรียกว่า "วสี"
    คำว่า วสี นี้ ครั้งแรกผมก็ไม่เข้าใจในความหมาย แต่บังเอิญได้ไปศึกษาเพิ่มเติมเข้ามา ก็เลยเอามาบอกกล่าวไว้ในที่นี้ ครับ (สำหรับคนที่เข้ามาใหม่ที่ยังไม่เข้าใจเหมือนที่ผมเคยเป็น)

    เรียกง่ายๆว่า "วสี"คือ ความชำนาญให้การเข้าถึงสมาธิ หรือ ความชำนาญในการเข้าถึงฌาน นั่นเอง ครับ
     
  16. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    เพิ่มเติม..วี

    คนฝึกทำสมาธิ มีความจำเป็นต้องสั่งสมวสี กล่าวคือ การทำสมาธิให้สามารถ
    วสี มี 5 อย่าง ดังนี้ คือ

    1. อาวัชชนวสี - ความสามารถใรการพิจารณาองค์ฌานด้วย "มโนทวาราวัชชนจิต"
    2. สมาปัชชนวสี - ความสามารถในการเข้าฌาน
    3. อธิฏฐานวสี - ความสามารถในการเข้าฌาน ดำรงอยู่ตามกำหนด
    4. วุฏฐานวสี - ความสามารถในการออกจากฌานตามกำหนด
    5. ปัจจเวกขณวสี - ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌานด้วยชวนจิต

    อ้างอิงจาก คัมภีร์วิสุทธิมรรค(หน้า 271 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10)
     
  17. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    การทำสมาธิ

    ในการทำสมาธินั้น เพื่อให้เกิดผลดี ควรปฏิบัติดังนี้

    1. ถ้าไม่มีเวลา ก็ไม่จำเป็นต้องไปหาสถานที่ทำสมาธิโดยเฉพาะ เช่น วัด สถานปฏิบัติธรรม วิปัสสนา ก็ได้ ให้ทำที่บ้าน หรือที่ทำงาน หรือสถานที่ ที่เราเห็นว่าเหมาะสม - ถ้าเรายังเป็นคนทำงาน ทำมาหากิน ไม่ค่อยมีเวลา ก็ให้หาเวลาวันละ 10 - 30 นาที ฝึกนั่งสมาธิ ทุกวัน
    2. ช่วงเวลาที่ทำสมาธิ อาจจะเป็นก่อนนอน หรือตื่นเช้าๆ ซัก ตีสี่ ตีห้า ตื่นขึ้นมาทำก็ได้
    3. ก่อนทำสมาธิ ควรชำระร่างกายให้สะอาด จะช่วยได้มาก จะทำให้เวลาเรานั่งทำสมาธิ จะได้ไม่เกิดอาการคัน ยุกยิก หรือ คันจนทนไม่ได้ ต้องเอามือเกา ก็ทำให้ไม่สามารถเข้าสมาธิได้ง่ายๆ
    4. ควรหาท่านั่งที่เหมาะสม อาจจะนั่งบนฟูก หรือบนฟื้น หรือนั่งบนเก้าอี้ ก็ได้ ที่สะดวก แต่สำหรับผม ท่านั่งขัดสมาธิ ถือว่าได้ผลที่สุด แรกๆ อาจจะปวดเมื่อยหน่อย แต่พอฝึกนานๆ เข้าก็หายไปเอง ครับ เพราะพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ใช้ท่านั่งแบบนี้เหมือนกัน เวลานั่ง ให้นั่งหลังตรงๆ อย่าให้แผ่นกลังงอ จะทำให้นั่งสมาธิไม่ได้นาน
     
  18. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ผลของการฝึกสมาธิ

    โดยปกติ จิตของคนเรา มันซัดส่ายไปมา เดี๋ยวคิดนั่นคิดนี่ คิดเรื่อยเปื่อยๆ คิดสะเปะสะปะ ไม่หยุดนิ่ง เหมือนลิง วิ่งเล่นไปมา ฟุ้งกระจายไปทั่ว

    ดังนั้น เมื่อเรารู้ธรรมชาติของจิตเป็นเช่นนี้ เราก็จำเป็นต้องมาฝึกทำสมาธิกัน เพื่อ
    ฝึกสมาธิ - เป็นการสะสมพลังจิต กล่าวคือ ทำจิตให้มีพลัง ทำจิตให้สามารถทำงานได้ สามารถบังคับจิตให้ได้สมดั่งปรารถนา

    การฝึกสมาธิ ก็คือ การฝึกจิตให้นิ่ง นั่นเอง พระท่านบอกว่า สมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่น
    จิตที่ตั้งมั่น ก็คือ จิตที่เป็นหนึ่ง แน่วแน่ ซึ่งเรียกว่า เอกัคคตา นั่นเอง

    มีคำ 2 คำที่ควรทำความเข้าใจ คือ สมาธิ กับ ฌาน
    การทำสมาธิ ไม่จำเป็นต้องได้ฌาน
    ทำสมาธิ บางครั้งก็ไม่ถึงองค์ฌาน

    สมาธิ แบ่งได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้แบ่ง
    แต่ส่วนใหญ่ ก็แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
    1. ขณิกสมาธิ - เป็นการทำสมาธิ ที่ทำให้จิตนิ่งได้ไม่นาน ครู่เดี่ยวจิตก็ส่ายไปมาเหมือนเดิม บางครั้งเรียกว่า สมาธิแว็บเดียว
    2. อุปจาระสมาธิ - เป็นสมาธิที่ทำให้จิตนิ่งไปนานขึ้นมาอีกหน่อย แต่ก็ทรงไว้ได้ไม่นานนัก
    3. อัปปนาสมาธิ - เป็นสมาธิแน่วแน่ ทรงอยู่ได้นาน ไม่ไหวติง ตัวแข็งทื่อ หยิกไม่เจ็บ แต่สมาธิระดับนี้ จิตไม่สามารถทำงานได้(หมายถึง นำจิตไปวิปัสนาไม่ได้ผล)

    ผลของการทำสมาธิ(ทำจนได้ฌาน) - ทำให้เกิดความสงบ เยือกเย็น สบาย สุข ซึ่งเกิดจากความมีปิติ ความสุข และความแน่วแน่ของจิต ซึ่งเป็นองค์ฌาน นั่นเอง

    จิตที่เป็นสมาธิ - ประมาณอุปจารสมาธิ นั่น จะเป็นจิตที่มีประสิทธิภาพมาก สามารถนำไปพิจารณา(วิปัสนา)ต่อได้ดีนัก
     
  19. pcman

    pcman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +287
    อ่านกระทู้นี้ได้รับรู้ประสบการณ์หลากหลายดี ขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านนะครับ
     
  20. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ในการทำสมาธินั้น
    ความจริงมีอยุ่ว่า ถ้าเราตั้งใจทำมากๆ และอยากได้โน้นอยากได้นี่ เช่นว่า
    อยากเข้าสมาธิได้เร็วๆ อยากเจอประสบการณ์แปลกๆ อยากได้ฌานต่างๆ
    ถ้าเริ่มต้นด้วยการทำสมาธิเพื่ออยากได้ตามที่กล่าวมาแล้ว ผมคิดว่า..คงลำบากน่าดู เพราะจะต้องฝ่าฟันด่านกิเลสไปโดยยากเย็น

    ผมว่า ควรทำการฝึกสมาธิ ด้วยความสบายใจก่อน ไม่ต้องเคร่งเครียด ไม่ต้องมุ่งหวังใดๆ ล่วงหน้าว่า ทำสมาธิแล้วจะได้อะไร
    ขอให้ทำแบบเป็นปกติในชีวิตประจำวัน
    ทำวันละน้อย สั้นบ้างยาวบ้าง ทำบ่อยๆ ทุกวัน ทำให้เกิดความชำนาญ

    ส่วนจะทำสมาธิโดยใช้กรรมฐานแบบใดนั้น แรกๆ ยังไม่ต้องกังวลว่ามันจะเป็นกรรมฐานแบบไหน แค่ลองหลับตา..นั่งท่าสบายๆ แล้วลองสังเกตดูจิตของตนเองดูว่ามันเป็นอย่างไร ให้พิจารณาอยู่ 2 ประการ คือ จิตนิ่ง หรือจิตวิ่ง
    ระหว่างทำสมาธิ จิตมันก็จะปรากฏอาการ 2 ประการนี้ สลับกันไปมา จนกระทั่งสังเกตว่า ถ้าจิตเริ่มนิ่งแล้ว นั่นล่ะ แสดงว่า เริ่มเห็นความสำเร็จของการทำสมาธิแล้ว

    เพราะ - สมาธิ ก็คือ การทำจิตให้ตั้งมั่น แน่วแน่ นั่นเอง

    กรรมฐานทีี่ง่าย ในการเลือกมาทำสมาธิ ก็มี "ลมหายใจ" ของเรานี่แหละ เพราะไม่ต้องไปทำขึ้นใหม่ ไม่ต้องไปหา แค่เราเอาจิตไปดูลมหายใจ ดูไปเรื่อยๆ มันก็คงจะเกิดสมาธิได้ล่ะ

    ส่วนกรรมฐานอื่นๆ ก็ต้องว่ากันไปอีก

    กรรมฐานนั่น จริงๆ มันคงมีมาก แต่ว่าที่ท่านสรุปรวมไว้ ก็ 40 กองเท่านั้น
    การทำสมาธิ ก็ให้เลือกมาซักกอง สัก 1 วิธี ที่เหมาะสมกับตนเอง ถ้าเลือกได้เหมาะสม ก็จะส่งผลให้การทำสมาธิเราเจริญ ก้าวหน้าได้รวดเร็ว

    ในระหว่างทำสมาธิ - ก็จะเกิดปรากฏการณ์มากมายระหว่างนี้ ซึ่งก็ปฏิบัติกันไป เจออะไร ก็เอามาเล่าให้กันฟัง ส่วนใหญ่สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างนี้ จะลวงมากกว่าจริง ท่านว่าอย่าให้ "หลง" ไปกันสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างนี้

    การทำสมาธินั้น - ก็ยังผลให้เกิดความสงบ ซึ่งเกิดจากฌาน มีจิตที่แน่วแน่
    สงบ - สมถะ - จึงเรียกสายที่ปฏิบัติมาทางนี้ว่า "สมถะกรรมฐาน"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...