56. ...วัดกำแพง(คลองบางจาก) ธรรมดาซะที่ไหน...

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 4 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    พระพุทธรูป ด้านหลังพระวิหารคู่

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4667_1a.jpg
      IMG_4667_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      480.1 KB
      เปิดดู:
      853
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4672_1a.jpg
      IMG_4672_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      489.9 KB
      เปิดดู:
      777
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4675_1a.jpg
      IMG_4675_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      509.2 KB
      เปิดดู:
      762
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    พระประธานในพระอุโบสถ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4605_1a.jpg
      IMG_4605_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      564.4 KB
      เปิดดู:
      772
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ฐานชุกชี เขาว่าคล้ายกันกับที่วัดสุวรรณาราม

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4609_1a.jpg
      IMG_4609_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      642.3 KB
      เปิดดู:
      899
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ฐานชุกชี ชำรุดมากแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4618_2a.jpg
      IMG_4618_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      567.3 KB
      เปิดดู:
      1,185
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4610_1a.jpg
      IMG_4610_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      460.7 KB
      เปิดดู:
      810
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4613_1a.jpg
      IMG_4613_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      434.4 KB
      เปิดดู:
      842
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  9. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    .........................................................................
    สุวรรณาราม ฝั่งธนฯ หรือ สุวรรณดาราราม อยุธยา ครับ
     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร ฝั่งธน จ้า...
    ไม่ใช่วัดสุวรรณาดาราราม ราชวรวิหาร อยุธยา....
     
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg

    พี่ปัญญา ประธานชุมชนกำแพงทองพัฒนา
    มาบรรยายภาพจิตรกรรมฝาผนังให้ฟัง
    พร้อมกับชี้ภาพให้ดู
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4584_1a.jpg
      IMG_4584_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      421.6 KB
      เปิดดู:
      465
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4585_1a.jpg
      IMG_4585_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      451.8 KB
      เปิดดู:
      525
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
    Unseen ภาพแรก

    มนุษย์กินคน

    ภาพนี้เป็นเรื่องราวของ จุลปทุมชาดกเป็นชาดกเรื่องที่ ๑๙๓ ในนิบาตชาดก
    หมวดทุกนิบาต รุหกวรรคที่ ๕


    อรรถกถา จุลลปทุมชาดก
    ว่าด้วย การลงโทษหญิงชายทำชู้กัน


    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อยเมว สา อหมฺปิ โส อนญฺโญ ดังนี้.
    เรื่องราวจักมีแจ้งใน อุมมาทันตีชาดก.
    ก็ในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ. กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ก็ใครทำให้เธอกระสันเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นมาตุคามคนหนึ่ง ตกแต่งอย่างสวยงาม แล้วตกอยู่ในอำนาจกิเลส จึงกระสัน.
    พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามมักอกตัญญู ประทุษร้ายมิตร มีดวงใจกระด้าง แม้โบราณกบัณฑิตให้ดื่มโลหิตที่เข่าขวาของตน บริจาคทานตลอดชีวิต ยังไม่ได้ดังใจของมาตุคาม แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงอุบัติในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระองค์. ในวันขนานพระนาม ได้รับพระราชทานนามว่า ปทุมราชกุมาร. พระปทุมราชกุมารได้มีพี่น้องอีกหกพระองค์ ทั้งเจ็ดพระองค์นั้นเจริญพระชนม์ขึ้นโดยลำดับ ครองฆราวาส ทรงประพฤติเยี่ยงพระราชา.
    อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาประทับทอดพระเนตรพระลานหลวง ทรงเห็นพระราชกุมารพี่น้องเหล่านั้น มีบริวารมากพากันมาปฏิบัติราชการ ทรงเกิดความระแวงว่า ราชกุมารเหล่านี้จะพึงฆ่าเราแล้วชิงเอาราชสมบัติ จึงตรัสเรียกพระราชกุมารเหล่านั้นมารับสั่งว่า ลูกๆ ทั้งหลาย พวกเจ้าจะอยู่ในพระนครนี้ไม่ได้ จงไปที่อื่น เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้ว จงกลับมารับราชสมบัติอันเป็นของประจำตระกูลเถิด.
    พระราชกุมารเหล่านั้นรับพระดำรัสของพระชนกแล้ว ต่างทรงกันแสง เสด็จไปยังตำหนักของตนๆ ทรงรำพึงว่า พวกเราจักพาพระชายาไปหาเลี้ยงชีพ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วเสด็จออกจากพระนคร ทรงดำเนินทางถึงที่กันดารแห่งหนึ่ง เมื่อไม่ได้ข้าวและน้ำ ไม่สามารถจะกลั้นความหิวโหยไว้ได้ จึงตกลงพระทัยปลงพระชนม์ของพระชายาของพระเจ้าน้อง ด้วยทรงดำริว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ก็จักหาหญิงได้ แล้วแบ่งเนื้อออกเป็นสิบสามส่วนพากันเสวย. พระโพธิสัตว์เก็บไว้ส่วนหนึ่ง ในส่วนที่ตนและพระชายาได้ ทั้งสองเสวยแต่ส่วนเดียว. พระราชกุมารทั้งหลายทรงปลงพระชนม์พระชายาทั้งหก แล้วเสวยเนื้อได้หกวันด้วยประการฉะนี้.
    ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงเหลือไว้วันละส่วนทุกๆ วัน เก็บไว้ได้หกส่วน. ในวันที่เจ็ด เมื่อพูดกันว่าจักปลงพระชนม์พระชายาของพระเจ้าพี่. พระโพธิสัตว์จึงประทานเนื้อหกส่วนเหล่านั้นแก่น้องๆ แล้วตรัสว่า วันนี้ พวกท่านจงเสวยหกส่วนเหล่านี้ก่อน พรุ่งนี้จักรู้กัน ในเวลาที่พระราชกุมารน้องๆ เหล่านั้นเสวยเนื้อแล้วหลับไป ก็ทรงพาพระชายาหนีไป. พระชายานั้นเสด็จไปได้หน่อยหนึ่งแล้วทูลว่า ข้าแต่พระภัสดา หม่อมฉันไม่อาจเดินต่อไปได้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงทรงแบกพระชายาออกจากที่กันดารไป ในเวลารุ่งอรุณ. เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นพระนาง ทูลว่า หม่อมฉันหิวเหลือเกิน. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า น้ำไม่มีเลยน้อง. เมื่อพระนางพร่ำวิงวอนบ่อยเข้า ด้วยความสิเนหาต่อพระนาง จึงเอาพระขรรค์เชือดพระชานุ (เข่า) เบื้องขวา แล้วตรัสว่า น้ำไม่มีดอกน้อง น้องจงนั่งลงดื่มโลหิตที่เข่าขวาของพี่. พระชายาได้กระทำตามพระประสงค์. ทั้งสองพระองค์เสด็จถึงแม่น้ำใหญ่โดยลำดับ ทรงดื่ม ทรงอาบ และเสวยผลาผล ทรงพักในที่สำราญ แล้วทรงสร้างอาศรมบทใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง.
    อยู่มาวันหนึ่ง ด้านเหนือแม่น้ำ ราชบุรุษลงโทษโจรผู้ทำผิดพระราชอาญา ตัดมือ เท้า หู และจมูก ให้นอนในเรือโกลนลำหนึ่ง เสือกลอยไปในแม่น้ำใหญ่. โจรนั้นร้องเสียงครวญคราง ลอยมาถึงที่นั้น. พระโพธิสัตว์ทรงสดับเสียงร้องอันน่าสงสารของโจรนั้น ทรงดำริว่า เมื่อเรายังอยู่ สัตว์ผู้ได้รับความลำบากอย่าได้พินาศเลย จึงเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำ ช่วยให้เขาขึ้นจากเรือ แล้วนำมายังอาศรมบท ได้ทรงกระทำการเยียวยาแผลด้วยการชำระล้างและทาด้วยน้ำฝาด.
    ฝ่ายพระชายาของพระองค์ ครั้นทรงทราบว่า พระสามีทรงปรนนิบัติคนเลวทรามซึ่งลอยน้ำมาถึงปานนั้น ก็ทรงรังเกียจคนเลวทรามนั้น แสดงกิริยากระฟัดกระเฟียดอยู่ไปมา. ครั้นแผลของโจรนั้นหายสนิทแล้ว พระโพธิสัตว์จึงให้เขาอยู่ในอาศรมบทกับพระชายา ทรงแสวงหาผลาผลจากดงมาเลี้ยงดูโจรและพระชายา. เมื่อทั้งสองอยู่กันอย่างนี้ สตรีนั้นก็มีจิตปฏิพัทธ์ในบุรุษชั่วนั้น ประพฤติอนาจารร่วมกับเขา ต้องการจะฆ่าพระโพธิสัตว์ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า เมื่อหม่อมฉันนั่งบนบ่าของพระองค์ออกจากทางกันดาร มองเห็นภูเขาลูกหนึ่ง จึงบนบานว่า ข้าแต่เทพเจ้าผู้สิงสถิตบนยอดเขา หากข้าพเจ้ากับพระสวามีปลอดภัยได้ชีวิต ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมแก่ท่าน บัดนี้ เทวดานั้นทำให้หม่อมฉันหวาดสะดุ้ง หม่อมฉันจะทำพลีกรรมแก่เทวดานั้น.
    พระโพธิสัตว์ไม่ทรงทราบมายา ทรงรับสั่งว่าดีแล้ว ทรงเตรียมเครื่องเซ่น ให้พระชายาถือภาชนะเครื่องเซ่น ขึ้นสู่ยอดภูเขา. ครั้นแล้ว พระชายาจึงกราบทูลพระสวามีอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสวามี พระองค์ก็เป็นเทวดาของหม่อมฉัน ทั้งชื่อว่าเป็นเทวดาผู้สูงส่ง เบื้องแรกหม่อมฉันจักบูชาพระองค์ด้วยดอกไม้ในป่าก่อน และกระทำประทักษิณถวายบังคม จักทำพลีกรรมเทวดาในภายหลัง. พระนางให้พระโพธิสัตว์หันพระพักตร์เข้าหาเหว ทรงบูชาด้วยดอกไม้ในป่า ทำเป็นปรารถนาจะทำประทักษิณถวายบังคม สถิตอยู่ข้างพระปฤษฎางค์แล้วทรงประหารที่พระปฤษฎางค์ ผลักไปในเหว ดีพระทัยว่า เราเห็นหลังข้าศึกแล้ว จึงเสด็จลงจากภูเขา ไปหาบุรุษเลว.
    ฝ่ายพระโพธิสัตว์ตกลงจากภูเขา กลิ้งลงไปตามเหว ติดอยู่ที่พุ่มไม้มีใบหนาไม่มีหนามแห่งหนึ่ง เหนือยอดต้นมะเดื่อ. แต่ไม่สามารถจะลงยังเชิงเขาได้ พระองค์จึงเสวยผลมะเดื่อ ประทับนั่งระหว่างกิ่ง. ขณะนั้น พญาเหี้ยตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ขึ้นจากเชิงเขาชั้นล่าง กินผลมะเดื่ออยู่ ณ ที่นั้น. มันเห็นพระโพธิสัตว์ในวันนั้นจึงหนีไป. รุ่งขึ้นมากินผลไม้ที่ข้างหนึ่งแล้วหนีไป. พญาเหี้ยมาอยู่บ่อยๆ อย่างนี้ ก็คุ้นเคยกับพระโพธิสัตว์ ถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านมาที่นี้ได้อย่างไร เมื่อพระโพธิสัตว์บอกให้รู้แล้ว จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านอย่ากลัวเลย ให้พระโพธิสัตว์นอนบนหลังของตน ไต่ลงออกจากป่า ให้สถิตอยู่ที่ทางใหญ่ แล้วส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไปตามทางนี้ แล้วก็เข้าป่าไป.
    พระโพธิสัตว์ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เมื่ออาศัยอยู่ในบ้านนั้น ก็ได้ข่าวว่าพระชนกสวรรคตเสียแล้ว จึงเสด็จไปยังกรุงพาราณสี ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติอันเป็นของประจำตระกูล ทรงพระนามว่า พระปทุมราชา ทรงครอบครองราชย์โดยธรรม มิให้ราชธรรมกำเริบ รับสั่งให้สร้างโรงทานหกแห่ง ที่ประตูพระนครทั้งสี่กลางพระนคร และประตูพระราชนิเวศน์ ทรงบริจาคทรัพย์บำเพ็ญมหาทานวันละหกแสน.
    หญิงชั่วแม้นั้น ก็ให้ชายชั่วนั่งขี่คอออกจากป่า เที่ยวขอทานในทางที่มีคนรวบรวมข้าวยาคูและภัตร เลี้ยงดูชายชั่วนั้น. เมื่อมีผู้ถามว่าคนนี้เป็นอะไรกับท่าน นางก็บอกว่า ฉันเป็นลูกสาวของลุงของชายผู้นี้ เขาเป็นลูกของอาฉัน พ่อแม่ได้ยกฉันให้ชายผู้นี้. ฉันต้องแบกสามีซึ่งต้องโทษเที่ยวขอทานเลี้ยงดูเขา. พวกมนุษย์ต่างพูดกันว่า หญิงนี้ปรนนิบัติสามีดีจริง. ตั้งแต่นั้นมาก็พากันให้ข้าวยาคูและภัตรมากยิ่งขึ้น. คนอีกพวกหนึ่งพูดกันว่า ท่านอย่าเที่ยวไปอย่างนั้นเลย พระเจ้าปทุมราชเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ทรงบริจาคทานเล่าลือกันไปทั่วชมพูทวีป. พระเจ้าปทุมราชทรงเห็นแล้ว จักทรงยินดีพระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก เจ้าจงให้สามีของเจ้านั่งในนี้พาไปเถิด แล้วได้มอบกระเช้าหวายทำให้มั่นคงไปใบหนึ่ง. นางปราศจากยางอาย ให้ชายชั่วนั่งลงในกระเช้าหวาย แล้วแบกกระเช้าเข้าไปกรุงพาราณสี เที่ยวบริโภคอาหารอยู่ในโรงทาน.
    พระโพธิสัตว์ประทับเหนือคอคชสารที่ตกแต่งด้วยเครื่องอลังการ เสด็จถึงโรงทาน ทรงบริจาคทานด้วยพระหัตถ์เอง แก่คนที่มาขอแปดคนบ้าง สิบคนบ้าง แล้วเสด็จกลับ. หญิงไม่มียางอายนั้น ให้ชายชั่วนั่งในกระเช้าแล้วแบกกระเช้า ผ่านไปในทางเสด็จของพระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสถามว่า นั่นอะไร. ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ หญิงปฏิบัติสามีคนหนึ่ง พระเจ้าข้า.
    ลำดับนั้น พระองค์รับสั่งให้เรียกนางมา ทรงจำได้ รับสั่งให้เอาชายชั่วออกจากกระเช้า แล้วตรัสถามว่า ชายนี้เป็นอะไรกับเจ้า. นางกราบทูลว่า เขาเป็นลูกของอาของหม่อมฉันเองเพคะ เป็นสามีที่พ่อแม่ยกหม่อมฉันให้เขาเพคะ. พวกมนุษย์ไม่รู้เรื่องราวนั้น ต่างพากันสรรเสริญหญิงผู้ไร้อายนั้น เป็นต้นว่า น่ารักจริง เธอเป็นหญิงปฏิบัติสามีดี. พระราชาตรัสถามต่อไปว่า ชายชั่วผู้นี้เป็นสามีตบแต่งของเจ้าหรือ. นางจำพระราชาไม่ได้ จึงกล้ากราบทูลว่า เป็นความจริงเพคะ.
    พระราชาจึงตรัสว่า ชายผู้นี้เป็นโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสีหรือ เจ้าเป็นธิดาของพระราชาองค์โน้น มีชื่ออย่างโน้น เป็นชายาของปทุมราชกุมาร ดื่มโลหิตที่เข่าของเราแล้วมีจิตปฏิพัทธ์ในชายชั่วผู้นี้ ผลักเราตกลงในเหว บัดนี้ เจ้าบากหน้ามาหาความตาย สำคัญว่า เราตายไปแล้ว จึงมาถึงที่นี่ ตรัสว่า เรายังมีชีวิตอยู่มิใช่หรือ ตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า ท่านอำมาตย์ทั้งหลาย พวกท่านถามเรา เราได้บอกพวกท่านไว้อย่างนี้แล้วมิใช่หรือว่า น้องหกองค์ของเราได้ฆ่าสตรีหกคนบริโภคเนื้อ แต่เราได้ช่วยชายาของเราให้ปลอดภัย พาไปยังแม่น้ำคงคาอาศัย อยู่ในอาศรมบท ได้ช่วยชายเลวคนหนึ่งที่ต้องราชทัณฑ์มาเลี้ยงดู. หญิงคนนี้มีจิตปฏิพัทธ์ในชายชั่วนั้น ผลักเราตกลงไปในเหวภูเขา เรารอดชีวิตมาได้ เพราะตนมีจิตเมตตา หญิงที่ผลักเราตกจากเขามิใช่อื่น คือหญิงชั่วคนนี้เอง และชายชั่วที่ต้องราชอาญาก็มิใช่อื่น คือคนนี้นี่แหละ.
    แล้วได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

    หญิงคนนี้แหละคือหญิงคนนั้น แม้เราก็คือบุรุษคนนั้นมิใช่คนอื่น ชายคนนี้แหละที่หญิงคนนี้อ้างว่าเป็นผัวของนางมาตั้งแต่เป็นกุมารี ก็คือชายที่ถูกตัดมือ หาใช่คนอื่นไม่ ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายควรฆ่าให้หมดเลย ความสัตย์ไม่มีในหญิงทั้งหลาย.

    ท่านทั้งหลายจงฆ่าชายผู้ชั่วช้าลามกราวกับซากผี มักทำชู้กับภรรยาผู้อื่นคนนี้เสีย ด้วยสาก จงตัดหู ตัดจมูกของหญิงผู้ปรนนิบัติผัวชั่วช้าลามกคนนี้เสียทั้งเป็นๆ เถิด.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า ยมาห โกมาริปติโก มมนฺติ ความว่า หญิงนี้กล่าวว่า ชายนี้เป็นผัวของนางมาตั้งแต่เป็นกุมารี คือเป็นผัวตบแต่ง ก็คือหญิงคนนี้แหละ แม้เราก็คือบุรุษคนนั้นมิใช่อื่น. บาลีว่า ยมาห โกมาริปติ ก็มี. เพราะท่านเขียนบทนี้ไว้ในคัมภีร์ทั้งหลาย. ความก็อย่างเดียวกัน. แต่ในบทนี้พึงทราบความคลาดเคลื่อนของคำ. ก็พระราชาตรัสคำใดไว้ คำนั้นแหละมาแล้วในที่นี้. บทว่า วชฺฌิตฺถิโย ความว่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย ควรฆ่าให้หมด.
    บทว่า นตฺถิ อิตฺถีสุ สจฺจํ ได้แก่ ชื่อว่าความสัตย์ในหญิงเหล่านี้ไม่มีสักอย่างเดียว. บทว่า อิมญฺจ ชมฺมํ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยการลงโทษชายเหล่านั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ชมฺมํ คือ ลามก. บทว่า มุสเลน หนฺตฺวา ได้แก่ เอาสากทุบตีทำให้กระดูกหักเป็นชิ้นๆ. บทว่า ลุทฺทํ คือ หยาบช้า. บทว่า ฉวํ ได้แก่ คล้ายคนตาย เพราะไม่มีคุณธรรม. บทว่า นํ ในบทว่า อิมิสฺสา จ นํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงตัดหู และจมูกของหญิงนี้ผู้ปรนนิบัติผัวชั่ว ไม่มียางอาย เป็นคนทุศีล ทั้งๆ ยังเป็นอยู่.

    พระโพธิสัตว์ เมื่อไม่ทรงสามารถอดกลั้นความโกรธไว้ได้ แม้รับสั่งให้ลงอาญาแก่พวกเขาอย่างนี้ ก็มิได้ทรงให้กระทำอย่างนั้นได้ แต่ได้ทรงบรรเทาความโกรธให้เบาบางลง แล้วรับสั่งให้ผูกกระเช้านั้นจนแน่น โดยที่นางไม่อาจยกกระเช้าลงจากศีรษะได้ ขังชายชั่วนั้นไว้ในกระเช้า จนกระทั่งตาย.

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ทรงประชุมชาดก.
    เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันได้บรรลุโสดาปัตติผล
    พี่น้องทั้งหกในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถระองค์ใดองค์หนึ่ง ในครั้งนี้.
    ภรรยาได้เป็น นางจิญจมาณวิกา
    ชายชั่วได้เป็น เทวทัต
    พญาเหี้ยได้เป็น อานนท์
    ส่วนปทุมราชา คือ เราตถาคต นี้แล.
    จบ อรรถกถาจุลลปทุมชาดกที่ ๓

    อรรถกถา จุลลปทุมชาดก ว่าด้วย การลงโทษหญิงชายทำชู้กัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4567_1a.jpg
      IMG_4567_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      584 KB
      เปิดดู:
      1,260
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4573_1a.jpg
      IMG_4573_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      575.7 KB
      เปิดดู:
      834
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4573_2a.jpg
      IMG_4573_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      540.7 KB
      เปิดดู:
      1,134
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4574_1a.jpg
      IMG_4574_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      555.9 KB
      เปิดดู:
      885
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    Unseen ภาพสอง

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
    ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

    มหาสุตโสมชาดก



    ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นพระสุตโสม โอรสพระเจ้าโกรัพยะ นครอินทปัต เมื่อเจริญวัยขึ้น พระราชบิดาก็ให้พระสุตโสมราชโอรสไปเรียนสรรพวิชายังสำนักตักศิลา

    พระสุตโสมกุมารได้พบกับพรหมทัตกุมาร โอรสพระเจ้ากาสิกราชแห่งเมืองพาราณสี ระหว่างเดินทางไปตักศิลาจึงได้คบหากันเป็นสหายสนิท และที่ตักศิลาก็มีพระสหายราชบุตรอื่นๆ ในชมพูทวีปอีก ๑๐๐ องค์
    พระสุตโสมนั้นมีปัญญามากกว่าราชบุตรเมืองอื่น ระหว่างศึกษาอยู่ก็ช่วยสอนราชบุตรทั้งหลายให้เล่าเรียนได้อย่างรวดเร็ว และก่อนกลับบ้านเมืองก็ได้ชักชวนพระสหายให้รักษาอุโบสถศีลทุกครึ่งเดือน ซึ่งทุกคนก็ตกลงตามคำชักชวนนั้น

    กาลต่อมา ราชบุตรทั้งหมดต่างก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองของตน และต่างรักษาอุโบสถเสมอมามิได้ขาด

    ฝ่ายพระเจ้าพรหมทัตนั้น พระองค์เป็นกษัตริย์ที่โปรดปรานเนื้อสัตว์เป็นที่สุด ทุกมื้อพระองค์จะต้องได้เสวยเนื้อสัตว์ หากไม่มีเนื้อสัตว์พ่อครัวห้องเครื่องจะถูกลงโทษจนเป็นที่หวาดกลัวมาก
    วันหนึ่ง ห้องเครื่องขาดเนื้อสัตว์ปรุงถวายพระเจ้าพรหมทัต ด้วยความเกรงกลัวพระอาญา พ่อครัวจึงไปแร่เนื้อจากศพในป่าช้ามาทำถวายพระเจ้าพรหมทัต

    เนื่องจากพระเจ้าพรหมทัตนั้นเคยเกิดเป็นยักษ์มานานแสนนาน เมื่อได้ลิ้มเนื้อมนุษย์จึงถูกใจมาก รับสั่งให้ห้องเครื่องทำเนื้อมนุษย์มาถวายทุกวัน

    แรกๆ พ่อครัวก็ไปแร่เอาเนื้อจากศพในป่าช้า ต่อมาเมื่อป้าช้าไม่มีศพก็นำนักโทษมาฆ่าเอาเนื้อ เมื่อหมดนักโทษไปอีก พระเจ้าพรหมทัตก็สั่งให้พ่อครัวไปแอบฆ่าชาวเมืองแร่เอาเนื้อมาทำอาหารทีละคน จนชาวเมืองหวาดกลัวที่เกิดมนุษย์กินคนขึ้น จึงมาร้องเรียนพระเจ้าพรหมทัต

    พระเจ้าพรหมทัตรู้ดีว่าเป็นคำสั่งของตน จึงไม่สนใจสืบหาสาเหตุ ชาวบ้านจึงไปร้องเรียนกาฬหัตถีมหาเสนาบดี ซึ่งในที่สุดมหาเสนาบดีก็จับพ่อครัวห้องเครื่องได้ขณะกำลังแร่เนื้อคนกลับมาปรุงอาหาร
    มหาเสนาบดีรู้ว่าสาเหตุมาจากพระเจ้าพรหมทัต จึงนำตัวพ่อครัวมาต่อหน้าพระพักตร์ ทูลถามว่าพระราชาเสวยเนื้อมนุษย์ใช่หรือไม่ พระเจ้าพรหมทัตยอมรับว่าพระองค์เสวยเนื้อมนุษย์จริง แม้มหาอำมาตย์จะพูดจาน้อมพระทัยอย่างไรพระเจ้าพรหมทัตก็ไม่อาจเลิกได้ พระองค์จึงถูกขับออกบัลลังก์โดยพระองค์ขอดาบ หม้อ กระเช้า และพ่อครัวไปด้วย

    พระเจ้าพรหมทัตเสด็จออกจากเมืองไปสู่ป่า ไปพักอยู่ใต้ต้นไทรคอยดักฆ่าคนเดินทางผ่านไปมาให้พ่อครัวทำอาหารให้กิน ทุกครั้งที่ออกฆ่าคนพระราชาก็จะถือดาบวิ่งตะโกนว่า เราคือโปริสาทมนุษย์กินคน

    ชาวเมืองกลัวจอมโจรโปริสาทมาก ไม่กล้าสัญจรผ่านไปทางนั้น เมื่อไม่มีมนุษย์ผ่านมาให้ฆ่า สุดท้ายพระยาโปริสาทก็ฆ่าพ่อครัวและกินเป็นอาหาร

    ตั้งแต่นั้นมา พระยาโปริสาทก็อยู่คนเดียว เที่ยวไล่ฆ่าคนจนชื่อกระฉ่อนไปทั้งชมพูทวีป

    ครั้นนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่งจะข้ามแดนที่พระยาโปริสาทอยู่ จึงจ้างคนนำทางให้ช่วยพาไป พระยาโปริสาทเห็นพราหมณ์ก็อยากกินจนน้ำลายไหล วิ่งร้องตะโกนมาว่า เราคือโปริสาทมนุษย์กินคน พวกคนนำทางได้ยินก็ตกใจนั่งลง ปล่อยให้พระยาโปริสาทเข้ามาลากตัวพราหมณ์นั้นไปได้

    เมื่อได้สติ พวกคนนำทางก็ไล่กวดพระยาโปริสาทไป พระยาโปริสาทวิ่งกระโดดข้ามรั้ว บังเอิญตกลงมาถูกตอตะเคียนตำเท้าบาดเจ็บ พวกคนนำทางจึงช่วยพาพราหมณ์กลับไปได้

    พระยาโปริสาทกลับไปโคนต้นไทรของตน แล้วบวงสรวงเทวดาว่าขอให้แผลหายใน ๗ วัน โดยจะขอนำโลหิตกษัตริย์ ๑๐๑ องค์มาพลีกรรม

    พระยาโปริสาทไม่ได้กินอะไรเลยตลอด ๗ วัน จนร่างกายซูบซีด เป็นเหตุให้แผลหายเป็นปกติอย่างรวดเร็ว จึงคิดว่าเทวดาช่วย คิดดังนั้นแล้วจึงถือดาบออกไปจับพระราชา ๑๐๑ องค์มาพลีกรรม

    บังเอิญยักษ์ที่เป็นสหายของพระยาโปริสาทในอดีตชาติผ่านมาพบ จึงช่วยสอนมนต์ให้ พระยาโปริสารทจึงมีกำลังเพิ่มขึ้นและวิ่งเร็วมาก สามารถไปจับพระราชาทั้ง ๑๐๐ องค์มาได้ภายใน ๗ วัน แต่เว้นพระสุตโสมไว้ด้วยเคยช่วยสอนวิชาให้สมัยเรียนที่ตักศิลาด้วยกัน

    ฝ่ายรุกขเทวดาอยากยุติความโหดร้ายของพระยาโปริสาท จึงไปขอให้ท้าวมหาราชทั้งสี่ช่วย แต่ท้าวมหาราชทั้งสี่ช่วยไม่ได้จึงไปขอให้ท้าวสักกเทวราชช่วย ซึ่งท้าวสักกเทวราชก็ได้แนะนำอุบายให้ว่าต้องให้พระสุตโสมมาปราบให้หายพยศ

    รุกขเทวดารับเทวบัญชาแล้ว จึงแปลงเพศเป็นบรรพชิตไปหาพระยาโปริสาท ครั้นพระยาโปริสาทเห็นก็คิดว่าบรรพชิตทุกคนย่อมเป็นเหมือนกษัตริย์ จึงจะจับมาพลีกรรมเทวดาให้ครบ ๑๐๑ องค์

    พระยาโปริสาทตามไล่จับบรรพชิตนั้น แต่ไล่ตามไปถึง ๓ โยชน์ก็ไล่ไม่ทัน จึงร้องบอกให้บรรพชิตหยุด เทวดาแปลงบอกว่า เราหยุดแล้ว ท่านนั้นแหละพยายามหยุดบ้างเถิด เราหยุดแล้วในธรรมของตน ส่วนท่านเป็นโจรไม่หยุดในโลก พ้นจากโลกไปแล้วท่านต้องไปอบาย หากอยากพ้นอบายท่านต้องจับพระเจ้าสุตโสมมาพลีกรรมด้วยตามคำที่ท่านบวงสรวงไว้แก่เรา

    แล้วก็คืนร่างจากบรรพชิตกลับเป็นรุกขเทวดา พระยาโปริสาทก็รับปากว่าวันรุ่งขึ้นจะไปจับพระเจ้าสุตโสมมาพลีกรรมตามสัญญา

    วันรุ่งขึ้นเป็นวันนักษัตร พระเจ้าสุตโสมเสด็จออกนอกพระนครเพื่อไปสระผม ระหว่างออกนอกประตูเมืองได้พบกับ นันทะพราหมณ์ นำคาถา ๔ บทของพระพุทธกัสสปะพุทธเจ้ามาแสดง พระเจ้าสุตโสมตรัสว่าวันนี้เป็นวันนักษัตร ยังไม่สามารถฟังได้ จึงให้จัดที่พักแก่พราหมณ์นั้นและมาแสดงในวันรุ่งขึ้น
    เมื่อพระเจ้าสุตโสมเสด็จขึ้นจากสรงน้ำ พระยาโปริสาทก็ร้องว่า เราคือมนุษย์กินคนชื่อว่าโปริสาท แล้ววิ่งมาอุ้มพระเจ้าสุตโสมไป

    วิ่งไประยะหนึ่งเห็นว่าไม่มีทหารตามมา พระยาโปริสาทก็ผ่อนฝีเท้าเดินไปตามปกติ ระหว่างนั้นก็เห็นพระเจ้าสุตโสมหลั่งน้ำตาหยดมากระทบที่อกตน

    พระยาโปริสาทถามว่าเหตุใดพระเจ้าสุตโสมจึงร้องไห้ พระเจ้าสุตโสมตอบว่าพระองค์ร้องไห้เพราะสัญญาไว้กับพราหมณ์ว่าจะฟังธรรม ๔ บท บัดนี้พระองค์ไม่สามารถรักษาสัตย์นั้นไว้ได้ ถ้าท่านปล่อยเราไปฟังธรรม เสร็จแล้วเราจะกลับมา

    พระยาโปริสาทเกรงว่าพระเจ้าสุตโสมไปแล้วจะไม่กลับ พระเจ้าสุตโสมจึงกล่าวคำสาบานว่าฟังธรรมแล้วพระองค์จะกลับมาแน่นอน พระยาโปริสาทคิดว่าพระเจ้าสุตโสมเป็นกษัตริย์ ตรัสแล้วคงไม่คืนคำ แม้นหากพระองค์คืนคำ พระยาโปริสาทก็สามารถเอาเลือดตัวเองพลีกรรมแทนได้ จึงตัดสินใจปล่อยพระเจ้าสุตโสมกลับไป

    เมื่อพระเจ้าสุตโสมกลับมาถึงพระราชวัง ก็ให้พราหมณ์นั้นมากล่าวคาถาทั้ง ๔ คำนั้น คาถานั้นมีว่า

    สัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรักษาผู้สมาคมด้วย
    สัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีแต่ความเจริญ ไม่มีความเสื่อม
    สัทธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถึงความชรา ต่างจากราชรถและร่างกาย
    สัทธรรมของสัตบุรุษ ทำให้สัตบุรุษอยู่ไกลจากอสัตบุรุษ ยิ่งกว่าความไกลของขอบฟ้าและฝั่งมหาสมุทร

    เมื่อสดับธรรมนั้นแล้ว พระสุตโสมก็ให้รางวัลพราหมณ์บทละ ๑,๐๐๐ กหาปนะ แล้วเข้าไปกราบทูลลาพระราชบิดาและพระมารดาเพื่อกลับไปหาพระยาโปริสาท แม้จะถูกทัดทานอย่างไร พระเจ้าสุตโสมก็ยืนกรานว่าต้องรักษาคำสัตย์ที่ให้ไว้ และห้ามมิให้พระราชบิดาส่งทหารไปทำร้ายพระยาโปริสาท

    พระเจ้าสุตโสมกลับไปหาพระยาโปริสาท พระยาโปริสาทเห็นว่าพระเจ้าสุตโสมไม่กลัวสิ่งใดแม้แต่ความตาย คงเป็นเพราะธรรมที่กลับไปฟังมา จึงขอฟังธรรมนั้นบ้าง

    พระเจ้าสุตโสมคิดจะทรมาณพระยาโปริสาทด้วยธรรม จึงตรัสว่า

    “ธรรม ย่อมไม่ลงรอยกับผู้ไม่ประพฤติธรรม ตัวท่านฆ่าและบริโภคเนื้อมนุษย์อันเป็นเนื้อไม่ควรบริโภค จึงเป็นผู้ไม่ประพฤติธรรม”

    พระยาโปริสาททูลถามว่า ที่พระเจ้าสุตโสมกลับมาครั้งนี้คือกลับมาตาย แต่เหตุใดพระองค์จึงไม่กลัวความตาย
    พระเจ้าสุตโสมตรัสว่า

    “เราเป็นผู้รักษาสัตย์ ผู้รักษาความสัตย์ย่อมข้ามชาติและมรณะได้ และเราได้ทำกัลยาณธรรมแล้ว ย่อมเป็นที่สรรเสริญของบัณฑิต เราได้บำรุงบิดามารดาและไพร่ฟ้าแล้วโดยธรรม ตายแล้วย่อมไม่ไปสู่ปรโลก ท่านจงฆ่าเราเพื่อพลีกรรมเสียเถิด”

    พระยาโปริสาทได้ฟังดังนั้น ก็ตกใจคิดว่าพระเจ้าสุตโสมผู้นี้เป็นสัตบุรุษ พร้อมด้วยความรู้ แสดงธรรมอันไพเราะ ถ้าเราจะกินพระองค์เสีย แม้ศีรษะของเราก็จะต้องแตกออกเป็น ๗ เสี่ยง หรืออาจถูกธรณีสูบเอาได้ จึงขอให้พระเจ้าสุตโสมทรงแสดงธรรมให้ฟัง

    พระเจ้าสุตโสมจึงแสดงธรรม ๔ บทที่ได้สดับมาแล้วแก่พระยาโปริสาท พระยาโปริสาทซาบซึ้งในบทธรรมจึงกล่าวว่าจะให้พรเป็นการตอบแทน

    “ผู้ไม่รักษาธรรมเช่นท่าน กล่าวคำให้พรเรามาแล้วจะเชื่อได้ไฉน”

    พระยาโปริสาทกราบทูลยืนยันว่าให้แล้วจะไม่คืนคำ ถึงแม้ต้องเสียชีวิตก็จะให้พรตามที่พระองค์ขอ พระเจ้าสุตโสมจึงตรัสขอพรพระยาโปริสาท ๔ ประการ แต่ครั้นจะขอพรให้เลิกกินเนื้อมนุษย์เป็นลำดับแรก ก็เห็นว่าจะลำบากแก่พระยาโปริสาทเกินไป จึงได้ตรัสขอพรเป็นลำดับ ดังนี้

    ๑. ขอพรให้พระยาโปริสาท มีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยตลอด ๑๐๐ ปี พระยาโปริสาทได้ฟังก็คิดสรรเสริญพระเจ้าสุตโสมอยู่ในใจ และรับให้พรนั้น
    ๒. ขอพรให้พระยาโปริสาท อย่าได้พลีกรรมกษัตริย์ทั้ง ๑๐๑ องค์นี้เลย พระยาโปริสาทก็รับให้พรนั้น
    ๓. ขอพรให้พระยาโปริสาท ปล่อยกษัตริย์ทั้ง ๑๐๑ องค์นี้ กลับไปหาพระราชบิดาพระราชมารดาผู้กำลังร้องไห้เศร้าโศกเสียใจอยู่ พระยาโปริสาทก็รับให้พรนั้น
    ๔. ขอพรให้พระยาโปริสาท จงเว้นจากเนื้อมนุษย์ เพราะบัดนี้มนุษย์ต่างหลีกหนีทิ้งบ้านเรือนเพราะกลัวภัยมนุษย์กินคน

    พระยาโปริสาทรับฟังคำขอพรประการที่ ๔ แล้วตอบว่า พรนี้เหมือนขอชีวิตตน ที่ตนเองทิ้งราชสมบัติมาอยู่ป่าเพราะเหตุแห่งการอยากเนื้อมนุษย์ บัดนี้จะให้ละเสียอย่างไรได้ ขอให้พระเจ้าสุตโสมขอพรอย่างอื่น

    “ท่านนั้นก็เป็นจอมคน แต่ห่างเหินจากชนที่เป็นที่รักเพราะความอยากความโลภในวัตถุ พ้นจากชาตินี้ไปแล้วย่อมไปสู่ทุคติ”

    พระยาโปริสาทได้ฟังดังนั้นก็หวาดหวั่น ดำริว่าจะทำอย่างไรดีหนอ จะไม่ให้พรก็ไม่ได้ จะให้เลิกกินเนื้อมนุษย์ก็ทำไม่ได้ น้ำตาจึงไหลลงนองหน้า กราบทูลว่าจงขอพรอย่างอื่นเถิด
    พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

    “คนใดมัวรักษาของรักอยู่ว่านี่เป็นที่รักของเรา ทำตนให้เหินห่างจากความดีแล้วเสพของรักทั้งหลายอยู่ เหมือนนักเลงดื่มสุราที่เจือด้วยยาพิษฉะนั้น คนนั้นจะได้ทุกข์ในเบื้องหน้า เพราะความประพฤตินั่นแล
    ส่วนบุคคลใดในโลกนี้ รู้สึกตัวละของรักได้ เสพอริยธรรม แม้ด้วยความฝืนใจ เหมือนคนเป็นไข้ดื่มโอสถ บุคคลนั้นจะได้สุขในเบื้องหน้า เพราะความประพฤตินั่นแล”

    พระยาโปริสาทก็ยังทำใจไม่ได้ กราบทูลให้ขอสิ่งอื่น

    “บัณฑิตไม่กล่าววาจาเป็นสอง สัตบุรุษย่อมมีปฏิญาณเป็นสัตย์ ท่านกล่าวกับข้าพเจ้าแล้วว่า พระสหายจงรับพร ท่านได้กล่าวไว้อย่างนี้ จะมาให้เราเปลี่ยนจึงไม่สมกัน”

    แล้วพระโพธิสัตว์ก็นำคำพูดของพระยาโปริสาทมากล่าวซ้ำ

    “คนเราให้พรใดแล้วกลับไม่ให้ ไม่ควรจะกล่าวให้พรนั้น ยิ่งท่านกล่าวว่าพระสหายจงมั่นพระทัยรับพรเถิด แม้ชีวิตของหม่อมฉันก็จักสละถวาย ท่านยิ่งไม่สมควรกลับคำ”

    พระยาโปริสาทฟังคำของพระเจ้าสุตโสมก็ยิ่งอึกอักหมดหนทาง

    “ดูก่อนท่านผู้เป็นพระราชา ผู้เป็นบัณฑิตพึงสละทรัพย์เพราะเหตุแห่งอวัยวะ พึงรักษาอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และพึงสละทั้งอวัยวะ ทรัพย์ แม้ชีวิตทั้งหมด เพื่อรักษาธรรม”

    พระยาโปริสาทได้ฟังธรรมดังนั้น จึงดำริว่า พระเจ้าสุตโสมเคยเป็นดั่งอาจารย์ของเรา และเราก็กล่าวให้พรแก่พระองค์แล้วจะทำอย่างไรได้ แม้เราต้องอดตายก็เพียงแค่อัตภาพหนึ่งที่เป็นของแน่นอน คิดดังนั้นแล้วน้ำตาก็ไหลนองท่วมหน้า กราบทูลพระเจ้าสุตโสมว่า

    “เรายากลำบากมาอยู่ป่า เพราะความอยากในเนื้อมนุษย์ บัดนี้เมื่อพระองค์ขอ เราก็จะถวายพรนี้แด่พระองค์”

    จากนั้นพระยาโปริสาทก็รับศีล ๕ จากพระเจ้าสุตโสม และไปปลดปล่อยกษัตริย์ที่จับไว้ทั้งหมดเป็นอิสระ กษัตริย์ทั้งหมดและพระยาโปริสาทก็เสด็จตามพระเจ้าสุตโสมเข้ากรุงพาราณสี

    ครั้งนั้น โอรสของพระยาโปริสาทได้ขึ้นครองกรุงพาราณสีแทนพระบิดาแล้ว มีท่านกาฬหัตถีเป็นมหาเสนาเช่นเดิม

    เมื่อขบวนพระเจ้าสุตโสมมาถึงหน้าประตูเมือง ชาวเมืองก็ปิดประตูเมืองเสียไม่ยอมให้พระยาโปริสาทเข้าเมือง พระเจ้าสุตโสมจึงประกาศว่าเราคือสุตโสมมหาราช จะพาพระยาโปริสาทมาคืน พระเจ้าพาราณสีรู้ว่าพระเจ้าสุตโสมเป็นบัณฑิต ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใด จึงสั่งให้เปิดประตูเมืองต้อนรับ
    พระเจ้าสุตโสมเสด็จเข้าเมืองแล้ว ตรัสถามท่านกาฬหัตถีมหาอำมาตย์ว่าเหตุใดจึงไม่ต้อนรับพระยาโปริสาท ท่านมหาอำมาตย์กราบทูลว่าเพราะพระยาโปริสาทไม่ประพฤติธรรม ได้จับชาวเมืองกินเสียมากมาย
    พระเจ้าสุตโสมตรัสว่าบัดนี้พระยาโปริสาทได้ถูกทรมานให้ตั้งอยู่ในศีลแล้ว อย่าได้กลัวอีกเลย จากนั้นก็ตรัสธรรมสั่งสอนพระโอรสราชา อำมาตย์ และมเหสี ว่า

    “ดูก่อนพระราชา ขึ้นชื่อว่าบุตรและธิดาต้องปฏิบัติมารดาและบิดา ท่านที่เลี้ยงมารดาบิดานั่นแหละ จะไปสวรรค์ คนที่ไม่เลี้ยงมารดาบิดาจะไปนรก”

    “ดูก่อนท่านกาฬหัตถี พระราชาสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งอันสูงศักดิ์ ท่านก็ควรจะประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระราชา”

    “ดูก่อนพระเทวี เธอนั้นมาจากเรือนอื่น ได้รับตำแหน่งอัครมเหสีในสำนักของพระราชา ถึงความเจริญด้วยพระโอรสและพระธิดา เธอจึงควรประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พระราชา”

    พระราชาและเสนาบดี ได้สดับธรรมของพระโพธิสัตว์แล้ว จึงพร้อมใจกันเชิญเสด็จพระยาโปริสาทขึ้นเป็นกษัตริย์ดังเดิม

    พระยาโปริสาท มาเกิดเป็น องคุลิมาล
    กาฬหัตถีเสนาบดี มาเกิดเป็น พระสารีบุตร
    นันทพราหมณ์ มาเกิดเป็น พระอานนท์
    รุกขเทวดา มาเกิดเป็น พระกัสสปะเถระ
    ท้าวสักกะ มาเกิดเป็น พระอนุรุทธะ
    พระราชา ๑๐๐ พระองค์ที่เหลือ มาเกิดเป็น พุทธบริษัท
    พระราชมารดาบิดา มาเกิดเป็น มหาราชตระกูล
    พระเจ้าสุตโสม มาเกิดเป็น พระสมณโคตมพุทธเจ้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4576_1a.jpg
      IMG_4576_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      542.5 KB
      เปิดดู:
      840
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
    ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

    มหานิบาตชาดก
    เตมียชาดก

    พระเจ้าเตมีย์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี​


    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภมหาภิเนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ดังนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่ากาสิกราช ครองราชสมบัติโดยธรรมในกรุงพาราณสี พระองค์มีสนมนารีประมาณหนึ่งหมื่นหกพันคน บรรดาสนมนารีเหล่านั้น แม้สักคนหนึ่งก็ไม่มีโอรสหรือธิดาเลย กาลนั้นชาวพระนครกล่าวกันว่า พระราชาของพวกเราไม่มีพระโอรสแม้องค์หนึ่งที่จะสืบพระวงศ์ จึงประชุมกันที่พระลานหลวงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงทรงปรารถนาพระโอรสเถิด พระราชาทรงสดับคำแห่งชาวเมืองนั้นแล้ว ตรัสเรียกสนมนารีหนึ่งหมื่นหกพันแล้วมีพระราชดำรัสสั่งว่า เจ้าทั้งหลายจงปรารถนาบุตร สนมนารีเหล่านั้นทำกิจเป็นต้นว่า วิงวอนและบำรุงเทวดาทั้งหลายมีพระจันทร์เป็นต้น แม้ปรารถนาก็หาได้โอรสหรือธิดาไม่

    ฝ่ายอัครมเหสีของพระเจ้ากาสิกราช ผู้เป็นพระธิดาแห่งพระเจ้ามัททราช พระนามว่าจันทาเทวี เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสีลาจารวัตร พระราชามีพระราชดำรัสสั่งว่า แน่ะนางผู้เจริญ แม้เธอก็จงปรารถนาพระโอรส พระเทวีได้สดับพระราชดำรัสของพระราชสวามีแล้วจึงสมาทานอุโบสถในวันเพ็ญ เปลื้องสรรพาภรณ์ บรรทมเหนือพระยี่ภู่น้อย ทรงอาวัชนาการถึงศีลของพระองค์ ได้ทรงกระทำสัจจกิริยาว่า ถ้าข้าพเจ้ารักษาศีลไม่ขาด ขอบุตรของข้าพเจ้าจงเกิดขึ้นด้วยสัจจวาจานี้

    ด้วยเดชานุภาพแห่งศีลของพระนางจันทาเทวีนั้น ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกเทวราชแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะเมื่อทรงพิจารณาก็ทรงทราบเหตุนั้นว่า พระนางจันทาเทวีปรารถนาโอรส ตกลงเราจักให้โอรสแก่พระนางนั้น ทรงพิจารณาถึงโอรสที่สมควรแก่พระนาง ก็ทรงเห็นพระโพธิสัตว์

    กาลนั้น พระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสีได้ยี่สิบปี เคลื่อนจากมนุษยโลกนั้น บังเกิดในอุสสุทนรก เสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้นแปดหมื่นปี เคลื่อนจากนรกนั้น บังเกิดในพิภพดาวดึงส์ ตั้งอยู่ในดาวดึงส์นั้นตลอดอายุ เคลื่อนจากดาวดึงส์นั้น ประสงค์จักไปเทวโลกชั้นสูง

    ครั้งนั้นท้าวสักกะจึงเสด็จไปอ้อนวอนเทพบุตรองค์นั้นว่า ขอท่านจงลงไปเกิดเป็นพระโอรสชองพระนางจันทาเทวี ผู้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากาสิกราช ในกรุงพาราณสีเถิด จักเกิดเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่โลกต่อไป เทพบุตรองค์นั้นก็ทรงรับถ้อยคำอ้อนวอนของท้าวสหัสนัยน์ และในขณะนั้น มีเทพบุตรอีก ๕๐๐ องค์ ซึ่งกำลังจะจุติเหมือนกัน ได้พากันทูลรับปฏิญาณของท้าวมัฆวานเทวราชว่า ข้าพระบาททั้งหลายก็จะต้องจุติไปเกิดเป็นบริวารของเทพบุตรองค์นี้เหมือนกัน ท้าวมัฆวานเทวราชจึงเสด็จกลับสู่พิมานมาศของพระองค์ ฯ

    พระโพธิสัตว์นั้นจึงจุติพร้อมกับเทวบุตร ๕๐๐ องค์ พระองค์เองถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางจันทาเทวี ส่วนเทวบุตรประมาณ ๕๐๐ องค์นอกนี้ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของภริยาอำมาตย์ทั้งหลาย กาลนั้น พระครรภ์ของพระนางจันทาเทวีเป็นประหนึ่งเต็มไปด้วยแก้ววิเชียร พระนางทรงทราบว่าตั้งครรภ์ จึงกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงทราบดังนั้น จึงได้พระราชทานครรภ์บริหารแก่พระนาง พระนางมีพระครรภ์ครบกำหนดแล้ว ก็ประสูติพระโอรสซึ่งสมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะอันอุดม ภรรยาอำมาตย์ทั้งหลายก็คลอดกุมาร ๕๐๐ ในเรือนอำมาตย์ในวันนั้นเหมือนกัน

    ขณะนั้น พระราชาประทับอยู่ในที่เสด็จออกแวดล้อมไปด้วยหมู่อำมาตย์ราชบริพาร ลำดับนั้น เจ้าหน้าที่ทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่าพระราชโอรสของพระองค์ประสูติแล้วพระเจ้าข้า พระเจ้ากาสิกราชได้ทรงสดับคำของเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ทรงมีความรักในพระโอรสเป็นครั้งแรกเกิดขึ้น เกิดพระปีติซาบซ่านภายในพระกมล แม้หทัยของอำมาตย์ราชบริพารทั้งหลายก็เกิดเยือกเย็นทั่วกัน พระราชาตรัสถามเหล่าอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายดีใจหรือ เมื่อลูกชายของเราเกิด

    อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า พระองค์ตรัสถามไยพระเจ้าข้า เมื่อก่อนพวกข้าพระองค์ไร้ที่พึ่ง บัดนี้พวกข้าพระองค์มีที่พึ่ง ได้เจ้านายแล้ว

    พระเจ้ากาสิกราชได้ทรงสดับคำของเหล่าอำมาตย์ก็เกิดพระปีติปลื้มพระทัย จึงตรัสเรียกมหาเสนาบดีมาตรัสสั่งว่า ท่านมหาเสนาบดีผู้เจริญ ลูกชายของฉันควรจะได้บริวาร ท่านจงไปตรวจดูว่า ในเรือนอำมาตย์มีทารกเกิดในวันนี้เท่าใด มหาเสนาบดีรับพระราชบัญชาแล้ว ไปตรวจดูเห็นทารกในเรือนอำมาตย์ ๕๐๐ คน จึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชาได้ทรงสดับคำของอำมาตย์เหล่านั้นก็เกิดพระปีติ จึงมีรับสั่งให้พระราชทานเครื่องประดับสำหรับกุมาร แก่ทารกทั้ง ๕๐๐ คน และให้พระราชทานนางนม ๕๐๐ คน

    แต่สำหรับพระมหาสัตว์ พระราชาพระราชทานนางนม ๖๔ นาง ล้วนแต่เป็นนางนมผู้เว้นโทษมีสูงนักเป็นต้น นมไม่ยาน น้ำนมมีรสหวาน

    เว้นนางนมที่มีโทษเช่นนั้น เพราะเหตุไร

    เพราะเมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีที่สูงนัก คอทารกจักยืดยาวเกินไป เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีเตี้ยนัก กระดูกคอทารกจักหดสั้น เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีผอมนัก ขาทั้งสองของทารกจักเสียดสีกัน เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีอ้วนนักเท้าทั้งสองของทารกจักเพลีย สตรีมีผิวดำนัก น้ำนมเย็นเกินไป สตรีมีผิวขาวนัก น้ำนมร้อนเกินไป เมื่อทารกดื่มนมของสตรีนมยาน จมูกจักแฟบ สตรีเป็นโรคหืด มีน้ำนมเปรี้ยวนัก สตรีเป็นโรคมองคร่อ น้ำนมจักมีรสวิการต่างๆ มีเผ็ดจัดเป็นต้น

    เพราะเหตุนั้น พระเจ้ากาสิกราชทรงเว้นโทษทั้งปวงเหล่านั้น พระราชทานนางนม ๖๔ คน ที่เว้นจากโทษ มีสูงนัก เป็นต้น นมไม่ยาน น้ำนมมีรสหวาน ทรงทำสักการะใหญ่ได้พระราชทานพร แม้แก่พระนางจันทาเทวี พระนางรับพระพรแล้วถวายคืนไว้ก่อน

    ในวันขนานพระนามพระโพธิสัตว์ พระเจ้ากาสิกราชทรงทำสักการะเป็นอันมากแก่เหล่าพราหมณ์ผู้รู้ลักษณะพยากรณ์ แล้วตรัสถามถึงอันตรายของพระมหาสัตว์ พราหมณ์ผู้รู้ลักษณะพยากรณ์เหล่านั้น เห็นพระลักษณสมบัติแห่งพระโพธิสัตว์ จึงกราบทูลว่า พระโอรสของพระองค์สมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะอันอุดม อย่าว่าแต่ทวีปหนึ่งเลย พระโอรสของพระองค์ทรงสามารถครองราชสมบัติ ในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร (จักรพรรดิ) อันตรายอะไร ๆ จะไม่ปรากฏแก่พระโอรสเลย

    พระเจ้ากาสิกราชได้ทรงสดับคำของพราหมณ์เหล่านั้น ก็ดีพระหฤทัย เมื่อทรงขนานพระนามพระกุมาร ได้ทรงขนานพระนามว่าเตมิยกุมาร เพราะเหตุในวันที่พระกุมารประสูติ ฝนตกทั่วกาสิกรัฐ และเพราะพระกุมารประสูติ เป็นเหมือนยังพระหฤทัยแห่งพระราชาและหัวใจแห่งหมู่อำมาตย์และมหาชนให้ชุ่มชื่น
    ลำดับนั้น นางนมทั้งหลายยังพระโพธิสัตว์ผู้มีพระชนม์ได้หนึ่งเดือน ให้สนานประดับองค์แล้วนำขึ้นเฝ้าพระราชบิดาพระราชาทอดพระเนตรเห็นพระปิโยรส ทรงสวมกอดจุมพิตที่พระเศียรแล้วให้ประทับบนพระเพลา ประทับนั่งรื่นรมย์อยู่ด้วยพระกุมาร ขณะนั้น พวกราชบุรุษนำโจร ๔ คนมาหน้าที่นั่ง พระราชาทอดพระเนตรเห็นโจรเหล่านั้นแล้ว มีพระราชดำรัสสั่งให้ลงพระอาญาโจรเหล่านั้น ให้เอาหวายทั้งหนามเฆี่ยนโจรคนหนึ่ง ๑,๐๐๐ ที ให้จำโจรคนหนึ่งด้วยโซ่ตรวนแล้วส่งเข้าเรือนจำ ให้เอาหอกแทงที่สรีระของโจรคนหนึ่ง ให้เอาหลาวเสียบโจรคนหนึ่ง

    ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ได้ทรงฟังพระดำรัสของพระบิดา ทั้งกลัว ทั้งสะดุ้ง ทรงจินตนาการว่า โอ พระชนกของเราอาศัยราชสมบัติทำกรรมอันหนักซึ่งจะพาไปสู่นรก

    วันรุ่งขึ้น พระพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายให้พระมหาสัตว์บรรทมเหนือพระแท่นที่สิริไสยาสน์ ซึ่งตกแต่งแล้วภายใต้เศวตฉัตร พระโพธิสัตว์บรรทมหน่อยหนึ่ง ตื่นบรรทมลืมพระเนตรทั้งสอง ทอดพระเนตรเศวตฉัตรเห็นสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ ลำดับนั้น ความกลัวอย่างเหลือเกินได้เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ ผู้ทั้งกลัวทั้งสะดุ้งอยู่เป็นปกติแล้ว พระองค์ทรงดำริว่าเราจากที่ไหนมาสู่พระราชมณเฑียรนี้ เมื่อทรงใคร่ครวญดูก็ทรงทราบโดยทรงระลึกชาติได้ว่า มาจากเทวโลก เมื่อทรงทอดพระเนตรต่อจากนั้นไปอีก ก็ทอดพระเนตรเห็นว่าไปไหม้อยู่ในอุสสุทนรก เมื่อทรงทอดพระเนตรต่อจากนั้นไปอีก ก็ทรงทราบว่า พระองค์เป็นพระราชาในพระนครนั้นเทียว เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาอยู่ว่า เราได้ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ๒๐ ปีแล้วไหม้อยู่ในอุสสุทนรก ๘๐,๐๐๐ ปี บัดนี้เราเกิดในเรือนหลวงดุจเรือนโจรนี้อีก เมื่อวานนี้ เมื่อเขานำโจร ๔ คนมา พระบิดาของเราได้กล่าวผรุสวาจาเช่นนั้นซึ่งเป็นเหตุให้ตกนรก หากว่าเราครองราชสมบัติ ก็จักบังเกิดในนรกเสวยทุกข์ใหญ่อีก ดังนี้ ได้เกิดความกลัวเป็นอันมาก พระสรีระซึ่งมีวรรณะดุจทองของพระโพธิสัตว์ ได้เหี่ยวมีวรรณะเศร้าหมอง ราวกะว่าดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ ฉะนั้น พระองค์บรรทมจินตนาการอยู่ว่า ทำอย่างไร เราจึงจะพ้นจากพระราชมณเฑียร ซึ่งดุจเรือนโจรนี้เสียได้

    คราวนั้น เทพธิดาผู้สิงอยู่ที่เศวตฉัตร เคยเป็นมารดาพระโพธิสัตว์ในอัตภาพในระหว่างอัตภาพหนึ่ง ปลอบพระโพธิสัตว์ให้สบายพระทัยแล้วกล่าวว่า พ่อเตมิยกุมาร พ่ออย่าเศร้าโศก อย่าคิด อย่ากลัวเลย ถ้าพ่อประสงค์จะพ้นจากพระราชมณเฑียรนี้ พ่อไม่เป็นคนง่อยเปลี้ยเลย ก็จงเป็นเหมือนคนง่อยเปลี้ย พ่อไม่เป็นคนหนวก ก็จงเป็นเหมือนคนหนวก พ่อไม่เป็นคนใบ้ก็จงเป็นเหมือนคนใบ้เถิด พ่อจงอธิษฐานองค์สามเหล่านี้อย่างนี้แล้ว อย่าประกาศความที่พ่อเป็นคนฉลาด จงทำให้คนทั้งปวงเห็นว่าพ่อเป็นคนโง่ คนทั้งหมดนั้นจะได้ดูหมิ่นท่านว่า เป็นคนกาฬกัณณี ความประสงค์ของท่านจะสำเร็จ

    พระโพธิสัตว์กลับได้ความอุ่นพระหฤทัย เพราะคำของเทพธิดานั้นจึงกล่าวว่า

    ดูกรแม่เทพธิดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำที่ท่านกล่าว ท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาจะเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า

    ครั้นกล่าวแล้ว พระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานองค์สามเหล่านั้น เทพธิดานั้นก็อันตรธานหายไป

    ลำดับนั้น พระเจ้ากาสิกราชมีพระดำริว่า ลูกควรจะได้กุมาร ๕๐๐ เหล่านั้นเป็นบริวารเพื่อเป็นที่พอใจ จึงรับสั่งให้กุมารทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้นนั่งอยู่ในสำนักของพระโพธิสัตว์ ทารกเหล่านั้นร้องไห้อยากดื่มน้ำนม ส่วนพระมหาสัตว์ถูกความกลัวนรกคุกคาม ทรงดำริว่า นับแต่วันนี้ กายของเราแม้เหือดแห้งตายเสียเลย ยังประเสริฐกว่า ดำริดังนี้จึงไม่ทรงกันแสง

    นางนมทั้งหลายกราบทูลประพฤติเหตุนั้นแด่พระนางจันทาเทวี พระนางก็กราบทูลแด่พระราชาพระราชารับสั่งให้เรียกเหล่าพราหมณ์ผู้รู้ทำนายนิมิตมาตรัสถาม พราหมณ์ทั้งหลายได้กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ นางนมควรจะถวายน้ำนมแด่พระกุมาร ให้เลยล่วงเวลาตามปกติ เมื่อทำอย่างนี้ พระกุมารจะทรงกันแสง จับนมมั่นเสวยเองทีเดียว ตั้งแต่นั้น นางนมทั้งหลายเมื่อถวายก็ถวายน้ำนมแด่พระโพธิสัตว์เลยเวลาตามปกติ บางคราวถวายให้เลนเวลาวาระหนึ่ง บางคราวไม่ถวายน้ำนมเลยตลอดทั้งวัน พระโพธิสัตว์ถูกความกลัวนรกคุกคาม แม้พระกายเหี่ยวแห้ง ก็ไม่ทรงกันแสงอยากเสวยนม

    ลำดับนั้น พระนางจันทาเทวีเห็นพระโพธิสัตว์ไม่ทรงกันแสง ก็ทรงพระดำริว่า ลูกเราหิว จึงให้ดื่มน้ำพระถันของพระนางเอง บางคราวนางนมทั้งหลายให้ดื่มน้ำนม เหล่าทารกที่เหลือต่างร้องไห้ ไม่นอนในเวลาไม่ได้ดื่มน้ำนม พระโพธิสัตว์ไม่ทรงกันแสง ไม่ทรงคร่ำครวญ ไม่บรรทม ไม่คู้พระหัตถ์และพระบาท ไม่เปล่งพระวาจา

    ครั้งนั้นนางนมทั้งหลายคิดกันว่า ธรรมดามือและเท้าของคนง่อยเปลี้ยไม่เป็นอย่างนี้ ปลายคางของคนใบ้ไม่เป็นอย่างนี้ ช่องหูของคนหนวกก็ไม่เป็นอย่างนี้ จะต้องมีเหตุในพระกุมารนี้ พวกเราจักทดลองพระกุมาร จึงไม่ถวายน้ำนมแด่พระโพธิสัตว์นั้นตลอดทั้งวัน ด้วยประสงค์ว่า จักทดลองพระกุมารด้วยเรื่องนมก่อน พระโพธิสัตว์แม้เหี่ยวแห้งก็ไม่ทรงกันแสงอยากเสวยนม ครั้งนั้นพระชนนีของพระโพธิสัตว์ตรัสสั่งให้นางนมถวายนม ด้วยพระราชเสาวนีย์ว่าลูกฉันหิว จงให้น้ำนมแก่เขา นางนมเหล่านั้นแม้ทดลองไม่ถวายน้ำนมในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    ครั้นเมื่อพระกุมารพระชนมายุได้หนึ่งพรรษา ลำดับนั้น หมู่อำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกอายุขวบหนึ่งชอบกินขนมและของเคี้ยว พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยขนมและของเคี้ยว กราบทูลดังนี้แล้วให้กุมารทั้ง ๕๐๐ คนเหล่านั้นนั่งใกล้ ๆ พระราชกุมาร นำขนมและของเคี้ยวต่าง ๆ เข้าไปวางไว้ใกล้ ๆ พระมหาสัตว์ แล้วกล่าวว่าท่านทั้งหลายจงถือเอาขนมและของเคี้ยวเหล่านั้นตามชอบใจ แล้วพากันยืนแอบดูอยู่ พวกทารกที่เหลือทะเลาะยื้อแย่งกันและกัน ถือเอาขนมและของเคี้ยวมาเคี้ยวกิน ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงเตือนพระองค์เองว่า แน่ะพ่อเตมิยกุมาร ถ้าเจ้าอยากจะลงนรก ก็จงประสงค์ขนมและของเคี้ยวเหล่านี้ ด้วยความที่พระมหาสัตว์เป็นผู้กลัวภัยในนรก จึงไม่ทอดพระเนตรดูขนมและของเคี้ยวเลย แม้ทดลองด้วยขนมและของเคี้ยวในระหว่างๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้สองพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาทารกสองขวบชอบผลไม้น้อยใหญ่ พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยผลไม้ กราบทูลดังนี้แล้ว นำผลไม้น้อยใหญ่ต่าง ๆ เข้าไปวางไว้ใกล้ ๆพระโพธิสัตว์ แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาผลไม้น้อยใหญ่เหล่านั้นตามชอบใจเถิด แล้วพากันยืนแอบดูอยู่ เหล่าทารกที่เหลือต่างต่อสู้ทุบตีกันและกัน ถือเอาผลไม้เหล่านั้นเคี้ยวกินอยู่ ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ทรงเตือนพระองค์เองเช่นเดิม และไม่ทอดพระเนตรดูผลไม้น้อยใหญ่เลย แม้ทดลองด้วยผลไม้น้อยใหญ่ในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้สามพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาทารกสามขวบชอบของเล่น พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยของเล่นกราบทูลดังนี้แล้ว จึงให้ทำรูปช้างเป็นต้นสำเร็จด้วยทองเป็นต้น วางไว้ใกล้ ๆพระโพธิสัตว์ เหล่าทารกที่เหลือต่างแย่งกันและกันถือเอา ฝ่ายพระมหาสัตว์ไม่ทรงทอดพระเนตรดูอะไร ๆ เลย แม้ทดลองด้วยของเล่นในระหว่าง ๆอย่างนี้เป็นเวลาหนึ่งปี ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้สี่พรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดา ทารกสี่ขวบชอบโภชนาหาร พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยโภชนาหารกราบทูลดังนี้แล้ว จึงน้อมโภชนาหารต่าง ๆเข้าถวายพระมหาสัตว์ แม้เหล่าทารกที่เหลือต่างก็ทำเป็นคำ ๆ บริโภค ฝ่ายพระมหาสัตว์ก็ทรงทรงกลัวภัยนรก มิได้ทอดพระเนตรดูโภชนาหารนั้น ลำดับนั้น พระชนนีของพระโพธิสัตว์ เป็นผู้เหมือนมีพระหฤทัยแตกทำลาย ให้พระโอรสเสวยโภชนาหารด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง แม้ทดลองด้วยโภชนาหารในระหว่าง ๆอย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้ห้าพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ธรรมดาทารกห้าขวบย่อมกลัวไฟ พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยไฟ กราบทูลดังนี้แล้ว ให้ทำเรือนใหญ่มีหลายประตู ที่พระลานหลวง มุงด้วยใบตาล ให้พระมหาสัตว์ซึ่งแวดล้อมด้วยเหล่าทารกที่เหลือ นั่งท่ามกลางทารกเหล่านั้นแล้วจุดไฟเหล่าทารกอื่น ๆ เห็นเรือนไฟลุกโพลง ทั้งกลัว ทั้งสะดุ้ง ต่างร้องลั่นวิ่งหนีไป ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ความร้อนแห่งเพลิงนี้ ยังดีกว่าไหม้ด้วยไฟนรก พระมหาสัตว์มิได้มีความหวั่นไหวเลย เหมือนพระมหาเถระผู้เข้านิโรธสมาบัติ ครั้นเมื่อเพลิงลุกลามมา อำมาตย์ทั้งหลายก็อุ้มพระโพธิสัตว์ออกไป แม้ทดลองด้วยไฟในระหว่าง ๆอย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้หกพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดา ทารกหกขวบย่อมกลัวช้างตกมัน พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยช้างตกมัน กราบทูลดังนี้แล้ว ให้ฝึกช้างเชือกหนึ่งซึ่งฝึกอย่างดี ให้พระโพธิสัตว์ซึ่งแวดล้อมด้วยเหล่าทารกที่เหลือ ประทับนั่ง ณ พระลานหลวง แล้วปล่อยช้าง ช้างนั้นบันลือเสียงโกญจนาท เอางวงตีพื้นดินคุกคามมา เหล่าทารกที่เหลือเห็นช้างตกมันก็กลัวมรณภัย จึงวิ่งหนีไปคนละทิศละทาง ฝ่ายพระมหาสัตว์เห็นช้างตกมันนั้นมา ทรงคิดว่า เราตายเสียที่งาช้างตกมันตัวดุร้ายยังประเสริฐกว่าไหม้ในนรกอันร้ายกาจ พระมหาสัตว์ถูกภัยนรกคุกคามประทับนั่งตรงนั้นเองไม่หวั่นไหวเลย ลำดับนั้น ช้างที่ฝึกดีแล้วนั้นแล่นเข้ามาจับพระมหาสัตว์ เหมือนจับกำดอกไม้ วิ่งไปวิ่งมาทำให้พระมหาสัตว์ลำบากยิ่ง มหาชนรับพระมหาสัตว์จากงวงช้างแล้วนำออกไป แม้ทดลองด้วยช้างตกมันในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์ พระราชาตรัสถามพวกราชบุรุษว่า พวกท่านรับพระกุมารนำออกไป ในเวลากลับมาพระกุมารไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้เลยพระเจ้าข้า ทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4619_1a.jpg
      IMG_4619_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      569.8 KB
      เปิดดู:
      839
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837


    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้เจ็ดพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกเจ็ดขวบย่อมกลัวงู พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยงู กราบทูลดังนี้แล้ว จึงให้พระมหาสัตว์กับเหล่าทารกที่เหลือนั่งที่พระลานหลวง ปล่อยงูทั้งหลายซึ่งถอนเขี้ยวแล้ว เย็บปากแล้ว ในกาลที่พระโพธิสัตว์ประทับนั่งแวดล้อมไปด้วยเหล่าทารกที่เหลือ ทารกที่เหลือทั้งหลายเห็นงูดุร้ายเหล่านั้นก็ร้องลั่นวิ่งหนีไป ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงพิจารณาภัยในนรก ทรงดำริว่าความพินาศไปในปากของงูดุร้าย ยังดีกว่าตายในนรกอันร้ายกาจ ดังนี้แล้วจึงทรงนิ่งเฉยเหมือนเข้านิโรธสมาบัติ คราวนั้นงูทั้งหลายก็เลื้อยมารัดพระสกลกายของพระมหาสัตว์ แผ่พังพานอยู่บนพระเศียรของพระมหาสัตว์ แม้ในกาลนั้น พระมหาสัตว์ก็มิได้หวั่นไหวเลย แม้ทดลองด้วยงู อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้แปดพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกแปดขวบย่อมชอบมหรสพฟ้อนรำ พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยมหรสพฟ้อนรำ กราบทูลดังนี้แล้ว ให้พระกุมารประทับนั่ง ณ พระลานหลวงกับทารก ๕๐๐ คน แล้วให้แสดงมหรสพฟ้อนรำ เหล่าทารกที่เหลือเห็นมหรสพฟ้อนรำแล้ว ต่างกล่าวว่า ดี ดี พากันหัวเราะเฮฮา ส่วนพระมหาสัตว์ทรงพิจารณาภัยในนรกว่า ในเวลาที่เราบังเกิดในนรก ความรื่นเริงหรือโสมนัสไม่มีแม้ชั่วขณะหนึ่ง จึงนิ่งเฉยมิได้ทอดพระเนตรดูอะไร ๆ นั้นเลย แม้ทดลองด้วยมหรสพฟ้อนรำในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้เก้าพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกเก้าขวบย่อมกลัวศัสตรา พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยศัสตรา จึงให้พระมหาสัตว์ประทับนั่ง ณ พระลานหลวงกับทารก ๕๐๐ คน ในเวลาที่ทารก ๕๐๐ คนกำลังเล่นกันอยู่ บุรุษผู้หนึ่งถือดาบมีสีดังแก้วผลึก กวัดแกว่งบันลือ โห่ร้อง โลดเต้น ปรบมือ ยักเยื้องท่าทาง ขู่ตวาดว่า ได้ยินว่าราชโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้ากาสิกราช เป็นกาลกรรณี เขาอยู่ไหน เราจักเอาดาบตัดศีรษะเขา วิ่งกล่าวอยู่ดังนี้ เหล่าทารกที่เหลือเห็นดังนั้น ทั้งกลัวทั้งสะดุ้ง ร้องลั่นวิ่งหนีไปคนละทิศละทาง ส่วนพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาภัยในนรก ทรงเห็นว่า พินาศเสียในคมดาบอันร้ายกาจ ยังดีกว่าตายในอุสสุทนรกดังนี้ ประทับนั่งเหมือนไม่ทรงทราบ ลำดับนั้น บุรุษนั้นเอาดาบจดลงที่ศีรษะแล้วกล่าวกะพระมหาสัตว์ว่า เราจักตัดศีรษะท่าน ก็ไม่ทำให้พระมหาสัตว์จะให้สะดุ้งได้ จึงหลีกไป แม้ทดลองด้วยดาบในระหว่าง ๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้สิบพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกสิบขวบย่อมกลัวเสียง ควรจะใช้เสียงทดลองพระกุมารว่าหนวกหรือไม่ กราบทูลดังนี้แล้ว จึงให้ล้อมที่บรรทมด้วยม่าน ทำช่องไว้สี่ข้าง ให้คนเป่าสังข์นั่งอยู่ใต้ที่บรรทม ไม่ให้พระโพธิสัตว์เห็นตัว ให้เป่าสังข์ขึ้นพร้อมกัน ได้มีเสียงกังวานพร้อมกัน นางนมทั้งหลายให้พระมหาสัตว์บรรทมเหนือที่บรรทม อำมาตย์ ๔ คน ยืนอยู่ที่ข้างทั้ง ๔ แลดูอิริยาบถของพระมหาสัตว์ตามช่องม่าน มิได้เห็นวิการแห่งพระหัตถ์พระบาท หรือเพียงกระดิกไหว อันเผลอพระสติของพระมหาสัตว์ แม้วันหนึ่ง พระราชาตรัสถามพวกราชบุรุษว่า ลูกของเราไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้เลย พระเจ้าข้าทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร แม้ทดลองด้วยเป่าสังข์ ในระหว่าง ๆอย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์เลย

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้สิบเอ็ดพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกสิบเอ็ดขวบย่อมกลัวเสียงกลอง ควรจะทดลองพระกุมารด้วยเสียงกลอง (เมื่อล่วงไปหนึ่งปี) อำมาตย์ทั้งหลายแม้ทดลองด้วยเสียงกลองในระหว่าง ๆ อย่างนั้นแลเป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้สิบสองพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกสิบสองขวบย่อมกลัวประทีป พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยประทีปกราบทูลดังนี้แล้ว ให้พระโพธิสัตว์บรรทมในที่มืดเวลาราตรี คิดว่า พระกุมารจะยังพระหัตถ์หรือพระบาทให้ไหวหรือไม่หนอ ทำประทีปให้ลุกโพลงในหม้อทั้งหลาย ให้ดับประทีปอื่น ๆ เสีย ให้พระโพธิสัตว์บรรทมหน่อยหนึ่งในที่มืด แล้วยกหม้อประทีปน้ำมันทั้งหลายขึ้น ทำให้สว่างพร้อมกันทีเดียว พิจารณาดูอิริยาบถของพระโพธิสัตว์ ก็มิได้เห็นแม้สักว่าความไหวพระกายของพระมหาสัตว์ แม้ทดลองด้วยประทีปในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นแม้เพียงความไหวอะไร ๆ ของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้สิบสามพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกสิบสามขวบย่อมกลัวแมลงวัน พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยน้ำอ้อยกราบทูลดังนี้แล้ว จึงเอาน้ำอ้อยทาทั่วพระสรีระพระโพธิสัตว์ แล้วให้บรรทมในสถานที่มีแมลงวันชุกชุม เลี้ยงบำรุงแมลงวันทั้งหลาย แมลงวันเหล่านั้นก็ตอมพระสรีระทั้งสิ้นแห่งพระโพธิสัตว์ กินน้ำอ้อยดุจแทงด้วยเข็มเป็นอันมากพระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เราตายในปากแมลงวันทั้งหลายดีกว่าตายในนรกอเวจีจึงอดกลั้นทุกขเวทนา ไม่หวั่นไหวเลย ดุจพระมหาเถระเข้านิโรธสมาบัติ แม้ทดลองด้วยน้ำอ้อยในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นแม้เพียงความไหวอะไร ๆ ของพระโพธิสัตว์ พระราชาตรัสถามพวกราชบุรุษว่าลูกของเราไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้เลย พระเจ้าข้า ทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้สิบสี่พรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ เมื่อเวลาทารกมีอายุได้สิบสี่ขวบก็เป็นผู้ใหญ่แล้ว บัดนี้พระกุมารนี้เป็นผู้ใหญ่ ชอบของสะอาด รังเกียจของโสโครก พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยของโสโครก กราบทูลดังนี้แล้ว ตั้งแต่นั้นมา ไม่สรงสนานพระโพธิสัตว์ ไม่จัดให้ลงบังคน ไม่ช่วยให้ลุกจากที่บรรทม พระโพธิสัตว์ก็ลงบังคนหนักเบา บรรทมเกลือกกลั้วอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ก็เพราะกลิ่นเหม็น กาลนั้นได้เป็นเสมือนกาลสำแดงพระอัธยาศัยภายในแห่งพระโพธิสัตว์ออกมาภายนอก แมลงวันทั้งหลายก็มาตอมกินอยู่ที่พระสรีระของพระโพธิสัตว์ คราวนั้น พระชนกพระชนนีประทับนั่งล้อมพระโพธิสัตว์ ตรัสอย่างนี้ว่า พ่อเตมิยกุมาร บัดนี้พ่อก็โตแล้ว ใครเขาจะประคับประคองพ่อเสมอไป พ่อไม่ละอายหรือ พ่อนอนอยู่ทำไม ลุกขึ้นชำระร่างกายซิ แล้วตรัสตัดพ้อบริภาษ พระโพธิสัตว์ แม้จมอยู่ในกองคูถซึ่งปฏิกูลอย่างนั้น ก็ทรงวางพระอารมณ์เป็นกลาง เพราะทรงพิจารณาเห็นความมีกลิ่นเหม็นของคูถนรก ซึ่งสามารถฟุ้งตลบขึ้นในใจของผู้ที่แม้ยืนอยู่ในที่สุดของร้อยโยชน์ เพราะมีกลิ่นเหม็น แม้ทดลองด้วยของโสโครกในระหว่าง ๆอย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระกุมารพระชนมายุได้สิบห้าพรรษา คณะอำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารก สิบห้าขวบย่อมกลัวความร้อน พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยถ่านเพลิง ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายได้วางกระเบื้องเต็มด้วยไฟไว้ใต้พระแท่นของพระโพธิสัตว์ ด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย พระกุมารถูกความร้อนเบียดเบียนเสวยทุกขเวทนา เมื่ออดกลั้นทุกขเวทนาไม่ได้ ก็พึงแสดงความกระดิกไหวพระหัตถ์หรือพระบาทบ้าง นางนมทั้งหลายให้พระมหาสัตว์บรรทมเหนือพระแท่นแล้วออกมาเสีย พระมหาสัตว์ถูกความร้อนเบียดเบียน เปลวไฟปรากฏเหมือนลุกโพลงทั่วพระสรีระของพระมหาสัตว์ แม้พระมหาสัตว์ก็ทรงโอวาทพระองค์เองว่า แน่ะพ่อเตมิยกุมาร ความร้อนในนรกอเวจีแผ่ไปตั้งร้อยโยชน์ทำลายนัยน์ตาของบรรดาสัตว์ที่อยู่ในที่ร้อยโยชน์ได้ ความร้อนแห่งเพลิงนี้ยังดีกว่าความร้อนในนรกนั้น ตั้งร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า ดังนี้แล้วทรงอดกลั้นความร้อนนั้นเสีย มิได้หวั่นไหวเลย เหมือนผู้เข้านิโรธสมาบัติ ลำดับนั้น พระชนกพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ถูกความทุกข์เบียดเบียน ก็เป็นเหมือนพระหฤทัยจักแตก จึงแหวกฝูงชนเข้าไปนำพระโพธิสัตว์ออกมาจากความร้อนของไฟนั้น แล้วตรัสวิงวอนพระโพธิสัตว์ว่า พ่อเตมิยกุมาร พวกเรารู้ว่ามิใช่คนง่อยคนเปลี้ย เป็นต้น เพราะคนพิการเหล่านั้นมิได้มี มือ เ ท้า ปาก และช่องหูอย่างนี้ พ่อเป็นบุตรที่พวกเราปรารถนาจึงได้ พ่ออย่าให้พวกเราฉิบหายเลย พ่อจงเปลื้องพวกเราจากครหาแต่สำนักพระราชาทั่วชมพูทวีปเถิด แม้พระชนกพระชนนี วิงวอนถึงอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ก็บรรทมนิ่ง เหมือนมิได้ทรงสดับพระวาจานั้น ลำดับนั้นพระชนกพระชนนี ของพระโพธิสัตว์ก็ทรงกันแสงเสด็จหลีกไป บางคราวพระชนกของพระโพธิสัตว์ แต่พระองค์เดียวเสด็จเข้าไปวิงวอนพระโพธิสัตว์ บางคราวก็พระชนนี แต่พระองค์เดียวเสด็จเข้าไปวิงวอนพระโพธิสัตว์ บางคราวทั้งสองพระองค์เสด็จเข้าไปวิงวอนด้วยกัน แม้ทดลองด้วยถ่านเพลิงในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

    กาลเมื่อพระโพธิสัตว์มีพระชนม์ได้สิบหกพรรษา หมู่อำมาตย์และพราหมณ์เป็นต้น คิดกันว่า พระกุมารเป็นง่อยเปลี้ยก็ตาม เป็นใบ้ก็ตาม เป็นคนหนวกก็ตาม หรือไม่เป็นก็ตาม จงยกไว้ เมื่อวัยเปลี่ยนแปรไป บุคคลชื่อว่าไม่กำหนัดในอารมณ์ที่น่ากำหนัด ย่อมไม่มี ชื่อว่าไม่ดูในอารมณ์ที่น่าดู ย่อมไม่มี ชื่อว่าไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่ายินดี ย่อมไม่มี เมื่อถึงคราวแล้ว ความกำหนัดยินดีนี้ย่อมมีเป็นธรรมดา เหมือนความแย้มบานของดอกไม้ฉะนั้น พวกเราจักให้เหล่านางสนมนักฟ้อนรำบำเรอพระกุมารทดลองพระกุมารด้วยนางสนมนักฟ้อนรำเหล่านั้น

    ลำดับนั้น พระเจ้ากาสิกราชมีรับสั่งให้เรียกหญิงฟ้อนรำ ทรงรูปอันอุดม สมบูรณ์ด้วยความงามดังเทพอัปสร ตรัสกะหญิงทั้งหลายว่า บรรดาเธอทั้งหลาย หญิงใดสามารถทำให้พระกุมารร่าเริง หรือผูกพันไว้ด้วยอำนาจกิเลสได้ หญิงนั้นจักได้เป็นอัครมหสีของพระกุมารนั้น นางนมทั้งหลายสรงสนานพระกุมารด้วยน้ำหอม ตกแต่งพระกุมารราวกะเทพบุตร ให้บรรทมบนพระที่สิริไสยาสน์ที่ตกแต่งไว้ดีแล้วในห้องมีสิริเช่นกับเทพวิมาน ทำให้เป็นที่ลุ่มหลงเพราะกลิ่นหอมอย่างเอกภายในห้อง ด้วยพวงของหอม พวงดอกไม้ พวงบุปผชาติและจุรณ์แห่งธูปและเครื่องอบเป็นต้น แล้วหลีกไป

    ลำดับนั้น หญิงเหล่านั้นพากันแวดล้อมพระโพธิสัตว์ พยายามให้พระโพธิสัตว์อภิรมย์ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้องบ้าง ด้วยกล่าวคำไพเราะเป็นต้นบ้าง มีประการต่าง ๆ เพราะความที่พระโพธิสัตว์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยพระปรีชา พระองค์จึงมิได้ทอดพระเนตรดูหญิงเหล่านั้น ทรงอธิษฐานว่า หญิงเหล่านี้อย่าได้ ถูกต้องสรีระของเรา แล้วทรงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ

    ครั้งนั้น พระสรีระของพระโพธิสัตว์แข็งกระด้าง หญิงเหล่านั้นเมื่อไม่ได้ถูกต้องพระสรีระของพระโพธิสัตว์ คิดว่า พระกุมารนี้มีสรีระแข็งกระด้าง คงไม่ใช่มนุษย์ จักเป็นยักษ์ ทั้งกลัวทั้งสะดุ้ง ไม่อาจที่จะดำรงตนอยู่ได้ จึงพากันหนีไป

    แม้ทดลองด้วยหญิงทั้งหลายในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์ หมู่อำมาตย์พราหมณ์ พระราชา แม้ทดลองด้วยการทดลองอย่างใหญ่สิบหกครั้ง และด้วยการทดลองอย่างน้อยมากครั้งอย่างนี้ ก็ไม่สามารถจะกำหนดจับพิรุธของพระโพธิสัตว์นั้นได้

    ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามหญิงทั้งหลายว่า แม่มหาจำเริญทั้งหลาย ลูกของเราหัวเราะกับพวกเธอบ้างหรือไม่ หญิงทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้เลย พระเจ้าข้า

    พระราชาทรงสดับคำของหญิงเหล่านั้นแล้วทรงร้อนพระหฤทัย เพราะเหตุนั้นมีรับสั่งให้เรียกพวกพราหมณ์ผู้ทำนายลักษณะมาตรัสว่า ท่านพราหมณ์ผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพระกุมารประสูติ พวกท่านบอกแก่เราว่า พระกุมารนี้สมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะอันอุดม อันตรายไม่มีแก่พระกุมารนี้ บัดนี้ พระกุมารนั้นเป็นทั้งง่อยเปลี้ย เป็นทั้งใบ้ทั้งหนวกถ้อยคำของพวกท่านไม่ทำให้เรายินดีเลย

    ลำดับนั้น พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ขึ้นชื่อว่านิมิตที่อาจารย์ทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ไม่เห็น ย่อมไม่มี อีกประการหนึ่ง พระกุมารนี้เป็นโอรสที่ราชตระกูลทั้งหลายปรารถนาจึงได้มา เมื่อพวกข้าพระองค์กราบทูลว่าเป็นกาลกรรณี ความโทมนัสก็จะพึงมีแด่พระองค์ เพราะเหตุนั้นพวกข้าพระองค์จึงไม่กราบทูล

    พระราชาตรัสถามว่า บัดนี้ควรจะทำอย่างไร

    พราหมณ์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ถ้าเมื่อพระกุมารอยู่ในราชมณเฑียรนี้ จะปรากฏอันตราย ๓ อย่าง คือ อันตรายแห่งชีวิต อันตรายแห่งเศวตฉัตร อันตรายแห่งพระอัครมเหสี เพราะฉะนั้น ควรที่พระองค์จะชักช้าไม่ได้ โปรดให้จัดรถอวมงคล เทียมม้าอวมงคล ให้พระกุมารบรรทมบนรถนั้น นำออกทางประตูทิศตะวันตก ฝังเสียในป่าช้าผีดิบ

    พระราชาได้ทรงสดับคำของพราหมณ์เหล่านั้น ทรงกลัวภยันตราย จึงโปรดให้ทำอย่างนั้น
    กาลนั้นพระนางจันทาเทวีได้ทรงสดับประพฤติเหตุนั้น จึงรีบเสด็จเข้าเฝ้าพระราชาแต่พระองค์เดียว ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พระองค์ได้พระราชทานพรแก่หม่อมฉันไว้ หม่อมฉันรับแล้ว ถวายฝากพระองค์ไว้ ขอพระองค์โปรดพระราชทานพรนั้น แก่หม่อมฉันในบัดนี้

    พระราชาตรัสว่า จงรับเอาซิ พระเทวี

    พระนางกราบทูลว่า ขอพระองค์ โปรดพระราชทานราชสมบัติแก่ลูกของหม่อมฉันเถิด

    ตรัสว่า ให้ไม่ได้

    พระเทวี ทูลถามว่า เพราะเหตุไร

    ตรัสว่า ลูกของเราเป็นกาลกรรณี

    ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ถ้าไม่พระราชทานตลอดชีวิต ขอได้โปรดพระราชทานราชสมบัติเจ็ดปี

    ตรัสว่า ให้ไม่ได้

    พระเทวีทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ขอได้โปรดพระราชทานราชสมบัติหกปี พระเจ้าข้า

    ตรัสว่า ให้ไม่ได้

    พระเทวี ทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ขอได้โปรดพระราชทานราชสมบัติห้าปี พระเจ้าข้า

    ตรัสว่า ให้ไม่ได้ พระเทวี

    พระนางจันทาเทวีทูลขอราชสมบัติลดเวลาลงเป็นลำดับ คือสี่ปี สามปี สองปี ปีเดียว เจ็ดเดือน หกเดือน ห้าเดือน สี่เดือน สามเดือน สองเดือน เดือนเดียว ครึ่งเดือน จนถึงเจ็ดวัน พระราชาจึงพระราชทานอนุญาต พระนางจึงให้ตกแต่งพระโอรสแล้วอภิเษกว่า ราชสมบัตินี้เป็นของเตมิยกุมาร ให้ป่าวร้องทั่วพระนคร ให้ประดับพระนครทั้งสิ้น ให้พระโอรสประทับบนคอช้าง ให้ยกเศวตฉัตรเบื้องบนพระเศียรพระโอรส ทำประทักษิณพระนคร ให้พระโอรสผู้เสด็จมาบรรทมบนพระยี่ภู่อันมีสิริ ตรัสวิงวอนตลอดคืนและวัน ถึงห้าวันว่า พ่อเตมิยะ แม่ไม่เป็นอันหลับนอน ร้องไห้อยู่ ถึงสิบหกปีเพราะพ่อ ดวงตาทั้งสองของแม่ฟกช้ำ หัวใจของแม่เหมือนจะแตกด้วยความโศก แม่รู้ว่าพ่อไม่ใช่ง่อยเปลี้ยเป็นต้นเลย พ่ออย่าทำให้แม่หาที่พึ่งมิได้เลย

    ครั้นถึงวันที่หก พระราชารับสั่งให้หานายสารถี ชื่อสุนันทะ มาตรัสสั่งว่า พ่อสุนันทสารถี พรุ่งนี้ เจ้าจงเทียมม้าอวมงคลคู่หนึ่ง ที่รถอวมงคลแต่เช้าทีเดียว ให้พระกุมารนอนบนรถนั้น นำออกทางประตูทิศตะวันตก ประกาศว่าเป็นคนกาลกรรณี แล้วจงขุดหลุมสี่เหลี่ยมที่ป่าช้าผีดิบ ใส่พระกุมารในหลุมนั้นแล้ว เอาสันจอบทุบศีรษะให้ตาย กลบดินข้างบนทำดินให้พูนขึ้นอาบน้ำแล้วกลับมา

    พระเทวีได้สดับดังนั้น ก็เป็นเหมือนพระหฤทัยแตกทำลาย เสด็จไปสำนักพระโอรส วิงวอนพระกุมารตลอดราตรี ตรัสว่า พ่อเตมิยะ พระเจ้ากาสิกราช พระบิดาของพ่อ มีพระราชดำรัสสั่งให้ฝั่งพ่อในป่าช้าผีดิบในวันพรุ่งนี้แต่เช้าทีเดียว พ่อจะตายแต่เช้าพรุ่งนี้ นะลูก

    พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้น ก็มีพระมนัสยินดีว่า ความพยายามที่ทำมาสิบหกปี จะถึงที่สุดแห่งมโนรถในวันพรุ่งนี้แล้ว เมื่อพระมหาสัตว์ทรงดำริอยู่อย่างนี้ ก็เกิดปีติขึ้นในภายในพระกมล ส่วนพระหฤทัยของพระมารดาพระมหาสัตว์ได้เป็นทุกข์เหมือนจะแตกทำลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น พระมหาสัตว์ก็ทรงดำริว่า ถ้าเราจักพูด มโนรถของเราก็จักไม่ถึงที่สุด ดังนี้จึงไม่ตรัสกับพระชนนีนั้น

    ครั้นราตรีนั้นล่วงไปรุ่งขึ้น เช้าพระเทวีสรงสนานพระมหาสัตว์ ตกแต่งองค์แล้วให้ประทับนั่งบนพระเพลาประทับนั่งสวมกอดพระมหาสัตว์นั้น ครั้งนั้น นายสุนันทสารถีเทียมรถแต่เช้าทีเดียว เทวดาดลใจให้เทียมม้ามงคลที่รถมงคล ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ นายสุนันทสารถีหยุดรถไว้แทบพระราชทวารแล้วขึ้นยังพระราชนิเวศน์ เข้าสู่ห้องอันเป็นสิริถวายบังคมพระเทวีแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ขอพระแม่เจ้าอย่าได้กริ้วข้าพระบาท ข้าพระบาทรับพระราชบัญชามา กราบทูลดังนี้แล้ว เอาหลังมือกันให้พระเทวีผู้นั่งสวมกอดพระโอรสอยู่ หลีกไป อุ้มพระกุมารดุจกำดอกไม้ลงจากปราสาท กาลนั้น พระนางจันทาเทวีสยายพระเกศา ข้อนพระทรวง ทรงปริเทวนาการดังสนั่นอยู่กับหมู่นางสนมในปราสาท

    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพระมารดาทรงกันแสงก็เป็นเหมือนมีพระหฤทัยแตกทำลายเป็นเจ็ดเสี่ยง ทรงดำริว่า เมื่อเราไม่พูดกับพระชนนี พระชนนีของเราจักมีพระหฤทัยทำลายวายพระชนม์ จึงทรงใคร่จะพูดด้วย แต่ทรงดำริต่อไปว่า ถ้าเราจักพูดกับพระมารดา ความพยายามที่เราทำมาสิบหกปี ก็จักหาประโยชน์มิได้ แต่ถ้าไม่พูด จักเป็นประโยชน์ทั้งแก่เราเอง แก่พระชนกพระชนนี และแก่มหาชนด้วย ทรงดำริดังนี้จึงทรงกลั้นโศกาดูรเสียได้ ไม่ตรัสกับพระชนนี

    ลำดับนั้น นายสุนันทสารถีให้พระมหาสัตว์ขึ้นรถแล้ว แม้คิดว่า เราจักขับรถตรงไปประตูทิศตะวันตก ถูกเทวดาดลใจด้วยอานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ ให้กลับรถแล้วขับรถตรงไปประตูทิศตะวันออก ครั้งนั้น ล้อรถกระทบธรณีประตู พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับเสียงนั้น ทรงดำริว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว ได้มีพระมนัสแช่มชื่นเป็นอย่างยิ่ง รถแล่นออกจากพระนครไปสามโยชน์ ถึงสถานที่ชัฏ ป่าในที่ตรงนั้นปรากฏแก่นายสารถีดุจป่าช้าผีดิบ นายสารถีกำหนดว่า ที่นี้เหมาะแล้ว จึงแวะรถจากทางเข้าที่ข้างทาง ลงจากรถเปลื้องเครื่องแต่งองค์ของพระมหาสัตว์ ห่อวางไว้ แล้วถือจอบลงมือขุดหลุมสี่เหลี่ยมในที่ไม่ไกลรถ แต่นั้นพระมหาสัตว์ทรงดำริว่า กาลนี้เป็นกาลพยายามของเรา ก็เราพยายามถึงสิบหกปี ไม่ไหวมือและเท้า กำลังของเรายังมีอยู่หรือว่าไม่มีหนอ ดังนี้แล้วลุกขึ้น ลูบมือขวาด้วยมือซ้าย ลูบมือซ้ายด้วยมือขวา นวดพระบาททั้งสองด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง เกิดดวงจิต คิดจะลงจากรถ

    บัดนั้นเองแผ่นดินก็ได้สูงขึ้นจดท้ายรถ ตรงที่ประดิษฐานพระบาทแห่งพระมหาสัตว์ดุจผิวฝุ่นที่เต็มด้วยลมฟุ้งขึ้นฉะนั้น พระมหาสัตว์เสด็จลงจากรถ ทรงดำเนินไปมาสิ้นเวลาเล็กน้อย ก็ทรงทราบว่า เรายังมีกำลังที่จะเดินทางไกลถึงร้อยโยชน์ได้ในวันเดียว เมื่อทรงพิจารณาพระกำลังว่า หากนายสารถีประทุษร้ายเรา กำลังของเราที่จะต่อสู้กับนายสารถีมีอยู่หรือหนอ จึงทรงจับท้ายรถยกขึ้น ประทับยืนกวัดแกว่งรถนั้น ดุจจับยานเครื่องเล่นของพวกเด็กฉะนั้น เมื่อทรงกำหนดว่า กำลังที่จะต่อสู้กับนายสารถีของพระองค์ยังมีอยู่จึงมีพระประสงค์จะได้เครื่องประดับองค์ ในขณะนั้นเองพิภพแห่งท้าวสักกเทวราชได้แสดงอาการร้อน ท้าวสักกะทรงพิจารณาก็ทรงทราบเหตุนั้น ทรงดำริว่า ความปรารถนาของเตมิยกุมารถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ เธอต้องการเครื่องประดับ เครื่องประดับของมนุษย์ เธอจะต้องการทำไม เราจักให้เตมิยกุมารประดับองค์ด้วยเครื่องประดับทิพย์ จึงตรัสเรียกพระวิสสุกรรมเทวบุตรมามอบเครื่องประดับทิพย์แล้ว ทรงส่งไปโดยตรัสสั่งว่า ไปเถิด พ่อจงประดับเตมิยกุมารราชโอรสของพระเจ้ากาสิกราช ด้วยเครื่องประดับทิพย์

    พระวิสสุกรรมเทพบุตร ฟังคำท้าวสักกะ รับเทวโองการแล้วไปมนุษยโลก โพกพระเศียรพระมหาสัตว์ด้วยผ้าทิพย์หมื่นรอบ ประดับพระมหาสัตว์ให้เป็นเหมือนท้าวสักกะ ด้วยเครื่องประดับทั้งเป็นของทิพย์และของมนุษย์แล้วกลับไปที่อยู่ของตน พระมหาสัตว์เสด็จไปยังที่ขุดหลุมของนายสารถีด้วยการเยื้องกรายของท้าวสักกเทวราช ประทับยืนที่ริมหลุมตรัสถามนายสารถีนั้นว่า ท่านจะรีบขุดหลุมสี่เหลี่ยมนี้ไปทำไม

    นายสารถีได้ฟังดังนั้น ก็ก้มหน้าก้มตาขุดหลุมต่อไปมิได้เงยหน้าขึ้นดู กล่าวทูลตอบว่า
    พระราชโอรสของพระราชาเป็นใบ้ ง่อยเปลี้ย ไม่มีจิตใจ พระราชาตรัสสั่งให้ข้าพเจ้าฝังเสียในป่า

    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะนายสารถีว่า

    ดูกรนายสารถี เรามิได้เป็นคนหนวก มิได้เป็นคนใบ้ มิได้เป็นง่อยเปลี้ย มิได้มีอินทรีย์วิกลการ เชิญท่านดูขาและแขนของเรา และเชิญฟังคำภาษิตของเรา ถ้าท่านพึงฝังเราเสียในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม

    แต่นั้น นายสารถีคิดว่า นี่ใครหนอ ตั้งแต่มาก็สรรเสริญแต่ตนเองเท่านั้น เขาจึงหยุดขุดหลุมแล้วเงยหน้าขึ้นดู ได้เห็นรูปสมบัติของพระมหาสัตว์ก็จำไม่ได้จึงกล่าวถามว่า

    ท่านเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็นใคร หรือว่าเป็นบุตรของใครหนอ

    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะสำแดงตนให้แจ้งและแสดงธรรม จึงตรัสว่า
    เราไม่ใช่เป็นเทวดา ไม่ใช่เป็นคนธรรพ์ ไม่ใช่เป็นท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสีผู้ที่ท่านอาศัยบารมีเลี้ยงชีพอยู่ บุคคลเมื่อนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม พระราชาเป็นเหมือนต้นไม้ เราเป็นเหมือนกิ่งไม้ ท่านสารถีเป็นเหมือนคนอาศัยร่มเงา ดูกรนายสารถีถ้าท่านพึงฝังเราเสียในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นธรรม

    แม้เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสถึงอย่างนี้ นายสารถีก็ยังไม่เชื่ออยู่นั่นเอง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า เราจักทำให้นายสารถีนั้นเชื่อ จึงทรงทำป่าชัฏให้บันลือลั่นด้วยเสียงสาธุการของเหล่าเทวดา และด้วยคำโฆษณาของพระองค์โดยตรัสคาถาบูชามิตร ๑๐ คาถานี้ว่า

    ๑. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร ชนเป็นอันมากอาศัยบุคคลผู้นั้นเลี้ยงชีพ บุคคลผู้นั้นจากเรือนของตนไปที่ไหน ๆ ย่อมมีภักษาหารมากมาย

    ๒. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคลผู้นั้นไปสู่ชนบท นิคม ราชธานีใด ๆ ย่อมเป็นผู้อันหมู่ชนในที่นั้น ๆ ทั้งหมดบูชา

    ๓. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร โจรทั้งหลายไม่ข่มเหงบุคคลผู้นั้น กษัตริย์ก็มิได้ดูหมิ่น บุคคลผู้นั้น บุคคลผู้นั้นย่อมข้ามพ้นหมู่อมิตรทั้งปวง

    ๔. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคล ผู้นั้นจะมาสู่เรือนของตนด้วยมิได้โกรธเคืองใคร ๆ มา ได้ความยินดีปรีดาในสภาที่ประชุม เป็นผู้สูงสุดของหมู่ญาติ

    ๕. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคลผู้นั้นสักการะคนอื่น ก็จะเป็นผู้อันคนอื่นสักการะตน เคารพคนอื่น ก็จะเป็นผู้อันคนอื่นเคารพตน ย่อมเป็นผู้ได้รับความยกย่องและเกียรติคุณ

    ๖. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคลผู้นั้นบูชาผู้อื่น ก็ย่อมได้บูชาตอบ ไหว้ผู้อื่นก็ย่อมได้ไหว้ตอบ และย่อมถึงยศและเกียรติ

    ๗. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคลผู้นั้นย่อมรุ่งเรืองดุจกองเพลิง ย่อมไพโรจน์ดุจเทวดา มีสิริประจำตัว

    ๘. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร โคทั้งหลายของบุคคลผู้นั้นย่อมเกิด พืชที่หว่านไว้ในนาย่อมงอกงาม บุคคลผู้นั้นย่อมได้บริโภคผลของพืชที่หว่านไว้

    ๙. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคลผู้นั้นตกเหว ตกภูเขา หรือตกต้นไม้ ย่อมได้ที่พึ่งอาศัยไม่เป็นอันตราย

    ๑๐. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร เหล่าอมิตรย่อมย่ำยีบุคคลผู้นั้นไม่ได้ ดุจต้นไทรมีรากและ ย่านงอกงาม พายุไม่อาจพัดพานให้ล้มได้ ฉะนั้น

     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    สุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น แม้พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมด้วยคาถามีประมาณเท่านี้ ก็ยังจำพระองค์ไม่ได้ แต่ก็หยุดขุดหลุมด้วยคิดว่า คนนี้ใครหนอ แล้วลุกขึ้นเดินไปใกล้รถ ไม่เห็นพระมหาสัตว์และห่อเครื่องประดับทั้งสองอย่าง จึงกลับมาแลดูพระองค์ ก็จำพระองค์ได้ จึงหมอบลงแทบพระบาทแห่งพระมหาสัตว์ ประคองอัญชลีทูลวิงวอนกล่าวว่า

    ข้าแต่พระราชโอรส เชิญเสด็จเถิด เกล้ากระหม่อมจักนำพระองค์เสด็จกลับยังพระราชมณเฑียร เชิญพระองค์เสวยราชสมบัติ พระองค์จงทรงพระเจริญ จะทรงหาประโยชน์อะไรอยู่ในป่าเล่า

    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงตรัสกะนายสารถีว่า

    ดูกรนายสารถี เราไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ พระประยูรญาติ หรือทรัพย์สมบัติที่เราจะพึงได้ด้วยการประพฤติธรรม

    นายสารถีกราบทูลว่า

    ข้าแต่พระราชโอรส ก็ถ้าพระองค์เสด็จกลับไปครองราชสมบัติแล้ว พระชนกและพระชนนีพึงพระราชทานรางวัลแก่เกล้ากระหม่อม เหล่าพวกนางสนม พวกกุมาร พ่อค้า และพวกพราหมณ์ กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบ จะพึงดีใจ ให้รางวัลแก่เกล้ากระหม่อม เหล่าพวกชาวชนบท และชาวนิคม ผู้มีธัญญาหารมากมาย จะมาประชุมกันให้เครื่องบรรณาการแก่เกล้ากระหม่อม

    พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า

    เราเป็นผู้อันพระชนกและพระชนนี ชาวแว่นแคว้น ชาวนิคม และกุมารทั้งปวงสละแล้ว เราไม่มีเรือนของตน แน่ะนายสารถีเพื่อนรัก เราชื่อว่าอันพระชนนีผู้รับพรกำหนดให้ครองราชสมบัติ ๗ วัน ทรงอนุญาตแล้ว และพระชนกก็สละแล้ว เราจักอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ไม่พึงปรารถนากามทั้งหลาย เราจะบวช

    เมื่อพระมหาสัตว์ตรัสคุณธรรมของพระองค์อยู่อย่างนี้ พระปีติได้เกิดขึ้นแล้ว แต่นั้น เมื่อทรงเปล่งพระอุทานด้วยกำลังพระปีติ จึงตรัสว่า

    ความปรารถนาผลของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน แม้จะยาวนานถึงสิบหกปี ย่อมสำเร็จแน่นอน บัดนี้ความปรารถนาของเราสำเร็จแล้ว ดูกรนายสารถี ท่านจงรู้อย่างนี้ ประโยชน์โดยชอบของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จโดยแท้ เราเป็นผู้มีพรหมจรรย์อันสำเร็จแล้ว เราออกบวชแล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ

    นายสารถีกราบทูลว่า

    พระองค์เป็นผู้มีพระวาจาอันไพเราะ สละสลวยอย่างนี้ เพราะเหตุไรพระองค์จึงไม่ตรัสเช่นนี้กับพระชนกและพระชนนีในกาลก่อนนั้นเล่า พระเจ้าข้า

    แต่นั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า

    เราเป็นคนง่อยเปลี้ยเพราะไม่มีเครื่องต่อก็หาไม่ เป็นคนหนวกเพราะไม่มีช่องหูก็หาไม่ เป็นคนใบ้เพราะไม่มีลิ้นก็หาไม่ ท่านอย่าเข้าใจว่าเราเป็นใบ้ แต่เนื่องเพราะเราระลึกชาติก่อนนั้น อันเป็นชาติที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้นยี่สิบปีแล้ว จากนั้นเราต้องไปตกนรกหมกไหม้อยู่ ๘๐,๐๐๐ ปี เรากลัวจะต้องเสวยราชสมบัตินั้นอีก จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าได้อภิเษกเราในราชสมบัติเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่พูดในสำนักของพระชนก และพระชนนีในกาลนั้น

    พระชนกทรงอุ้มเราให้นั่งบนพระเพลา แล้วตรัสสั่งข้อความว่า จงฆ่าโจรคนหนึ่ง จงขังโจรคนหนึ่งไว้ในเรือนจำ จงเอาหอกแทงโจรคนหนึ่ง แล้วราดด้วยน้ำแสบที่แผล จงเสียบโจรคนหนึ่งบนหลาว พระชนกตรัสสั่งข้อความแก่มหาชนด้วยประการดังนี้ เราได้ฟังพระวาจาอันร้ายกาจที่พระชนกตรัสนั้น จึงกลัวต่อการเสวยราชสมบัติ เรามิได้เป็นใบ้ ก็ทำเหมือนเป็นใบ้ มิได้เป็นคนง่อยเปลี้ย ก็ทำเหมือนเป็นคนง่อยเปลี้ย เราแกล้งนอนเกลือกกลิ้งอยู่ในอุจจาระปัสสาวะของตน

    ชีวิตเป็นของฝืดเคือง เป็นของน้อย ทั้งประกอบไปด้วยทุกข์ คนทั้งหลายเมื่อมีชีวิตอยู่ก็จักก่อเวรกับใครๆ เพราะไม่ได้ปัญญา และเพราะไม่เห็นธรรม

    ความหวังผลของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จแน่นอน เราเป็นผู้มีพรหมจรรย์อันสำเร็จแล้ว ดูกรนายสารถี ท่านจงรู้อย่างนี้ ประโยชน์โดยชอบของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จโดยแท้ เราเป็นผู้มีพรหมจรรย์อันสำเร็จแล้ว เราออกบวชแล้วเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ

    พระมหาสัตว์ได้ตรัสซ้ำอีก เพื่อประกาศความประสงค์ไม่เสด็จกลับไปพระนครเป็นมั่นคง

    สุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น คิดว่า พระกุมารนี้ทิ้งสิริราชสมบัติอันมหาศาลเช่นนี้เหมือนทิ้งซากศพ ไม่ละทิ้งความตั้งใจมั่นของพระองค์ สละตนเข้าป่าด้วยหวังว่าจักผนวช เราเองเล่าจะต้องการอะไรด้วยชีวิตอันไม่สมประกอบนี้ แม้เราก็จักบวชกับด้วยพระกุมารนั้น คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า

    ข้าแต่พระราชโอรส แม้เกล้ากระหม่อม ก็จักบวชในสำนักของพระองค์ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอนุญาตให้เกล้ากระหม่อมบวชด้วยเถิด ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ เกล้ากระหม่อมก็ชอบบวช

    แม้นายสารถีทูลวิงวอนอย่างนี้ พระมหาสัตว์ทรงพระดำริว่า หากเราให้นายสารถีบวชในบัดนี้ทีเดียว พระชนกพระชนนีของเราก็จักไม่เสด็จมาในที่นี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเสื่อมจักมีแก่พระชนกและพระชนนีทั้งสอง ม้า รถและเครื่องประดับเหล่านี้ก็จักพินาศ แม้ความครหาก็จักเกิดขึ้นแก่เราว่า นายสารถีนั้นถูกพระราชกุมารผู้เป็นยักษ์กินเสียแล้ว ทรงพิจารณาเพื่อจะเปลื้องความครหาของพระองค์ และพิจารณาถึงความเจริญแห่งพระชนกและพระชนนี เมื่อทรงแสดงม้ารถและเครื่องประดับ ทำให้เป็นหนี้ของนายสารถีนั้น จึงตรัสว่า

    ดูกรนายสารถี รถนี้มิใช่ของท่าน ท่านจงไปมอบคืนรถ แล้วเป็นผู้ไม่มีหนี้เถิด จริงอยู่การบรรพชาของบุคคลผู้ไม่มีหนี้ ท่านผู้แสวงหาทั้งหลายสรรเสริญ

    นายสารถีได้ฟังดังนั้น คิดว่า เมื่อเราไปสู่พระนคร แล้วพระกุมารนี้แล้วเสด็จไปที่อื่น เมื่อพระราชบิดาได้ทรงสดับข่าวนี้ ก็จักมาหาและเมื่อมิได้ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารนี้ จะพึงลงราชทัณฑ์แก่เรา เพราะฉะนั้น เราจะกล่าวคุณของตนแก่พระกุมารนี้ จักถือเอาคำปฏิญญาเพื่อไม่เสด็จไปที่อื่น คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

    ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ เมื่อใด เกล้ากระหม่อมได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์แล้ว เมื่อนั้น ขอพระองค์ได้ทรงโปรดกระทำตามคำของเกล้ากระหม่อม ขอพระองค์จงประทับรออยู่ ณ ที่นี้จนกว่าเกล้ากระหม่อมจะเชิญเสด็จพระราชามา เมื่อพระชนกของพระองค์ทอดพระเนตรเห็นแล้ว จะพึงทรงมีพระปีติโสมนัสเป็นแน่

    แต่นั้น พระมหาสัตว์ ตรัสว่า

    ดูกรนายสารถี เราจะทำตามคำที่ท่านกล่าวกะเรา แม้เราก็ปรารถนาจะได้เห็นพระชนกของเราเสด็จมา ณ ที่นี้ เชิญท่านกลับไปเถิด ท่านได้ทูลพระประยูรญาติด้วยก็เป็นความดี ท่านเป็นผู้อันเราสั่งแล้ว พึงกราบทูลถวายบังคมพระชนนีและพระชนกของเรา

    ครั้นตรัสดังนี้แล้ว พระมหาสัตว์ได้น้อมพระองค์ดุจลำต้นกล้วยทองคำผินพระพักตร์ไปทางกรุงพาราณสี ถวายบังคมพระชนกและพระชนนี ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วได้ประทานข่าวสารแก่นายสารถี

    นายสารถีรับข่าวสารแล้วทำประทักษิณพระกุมาร ถวายบังคมแทบพระยุคลบาทของพระกุมาร ขึ้นรถแล้วขับตรงไปยังกรุงพาราณสี

    ในขณะนั้น พระนางจันทาเทวีเผยพระแกลคอยแลดูการมาของนายสารถี ด้วยใคร่จะทรงทราบความเป็นไปของพระราชโอรส ครั้นพอทอดพระเนตรเห็นนายสารถีกลับมาแต่ผู้เดียว ก็เป็นประหนึ่งพระหฤทัยจะแตกทำลายไป ทรงกรรแสง มีพระเนตรชุ่มด้วยน้ำอัสสุชล ทอดพระเนตรดูนายสารถีนั้นอยู่ ทรงเข้าพระทัยว่านายสารถีฝังลูกของเราเสร็จแล้วกลับมา ลูกของเราอันนายสารถีฝังในแผ่นดิน ถมแผ่นดินแล้วเป็นแน่ ศัตรูทั้งหลายย่อมพากันยินดี คนมีเวรทั้งหลายย่อมพากันอิ่มใจแน่แท้

    พระราชชนนี ตรัสถามนายสารถีระร่ำระรักว่า ลูกของเราเป็นใบ้หรือ เป็นง่อยเปลี้ยจริงหรือ ลูกของเราขณะเมื่อท่านจะฝังในแผ่นดิน พูดอะไรบ้างหรือเปล่า ดูกรนายสารถี ขอได้บอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด ลูกของเราเป็นใบ้ ง่อยเปลี้ย เมื่อท่านจะฝังลงแผ่นดิน กระดิกมือและเท้าอย่างไร ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา

    ลำดับนั้น นายสุนันทสารถี นั้นคิดว่า ถ้าเราจะกราบทูลว่า พระโอรสของพระองค์ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย ไม่เป็นหนวก มีพระดำรัสไพเราะ เป็นธรรมกถึก ดังนี้ พระราชาจะพึงมีพระดำริว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุไร ท่านจึงไม่พาลูกของเรานั้นมา พึงกริ้วสั่งลงพระราชอาญาแก่เราแน่เราต้องขอพระทานอภัยเสียก่อน จึงกราบทูลพระนางว่า

    ขอเดชะพระแม่เจ้า ขอได้โปรดพระราชทานอภัยแก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลตามที่ได้ยินและได้เห็นมา ในสำนักพระราชโอรส

    ดูกรนายสารถีผู้สหาย เราให้อภัยแก่ท่าน อย่ากลัวเลย จงพูดไปเถิดตามที่ท่านได้ฟัง หรือได้เห็นมาในสำนักพระราชโอรส

    แต่นั้นนายสารถีกราบทูลว่า

    พระราชโอรสนั้น มิได้ทรงเป็นใบ้ มิได้เป็นง่อยเปลี้ย มีพระวาจาสละสลวย ทราบว่า พระองค์ทรงกลัวต่อการครองราชสมบัติ จึงได้ทรงกระทำการลวงเป็นอันมาก พระองค์ทรงระลึกถึงชาติก่อนที่พระองค์ได้เสวยราชสมบัติได้ พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้นแล้ว ต้องไปตกนรกอันกล้าแข็ง พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี แล้วต้องหมกไหม้อยู่ในนรก ๘๐๐๐๐ ปี พระองค์ทรงกลัวจะต้องเสวยราชสมบัตินั้น จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าอภิเษกเราในราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสในราชสำนัก ของพระชนกและพระชนนีในกาลนั้น พระราชโอรสทรงสมบูรณ์ด้วยอังคาพยพ มีพระรูปสมบัติงดงามสมส่วน มีพระวาจาสละสลวย มีพระปัญญาเฉียบแหลม ทรงสถิตอยู่ในทางสวรรค์ ถ้าพระแม่เจ้าทรงปรารถนาพระราชโอรสของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลเชิญเสด็จพระแม่เจ้าเสด็จไปให้ถึงสถานที่ ซึ่งพระเตมีย์ราชโอรสประทับอยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า
    ฝ่ายเตมิยกุมารครั้นส่งนายสารถีไปแล้ว ใคร่จะทรงผนวช ครั้งนั้นท้าวสักกเทวราชทรงทราบพระหฤทัยของพระกุมารนั้น จึงตรัสสั่งพระวิสสุกรรมเทพบุตรว่า พ่อวิสสุกรรม พระเตมิยกุมารใคร่จะทรงผนวช ท่านจงไปสร้างบรรณศาลาและเครื่องบริขารแห่งบรรพชิตแก่พระกุมารนั้น

    วิสสุกรรมเทพบุตรรับเทวโองการแล้วลงจากสวรรค์ เนรมิตอาศรมขึ้นในราวป่าสามโยชน์ เนรมิตที่พักกลางคืนและกลางวัน และสระโบกขรณี ทำสถานที่นั้นให้สมบูรณ์ด้วยต้นไม้มีผลไม่จำกัดกาล เนรมิตที่จงกรมประมาณ ๒๔ ศอกในที่ใกล้บรรณศาลา เกลี่ยทรายมีสีดังแก้วผลึกภายในที่จงกรม และเนรมิตเครื่องบริขาร สำหรับบรรพชิตทุกอย่าง แล้วเขียนอักษรบอกไว้ที่ฝาว่า กุลบุตรผู้ใดใคร่จะบวชก็จงถือเอาเครื่องบริขารสำหรับบรรพชิตเหล่านี้บวชเถิด แล้วให้เนื้อและนก ใกล้อาศรมหนีไป เสร็จแล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน

    ขณะนั้น พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นอาศรมบทนั้น ทรงอ่านหนังสือแล้วก็ทรงทราบว่า ท้าวสักกเทวราชประทานให้ จึงเสด็จเข้าบรรณศาลาเปลื้องภูษาของพระองค์ ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง ทรงห่มผ้านั้นผืนหนึ่งทำหนังเสือเฉวียงพระอังสา ทรงผูกมณฑลชฎา ยกคานเหนือพระอังสา ทรงถือธารพระกรเสด็จออกจากบรรณศาลา เมื่อจะให้สิริแห่งบรรพชิตเกิดขึ้นจึงเสด็จจงกรมกลับไปกลับมา ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า การบรรพชาที่เราได้แล้วเป็นสุข เป็นสุขยิ่งหนอ แล้วเสด็จเข้าบรรณศาลา ประทับนั่งบนที่ลาดด้วยใบไม้ยังอภิญญาห้าและสมาบัติแปดให้เกิด เสด็จออกจากบรรณศาลาในเวลาเย็นเก็บใบหมากเม่าที่เกิดอยู่ท้ายที่จงกรม นึ่งในภาชนะที่ท้าวสักกะประทานด้วยน้ำร้อนอันไม่มีรสเค็ม ไม่มีรสเปรี้ยว ไม่เผ็ด เสวย ดุจบริโภคอมฤตรส เจริญพรหมวิหารสี่สำเร็จอิริยาบถอยู่ในที่นั้น

    ฝ่ายพระเจ้ากาสิกราช ได้ทรงสดับคำของสุนันทสารถี จึงตรัสสั่งให้เรียกมหาเสนาคุต รีบร้อนใคร่ให้ทำการตระเตรียมเสด็จ ตรัสว่า

    เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเร่งเทียมรถ เทียมม้า ผูกเครื่องประดับช้าง เตรียมสังข์และบัณเฑาะว์ ตีกลองหุ้มหน้าเดียวและสองหน้าและรำมะนาอันไพเราะ เราจักไปให้โอวาทแก่บุตรของเรา ชาวนิคม สนมนารี กุมารกุมารี พ่อค้า พราหมณ์ชี กองช้าง กองม้า กองรถ กองบทจรเดินเท้า ชาวชนบท กุฎุมพี จงมาประชุมพร้อมเพรียงกัน ตรวจเตรียมพาหนะโดยเร็วพลัน ติดตามเรามาไปให้พร้อมกันในบัดนี้

    พระเจ้ากาสิกราชตรัสอย่างนี้ ด้วยมีพระราชประสงค์ว่า เราจะไปเพื่อกล่าวสอนเตมิยกุมาร ให้เชื่อถือคำของเรา แล้วอภิเษก ณ ที่นั้นแหละ

    นายสารถีทั้งหลาย ที่พระราชาตรัสสั่งอย่างนี้แล้ว ก็เทียมม้าจอดรถไว้แทบประตูพระราชวัง แล้วกราบทูลให้ทรงทราบ

    แต่นั้น พระราชาตรัสว่า

    ม้าอ้วนไม่มีความว่องไว ม้าผอมไม่มีเรี่ยวแรง จงเว้นม้าผอมและม้าอ้วนเสีย เลือกเทียมแต่ม้าที่สมบูรณ์

    ลำดับนั้น พระราชาตรัสสั่งให้ประชุมวรรณะ ๔ เสนี ๑๘ และพลนิกายทั้งหมด ประชุมอยู่สามวัน ในวันที่สี่ พระเจ้ากาสิกราชเสด็จออกจากพระนครพร้อมด้วยเสนา ให้ตระเตรียมเครื่องปัญจราชกกุธภัณฑ์ คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์ เศวตฉัตร และฉลองพระบาททองไปด้วย เสด็จถึงอาศรมแห่งเตมิยราชฤๅษี ทรงยินดีกับพระราชฤๅษีผู้เป็นราชโอรส ทรงทำปฏิสันถารแล้ว

    ส่วนพระเตมีย์ราชฤๅษี ทอดพระเนตรเห็นพระชนกนาถกำลังเสด็จมาด้วยพระเดชานุภาพ ทรงแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ จึงถวายพระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ทรงปราศจากพระโรคาพาธหรือ ทรงพระสำราญดีหรือ ราชกัญญาทั้งปวง และโยมพระมารดาของอาตมภาพไม่มีพระโรคพาธหรือ

    พระราชาตรัสตอบว่า

    ดูกรพระลูกรัก บิดาไม่มีโรคาพาธ สุขสำราญดี พระราชกัญญาทั้งปวงและโยมพระมารดาของพระลูกรักไม่มีโรคาพาธ

    ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทูลถามพระราชาว่า

    ขอถวายพระพร มหาบพิตรไม่เสวยน้ำจัณฑ์ หรือ ไม่ทรงโปรดปรานน้ำจัณฑ์หรือ พระหฤทัยของมหาบพิตรทรงยินดีในสัจจะ ในธรรมและในทานหรือ

    ลำดับนั้น พระราชาตรัสตอบว่า

    ดูกรพระลูกรัก บิดาไม่ดื่มน้ำจัณฑ์ ไม่โปรดปรานน้ำจัณฑ์ ใจของบิดายินดีในสัจจะ ในธรรมและในทาน

    พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

    ขอถวายพระพร พาหนะมีม้าเป็นต้นของมหาบพิตรที่เขาเทียมแล้วไม่มีโรคหรือ นำอะไรๆ ไปได้หรือ มหาบพิตรไม่มีพยาธิที่เข้าไปแผดเผาพระสรีระแลหรือ

    พระราชาตรัสตอบว่า

    ดูกรพระลูกรัก พาหนะมีม้าเป็นต้นของบิดาที่เทียมแล้ว ไม่มีโรค นำอะไรๆ ไปได้ บิดาไม่มีพยาธิเข้าไปแผดเผาสรีระ

    พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

    ขอถวายพระพร ปัจจันตชนบทของมหาบพิตรยังเจริญดีอยู่หรือ คามนิคมในท่ามกลางรัฐสีมาของมหาบพิตรยังแน่นหนาดีหรือ ฉางหลวงและท้องพระคลังของมหาบพิตรยังบริบูรณ์ดีอยู่หรือ

    พระราชาตรัสตอบว่า

    ดูกรพระลูกรัก ปัจจันตชนบทของบิดายังเจริญดีอยู่ คามนิคมในท่ามกลางรัฐสีมาของบิดายังแน่นหนาดี ฉางหลวงและท้องพระคลังของบิดาทั้งหมดยังบริบูรณ์ดี

    พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

    ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จมาดีแล้ว มหาบพิตรเสด็จไม่ร้าย ขอราชบุรุษทั้งหลายจงจัดตั้งบัลลังก์ถวายให้พระราชาประทับเถิด

    พระราชาไม่ประทับนั่งบนบัลลังก์ด้วยความเคารพพระมหาสัตว์

    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า ถ้าพระราชาไม่ประทับนั่งบนบัลลังก์ท่านทั้งหลายจงปูลาดเครื่องปูลาดใบไม้ให้ทีเถิด เมื่อทรงเชื้อเชิญพระราชาให้ประทับนั่งบนเครื่องปูลาดที่ปูลาดไว้นั้น ตรัสว่า

    ขอเชิญประทับนั่ง ณ เครื่องลาดใบไม้ที่เขาปูลาดไว้ถวายมหาบพิตร ณ ที่นี้ จงทรงตักน้ำจากภาชนะนี้ล้างพระบาทของมหาบพิตรเถิด

    ด้วยความเคารพต่อพระมหาสัตว์ พระราชาก็มิได้ประทับนั่งบนเครื่องปูลาดใบไม้ แต่กลับประทับนั่ง ณ พื้นดิน พระมหาสัตว์เสด็จเข้าบรรณศาลา นำใบหมากเม่านั้นออกมา แล้วเชิญพระราชาให้เสวย โดยตรัสว่า

    ขอถวายพระพร ใบหมากเม่าของอาตมภาพนี้เป็นของสุก (นึ่งแล้ว) ไม่มีรสเค็ม มหาบพิตรผู้เป็นแขกของอาตมภาพเสด็จมาถึงแล้วเชิญเสวยเถิด ขอถวายพระพร

    ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะพระมหาสัตว์ว่า

    บิดาไม่บริโภคใบหมากเม่า ใบหมากเม่านี้ไม่ใช่อาหารสำหรับบิดา บิดาบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ซึ่งปรุงด้วยมังสะอันสะอาด

    แต่ด้วยทรงเคารพในพระมหาสัตว์ ครั้นเมื่อตรัสแล้วก็ทรงหยิบใบหมากเม่าหน่อยหนึ่ง วางไว้ในฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสถามว่า พ่อเสวยโภชนะอย่างนี้ดอกหรือ พระมหาสัตว์ทูลรับว่า ใช่ มหาบพิตร พระราชาประทับนั่งรับสั่งพระวาจาเป็นที่รักกับพระโอรส

    ขณะนั้น พระนางจันทาเทวีแวดล้อมไปด้วยหมู่นางสนมเสด็จมา ทรงจับพระบาททั้งสองของพระปิโยรส ทรงไหว้แล้วกันแสง มีพระเนตรทั้งสองนองไปด้วยพระอัสสุชล ประทับนั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะพระนางว่า ที่รัก เธอจงดูโภชนาหารของลูกเธอ แล้วทรงหยิบใบหมากเม่าหน่อยหนึ่งวางในพระหัตถ์ของพระนาง แล้วประทานแก่นางสนมอื่น ๆ คนละหน่อย นางสนมทั้งปวงเหล่านั้นกล่าวว่า พระองค์เสวยโภชนะเช่นนี้หรือพระเจ้าข้า แล้วรับใบหมากเม่านั้นมาวางไว้บนศีรษะของตน ๆ กล่าวว่า พระองค์ทำสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง พระเจ้าข้า แล้วถวายนมัสการนั่งอยู่ ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะพระมหาสัตว์ว่า ลูกรัก เรื่องนี้ปรากฏเป็นอัศจรรย์แก่ดีฉัน แล้วตรัสว่า

    ความอัศจรรย์ปรากฏแก่บิดา เพราะได้เห็นพระลูกรักอยู่ในที่ลับแต่ผู้เดียว แล้วพระราชาตรัสถามพระมหาสัตว์ว่าผู้บริโภคโภชนะไม่มีรสเค็ม ไม่เปรี้ยว ไม่มีการปรุงรส ผสมน้ำ เช่นนี้เหตุไรจึงมีผิวพรรณผ่องใส
     

แชร์หน้านี้

Loading...