การสังคายนาพระไตรปิฏก 11 ครั้ง และที่ประเทศไทย

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 3 กรกฎาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    สังคายนา หมายถึง การร้อยกรอง หรือรวบรวมพระธรรมวินัย อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ ให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน มีระบบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีการประชุมสงฆ์ดำเนินการรวบรวมจัดหมวดหมู่ จัดระบบให้เป็นที่เรียบร้อย แล้วมีการสวดซักซ้อมหรือสวดพร้อมกันและเป็นแบบเดียวกัน เป็นการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์แห่งพระธรรมวินัย และลงมติรับรองกันไว้เป็นหลักฐานสำคัญ แล้วมีการท่องจำ จดจำ หรือจารึกไว้สืบต่อมา

    การสังคายนาครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 4 ควรนับได้ว่าเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกในรูปแบบ พระไตรปิฎกมุขปาฐะ (สวดหรือนำสืบต่อกันมาด้วยปาก) การสังคายนาต่อจากนั้นมาเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกในรูปแบบ พระไตรปิฎกลายลักษณ์อักษร

    การสังคายนาครั้งที่ 6-7 รวม 2 ครั้งนี้ เป็นการสังคายนาพระธรรมวินัยโดยการแปลและเรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา

    ************************************************************************

    สาเหตุแห่งการสังคยานาพระไตรปิฎก
    ความคิดที่จะให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยนั้น ได้มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ได้ประทานพระพุทธโอวาทแนะนำไว้ กล่าวคือ

    เมื่อนิครนถนาฏบุตร ผู้เป็นอาจารย์เจ้าลัทธิเชนสิ้นชีพ พวกสาวกของเจ้าลัทธินี้ได้เกิดแตกสามัคคีกัน ครั้งนั้น พระจุนทเถระผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระได้ทราบเรื่องนั้นแล้ว มีความห่วงใยในพระพุทธศาสนา เกรงเหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา จึงไปพบพระอานนท์เถระเล่าความนั้นให้ฟัง พระอานนท์เถระจึงได้ชวนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระจุนทเถระกราบทูลเล่าเรื่องนั้นถวายให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ได้ประทานพระพุทธโอวาทเป็นอันมากแก่พระจุนทเถระ ที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ที่สาวกของนิครนถนาฏบุตรแตกสามัคคีกันนั้น เพราะคำสอนของเจ้าลัทธินั้นไม่สมบูรณ์และมีความสับสน ทั้งพวกสาวกก็ไม่ปฏิบัติตามคำสอน แล้วทรงแนะนำให้รวบรวมพระพุทธวจนะ ให้ทำการสังคายนาไว้เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป

    พระสารีบุตรเถระก็ได้แนะนำพระภิกษุสงฆ์ให้ช่วยกันรวบรวมพระพุทธวจนะ หรือทำการสังคายนาพระธรรมวินัยไว้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ

    เมื่อนิครนถนาฏบุตรสิ้นชีพ และพวกสาวกเกิดแตกความสามัคคีกันดังกล่าวแล้วนั้น ตอนค่ำวันหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุสงฆ์ที่เข้าเฝ้า จบแล้วทรงเห็นว่าภิกษุสงฆ์ยังประสงค์จะฟังธรรมต่อไปอีก จึงทรงมอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแทน ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระได้แสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์ ได้แนะนำให้ช่วยกันรวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยไว้ โดยแสดงตัวอย่างการจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นหมวดๆ ตั้งแต่หมวด 1 ถึงหมวด 10 ว่าธรรมะอะไรบ้างอยู่ในหมวดนั้นๆ หัวข้อเรื่องที่พระสารีบุตรเถระแสดงในครั้งนั้น เรียกว่า สังคิติสูตร อันแปลว่า สูตรว่าด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัย ซึ่งแนวคิดและข้อแนะนำรับรองว่าถูกต้อง

    ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า การจัดสังคายนาพระธรรมวินัย หรือการสังคายนาพระไตรปิฎกนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ผู้เป็นพุทธสาวกที่สำคัญรูปหนึ่ง คือพระจุนทเถระ มีความห่วงใยต่ออนาคตแห่งพระพุทธศาสนา พระเถระรูปนี้หวั่นเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อพระพุทธศาสนาในอนาคต จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และกราบทูลเรื่องราวที่เกิดขึ้นในลัทธิเชน เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันขึ้นในพระพุทธศาสนา ดังกล่าวแล้ว

    ด้วยเหตุดังกล่าวมา พระสงฆ์พุทธสาวกผู้เป็นศาสนทายาท เมื่อปรารภเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา ก็ได้พร้อมกันปกป้องพระพุทธศาสนาไว้ แก้ไขให้พ้นภัยตลอดมา วิธีการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาที่สำคัญวิธีหนึ่งก็คือ การสังคายนาพระธรรมวินัย หรือการสังคายพระไตรปิฎก ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาโดยลำดับตามควรแก่เหตุการณ์และกาลเวลา

     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    การสังคยานา ครั้งที่ 1

    มูลเหตุ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานได้ 7 วัน พระมหากัสสปเถระอยู่ที่เมืองปาวา ยังไม่ทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน จึงพาพระสงฆ์จำนวน 500 รูป เดินทางออกจากเมืองปาวาด้วยประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองกุสินารา ในระหว่างเดินทางนั้นเอง ก็ได้ทราบข่าวการเสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์จากอาชีวก (นักบวชนิกายหนึ่ง) คนหนึ่ง ซึ่งเดินทางมาจากเมืองกุสินารา พระสงฆ์ทั้งมวลซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นหัวหน้า เมื่อได้ทราบข่าวนั้นแล้ว ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ต่างก็มีความสลดใจ ผู้ที่เป็นปุถุชนอยู่ก็เศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้คร่ำครวญ รำพึงรำพันกันไปต่างๆนานา แต่พระภิกษุสุภัททะมิได้เป็นเช่นนั้น และได้ห้ามพระภิกษุเหล่านั้นมิให้เสียใจ มิให้ร้องไห้ โดยกล่าวชี้นำว่า ที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพานนั้นเป็นการดีแล้ว ต่อนี้ไปจะทำอะไรได้ตามใจ ไม่มีใครคอยมาชี้ว่าผิดนี่ ถูกนี่ ควรนี่ ไม่ควรนี่ ต่อไปอีก พระมหากัสสปเถระได้ฟังคำกล่าวจ้วงจาบเช่นนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ ภายหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จสิ้นแล้ว ได้มีการประชุมสงฆ์ พระมหากัสสปเถระซึ่งเป็นผู้มีอายุพรรษามากกว่าพระสงฆ์ทุกรูป ได้รับเลือกให้เป็นประธานสงฆ์ มีฐานะเป็นสังฆปริณายก (ผู้นำคณะสงฆ์) บริหารการคณะสงฆ์ตามพระธรรมวินัย ท่านจึงได้นำเรื่องที่ภิกษุสุภัททะกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัยนั้นเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ ชวนให้ทำการสังคายนาพระธรรมวินัย และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม ต่อจากนั้นมา 3 เดือน ก็ได้มีการประชุมทำสังคายนาครั้งที่ 1​

    สถานที่ ถ้ำสัตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ชมพูทวีป

    องค์อุปถัมภ์ พระเจ้าอชาตศัตรู

    การจัดการ พระมหากัสสปเถระได้รับเลือกเป็นประธาน และเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย พระอุบาลีเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระอานนท์เถระเป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม มีพระอรหันต์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์ (สงฆ์ผู้เป็นคณะกรรมการทำสังคายนา) จำนวน 500 รูป

    ระยะเวลา 7 เดือน จึงสำเร็จ

    **********************************************************************************

    ครั้งที่ 2

    ในพ.ศ.100

    มูลเหตุ : พระยสะกากัณฑกบุตรได้ปรารภถึงข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการ ของพวกภิกษุวัชชีบุตร เช่นถือว่าเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์) เพื่อเอาไว้ฉันได้ ตะวันชายเกินเที่ยงไปแล้ว 2 นิ้วฉันอาหารได้ รับเงินทองไว้ใช้ได้ เป็นต้น พระยสะกากัณฑกบุตรเห็นว่า ข้อปฏิบัติย่อหย่อนดังกล่าวนี้ขัดกับพระวินัยพุทธบัญญัติ จึงได้ชักชวนพระเถระผู้ใหญ่ประชุมพิจารณาวินิจฉัย ทำการสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อความมั่นคงพระพุทธศาสนาสืบไป

    สถานที่ : วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ชมพูทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้ากาลาโศกราช

    การจัดการ : พระมหาเถระชื่อยสะกากัณฑกบุตรเป็นประธาน พระเรวตเถระเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย พระสัพพกามีเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถาม มีพระอรหันต์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์จำนวน 700 รูป

    ระยะเวลา : 8 เดือน จึงสำเร็จ

    *************************************************************************************************

    ครั้งที่ 3
    ในพ.ศ.235

    มูลเหตุ : พวกเดียรถีย์หรือพวกนักบวชในศาสนาอื่นมาปลอมบวชในพระพุทธศาสนา ด้วยเห็นแก่ลาภสักการะ และเพื่อบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา ได้แสดงลัทธิและความเห็นของตนว่า "เป็นพระพุทธศาสนา เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า" พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชให้มีการสอบสวน สะสาง กำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชประมาณ 60,000 รูป แล้วให้สละสมณเพศออกจากพระพุทธศาสนาได้สำเร็จ

    สถานที่ : อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ชมพูทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าอโศกมหาราช

    การจัดการ : พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน พระอรหันต์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

    ระยะเวลา : 9 เดือน จึงสำเร็จ

    การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งนี้ คงมีการซักถามพระธรรมวินัยและตอบข้อซักถามเช่นเดียวกับการสังคายนาครั้งก่อน แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่า พระเถระรูปใดทำหน้าที่ซักถาม รูปใดทำหน้าที่ตอบข้อซักถาม แต่ปรากฏว่า พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เสนอคำถาม 500 ข้อเพิ่มเข้าในคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมปิฎก เป็นการขยายความคัมภีร์นั้นให้พิสดารออกไปอีก ที่ประชุมสงฆ์ได้รับรองเป็นคำอธิบายที่ถูกต้องตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

    ผลการสังคายนาครั้งนี้ นอกจากจะได้กำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวช ให้ออกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ยังได้สอบทานพระธรรมวินัยให้ถูกต้อง และได้ตอบคำถาม 500 ข้อ คำตอบ 500 ข้อ เพิ่มเข้าในคัมภีร์กถาวัตถุด้วย เมื่อเสร็จการสังคายนาแล้วได้มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศรวม 9 สายด้วยกัน และส่งไปสายละ 5 รูป เพื่อจะได้ให้การอุปสมบทแก่ผู้เลื่อมใสได้ถูกต้องตามพระวินัย

    สายที่ 1 พระมัชฌันติกเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัศมีระและแคว้นคันธาระ

    สายที่ 2 พระมหาเทวเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหิสมณฑล และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี

    สายที่ 3 พระรักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาลีประเทศ

    สายที่ 4 พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา) พร้อมด้วยคณะ ได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบท

    สายที่ 5 พระมหาธรรมรักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์

    สายที่ 6 พระมหารักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศ

    สายที่ 7 พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือพระกัสสปโคตรเถระ พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระ และพระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย

    สายที่ 8 พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ

    สายที่ 9 พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือพระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ พระสัมพลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป

    ********************************************************************************************
    ครั้งที่ 4
    ในพ.ศ.238 หลังจากพระมหินทเถระและคณะออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลังกาทวีปประมาณ 3 ปี

    มูลเหตุ : พระมหินทเถระประสงค์จะให้พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากมั่นคงในลังกาทวีป เป็นการวางรากฐานให้พระสงฆ์ชาวลังกาท่องจำพระพุทธวจนะตามระบบการศึกษาพระปริยัติธรรมในเวลานั้น

    สถานที่ : ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป

    การจัดการ : พระมหินทเถระเป็นประธาน พระอริฏฐเถระเป็นผู้สวดทบทวนหรือตอบข้อซักถามด้านพระวินัย มีพระเถระรูปอื่นๆสวดทบทวนพระธรรม มีพระอรหันต์เข้าประชุมเป็นจำนวน 38 รูป พระเถระผู้จดจำพระไตรปิฎกอีกจำนวน 962 รูป

    ระยะเวลา : 10 เดือน จึงสำเร็จ

    ******************************************************************

    ครั้งที่ 5

    ในพ.ศ.433

    มูลเหตุ : ทางการคณะสงฆ์ชาวลังกาและทางราชการบ้านเมืองเห็นว่า พระธรรมวินัยหรือพระพุทธวจนะที่ได้สังคายนาไว้นั้น มีความสำคัญมาก นับเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา หากจะพิทักษ์รักษาธรรมวินัยให้ดำรงอยู่สืบไปด้วยวิธีการท่องจำดังที่เคยถือปฏิบัติกันมา ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะความจำของผู้บวชเรียนเสื่อมถอยลง ในการสังคายนาครั้งนี้ จึงได้ตกลงจารึกพระธรรมวินัยหรือพระพุทธวจนะ เป็นภาษามคธอักษรบาลีลงในใบลาน พร้อมทั้งคำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ซึ่งเดิมเป็นภาษามคธอักษรบาลี นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจารึกพระธรรมวินัยเป็นภาษามคธอักษรบาลีเป็นหลักฐาน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร พระไตรปิฎกลายลักษณ์อักษร จึงมีขึ้นเป็นฉบับแรกในพระพุทธศาสนา นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในลังกาทวีป

    สถานที่ : อาโลกเลนสถาน ณ มตเลชนบท ในลังกาทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย

    การจัดการ : พระรักขิตมหาเถระเป็นประธานและเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย พระติสสเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถาม มีพระสงฆ์ผู้เป็นองค์พระอรหันต์ และพระสงฆ์ปุถุชนเข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์ จำนวนกว่า 1,000 รูป

    ระยะเวลา : 1 ปี จึงสำเร็จ

    ********************************************************
    ครั้งที่ 6
    ในพ.ศ.956 ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย โดยการแปลและเรียบเรียงอรรถกถา (คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎก)

    มูลเหตุ : พระพุทธโฆสเถระ (หรือที่ไทยเรานิยมเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์) ซึ่งเป็นพระมหาเถระชาวชมพูทวีป ผู้เปรื่องปราดมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และนับเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลี เห็นว่าคัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกนั้นมีสมบูรณ์ บริบูรณ์ เป็นภาษาสิงหล อยู่ในลังกาทวีป ท่านจึงเดินทางไปลังกาทวีป ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้ามหานามเพื่อแปลและเรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ เพื่อจะได้เป็นตันติภาษา (ภาษาที่มีแบบแผน) สอดคล้องกับคัมภีร์พระไตรปิฎก และจะได้เป็นประโยชน์กว้างขวางต่อไป นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ในลังกาทวีป

    สถานที่ : โลหปราสาท เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้ามหานาม

    การจัดการ : พระพุทธโฆสเถระเป็นประธาน มีการแปลและเรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถาจากภาษาสิงหล เป็นภาษามคธอักษรบาลี

    ระยะเวลา : 1 ปี จึงสำเร็จ

    ****************************************************

    ครั้งที่ 7

    ในพ.ศ.1587

    มูลเหตุ : ทางการคณะสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน และทางราชการบ้านเมืองอันมีพระเจ้าปรักกมพาหุเป็นประมุข เห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งเรียกว่าปาลินั้น เป็นภาษามคธอักษรบาลี คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎกซึ่งเรียกว่าอรรถกถา ก็ได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษามคธ อันเป็นตันติภาษาสอดคล้องกับคัมภีร์พระไตรปิฎกแล้ว ส่วนคัมภีร์อธิบายอรรถกถาซึ่งเรียกว่า ฎีกา และคัมภีร์อธิบายฎีกาซึ่งเรียกว่า อนุฎีกา ยังมิได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษามคธ ยังเป็นภาษาสิงหลบ้าง เป็นภาษาสิงหลปะปนกับภาษามคธบ้าง ควรจะได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษามคธให้หมดสิ้น จึงได้ดำเนินการแปลและเรียบเรียงคัมภีร์ดังกล่าวเป็นภาษามคธ เป็นตันติภาษา (ภาษาที่มีแบบแผน) เช่นเดียวกับคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 4 ในลังกาทวีป

    สถานที่ : ลังกาทวีป (เข้าใจว่าที่โลหปราสาท เมืองอนุราธปุระ)

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าปรักกมพาหุ

    การจัดการ : พระมหากัสสปเถระเป็นประธาน พร้อมด้วยการกสงฆ์ (กรรมการเฉพาะกิจสงฆ์) จำนวนกว่า 1,000 รูป

    ระยะเวลา : 1 ปี จึงสำเร็จ

    กล่าวกันว่า หลังจากที่ได้มีการสังคายนาครั้งนี้แล้วไม่นาน พระเจ้าอนุรุทมหาราช กษัตริย์กรุงอริมัททนปุระ (พุกาม) แห่งประเทศพม่า ได้เสด็จไปลังกาทวีป และทรงจำลองคัมภีร์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา นำมาประดิษฐานไว้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศพม่า ต่อแต่นั้นมา บรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น ไทย เขมร ก็ได้ส่งพระสงฆ์และราชบัณฑิตไปจำลองคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา นำมาประดิษฐานไว้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศของตนบ้าง

    *************************************************************************

    ครั้งที่ 8

    ในพ.ศ.2020

    มูลเหตุ : พระธรรมทินมหาเถระผู้เปรื่องปราดแตกฉานในพระไตรปิฎก ได้พิจารณาเห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา ซึ่งมีอยู่ในเวลานั้นมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่มาก ด้วยการจำลองหรือคัดลอกกันต่อๆมาเป็นเวลาช้านาน จึงเข้าเฝ้าถวายพระพรขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าติโลกราช เมื่อได้รับการอุปถัมภ์แล้ว พระธรรมทินมหาเถระก็ได้เลือกพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกประชุมกันทำสังคายนา โดยการตรวจชำระพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา จารึกไว้ในใบลาน ด้วยอักษรธรรมของล้านนา นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 1 ในอาณาจักรล้านนาหรือประเทศไทยในปัจจุบัน

    สถานที่ : วัดโพธาราม ณ เมืองนพิสิกร คือ เมืองเชียงใหม่ ประเทศไทย

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าติโลกราช หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราช

    การจัดการ : พระธรรมทินมหาเถระเป็นประธาน พร้อมด้วยการกสงฆ์

    ระยะเวลา : 1 ปี จึงสำเร็จ

    ***************************************************************
    ครั้งที่ 9

    ในพ.ศ.2331
    มูลเหตุ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ทรงมีพระราชศรัทธาปรารถนาจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป ได้ทรงทราบจากพระสงฆ์อันมีสมเด็จพระสังฆราชฯเป็นประธานว่า เวลานั้นพระไตรปิฎกมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนมาก แม้พระสงฆ์จะมีความประสงค์จะทำนุบำรุงให้สมบูรณ์ก็ไม่มีกำลังพอจะทำได้ พระองค์จึงได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งปวงให้รับภาระในเรื่องนี้ ดังนั้น พระสงฆ์อันมีสมเด็จพระสังฆราชฯเป็นประธาน จึงได้เริ่มทำการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎกพร้อมทั้งคัมภีร์ลัททาวิเสส (คัมภีร์ไวยากรณ์บาลี) และได้จารึกไว้ในใบลานด้วยอักษรขอม ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย

    สถานที่ : วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

    องค์อุปถัมภ์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

    การจัดการ : สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน มีพระสงฆ์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์จำนวน 218 รูป และมีราชบัณฑิตเป็นผู้ช่วยเหลือจำนวน 32 คน

    ระยะเวลา : 5 เดือน จึงสำเร็จ

    ************************************************

    ครั้งที่ 10

    ในพ.ศ.2431

    มูลเหตุ : ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ได้ 25 ปี ทรงปรารภจะบำเพ็ญพระมหากุศล ทรงเห็นว่าพระไตรปิฎกที่เขียนไว้ในใบลานไม่มั่นคง ทั้งจำนวนก็มากยากที่จะรักษา และเป็นตัวขอม ผู้ไม่รู้อ่านไม่เข้าใจ จึงมีพระราชศรัทธาให้พิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มแบบฝรั่งขึ้นใหม่ โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และพระเถรานุเถระทั้งหลายช่วยกันชำระ โดยคัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย แล้วชำระแก้ไขและพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ รวม 39 เล่ม เริ่มชำระและพิมพ์ตั้งแต่พ.ศ.2431 สำเร็จเมื่อพ.ศ.2436 จำนวน 1,000 ชุด นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทย นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ที่ทำในประเทศไทย

    สถานที่ : พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

    องค์อุปถัมภ์ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    การจัดการ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และสมเด็จพระสังฆราช (สาปุสฺสกาว) ครั้งยังเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นประธาน มีพระสงฆ์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์ จำนวน 110 รูป

    ระยะเวลา : 6 ปี จึงสำเร็จ

    ***********************************************************************

    ครั้งที่ 11

    <TABLE dir=ltr cellSpacing=5 cellPadding=5 border=0><TBODY><TR><TD>
    ในพ.ศ.2530


    มูลเหตุ : ในปีพ.ศ.2530 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบปีนักษัตร สมเด็จพระสังฆราชทรงดำริเห็นว่าพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนานั้น มีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่ อันเกิดจากความประมาทพลาดพลั้งในการคัดลอกและตีพิมพ์กันต่อๆมา เห็นควรทำการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจสอบชำระให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ และตีพิมพ์ขึ้นเป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปีพ.ศ.2530 จึงได้เจริญพรขอความอุปถัมภ์ไปยังรัฐบาลและถวายพระพรให้การสังคายนาครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อได้รับงบประมาณและพระบรมราชูปถัมภ์แล้ว จึงได้ดำเนินการสังคายนา เริ่มแต่ปีพ.ศ.2528 และเสร็จสิ้นลงเมื่อปีพ.ศ.2530 นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ทำในประเทศไทย

    สถานที่ : พระตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

    องค์อุปถัมภ์ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นองค์อุปถัมภ์ พร้อมด้วยรัฐบาล อันมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

    การจัดการ : สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถระ) เป็นประธาน

    ระยะเวลา : 2 ปี จึงสำเร็จ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ********************************************
     
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    สังคยานาในประเทศไทย


    ที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับการสังคายนาพระธรรมวินัยนั้น เป็นการสังคายนาครั้งสำคัญๆในพระพุทธศาสนา ซึ่งกระทำกันในประเทศที่พระพุทธศาสนาหยั่งรากมั่นคง คือ ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และไทย แท้ที่จริงนั้น การสังคายนาชำระพระไตรปิฎก การจารึกและการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทยได้กระทำกันหลายครั้งหลายหน ในหลายรัชกาล ต่อเนื่องกันตามวาระอันเป็นมงคลอย่างไม่ขาดตอน ซึ่งเรียงลำดับให้เห็นได้ดังต่อไปนี้

    ครั้งที่ 1 : เมื่อพ.ศ.2020 ในสมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งอาณาจักรล้านนาไทย ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 8 ในพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาแล้ว ในครั้งนั้น เมื่อทำการฉลองสมโภชแล้ว ก็โปรดให้สร้างมณเฑียรในวัดโพธาราม เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก

    ครั้งที่ 2 : เมื่อพ.ศ.2331 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 9 ในพระพุทธศาสนาที่ได้กล่าวมาแล้ว ในครั้งนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วโปรดให้ปิดทองแท่งทับทั้งปกหน้าหลังและกรอบทั้งสิ้น เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง

    ครั้งที่ 3 : เมื่อพ.ศ.2431 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระองค์ท่านเสวยสิริราชสมบัติครบ 25 ปี นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 10 ในพระพุทธศาสนา ซึ่งได้กล่าวในตอนต้นแล้ว

    ครั้งที่ 4 : เมื่อพ.ศ.2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เพราะพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ขึ้นในรัชกาลที่ 5 นั้น ชุดหนึ่งมีเพียง 39 เล่มเท่านั้น มีบางคัมภีร์ที่ยังไม่ได้พิมพ์ และบางคัมภีร์พิมพ์แล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์ ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้โปรดเกล้าฯให้กราบทูลอาราธนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานในการตรวจสอบทานชำระต้นฉบับที่ขาดหายไปเพิ่มอีก จากที่มีอยู่ 39 เล่ม ให้ครบ 45 เล่ม การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยจนจบบริบูรณ์ และได้ขนานนามพระไตรปิฎกชุดนี้ว่า พระไตรปิฎกสยามรัฐ มีตราช้างเป็นเครื่องหมาย พิมพ์จำนวน 1,500 ชุด จัดทำตั้งแต่พ.ศ.2468 ถึงพ.ศ.2473 จึงสำเร็จ เมื่อจัดพิมพ์เสร็จแล้ว ได้พระราชทานในพระราชอาณาจักร 200 ชุด พระราชทานนานาประเทศ 450 ชุด เหลืออีก 850 ชุด พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก

    ครั้งที่ 5 : เมื่อพ.ศ.2483 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ต่อกัน ได้มีการตรวจชำระและแปลพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยขึ้นเป็นฉบับภาษาไทยที่สมบูรณ์เป็นครั้งแรก เพราะพระไตรปิฎกฉบับก่อนที่ได้ทรงโปรดให้จัดสร้างขึ้นในรัชกาลก่อนๆนั้น เป็นภาษาขอมบ้าง เป็นภาษาบาลีอักษรไทยบ้าง ทั้งนี้ก็โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ได้ทรงปรารภว่า ประเทศไทยเราควรจะมีพระไตรปิฎกที่แปลเป็นภาษาไทยจนครบถ้วนบริบูรณ์สมกับเมืองพระพุทธศาสนา กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) และรัฐบาลในสมัยนั้นเห็นชอบด้วย จึงนำความกราบบังคมทูล และได้โปรดให้งานนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธาน โดยมอบให้กรมธรรมการ (ปัจจุบันคือกรมการศาสนา) เป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเพื่อเผยแผ่ต่อไป เริ่มดำเนินงานตั้งแต่พ.ศ.2483 ถึงพ.ศ.2500 และได้ขนานนามว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย จัดพิมพ์จำนวน 2,500 ชุด ชุดละ 80 เล่ม จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ

    ครั้งที่ 6 : เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2514 เนื่องในงานอันเป็นมงคลสมัยสำคัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชผู้ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระไตรปิฎกภาษาไทยมาแต่งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษนั้น ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาบรรจบครบ 25 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2514 พอดี ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษกถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ คณะกรรมการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเห็นสมควรทูลเกล้าฯ ถวายการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยครั้งนี้ในปีรัชดาภิเษกนี้ด้วย จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ใหม่ว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง พิมพ์ในปีฉลองรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พุทธศักราช 2514 โดยจัดพิมพ์ขึ้นจำนวน 2,000 ชุด ชุดละ 45 เล่ม เท่ากับจำนวนฉบับภาษาบาลีที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้

    ครั้งที่ 7 : ต่อมา กรมการศาสนาได้ทำโครงการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงเสนอกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2520 และกรรมการมหาเถรสมาคมได้พิจารณาเห็นชอบและมีมติให้ดำเนินการได้ กรมการศาสนาได้เริ่มดำเนินการจัดพิมพ์ตั้งแต่พ.ศ.2521 เสร็จสมบูรณ์ต้นปีพ.ศ.2522 และได้จัดพิมพ์จำนวน 2,000 ชุด ชุดละ 45 เล่ม และเรียกชื่อว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เหมือนเดิม

    ครั้งที่ 8 : โดยที่กรุงรัตนโกสินทร์ได้ดำรงมั่นคงมาครบ 200 ปี ในปีพ.ศ.2525 ทางคณะสงฆ์เห็นว่า พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา และได้เป็นมรดกตกทอดมาถึงบัดนี้ ก็โดยอาศัยพระบรมราชูปถัมภ์แห่งพระบรมมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ตลอดมา กรมการศาสนาจึงได้นำเรื่องเสนอกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2524 ที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคมลงมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินการจัดพิมพ์ได้ ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้จัดพิมพ์จำนวน 3,000 ชุด ชุดละ 45 เล่ม

    ครั้งที่ 9 : เมื่อพ.ศ.2530 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 11 ในพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
     
  4. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
  5. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


    จากวิริยะ สู่ปัญญา เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาคู่ชาติไทย

    เบญจวรรณ มนัสไพบูลย์ เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 2542 หน้า 2-16
    [​IMG]
    [​IMG]ในท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของปัญหาสังคม อันนำมาสู่ปัญหาชีวิต หรือจากปัญหาชีวิตนำไปสู่ปัญหาสังคมก็ตาม พระพุทธศาสนายังคงเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ ช่วยนำพาชีวิตผู้ทุกข์ ผู้เหนื่อย ผู้ร้อน อ่อนล้า ท้อถอย ไปสู่ความสว่างไสว สงบร่มเย็น จนกระทั่งมีความหลุดพ้นเป็นเป้าหมาย
    [​IMG]หลังจากพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ไม่ทรงตั้งผู้ใดเป็นศาสดา แต่ทรงให้ยึดพระธรรมคำสอนเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ พระอรหันต์สาวกได้รวบรวมพระธรรมคำสอน เรียกขานว่า พระไตรปิฎก สืบทอดกันมาด้วยวิธีบอกเล่าแบบมุขปาฐะ จนต่อมามีการจดจารจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และได้แพร่กระจายสู่ดินแดนที่มีพุทธศาสนิกชนเรื่อยมาจนปัจจุบัน พระไตรปิฎกถือเป็นตัวองค์ความรู้สำคัญที่เป็นรูปธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นที่รวมพุทธวจนะแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ให้เหมาะแก่การศึกษาตามพื้นฐานและสถานภาพของแต่ละบุคคล
    [​IMG]ปัจจุบันความเจริญทางด้านเทคโนโลยีได้ช่วยอำนวยประโยชน์ให้ผู้สนใจศึกษา มีวิธีการเข้าถึงตัวองค์ความรู้ได้หลายทาง ไม่ใช่เฉพาะสื่อการเขียนด้วยการจดจารจารึกบนใบลาน ซึ่งต่อมาขยายสู่สื่อการพิมพ์เป็นรูปเล่ม ยังรวมถึงพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์อีกด้วย อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะสื่อออกมาในรูปแบบใด และหน่วยงาน องค์กรไหนจะจัดพิมพ์ในวาระใด ๆ ก็ตาม ในวงการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยจำแนกพระไตรปิฎกภาษาบาลีขณะนี้ออกเป็น ๓ ฉบับสำคัญคือ
    [​IMG]๑.พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับสยามรัฐ จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือจำนวน ๔๕ เล่มในสมัยรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ พระไตรปิฎกฉบับนี้แปลเป็นภาษาไทยสำเร็จบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙
    [​IMG]๒.พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับสังคายนา ตรวจชำระและจัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีมีชื่อว่าพระไตรปิฎกฉบับไทยรัฐ ฉบับแปลเป็นภาษาไทยมีชื่อว่าพระไตรปิฎกฉบับสังคายนา
    [​IMG]๓.พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถระ : ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์) ในฐานะสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดให้มีการดำเนินการตรวจชำระพระไตรปิฎกในมหามงคลสมัยที่พระพุทธศาสนายั่งยืนสืบมาถึง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ จัดพิมพ์เป็นเล่มมาอย่างต่อเนื่องจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ ๔๕ เล่ม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนสนับสนุนในเบื้องต้นเป็นเงิน ๒๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อพระไตรปิฎกภาษาบาลีสำเร็จเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยตั้งแต่ปี ๒๕๓๖และโดยเฉพาะในศักราชอันเป็นมงคลแห่งการเฉลิมฉลองพระชนมายุ ๗๒ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปี ๒๕๔๒ นี้ พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่ประชาชนชาวไทยจะได้แน่วแน่ตั้งใจในการศึกษา และปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลต่อไป
    [​IMG]ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ และด้วยความสำคัญของพระไตรปิฎก อันเป็นหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา เมื่อมีการจัดทำพระไตรปิฎกภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงปรารภโอกาสพิเศษ ๒ ประการ คือ
    [​IMG]๑.เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี
    [​IMG]๒.เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ กล่าวได้ว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เกิดขึ้นในแผ่นดินไทยด้วยพระเกียรติคุณอันไพศาลของพระเจ้าแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทำหน้าที่ดำเนินการตามธรรมเนียมการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกแต่ครั้งโบราณกาล ที่สถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์มักจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ด้วยความอุปถัมภ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์และรัฐบาล
    [​IMG]หากนับย้อนเวลาจากวันนี้กลับไป ๕-๖ ปี หลังจากที่มีการสมโภชพระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (จัดทำ ๒๕๐๐ - ๒๕๓๕) ท่ามกลางความเบิกบานในธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ดำเนินการต่อเนื่องในงานพระศาสนา จัดให้มีการจัดทำพระไตรปิฎกภาษาไทยปรารภวโรกาสพิเศษดังกล่าว โดยมีจุดประสงค์สำคัญ ๕ ประการคือ
    [​IMG]๑.เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา
    [​IMG]๒.เพื่อให้เป็นคู่มือการศึกษาพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    [​IMG]๓.เพื่อให้เป็นคัมภีร์พุทธศาสตร์ที่จะได้ทำการวิเคราะห์ศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนาอันเป็นบริวาร ได้แก่อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา โยชนา และสัททาวิเสส
    [​IMG]๔.เพื่อเป็นแหล่งวิชาการทางพระพุทธศาสนา ที่พระภิกษุสามเณรจะค้นคว้าและนำไปประกาศศาสนธรรมให้ถูกต้องทั้งอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้เป็นหลักในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและการค้นคว้าของพุทธศาสนิกชนผู้สนใจทั่วไป และเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๕๓๙ เวียนมาถึงในระหว่างที่มีการจัดทำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงปรารภวาระสำคัญของแผ่นดินนี้เข้าในโครงการฯ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ได้กำหนดหลักการในการแปลไว้ดังต่อไปนี้ คือ
    [​IMG]๑.แปลโดยอรรถ ด้วยสำนวนภาษาไทยที่เห็นว่าจะเป็นที่เข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ หรือสามารถใช้ศึกษาพุทธธรรมด้วยตนเองได้ ให้ได้ความตรงกับความหมายและสาระสำคัญตามพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่ให้ผิดเพี้ยนทั้งอรรถและพยัญชนะ
    [​IMG]๒.เพื่อให้การแปลได้เป็นไปตามหลักการข้อ ๑ เมื่อจะแปลเรื่องใดหรือสูตรใดให้อ่านและศึกษาเรื่องนั้นให้ทั่วถึง ให้เข้าใจแจ่มแจ้งทั้งอรรถและพยัญชนะโดยตีความคำศัพท์ทั้งโดยอรรถและพยัญชนะตลอดถึงวิเคราะห์ดูความมุ่งหมาย ในการแสดงเรื่องหรือสูตรนั้น ๆ โดยทั่วถึงแล้วจึงแปลเป็นภาษาไทย
    [​IMG]๓.ในการตีความดังกล่าวในข้อ ๒ ให้ตรวจสอบกับคำอธิบายในคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ของพระไตรปิฎกเล่มและตอนนั้น ๆ ตลอดถึงคัมภีร์ศัพทศาสตร์และปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทั่วถึงและให้เทียบเคียงกับสำนวนพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาอังกฤษด้วย
    [​IMG]๔.คำศัพท์ที่เป็นหัวข้อธรรม เช่น อิทธิบาท ๔ หรือข้อธรรมย่อยอันเป็นรายละเอียดของหัวข้อธรรม เช่น ฉันทะ วิริยะ ให้แปลทับศัพท์ไว้แล้วเขียนคำแปลถอดความควบคู่กันไปไว้ภายในเครื่องหมายวงเล็บเล็ก เช่น อิทธิบาท (คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย)
    [​IMG]๕.ถ้าศัพท์ใดที่เป็นชื่อข้อธรรม หรือชื่อหัวข้อธรรมย่อยดังกล่าวแล้วในข้อ ๔ ปรากฏซ้ำซ้อนกันในเรื่องเดียวกันหรือสูตรเดียวกัน ให้แปลทับศัพท์ควบคู่กับแปลถอดความในวงเล็บเล็ก เฉพาะคำที่ปรากฏครั้งแรกเท่านั้น คำต่อมาให้แปลทับศัพท์อย่างเดียว
    [​IMG]๖.ให้รักษาเอกภาพการแปลไว้ อย่าให้มีความลักลั่นในการแปล กล่าวคือ เมื่อคำศัพท์อย่างเดียวกันมีปรากฏในที่หลายแห่งหรือหลายสูตร ถ้ามีความหมายอย่างเดียวกันให้แปลตรงกัน หรือเมื่อข้อธรรมอย่างเดียวกันมีปรากฏในหลายที่หลายแห่งถ้ามีนัยอย่างเดียวกัน ให้แปลให้ตรงกัน เช่น ข้อความจากพระวินัยปิฎกบ้าง หรือพระสุตตันตปิฎกบ้าง ที่นำมากล่าวอ้างอิงไว้ในพระอภิธรรม ให้แปลตรงกันทั้งสองปิฎก พร้อมทั้งทำเชิงอรรถบอกที่มาของข้อความหรือของสูตรนั้น ๆ ด้วย
    [​IMG]๗.ที่ใดมีข้อควรรู้เป็นพิเศษ หรือเป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยให้ทำเชิงอรรถแสดงความเห็นหรือเหตุผลในการวินิจฉัยไว้ด้วย เช่น พระบาลีที่กล่าวถึงพุทธธรรม โดยบอกเพียงจำนวนไม่ให้รายละเอียดไว้ เช่น สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ หรือมิได้บอกจำนวนและรายละเอียดไว้ให้ทำเชิงอรรถที่บอกที่มาของรายละเอียดนั้นด้วย เมื่อพบว่ามีจำนวนและรายละเอียด อนึ่ง ที่ใดมีคำศัพท์ที่แปลยาก อาจแปลได้หลายนัยหรือพบว่ามีมติในการตีความไว้หลายอย่าง เมื่อตัดสินแปลคำนั้นอย่างใดแล้ว ให้ทำเชิงอรรถแสดงมติและเหตุผลในการแปลนั้นไว้ด้วย
    [​IMG]๘.ในการแปล ให้ลงเลขวรรค เลขสูตร เลขข้อ และเลขเรื่องให้ตรงกับพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    [​IMG]๙.ให้มีคำนำ หรือคำปรารภ สารบัญเรื่อง และคัมภีร์ต่าง ๆ ทำนองเดียวกับพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีคณะบรรณาธิการคณะหนึ่งทำหน้าที่เขียนคำนำหรือคำปรารภ บทนำ อภิธานศัพท์และเชิงอรรถ
    [​IMG]นี้คือกรอบหรือตัวกำหนดมาตรฐานในการทำงาน ให้ดำเนินไปตามแนวนี้ ซึ่งนอกจากการคำนึงถึงเรื่องความถูกต้องแล้ว เรื่องภาษาที่จะให้คนทั่วไปอ่านเข้าใจได้ง่าย แต่การคงอรรถคงธรรมไว้ก็เป็นเกณฑ์สำคัญมากในการทำงาน ทั้งนี้เป็นพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้ใช้คำง่าย ๆ สำหรับคนทั้งหลายเข้าใจได้ แต่ขณะเดียวกันก็ให้รักษาตัวอรรถตัวธรรมไว้ คืออย่าให้ความง่ายมาทำให้คุณค่าของพระไตรปิฎกหมดไป ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ก็ได้ยึดพระราชกระแสนั้นมาเป็นกรอบในการแปล
    [​IMG]พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รูปปัจจุบัน ย้อนรำลึกถึงกระแสรับสั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งนำเสด็จ ทอดพระเนตรนิทรรศการในงานสมโภชพระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาบาลี บ่ายวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเมื่อเริ่มดำเนินการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้มีลิขิตขอเจริญพระราชศรัทธาอัญเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานโครงการ ซึ่งก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ รับเป็นองค์ประธานอุปถัมภ์โครงการ ทำให้โครงการนี้แม้เพียงเริ่มต้นก็เป็นไปอย่างแข็งขัน มีการประชุมเตรียมงาน และแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาสรุปหลักการและแนวการแปลพระไตรปิฎก เพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะสมที่สุด ต่อจากนั้นมีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการที่ปรึกษา กรรมการตรวจสำนวน และกรรมการแปล โดยมีพระเถระผู้ใหญ่เป็นประธานในแต่ละคณะ ซึ่งจะประกอบด้วยพระเถรานุเถระและศาสนบัณฑิตอีกจำนวนหนึ่งจนกระทั่งทุกอย่างพร้อม หน้าแรกของตำนานการจัดทำพระไตรปิฎกภาษาไทย ก็เปิดฉากขึ้นอย่างงดงาม
    [​IMG]บ่ายวันอังคารที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ซึ่งถือว่าเป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และมีความสำคัญคู่แผ่นดินมาโดยตลอด
    [​IMG]ท่ามกลางพระมหาเถรานุเถระจากหลากหลายสำนัก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา ที่ล้วนมีกุศลจิตที่จะทำงานสืบสานพระพุทธศาสนา ท่ามกลางความศักดิ์สิทธิ์ของพระอารามเก่าแก่แห่งนี้ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ได้กล่าววาจาสุภาษิตท่ามกลางสมาคมบัณฑิตว่า
    [​IMG]เป็นมหากุศลอย่างล้ำเลิศที่ผู้ใดผู้หนึ่งได้มีส่วนร่วมในการกระทำ ด้วยการเป็นผู้ดำเนินการแปลพระพุทธวจนะให้เป็นที่ถูกต้องเข้าใจ สามารถที่จะนำมาประพฤติ ปฏิบัติได้ หรือเป็นผู้อุปถัมภ์ด้วยการบริจาคทรัพย์ช่วยดำเนินงาน..งานแปลพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หากบรรลุเป้าหมาย ย่อมคาดได้ว่าจะเกิดประโยชน์ในการให้เกิดความเข้าใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วอย่างถูกต้อง และจะส่งเสริมความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในทำนองคลองธรรมด้วย เพราะหลักคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เป็นคำสอนตั้งแต่ชั้นสูงสุด นวโลกุตรธรรมจนถึงหลักการปกครองบ้านเมือง มีทศพิธราชธรรม ธรรมของพระราชา ราชสวัสดิธรรม ธรรมของข้าราชการ และคิหิปฏิบัติธรรมของชาวบ้านและบุคคลทั่วไป เหมาะสมแก่บุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะ ทุกเมื่อ [​IMG]และยิ่งเป็นความทรงจำล้ำค่า เมื่อวันสำคัญนั้น สมเด็จพุทธชินวงศ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) พระมหาเถระแห่งวัดเบญจมบพิตร บัณฑิตผู้มีเมตตาธรรมสูง ได้มาทำหน้าที่ประธานฝ่ายสงฆ์ และกล่าวสัมโมทนียกถา อันมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยึดเป็นโอวาทมาจนถึงวันนี้ที่พระไตรปิฎกภาษาไทยสำเร็จลุล่วง แม้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะได้มรณภาพไปแล้วก็ตาม
    [​IMG]จากปี ๒๕๓๖ ที่เตรียมงาน สู่ปี ๒๕๓๗ ที่ทุกอย่างเริ่มต้น ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ คณะกรรมการฯ ขึ้นทำงานที่ตำหนักสมเด็จ ภายในวัดมหาธาตุฯ พระเถระจากวัดต่าง ๆ เดินทางเข้าออกไม่เว้นแต่ละวัน ตำหนักสมเด็จกลับมีชีวิตชีวา และเต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ บรรยากาศทางวิชาการช่วยเสริมสร้างประวัติศาสตร์การแปลพระไตรปิฎกฉบับนี้ ให้ควรค่าแก่การจดจำ ด้วยความเป็นจริงที่ว่า ทุกชีวิต ณ ที่นั้น กำลังอุทิศสติปัญญาทำงานใหญ่ให้พระพุทธศาสนา ด้วยความวิริยะอุตสาหะมากมายนัก
    [​IMG]พระไตรปิฎก ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยากต่อความเข้าใจของคนทั่วไป บัดนี้ท่านผู้รู้ทั้งหลายได้พยายามทำเรื่องยากนั้นให้เข้าใจง่าย ด้วยการใช้ภาษาไทยของเราเอง ถ่ายทอดธรรมะอันมีค่าขององค์พระศาสดา เฉกเช่นอารยะประเทศที่กระทำกัน ดังที่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ได้ให้คติสำคัญไว้ตอนหนึ่งว่า
    [​IMG]เมื่อพระไตรปิฎกภาษามคธตกไปอยู่ในประเทศใด ๆ พระสงฆ์เถรานุเถระก็แปลความจากภาษามคธเป็นภาษาของชาวประเทศนั้น ๆ เพื่อให้คนในประเทศนั้น ๆ เข้าใจง่ายขึ้น
    [​IMG]ในลักษณะเดียวกันนี้ในประเทศไทย พระเถรานุเถระที่รับภาระพระพุทธศาสนา ได้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีจนมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คำแปลนั้น ๆ ที่อยู่ในภาษานั้น ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ ตามความเหมาะสมกับยุคสมัย กาลเวลา
    [​IMG]เพราะฉะนั้นเมื่อมหาจุฬาฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะแปลพระไตรปิฎกให้ได้สันทัดความในภาษาไทย เพื่อให้อ่านได้เข้าใจง่าย และเพื่อเฉลิมพระเกียรติในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ ๕ รอบ จึงขออนุโม (สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗)
    [​IMG]ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ที่ครั้งหนึ่งเมื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๒๖-๒๕๒๙) ได้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสังคายนาในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ (พ.ศ.๒๕๓๐) เมื่อได้ก้าวสู่ตำแหน่งสูงสุดในทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงต่อมา ก็ยังเห็นความสำคัญของงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับพระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ พระเมธีธรรมาภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเดินไปส่งที่รถว่า รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานพระศาสนาครั้งนี้
    [​IMG]เมื่อนำความกราบเรียนพระสุเมธาธิบดี องค์สภานายก และประกาศให้พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ พุทธศาสนิกชนที่ร่วมประชุมอยู่ภายในพระอุโบสถทราบก็มีเสียงอนุโมทนาสาธุการโดยถ้วนหน้า ยังความปีติแก่วงการพระพุทธศาสนาเป็นล้นพ้น
    [​IMG]หลังจากนั้นพระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) หรือขณะนี้เป็นที่ พระราช-รัตนโมลี ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี พร้อมด้วยพระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยในขณะนั้น ได้รับโอกาสเข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๗ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ได้ให้ความสำคัญแก่งานพระศาสนาครั้งนี้อย่างจริงจัง จนที่สุดแล้วสำนักงบประมาณได้อนุมัติให้กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการใช้จ่ายเงินงบกลาง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๓๗ รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน ๒,๑๒๗,๒๕๐ บาท ในการสนับสนุนการจัดทำพระไตรปิฎกภาษาไทยของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เบิกจ่ายในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นเบื้องต้น และได้มีการตั้งงบและอนุมัติเงินเพื่อการนี้ต่อเนื่องมา จนพระไตรปิฎกสำเร็จเรียบร้อยในปี ๒๕๔๒ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ อีกวาระหนึ่ง รวมเป็นเงินงบประมาณที่รัฐบาลอุดหนุนต่อเนื่องทั้งสิ้น ๓๕,๕๒๗,๐๒๐ บาท (สามสิบห้าล้านห้าแสนสองหมื่นเจ็ดพันยี่สิบบาท)
    [​IMG]นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงคุณอันประเสริฐ พระไตรปิฎกได้เกิดขึ้นท่ามกลางความวิริยะอุตสาหะและร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสถาบันพระ[๒ ]มหากษัตริย์ และการอุปถัมภ์จากรัฐบาล เฉกเช่นธรรมเนียมแต่ครั้งบูรพกาล
    [​IMG]ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุ เป็นเรือนหลังใหญ่ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ใช้เป็นที่ทรงงานของสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ ด้วยสมัยนั้นพระเถระรูปใดที่ได้ดำรงตำแหน่งประมุขสงฆ์ ไม่ว่าจะอยู่วัดใด ก็จะต้องมาทรงงานที่ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ แห่งนี้ ติดต่อกันมาถึง ๕ พระองค์ ตำหนักสมเด็จเป็นที่ประชุมสังฆสภา เป็นที่ตรวจนักธรรม ตรวจบาลีสนามหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการสังคายนาและชำระพระไตรปิฎกครั้งใด ก็จะใช้วัดมหาธาตุฯ เป็นที่ทำการตรวจชำระและแปลการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสังคายนาและพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นฉบับภาษาบาลีหรือฉบับภาษาไทย ก็ได้ใช้ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ แห่งนี้เป็นที่ดำเนินการเช่นกัน
    [​IMG]ตำหนักสมเด็จ จึงถือเป็นสถานที่ที่มีความหมายในประวัติศาสตร์สงฆ์ไทย และประวัติการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยเป็นอย่างยิ่ง
    [​IMG]ยามบ่ายถึงเย็นค่ำ สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยพระเถระผู้ทรงความรู้จากวัดต่าง ๆ หมุนเวียนกันมาทำงานตามหน้าที่ของตน อาจารย์แสวง อุดมศรี อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ และรองผู้อำนวยการกองวิชาการ กรรมการและผู้ประสานงานการดำเนินการจัดทำพระไตรปิฎก ย้อนภาพคุ้นตาของท่านในแต่ละวันว่า
    [​IMG]มีคนอยู่ที่นั่นกันเยอะ ทั้งพระ ทั้งฆราวาส แต่การมาเราจะนัดเป็นคณะ สมมติวันนี้ขึ้น ๕ คณะ เราก็จะจัดที่ไว้ ๕ โต๊ะ นั่งทำงานด้วยกันในแต่ละกลุ่ม วันใดเมื่องานเสร็จถึงระดับหนึ่ง จะต้องมารวมกันวินิจวิเคราะห์ร่วมกัน ไม่ใช่คนอื่นมาแก้ของตัวเองไม่ได้ ในกลุ่มจะต้องเห็นร่วมกัน ยืนยันร่วมกัน จึงจะผ่าน
    [​IMG]บรรยากาศเป็นวิชาการ อย่างการตรวจสำนวนก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น จนบางครั้งต้องสมมติสถานการณ์ บางครั้งเดินรอบโต๊ะก็มี ดูตามเหตุการณ์ เพื่อสันนิษฐานความเป็นไปได้ คือจะมีการแก้ไข แสดงความคิดเห็นร่วมกันพิจารณาตลอด
    [​IMG]การทำงานดังกล่าวประกอบด้วยพระเถระและฆราวาสผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมหาวิทยาลัยจัดพระเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องมีการศึกษาระดับเปรียญเอก (๗,๘,๙) ขึ้นไปร่วมทำงาน ซึ่งนอกจากจะได้ทำงานสำคัญ ยังเป็นโอกาสที่จะได้ซึมซับวิธีคิด วิธีการทำงานของพระเถระผู้มีความรู้ ความสามารถ ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย
    [​IMG]ภาพการทำงาน บรรยากาศแห่งวิชาการที่ทุกคนมุ่งมั่นอยู่กับพระไตรปิฎกเป็น เอกัคคตาอารมณ์เดียว เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด คงจะไม่ใช่ภาพคุ้นตาอาจารย์แสวงเท่านั้น แต่ในระหว่างคณะกรรมการและคณะทำงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเอง ก็คงจะคุ้นชินกับบรรยากาศการทำงานเช่นนั้นด้วย ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันด้วยเป้าหมายและอุดมการเดียวกัน แม้บางครั้งจะมีข้อขัดแย้งก็เป็นด้วยเรื่องวิชาการ ซึ่งก็จะต้องมีข้อยุติได้เสมอด้วยการประชุม ระดมความคิด หาข้อสรุปที่ดีที่สุด เพื่อให้พระไตรปิฎกนี้ถูกต้อง น่าเชื่อถือบรรลุเป้าหมายการจัดทำ
    [​IMG]พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงมีคุณลักษณะพิเศษดังนี้ คือ
    [​IMG]ประเด็นหลักก็คือภาษา จะต้องร่วมสมัย ให้คนสมัยนี้อ่านเข้าใจ อย่างไรก็ตามเราก็คำนึงถึงรับสั่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสมอที่ว่า...การแปลพระไตรปิฎก อยากจะให้เป็นเอกลักษณ์ทางภาษา ไม่อยากจะให้เป็นภาษาสมัยใหม่มากจนเกินไป ไม่ให้ตัวธรรมเปลี่ยน
    [​IMG]ในการแปลบางแห่ง ถ้าแปลแล้วความหมายจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เราก็จำเป็นต้องทับศัพท์ไว้ โดยการทับศัพท์นั้น เราจะทำเชิงอรรถอธิบายไว้ด้วยอรรถกถา หรือฎีกาสรุปนั้น ๆ ไว้ให้ โดยระบุหน้า เล่ม ของพระไตรปิฎกที่จะไปค้นต่อได้อีก
    [​IMG]เรื่องของเชิงอรรถก็เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญมากจะเห็นได้ว่ามีเชิงอรรถมากมาย ที่เป็นการอธิบายความ เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น โดยจะบอกที่มาให้ค้นต่อไปได้
    [​IMG]และเพื่อความสะดวกและเป็นจุดสำคัญของแต่ละเล่ม ก็คือบทนำ จะมีการสรุปเนื้อหาสำคัญของเล่มนั้นๆ ไว้ให้ หากต้องการจะอ่านแค่นี้ก็รู้เรื่อง แต่ถ้าต้องการจะอ่านลึกซึ้ง ก็จะรู้ว่าควรจะอ่านเรื่องใด ตรงไหนมีความเกี่ยวข้องกัน หรือเรื่องไหนที่สนใจเป็นพิเศษ การทำบทนำเป็นขอบข่าย เป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งการทำบทนำเป็นเรื่องยาก ผู้เขียนต้องอ่านทั้งเล่ม แล้วมาตั้งต้นเขียนใหม่ สรุปประเด็นแต่ละสูตรๆ
    [​IMG]ในเรื่องของความสมนัยหรือความสอดคล้องกันของคำแปลทั้งหมด เนื่องจากพระไตรปิฎกมีหลายเรื่อง หลายเล่ม เราก็ต้องมานั่งพิจารณาร่วมกัน ใช้คำ ใช้ภาษาให้สอดคล้องกัน จะได้ไม่ลักลั่นกัน ใช้ภาษาระดับเดียวกันให้ได้ ซึ่งต้องใช้ความพิถีพิถันระมัดระวัง และเวลามาก
    [​IMG]เราได้พยายามสืบค้นว่า คำนี้ สูตรนี้ มีปรากฎในเล่มใดๆบ้าง เราก็จะทำตามเชิงอรรถ อ้างอิง นี่คือความสอดคล้อง ความสมนัย เราพยายามรักษา พยายามระวังกันมากที่สุด
    [​IMG]เราจะช่วยกันดู มีการอ่าน การตรวจกันหลายหน ระหว่าทำก็อ่านกันอยู่แล้วหลายรอบ จนชั้นสุดท้ายคณะบรรณาธิการ ก็ต้องมานั่งตรวจพิจารณาปรึกษาหารือกันอีก การอ่านมากๆ ก็ยิ่งคุ้น ยิ่งเข้าใจ
    [​IMG]ส่วนสำคัญอีกประการคือเรื่องดัชนีค้นคำ จะมีการเก็บคำให้ได้มาตรฐานตรงตามหลักวิชา พยายามเก็บรายละเอียดของแต่ละเล่มให้ได้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้า และการตามอ่านต่อๆไป
     
  6. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    ขอบคุณมากครับคุณ chanin<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_90102", true); </SCRIPT>
    ท่าทางคุณมีความรู้ความสนใจพอดูเกี่ยวกับพระไตรปิฏก
    ถ้าคุณมีข้อมูลอะไรก็เชิญโพส คนอื่นๆและผมก็จะได้ศึกษาไปในตัวในระหว่างๆการสร้าง
     
  7. ืีnumq

    ืีnumq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +343
    ขอบคุณมากครับ
     
  8. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ผมก็ว่าเป็นเรื่องยากทีเดียว แต่มีบางอย่างที่น่าจะทำอย่างเร่งด่วนคือ แปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาอังกฤษ อย่างมีระบบและมีการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านศาสนาและภาษาอังกฤษ เพื่อจะได้มีมาตรฐานภาษาอังกฤษมากที่สุดเพียงฉบับเดียว มีแค่คนไทยเท่านั้นที่จะทำได้ ไม่เช่นนั้นต่อไปจะวุ่นวายและล่าช้าเนื่องจากมีผู้คนต่างภาษาจำนวนมากในปัจจุบันและอนาคตเริ่มให้ความสนใจศึกษาพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง เมื่อถึงเวลาข้อมูลพระไตรปิฏกภาคภาษาอังกฤษจะเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วในโลกอินเตอร์เน็ต ผ่านเวปธรรมมะต่างๆในไทยและต่างประเทศ ถ้าไม่มีใครสร้างมาตรฐานภาษาอังกฤษขึ้นมาอาจสร้างความสับสนต่อไปได้
     
  9. potpea

    potpea สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +18
    สาเหตุ

    สาเหตุแห่งการสังคยานาพระไตรปิฎก

    ความคิดที่จะให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยนั้น ได้มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ได้ประทานพระพุทธโอวาทแนะนำไว้ กล่าวคือ

    เมื่อนิครนถนาฏบุตร ผู้เป็นอาจารย์เจ้าลัทธิเชนสิ้นชีพ พวกสาวกของเจ้าลัทธินี้ได้เกิดแตกสามัคคีกัน ครั้งนั้น พระจุนทเถระผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระได้ทราบเรื่องนั้นแล้ว มีความห่วงใยในพระพุทธศาสนา เกรงเหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา จึงไปพบพระอานนท์เถระเล่าความนั้นให้ฟัง พระอานนท์เถระจึงได้ชวนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระจุนทเถระกราบทูลเล่าเรื่องนั้นถวายให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ได้ประทานพระพุทธโอวาทเป็นอันมากแก่พระจุนทเถระ ที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ที่สาวกของนิครนถนาฏบุตรแตกสามัคคีกันนั้น เพราะคำสอนของเจ้าลัทธินั้นไม่สมบูรณ์และมีความสับสน ทั้งพวกสาวกก็ไม่ปฏิบัติตามคำสอน แล้วทรงแนะนำให้รวบรวมพระพุทธวจนะ ให้ทำการสังคายนาไว้เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป

    พระสารีบุตรเถระก็ได้แนะนำพระภิกษุสงฆ์ให้ช่วยกันรวบรวมพระพุทธวจนะ หรือทำการสังคายนาพระธรรมวินัยไว้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ

    เมื่อนิครนถนาฏบุตรสิ้นชีพ และพวกสาวกเกิดแตกความสามัคคีกันดังกล่าวแล้วนั้น ตอนค่ำวันหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุสงฆ์ที่เข้าเฝ้า จบแล้วทรงเห็นว่าภิกษุสงฆ์ยังประสงค์จะฟังธรรมต่อไปอีก จึงทรงมอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแทน ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระได้แสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์ ได้แนะนำให้ช่วยกันรวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยไว้ โดยแสดงตัวอย่างการจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นหมวดๆ ตั้งแต่หมวด 1 ถึงหมวด 10 ว่าธรรมะอะไรบ้างอยู่ในหมวดนั้นๆ หัวข้อเรื่องที่พระสารีบุตรเถระแสดงในครั้งนั้น เรียกว่า สังคิติสูตร อันแปลว่า สูตรว่าด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัย ซึ่งแนวคิดและข้อแนะนำรับรองว่าถูกต้อง

    ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า การจัดสังคายนาพระธรรมวินัย หรือการสังคายนาพระไตรปิฎกนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ผู้เป็นพุทธสาวกที่สำคัญรูปหนึ่ง คือพระจุนทเถระ มีความห่วงใยต่ออนาคตแห่งพระพุทธศาสนา พระเถระรูปนี้หวั่นเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อพระพุทธศาสนาในอนาคต จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และกราบทูลเรื่องราวที่เกิดขึ้นในลัทธิเชน เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันขึ้นในพระพุทธศาสนา ดังกล่าวแล้ว

    ด้วยเหตุดังกล่าวมา พระสงฆ์พุทธสาวกผู้เป็นศาสนทายาท เมื่อปรารภเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา ก็ได้พร้อมกันปกป้องพระพุทธศาสนาไว้ แก้ไขให้พ้นภัยตลอดมา วิธีการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาที่สำคัญวิธีหนึ่งก็คือ การสังคายนาพระธรรมวินัย หรือการสังคายพระไตรปิฎก ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาโดยลำดับตามควรแก่เหตุการณ์และกาลเวลา

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  10. potpea

    potpea สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +18
    ครั้งที่ 1

    การสังคยานา ครั้งที่ 1


    มูลเหตุ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานได้ 7 วัน พระมหากัสสปเถระอยู่ที่เมืองปาวา ยังไม่ทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน จึงพาพระสงฆ์จำนวน 500 รูป เดินทางออกจากเมืองปาวาด้วยประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองกุสินารา ในระหว่างเดินทางนั้นเอง ก็ได้ทราบข่าวการเสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์จากอาชีวก (นักบวชนิกายหนึ่ง) คนหนึ่ง ซึ่งเดินทางมาจากเมืองกุสินารา พระสงฆ์ทั้งมวลซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นหัวหน้า เมื่อได้ทราบข่าวนั้นแล้ว ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ต่างก็มีความสลดใจ ผู้ที่เป็นปุถุชนอยู่ก็เศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้คร่ำครวญ รำพึงรำพันกันไปต่างๆนานา แต่พระภิกษุสุภัททะมิได้เป็นเช่นนั้น และได้ห้ามพระภิกษุเหล่านั้นมิให้เสียใจ มิให้ร้องไห้ โดยกล่าวชี้นำว่า ที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพานนั้นเป็นการดีแล้ว ต่อนี้ไปจะทำอะไรได้ตามใจ ไม่มีใครคอยมาชี้ว่าผิดนี่ ถูกนี่ ควรนี่ ไม่ควรนี่ ต่อไปอีก พระมหากัสสปเถระได้ฟังคำกล่าวจ้วงจาบเช่นนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ ภายหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จสิ้นแล้ว ได้มีการประชุมสงฆ์ พระมหากัสสปเถระซึ่งเป็นผู้มีอายุพรรษามากกว่าพระสงฆ์ทุกรูป ได้รับเลือกให้เป็นประธานสงฆ์ มีฐานะเป็นสังฆปริณายก (ผู้นำคณะสงฆ์) บริหารการคณะสงฆ์ตามพระธรรมวินัย ท่านจึงได้นำเรื่องที่ภิกษุสุภัททะกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัยนั้นเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ ชวนให้ทำการสังคายนาพระธรรมวินัย และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม ต่อจากนั้นมา 3 เดือน ก็ได้มีการประชุมทำสังคายนาครั้งที่ 1​

    สถานที่ ถ้ำสัตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ชมพูทวีป

    องค์อุปถัมภ์ พระเจ้าอชาตศัตรู

    การจัดการ พระมหากัสสปเถระได้รับเลือกเป็นประธาน และเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย พระอุบาลีเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระอานนท์เถระเป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม มีพระอรหันต์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์ (สงฆ์ผู้เป็นคณะกรรมการทำสังคายนา) จำนวน 500 รูป

    ระยะเวลา 7 เดือน จึงสำเร็จ
     
  11. potpea

    potpea สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +18
    ครั้งที่2

    ครั้งที่ 2


    ในพ.ศ.100

    มูลเหตุ : พระยสะกากัณฑกบุตรได้ปรารภถึงข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการ ของพวกภิกษุวัชชีบุตร เช่นถือว่าเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์) เพื่อเอาไว้ฉันได้ ตะวันชายเกินเที่ยงไปแล้ว 2 นิ้วฉันอาหารได้ รับเงินทองไว้ใช้ได้ เป็นต้น พระยสะกากัณฑกบุตรเห็นว่า ข้อปฏิบัติย่อหย่อนดังกล่าวนี้ขัดกับพระวินัยพุทธบัญญัติ จึงได้ชักชวนพระเถระผู้ใหญ่ประชุมพิจารณาวินิจฉัย ทำการสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อความมั่นคงพระพุทธศาสนาสืบไป

    สถานที่ : วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ชมพูทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้ากาลาโศกราช

    การจัดการ : พระมหาเถระชื่อยสะกากัณฑกบุตรเป็นประธาน พระเรวตเถระเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย พระสัพพกามีเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถาม มีพระอรหันต์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์จำนวน 700 รูป

    ระยะเวลา : 8 เดือน จึงสำเร็จ(ping)
     
  12. potpea

    potpea สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +18
    ความคิดเห็น

    การสังคยานาน่าจะมี 5 ปีต่อครัง เพราะจะได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับพระไตรปิฎกมากขึ้น (b-glass) (b-glass)
     
  13. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ กับท่านทั้งหลายที่ได้เผยแพร่และได้ร่วมกันสังคยนาพระไตรปิฎก
    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและในอนาคตกาลที่จะบังเกิดขึ้นอีก ด้วยนะครับ
    เพราะเป็นผลบุญอันยิ่งใหญ่มาก
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    ที่จะได้มีพระธรรมในพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ให้กับมวลมนุษยชาติต่อ ๆ ไป
    ขอให้บุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ ข้าพเจ้าได้มีปัญญาญาณ สำเร็จเป็น พระอรหันต์สาวก เข้าสู่พระนิพพาน ในชาติปัจจุบันที่เป็นมนุษย์ในขณะนี้ด้วย เทอญฯ ถ้ายังไม่สำเร็จเพียงใดให้ข้าพเจ้าได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ มีรูปสมบัติ ปัญญาสมบัติ ทรัพย์สมบัติ บริวารสมบัติ คุณสมบัติ ปฏิภาณสมบัติ ที่ดีมากมายที่สุด ทั้งมนุษย์และสวรรค์ เกิดเป็นเพศผู้ชายทุกภพทุกชาติไม่พิกลพิการทั้งร่างกายและจิตใจมีอาการครบ 32 ประการมีรูปร่างสวยสดงดงามสูงสง่าแข็งแรงปราศจากโรภัยไข้เจ็บ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ธนะสารสมบัติมากมาย เป็นจอมคนจอมกษัติย์จอมจักรพรรดิ จอมปราชญ์ราชบัณฑิตมีอำนาจดุจพระอาทิตย์ในจักรวาล ได้สมบัติแก้วเจ็ดประการของพระจักรพรรดิ นับถือพระพุทธศาสนาทุกภาพทุกชาติอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมมีกัลยาณมิตรกัลยาณธรรมที่ดี ความว่าไม่มี ไม่สำเร็จอย่าให้มีแก่ข้าพเจ้า เกิดในครอบครัวที่เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตนับถือพระพุทธศาสนา จนกว่าข้าพเจ้าจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ และขออุทิศบุญกุศลให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในโลกนี้และอยู่หมื่นโกฎิโลกธาตุ แสนโกฎิพิภพจักรวาล และในอนันตจักรวาล ทั้งรูปมนุษย์ อรูปมนุษย์ ทั้งรูปวิญญาณและอรูปวิญญาณ ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้าทั้งหลาย บิดา มารตา ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ เทวดาอารักษ์ทั้งหลาย เจ้าพระยายมราช ท้าวเวชสุวรรณ พระยายม นายนิรยบาล พระมหากษัติย์ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าทุ่งเจ้าท่าเจ้าป่่าเจ้าเขา รุกขเทวดา ภุมเทวดา อากาศเทวดา เทวดาประธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และบริวารทั้งหลาย เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติและไม่เป็นญาติข้าพเจ้า จงมารับในผลบุญที่ข้าพเจ้าที่ได้อนุโมทนาบุญในการสังคยนาสร้างพระไตรปิฎก ในกาลนี้ด้วยเทอญ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2011
  14. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,215
    การสังคายนาในครั้งที่ ๑ นั้นได้เริ่มลงมือทำหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้ประมาณ ๓ เดือน (ตำราบางเล่มอ้าง ๔ เดือน โดยนับวันปฐมสังคายนาตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๐) การทำสังคายนาของคณะสงฆ์ ซึ่งถึงวิสุทธิธรรมเป็นพระอรหันต์เจ้าจำนวน ๕๐๐ รูปดังกล่าว ที่มีพระมหากัสสปเถระเจ้าเป็นองค์ประธานนั้นมีความประสงค์ด้วยปรารถนาความ มั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งสามารถจัดทำการสังคายนาได้ด้วยเคยมีพุทธานุญาต ให้พระสารีบุตรเถระเจ้าจัดระเบียบแบบแผนหรือร้อยกรองพระธรรมวินัยได้ดัง ปรากฏหลักฐานในสังคีติสูตร การปฐมสังคายนาในครั้งนั้น ดูเหมือนจะราบรื่นเป็นไปด้วยดี หากไม่มีเหตุกรณีพระปุราณะและบริวารจัดทักขิณาคีรีชนบท ซึ่งมีความเห็นแย้งต่อพระสังคีติกาจารย์ ในมติแห่งพระเถระเจ้ากรณีวัตถุ ๘ ประการ หรือกรณีที่ทรงพุทธานุญาตให้สงฆ์สามารถถอนสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ได้ หากสงฆ์เห็นควร ซึ่งในการประชุมสงฆ์เพื่อสังคายนาในครั้งนั้น มีเถระวาทีเห็นพ้องต้องกันในหมู่เถราจารย์ทั้ง ๕๐๐ รูปว่า “ ... ขอให้สงฆ์ทั้งปวงอย่าเพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลง และถอดถอน...” เพื่อมิให้เป็นที่ถูกตำหนิติเตียนจากสังคม ว่าพระสงฆ์ไม่ใส่ใจปฏิบัติดุจดังสมัยที่ขณะผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระชนม์อยู่


    รอยร้าวได้ปรากฏบนร่องรอยของความสืบเนื่องอายุพระพุทธศาสนาจากกรณีวัตถุ ๘ ประการดังกล่าว โดยนับเข้าสู่ปีพุทธศักราชที่ ๑๐๐ ได้เกิดกรณีวัตถุ ๑๐ ประการขึ้น (การประพฤติผิดวินัย ๑๐ ประการ) เหตุเกิด ณ เมืองเวสาลี ด้วยกลุ่มภิกษุวัชชีบุตร ประพฤติผิดพระวินัยกรณีวัตถุ ๑๐ ดังกล่าว จนเป็นสาเหตุอันนำไปสู่การประชุมสงฆ์ เพื่อทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ขึ้นในชมพูทวีป ณ เมืองเวสาลี แคว้นวัชชีเดิม ซึ่งต่อมาได้อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นมคธ การสังคายนาในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการถือผิด ตีความคิด หรือมีข้ออธิกรณ์เกิดขึ้น ซึ่งต้องระงับอธิกรณ์ดังกล่าว ด้วยวิธีอุพพาหิกา หมายถึง การยกอธิกรณ์ไปชำระในที่เกิดอธิกรณ์ เมื่อระงับอธิกรณ์ได้แล้ว จึงกระทำการสังคายนา ... สำหรับการสังคายนาในครั้งที่ ๒ นี้นั้น ได้เป็นชนวนนำไปสู่ความแตกแยกในพระพุทธศาสนาที่รุนแรงที่สุด เมื่อคณะสงฆ์แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน แข่งขันกันทำการสังคายนา ซึ่งเป็นเหตุนำไปสู่การแบ่งพุทธศาสนาเป็นนิกายต่างๆ มากกว่า ๑๘ นิกายในต่อมา

    (บางตอนจาก
    ศึกษาร่องรอยธรรมพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป (ตอน ๑)
    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
    20 ธันวาคม 2553 เวลา 08:32 น.
    โพสต์ทูเดย์)

    ศึกษาร่องรอยธรรมพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป (ตอน ๑)
     
  15. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ขอโมทนา สาธุ ๆ กับทุก ๆ ท่านที่ได้เผยแพร่และได้ร่วมกันสังคยนาพระไตรปิฎก กับทุก ๆ ท่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและในอนาคตกาลที่จะบังเกิดขึ้น เพราะเป็นผลบุญอันยิ่งใหญ่ขอโมทนา สาธุ ๆ ที่จะได้มีธรรมในพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ให้กับมวลมนุษยชาติต่อไป
    ขอให้บุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ ข้าพเจ้าได้มีปัญญาญาณ สำเร็จเป็น พระอรหันต์ เข้าสู่พระนิพพาน ในชาติปัจจุบันที่เป็นมนุษย์ในขณะนี้ด้วย เทอญฯ และขออุทิศบุญกุศลให้กับพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุกพระองค์ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในหมื่นโกฎิโลกธาตุ แสนโกฎิพิภพจักรวาล และในอนันตจักรวาล ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวร บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ เทวดาอารักษ์ทั้งหลาย ท่านท้าวมหาราชทั้ง4 พระยายมราช ท้าวเวชสุวรรณ นายนิรยบาล ฯลฯ ขอท่านทั้งหลายจงมารับในผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ โมทนาบุญ ในการสังคยนาสร้างพระไตรปิฎก และขอท่านพระยายมราชจงเป็นพยานในการโมทนาบุญของข้าพเจ้าด้วยเทอญ
     
  16. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,215
    ภาคภาษาไทย
    ความสำคัญของพระไตรปิฎกปาฬิในพระพุทธศาสนาเถรวาท

    บทนำที่จัดพิมพ์ในพระไตรปิฎกอักษรโรมัน
    โดย พระธรรมปิฎก
    (ป. อ. ปยุตฺโต)

    คำว่า “พระพุทธศาสนา” ว่าโดยทั่วไป มีความหมายกว้างมาก รวมตั้งแต่หลักธัมม์ พระสงฆ์ องค์กร สถาบัน กิจการ ไปจนถึงศาสนสถาน และศาสนวัตถุทุกอย่าง แต่ถ้าจะเจาะลงไปให้ถึงความหมายแท้ที่เป็นตัวจริง พระพุทธศาสนาก็มีความหมายตรงไปตรงมาตามคำแปลโดยพยัญชนะของคำว่า “พระพุทธศาสนา” นั้นเองว่า “คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า” นี้คือตัวแท้ตัวจริงของพระพุทธศาสนา สิ่งอื่นนอกจากนี้เป็นส่วนขยายออกหรืองอกขึ้นมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น

    เมื่อจับความหมายที่เป็นตัวแท้ได้แล้วก็จะมองเห็นว่า ความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา หมายถึงความคงอยู่แห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า หากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลือนลางหายไป แม้จะมีบุคคล กิจการ ศาสนสถาน และศาสนวัตถุใหญ่โตมโหฬารมากมายเท่าใด ก็ไม่อาจถือว่ามีพระพุทธศาสนา แต่ในทางตรงข้ามแม้ว่าสิ่งที่เป็นรูปธรรมภายนอกดังกล่าวจะสูญสลาย ถ้าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่ คนก็ยังรู้จักพระพุทธศาสนาได้ ด้วยเหตุนี้ การดำรงรักษาพระพุทธศาสนาที่แท้จริง จึงหมายถึงการดำรงรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    พระธัมม์และพระวินัย : ที่ธำรงสถิตของพระศาสดา

    พระพุทธศาสนาหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ก็คือพุทธพจน์ หรือคำตรัส หรือพระดำรัสของพระพุทธเจ้านั่นเอง ดังนั้นว่าโดยสาระ การดำรงรักษาพระพุทธศาสนา จึงหมายถึงการดำรงรักษาพระพุทธพจน์

    อนึ่ง พระพุทธพจน์นั้น เป็นพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงธัมม์ และบัญญัติวินัยไว้ ดังที่ปวงพุทธบริษัททราบดีว่า ธัมม์และวินัยที่อยู่ในพระพุทธพจน์นั้นคือองค์ พระศาสดาที่ตรัสสอนพระพุทธศาสนาแทนพระองค์ของพระพุทธเจ้า ตรงตามที่ พระพุทธองค์ตรัสไว้เองว่า



    ...ดูกรอานนท์ ธัมม์ละวินัยใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย
    ธัมม์และวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายเมื่อเราล่วงลับไป...

    (M 2500/2548 7D.216)

    โดยนัยนี้ พระพุทธพจน์ จึงเป็นทั้งพระพุทธศาสนาคือคำตรัสสอนของ พระพุทธเจ้า และที่ธำรงสถิตพระศาสดาโดยทรงไว้และประกาศพระธัมม์วินัย แทนพระพุทธองค์

    ในเมื่อการดำรงรักษาพระพุทธพจน์เป็นสาระของการดำรงรักษาพระพุทธศาสนาอย่างนี ้ จึงถือเป็นความจำเป็นและสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่จะดำรงรักษา พระพุทธพจน์ ดังนั้น ความพยายามรักษาพระพุทธพจน์จึงมีตลอดมาตั้งแต่พุทธกาล คือตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่
     
  17. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,215
    สังคายนา : การรักษาพระพุทธพจน์พระบรมศาสดา

    วิธีรักษาพระพุทธพจน์ ก็คือการรวบรวมคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วจัดหมวดหมู่ให้กำหนดจด จำได้ง่าย และซักซ้อมทบทวนกันจนลงตัว แล้วสวดสาธยายพร้อมกันแสดงความยอมรับเป็นแบบแผนเพื่อทรงจำสืบต่อกันมา วิธีการนี้เรียกว่า “สังคายนา” ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า การสวดพร้อมกัน การสังคายนานี้ พระสารีบุตรอัครสาวก ได้ทำไว้เป็นแบบอย่างแต่ครั้งพุทธกาลในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า และพร้อมหน้าพระภิกษุสงฆ์ พระสารีบุตรได้ รวบรวมพุทธพจน์มาแสดงโดยจัดลำดับตามจำนวนข้อธัมม์ ตั้งแต่ธัมม์หมวด 1 ถึงธัมม์หมวด 10 ดังปรากฏในสังคีติสูตร เมื่อพระสารีบุตรแสดงจบแล้ว พระพุทธเจ้าได้ประทานสาธุการ เป็นการรับรองพุทธพจน์ที่พระสารีบุตรได้รวบรวมมาแสดงนั้น


    ปฐมมหาสังคายนาในปีพระพุทธศักราชที่ 1


    ต่อมา แทบจะทันทีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว การสังคายนา ครั้งใหญ่อันสำคัญที่สุดก็ได้เกิดขึ้น คือเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 7 วัน พระมหากัสสปเถระได้ชักชวนพระมหาเถระทั้งหลายให้ประชุมทำสังคายนา เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้ว ก็ได้เตรียมการต่างๆ จนพร้อม และได้ประชุมสังคายนาครั้งแรกที่เมืองราชคฤห์เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เพียง 3 เดือน


    วิธีรวบรวมพุทธพจน์ในการประชุมใหญ่ครั้งนี้ คือ พระอรหันตเถระที่ทันเฝ้า ทันฟังพระพุทธเจ้า 500 รูป มาประชุมกัน เมื่อตกลงคัดเลือกได้พระเถระที่ทรง พุทธพจน์แม่นยำเชี่ยวชาญแต่ละด้าน คือด้านวินัย ได้แก่พระอุบาลี และด้านธัมม์ ได้แก่พระอานนท์ แล้วก็ให้ท่านที่ทรงจำไว้แม่นยำมีความชำนาญนั้นนำพุทธพจน์มาสาธยายแสดงแก่ที ่ประชุม โดยประธานที่ประชุมคือพระมหากัสสปะวางแนวการนำเสนอด้วยการซักถามอย่างเป็นลำ ดับและเป็นหมวดหมู่ คือเป็นระบบ


    พุทธพจน์พร้อมทั้งเรื่องราวเกี่ยวข้องแวดล้อมที่นำมาสาธยายนี้ ถ้าเป็นครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ทรงรับรองด้วยพระองค์เอง แต่ในการสังคายนาครั้งที่ 1 เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ต้องอาศัยที่ประชุมพระอรหันตเถระที่ทันเฝ้าทันฟัง พระพุทธเจ้า ซักซ้อมทวนทานกันว่าตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ เมื่อยุติแล้ว ก็สวดพร้อมกันให้เป็นแบบแผนที่จะทรงจำกันต่อมา


    การสังคายนา หรือสังคีติครั้งที่ 1 นี้ ย่อมเป็นสังคายนาครั้งสำคัญที่สุด เพราะพุทธพจน์ที่รวบรวมประมวลมาทรงจำเป็นแบบแผน หรือเป็นมาตรฐานไว้ครั้งนี้ มีเท่าใด ก็คือได้เท่านั้น ต่อจากนั้น ก็มีแต่จะต้องทรงจำรักษาพุทธพจน์ที่รวมได้ในสังคายนาครั้งที่ 1 นี้ไว้ให้ถูกต้องแม่นยำ บริสุทธิ์หมดจด และครบถ้วนที่สุด พูดสั้นๆ ว่าบริสุทธิ์บริบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ ในเวลาหลังจากนี้ พระเถระผู้รักษาพุทธพจน์จึงเน้นวิธีการรักษาด้วยการสาธยาย และการมอบหมายหน้าที่ในการทรงจำแต่ละหมวดหมู่ เป็นต้น


    โดยนัยดังกล่าว การสังคายนาที่มีความหมายเป็นการรวบรวมพุทธพจน์ แท้จริง ก็มีแต่ครั้งที่ 1 นี้ การสังคายนาครั้งต่อๆ มา ก็คือการที่พระเถระผู้ทรงจำรักษา พุทธพจน์ทั้งหลายมาประชุมกันซักซ้อมทวนทานพุทธพจน์ที่รักษาต่อกันมา ตั้งแต่สังคายนาครั้งที่ 1 นั้น ให้คงอยู่บริสุทธิ์บริบูรณ์ที่สุด คือ ครบถ้วนแม่นยำ และไม่มีแปลกปลอม
     
  18. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,215
    สังคายนา และ พระไตรปิฎกปาฬิ : หลักการสำคัญในพระพุทธศาสนาเถรวาท

    พุทธพจน์และเรื่องเกี่ยวข้องที่รักษาโดยทรงจำกันมานั้น ได้จัดวางระบบเป็นหมวดหมู่และมีลำดับที่ลงตัวในรูปที่เรียกว่าพระไตรปิฎก คือ เป็นพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธัมมปิฎก


    เนื่องจากต่อมามีภาระเพิ่มขึ้นในด้านป้องกันคำสอนและการประพฤติปฏิบัติ แปลกปลอม การทรงจำรักษาพุทธพจน์จึงเน้นเพิ่มขึ้นในแง่การนำพุทธพจน์ที่ ทรงจำรักษาไว้นั้นมาเป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนและการปฏิบัติทั้งหลาย เป็นเหตุให้คำว่าสังคายนามีนัยขยายหรืองอกออกไป คือ ความหมายว่าเป็นการชำระสะสางคำสอนและการปฏิบัติที่แปลกปลอม


    ยิ่งกว่านั้น ในกาลนานต่อมา คนบางส่วนยึดเอาความหมายงอกนี้ เป็น ความหมายหลักของการสังคายนา จนถึงกับลืมความหมายที่แท้ของการสังคายนา ไปเลยก็มี จนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบันนี้ บางทีบางคนไปไกลมากถึงกับเข้าใจผิดว่า ผู้ประชุมสังคายนามาช่วยกันตรวจสอบคำสอนในพระไตรปิฎกว่ามีทัศนะหรือความคิดเ ห็นที่ผิดหรือถูก ซึ่งเท่ากับมาวินิจฉัยว่าพระพุทธเจ้าสอนไว้ผิดหรือถูก ที่นั่นที่นี่ แล้วจะมาปรับแก้กัน แทนที่จะรู้เข้าใจความหมายที่แท้ของการสังคายนาว่ามาตรวจสอบรักษาถ้อยคำข้อค วามให้คงอยู่เรียบร้อยแม่นยำสมบูรณ์ ฉะนั้นจึงจำเป็นว่าในยุคปัจจุบันนี้ จะต้องย้ำกันให้เข้าใจความหมายที่แท้ของ “สังคายนา” ให้ถูกต้อง ให้แยกได้ว่าความหมายใดเป็นความหมายที่แท้ ความหมายใดเป็นนัยที่งอกออกมา


    การสังคายนา หรือสังคีติ ในความหมายแท้ที่เป็นการประชุมกัน ซักซ้อมทบทวนรักษาพุทธพจน์เท่าที่มีมาถึงเราไว้ให้ครบถ้วนแม่นยำบริสุทธิ์บริ ิบูรณ์ที่สุดนี้ มีความ เป็นมาแยกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกท่องทวนด้วยปากเปล่า เรียกว่า มุขปาฐะ และช่วงหลัง จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า โปตถกาโรปนะ
     
  19. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,215
    มุขปาฐะ : ยุคต้น พ.ศ. 460

    ช่วงต้น หรือยุคแรก นับแต่พุทธกาลตลอดมาประมาณ 460 ปี พระเถระผู้รักษาพระศาสนาทรงจำพุทธพจน์กันมาด้วยปากเปล่า เรียกว่า มุขปาฐะ แปลง่ายๆ ว่า “ปากบอก” คือ เรียน-ท่อง-บอกต่อด้วยปาก ซึ่งเป็นการรักษาไว้กับตัวคน ในยุคนี้มีข้อดีคือ เนื่องจากพระสงฆ์รู้ตระหนักถึงความสำคัญสูงสุดของการรักษาพุทธพจน์ จึงทำให้มีความไม่ประมาท โดยระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะให้มีการจำพุทธพจน์ไว้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ ถือว่าการรักษาพุทธพจน์นี้เป็นกิจสำคัญสูงสุดของการรักษาพระพุทธศาสนา


    การรักษาโดยมุขปาฐะ หรือมุขบาฐนี้ ใช้วิธีสาธยาย ซึ่งแยกได้เป็น 4 ระดับ คือ



    1. เป็นความรับผิดชอบของสงฆ์หมู่ใหญ่สืบกันมาตามสายอาจารย์ ที่เรียกว่า อาจริยปรัมปรา (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เถรวงส์) โดยพระเถระที่เป็นต้นสาย ตั้งแต่สังคายนาครั้งแรกนั้น เช่น พระอุบาลีเถระ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระวินัย ก็มีศิษย์สืบสาย และมอบความรับผิดชอบในการรักษาสั่งสอนอธิบายสืบทอดกันมา
    2. เป็นกิจกรรมหลักในวิถีชีวิตของพระสงฆ์ ซึ่งจะต้องเล่าเรียนปริยัติ เพื่อเป็นฐานของการปฏิบัติที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่ปฏิเวธและการเล่าเรียนนั้น จะให้ชำนาญส่วนใด ก็เป็นไปตามอัธยาศัย ดังนั้นจึงเกิดมีคณะพระสงฆ์ที่ คล่องแคล่วเชี่ยวชาญพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกต่างหมวดต่างส่วนกันออกไป เช่น มีพระสงฆ์กลุ่มที่คล่องแคล่วเชี่ยวชาญในทีฆนิกายพร้อมทั้งคำอธิบาย คืออรรถกถาของทีฆนิกายนั้น เรียกว่า “ทีฆภาณกะ” แม้ มัชฌิมภาณกะ สังยุตตภาณกะ อังคุตตรภาณกะ และขุททกภาณกะ เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน
    3. เป็นกิจวัตรของพระภิกษุทั้งหลายแต่ละวัดแต่ละหมู่ที่จะมาประชุมกัน และ กระทำคณสาธยาย คือสวดพุทธพจน์พร้อมๆ กัน (การปฏิบัติอย่างนี้ อาจจะเป็นที่มาของกิจวัตรในการทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น หรือเช้า-ค่ำ อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน)
    4. เป็นกิจวัตร หรือข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวันของพระภิกษุแต่ละรูป ดังปรากฏในอรรถกถาเป็นต้นว่า พระภิกษุเมื่อว่างจากกิจอื่น เช่น เมื่ออยู่ผู้เดียวก็นั่งสาธยายพุทธพจน์ เท่ากับว่าการสาธยายพุทธพจน์นี้ เป็นส่วนหนึ่งแห่งการปฏิบัติธัมม์ของท่าน
     
  20. pitipornsn

    pitipornsn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +95
    โทดครับแล้วปัจจุบันนี้มีผู้แต่งพระไตรปิฎก มากมายเรายึดเอาเล่มไหนเป็นหลักแน่นอนหร่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...