วิธีเปิดตาที่สาม (ตาทิพย์) ด้วยตนเอง

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย คนขายธูป, 22 สิงหาคม 2007.

  1. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,763
    ทำไมต้องย้ายกระทู้คนขายธูป ทุกกระทู้ ลงหลุมหมด
    ไม่เข้าใจมากๆ กระทู้เตือนสติก็มี ทำไมต้องลงหลุม...


    น่าสงสัยจริงๆ

    :d
     
  2. คนขายธูป

    คนขายธูป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +2,964
    เป็นสมดุลจักรวาลครับ

    ผมพยายามเตือนสติ (และเรียกร้องให้คนมาอ่านมากๆ)
    เพื่อป้องกันคนหลงทางที่จะเกิดในอนาคตยามมีภัยพิบัติ
    แต่การกระทำที่ "มากเกินพอดี" ของผม จะรบกวนระบบ
    กฏแห่งกรรม คนที่ทำเลวมีมาก ในนี้ก็มีผู้ต้องรับกรรมมาก
    การที่ผมถูกขัดขวางให้เตือนสติคนได้น้อย เพื่อให้กฏแห่ง
    กรรมดำเนินไปอย่างปกติ


    เมื่อวานน้องเบื้องหลังทีมงานผู้หนึ่ง ถามว่าผมเป็นใคร
    ผมก็บอกเขาตรงๆ เขามั่นใจว่าผม "ป่วนเว็บ" และเป็น
    "คนไม่ดีที่ขาดสำนึก" เขาอาจเป็นผู้ย้ายกระทู้หรือไม่
    ผมไม่อาจยืนยัน


    แต่เขาก็ทำตามกลไกลของจักรวาลเหมือนกัน


    เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าสามารถยื้อชีวิตอยู่ได้เกินกว่า
    อายุขัย ๘๐ พรรษา แต่ท่านก็ถูกพระยามาราธิราชทูล
    ขอให้เสด็จดับขันธ์ตามวาระกรรมที่พระองค์ทรงเคยทำ
    ไว้กับ "รากษส" ทำให้ต้องมีอายุขัยเพียง ๘๐ พรรษา
    และไม่อาจทำกิจที่พระองค์ประสงค์ได้ครบถ้วน


    ไม่แน่นะครับ จิตของน้องผู้นี้ที่ผูกมัดผมไว้อย่างนี้แหละ
    จะนำพาเขาไปรับ "คำทำนาย" จากผมในอนาคตชาติก็ได้


    ตอนนั้นผมอาจบอกเขาว่า

    "รอหน่อยน้องรัก ถัดจากอีกสองคนน้องก็จะได้เป็น ...."

    อิๆๆ
     
  3. pimrapat

    pimrapat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +97
    แต่ฉันชอบอ่านกระทู้ของคุณมากเลย ได้ความรู้แปลกใหม่ดี จากเท่าที่เข้ามาเว๊ปพลังจิตนี่นะ เพราะกระทู้ที่ชอบด่ากันทำลายล้างกันอวดตัวมีหลายคน ดูแล้วก็ไม่มีอะไรให้ศึกษามีแต่ด่ากันกับภาพที่เห็นแทนตัวว่าเป็นผู้วิเศษอ่ะนะ ไม่มีสาระเลย อยากให้คุณขายธูปหาเรื่องดี ๆ มีสาระมาลงให้ดูอีกเรื่อย ๆ
     
  4. เซียนตากลับ

    เซียนตากลับ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +99
    เพชร จะอยู่ หลุมดำ หรือ หลุมส้วม ก็เลอค่าเหมือนเดิมนะจะ๊
     
  5. {ผู้ชนะสิบๆทิศ}

    {ผู้ชนะสิบๆทิศ} เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +917
    สามก๊ก ฉบับนักบริหาร ของ อ.เจริญ ผมคิดไม่ออกว่าจะตั้งกระทู้ที่ไหน ก็เลยตั้งไว้ที่นี่ ถ้าคนเขาชอบแสวงหาความรู้เขาก็จะเจอ กระทู้ในห้องนี้ไม่ใช่เลวร้ายอะไร แต่คนที่มาอ่านต้องมีวุฒิภาวะระดับหนึ่ง เรียกว่ามีกึ๋น หรือ ความรู้ในระดับหนึ่ง เวลาอ่านจะได้กลั่นกรองได้ และรู้ว่า สิ่งไหนควรเก็บไปต่อยอด และสิ่งไหนควรปล่อย

    เพราะว่า ของดีๆมันก็ต้องเสาะแสวงหากัน ไม่ใช่จะประเคนให้ถึงที่ ฮิฮิ..
     
  6. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    เพราะ กระทู้นี้แหละ จึงถูกย้าย
    อย่าลืม หลัก อริยสัจจสี่
    (good) (good) (good) :) :) :)
    อย่าท้อถอย คอยสร้าง สิ่งที่ควร
    อย่าเรรวน พะว้าพะวัง คิดกังขา
     
  7. ปานโสม

    ปานโสม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +18,151
    ห้องหลุมดำ...เท่ห์ ดีออก

    ลึกลับ...เป็นความลับ ความสงสัยที่อยู่ในความมืดมิด
    สภาวะหลุมดำเนี่ย สำคัญนะ...
    ต้องใช้สติ-ปัญญา พิจารณา กันเต็มที่

    ใครตั้งชื่อห้อง ยกนิ้วให้เลย ว่าแจ๋วจริง
    ชาวพลังจิตมีหลายวัย
    ช่วงหลังเด็กประถมก็เข้ามาเยอะมาก
    บางเรื่องที่มันเกินกำลังพิจารณา ของเด็ก และเสี่ยง
    ก็ถูกนำมาไว้ที่นี่....
    ส่วนพวกผู้เฒ่า ผู้แก่ นี่ คงไม่น่าต้องเป็นห่วงกันเท่าไร มั้ง?
    (b-smile)




     
  8. chutikarn

    chutikarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +49
    อีกแง่หนึ่ง อีกความคิดหนึ่ง อีกทางหนึ่ง แล้วแต่จะเลือกปฏิบัติ...


    รับรู้ รับคิด รับพิจารณา....
     
  9. พัชรกันย์

    พัชรกันย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +622
    อยากฝึกบ้างแต่คงทำไม่ได้
     
  10. พัชรกันย์

    พัชรกันย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +622
    มีที่ไหนสอนบ้างคะ
     
  11. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    823
    ค่าพลัง:
    +2,752
    .....อืมม์....ถ้ายึดได้ กรุณาเปลี่ยนรูปแทนตัวหน่อยนะจ๊ะ รูปแทนตัวหนู ขณะนี้มันน่ากลัวจัง...ลุงเกรงว่า สมาชิกเขาจะวิ่งหนีกันหมดเวปนะซี...
     
  12. หลวงจีน

    หลวงจีน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    861
    ค่าพลัง:
    +1,326
    หมั่นทำดีอยู่กับความจริง ก็จะมีสิ่งดีๆเกิดกับชีวิต(kiss)
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,399
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  14. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    เซน

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodytext --><DL><DD>"ZEN" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ เซน (แก้ความกำกวม)
    </DD></DL>[​IMG] [​IMG]
    ภาพพระโพธิธรรม วาดโดยโยะชิโตชิ (ค.ศ. 1877)


    เซน (ญี่ปุ่น: 禅, ぜん) หรือ นิกายเซน เป็นชื่อญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (จีน: 禅, Chán) ในภาษาจีน ที่มาจากภาษาบาลีอีกต่อหนึ่ง ซึ่งหมายถึง ฌาน หรือ การเข้าฌานของพุทธศาสนา
    เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง
    ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 นอกจาศาสนาพุทธนิกายเซน เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ
    เซนเป็นสาขาหนึ่งของพุทธศาสนา นิกายมหายาน ซึ่งยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของอริยสัจ 4 และ มรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน
    [แก้] ลำดับพระสังฆปรินายกฝ่ายเซน

    พระอริยสงฆ์สาวกผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดชี้ธรรม ด้วยวิถีแห่ง "จิต สู่ จิต" แต่ละรุ่นๆ จะได้รับมอบ บาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัญญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง
    釋迦牟尼佛 พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า
    การถ่ายทอดธรรมดังกล่าวมีพระอริยเจ้าแต่ละสมัยรับช่วงสืบทอดกันลงมาโดยลำดับดังนี้
    1. 初祖訶迦葉尊者 พระมหากัสสปเถระ
    2. 二祖阿難陀尊者 พระอานนท์เถระ
    3. 三祖商那和修尊者 พระสันนวสะเถระ
    4. 四祖優婆□多尊者 พระอุปคุปด์เถระ
    5. 五祖提多迦尊者 พระธริตกเถระ
    6. 六祖彌遮迦尊者 พระมัจฉกะ
    7. 七祖婆須密尊者 พระวสุมิตรเถระ
    8. 八祖佛陀難提尊者 พระพุทธนันทิเถระ
    9. 九祖伏馱密多尊者 พระพุทธมิตรเถระ
    10. 十祖脅尊者 พระปารศวะเถระ
    11. 十一祖富那夜奢尊者 พระปุณยยศัสเถระ
    12. 十二祖馬鳴大士 พระอัศวโฆษ มหาโพธิสัตว์
    13. 十三祖迦毗摩羅尊者 พระกบิลเถระ
    14. 十四祖龍樹尊者 พระนาคารชุน มหาโพธิสัตว์
    15. 十五祖迦那提婆尊者 พระคุณเทวเถระ
    16. 十六祖羅侯羅多尊者 พระราหุลตเถระ
    17. 十七祖僧伽難提尊者 พระสังฆนันทิเถระ
    18. 十八祖伽耶舍多尊者 พระสังฆยศัสเถระ
    19. 十九祖鳩摩羅多尊者 พระกุมารตเถระ
    20. 二十祖闍夜多尊者 พระชยเถระ
    21. 二十一祖婆修盤頭尊者 พระวสุพันธุเถระ
    22. 二十二祖摩拏羅尊者 พระมนูรเถระ
    23. 二十三祖鶴勒那尊者 พระฮักเลนยศัสเถระ
    24. 二十四祖師子尊者 พระสินหเถระ
    25. 二十五祖婆舍斯多尊者 พระวสิอสิตเถระ
    26. 二十六祖不如密多尊者 พระปุณยมิตรเถระ
    27. 二十七祖般若多羅尊者 พระปรัชญาตาระ
    28. 二十八祖菩提達磨大師 พระโพธิธรรม
    โดย ลำดับที่ 28 (สายชมพูทวีป) คือพระโพธิธรรม เมื่อท่านเดินทางเผยแพร่พุทธศาสนาเข้าสู่จีน ที่นี่เองการอ่านชื่อออกเสียงว่า "โพธิธรรม" หรือ "โบ-ตะ-มะ" ที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ตั๊กม้อ" ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งวัดเส้าหลิน นับเป็นพระสังฆปรินายกฝ่ายเซนองค์แรกในจีน ต่อมาเมื่อสืบทอดพระสังฆปรินายกองค์ที่ 3 (ฝ่ายจีน) จึงได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น
    วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ(การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น
     
  15. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พระโพธิธรรม

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodytext -->[​IMG] [​IMG]
    ภาพพระโพธิธรรม วาดโดยโยะชิโตชิ (ค.ศ. 1877)


    พระโพธิธรรม (สันสกฤต: โพธิธรฺม, เทวนาครี बोधिधर्म; อักษรโรมัน (NLAC) : bōdhidharma; จีน: 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó , Dámó) แต่ในนิยายกำลังภายในเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา นิกายมหายาน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้
    ตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว พ.ศ. 520 เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย ใกล้เมืองมัทราสในปัจจุบัน มีนัยน์ตาสีฟ้า ตั้งแต่พระชนอายุยังเยาว์ ทรงปราดเปรื่องและแตกฉานในคัมภีร์ของทุก ๆ ศาสนา ตลอดจนวรรณคดี อักษรศาสตร์โบราณ นับเป็นปราชญ์เอกแห่งยุค
    เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์สามารถนั่งฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เบื้องพระบรมศพของพระบิดานานตลอดถึง 7 วัน หลังจากนั้น จึงไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 27 และเป็นพระธรรมทูต เดินทางไปเมืองจีน เมื่อราว ค.ศ. 526 ได้เดินทางไปยังเมืองกวางตุ้งของจีน เข้าเฝ้าจักรพรรดิอู่ตี้ และไม่นานต่อมาได้ก่อตั้งอารามขึ้นในเมืองลั่วหยาง และใช้เวลาปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานถึง 9 ปีในการเพ่งผนังถ้ำ
    ฝ่ายมหายาน ถือว่าพระโพธิธรรมเป็นพระมหาเถระองค์ที่ 28 ที่สืบสายโดยตรงมาจากพระพุทธเจ้า และยังเป็นผู้สถาปนานิกายเซนขึ้นด้วย และเนื่องจากคำสอนของท่านจะเน้นไปที่การเข้าฌาน แนวทางคำสอนของท่านจึงมักจะเรียกกันว่า ฌาน (สันสกฤต : [ธฺยาน] ध्यान : dhyan ) ในภาษาจีนเรียกว่า 'ฉาน' และภาษาญี่ปุ่นว่า 'เซน'
    ประวัติชีวิตของท่านมักจะถือเป็นตำนาน ขาดหลักฐานที่แน่นอน เช่น ตำนานหนึ่งเล่าว่า ท่านได้ตัดหนังตาทิ้ง เนื่องจากโมโหที่เผลอหลับไปขณะทำสมาธิ เมื่อหนังตานั้นตกถึงพื้น ก็เติบโตกลายเป็นต้นชา และตำนานยังเล่าต่อว่า ด้วยเหตุดังกล่าวภิกษุนิกายเซนจึงนิยมดื่มน้ำชา เพราะจะได้ไม่ง่วงเวลาทำสมาธิ
    ท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ. 1079 และมีการสร้างสถูปขึ้นในเมืองเหอหนาน ภายหลังรัชสมัยจักรพรรดิไท่จง ในราชวงศ์ถัง
    [แก้] อ้างอิง

    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; MARGIN: 10px 0px 0px; BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; CLEAR: left; FONT-SIZE: 95%; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD vAlign=top width=40 align=middle>[​IMG]</TD><TD style="COLOR: #696969" align=left>บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยแก้ไขเพิ่มเติมได้</TD></TR></TBODY></TABLE><!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 9460/1000000Post-expand include size: 88718/2048000 bytesTemplate argument size: 17788/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:17083-0!1!0!!th!4 and timestamp 20101028121801 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1".
    <!-- /bodytext --><!-- catlinks -->หมวดหมู่: พระสงฆ์จีน | นิกายเซน | ปรมาจารย์กังฟู | บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ | บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 520 | บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 1079
     
  16. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ตำนานการถ่ายทอดชี้ธรรม
    "พระโพธิธรรม มหาสังฆปรินายก"


    สารบัญ

    1.ตำนานการถ่ายทอดชี้ธรรม
    2.การถ่ายทอดชี้ธรรมในครั้งพุทธกาล
    3.ลำดับพระสังฆปรินายกประธานคณะสงฆ์ยุคต้นพุทธกาล[​IMG]
    4. "พระโพธิธรรม" พระสังฆปรินายกองค์ที่ 1 ของจีน
    5. การเดินทางอันยิ่งใหญ่
    6.รับนิมนต์จากองค์ฮ่องเต้
    7.ชี้แนะนกแก้ว
    8.ชี้แนะเสินกวงฝ่าซือ
    9.ยมฑูตเตือนสติ
    10.ตัดแขนบูชาธรรม
    11.ฝ่ามารผจญ
    12.ทดสอบภูมิธรรม คัดศิษย์สืบทอดภาระกิจ
    13.ปัจฉิมโอวาท
    14.คืนสู่ทิพยภาวะ

    บทนำ

    ภายหลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุถึงอนุตตรสัมโพธิญาณแล้วทรงพิจารณาเห็นว่าธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มามีความละเอียดสุขุมลุ่มลึกยิ่ง ก็บังเกิดความท้อพระว่า จะมีใครสักกี่คนที่จะเข้าใจ อีกทั้งพระทัยหนึ่งก็เกิดความมักน้อยว่า จะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย!
    พระดำริของพระพุทธองค์ด้วยเรื่องนี้ได้ทราบไปถึง ท้าวสหัมบดีพรหมในเทวโลก ท้าวสหัมบดีพรหมตกพระทัยเป็นอย่างยิ่งถึงกับเปล่งสุรเสียงอันดังถึงสามครั้งว่า
    "โลกจะฉิบหายในครั้งนี้ๆ..ๆ.."
    เสียงนั้น ก็ดังแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ท้าวสหัมบดีพรหมพร้อมด้วยเหล่าเทวาคณานิกรจึงเสด็จลงมากราบทูลอาราธนาว่า
    "ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ สัตว์ในโลกนั้นที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือโลกด้วยเทอญ"

    "ตำนานการถ่ายทอดธรรม"

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบรมครูผู้ชี้ธรรมทั้งแก่ เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย พระองค์ทรงแสดงธรรมด้วยวิธีการอันเหมาะอันควร ตามจริงของแต่ละบุคคล กล่าวคือ
    ๑. วิธีค่อยเป็นค่อยไป วิธีนี้ผู้ฟังจะค่อยๆได้รับธรรมะจากง่ายไปหายาก เป็นขั้นเป็นตอนไปโดยลำดับ พระพุทธองค์ทรงใช้วิธีนี้แสดงธรรมแก่คนหมู่มาก ซึ่งแต่ละคนต่างก็ได้รับรู้และหยั่งถึงความหมายในธรรมนั้น ไปตามลักษณะภูมิปัญญาของตน
    ๒. วิธีชี้ตรงฉับพลัน วิธีนี้เหมาะสมกับบุคคลผู้ที่มีพื้นฐานความสามารถสูงเป็นพิเศษ พระพุทธองค์จะทรงถ่ายทอดชี้ธรรมโดยมิต้องตรัสอะไร และผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดนั้น ก็สามารถเข้าใจความหมายได้ทันที กล่าวได้ว่าวิธีการถ่ายทอดเช่นนี้ เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
    ดังโศลกธรรมของนิกายฌาน หรือเซน ชึ่งกล่าวถึงการถ่ายทอดวิธีนี้ว่าเป็น
    "การส่งมอบพิเศษนอกคัมภีร์
    ไม่ต้องอาศัยตัวอักษร
    ชี้ตรงไปยังจิตของมนุษย์
    ให้เห็นแจ้งในภาวะเดิมแท้....บรรลุ "พุทธะ" โดยฉับพลัน"



    การถ่ายทอดธรรมในครั้งพุทธกาล

    โดยอาศัยพระสูตรหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า "ต้าฝั่นเทียนอุ้มผู่เจี้ยอี้จิง"แปลว่า พระสูตรอันกล่าวถึงปัญหาที่ท้าวมหาพรหมทูลถาม มีใจความตอนหนึ่งกล่าวไว้ดังนี้
    "สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏค่ำนั้น ท้าวมหาพรหมได้เสด็จมาเข้าเฝ้าถวายดอกบัวเป็นพุทธบูชาแล้วจึงกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม
    พระตถาคตจึงทรงยกพระหัตถ์ขวาอันบรรจงหยิบดอกบัวชูขึ้นท่ามกลางสันนิบาตนั้น โดยมิได้ตรัสแต่ประการใด
    ในขณะนั้นปวงเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างไม่เข้าใจในความหมาย มีเพียงพระมหากัสสปะผู้เดียวเท่านั้นที่ทัศนาองค์พระบรมครูด้วยดวงตาอันเปล่งประกายจำรัส พร้อมกับรอยยิ้มละไม
    ครั้นแล้วพระโลกนาถเจ้า จึงตรัสขึ้นในท่ามกลางที่ประชุมว่า
    "ตถาคตมีธรรมจักษุอันถูก ตรงนิพพาน
    ตถาคตเป็นผู้มีญาณทัศนะอันรู้จบพร้อมในธรรม
    ตถาคตเป็นผู้มีดวงจิตอันหลุดพ้นแล้ว
    ตถาคตเป็นผู้ธำรงสัจจะอันบริสุทธิ์ไม่เคลือบคลุม
    สิ่งใดอันตถาคตเป็น...ธรรมใดอันตถาคตรู้
    สิ่งนั้น ธรรมนั้น....ตถาคตได้ถ่ายทอด
    ให้แก่มมกัสสปะโดยครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว"
    พระมหากัสสปะ ผู้ถึงช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้ได้บรรลุธรรมทันที เมื่อพระพุทธองค์ทรงใช้ดอกบัว เป็นประหนึ่ง "กุญแจทองไขประตูใจ" เปิดให้เห็นพุทธจิตธรรมญาณแท้ไนตน นี่ก็คือการส่งทอดปัญญาญาณจาก "จิต สู่ จิต" นั่นเอง
    ด้วยเหตุฉะนี้จึงถือว่า พระมหากัสสปะเถระผู้ซึ่งได้รับการแสดงธรรมโปรดโดยวิธี "ชี้ตรงฉับพลัน" และเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่หนึ่ง แห่งพุทธศาสนาในอินเดีย
    หลังจากที่องค์สมเด็จพระศากยมุนีพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์สู่ปิรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะเถระจึงต้องเข้ารับภาระกิจใหญ่หลวงในการจรรโลงพระศาสนา ปกครองดูแลเหล่าสงฆ์สาวกจัดระเบียบต่างๆ ในอาณาจักรธรรม และที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นประธานในการทำสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๑

    ลำดับพระสังฆปรินายก
    ประธานคณะสงฆ์ยุคต้นพุทธกาล


    พระอริยสงฆ์สาวกผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดชี้ธรรม ด้วยวิถีแห่ง "จิต สู่ จิต" แต่ละรุ่นๆ จะได้รับมอบ บาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัญญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง
    การถ่ายทอดธรรมดังกล่าวมีพระอริยเจ้าแต่ละสมัยรับช่วงสืบทอดกันลงมาโดยลำดับดังนี้

    <TABLE style="FONT: inherit; COLOR: inherit"><TBODY><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top><TABLE style="FONT: inherit; COLOR: inherit"><TBODY><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑. พระมหากัสสปะเถระ </TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๓. พระกบิลเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒. พระอานนท์เถระ</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๔. พระนาคารชุน มหาโพธิสัตว์</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๓. พระสันนวสะเถระ </TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๕. พระคุณเทวะเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๔. พระอุปคุปด์เถระ</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๖. พระราหุลตเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๕. พระธริตกะเถระ </TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๗. พระสังฆนันทิเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๖. พระมัจฉกะ </TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๘. พระสังฆยศัสเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๗. พระวสุมิตรเถระ</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๙. พระกุมารตเถร</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๘. พระพุทธนันทิเถระ</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒๐. พระชยเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๙. พระพุทธมิตรเถระ</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒๑. พระวสุพันธุเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๐. พระปารศวะเถระ</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒๒. พระมนูระเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๑. พระปุณยยศัสเถระ</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒๓. พระฮักเลนยศัสเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๑๒. พระอัศวโฆษ มหาโพธิสัตว์</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒๔. พระสินหเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top></TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒๕. พระวสิอสิตเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top></TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒๖. พระปุณยมิตรเถระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top></TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒๗. พระปรัชญาตาระ</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top></TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>๒๘. พระโพธิธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    จนกระทั่งถึง พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ คือ พระโพธิธรรมผู้ซึ่งปฏิบัติภาระกิจอันยิ่งใหญ่ โดยนำการถ่ายทอดโดยวิธี "ชี้ตรงฉับพลัน" จากแผ่นดินตะวันตก คือ อินเดีย กลับสู่แผ่นดินตะวันออกคือ จีน
    ฉะนั้นทางฝ่ายจีน จึงเริ่มนับพระโพธิธรรม เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๑ ของจีน



    พระโพธิธรรมพระสังฆปรินายก
    องค์ที่ ๑ ของจีน


    "พระโพธิธรรม" เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย
    ตั้งแต่พระชนอายุยังเยาว์ ทรงปราดเปรื่องและแตกฉานในคัมภีร์ของทุกๆศาสนา ตลอดจนวรรณคดีอักษรศาสตร์โบราณ นับเป็นปราชญ์เอกแห่งยุค
    เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์สามารถนั่งฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เบื้องพระบรมศพของพระบิดานานตลอดถึง ๗ วัน หลังจากนั้น จึงไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๗
    พระปรัชญาตาระเถระ ได้หยิบลูกแก้วยกขึ้นให้ท่านโพธิธรรมดูเป็นปริศนา ในทันใดนั้น ท่านก็บังเกิดความสว่างไสวรู้แจ้งแทงตลอดถึงธรรมที่ตนเคยสงสัยมาทั้งหมด กระทั่งสามารถตอบปัญหาธรรมได้หมด เมื่อบรรลุธรรมแล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    พระปรัชญาตาระเถระ เห็นถึงปัญญาบารมีอันสูงล้ำของพระโพธิธรรม จึงได้เรียกประชุมคณะสงฆ์และประกาศว่า
    "พระโพธิธรรม ได้บรรลุธรรมสมบูรณ์ดีแล้ว ฉันจะมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ และถ่ายทอดธรรมทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ท่านเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ ต่อจากฉันไปเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา
    ต่อจากนี้ไป เป็นสิทธิหน้าที่ของท่านที่จะทำให้วิถีธรรมนี้แพร่หลายไปทั่วทุกหนทุกแห่งในโลก และจงเลือกศิษย์ที่บรรลุธรรมตลอดจนมีความรู้ในธรรมที่ มั่นคงดีแล้ว เป็นผู้รับสืบทอด บาตรจีวร สังฆาฏิ และวิถีธรรมตรงนี้อย่างระมัดระวัง อย่าให้ขาดตอนลงไปได้
    ท่านมีบุญญลักษณะ บารมีดีพร้อม และอายุยืนยาวมากกว่าพระสังฆปรินายกองค์ใดๆ หลังจากที่ฉันดับขันธ์ไปแล้วเป็นเวลา ๖๗ ปี แผ่นดินนี้จะเกิดภัยสงครามใหญ่อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
    ท่านจึงควรนำวิถีธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เผยแพร่ไปสู่ประเทศจีนเถิด

    การเดินทางอันยิ่งใหญ่
    พระโพธิธรรมพระเถระชั้นสูงชาวอินเดีย ซึ่งในนิยายจีนกำลังภายใน เรียกขานพระนามว่า " ปรมาจารย์ตั๊กม๊อ " หรือ "ผู่ ถี ต๋า ม๋อ"

    <TABLE style="FONT: inherit; COLOR: inherit"><TBODY><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top><TABLE style="FONT: inherit; COLOR: inherit"><TBODY><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>ผู่ ถี หรือ โพธิ</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>หมายถึง ผู้รู้</TD></TR><TR><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>ต๋า ม๋อ</TD><TD style="FONT: inherit; COLOR: inherit" vAlign=top>หมายถึง ธรรมะ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระโพธิธรรมมหาเถระ ออกเดินทางจากอินเดียโดยลงเรือโต้คลื่นลมฝามรสุม มุ่งสู่ประเทศจีน
    กล่าวกันว่าช่วงเวลานั้น แม้ในประเทศจีนจะมีพระพุทธศาสนาสถาปนาขึ้นแล้ว แต่พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติธรรมกันแต่เพียงผิวเผิน การสวดมนต์ภาวนา ศึกษาธรรม ก็มิได้ทำอย่างจริงจังกระทั่งเล่าเรียนพระไตรปิฎก ก็หวังเพียงประดับความรู้ หรือไม่ก็ใช้เป็นข้อถกเถียงเพื่ออวดภูมิปัญญา
    จะกล่าวไปไยกับการมุ่งปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา ช่างยากที่จะหาคนทุ่มเทฝึกฝน คนก็คือคน นั่งนานก็บ่นว่าเมื่อย ล้วนกลัวความยากลำบาก ไม่จริงใจในการปฏิบัติ แต่ร่ำร้องจะเอามรรคผล
    แท้จริงแล้ว ก่อนหน้าที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อจะเดินทางมาจีนท่านได้ส่งพระภิกษุสาวก ๒ รูป ให้เดินทางมาสำรวจดูลู่ทางก่อนแต่ทว่าเมื่อศิษย์ทั้งสองมาถึงแผ่นดินจีน กลับไม่ได้รับการต้อนรับหรือสนับสนุนจากทั้งนักบวชและผู้คนทั้งหลายเท่าที่ควร
    ในที่สุดพระภิกษุทั้งสองรูป จาริกมาถึงที่ หลู่ ซัน ได้พบปะกับอาจารย์ ฮุ่ย เอวียน ไต้ชือ ผู้ซึ่งคร่ำเคร่งต่อการท่องสวด
    ท่าน ฮุ่ย เอวียนไต้ซือ ได้ถามศิษย์ของพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า
    "ท่านทั้งสองเป็นภิกษุอินเดีย นำธรรมะอะไรมาเผยแพร่?แล้วทำไมผู้คนถึงไม่ศรัทธา? "
    เวลานั้นภิกษุทั้งสอง พูดภาษาจีนได้น้อยมาก ไม่รู้จะ อธิายอย่างไรจึงได้แต่แบมือยื่นออกไปแล้วตวัดกลับมาอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งเอ่ยขึ้นว่า
    "มันเร็วไหม? "
    ท่านฮุ่ย เอวียน ไต้ซือ ก็ตอบว่า
    "ใช่...เร็วมาก"
    ศิษย์ของอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงกล่าวว่า
    "โพธิ และ ทุกข์ ก็เร็วเช่นนี้แหละ"
    เมื่อนั้น ท่าน ฮุ่ย เอวียน ไต้ซือ ก็บังเกิดความสว่างจิตรู้แจ้งในทันที และได้เปล่งอุทานธรรมขึ้นว่า
    "ทุกข์ คือ สุข...สุข คือ ทุกข์
    ไม่แตกต่าง..ทั้งสองอย่างเกิดดับอยู่ที่ "ใจ"
    อยู่ข้างไหน...ก็ขึ้นอยู่กับใจที่สำแดง"
    หลังจากที่ท่าน ฮุ่ย เอวียน ไต้ชือ รู้แจ้งในธรรมแล้ว จึงกล่าวนิมนต์ให้พระภิกษุอินเดียทั้ง ๒ รูป อยู่พำนักจำพรรษาที่อารามของท่าน แต่ช่างน่าเสียดายที่ต่อมาไม่นานศิษย์ทั้งสองของอาจารย์ตั๊กม๊อก็ดับขันธ์ไปในวันเดียวกัน ชึ่งสถานที่บรรจุสรีระสังขารของทั้งสองท่าน ก็ยังคงปรากฏอยู่ ณ เขา หลู่ ชัน เป็นหลักฐานตราบจนทุกวันนี้
    ต่อมาเมื่อพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้พิจารณาเห็นถึงวาระอันควรท่านจึงประกาศต่อบรรดาสานุศิษย์ในอินเดียว่า
    "บัดนี้เวลาแห่งการปฏิบัติภาระกิจสำคัญมาถึงแล้วอาจารย์ต้องนำเอาหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ ไปสู่แดนบูรพา"
    พระโพธิธรรม พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ ผู้รับสืบทอดวิถีธรรมตรง จึงลงเรือออกเดินทางโดยมิได้ย่อท้อต่อความลำบากเหนื่อยยาก มีเพียงความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบหลักแห่งจิตญาณอันเที่ยงแท้ เพื่อฉุดช่วยเวไนยสัตว์ทั้งปวง
    ด้วยรูปลักษณ์ของพระองค์ท่าน ที่เป็นชาวอินเดียมีหนวดเคราดกรุงรัง นัยน์ตาทั้งคู่กลมโต ผิวดำคลา ชาวบ้านที่พบเห็น ก็จะหลอกลูกหลานว่า พระแขกจะมาจับตัว เพื่อให้เด็กๆกลัว ฉะนั้นแม้ว่าท่านจะเดินไปทางไหน เด็กๆก็จะพากันวิ่งหนีเข้าบ้านหมดบางคราวต้องฝ่าแดดกรำฝน ท่านก็จะดึงเอาผ้าจีวรขึ้นคลุมศีรษะกันร้อนกันหนาว นานวันผ้าจีวรที่ห่มอยู่ก็ชำรุดคร่ำคร่าเปื่อยขาดอันเนื่องจากการรอนแรมนานถึง ๓ ปี!

    [​IMG]
    ภาพศิลาจารึก พระสังฆปริณายกองค์ที่ ๑.


    พระโพธิธรรม มหาครูบา. ภาษาจีนที่เห็นนั้น แต้จิ๋วอ่านว่า "ตงโท้วชอโจ้ว ผู่ที้ตกม้อใต้ซือ" ปฐมาจารย์องค์แรกจากอินเดียนำพระพุทธศาสนา นิกายเซ็น (ฌาน) สู่แผ่นดินจีน ชาวจีนนิยมเรียกสั้นๆว่า "ชอโจ้ว หรือ อิ๊ดโจ้ว" หมายว่าองค์แรกคือที่ ๑. หรือ"ตกม้อโจ้วซือ" (ถ้านับจากอินเดียตามสายลงมาเป็นอันดับองค์

    รับนิมนต์จากองค์ฮ้องเต้

    กระทั่ง ณ วันที่ ๒๑ ค่ำเดือนเก้า สมัยราชวงศ์เหลียงบู๊ตี้ประมาณปีพุทธศักราช ๑๐๗๐ ท่านจึงมาถึงยังฝั่งเมืองกวางโจว
    ขณะนั้น พระเจ้าเหลียงบู้ตี๊ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาพุทธศาสนามาก ทรงถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ เมื่อข่าวการมาถึงของพระอาจารย์ตั๊กม๊อถูกรายงานไปยังราชสำนัก พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงปิติยินดี ยิ่งจึงได้มีพระกระแสรับสั่งให้อาราธนาเข้าเฝ้าทันที
    ในปีนั้นเองพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับนิมนต์จากพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ไปยังนานกิงนครหลวงเพื่อถกปัญหาธรรม
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้ตรัสถามพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า
    "ตั้งแต่ข้าพเจ้าครองราชย์มา ได้สร้างวัดวาอาราม โบสถ์วิหาร และพระคัมภีร์มากมาย อีกทั้งอนุญาตให้ผู้คนได้บวช โปรยทาน ถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนทะนุบำรุงพระศาสนามากมาย ไม่ทราบว่าจะได้รับกุศลมากน้อยเพียงใด? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า
    "ที่มหาบพิตรบำเพ็ญมาทั้งหมด เป็นเพียงบุญกิริยาทางโลกเท่านั้น ยังมิใช่กุศลแต่อย่างใด"
    การที่ท่านตอบเช่นนั้น ก็เพราะพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้มีความเข้าพระทัยผิด ดั่งที่แม้ปัจจุบันผู้คนก็จะคิดว่า "บุญ" และ "กุศล"เป็นอย่างเดียวกัน จึงเรียกสับสนปนเปกันไป
    แท้ที่จริง การให้ทานเงินทอง วัตถุสิ่งของ อาหาร หรือสร้างวัดวาอาราม ฯลฯ เรียกว่า "บุญ" หมายถึง ส่งที่ทำให้ฟูใจทำให้ใจมีปิติอิ่มเอมเท่านั้น ส่วน "กุศล" หมายถึงสิ่งที่จะช่วยขจัดเครื่องกางกั้น ช่วยให้จิตหลุดรอดไปจากสิ่งครอบคลุมห่อหุ้ม"พุทธะจิตธรรมญาณ" ฉะนั้นกุศลที่แท้ คือ ความรู้แจ้งทางจิตใจคือปัญญาอันผ่องแผ้วสมบูรณ์ เป็นความว่าง สงบจากกิเลส
    เวลานั้นพระเจ้าเหลี่ยงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "อริยสัจ คืออะไร? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่มี"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "เบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ คือใคร?"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่รู้จัก"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงได้ยินคำตอบเช่นนั้น ไม่ค่อยพอพระทัย
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นว่า พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงสั่งสมภูมิปัญญายังไม่แก่กล้าพอที่จะบรรลุได้ จึงทูลลาจากไป
    เมื่อท่านเดินทางพ้นจากเมืองไปแล้ว พระธรรมาจารย์ปอจี่เชี้ยงซือ คือ พระเถระผู้ทรงปราดเปรื่องรอบรู้พระไตรปิฎกได้เข้าเฝ้าแล้วกราบทูลถามพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ว่า
    "พระภิกษุอินเดียรูปนั้น ขณะนี้พำนักอยู่ที่ใด? "
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสว่า
    "จากไปแล้ว.....ท่านเป็นใครหรือ? "
    พระธรรมจารย์ ปอจี่เซียงซือ กราบทูลว่า
    "ท่านคือ พระกวนอิมมหาโพธิสัตว์อวตารมาทีเดียว...ฝ่าพระบาทได้พบท่าน เหมือนไม่ได้พบ ได้เห็นท่าน แต่เหมือนไม่ได้เห็น"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงทราบเช่นนั้นจึงมีพระดำริ จะให้ทหารออกติดตามไปอาราธนาท่านกลับมา ฝ่ายพระธรรมจารย์ปอจีเซียงซือ ได้กราบทูลต่อไปอีกว่า
    "ไร้ประโยชน์...ถึงจะยกทัพไปแสนนาย ท่านก็ไม่กลับมา"


    ชี้แนะนกแก้ว

    เมื่อพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินทางจากเมืองหลวงแล้ว ระหว่างทางจาริกท่านได้พบนกแก้วตัวหนึ่งถูกขังอยู่ในกรง เจ้านกแก้วตัวนี้ถึงจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ทว่ามันมีปัญญามากกว่าคนทั่วไปเสียอีกเพราะมันสามารถล่วงรู้ด้วยสัญชาตญาณว่า มีพระอรหันต์ขีณาสพผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก เหยียบย่างมาถึงแผ่นดินนี้แล้ว
    พอเห็นพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินเข้ามาใกล้ เจ้านกแก้วจึงร้องเรียกขึ้นว่า
    "ท่านผู้เจริญ!....ท่านผู้สูงส่ง....ขอท่านได้โปรดเมตตาชี้แนะช่องทางให้ข้าน้อยออกจากกรงขังนี้ด้วยเถิด"
    ฝ่ายพระอาจารย์ตั๊กม๊อ เมื่อได้ยินคำวิงวอนจากนกแก้ว ก็ให้คิดคำนึงในใจว่า
    "นับตั้งแต่มาถึงแผ่นดินจีน..จนกระทั่งบัดนี้ จะหาใครบ้างที่ล่วงรู้ในจิตใจ มีใครที่มีวาสนาพอจะ แนะวิถีธรรมให้ได้บ้าง จะมีก็แต่เจ้านกแก้วตัวนี้ ที่ร้องขอเมตตา"
    ครั้นแล้ว พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงโปรดชี้แนะเจ้านกแก้วไปว่า
    "สองขาเหยียดตรง สองตาปิดสนิท เท่านี้แหละ....เจ้าก็จะออกจากกรงได้"
    เจ้านกแก้วฟังแล้วก็เข้าใจความหมายทันที มันจึงเฝ้ารอคอยให้เวลามาถึง ทั้งนี้เพราทุกๆเย็น เมื่อเจ้าของนกแก้วกลับถึงบ้าน ก็จะแวะหยอกล้อกับมันเป็นกิจวัตร
    ดังนั้นพอนกแก้วเห็นนายของมันเดินมาแต่ไกล มันจึงรีบล้มตัวลงนอน หลับตาสนิท เหยียดขาตรง ทำตัวแข็งทื่อ
    ครั้นเจ้าของมองดูในกรง เห็นนกแก้วแสนรักของตนนอนแน่นิ่งไม่ไหวติงเช่นนั้นก็ตกใจ รีบเปิดกรงเอื้อมมือเข้าไปประคองอุ้มมันออกมาเพื่อตรวจดูว่าเป็นอะไร แต่เอ๊ะ...ทำไมตัวมันยังคงอุ่นๆอยู่ทันใดนั้นเอง เจ้านกแก้วชึ่งรอคอยโอกาสอยู่ก็กางปีกบินหนีไปอย่างรวดเร็ว มันโผบินขึ้นสู่ท้องฟ้า ด้วยความสุขสำราญและอิสระเสรีอย่างที่สุด
    หันมามองดูมนุษย์ในโลกกันบ้าง ถึงไม่ได้ถูกจับใส่กรงขัง ก็อย่าหลงนึกไปว่าตนเองอิสระ ผู้คนทั้งหลาย บ้างนึกอยากจะกินก็กินใครอยากจะดื่มก็ดื่ม สำมะเลเทเมาสนุกให้สุดเหวี่ยง ไม่มีศีล ไม่มีสัจจ์ ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความถูกต้อง ไม่เห็นความดีงามความควรไม่ควรไม่มีอยู่ในสายตา ทำทุกอย่างตามความพอใจของตนแล้วคิดว่านั่นเป็น ความอิสระเสรี
    แท้จริงมันเป็นอิสระจอมปลอม เป็นชีวิตที่ไร้แก่นสารไร้สาระความหมายที่แท้จริงของ "ชีวิตอิสระ" คือ อิสระจากการเกิด-ตาย
    ไม่ใช่ทุกคนที่อยากเกิด แต่ก็ต้องเกิด
    และไม่ใช่ว่าทุกคนอยากตาย แต่ก็ต้องตาย
    ใครบ้างเลือกได้ หรือ เลี่ยงได้
    มีเพียงผู้ที่อิสระแท้จริงเท่านั้นที่อยู่เหนือโลก คือ สามารถพ้นเกิดตาย เจ้านกแก้วเป็นตัวอย่างของการไปให้ถึงความเป็นอิสระ
    คือ การ "ตาย" เสียก่อน "ตาย"
    ผู้ที่สามารถ ตายจาก รัก โลภ โกรธ หลง
    ตายจาก ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
    ชิวตในโลกของเขาผู้นั้นไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสตัณหาอวิชชาทั้งหลาย เช่นนี้..จึงจะได้ชื่อว่า "ตายก่อนตาย" ได้สู่อิสระเสรี อย่าง แท้จริง


    ชี้แนะเสินกวงฝ่าซือ

    ย้อนกล่าวถึง พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ได้เดินทางมาถึงวัดใหญ่แห่งหนึ่ง มีท่านเจ้าอาวาสนามว่า "เสินกวง" ท่านเจ้าอาวาสรูปนี้เป็นผู้ที่มีปัญญาหลักแหลมมาก และความจำล้ำเลิศชนิดที่ว่า คนทั่วไปอ่านหนังสือกันทีละแถว แต่ท่านสามารถอ่านได้ทีละ ๑๐ แถวท่านสามารถฟังคนร้อยคนพูดในเวลาเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้นท่านสามารถแยกแยะเรื่องราวจากเจ้าของเสียงได้อย่างถูกต้อง นับว่าท่านเสินกวงฝ่าชือ เป็นพระสงฆ์อัจฉริยะองค์หนึ่ง แต่ทว่าอีกด้านหนึ่งท่านก็เป็นนักบวชที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวมากด้วยเช่นกัน ในด้านการเทศนาธรรม ท่านเจ้าอาวาสเสินกวง นับเป็นนักเทศน์ชั้นเยี่ยมยอดแห่งยุคนั้น เพราะท่านสามารถเทศน์จนศรัทธาสาธุชนที่มานั่งฟังสามารถมองเห็นภาพสวรรค์ภาพนรกขึ้นมาได้
    วันนั้นขณะพระอาจารย์ตั๊กม๊อมาถึง ท่านเสินกวง กำลังแสดงธรรมเทศนา มีสานุศิษย์ชุมนุมอยู่เป็นจำนวนมาก พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงเข้าไปปะปนนั่งนิ่งฟังอยู่แถวหลังสุด ตอนไหนที่ถูกท่านก็ยิ้มๆ แล้วผงกศีรษะหน่อยๆ ตอนไหนที่เทศน์ผิดความหมาย..ท่านก็จะส่ายหน้าหน่อยๆ
    ฝ่ายท่านเสินกวง ผู้ซึ่งกำลังแสดงธรรมอยู่บนแทนธรรมมาสน์ เมื่อมองเห็นพระภิกษุอินเดียแปลกหน้ามาแสดงกิริยาเช่นนั้น เหมือนกับว่าเป็นการตำหนิตน ก็รู้สึกไม่สบอารมณ์บ้างแล้ว
    ครั้นการเทศนาธรรมจบลง ผู้คนเริ่มทะยอยกันกลับ พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงถือโอกาสเข้าไปสนทนาเพื่อหวังชี้แนะ ด้วย เห็นว่าเป็นผู้มีภูมิธรรมปัญญาเป็นฐานอยู่แล้ว
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านอยู่ที่นี่ทำอะไร? "
    ท่านเสินกวง "อ้าว!...ข้าก็เทศน์ธรรมอยู่ที่นี่น่ะซิ!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านเทศน์ธรรมเพื่ออะไร?"
    ท่านเสินกวง "เทศน์เพื่อให้ผู้คนหลุดพ้น!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "จะช่วยคนให้พ้น เกิดตายได้อย่างไร...ในเมื่อธรรมที่ท่านเทศน์ ก็คือ
    ตัวหนังสือบนคัมภีร์
    ตัวหนังสือดำ ก็เป็นสีดำ
    กระดาษขาว ก็เป็นสีขาว
    เทศน์ไปเทศน์มา ก็คือเทศน์ตามตัวหนังสือดำๆ บนกระดาษขาวๆ
    เมื่อถูกจู่โจมด้วยคำถามชนิดไม่ทันให้ตั้งตัว ท่านเจ้าอาวาสเสินกวงได้แต่อึกอักอ้าปากค้าง ไม่รู้จะตอบอย่างไร จากความอายกลายเป็นโกรธจัด แม้ว่ายามปกติท่านจะเป็นนักเทศน์ที่เยี่ยมยอดก็ตาม แต่คราวอารมณ์โกรธปะทุ ขึ้นมาก็จะรุนแรงราวฟ้าผ่า
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นท่านเสินกวงไม่อาจตอบก็พูดย้ำเข้าไปอีกว่า
    "นี่แหละน๊า...แผ่นดินจีนในยุคนี้
    มีธรรมะ ก็เหมือนไม่มี
    หากจะว่าไม่มี ก็มีคนพูดธรรมะกันทั้งเมือง"
    ถึงตอนนี้ ท่านเสินกวงสุดจะกันความโกรธเอาไว้ได้ จึงเหวี่ยงสายประคำฟาดไปที่หน้าของพระอาจารย์ตั๊กม๊ออย่างสุดแรงพร้อมกับตะโกนด่าว่า
    "นี่แน่ะ!....แกกล้าดีอย่างไร ถึงมาเป็นตัวบ่อนทำลายศาสนาที่นี่"
    จะว่าไปแล้ว พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ท่านก็เป็นผู้ล้ำเลิศในเชิงวิทยายุทธ แต่ก็มิได้หลบหลีกการประทุษร้าย ทั้งนี้เพราะท่านนึกไม่ถึงว่า บรรพชิตผู้ออกบวช อีกทั้งยังมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนมากมาย จะมากด้วยโทสะจริตจนถึงกับลงมือลงไม้กันหนักขนาดนี้ และผลจากการถูกฟาดด้วยสายประคำเส้นใหญ่อย่างแรง ทำให้ฟันคู่หน้าทั้ง ๒ ซี่ หลุดอยู่ในปาก!
    ตามตำนานโบราณได้กล่าวว่า หากแม้นองค์พระอรหันต์เจ้าผู้บริสุทธิ์พระองค์ใด ถูกล่วงเกินทำร้ายถึงกับพระทันตธาตุต้องตกล่วง แม้ว่าเศษแห่งพระทันตธาตุนั้นตกลง ณ พื้นแผ่นดินใด แผ่นดินนั้นจะต้องประสบทุพภิกขภัย แห้งแล้งติดต่อกันถึง ๓ ปี!
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อผู้เปี่ยมด้วยมหาเมตตาจิต พิจารณาว่า
    "หากแผ่นดินนี้ต้องแล้งฝน ขาดน้ำถึง ๓ ปี ชาวบ้านผู้คนเด็กเล็ก ตลอดจนสัตว์ใหญ่น้อยมากมาย จะต้องล้มตายกันนับไม่ถ้วนอันตัวเรานี้อุตส่าห์ดั้นต้นเดินทางจากแผ่นดินเกิดมาไกลแสนไกลก็เพื่อประกอบภาระกิจโปรดเวไนยสัตว์ มิใช่กลับกลายเป็นก่อวิบากกรรมให้แก่มวลเวไนย ให้ทุกข์ยากลงไปอีก"
    ท่านดำริใคร่ครวญเช่นนี้แล้ว จึงกลืนฟันที่ถูกฟาดจนหลุดทั้ง๒ ซี่ลงไปไนท้อง ไม่ยอมบ้วนลงพื้น พระอาจารย์ตั๊กม๊อผู้มีจิตพ้นแล้วจากกิเลสใหญ่น้อยทั้งปวง ไม่มีความรู้สึกระคายเคืองใจ แม้เพียงน้อยนิต จึงได้แต่หันหลังเดินจากไปด้วยอาการสงบเย็น

    ยมฑูต เตือนสติ

    ท่านเสินกวงเจ้าอาวาส เมื่อได้ฟาดสายประคำระบายโทสะไปแล้ว ก็รู้สึกสมใจ ยิ่งไม่ใด้รับการโต้ตอบ ก็ยิ่งคิดไปว่าเป็นเพราะพระภิกษุอินเดียแปลกหน้ารูปนั้นเกรงกลัวบารมีของตน ทำให้กระหยิ่มยิ้มย่องในใจ
    แต่หลังจากเหตุการณ์นั้นแล้ว อีก ๓ วันต่อมา ขณะที่กำลังจำวัตรพักผ่อน ยมฑูต ๒ ตน ก็ปรากฏร่างมายืนอยู่ตรงหน้าพร้อมกับแจ้งว่า
    "วันนี้...ถึงเวลาแล้วที่ท่านต้องหมดบุญสิ้นอายุขัย
    ไม่อาจอยู่บนโลกมนุษย์อีกต่อไป!
    ท่านพญายมผู้เป็นใหญ่ ให้ข้าทั้งสองมานำตัวท่านลงไปในยมโลกเดี๋ยวนี้!"
    ท่านเจ้าอาวาสได้ยินเช่นนั้นก็ตกตะลึงระล่ำระลักถามยมฑูตว่า
    "อาตมาได้บวชเรียนศึกษพระธรรมปฏิบัติกิจบำเพ็ญมากมายกระทั่งเทศนาธรรม...มวลหมู่เทพยดาบนสวรรค์ยังเสด็จลงมาฟังถึงขนาดนี้แล้วถ้าแม้ตัวอาตมายังไม่พ้นเงื้อมมือพญายม ไม่อาจหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการเกิดการตาย แล้วในโลกนี้ยังจะมีใครอีกเล่า...ที่สามารถหลุดพ้นไปได้"
    ยมฑูตตนหนึ่งได้ตอบเจ้าอาวาสเสินกวงว่า
    "ในโลกมนุษย์ยังมีผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่เพียงแต่ท่านพญายมไม่อาจเอื้อมควบคุม กลับยังจะต้องกราบสักการะท่านอยู่เป็นเนืองนิจ พระอริยเจ้าพระองค์นั้น คือ พระภิกษุอินเดีย ที่ถูกท่านใช้สายประคำฟาดจนพระทันตธาตุหลุดไปนั้นแหละ!"
    ท่านเสินกวงได้ยินเช่นนั้น ก็ทั้งตกใจและเสียใจ จึงวิงวอนว่า
    "ขอท่านยมฑูตทั้งสองโปรดให้เวลาอาตมาสักระยะหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้ไปขอรับธรรมะแห่งการหลุดพ้นจากพระอาจารย์ผู้บรรลุแล้วพระองค์นั้น"
    ยมฑูตทั้งสอง ก็ยินยอมผ่อนผันตามคำร้องขอ พอท่านเสินกวงสะดุ้งตื่นขึ้น ก็รีบออกติดตามหาพระอาจารย์ตั๊กม๊อ จนกระทั่งลุถึงวันที่ ๑๙ ค่ำ เดือนสิบจึงตามมาทัน ครั้นเห็นพระอินเดียยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแยงชีแต่ไกล ท่านเสินกวงจึงรีบวิ่งไปจวนเจียนจะถึงองค์ท่านอยู่แล้ว
    ขณะนั้นพระอาจารย์ตั๊กม๊อกำลังจะข้ามฟาก แต่มองหาเรือไม่มีเลย ท่านจึงดึงเอาต้นหญ้าเล็กๆปล้องหนึ่ง โยนลงแม่น้ำที่กำลังไหลเชี่ยว แล้วกระโดดลงไปยืนลอยบนต้นหญ้าเล็กๆนั้น ตาเพ่งจมูกจมูกเพ่งใจ ใจเพ่งท้องน้อย ผนึกลมปราณสมาธิ อาศัยกระแสลมซึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ พาท่านข้ามไปยังฝั่งเหนือ ชึ่งเหตุการณ์สำคัญนี้ ในวัดเส้าหลินปัจจุบันยังคงเก็บรักษาแผ่นสิลาสลักรูป
    "พระโพธิธรรมข้ามแม่น้ำด้วยหญ้าต้นเดียว" เอาไว้เป็นหลักฐานแห่งบุญญาภินิหาร
    ฝ่ายท่านเสินกวง ได้แต่ทรุดตัวกราบลงที่ริมฝั่งแม่น้ำพร้อมกับตะโกนร้องขอขมาโทษ...ขออาราธนาให้ท่านกลับมาอีก...พระอาจารย์ตั๊กม๊อ หันมามองดูแล้วก็ยิ้มและยกมือกวัก ประหนึ่งว่าจะให้กระโดดน้ำก็ตามท่านไป
    อนิจจา....ท่านเสินกวง ถึงจะมีใจศรัทธายิ่งในกฤษดาภินิหารของพระอินเดีย แต่ทว่าว่ายน้ำไม่เป็น จึงไม่กล้ากระโดดตามลงไปได้แต่ยกมือพนมตะเบ็งเสียงร้องว่า
    "ขอท่านผู้สูงส่ง ได้โปรดกลับมาเถิดๆๆ"
    ขณะนั้นมีหญิงชราคนหนึ่งแบกมัดฟางเดินมา นางเห็นเหตุการณ์ที่เกด ก็ยุเสริมให้กระโดดน้ำตามไป
    ท่านเสินกวงจึงบอกว่า "อาตมาว่ายน้ำไม่เป็น"
    หญิงชรากลับย้อนว่า "ท่านกลัวตายหรือ...แล้วทำไมเขาไม่กลัวตายล่ะ? "
    ว่าแล้วนางก็โยนมัดฟางให้ ท่านเสินกวงจึงตัดสินใจกระโดดเกาะมัดฟางนั้น พยุงตัวไหลไปตามกระแสน้ำอันเชี่ยวกราดกระทั่งลับสายตาไปทั้งคู่
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ข้ามแม่น้ำแยงซีไปถึงวัดเส้าหลินบนเทือกเขาชงชาน อำเภอลั่วหยาง มณฑลเหอหนัน แล้วพำนักอยู่ที่นั่น ท่านได้ค้นหาถ้ำธรรมชาติถ้ำหนึ่งบนเขาหลังวัด แล้วนั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนังถ้ำ วันๆจะนั่งนิ่งไม่ไหวติงไม่พูดจากับผู้ใดท่านนั่งสมาธิเข้าฌานอยู่เช่นนี้ เป็นเวลาถึง ๙ ปี
    นานวันเข้า เงาร่างที่กระทบทาบไปบนผนังศิลา ได้ฝังรอยติดอยู่จนมองเห็นได้ชัดเจน สามารถเห็นได้แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ จึงได้ชื่อว่า "ผนังศิลาเงา

    ตัดแขนบูชาธรรม

    ฝ่ายท่านเสินกวง ชึ่งกระโดดนาติดตามมา ก็เฝ้าคอยปรนนิบัติพระอาจารย์ตั๊กม๊ออยู่ไม่ยอมไปไหน ตลอดระยะเวลา ๙ ปีที่พระอาจารย์นั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนัง ท่านเสินกวงก็พยายามมาคุกเข่ารออยู่ที่หน้าถ้ำ ด้วยความหวังว่าจะได้รับการถ่ายทอดธรรมอันสูงสุดเพื่อความหลุดพ้น บริเวณที่ท่านเสินกวงคุกเข่า ต่อมาได้ถูกสร้างเป็นศาลาขึ้น มีชื่อว่า "ศาลากลางหิมะ" ซึ่งยังปรากฎเป็นหลักฐานให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้
    เวลาผ่านไปถึง ๙ ปี ในวัน ๒๙ คำ ปีไท่เหอที่สิบ วันนั้นหิมะตกหนักมาก ท่านเสินกวงคุกเข่าอยู่หน้าถ้ำตลอดทั้งคืน จนหิมะท่วมสูงถึงเอว ครั้นรุ่งเช้าพระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ได้เดินออกมาจากถ้ำ พร้อมกับเอ่ยถามขึ้นว่า
    "เธอมาคุกเข่าตากหิมะอยู่ที่นี่ เพื่อประสงค์อะไร? "
    ๙ ปีแห่งการรอคอย ท่านเสินกวง ตื้นตันจนน้ำตาไหลชึมออกมา แล้วตอบว่า
    "ข้าผู้น้อย....มาขอรับการถ่ายทอดวิถีธรรมขอรับ
    ขอท่านอาจารย์ได้โปรดเมตตาเปิด "ประตูมรรคผล"
    ชี้ทางแห่ง "พุทธะ" แก่ศิษย์ด้วยเถิด"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "พระพุทธองค์สละเวลามากมายทุ่มเทชีวิตในการฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุมรรคผล แล้วตัวเธออาศัยความตั้งใจเพียงเล็กน้อยมาขอรับธรรมอันยิ่งใหญ่ คงยากที่จะสมหวัง!"
    ขณะนั้น ท่านเสินกวงได้แต่ก้มหน้านิ่ง ไม่รู้จะตอบว่าอย่างไร
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ย้อนถามอีกว่า
    "หิมะสีอะไร?"
    ท่านเสินกวง "ขาวขอรับ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ถ้าเช่นนั้น...เธอจงรอไปจนถึงเวลาที่หิมะเป็นสีแดงเมื่อใด เมื่อนั้นแหละฉันจึงจะถ่ายทอดวิถีธรรมเพื่อความหลุดพ้นแก่เธอ!"
    คำพูดอันเป็นปริศนา เพื่อทดสอบภูมิธรรมปัญญาจากพระอาจารย์ตั๊กม๊อ ทำให้ท่านเสินกวงทั้งเสียใจ ทั้งสิ้นหวังหมดอาลัยตลอด ๙ ปีที่เฝ้ารอคอยมา...ความสมหวังดูช่างเลือนลาง มิหนำช้ำความรันทดอัดอั้นตันใจเมื่อระลึกถึงความผิดบาป ที่ตนได้ประทุษร้ายพระอริยเจ้าผู้บริสุทธิ์ด้วยโทสะจิต ความผิดฉกรรจ์ครั้งนั้น หากจะชดใช้ด้วยชีวิตก็มิอาจจะไถ่โทษ ถึงตัวจะตายแต่จิตวิญญาณก็ใช่ว่าจะหลุดพ้นเป็นอิสระไปได้ ความสับสนคับอกคับใจความหมดอาลัยสิ้นหวัง ทับโถมประดังเข้ามา มิอาจจะสรรหาคำพูดใดๆ มาพรรณาได้
    ทันใดนั้นเอง ท่านเสินกวงก็หันไปคว้ามีดตัดฟืนข้างกายยกขึ้นมาฟันแขนซ้ายตนเองจนขาดตกลงบนพื้น! จากนั้นท่านก็ไช้มือขวาหยิบแขนที่ขาด ยกขึ้นถวายบูชาพระอาจารย์ตั๊กม๊อประหนึ่งแทนความในใจทั้งหมด
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงกล่าวขึ้นว่า
    "เพื่อแสวงหาโมกขธรรม พระโพธิสัตว์ไม่ติดในสังขารและชีวิตเธอสละแขนขอธรรมนับว่าควรสรรเสริญ...นับว่าควรสรรเสริญ"
    ขณะเดียวกัน ท่านเสินกวงซึ่งก้มหน้าของตนเอง เห็นเลือดจากแขนไหลนองพื้น หิมะที่ขาวสะอาดซึมซับไว้ได้กลับกลายเป็นสีแดงฉาน! ท่านจึงเงยหน้ารีบบอกไปว่า
    "ได้โปรดเถิดท่านอาจารย์...บัดนี้หิมะสีแดงปรากฏต่อสายตาท่านแล้วขอรับ!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ยิ้มด้วยความยินดี พร้อมกับกล่าวว่า
    "นี่คือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น....
    การมาถึงแดนบูรพาในครั้งนี้...ไม่สูญเปล่า
    เพราะยังมีบุญวาสนามาพบผู้มีศรัทธาแรงกล้า
    ที่จะสามารถรับรู้และปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมอันเที่ยงแท้ได้"
    เมื่อพระอาจารย์ตั๊กม๊อกล่าวจบ ท่านได้สกัดจุดห้ามเลือดแล้วรักษาบาดแผล ท่านเสินกวงรู้สึกถึงความเจ็บปวดอย่างจับใจจึงเอ่ยขอให้อาจารย์ชี้แนะว่า
    "จิตของศิษย์ว้าวุ่น...ขอท่านอาจารย์ เมตตาช่วยทำให้มันสงบด้วยเถิดขอรับ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "จงเอาจิตของเธอออกมาซิ!แล้วฉันจะทำให้มันสงบ"
    ท่านเสินกวงนิ่งไปครู่หนึ่ง แล้วก็ตอบว่า
    "ศิษย์หาจิตของตัวเองไม่พบขอรับ"
    ต่อจากนั้นพระอาจารย์ตั๊กม๊อ องค์สังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘แห่งอินเดียก็ได้ถ่ายทอดธรรมให้แก่ท่านเสินกวงด้วยวิถีแห่ง"จตสู่จิต"เมื่อนั้นท่านเสินกวงก็ได้บรรลุธรรมโดยฉับพลัน
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงกล่าวว่า
    "ฉันได้วางจิตของเธอในที่ถูกต้อง และทำให้มันสงบแล้ว"พระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับท่านเสินกวงเป็นศิษย์ และตั้งสมณฉายาให้ใหม่ว่า "ฮุ่ยเข่อ" พร้อมกับได้กล่าวโศลกธรรมว่า
    "สรพศาสตร์ทั้งหลายอยู่ที่ "หนึ่ง"
    " หนึ่ง" นั้นอยู่ที่ใดเล่า
    เพราะไม่รู้ "จุดหนึ่ง" เสินกวงจึงต้องคุกเข่า
    รอ ๙ ปี เพื่อขอ "หนึ่งจุด".....หลุดพ้นยมบาล

    ฝ่ามารผจญ

    พระพุทธองค์ตรัสว่า
    "ผู้ไม่ถูกว่าร้าย ไม่มีในโลก และแน่นอนคนที่ไม่ถูกเกลียดเลยไม่มีในโลก เพราะแม้แต่พระพุทธองค์เองก็ยังถูกคนนินทาใส่ร้ายป้ายสี ยังต้องถูกมารผจญ
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อเองก็เช่นกัน นับแต่ย่างก้าวมาถึงแผ่นดินจีน ท่านได้ประกอบภาระกิจเผยแพร่วิถีธรรมตรง มีสานุศิษย์ก็มาก แต่ขณะเดียวกันศัตรูที่ปองร้ายก็ไม่นัอย หลายต่อหลายครั้งที่ฝ่ายปรปักษ์ หมายมุ่งจะทำลายชีวิตท่าน โดยผสมยาพิษลงไปในภัตตาหารเจ แล้วทำทีมาถวายด้วยใจศรัทธา ทั้งๆที่รู้ว่าอาหารมีพิษพระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ยังรับมาฉันอย่างปกติจนหมด แต่เมื่อสาธุชนทั้งหลายกลับไปหมดแล้ว ท่านก็เดินลมปราณขับพิษ อาเจียรเอาอาหารทั้งหมดออกมา
    กล่าวกันว่าอำนาจของพิษร้ายและมนต์ดำ เมื่ออาหารตกลงบนพื้นเพียงเศษเล็กน้อย ก็กลายเป็นฝูงอสรพิษ
    ฝ่ายศัตรูผู้มุ่งร้ายก็ไม่ยอมเลิกรา เมื่อเห็นว่ายาพิษไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ ก็เพิ่มปริมาณยาพิษให้มากลงไปในภัตตาหารขึ้นอีกหลายเท่า แม้กระนั้นท่านก็ยังรับมาฉันอีก คราวหนึ่งความร้ายแรงของยาพิษ...เมื่อท่านอาเจียรออกมา มันมีอานุภาพถึงขนาดทำให้หินก้อนใหญ่แตกกระจายเป็นเสี่ยงๆ แต่กระนั้นก็มิอาจจะทำอันตรายใดๆ แก่ท่านได้



    ทดสอบภูมิธรรม คัดศิษย์สืบทอดภาระกิจ

    ปีพุทธศักราช ๑๐๗๙ อยู่มาวันหนึ่งพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้เรียกสานุศิษย์คนสำคัญๆ เข้ามาพบเพื่อที่จะทดสอบภูมิธรรมของแต่ละคนว่าใครจะเข้าถึง "อนุตตรธรรมวิถี"ที่ท่านสั่งสอนอบรมไว้ว่าลึกตื้นมากน้อยกว่ากันเพียงไร
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตั้งคำถามว่า
    "ธรรมที่แท้จริง คือ อะไร? "
    ศิษย์ชั้นอาวุโสองค์แรก นามว่า "เต๋าหู๋" ได้ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า
    "ไม่ยึดติดตัวอักษรคัมภีร์
    แต่ก็ไม่ทิ้งตัวอักษรคัมภีร์
    อยู่เหนือการยอมรับ และเหนือการปฏิเสธ
    นั่นแหละ คือ ธรรมะที่แท้จรง ขอรับ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า
    "เอาล่ะ...เธอได้หนังของฉันไป"
    ศิษย์องค์ที่สองเป็นภิกษุณี นามว่า "จิ้งที้" ได้ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า
    "ธรรมที่แท้จริง แหมือนดังที่พระอานนท์ได้เห็น พุทธภูมิของพระอักโษภยาพุทธเจ้า แว็บหนึ่งแล้วไม่เห็นอีกเลยเจ้าค่ะ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า
    "ถูก....เธอได้เนื้อของฉันไป"
    ศิษย์องค์ที่สาม นามว่า "เต๋ายก" ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า
    "มหาภูตรูปทั้ง 4 นั้นเดิมว่าง ขันธ์ 5 ก็ไม่ใช่ตัวตนไม่มีแม้แต่ธรรมใดๆ นั่นแหละคือ ธรรมะ ที่แท้จริงขอรับ"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า
    "เอ้า!...ถูก....เธอได้กระดูกของฉันไป"
    ศิษย์องค์ที่สี่ นับเป็นศิษย์ก้นกุฏิ คือ ฮุ่ยเข่อ หรือท่านเสินกวงนั่นเองท่านได้ลุกขึ้นนมัสการพระอาจารย์ตั๊กม๊อ แล้วหุบปากนั่งนิ่ง แล้วยังเม้มลึกเข้าไปอีก ความหมายก็คือ ไม่มีภาษาและเสียงใด มาอธิบายสภาวะสัจจธรรมได้เลย เป็น "ปัจจัตตัง" คือ รู้ได้เฉพาะตนเท่าที่ตนเองได้บรรลุถึงเท่านั้น
    ถึงตอนนี้ พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงหัวเราะแล้วพูดว่า
    "ดี! ดี!.....เธอได้ไขในกระดูกของฉันไป"
    ดังนั้นพระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงได้ส่งมอบ บาตร จึวร สังฆาฏิธรรมะทั้งหมด ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แก่ ท่านฮุ่ยเข่อสืบทอด เป็นพระสังปรินายกองค์ที่ ๒ ของนิกายฌานเพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนา ถ่ายทอดหลักจิตญาณต่อไป แต่พระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ได้บัญชาให้ท่านฮุ่ยเข่อปกปิดฐานะตำแหน่งและหลบซ่อนตัวอีก๔๐ ปี เพื่อให้พ้นจากการปองร้าย
    หลังจากที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อ มีผู้รับช่วงภาระกิจงานธรรมแล้ว ได้ออกจากวัดเส้าหลิน เดินธุดงค์ไปที่วัดเซียนเซิ่ง ตำบลหลงเหมน กล่าวกันว่าท่านได้ถูกพิษที่ริมฝั่งแม่น้ำลัวะสุ่ย กระทั่งใกล้วันที่จะมรณะภาพ ท่านได้เรียกประชุมบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายและบอกกับท่านฮุ่ยเข่อว่า

    [​IMG]
    ภาพศิลาจารึก พระสังฆปริณายกองค์ที่ ๒.

    พระเว่ยโห มหาครูบา. ตัวอักษรจีนที่เห็นนั้น แต้จิ๋วอ่านว่า"ยี่โจ้ว หุยค้อใต้ซือ" ชาวจีนนิยมเรียกท่านสั้น ๆ ว่า "ยี่โจ้ว" ถ้านับจากอินเดียตามสายลงมาแล้ว เป็น พระสังฆปริณายกอันดับองค์ที่ ๒๙ "ด้วยปัญญาบารมีของเธอ ทำได้อย่างดีที่สุด ก็คือ ปลุกกุศลจิตอันเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะบุกเบิกทางแห่งอริยภูมิให้แก่ชาวจีนไว้ก่อนเท่านั้น สวนผลที่ได้จะเกิดขึ้น...หลังจากที่ฉันดับขันธ์ไปแล้ว ๒๐๐ ปี จะมี "บัณฑิตใต้ต้นไม้" มาเกิดเขาจะเป็นผู้มาทำให้พระธรรมคำสอนที่ฉันถ่ายทอดโดย "จิต สู่ จิต"นี้ แพร่กระจายไปทั่วทุกมุมเมือง เมื่อนั้นจะมีผู้ได้บรรลุ "ธรรมจักษุมากมาย "
    แล้วก็เป็นจริงดังคำพยากรณ์ เพราะอีก ๒๐๐ ปีต่อมา"บัณฑิตใต้ต้นไม้" ก็คือ ท่านเว่ยหล่างผู้ได้รับสืบทอดเป็นพระสังฆปริยนายกองค์ที่ ๖ ซึ่งเดิมท่านมีอาชีพตัดไม้ขายเพื่อเลี้ยงมารดา และพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินจีนในยุคของท่าน เจริญรุ่งเรืองมากกว่ายุคใดๆ

    ปัจฉิม โอวาท


    สุดท้ายพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้กล่าวปัจฉิมโอวาทฝากไว้ว่า
    "บัดนี้...ฉันอายุครบ ๑๕๐ พรรษาแล้ว และได้เสร็จสิ้นภาระกิจหน้าที่ของพระโพธิสัตว์แห่งการมาเยือนถึงแผ่นดินนี้ ฉันได้แผ้วถางบุกเบิกเส้นทางสู่อริยภูมิไว้ให้แล้ว ต่อแต่นี้เป็นต้นไป เป็นหน้าที่ของพวกเธอทั้งหลายที่จะต้องพากเพียรปฏิบัติบำเพ็ญให้ได้บรรลุถึงธรรมที่ฉันได้สอนไว้
    จงช่วยกันหากุศโลบายประกาศธรรมนี้ ถ่ายทอดสืบไปยังอนุชนแต่ละรุ่นๆอย่างกว้างขวางทุกมุมเมืองด้วยความไม่ประมาทแล้วผลบุญกุศลบารมีจากการนี้ จะเกิดขึ้นในอนาคตกาลต่อเนื่องไปอีกหลายร้อยหลายพันชั่วอายุคน ชั้นสูงสุดจะส่งผลให้เข้าถึง"พุทธภูมิ" ขั้นต่ำที่สุดจะทำให้มนุษย์ได้มหาสติ พบแสงสว่างแห่งปัญญาญาณ อันจะส่งผลไปถึงการได้ช่วยชีวิตสัตว์เดรัจฉานให้รอดตายอีกนับไม่ถ้วน ด้วยอำนาจแห่งพระเมตตาพระกรุณาแห่งวิถีธรรมนี้เอง จะเป็นเหตุปัจจัยส่งผลให้ปกป้องคุ้มครองชีวิตสัตว์โลกไว้ได้อย่างมากมายมหาศาลทีเดียว
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ่อเกิดหรือที่มาของพระอริยเจ้าพระอรหันต์พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ที่จะอุบัติขึ้นในอนาคตกาลก็ล้วนจะออกมาจากประตูแห่งอาณาจักรธรรมนี้ ฉะ นั้นจึงเท่ากับว่าพวกเธอทั้งหลายได้ทำหน้าที่อันสูงสุดของ "พระโพธิสัตว์" ได้แก่การช่วยแบกหาม เทิดทูนบูชา "พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ"ไว้มิให้วิถีธรรมนี้ด่วนดับสูญจากโลกไปเร็วนัก จะเป็นมหาบุญมหากุศลบารมีอย่างมหาศาลแก่พวกเธอ ตลอดจนสรรพสัตว์ทุกชาติภพไม่มีวันจบสิ้นทีเดียว
    บัดนี้ฉันขอเตือนพวกเธอเป็นครั้งสุดท้ายอีกสักหน่อยว่าจงอย่าประมาทเลยนา วันเวลาหร่อยหรอหมดไปไม่คอยใคร อายุวัย ความชราภาพแห่งสังขารก็กัดกินให้สิ้นไป โดยไม่ยอมคอยใครและวิถีธรรมนี้ ก็ไม่คอยใครเช่นกัน
    จิตตนคิด กายตนทำ ใครทำใครได้เอง สิ่งเหล่านี้ต้องต่างคนต่างทำ จะทำแทนกันนั้นมิได้เลย บุญกุศล มรรคผลนิพพานต้องไปปฏิบัติเอง ลงมือทำด้วยตนเองให้ได้ทันตาเห็น จึงจะเป็นของเธอเองไปได้"

    และแล้วพระโพธิธรรมองค์ปรมาจารย์ก็ตรัสเป็นวาจาสุดท้ายว่า
    "ฉันขออำลาพวกเธอทั้งหลาย
    ฉันจะจากโลกนี้ไปแล้ว....."

    จากนั้น ท่านก็ประทับนั่งนิ่งอยู่ในสมาธิดับขันธ์ในฌานสมบัติ เข้าสู่นิพพาน ท่ามกลางความเศร้าโศกสลดของเหล่าสานุศิษย์ ทั้งหลาย
    เมื่อข่าวนี้ได้แพร่ถึงเมืองหลวง พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้พระราชทานสมณศักดิ์ จารึกที่พระเจดีย์บรรจุพระศพบนภูเขาสงเอ่อชัน อำเภออี๋หยาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน
    กระทั่งมาถึงสมัยราชวงศ์ถัง องค์จักรพรรดิ์ ถังไท่จง ได้พระราชทานนาม พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ว่า "พระฌานาจารย์สัมมาสัมโพธิญาณ"



    "คืนสู่ทิพยภาวะ"

    มีเรื่องโจษจรรเล่าขานกันว่า หลังจากที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อดับขันธ์ทิ้งสังขารแล้ว สานุศิษย์ทั้งหลายได้อัญเชิญพระสรีระเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    แต่ทว่า....ช่วงในเวลาเดียวกันนั้น ไกลออกไปทางตอนเหนือของจีน มีขุนนางผู้หนึ่งนามว่า ช่ง หวิน กำลังเดินทางไปปฎิบัติราชการในแถบนั้น ระหว่างทางเขาได้พบกับพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินธุดงค์มา ในมือของท่านหิ้วรองเท้าอยู่ข้างเดียว
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อได้กล่าวกับ ขุนนางซ่ง ว่า
    "แผ่นดินบ้านเกิดของเธอ กำลังเกิดเหตุใหญ่ เพราะองค์ ฮ่องเต้เสด็จสวรรคตแล้ว
    เธอจงรีบเร่งกลับเข้าเมืองหลวงโดยเร็วเถิด!"

    ขุนนางซ่ง "พระคุณเจ้ากำลังจะธุดงค์ไปที่ใดหรือขอรับ? "
    พระอาจารย์ต๊กม๊อ "อาตมาเสร็จสิ้นภาระกิจแล้ว กำลังจะกลับอินเดีย "
    ขุนนางซ่ง "แล้วจะมีใครสืบทอดวิถีธรรมจากท่านเล่าขอรับ?"
    พระอาจารย์ต๊กม๊อ "อีก ๔๐ ปี ข้างหน้า บุคคลผู้นั้นจะปรากฏตัว"
    ครั้นขุนนาง ซ่ง หวิน กลับถึงเมืองหลวงก็พบว่าเหตุการณ์เป็นจริงดังคำบอก เขาได้เล่าเรื่องราวการพบปะกับพระอาจารย์ตั๊กม๊อ ที่ภาคเหนือให้บรรดาชาวเมืองฟัง แต่ไม่มีใครยอมเชื่อ ต่างพูด ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ท่านดับขันธ์ทิ้งสังขารแล้ว จะไปพบปะกับใครได้
    ดังนั้นเพื่อพิสูจน์ความจริง จึงได้ทำการขออนุญาตเปิดหอบรรจุพระศพ ปรากฏว่าหีบพระศพว่างเปล่า! เหลือเพียงรองเท้าอีกข้างทิ้งไว้ เหตุการณ์นี้สร้างความฉงนงงงวยให้แก่ผู้คนเป็น อย่าง มาก
    จวบจนกระทั่งบัดนี้ ก็หามีใครล่วงรู้ไม่ว่า พระสรีระของพระอาจารย์ตั๊กม๊อ หายไปไหนและหายไปอย่างไร? "
    แม้แต่อายุของท่าน ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะเมื่อแรกที่ท่านมาถึงประเทศจีน ท่านก็บอกว่า อายุของท่าน ๑๕๐ ปีและถึงตอนจะดับขันธ์ท่านก็ยังคงบอกว่า ท่านอายุ ๑๕๐ ปี อีกเช่นกัน! ประวัติศาสตร์จึงไม่อาจยืนยันอายุที่แท้จริงของพระองค์ท่าน ได้
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ มีอายุ ๑๕๐ ปี จริงหรือ? อยู่ที่ใด? ท่านไปไหน?
    หรือว่าบางที ท่านจะยังคงจาริกไปทั่ว และผู้ที่ศรัทธาอาจจะได้พบปะสนทนากับท่านแล้ว เพียงแต่เราจำพระองค์ท่านไม่ได้หรือว่าท่านเข้าสู่สภาวะทิพย์อันเป็นอมตะนิรันดร สามารถปรากฏกายในทุกที่ และทุกรูปแบบ ไร้ขีดจำกัด เป็นอิสระเสรีอย่างบริสุทธิ์สมบูรณ์
    ทั้งหมดที่กล่าวมา คงไม่ใช่เรื่องไร้สาระ ด้วยเหตุที่ว่า
    "ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ สำหรับผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้ว"



     
  17. บุรษ18ตา

    บุรษ18ตา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +9
    สมควรแล้วครับกับห้องหลุมดำ

    ไม่ทราบพี่ดูเรื่อง "ไซอิ๋ว" เยอะไปรึเปล่าครับ

    เหมือนเทพสามตาเลย

    ใครๆก็เปิดตาที่ 3 ได้

    หรือเรื่องคนเก่งฟ้าประทานหว่า
     
  18. GUYTHUM

    GUYTHUM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +1,088
    ส่วนมากจะเห็นสัมภเสี และโอปะปาติกา ซะส่วนมาก เพราะกิเลศมารมันเยอะ จะเห็นเทวาดายา๊กซ์ เพราะกลิ่นมนุษย์มันเหม็น ไม่เหมือนกลิ่นเทพ(ภมร)4444
     
  19. GUYTHUM

    GUYTHUM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +1,088
    เพราะพวกเขา มีพลังแห่งเทพฯ(พลังจักรวาล)
     
  20. whiteknight

    whiteknight สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2006
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +23
    ผมอยากมีบ้างครับ รบกวนใครก็ได้สอนผมหน่อย อยู่แถวสาทร
     

แชร์หน้านี้

Loading...