51.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร กับตำนานพระพุทธชินราช

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 19 สิงหาคม 2012.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๕๑

    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
    กับตำนานพระพุทธชินราช

    a.jpg



    และแล้วก็ได้ฤกษ์ถึงเวลาทำตามที่ได้เคยให้ถ้อยคำไว้เมื่อ ๓ ปีก่อน(พ.ศ.๒๕๕๒) ที่เคยบอกไว้ในกระทู้เหนือสุดแดนสยาม ว่า “จะยังไม่ขอกล่าวถึงตำนานการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดาและพระเหลือในกระทู้เหนือสุดแดนสยาม เพราะว่าเนื้อหาจะยาวเกินไป หากเพื่อนๆ ท่านใดจะตั้งกระทู้เพิ่มเติมก็ได้ หรือถ้าไม่มีใครตั้งโอกาสหน้าจะมาตั้งแยกกระทู้เฉพาะกิจ” ต่อมาสร้อยฟ้ามาลา ก็ได้มีโอกาสเรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธชินราชอีกครั้งในกระทู้ท่องตามตำนาน ไหว้พระธาตุเมืองเหนือ เมื่อต้นปีที่แล้ว(พ.ศ.๒๕๕๔) ซึ่งก็เขียนเรื่องราวและตำนานการสร้างพระพุทธชินราชไว้พอสังเขปไว้ในกระทู้นั้นแต่ยังไม่ได้เป็นกระทู้เฉพาะกิจ ซึ่ง ๓ ปีที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นมีสมาชิกท่านใดเขียนเกี่ยวกับตำนานของพระพุทธชินราชเลย (หรืออาจจะมีแต่สร้อยฟ้าฯ ไม่เห็นเอง)...


    a.gif


    ซึ่งเรื่องราวที่จะลงต่อไปนี้ อาจจะไม่หวือหวา น่าสนุกเร้าใจ ตามแบบฉบับการเที่ยวเล่นเหมือนในสถานที่อื่นๆ ในกระทู้อื่นๆ ที่น่าตื่นตา เพราะไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ และอันที่จริงกระทู้นี้ก็ไม่ได้เขียนในเชิงท่องเที่ยว อ่านไปอาจจะดูเหมือนลงผิดห้อง ด้วยความคุ้นชินกับห้องนี้ที่เมื่อก่อนมีความอบอุ่นกับผองเพื่อนแต่ตอนนี้รู้สึกมีแต่ความวังเวงเข้ามาแทนที่จนความอบอุ่นและความสนุกหายไปหมด สุดท้ายอาจต้องพิจารณาย้ายกระทู้และปลีกวิเวกตัวเองไปเพ้อเจ้ออยู่ที่อื่นห้องอื่น

    ก็เป็นเรื่องราวเก่าๆ อ่านๆ ไปก็อาจจะเบื่อ แต่สิ่งที่หารวบรวมมาลงไว้ในกระทู้นี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้ได้ศึกษากัน โดยนำบทความของแต่ละแห่งมาประมวลเรียบเรียงใหม่ ให้ได้ใจความโดยละเอียดยิ่งขึ้นกว่ากระทู้เก่าที่เคยลงไว้ อาจจะมีเนื้อหาซ้ำกันบ้างแต่ก็ได้นำมาปรับปรุงและแทรกเนื้อหาอื่นเพิ่มเติมเข้าไปอีก ถ้าหากผู้ที่เข้ามาอ่านแล้วผิดหวังว่าเอาอะไรมาลงไว้ก็ไม่รู้ น่าเบื่อ ไม่น่าตื่นตาเหมือนกระทู้ของคนอื่น ก็ขออภัย และอีกอย่างหนึ่งในเรื่องภาพถ่าย เนื่องจากบางภาพที่นำมาลงอาจจะใหญ่เกินทั้งขนาดและความจุ ทำให้กระทู้โหลดช้าและบางภาพไม่โหลด ก็ขอโทษด้วยที่ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองทรัพยากรของระบบ...

    .............................................


    ..............................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร


    ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระเหลือ

    [​IMG]


    ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช แย้งกันเป็น ๒ นัย นัยหนึ่งกล่าวว่า สร้างเมื่อราวจุลศักราช ๓๑๙ (พ.ศ.๑๕๐๐) แต่อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าสร้าง เมื่อราวจุลศักราช ๗๑๙ (พ.ศ.๑๙๐๐) ในที่นี้จะ กล่าวถึงตำนานพระพุทธชินราชที่หล่อขึ้นในจุลศักราช ๓๑๙ (พ.ศ.๑๕๐๐) เป็นตำนานที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา และพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระพุทธชินราช ความว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกผู้ครองนครเชียงแสนได้ยกกองทัพลงมาตี เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งมีพระเจ้าพสุจราช ปกครองอยู่ทหารทั้งสองฝ่ายรบราฆ่าฟันกันตายลงเป็นอันมากมิได้แพ้ชนะกัน พระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่มีความเศร้าสลดใจในการศึกครั้งนี้ จึงเข้าทำการไกล่เกลี่ยให้พระราชาทั้งสองเป็นสัมพันธไมตรีกัน พระราชาทั้งสองก็ยอมปฏิบัติตาม พระเจ้าพสุจราชได้ทรงยกพระนางประทุมราชเทวี ราชธิดาอภิเษกให้เป็นมเหสีแห่งพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระราชโอรสด้วยพระนางประทุม ราชเทวี ๒ พระองค์ ทรงพระนามว่าเจ้าไกรสรราชกับเจ้าชาติสาคร พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระประสงค์จะป้องกันการรุกรานของชาติขอมซึ่งขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางละโว้ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการแผ่ราชอาณาจักรให้ไพศาลออกไปจึงได้สร้างเมืองพิษณุโลกเพื่อให้ราชโอรสขึ้นครองเมือง

    ตามพงศาวดารกล่าวว่า เมืองพิษณุโลกได้สร้างเมื่อจุลศักราช ๓๑๕ (พ.ศ.๑๔๙๖) เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้เสด็จลงมาอภิเษกเจ้าไกรสรราชขึ้นครองเมือง พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกนี้ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้แตกฉานพระไตรปิฎกมากจึงได้รับเฉลิมนามาภิไธย ดังนั้นขณะที่เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลกที่ได้สร้างขึ้นใหม่ ก็มีพระราชประสงค์จะบำเพ็ญบุญกุศลทำนุบำรุงพระศาสนาและไว้พระเกียรติยศพระนามปรากฏในภายหน้าจึงตรัสสั่งให้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุขึ้นเป็นคู่กับเมือง สร้างพระมหาธาตุเป็นรูปปรางค์สูงราว ๘ วา ตั้งกลางแล้วสร้างพระวิหารรอบปรางค์ทั้ง สี่ทิศ มีระเบียง ๒ ชั้น

    พระองค์ต้องการจะสร้างพระ พุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อเป็นพระประธานในพระวิหาร
    พระองค์ที่ ๑ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า "พระพุทธชินราช" มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว มีความสูง ๗ ศอก พระเกศสูง ๑๕ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
    พระองค์ที่ ๒ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า "พระพุทธชินสีห์" มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
    พระองค์ที่ ๓ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า "พระศรีศาสดา" มีขนาดหน้าตักกว้าง ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย

    พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงเลือกลักษณะอาการตามชอบพระทัยให้ช่างทำคือ สัณฐานอาการนั้นอย่างพระพุทธรูปเชียงแสน ไม่เอาอย่างพระพุทธรูปในเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลกและเมืองสุโขทัยที่ทำนิ้วสั้นไม่เสมอกันอย่างมือคน ทรงรับสั่ง ให้ทำนิ้วให้เสมอกันตามที่พระองค์ทราบว่า เป็นพุทธลักษณะ พระลักษณะอื่นๆ ก็เป็นอย่างเชียงแสนบ้าง อย่างศรีสัชนาลัยและสวรรคโลก สุโขทัยบ้าง มีชื่อช่างหล่อพระพุทธชินราชเป็นช่างพราหมณ์ฝีมือดี ๕ นาย คือ บาอินท์ บาพรหม บาพิษณุ บาราชสังข์ บาราชกุศล


    [​IMG]
    ภาพไม่ชัด

    จวบจนวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช ๓๑๗ ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว กระทำการแกะพิมพ์ออกมาปรากฏว่า พระองค์ที่ ๒ คือพระพุทธชินสีห์ และพระองค์ที่ ๓ คือพระศรีศาสดา องค์พระบริบูรณ์ดีมีน้ำทองแล่นติดตลอดเสมอกันสวยงาม ๒ องค์เท่านั้น ส่วนรูปพระพุทธชินราชนั้น ทองแล่นไม่เต็มองค์ ไม่บริบูรณ์ นับว่าเป็นอัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีเป็นอันมาก ช่างได้ช่วยกันทำหุ่น และเททองหล่ออีกถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้ คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์

    พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนัก พระองค์จึงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง อีกทั้งขอให้ทวยเทพเทวดาช่วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จตามพระประสงค์เถิด แล้วให้ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งหลังนี้ ปรากฏว่ามีตาปะขาวคนหนึ่ง ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อไรมาจากไหนเข้ามาช่วยปั้นหุ้นและช่วยเททอง ทำการงานอย่างแข็งแรงทั้งกลางวันและกลางคืนจนเสร็จโดยไม่พูดจากับผู้ใด

    ครั้นได้มหามงคลฤกษ์ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศกจุลศักราช ๓๑๙ (ลุพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ หย่อนอยู่ ๗ วัน) ก็ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช คราวนี้น้ำทองที่เทก็แล่นเต็มบริบูรณ์ตลอดทั่วองค์พระ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้ตาปะขาวผู้มาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททองนั้น แต่มิได้พบ ปรากฏว่าเมื่อหล่อพระเสร็จแล้ว ก็เดินทางออกประตูเมืองด้านทิศเหนือ พอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายไปไม่มีใครพบเห็นอีก จึงพากันเข้าใจว่า ตาปะขาวผู้นั้นคือเทพยดาแปลงกายมาหล่อพระพุทธชินราช อันเป็นเหตุทำให้ เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธรูปองค์นี้ยิ่งขึ้น ตำบลบ้านที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า บ้านตาปะขาวหายและวัดตาปะขาวหายต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และจากวัดตาปะขาวหายขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ ๘๐๐ เมตร ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการหายตัวไปของตาปะขาว เล่ากันว่ามีผู้พบเห็นว่าท้องฟ้าเปิดเป็นช่องขึ้นไป ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์จึงได้สร้างศาลาขึ้นไว้ ณ พื้นดินเบื้องล่างไว้เป็นที่ระลึก เรียกว่า "ศาลาช่อฟ้า" ตราบจนทุกวันนี้


    พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โปรดฯ ให้อัญเชิญเข้าประดิษฐานไว้ในสถานที่ทั้ง ๓ คือพระพุทธชินราช อยู่ในพระวิหารใหญ่ผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก พระพุทธชินสีห์อยู่ทิศเหนือ และพระศาสดาอยู่ทิศใต้ สำหรับพระวิหารใหญ่ทิศตะวันออกนั้น เป็นที่ฟังธรรมสักการะที่ถวายนมัสการพระมหาธาตุและเป็นที่ชุมนุมสงฆ์

    อนึ่ง เมื่อเวลาหล่อพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาเสร็จแล้วนั้น ทองชลาบและชนวนของพระพุทธรูปทั้ง ๒ องค์ที่เหลืออยู่ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกรับสั่งให้รวมลงในทองซึ่งจะหล่อพระพุทธชินราช หล่อองค์พระใหม่เรียกว่า "พระเหลือ" ส่วนชนวนและชลาบของพระที่เรียกว่าพระเหลือนั้นก็หล่อรูปพระสาวก ๒ องค์ สำหรับพระเหลือนั่นเอง ครั้นเมื่อการหล่อพระเสร็จแล้ว จึงรับสั่งให้เก็บอิฐซึ่งก่อเป็นเตาหลอมและเตาสุม หุ้มหล่อพระทั้งปวงนั้นมาก่อเป็นชุกชี สูง ๓ ศอก และให้ขุดดินที่อื่นมาผสมกับดินพิมพ์ที่ต่อยจากพระพุทธรูปถมในชุกชีนั้น แล้วทรงปลูกต้นมหาโพธิ์ ๓ ต้น หันหน้าต่อทิศอุดรแล้วเชิญพระเหลือกับสาวกอีก ๒ องค์เข้าไว้ในที่นั้น ให้เป็นหลักฐานแสดงที่ซึ่งหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7775_1a.jpg
      IMG_7775_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      497.8 KB
      เปิดดู:
      17,135
    • IMG_7769_1a.jpg
      IMG_7769_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      393.2 KB
      เปิดดู:
      3,647
    • IMG_7773_1a.jpg
      IMG_7773_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      288.8 KB
      เปิดดู:
      3,770
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นความในพงศาวดารเหนือ ที่ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนอีกนัยหนึ่งมีกล่าวว่า สร้างเมื่อประมาณ จุลศักราช ๗๑๙ นั้น เป็นพระวิจารณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "เที่ยวเมืองพระร่วง" มีความดังต่อไปนี้

    [​IMG]

    เรื่องตำนานการสร้างเมืองพิษณุโลกและการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์นั้น สอบสวนหลักฐานจะเห็นว่ารูปเรื่องจะเป็นดังกล่าวในพงศาวดาร แต่พงศาวดารเหนือลงนามเป็นของพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกนั้น มิใช่ผู้อื่น คือ พระมหาธรรมราชาลิไท รัชกาลที่ ๔ ในราชวงศ์พระร่วงนั่นเอง

    มีเรื่องในศิลาจารึกว่า เมื่อเป็นพระมหาราชครองเมืองศรีสัชนาลัยก่อนจะได้รับราชสมบัติมีศัตรูยกกองทัพลงมาติดเมืองสุโขทัย ในเวลาที่พระบิดาประชวรหนักจึงได้ครองราชอาณาจักร ตรงกับที่ว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกทัพมาติดเมืองสวรรคโลกได้ราชสมบัติในเมืองนั้น และพระมหาธรรมราชาลิไททรงรอบรู้พระไตรปิฎกจึงสามารถแต่ง เรื่อง "พระไตรปิฎก" หรือไตรภูมิ ตรงกับที่เรียกว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีแต่พระองค์เดียวเท่านั้น

    อีกประการหนึ่งโบราณวัตถุที่สร้างไว้ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นแบบอย่างครั้งกรุงสุโขทัย เมื่อรับลัทธิพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์มาแล้ว ยกตัวอย่างดังเช่น พระพุทธรูป พระชินราช พระชินสีห์ คงจะเชื่อได้ดังกล่าวในพงศาวดารเหนือว่า เป็นประชุมช่างอย่างวิเศษ ทั้งที่มณฑลพายัพและในอาณาเขตสุโขทัยมาให้ช่วยกันถอดแบบอย่าง แต่พึงสังเกตได้ที่ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เท่ากันทั้ง ๔ นั้น เป็นความคิดที่เกิดขึ้นด้วยวินิจฉัยคัมภีร์มหาปุริสลักขณะกันอย่างถ้วนถี่ ในชั้นหลัง พระพุทธรูปชั้นก่อนหาทำนิ้วพระหัตถ์เช่นนั้นไม่

    ในที่สุดยังมีหลักฐานอีกอย่างหนึ่ง ด้วยในพงศาวดารเมืองเชียงแสนมิได้ปรากฏว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก หรือพระเจ้าเชียงแสนองค์ใดได้ลงมาตีเมืองสวรรคโลกเหมือนอย่างกล่าวใน พงศาวดารเหนือด้วยมีหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวมา จึงสันนิษฐานว่า พระมหาธรรมราชาลิไทเป็นผู้สร้างเมืองสองแควขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง และหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์เมื่อราว พ.ศ. ๑๙๐๐

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7791_1a.jpg
      IMG_7791_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      408.8 KB
      เปิดดู:
      7,943
    • IMG_7779_1a.jpg
      IMG_7779_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      502 KB
      เปิดดู:
      11,577
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)

    วิหารหลวง วิหารพระพุทธชินราช

    [​IMG]

    พระวิหารพระพุทธชินราช เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในโลก ตัวพระวิหารเป็นวิหารหลวงขนาดเก้าห้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันตก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยเพราะพบร่องรอยรูปแบบสถาปัตยกรรมบริเวณฝาผนัง ช่วงล่างมีการเจาะผนังเป็นแบบลูกตั้งแทนหน้าต่าง แต่ส่วนเครื่องบนหลังคาและส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นศิลปะสมัยอยุธยา ซึ่งทำให้สันนิษฐานว่า วิหารพระพุทธชินราชน่าจะมีการบูรณปฏิสังขรณ์รูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะสมัยอยุธยาใน รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและได้รับการบูรณะให้มีสภาพดีมาตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน พระวิหารหลังนี้จึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยที่มีความสง่างามสมส่วน และยังคงสภาพสมบูรณ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย มีบานประตูประดับมุก ๒ บานคู่ กว้าง ๑ เมตร สูง ๔.๕๐ เมตร เป็นบานประตูประดับมุกโบราณที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ตัวบานประตูมุกสร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลายในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า "นมอกเลา" เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ใน บุษบก สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้ ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบองท่าสำแดงฤทธิ์ ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์อื่น ๆ และยังมีลาย "อีแปะ" ด้านละ ๙ วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายในวิหารพระพุทธชินราช มีเสาหาบร่วมในประธาน ๒ แถว เป็นเสากลม ขนาดใหญ่แถวละ ๗ ต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๒๐ เมตร มีเสารับชายคาอีก ๒ แถว ๆ ละ ๗ ต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๙๐ เมตร ซึ่งเป็นเสากลมเหมือนกันแต่มีขนาดเล็กกว่า เสาแต่ละต้นเขียนลายทอง ฝ้าเพดานทาด้วยสีแดงชาด ประดับด้วยลายจำหลักดอกไม้แบบดาวล้อมเดือนเสาคู่หน้าพระพุทธชินราช มีไม้แกะสลักรวงผึ้งลงรักปิดทอง ที่ผนังหุ้มกลองด้านทั้งสองข้างได้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยใด ด้านซ้ายเขียนภาพพระพุทธประวัติ ส่วนด้านขวาเขียนภาพมหาเวสสันดรชาดก ฝาผนังด้านข้างสูงประมาณ ๓ ศอก ๑ คืบ เจาะช่องลมยาวแทนหน้าต่างห้องละ ๖ ช่อง เขียนภาพจิตรกรรมเป็นรูปเทวดาทรงเครื่องแตกต่างกัน นั่งพับเพียบพนมมือนมัสการพระพุทธชินราชทุกห้อง ห้องละ ๓ องค์ พื้นผนังหลังภาพเทวดาเขียนลายดอกไม้ร่วง ฝาผนังหุ้มกลองด้านหลังองค์พระพุทธชินราชทาพื้นสีดำ เขียนภาพเทวดาเหาะพนมมือนมัสการพระพุทธชินราช ๒ องค์ ด้วยสีทอง พื้นผนังที่เหลือเขียนภาพลายดอกไม้ร่วงด้วยสีทอง สีดำของพื้นผนังขับให้ภาพเทวดาและลายดอกไม้ร่วง (ดอกมณฑาสวรรค์) ดูสดใสงดงามมาก ระเบียงวิหารพระพุทธชินราชชั้นนอก ทางวัดใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางต่าง ๆ เช่น ปางมารวิชัย ปางไสยาสน์ และปางประทับยืน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนระเบียงชั้นในของวิหารใช้เป็นที่เก็บพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลายขนาดหลายสมัย วางเรียงรายรวมกับโบราณวัตถุอื่น ๆ เช่น ชิ้นส่วนประติมากรรมแตกหักของโบราณสถาน เป็นต้น ภายในวิหาร ประดิษฐาน พระพุทธชินราช หรือเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

    [​IMG]

    (ภายในพระวิหารคนเยอะมาก ไม่มีมุมให้ถ่ายรูปเลย)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7869_1a.jpg
      IMG_7869_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      401.8 KB
      เปิดดู:
      3,752
    • IMG_7876_1a.jpg
      IMG_7876_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      395.2 KB
      เปิดดู:
      3,477
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg
    (เขาบอกว่าไม่ให้ยืนถ่ายรูป ก็ยื่นถ่ายรูปไปแล้วหล่ะ แต่ตรงจุดที่ยืนนี้ก็ถัดจากประตูทางเข้าหน่อยเดียวเอง แล้วตรงนี้จะนั่งยังไง ที่นั่งก็แทบจะไม่มีที่ยืนก็แทบจะหาไม่ได้)

    พระพุทธชินราช

    พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธชินราชที่ได้รับการถวายเกียรติคุณยกย่องให้เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในประเทศไทยและงดงามที่สุดในโลก พระพุทธชินราชจึงเป็นสิ่งสำคัญและมีค่าที่สุดของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว (๒.๘๕ เมตร) สูง ๗ ศอก ๑ คืบ (๓.๗๒ เมตร) ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีที่มีบัวคว่ำบัวหงาย พระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้วแกะสลักไม้ลงรักปิดทองที่มีความประณีตอ่อนช้อยงดงาม ช่วยเน้นให้พระวรกายของพระพุทธชินราชงดงามเด่นชัดเจนยิ่งขึ้น

    a.jpg
    (ภาพจากกระทู้ก่อน)

    คาถาบูชาพระพุทธชินราช

    กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ชินะราชาพุทธรูปัง สิริธัมมะติปิ
    ตะกะราเชนะ กะตัง นะมามีหัง พุทธธังอาราชธนานัง ธัมมังอาราชธนานัง
    สังฆังอาราชธนานัง ชินะราชาพุทธธะรูปัง
    อาราชธนานัง พุทธธังลาภมานะชาลีติ ธัมมังลาภมานะชาลีติ สังฆังลาภมานะชาลีติ
    อุอะมะนะโมพุทธธายะ พามานะอุกะ สะนะถุประสิทธิเม


    ..........................................

    คาถาบูชาพระพุทธชินราช
    บทนี้เขียนไว้โบสถ์หลวงพ่อพระพุทธชินราช
    อิเมหิ นา นา สักกาเลหิ อภิปูชิเตหิ ทีกายุโกโหมิ
    อะโลโคสุคิโต สิทธิกัจจัง สิทธิกรรมมังปิยัง มะมะ
    ประสิทธิลาโภชะโยโหตุ สัพพัทธา พุทธะชินะราชา
    อภิปะเลตุมัง นะโมพุทธายะ

    ..........................................

    อิเมหิ นานา สักกาเรหิ อภิปูชิเตหิ ทีฆายุโก โหมิฯ อะโรโค สุขิโต สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ ปะสิทธิลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา พุทธะชินะราชา อภิปาเลตุ มังฯ นะโม พุทธายะฯ
    ..........................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7774_1a.jpg
      IMG_7774_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      483.3 KB
      เปิดดู:
      3,463
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837

    [​IMG]

    วิหารพระพุทธชินสีห์
    พระพุทธชินสีห์

    เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว พระพุทธชินสีห์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในวิหารหลังเล็กด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นวิหารแบบโรง มีขนาดเล็กกว่าวิหารพระพุทธชินราช คือเป็นวิหารขนาด ๔ ห้อง มีความกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๗ เมตร สูง ๑๕.๙๐ เมตร

    [​IMG]

    พระพุทธชินสีห์สร้างคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา พระพุทธชินสีห์ได้ประดิษฐานอยู่ที่วิหารพระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร มาจนถึงรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ทรงโปรดเกล้าฯ รับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ไปอัญเชิญพระพุทธชินสีห์ลงแพล่องมากรุงเทพมหานคร แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และทรงปิดทองใหม่ทั้งองค์ ส่วนที่พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้มีการปั้นพระพุทธชินสีห์ด้วยการก่ออิฐถือปูนขึ้นมาใหม่

    ปัจจุบันวิหารพระพุทธชินสีห์ กรมศิลปากรได้ใช้เป็นที่ตั้งแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่พบในสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องถ้วยสังคโลก เครื่องถ้วยลายคราม เครื่องแก้วและงาช้าง เป็นต้น

    [​IMG]
    (ตรงหน้าพระวิหาร มีป้ายห้ามถ่ายรูปด้วยหล่ะ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7819_1a.jpg
      IMG_7819_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      402.9 KB
      เปิดดู:
      3,493
    • IMG_7823_1a.jpg
      IMG_7823_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      422.2 KB
      เปิดดู:
      8,876
    • IMG_7853_1a.jpg
      IMG_7853_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      394.5 KB
      เปิดดู:
      3,353
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วิหารพระศรีศาสดา
    พระศรีศาสดา
    เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว พระศรีศาสดา เมื่อสร้างเสร็จแล้วถูก อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในวิหารหลังเล็กด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นวิหารแบบโรง มีขนาดเล็กกว่าวิหารพระพุทธชินราช และมีขนาดใกล้เคียงกับวิหารพระพุทธชินสีห์ คือเป็นวิหารขนาด ๔ ห้อง มีความกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๗ เมตร สูง ๑๕ เมตร

    พระศรีศาสดาสร้างคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดาคงประดิษฐานอยู่ในวิหารพระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้างได้อัญเชิญพระศรีศาสดาลงแพล่องไปไว้ที่วัดบางอ้อยช้างก่อน ต่อมาสมเด็จพระยามหาพิชัยญาติ เห็นว่าเป็นพระสำคัญและงดงาม จึงได้อัญเชิญพระศรีศาสดาไปประดิษฐานที่วัดประดู่หรือวัดพิชัยญาติ ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๐๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ทรงมีพระราชดำริว่าพระศรีศาสดาเป็นพระสำคัญไม่ควรอยู่ในวัดราษฎร์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปไว้ที่วัดสุทัศนเทพวรารามก่อน ภายหลังจึงได้ย้ายไปประดิษฐานที่วิหารวัดบวรนิเวศ วิหาร ในปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๒๒๕ หรือ พ.ศ. ๒๔๐๖

    [​IMG]

    ส่วนวิหารพระศรีศาสดาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก ได้มีการปั้นพระศรีศาสดาด้วยการก่ออิฐถือปูนขึ้นมาใหม่ ปัจจุบันวิหารพระศรีศาสดา กรมศิลปากรได้ใช้เป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ เช่น พระพุทธรูป แม่พิมพ์พระเครื่อง และหัวโขนโบราณ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๙ คราวที่เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช เมื่อวันที่๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙



    [​IMG]
    หลวงพ่อดำ อยู่หน้าวิหารพระศรีศาสดา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7897_1a.jpg
      IMG_7897_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      244.1 KB
      เปิดดู:
      3,319
    • IMG_7901_1a.jpg
      IMG_7901_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      436.1 KB
      เปิดดู:
      3,818
    • IMG_7915_1a.jpg
      IMG_7915_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      414 KB
      เปิดดู:
      3,400
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วิหารพระเหลือ
    พระเหลือ
    หลังจากสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาแล้ว พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือนำมารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดเล็ก หน้าตัก กว้าง ๑ ศอกเศษ เรียกชื่อพระพุทธรูปนี้ว่า “พระเหลือ”เศษทองยังเหลืออยู่อีกจึงได้หล่อพระสาวกยืนอยู่ ๒ องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองในการหล่อพระพุทธรูป นำมารวมกันบนชุกชี (ฐานชุกชี) พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ ๓ ต้นลงบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นมา ๑ หลัง อัญเชิญพระเหลือกับสาวกเข้าไปประดิษฐานอยู่ เรียกว่า วิหารพระเหลือ โดยคนในท้องถิ่นเชื่อว่าหากได้นมัสการ ก็จะเป็นมงคลโดยเฉพาะนักธุรกิจ พ่อค้า และคนที่อยู่ในแวดวงการเงิน เนื่องจากชื่อ "พระเหลือ" มีความหมายพ้องกับ "เหลือกิน เหลือใช้"

    [​IMG]

    บทสวดบูชา พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มหาปัญญะวันโต สังฆะบูชา มหาโภคะวะโหติโลกา นากัง อภิปูชะยามะฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_8016_1a.jpg
      IMG_8016_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      470.1 KB
      เปิดดู:
      3,139
    • IMG_8008_1a.jpg
      IMG_8008_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      481.2 KB
      เปิดดู:
      3,284
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  9. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้ร่วมกัน
    ทำบุญสร้างวัด,สร้างพระพุทธรูป
    และสร้างบุญกุศลทุกอย่าง
    ไว้ในพระพุทธศาสนาด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ

    [​IMG]

    สั่งบูรณะด่วน'พระปรางค์วัดอรุณ'<!-- google_ad_section_end -->
    ทั้งนี้หากประชาชนอยากที่จะมีส่วนร่วมบูรณะโบราณสถาน
    สามารถสมทบทุนเข้า
    "กองทุนเพื่อการบูรณะโบราณสถาน"
    เลขที่บัญชี 081-0-09603-6 ธนาคารกรุงไทย
    สาขาราชดำเนินได้

    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2012
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    หลวงพ่อโตพระประธานในพระอุโบสถ

    พระอุโบสถสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แล้วก็มามีการปฏิสังขรณ์กันในสมัยอยุธยาตอนต้น จากนั้นก็มีการบูรณะกันอีกหลายครั้งเรื่อยมา จนกระทั่งเป็นพระอุโบสถที่มีความงดงามอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

    [​IMG]


    พระประธานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่
    หน้าตักกว้าง ๘ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว ศิลปะสุโขทัยมีลักษณะพระพักตร์งดงาม มีพระอุณาโลมคล้ายพระพุทธชินราชเรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในวัด มีผู้เล่าว่าได้เคยอ่านพบในสมุดข่อยโบราณที่วัดถือน้ำ จ.นครสวรรค์กล่าวว่า หลวงพ่อโต พระประธานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ พิษณุโลกสมเด็จพระนเรศวรได้สร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ได้ทรงรับชัยชนะสงครามยุทธหัตถีแล้ว โดยได้จำลองพระพักตร์หลวงพ่อโตให้มีลักษณะคล้ายกับพระกริ่งจีน ที่พระองค์ทรงได้รับการถวายจากสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ซึ่ง พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระกริ่งองค์นี้มาก ทรงได้นำติดพระองค์ไปด้วยทุกครั้งที่ออกศึก จึงทรงให้ช่างปั้น พระพักตร์หลวงพ่อโตให้อูมเอิบอิ่ม พระโขนงเชิดขึ้นบนเป็นต้น ผิดจากพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยและอยุธยา ทรงสร้างขึ้นหลังจากสร้างพระ อุโบสถเสร็จแล้วหรือพร้อมบูรณะพระอุโบสถยังไม่แน่ชัด เพราะเป็นพระพุทธรูปใหญ่กว่าประตูพระอุโบสถหลายเท่า ว่ากันว่าเป็นต้นแบบของพระกริ่งนเรศวร

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7923_1a.jpg
      IMG_7923_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      506.1 KB
      เปิดดู:
      3,509
    • IMG_7936_1a.jpg
      IMG_7936_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      414.4 KB
      เปิดดู:
      3,202
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    พระวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน หรือวิหารหลวงพ่อสามพี่น้อง

    [​IMG]


    เป็นวิหารขนาดกลางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระพุทธชินราชนอกเขตระเบียงคต อยู่ด้านหน้าของวิหารพระศรีศาสดา เป็นวิหารทรงโรงสมัยอยุธยา ขนาดเล็กมี ๔ ห้อง มีขนาดกว้าง ๑ วา ๑ ศอก ยาว ๓ วา ๓ ศอก สูง ๔ วา หลังคามีชั้นเดียว มีปีกนกมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดพระยานาค ด้านหน้ามีประตูเข้าออก ๒ ประตู ด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ ๓ คู่ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๓ องค์

    [​IMG]

    ตรงกลางวิหารทำเป็นประดิษฐานหีบปิดทอง(สมมติ)บรรจุพระบรมศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตรากาธานประดับด้วยลวดลายลงรักปิดทองร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพถวายบังคมเป็นครั้งสุดท้าย รอบพระจิตกาธาน มีรูปพระพุทธสาวก ๕ รูปนั่งชันเข่าประนมมือมีท่าทางเศร้าโศกอาลัยอาวรณ์ในการเสด็จดับขันธปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง

    [​IMG]


    ได้รับการบูรณะใหม่แล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งนับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร โดยผู้สร้างถือคติว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า คาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7883_1a.jpg
      IMG_7883_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      434.3 KB
      เปิดดู:
      3,373
    • IMG_7894_1a.jpg
      IMG_7894_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      354.9 KB
      เปิดดู:
      3,341
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    พระปรางค์ประธาน

    [​IMG]

    ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ องค์พระปรางค์ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของวัด เป็นพระปรางค์ประธาน และเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของวัด การก่อสร้างพระปรางค์ของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ได้ทำตามคตินิยมของหัวเมืองราชธานี ของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยนั้น คือประสงค์ให้พระปรางค์เป็นหลักเป็นประธานของวัด และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รูปแบบของพระปรางค์เมื่อเริ่มสร้างสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม โดยสร้างครอบพระสถูปเจดีย์ที่สร้างในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม

    [​IMG]

    เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไป ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ได้โปรดให้บูรณะพระปรางค์โดยดัดแปลงพระเจดีย์ ได้ให้เป็นรูปแบบพระปรางค์แบบขอมตามพระราชนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๘ วา ๒ ศอก (๑๗ เมตร) ยาว ๒๑ เมตร มีฐานย่อมุมไม้สิบสองรับกับเรือนธาตุขององค์พระปรางค์ พระปรางค์สูง ๑๘ วา (๓๖ เมตร) ตรงกลางองค์พระปรางค์ทั้ง ๔ ด้าน มีซุ้มจระนำ ๔ ทิศ ซุ้มจระนำทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ส่วนซุ้มจระนำทางด้านทิศตะวันออกมีคูหาสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้าง ๒.๕๐ เมตร เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสยาวประมาณ ๑.๓๓ เมตร ฐานเจดีย์สี่เหลี่ยมนี้ซ้อนกัน ๓ ชั้น สูง ๑.๕๐ เมตร องค์เจดีย์เป็นทรงรูปกลม ศิลปะแบบลังกา สูง ๑.๕๐ เมตร จากฐานถึงยอดเจดีย์ ๓ เมตร เจดีย์องค์นี้ประดับกระจกสีทั้งองค์

    [​IMG]

    ภายในเจดีย์องค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่หน้าคูหามีประตูขนาดเล็กอยู่หน้าซุ้มจระนำ ๑ คู่ มีบันไดขึ้นไปที่ซุ้มจระนำ ๒๕ ขั้น ยอดพระปรางค์ประดับด้วยนภศูล มีกลีบขนุนประดับองค์พระปรางค์โดยรอบ เดิมกลีบขนุนคงจะทำด้วยปูนปั้นเกลี้ยงๆ ตามแบบที่นิยมกันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ต่อมาในสมัยที่พระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) เป็นเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ได้สั่งซื้อกระเบื้องเคลือบสีทองจากประเทศอิตาลีมาประดับกลีบขนุนพระปรางค์แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๖ ทำให้ยอดพระปรางค์มีสีเหลืองอร่ามงดงามมาก ด้านใต้กลีบขนุนเหนือซุ้มจระนำมีรูปพระยาครุฑจับนาคหล่อด้วยปูนปั้น ประดับอยู่ตรงมุมย่อเหลี่ยม ด้านละ ๓ ตน รวม ๔ ด้าน มี ๑๒ ตน พระปรางค์องค์นี้ได้มีการบรูณะซ่อมแซมให้มีสภาพที่สมบูรณ์ดีมาจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดได้รับการบูรณะโยกรมศิลปากรแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7975_1a.jpg
      IMG_7975_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      445.7 KB
      เปิดดู:
      3,475
    • IMG_7809_1a.jpg
      IMG_7809_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      466.8 KB
      เปิดดู:
      3,652
    • IMG_7965_1a.jpg
      IMG_7965_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      375 KB
      เปิดดู:
      3,152
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วิหารพระอัฏฐารสและพระอัฏฐารส

    เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหลักฐานโบราณสถานสำคัญ เพียงชิ้นเดียวที่ยังคงเหลือรูป แบบสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความเก่าแก่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารที่ชัดเจนที่สุด วิหารพระอัฏฐารสและพระอัฏฐารส ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านหลังองค์พระปรางค์ วิหารมีลักษณะที่คงเหลือแต่ซากวิหาร ลักษณะเป็นฐานอิฐ เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” ตั้งอยู่บนเนินดินและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก บนซากวิหารยังคงเหลือเสาศิลาแลงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เมตร เหลืออยู่ ๙ ต้น มีเสาร่วมในประธาน ๒ แถว

    a.jpg

    ตรงบริเวณฐานชุกชีมีองค์พระอัฏฐารสประทับยืนหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวา ยกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงมาข้างพระกาย เบื้องพระปฤษฎางศ์ ก่อผนังปูนหนา มีเสาไม้คำยันไว้ ๒ ต้น สันนิษฐานว่าของเดิมทำเป็นบันไดสำหรับขึ้นไปสูงจนถึงพระศอ เป็นพระพุทธรูปประทับยืนสูง ๑๘ ศอก สร้างตามคติความเชื่อแบบลังกา เดิมทีวิหารพระอัฏฐารสและพระอัฏฐารสปรักหักพักเสียหายมาก ตัววิหารได้มีการขุดแต่งทางโบราณคดี ส่วนพระอัฏฐารสได้หักและชำรุดมาก โดยที่พระเกศ พระบาท และพระกรซ้ายขวาชำรุดหักพักหมด ทางวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้ให้ช่างทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ และปี พ.ศ. ๒๕๕๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7955_1a.jpg
      IMG_7955_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      413.5 KB
      เปิดดู:
      2,969
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2018
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    รอยพระพุทธบาทจำลอง


    [​IMG]

    ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระอัฏฐารส มณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง เป็นมณฑปรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาดกว้างยาว ๙.๘๐ เมตร สูง ๕ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูง .๗๐ เมตร มีประตูทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ด้านละ ๑ คู่ มีหน้าต่างทางด้านทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตก ด้านละ ๑ คู่ ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง มีขนาดกว้าง ๑๓ นิ้ว ยาว ๔ ศอก ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิรีราชย์ครบ ๕๐ ปี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7980_1a.jpg
      IMG_7980_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      410.4 KB
      เปิดดู:
      3,037
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วิหารหลวงพ่อขาวและวิหารหลวงพ่อคง สร้างรูปแบบเดียวกันอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับเนินวิหารเก้าห้อง

    [​IMG]


    [​IMG]
    หลวงพ่อขาว




    [​IMG]


    [​IMG]
    หลวงพ่อคง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7917_1a.jpg
      IMG_7917_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      356.7 KB
      เปิดดู:
      3,092
    • IMG_7919_1a.jpg
      IMG_7919_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      359.6 KB
      เปิดดู:
      3,059
    • IMG_7954_1a.jpg
      IMG_7954_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      317.5 KB
      เปิดดู:
      3,000
    • IMG_7951_1a.jpg
      IMG_7951_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      348.7 KB
      เปิดดู:
      2,987
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]



    พงศาวดาร พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา
    พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

    ศุภมัสดพุทธศักราชล่วงแล้ว ๒๔๐๐ พยัคฆสังวัจฉะระ จุลศักราช ๑๒๒๘ ปีขาล อัฐศก ดำเนินเรื่องพระชินราช พระชินศรี พระศรีศาสดา พุทธปฏิมากร ๓ พระองค์ซึ่งดำรงอยู่ในวัดมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกนั้น ได้มีคำโบราณเล่าและเขียนจดหมายสืบมา ในราชพงศาวดารเมืองเหนือว่า

    พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงแสนได้ทรงสร้างไว้มีความว่า เดิมเมืองเชียงแสนได้ทรงสร้างไว้ มีความเดิมว่า เดิมเมืองเชียงแสนแต่ก่อนจุลศักราช ๔๐๐ พุทธศาสนการล่วงได้ ๑๕๘๑ ขึ้นไป เป็นเมืองใหญ่มีเจ้านายครอบครองสืบมาหลายชั่วเจ้าแผ่นดิน และมีอำนาจปกแผ่ไปในเมืองลาวต่างๆ ข้างฝ่ายเหนือแลมีอำนาจมา เขตต์แดนสยามฝ่ายเหนือมีเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงแสน พระองค์หนึ่งนามว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เพราะท่านได้ทรงร่ำเรียนพระคำภีร์ในพระพุทธศาสนาคือ พระวินัย พระสูตร พระปรมัตถ์มาก และได้จัดการพระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองเจริญมากในเมืองเชียงแสนนั้น ท่านนั้นได้พระราชเทวีมีพระนามว่า พระนางประทุมเทวี เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามพระองค์หนึ่งในวงค์พระเจ้าบาธรรมราชครองเมืองศรีสัชนาลัย คือเมืองสวรรคโลกในเวลานั้น เป็นพระมหาเหษีท่านนั้นมีพระราชบุตร ๒ พระองค์ ทรงพระนามเจ้าชาติสาครหนึ่ง เจ้าไกรสรสิงหราชหนึ่ง

    ครั้งพระกุมารทั้งสองพระองค์ ทรงพระเจริญวัยแล้วท่านมีรับสั่งให้จ่านกร้องนายหนึ่ง จ่าการบุญนายหนึ่งเป็นขุนนางของท่านคุมพวก บ่าวไพร แลสิ่งของบรรทุกเกวียนเป็นอันมากเป็นเสบียงไปนานให้พากันไปเที่ยวหาถิ่นที่ในปลายเขตต์แดนของท่านที่ใกล้ต่อชนกันเขตต์แดนแผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระนางประทุมเทวีอรรคมเหษี เวลานั้นยังคงตั้งอยู่ในทางไมตรีสนิท ควรจะคิดสร้างเมืองไว้ใกล้เคียงแผ่นเดิมสยาม เพื่อจะได้เป็นที่อยู่พระราชบุตรสองพระองค์ซึ่งมีเชื้อสายฝ่ายพระมารดาเป็นชาวสยาม ฤาโดยว่า กาลนานไปเบื้องหน้าผู้ปกครองแผ่นดินฝ่ายสยามจะเสียทางไมตรีจะล่วงเวลามาปรารถนา เขตต์แดนที่เป็นของขึ้นแก่เมืองเชียงแสนก็จะได้เป็นป้อมแลกำแพงมั่นคงกันข้าศึกศัตรูของเมืองเชียงแสนสืบไป

    จ่านกร้องจ่าการบุญกับบ่าวไพร่กราบทวายบังคมลาออกจากเมืองเชียงแสน เที่ยวมาถึงปลายเขตต์แดนเมืองขึ้นเมืองเชียงแสนข้างทิศตะวันออกเฉียงใต้ เห็นเขตต์แดนซึ่งขึ้นแก่เมืองเชียงแสนโอบอ้อมลงมาข้างแม่น้ำตะวันออก น้ำไหลลงมาร่วมปากน้ำโพในแดนสยาม เห็นกาลว่าจะต้องสร้างเมืองใหญ่ไว้ในลำน้ำตะวันออกนั้นกับชาวสยามซึ่งตั้งกรุงอยู่เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลกใกล้เคียงข้างตะวันตก จึงเลือกที่ตำบลบ้านพราหมณ์ซึ่งครั้งอยู่สองข้างฝั่งแม่น้ำเป็นทิศตะวันตกแต่เขาสมอแครลงมา เห็นว่าที่บ้านพราหมณ์ควรจะสร้างเป็นเมืองขึ้นได้ จึงคิดจะสร้างเมืองจะให้มีกำแพงสองฟากน้ำ แลจะให้มีป้อมจดฝั่งแม่น้ำตรงกันสองฟากเมืองนั้น จ่ากร้อง จ่าการบุญได้คิดการกะแผนที่แลมีหนังสือไปกราบทูลถวายแผนที่และชี้แจงถิ่นฐาน และเหตุผลให้สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปฎกทราบความ สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงเห็นชอบด้วย จึงกะเกณฑ์ไพร่พลในเมืองเชียงแสนและเมืองขึ้นเป็นอันมากสมควรพอเป็นกำลังจะมาสร้างเป็นเมืองใหญ่แล้วเร็วๆ ได้แล้ว ให้คุมเสบียงอาหารและสิ่งของและเครื่องเรือนตามแผนที่ซึ่งกะการณ์ไว้นั้นได้จัดการในเวลาเช้าวัน ๖ เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู เบ็ญจศกจุลศักราช ๓๑๕ พระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๑๔๙๖ เวลาวันนี้ เป็นเวลาชาตาเมืองนั้น เมื่อการทำไปจ่ากร้อง จ่าการบุญและนายดาบและนายกองก็มีใบกรอกรายงานไปกราบทูลแก่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกให้ทราบเนืองๆ จนการกำแพงและป้อมสองฟากน้ำจวนจะสำเร็จ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    เมื่อล่วงปีหนึ่งกับเจ็ดเดือน แต่แรกเริ่มกาลนั้นมา จึงพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกพยุหโยธามาพร้อมกับอรรคมเหษี และพระราชบุตรทั้งสองพระองค์เพื่อจะทอดพระเนตรเมืองสร้างใหม่ ครั้นเสด็จมาทอดพระเนตรเห็นก็ชอบพระทัย ให้สร้างที่ประทับใหญ่ลงเสด็จประทับอยู่ในที่นั้นนานวัน แล้วจึงมีรับสั่งให้ตั้งการพระราชพิธีกลบาทว์และมงคล แก่การเมืองสร้างใหม่แล้วทรงปฤกษาชีพ่อพราหมณ์ว่าจะขนานนามพระนคร ว่าอะไรดี จึงชี้พ่อพราหมณ์ผู้รู้วิทยาการกราบทูลตามสังเกต ว่าวันเสด็จพระราชดำเนินมาถึงนั้นเป็นยามพระพิษณุ เพราะฉะนั้นขอพระราชทานนาม พระนครว่าพระพิษณุโลกเถิด จึงมีรับสั่งว่าเมืองถือวงศ์กำแพงเป็นเมืองเดียวกันแยกสองฟากน้ำ ดูเหมือนเป็นเมืองแฝด แม่น้ำเป็นคูคั้นเมืองกำแพงกั้นอยู่กลาง อันหนึ่งเดิมจะสร้างก็ได้ทรง พระราชดำริว่าจะพระราชทานให้พระราชบุตรสองพระองค์เสด็จอยู่ ควรจะให้นามเป็นสองเมือง แล้วจึงพระราชทานนามซึ่งมีชีพ่อพราหมณ์กราบทูลนั้นเป็นนามเมือง ฝั่งตะวันออกว่าเมืองพิษณุโลก แต่เมืองฝั่งตะวันตกนั้นพระราชทานนามตามชอบพระราชหฤทัย ต่อเข้าให้เป็นกลอนอักษร เพราะว่า เมืองโอฆบุรี เพราะว่าถิ่นที่แม่น้ำไหลไปในกลางระหว่างกำแพงสองฟากน้ำเป็นห้วงลึก เมื่อฤดูแล้งมีน้ำขังอยู่มากกว่าเหนือน้ำแลใต้น้ำ เพราะพระศรีธรรมไตรปิฎกเสด็จประทับอยู่ที่นานวันยังไม่คิดเสด็จกลับคืนพระนครเชียงแสนนั้น ด้วยพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทำนุบำรุงพระศาสนาและไว้พระเกียรติยศพระนามปรากฏไปภายหน้า ด้วยการสร้างเจดีย์สถานซึ่งเป็นถวารวัตถุ ผู้อื่นจะล้างทำลายเสียไม่ได้จึงทรงสร้างวัดพระมหาธาตุผ่านในฝั่งเมืองตะวันออกมีพระปรางค์มหาธาตตั้งกลาง มีพระวิหารทิศสี่ทิศ มีพระระเบียงสองชั้นแล้วให้จับการปั้นหุ่นพระพุทธรูปสามพระองค์ เพื่อจะตั้งเป็นพระประธานในพระวิหาร

    ในครั้งนั้นพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก มีพระราชสาสน์ให้ทูลเชิญไปถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ณ เมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลก ซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระราชเทวี ขอช่างพราหมณ์ช่วยปั้นหุ่นพระพุทธรูปเพราะเวลานั้นมีคนเล่าภาสรรเสริญช่างเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลกมาก ว่าทำพระพุทธรูปได้งามๆดีๆ ก็เมืองสร้างใหม่นั้นอยู่ไม่ไกลนัแต่เมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกจึงทรงพระวิตกว่า ถ้าจะทำพระพุทธรูปขึ้นมาโดยลำพังฝีมือลาวเชียงแสน กลัวเกลือกจะไม่งามดีสู้พระเจ้ากรุงสยามเมืองสวรรคโลก จึงโปรดให้ช่างพราหมณ์ฝีมือดี ๕ นาย มีชื่อจดหมายไว้ในหนังสือโบราณ บาอินทร์ ๑ บาพรหม ๑ บาพิษณุ ๑ บาราชสังข์ ๑ บาราชสังข์ ๑ บาราชกุศล ๑ ช่างพราหมณ์ ๕ นายกับทูตถึงเมืองสร้างใหม่แล้ว พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกให้ช่างเมืองสวรรคโลกสมทบกับช่างชาวเชียงแสน และชาวเมืองหริภุญชัยช่วยกันหุ่นพระพุทธรูปสามองค์ซึ่งซวดทรงสัณฐานคล้ายกันแต่ประมาณนั้นเป็นสามขนาด คือพระองค์หนึ่ง ตั้งพระนามเริ่มว่าพระพุทธชินราช หน้าตัก ๕ ศอกคือ ๕ นิ้ว มีเศษอีกพระองค์ ๑ เริ่มพระนามไว้ว่าพระพุทธชินศรี หน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว อีกพระองค์ ๑ เริ่มพระนามไว้ว่าพระศรีศาสดา หน้าตัก ๔ ศอกคืบ ๖ นิ้ว มีสัญฐานอาการคล้ายกัน อย่างพระพุทธรูปเชียงแสน ไม่เอาอย่างพระพุทธรูปในเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลกและเมืองสุโขทัย ที่ทำนิ้วสั้นยาวไม่เสมอกันอย่างมือคน ถึงพระลักษณะอื่นก็ปนๆ เป็นอย่างเชียงแสนบ้าง เป็นอย่างศรีสัชนาลัยสวรรคโลกสุโขทัยบ้าง ช่างทั้งปวงและคนดูเป็นอักมากเห็นพร้อมกันว่าพระพุทธรูปสามพระองค์นี้งามดีหาที่จะเสมอมิได้ แล้วจึงให้เข้าดินอ่อนดินแก่ชะนวนตรึงทวยรัดปาอกให้แน่นหนาพร้อมมูลบริบูรณ์เสร็จแล้วๆ ให้รวบรวมจัดซื้อจัดหาทองคำสัมฤทธิ์อย่างดีได้มาเป็นอันมากหลายร้อยหาบแล้ว ครั้นหุ่นเห็นพระพุทธรูปสามองค์เข้าดินสำเร็จแล้ว กำหนดมงคลฤกษ์จะได้เททอง ณ วัน ๕ เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีเถาะสัปคศกจุลศักราช ๓๑๗ ปี สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงดำรัสสั่งให้อาราธนาชุมนุมพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในถิ่นที่มีโดยรอบคอบใกล้เคียงเมืองนั้น ทั้งฝ่ายคณะคามวารีอรัญวาสี มีพระอุบาฬีกาและพระศิริมานน์วัดเขาสมอแครงเป็นประธาน และให้สวดพระปริตพุทธมนต์มหามงคลทำสัจกิริยา อาราธนาเทพยดา ให้ช่วยในการนั้น และให้ชีพ่อพราหมณ์ทำการมงคลพิธี ตามพราหมณ์ศาสตร์ด้วยช่วยในการพระราชประสงค์ก็แล้วจึงเททองหล่อพระพุทธรูปสามพระองค์ ด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณแท้ ครั้นเททองเต็มแล้วพิมพ์เย็นแกะพิมพ์ออก รูปพระชินศรี พระศรีศาสดาสองพระองค์บริบูรณ์ดี มีน้ำทองแล่นตลอดเสมอกันการ เป็นสำเร็จ แต่รูปพระชินราชเจ้านั้นไม่ลงบริบูรณ์ ช่างได้ทำหุ่นรูปใหม่ และหล่ออีกถึงสามครั้งก็มิได้สำเร็จเป็นองค์พระ สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกโทมมัสนัก แล้วทรงตั้งสัจกิริยาธิฐานอ้างบุญบารมีแล้วรับสั่งให้พระนางประทุมเทวีตั้งสัจกิริยาธิฐานด้วย ครั้นนั้นประขาวคนหนึ่งเข้ามาช่วยปั้นหุ่นทำการแข็งแรง ประขาวคนนั้นเป็นใช้ใบ้ไม่พูด ใครถามชื่อตำบลบ้านก็ไม่บอกไม่มีใครรู้จักช่วยทำการทั้งกลางวันกลางคืน ไม่มีเวลา ครั้นรูปหุ่นงามดีสำเร็จเข้าดินพิมพ์แห้งแล้ว กำหนดมงคลฤกษ์จะได้เททอง ณ วัน ๕ ค่ำ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จุลศักราช ๓๑๙ พุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ หย่อนอยู่เจ็ดวัน จึงดำรัสสั่งให้อาราธนาชุมนุมพระภิกษุสงฆ์ และชีพ่อพราหมณ์ทำการมงคลพิธีเหมือนครั้งก่อน แล้วเททองก็เต็มบริบูรณ์ ประขาวที่มาช่วยทำนั้นก็เดินออกจากที่นั้นไป แล้วออกจากประตูเมืองข้างทิศเหนือหายไปที่ตำบลหนึ่ง บ้านนั้นได้ชื่อว่าบ้านตาประขาวหายจนทุกวันนี้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเมื่อต่อยพิมพ์พระพุทธรูปออกเห็นบริบรูณ์งามดี จึงมีรับสั่งให้ข้าราชการไปตามสืบหาตัวประขาวนั้น จะมาพระราชทานรางวัลก็ไม่ได้ตัวเลย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ให้ช่างแต่งตั้งพระพุทธรูปให้เกลี้ยงสนิทดี ที่ทวยเหล็กให้ถอนออกเสียเปลี่ยนเป็นทวยของใช้แทนที่ แล้วขัดสีชักเงาสนิทอย่างเครื่องสัมฤทธิ์ที่เกลี้ยงเกลาดีแล้วอัญเชิญเข้าประดิษฐานไว้ในสถานทั้งสาม คือพระพุทธชินราชอยู่ในพระวิหารใหญ่ สถานทิศตะวันตกพระมหาธาตุผันพระพักตร์ต่อแม่น้ำ พระพุทธชินศรีอยู่ทิศเหนือ พระศรีศาสดาอยู่ทิศใต้ พระวิหารหลวงใหญ่ทิศตะวันออก เป็นที่ธรรมสวันสการ ที่ถวายนมัสการพระมหาธาตุและเป็นที่ชุมนุมพระสงฆ์ เมื่อหล่อพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดาเสร็จแล้ว ทองสัมฤทธิ์ซึ่งเป็นชนวนและชลาบสมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกรับสั่งให้รวบรวมมาหลอมหล่อ ในองค์พระพุทธชินราชซึ่งหล่อครั้งหลังแต่ทองสัมฤทธิ์ซึ่งเป็นชนวนและชลาบในองค์พระพุทธชินราชนั้น สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกดำรัสสั่งให้ช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูปหน้าตักศอกเศษแล้ว เอาทองที่เหลือจากพระพุทธชินราชหล่อ เรียกนามว่าพระเหลือ ชนานและชลาบของพระเหลือนั้น ก็หล่อเป็นรูปสาวกของพระเหลือทั้งสององค์ ครั้นเสร็จแล้วสถานที่หล่อพระพุทธรูปสามพระองค์อยู่ตรงหน้าวิหาร พระพุทธชินราชนั้นให้ก่อเป็นชุกกระชีด้วยอิฐเตาหลอมทอง และเตาสุมหุ่นทั้งปวงนั้น แล้วเอามูลดินอื่นมาผสม กับดินพิมพ์ที่ต่อยออกจากพระพุทธรูปสามองค์มาถมเป็นชุกกระชีสูงสามศอก แล้วให้ปลูกต้นมหาโพธิ์สามต้น สำแดงเป็นพระมหาโพธสถานของพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีพระศาสดาสามพระองค์เรียกนามว่าโพธิ์สามเส้า แล้วจึงให้สร้างปฏิมาฆระสถานวิหารน้อยในระหว่างต้นมหาโพธิ์ หันหน้าต่อทิศอุดร แล้วเชิญพระเหลือกับพระสาวกสององค์เข้าไปไว้ในที่นั้น แสดงเป็นที่สำคัญว่าเป็นที่หล่อพระพุทธรูปทั้งสองพระองค์เบื้องหน้า แต่นั้นสมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงดำรัสสั่งให้สร้างพระราชวังอยู่ฝั่งตะวันตก เหนือที่ตรงหน้าวัดพระมหาธาตุน้อยหนึ่ง

    ครั้นการพระอารามและพระราชวังพระนครเสร็จแล้ว ให้มีการสมโภชเจ็ดวัน ภายหลังจึงทรงตั้งจ่านกร้องจ่าการบุญให้เป็นที่เสนาบดีมียศเสมอกัน เพื่อจะให้เป็นผู้รักษาเมืองพระพุษณุโลกโอฆบุรีทั้งสองฟาก แล้วทรงพระราชดำริคิดตั้งเมืองนั้นไว้เป็นพระนครที่ประทับ สำหรับสำราญพระราชหฤทัยอยู่ใกล้แผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระราชเทวี และจะให้เป็นที่ประทับกำกับรักษาไม่ให้ชาวสยามที่เป็นใหญ่ในอนาคต จะล่วงลามเกินเลยเข้ามาในเขตต์แดนของพระองค์ที่ล่อแหลมกามลงมาอยู่นั้น จึงจัดการให้มั่งคงเป็นดังพระนคร

    พระองค์เสด็จประทับสำราญพระราชหฤทัย อยู่ที่นั้นนานถึง ๗ ปีเศษ บ้านเมืองมีผู้คนอยู่แน่นหนาบริบูรณ์แล้ว จึงเสด็จกลับคืนยังพระนครเชียงแสนทรงพระราชดำริว่า เมืองพระพิษณุโลกจะให้พระราชโอรสเสด็จไปอยู่ดั่งพระราชชดำริไว้แต่เดิมก็เห็นว่าเป็นทางไกล พระองค์ก็ทรงพระชนมายุเจริญถึงปัจฉิมวัยแล้วจึงโปรดให้เจ้าชาตินครเสด็จไปครองเมืองเชียงรายเป็นที่ใกล้ ให้เจ้าไกรสรราช เสด็จไปครองเมืองละโว้ ซึ่งเป็นเมืองไกลในทิศใต้ใกล้ทะเลและไปขอรับเจ้าสุนทรเทวี เป็นพระราชธิดาพระเจ้ากรุงสยาม ณ กรุงศรีสัชนาลัยสวรรคโลก มาอภิเษกเป็นพระมเหษีของเจ้าไกรสรราช ณ เมืองละโว้ แล้วจึงรับสั่งราชอำมาตย์ไปรับเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช มาแต่เมืองกำโพชา มาอภิเษกกับพระราชธิดาของพระองค์แล้ว โปรดให้ไปครองเมืองใหม่นั้น พระราชทานนามว่าเมืองเสนาราชนคร แล้วจึงรับสั่งให้แต่งเจ้าชาติสาครไปครองเมืองเชียงรายอยู่ใกล้พระนครเชียงแสน

    พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกบรมบพิตร พระชนม์ยืนได้ ๑๕๐ ปี แล้วจึงเสด็จสวรรคต อำมาตย์ทั้งปวงส่งข่าวสารไปทูลเจ้าชาตสาคร ณ เมืองเชียงรายเสด็จมาจากเมืองเชียงรายถวายพระเพลิงพระศพพระบิดาแล้ว ขึ้นเสวยราชสมบัติในเมืองเชียงแสนสืบพระวงศ์มาหลายชั่วพระเจ้าแผ่นดินจึงสาบสูญสิ้นพระวงศ์ไป


    ก็แลพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาพระองค์นี้ เป็นพระพุทธปฏิมากรดีล้ำเลิศ ประกอบไปด้วยพระพุทธลักษณะประเสร็ฐ มีศรีอันเทพยเจ้าหากอภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่สัการบูชานับถือมาแต่โบราณ แม้พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาเก่า ที่ได้มีพระเดชานุภาพมโหฬารปรากฏมาในแผ่นดิน ก็ได้ทรงนับถือสักการะบูชามาหลายพระองค์

    เมื่อจุลศักราช ๙๒๖ ปีวอก ฤศก สมเด็จพระราเมศวร เสด็จขึ้นไปตีเชียงใหม่ เสด็จกลับลงมาถึงเมืองพิษณุโลก นมัสการพระชินราช พระชินศรี เปลื้องเครื่องต้นทำสักการะบูชา แล้วให้มีการสมโภชเจ็ดวัน แล้วเสด็จกลับพระนคร

    เมื่อจุลศักราช ๙๒๖ ปีชวด ฤศก สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเมืองเสด็จอยู่ ณ เมือง พิษณุโลกกับสมเด็จพระบรมชนกนารถมหาธรรมราชาธิราชนั้น ได้เสด็จไปช่วยราชการสงครามเมืองหงสาวดีมีชัยชนะเสด็จกลับมายังเมืองพิษณุโลก เปลื้องเครื่องทรงออกบูชาพระชินราชพระชินศรีแล้วให้มีการสมโภชสามวัน ภายหลังมาพระองค์ไปต้องกักขังอยู่เมืองหงสาวดีช้านาน เมื่อได้ช่องแก่การและกลับคืนมายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อเสด็จกลับจากเมืองหงสาวดีครั้งหลังนั้นได้ทรงรับมหาเถรคันฉ่องเข้ามาแล้ว ได้เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี เมืองพิษณุโลกแล้วได้ทรงบูชาฉลองสามวันเหมือนดังนั้นอีกครั้งหนึ่ง

    เมื่อจุลศักราช ๙๕๓ ปีเถาะตรีศก สมเด็จพระเจ้าเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถ เสด็จขึ้นไปประพาสจังหวัดเมืองพิษณุโลกทุกตำบล มีพระราชโองการดำรัสสั่งให้เอาทองนพคุณเครื่องต้นซึ่งเป็นราชูปโภค มาแผ่เป็นทองปะทาศรี แล้วเสด็จไปทรงปิดในองค์พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีทั้งสองพระองค์ด้วยพระหัตถ์เสร็จบริบูรณ์แล้วให้มีการสมโภชเป็นโหฬารสัการเจ็ดวัน

    อันสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและสมเด็จพระนเรศวรบรมนารถ และสมเด็จพระเอกาทศรฐอิศวรบรมนาถสามพระองค์นี้ เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชาธิราช แม้ได้เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองพระพิษณุโลกทั้งสามพระองค์ ได้มอบพระองค์ เป็นอุปฐากปฏิบัติพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา ได้ทรงทำสักการบูชาเนืองๆ มาเป็นอันมาก หากอำนาจพระราชกุศลที่พระองค์ ได้ทรงบำเพ็ญด้วยความเลื่อมใส ในพระพุทธมหาปฏิมากรอันประเสริฐทั้งสามพระองค์นี้มาภายหลังมาพระองค์ก็ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามใหญ่ มีชัยชนะศัตรูหมู่ปัจจามิตรทั่วทุกทิศทุกทาง โดยลำดับราชการสืบๆ กันมาถึงสามแผ่นดิน ด้วยพระบารมีพระเจ้าแผ่นดินสามพระองค์นั้นเล่าฤาชาปรากฏมาก พระเจ้าแผ่นดินสยามแทบทุกแผ่นดินในภายหลังมาก็พลอยนับถือพระพุทธมหาปฏิมากร คือ พระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีสืบมาและจนเป็นอันมากก็ลงใจเห็นว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี ๒ พระองค์นี้งามนัก ไม่มีพระพุทธรูปใหญ่น้อยที่ไหนๆ ใหม่เก่างามดีไปกว่าได้ เห็นจะเป็นของที่เทพยดาเข้าสิงช่างฤานฤมิตร เป็นมนุษย์มาช่วยสร้างทำเป็นแน่

    เพราะเห็นนี้มีผู้นับถือนมัสการ บูชาเล่าฦานับถือมานาน พระเจ้าแผ่นดินบางพระองค์ก็ได้เสด็จไปนมัสการบ้าง และส่งเครื่องนมัสการและเครื่องปฏิสังข์ทำนุบำรุงไปบูชาและค้ำชูให้เป็นปรกติเป็นอภิลักขติเจดียสถาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    มีความในพระสยามราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช ๑๐๒๒ ปีชวดโทศก สมเด็จพระนารายณ์ราชบพิตรพระเจ้าช้างเผือก เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่กลัยมาถึงเมืองพิษณุโลก เสด็จไปนมัสการพระชินราชพระชนศรี ทำการสักการบูชาแล้วเล่นการมหรสพสมโภชสามวัน

    ครั้นเมื่อถึงปีชวลจัตวาศก จุลศักราช ๑๐๒๔ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการอีกครั้งหนึ่งครั้นแผ่นดินสมเด็จพระศรีสุริเยนทราธิบดี เสด็จไปทรงสร้างพระอาราม ณ ตำบลโพประทับช้างเป็นที่ประสูตรแขวงเมืองพิจิตร แล้วเสด็จไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีด้วย เมื่อปีมะแมเอกศกศักราช ๑๑๐๑ เป็นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระบรมธรามมิกราชาธิราชบรมโกศ ได้ทรงพระราชศรัทธาอุตสาหะให้สร้างบานประตูประดับมุกคู่หนึ่ง ทรงพระราชอุทิศถวายพระพุทธชินราชให้ประกอบไว้ที่ประตูใหญ่หน้าพระวิหารพระพุทธชินราช

    ครั้นเมื่อวัน ๒ เดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก เจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพยุหโยธาทัพ ณ ขึ้นไปปราบปรามเจ้าพระฝาง ซึ่งตั้งตัวเป็นเจ้าอยู่เมืองสวางคบุรี เมื่อถึงเมืองพระพิษณุโลกแล้วเสด็จประทับแรมท่ากองทัพเจ้าพยายมราชอยู่เก้าวัน ครั้นนั้นเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาทั้งสามพระองค์ ได้เปลื้องพระภูษาทรงบูชาพระพุทธชินราช

    จะว่าถึงการที่เป็นไปในพระบรมราชวงศ์ ซึ่งสถาปนารัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยา ณ ตำบลบางกองตรงกรุงธนบุรีข้ามมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ในรัชกาลเป็นประถมแต่เมื่อครั้งกรุงธนบุรีได้เป็นจอมพยุหโยธาแม่ทัพใหญ่ไปทำศึกกับพม่าที่ยกมาทางเมืองเหนือเป็นการเข้มข้นหลายครั้ง เสด็จถึงเมืองพระพิษณุโลกคราวใดก็คงจะได้เสด็จนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินศรีพะรศรีศาสดาทุกครั้ง แต่พระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังในแผ่นดินนั้น เมื่อแผ่นดินกรุงธนบุรีได้เป็นที่เจ้าพระยาสุรศรีพิษณวาธิราช ผู้สำเร็จราชการเมืองพระพิษณุโลกหลายปีได้ทรงนมัสการปฏิบัติพระพุทธิชินราชพระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาทั้งสามพระองค์ โดยความที่ทรงเคารพและเลื่อมใสนับถือเป็นอันมากอยู่หลายปี จะว่าการให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีกโดยความสัตย์ความจริงก็ว่าได้ ท่านพระองค์ใดซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมชนกนารถ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ในรัชกาลเป็นประถมนั้น และเป็นมหาอรรคบรรพบุรุษของพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชวงศานุวงศ์ ณ กรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุธุยานท่านพระองค์นั้น เมื่อแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ได้เป็นที่พระอักษรสุนทรศาสนาอยู่ในกรมมหาดไทย ได้เป็นผู้สถาปนาวัดสุวรรณดาราราม ณ กรุงศรีอยุธยาไว้ด้วย ครั้นเมื่อปัจฉิมรัชกาลในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ต้องรับราชการขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ครั้นสืบทราบว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาพม่าข้าศึกเข้าล้อมไว้แน่นหนา ท่านก็ยังรั้งรอข้าอยู่ ณ เมืองพระพิษณุโลก ครั้นเมื่อได้ข่าวว่า กรุงเทพทวาราวดีกรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าข้าศึกแตกยับเยินแล้วพระพิษณุโลกก็ตั้งตัวเป็นเจ้าแผ่นดินใหญ่ ไม่ยอมขึ้นแก่ผู้ใด ตั้งขุนนางอย่างกรุงเทพมหานครนี้ทุกตำแหน่ง จึงตั้งพระอักษรสุนทรศาสน ให้เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษอรรคมหาเสนาบดี เพราะเห็นว่า เข้าใจดีในขนบธรรมเนียมในกรุงเทพมหานคร และขบวนราชการในกรมมหาดไทยทุกประการแล้ว พระยาพิษณุโลกบังคับบัญชาบรรดาขุนนาง ที่ตัวตั้งให้เรียกคำบัญชาสั่งของตัว ว่าพระราชโองการทุกตำแหน่งไป ไม่ได้ทำพิธีราชาภิเษกให้พราหมณ์ครอบก่อน

    ตั้งแต่สั่งดังนั้นแล้วก็ป่วยลงอยู่ได้ ๗ วัน ก็ถึงอนิจกรรม พระอักษรสุนทรศาสนเจ้าพระยาจักรีมิได้มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ตั้งตัวเป็นใหญ่ต่อไปแอบอาศัยอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ซึ่งครั้งนั้นตกอยู่ในอำนาจพระพากุลเถร เมืองฝาง ชื่อตัวชื่อเรือนซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองฝ่ายเหนือแผ่นอำนาจลงมาข้างใต้จนถึงเมืองพิจิตรข้างตะวันตก ไปถึงเมืองสวรรคโลกและเมืองสุโขทัย พระอักษรสุนทรศาสน อาศัยอยู่เมืองพิษณุโลกไม่ช้าป่วยลงก็สิ้นชนม์ชีพ จึงท่านมาภรรยาน้อยกับบุตรชายเล็กเกิดแต่ท่านมาชื่อลา ซึ่งตามขึ้นไปด้วยแต่แรกได้ทำสรีรณาปณกิจถวายเพลิงเสร็จแล้ว เก็บพระอัฏฐิรวบรวมรักษาไว้ด้วยดี กับมหาสังข์อุตราวัฎเป็นของดั้งเดิมของท่านพระอักษรสุนทรศาสน จึงคุมไปถวายพระโอรสององค์ใหญ่ของท่านพระอักษรสุนทรศาสน ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้ายามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมาในแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว เมื่อพระโอรสององค์ที่สองของท่านพระอักษรสุนทรศาสนได้ขึ้นไปเป็นเจ้าพระสุรศรีพิษณวาธิราช ผู้สำเร็จราชการเมืองพระพิษณุโลกในแผ่นดินกรุงธนบุรีนั้นบุตรชายน้อยของท่านพระอักษรสุนทรศาสนเกิดแต่ท่านมา ก็ตามขึ้นไปด้วยเป็นนายโขนของเจ้าพระยาศรีพิษณวาธิราช

    ครั้นเมื่อล่วงแผ่นดินกรุงธนบุรีแล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมาและเจ้าพระยาศุรศรีพิษณวาธิราชได้เถลิงถวัลยราชสมบัติ ในพระบรมมหาราชวัง และพระบวรราชวังแล้ว เจ้าลาพระอนุชาธิบดีซึ่งเป็นนายโขนนัน พระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงตั้งให้เป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงจักรเจษฎา พระบรมอัฎฐิของท่านพระอักษรสุนทรศาสน ซึ่งเป็นสมเด็จพระชนกนารถ และพระมหาสังขอุตราวัฏของเดิมซึ่งว่านั้น ก็ยังประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง กรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุธยาบรมมหาราชวัง กรุงรัตนโกสินมหินทรายุธยาบรมราชธานี เป็นสิ่งของสำคัญเครื่องระลึกถึงพระบรมราชบรรพบุรุษสืบมาจนกาลทุกวันนี้
    บรรยายเรื่องทั้งปวงนี้ คือจะสำแดงท่านทั้งหลายซึ่งเป็นต้นเป็นเค้า ของพระบรมราชวงศ์ผู้ตั้งขึ้นแลดำรง ณ กรุงรัตนโกสินทรมหิทรายุธยานี้ แต่เดิมได้เคยสร้างเสพย์นมัสการ นับถือพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดาสามพระองค์มาแต่ก่อน พระพุทธรูปสามพระองค์นี้ก็เป็นมหัศจรรย์คิดแต่แรกสร้างมา จนถึงปีที่ตั้งต้น พระบรมราชวงศ์กรุงรัตนโกสินทรมหินทราอยุธยาบีดนี้ นานได้ถึง ๘๒๕ ปี ซึ่งเป็นระหว่างพระพุทธศาสนกาลแต่ ๑๕๐๐ จนถึง ๒๓๒๑ ฤาแต่จุลศักราช ๓๑๙ จน ๑๑๔๔ เมืองพระพิษณุโลกก็เปลี่ยนเจ้าผลัดนายร้ายๆดีๆ ลางทีเป็นเมืองหลวง ลางทีเป็นเมืองขึ้นมาหลายครั้งหลายหน ข้าศึกมาแต่อื่นเข้าผจญเอาได้ เอาไฟจุดเผาถิ่นที่ต่างๆ ในเมืองนั้นเสียเกือบหมด แต่พระพุทธรูปสามพระองค์นี้ ก็มิได้เป็นอันตรายควรเป็นเป็นอัศจรรย์ คนเป็นอันมาสำคัญมีเทวดารักษาและบางจำพวกสำคัญเห็นเป็นแน่ว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีสองพระองค์นั้น งามแหลมแก่ตามากกว่าพระพุทธรูปใหญ่น้อยบรรดามี ในแผ่นดินสยามทั้งปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ และตลาดกาลนานมาถึง ๙๐๐ ปีมีผู้เลียนปั้นเอาอย่างไปก็มากมายหลายตำบล จะมีพระพุทธรูปที่คนเป็นอันมาก ดูเห็นว่าเป็นดีเป็นงามกว่า พระพุทธชินราชพระพุทธชินศรี สองพระองค์นี้ไป ก็ไม่มี จึงคาดเห็นว่าเมื่อทำชรอยช่างที่เป็นผีสางเทวดาที่นับถือพระพุทธศาสนาและมีอายุยืนมาได้เคยเห็นพระพุทธเจ้าจะเข้าไปสิงในตัว ฦาดลใจช่างผู้ทำ ให้ทำไปตามน้ำใจของมนุษย์ดังนึ่งประขาวที่ว่าก่อนนั้น ถ้าจะเป็นของมนุษย์ทำก็จะคล้ายละม้ายกันกับพระพุทธรูปอื่นโดยฝีมือช่างในเวลานั้น ดังรูปพรรณพระเหลือ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปฏิมาฆระสถานวิฟารน้อยที่โพธิ์สามเส้า ที่หล่อพระพุทธรูปสามพระองค์นั้น ก็เป็นฝืมือช่างในครั้งคราวเดียวกัน แต่รูปพรรณก็ละม้ายคล้ายกับพระพุทธรูปสามัญ ที่เป็นฝีมือช่างเมืองพิษณุโลกไม่แปลกไปเพราะฉะนั้นจึงมีที่มีสติปัญญา ซึ่งได้เห็นได้พิจารณาศิริวิลาส พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี ยินดีนิยมนับถือด้วยกันเป็นอันมากไม่วางวาย และคนที่เป็นประขาวมานั้น ก็เห็นปรากฏชัดว่ามิใช่มนุษย์ เพราะฉะนั้นจึงเห็นว่าพระพุทธรูปทั้งสามพระองค์นี้มีเทวดาทำ ชนทั้งปวงจึงได้นับถือบูชาเป็นอันมากมาจนทุกวันนี้แล ๚ะ ๛

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7790_1a.jpg
      IMG_7790_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      526.3 KB
      เปิดดู:
      3,111
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ......................................................


    สุดท้ายจากการที่ได้สักการะพระบรมสารีริกธาตุ
    สักการะพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระเหลือ
    หลวงพ่อโต หลวงพ่อดำ หลวงพ่อขาว หลวงพ่อคง
    พระอัฏฐารส หลวงพ่อสามพี่น้อง หลวงพ่อในวิหารแกลบ(จำชื่อไม่ได้)
    รอยพระพุทธบาทจำลอง ฯลฯ
    และการทำบุญในครั้งนี้ กุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำ
    ข้าพเจ้าขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
    คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์
    ถวายเป็นส่วนในพระราชกุศลพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช
    สมเด้จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
    สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
    สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนี พระพันปีหลวง
    พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัชดา
    พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
    พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตน์นารีนาค กรมขุนอัครวรราชกัญญา
    พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
    เจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ พระสุพรรณกัลยา
    พระมหาธรรมราชาลิไท
    ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระอารามหลวงและพระพุทธปฏิมาแห่งนี้

    เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ ท่านท้าวจตุโลกบาล
    ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย
    คุณแม่พระธรณี พระคงคา พระพาย พระเพลิง พระโพสพ
    พระพิรุณ พระยายมราช นายนิรบาล
    พระสยามเทวาธิราช
    หลักเมือง เสื้อเมือง ทรงเมือง
    ตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาจนถึงเบื้อบนที่สุดพรหมมา
    เบื้องล่างตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษยโลก
    โดยรอบสุดขอบจักรวาล อนันตจักรวาล
    เทวดารักษาตัวของข้าพเจ้า
    บริวารของข้าพเจ้า
    เจ้ากรรมนายเวร
    สัตว์โลก วิญญาณโลก และวิญญาณทุกดวงในสถานที่ที่ข้าพเจ้าได้ไปเยือน

    ด้วยกุศลนี้คำว่าไม่มีจงไม่บังเกิดแก่ข้าพเจ้า
    จงเป็นเหตุปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้พบพระพุทธเจ้า
    และศาสนาของพระองค์ในทุกๆ ชาติ
    ได้สดับรับฟังคำสั่งสอนของพระองค์ทุกภพทุกชาติ
    ให้ข้าพเจ้าได้ละอายและเกรงกลัวต่อบาป
    หมดซึ่งกิเลสและตัณหา
    จนถึงพระนิพพานเป็นที่สุด


    ........................................
     

แชร์หน้านี้

Loading...