คนติดพุทโธจะเดินหลงทางไหม

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย อยู่เย็น, 20 มีนาคม 2010.

  1. อยู่เย็น

    อยู่เย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +137
    ป้าสนใจธรรมมานานหัดภาวนาบ้างท้อบ้างทำบ้างเลิกบ้างแต่ช่วงหลังเริ่มมีอาการติดคำว่าพุทโธ ไม่ว่าจะเดิน นัง ยืน นอน สมองจะมีแต่คำว่าพุทโธ โดยอัตโนมัติ พอก้าวขา ความคิดก็สั่ง พุท- โธ ทุกย่างเก้า ป้า งง ตัวเอง ว่าเรานึกถึง คำว่า พุทโธ มากไปหรือเปล่า แม้แต่ ในฝัน ก็ ฝันว่านั่งท่อง พุทโธ ป้าไม่ได้คิดถึง ขั้น จิตรวม หรืออะไรหรอก คิดว่าท่องไปจะได้คลายเครียดในการทำงานเท่านี้น ถ้าป้าเดินผิดทางบอกป้าด้วย
     
  2. ฮุโต๋

    ฮุโต๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +44,568
    คำว่า พุทธโธ นี่ยิ่งใหญ่มาก องค์ภาวนาคำนี้ มีอานิสงฆ์มหาศาล คุณป้าท่องจนเกิดเป็นฌาณแล้ว นี่แหละที่บอกว่าจิตสวดมนต์ตลอดเวลา ทำต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องสงสัยอะไรให้มาก จิตเกาะคำว่า พุทธโธ รับรองว่าพ้นอบายภูมิแน่นอน
    โมทนา สาธุทุกบุญภาวนาที่ได้ตั้งใจ ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปปลายทางคือพระนิพพาน
     
  3. บุคคลไปทั่ว

    บุคคลไปทั่ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +106
    ผิดทางหรือไม่ต้องลองชั่งน้ำหนักดูนะครับ การบริกรรมพุทโธอยู่ตลอดเวลานั้น การปฏิบัติแบบนี้สอดคล้องกับ หลักสติปัฏฐานสี่หรือไม่อย่างไร ?
     
  4. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,023
    อนุโมทนาสาธุ แบบนี้ที่หนูอยากทำได้ค่ะป้า ทุกเวลา ทุกนาที มีพุทโธ เป็นณาน
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้าคุณป้ารู้ว่ายังต้องเจริญปัญญาอีก ต้องภาวนาต่ออีก ยังไม่ใช่ที่สุด ก็เรียกว่า ยังไม่หลง
    แต่ถ้าคิดว่าจบแล้วไม่มีอะไรมากกว่านี้ ก็เรียกว่า หลงตายน้ำตื้น

    ก็เรียกว่าคุณป้าปฏิบัติภาวนาจนจิตเกาะอยู่ในอารมณ์เดียวคือคำบริกรรมพุทโธ แล้ว

    จิตมีสติแนบกับพุทธโธอยู่ ถ้ายังวางพุทธโธไม่ได้ ก็ยังขึ้นวิปัสสนาเพื่อเจริญปัญญาไม่ได้
    แต่เราก็บังคับจิตให้วางพุทธโธไม่ได้ ต้องปล่อยให้จิตภาวนาท่องพุทโธไปจนกว่าจะอิ่มเอง
    แล้วจิตจะวางพุทธโธเอง เข้าสู่สภาวะความสงบว่าง หนูว่าถ้าคุณป้าเพียรต่อไปเรื่อยๆ
    ต่อไป จิตมันจะหยุดท่องพุทธโธเอง แต่ไม่รู้เมื่อไรนะคะเพราะขึ้นอยู่กับจิต เหมือนที่คุณป้า
    เริ่มฝึกบริกรรมพุทโธพอได้ระยะหนึ่ง จิตเขาก็ท่องขึ้นมาเอง เราบังคับไม่ได้ พอจิตเขาท่อง
    ไประยะหนึ่ง ได้ที่ของเขาแล้วเขาก็จะวางคำบริกรรมลงเองเหมือนกัน แต่ไม่รู้เมื่อไร รู้แต่ว่า
    เมื่อจิตพร้อมเขาก็วางของเขาเองค่ะ ขั้นต่อไปจึงยกขึ้นวิปัสนากรรมฐาน พิจารณาอสุภะ
    เล็บขนหนังฟัน ต่อไป เพื่ออบรมจิตให้เกิดปัญญารู้ไตรลักษณ์ รู้แจ้งอริยสัจ4
    อธิบายตามที่อ่านมานะคะ ตามเสต็ปของสายพุทโธ

    แต่ถ้าจะยกวิปัสนากรรมฐานไปพร้อมๆบริกรรมพุทโธ ก็มีทางทำได้เหมือนกัน
    คือพิจารณาดูตัวที่ท่องคำบริกรรมพุทโธไปด้วย หรือที่เรียกว่าสติปัฐาน4 รู้คำบริกรรม
    ประกบตามกันไป รู้ว่าท่องพุทโธ รู้ว่าหยุดท่องพทโธ รู้ว่าจิตหนีไปอารมณ์อื่นหลุดจาก
    พุทโธ แล้วแต่จะชอบแบบไหน อ่านแล้วเข้าใจทางไหนก็ทำแบบนั้นไปเลยค่ะ
    อันไหนอ่านแล้ว งง ก็ วางไปก่อน อย่าเพิ่งไปสนใจตรงนั้นเพราะมันอาจไม่ตรงจริตของ
    เรา เทคนิค คือ อ่านคำสอนไหนแล้วเข้าใจคิดว่าทำตามได้ถูก แล้วได้ผลตรงตามนั้น
    ก็มุ่งในทางนั้นไปเลย จะสำเร็จสมประสงค์ได้ง่ายกว่า จิตเราเขาจะเลือกเองว่าเขาชอบใจ
    จะทำแบบไหน ไม่มีผิดไม่มีถูกค่ะ มีแต่ทำแล้วก้าวหน้าก็คืออันนั้นใช่สำหรับเรา


    ขอนุญาติยกคำเทศน์ของหลวงตามหาบัวมาบางส่วน เพื่อคุณป้าจะได้เห็นภาพของจริง

    คำว่าสมาธินั้นคือความสงบ หรือคือความแน่นหนามั่นคงของใจ ความสงบ-สงบเข้าไปหลายครั้งจิตก็เป็นสมาธิขึ้นมาได้ จิตเป็นสมาธิคือจิตมีความแน่นหนามั่นคง แม้จะคิดอ่านไตร่ตรองเรื่องราวอะไรได้อยู่ก็ตาม แต่ฐานของจิตนี้มีความแน่นหนามั่นคงอยู่กับตัวเอง นี่เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ เมื่อเรารักษาจิตของเราหลายครั้งหลายหนด้วยบทบริกรรมคำใดก็ได้ เพราะตามธรรมดาของจิตนั้นอยู่เฉยๆ จะให้เป็นสมาธิให้สงบนี้จับไม่ถูก เพราะความรู้มีอยู่ทั้งร่างกายของเราซ่านไปหมด ไม่ทราบจะจับจุดไหนเป็นผู้รู้ เพราะฉะนั้นท่านจึงให้จับเอาคำบริกรรมคำใดคำหนึ่งมาเป็นที่เกาะของจิต เช่น พุทโธ ธัมโม หรือสังโฆ หรืออานาปานสติ เป็นต้น คำใดก็ตามให้จิตติดแนบอยู่กับคำบริกรรมนั้นๆ นี่เรียกว่าภาวนา
    ภาวนาคือการอบรมให้เกิดให้มีในความดีทั้งหลาย เราภาวนาติดต่อกันระมัดระวังด้วยสติ เช่น พุทโธๆ ก็ให้รู้อยู่ ให้จิตรู้อยู่กับพุทโธๆ เท่านั้น มีสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา จิตกับธรรมคือพุทโธ จิตคือผู้รู้สัมผัสสัมพันธ์กันต่อเนื่องไปโดยลำดับ แล้วจะสร้างผลขึ้นมาให้เชื่อมโยงถึงกันกลายเป็นความแน่นหนามั่นคง กลายเป็นความสงบร่มเย็นขึ้นมาภายในใจของตน นี่เรียกว่าธรรมเกิด เริ่มเกิดแล้วคือความสงบเกิดแล้ว ความแน่นหนามั่นคงของใจเกิดแล้ว ความไม่วุ่นวายทั้งหลายเกิดแล้ว นี่ผลเริ่มเกิด-เกิดจากนี้
    เมื่อจิตได้อาศัยคำบริกรรมคำใดก็ตามอยู่เป็นนิจกาลในขณะที่ภาวนานั้นแล้ว จิตจะมีความสงบเย็นลงไปๆ แล้วก็จับจุดผู้รู้ได้ ผู้รู้คือมีความรู้เด่นอยู่ในจุดเดียว นี่เรียกว่าจับจิตได้แล้ว ในขั้นนี้เราเริ่มจับจิตได้แล้ว นี้แหละจิตแท้เป็นอย่างนี้ ส่วนที่เรารู้อยู่ตามสรรพางค์ร่างกายนั้นเป็นกระแสของจิตแต่จิตเองก็จับไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องหาเครื่อง ถ้าพูดแบบโลกเขาเรียกว่าเครื่องล่อ-เครื่องล่อใจ คือ พุทโธ ให้ใจติดให้ใจเกาะอยู่กับคำว่าพุทโธเป็นต้น ให้รู้อยู่ตรงนั้น เมื่อรวมเข้าๆ มีแต่คำว่าพุทโธไม่มีคำอื่นเข้ามาแทรกมาปน มีแต่คำว่าพุทโธคำเดียวๆ ตลอดไปเลย จิตเราจะสงบเข้ามาๆ แล้วก็สงบแนบแน่นลงไป มีแต่ความรู้ล้วนๆ
    เวลาสงบมากจริงๆ แล้วคำบริกรรมกับผู้รู้นี้จะกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน บริกรรมไม่ได้เลย นึกบริกรรมไม่ออกเพราะจิตเป็นผู้รู้เต็มตัวแล้ว ถ้าอย่างนั้นให้ปล่อยคำบริกรรมนั้นเสีย เพราะไม่บอกให้ปล่อยก็ปล่อยแล้ว ให้อยู่กับความรู้นั้นเสีย จนกระทั่งความรู้นั้นกระดิกพลิกแพลงหรือมีกระดิกออกมาแล้ว ค่อยนำคำบริกรรมเข้าไปแทนที่ใหม่และบริกรรมต่อไปใหม่ นี่เรียกว่าภาวนา
    จิตสงบย่อมอิ่มตัว คำบริกรรมนั้นก็อิ่ม ไม่รับคำบริกรรมต่อไป มีแต่ความรู้ล้วนๆ เด่นอยู่ภายในหัวใจ คือในหัวอกนี้แหละ นี่หัวอกตรงกลางอกเรานี้ ไม่ได้อยู่บนสมองนะ ทางภาคภาวนานี้ได้ทำเต็มกำลังความสามารถจนกระทั่งหายสงสัยในเรื่องความรู้นี้อยู่ที่ไหนแน่ ความรู้ไม่ได้อยู่บนสมอง บนสมองเป็นสถานที่ทำงานแห่งความจำทั้งหลาย เวลาเราเรียนหนังสือเรียนมากๆ นี้สมองทื่อไปหมดเลย เพราะความจำอยู่บนสมองไปทำงานอยู่ตรงนั้น
    แต่เวลาภาวนานี้ภาวนามากเท่าไรๆ จิตของเรายิ่งสงบอยู่ภายในทรวงอกของเราตรงกลางอกนี้แหละ สงบอยู่ตรงนี้สว่างไสวอยู่ตรงนี้ แม้จะเกิดทางด้านปัญญาก็เกิดอยู่ที่จุดกลางนี้ คือเกิดอยู่ในทรวงอกของเรานี่ ซ่านอยู่ภายในนี้ สว่างไสวอยู่รอบตัวภายในหัวอกนี้ไม่ได้อยู่บนสมอง บนสมองเลยกลายเป็นอวัยวะเหมือนอวัยวะทั่วๆ ไปหมด ไม่ปรากฏว่าความรู้ไปหนักไปแน่นอยู่ในจุดใด แต่มาหนักแน่นอยู่ในท่ามกลางอกนี้เท่านั้น นี่เรื่องการภาวนา
    เวลาจิตมีความสงบแล้วจะสว่างไสว หรือจะสงบเย็นอยู่ภายในหัวอกของเรานี้ เวลาจิตเกิดปัญญา คำว่าปัญญานี้ ปัญญาที่เราเรียนมานั้นเป็นบาทฐานแห่งปัญญาที่จะเกิดขึ้นโดยหลักธรรมชาติของตัวเอง ที่ท่านเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ในหลักธรรมชาติเป็นอย่างนั้น จะเกิดขึ้นภายในนี้แหละ อาศัยปัญญาที่เราคาดเราคิดนี้เสียก่อน สัญญาเป็นตัวหมายไป ปัญญาพิจารณาโดยจิตของเรามีความสงบเย็นพอสมควรแล้ว ก็อิ่มอารมณ์ภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสสัมพันธ์ ที่ทำให้ใจคึกคะนองก็ปล่อยตัวไปๆ มีแต่ความสงบเย็นอยู่ภายใน นี่เรียกว่าจิตอิ่มอารมณ์
    จิตอิ่มอารมณ์นี้เราพาพิจารณาทางด้านปัญญา คือ อนิจฺจํ ก็ตาม ทุกฺขํ ก็ตาม อนตฺตา ก็ตาม อสุภะอสุภังความไม่สวยไม่งามในร่างกายของเขาของเราก็ตาม เราก็พิจารณาอยู่ภายในหัวอกของเรานี้แหละ มันหากอยู่ในนี้เองไม่ได้ไปไหน นี่เรียกว่าการพิจารณาทางด้านปัญญา แล้วจะเกิดความคล่องแคล่วแกล้วกล้า ความสว่างไสว เกิดความคล่องตัวขึ้นภายในจิตใจ นี่เรียกว่าปัญญาได้เกิดกับผู้ภาวนา ทีแรกอาศัยสัญญาคาดหมายไปเสียก่อน พอคาดหมายไปหลายครั้งหลายหนปัญญาค่อยตั้งตัวได้แล้ว ก็ดำเนินโดยลำพังตัวเองไม่ต้องไปอาศัยสัญญาอารมณ์ที่ไหน เป็นปัญญาอัตโนมัติขึ้นมา
    ดังที่ท่านแสดงไว้ในปัญญา ๓ ประเภท คือ สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นจากการได้ยินได้ฟัง ๑ จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นจากการพินิจพิจารณาไตร่ตรองของสามัญชนทั่วๆ ไป ๑ ภาวนามยปัญญา ๑ ส่วนภาวนามยปัญญานี้เกิดขึ้นโดยหลักธรรมชาติของตัวเอง นี้แลที่ท่านว่าปัญญาเกิด ภาวนามยปัญญานี่เป็นปัญญาเกิดขึ้นโดยหลักธรรมชาติ ท่านเรียกว่าอัตโนมัติ ปัญญาขั้นนี้แลเป็นปัญญาที่จะฆ่ากิเลส เป็นปัญญาที่เห็นมรรคเห็นผลโดยลำดับ
    ที่พระพุทธเจ้าว่า โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามรรค สกิทาคาผล อนาคามรรค อนาคาผล คือปัญญาประเภทนี้แลจะเป็นผู้ก้าวเดินไปแถวธรรมเหล่านี้ของผู้ปฏิบัติเอง ไม่ใช่ผู้อื่นผู้ใดจะรู้จะเห็น หากเป็นผู้นั้นเพราะอำนาจแห่งปัญญานี้ เป็นปัญญาที่ซึมซาบ เป็นปัญญาที่ก้าวเดินโดยลำพังตนเองโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับรูป กับเสียงกับกลิ่นกับรสถ่ายเดียว ว่าเราได้ยินได้เห็นสิ่งใดจึงมาเกิดปัญญาข้อคิดขึ้น เพราะได้เห็นได้ยินสิ่งเหล่านั้น อย่างนั้นก็ไม่ใช่
    เราจะพิจารณาอยู่โดยลำพังนี่เท่านั้น จะเกิดขึ้นโดยลำพังตัวเอง เมื่อพบสิ่งใดสัมผัสสัมพันธ์ก็เกิด ไม่พบก็เกิด ท่านเรียกว่าภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาอัตโนมัติของผู้ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติไม่รู้ปัญญาประเภทนี้ต้องปฏิบัติ ศีลเราก็ปฏิบัติแล้ว สมาธิเป็นขึ้นภายในใจเราก็รู้แล้ว คือ ความสงบเย็นใจ มีขอบมีเขต สมาธิมีขอบมีเขต เหมือนกับน้ำเต็มแก้ว เมื่อเต็มภูมิของสมาธิแล้วจะทำให้หนาแน่นมั่นคงยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีกไม่ได้ เต็มภูมิเหมือนน้ำเต็มแก้ว เอาน้ำที่ไหนมาเทก็ล้นออกหมด นี่สมาธิเมื่อเต็มภูมิแล้วก็เหมือนกันเช่นนั้น
    แต่ปัญญาไม่เป็นเช่นนั้น ปัญญาเมื่อได้ก้าวเดินออกไปตั้งแต่เราเริ่มพิจารณาปัญญาโดยสัญญาอารมณ์เสียก่อน ใช้สัญญาวาดภาพพิจารณาไปหลายครั้งหลายหนจนเกิดความซึ้งภายในใจ เห็นว่าเป็น อนิจฺจํ อย่างแท้จริง ทุกฺขํ อย่างแท้จริง อนตฺตา อย่างแท้จริง เป็นอสุภะอสุภังประจักษ์ใจอย่างแท้จริงแล้วนี้ ปัญญาขั้นนี้แหละก้าวเดินที่นี่
    ตั้งแต่นั้นต่อไปแล้วก้าวเดินหมุนติ้วๆ เหมือนน้ำซับน้ำซึม เหมือนไฟได้เชื้อ เชื้อไฟอยู่ที่ไหนไฟจะลุกลามไปตามเชื้อนั้นโดยไม่หยุดหย่อน กระทั่งเชื้อไฟนั้นหมดเมื่อไรแล้วไฟถึงจะดับ อันนี้ฉันใดก็เหมือนกัน การพิจารณาปัญญาในขั้นนี้ เช่นพิจารณาอสุภะอสุภัง พิจารณาจนกระทั่งอสุภะอสุภังนี้อิ่มตัวเต็มที่แล้ว ปล่อยวางทั้งสุภะทั้งอสุภะ หมุนตัวไปตรงกลางไม่ยึดในสุภะไม่ยึดในอสุภะทั้งสอง นี้เรียกว่าปัญญาอิ่มตัวในขั้นนี้ นั่นเป็นขั้นๆ อย่างนี้ของผู้ภาวนา นี่ละปัญญาก้าวเดินเพื่อมรรคเพื่อผลครั้งพุทธกาลท่านก้าวอย่างนั้น
    เรามาปฏิบัติก็เป็นสวากขาตธรรมตรัสไว้ชอบแล้วเหมือนกัน เมื่อปฏิบัติตามนี้แล้วของเราทุกสิ่งทุกอย่างมีเหมือนท่าน อริยสัจของเราก็มีเต็มภูมิเหมือนกัน ทุกข์ก็เต็มหัวใจเต็มกาย สมุทัยก็เต็มหัวใจของเราด้วยกัน มรรคพยายามทำให้เต็มหัวใจแล้วต้องแก้สมุทัยโดยแท้ เมื่อมรรคแก้สมุทัยไปมากน้อยเพียงไรนิโรธคือความดับทุกข์จะดับไปเรื่อยๆ ตามผลของมรรคที่ทำได้มากน้อย แล้วก็ไหม้ไปเรื่อยๆ
    ส่วนอสุภะอิ่มตัวแล้วก็หมุนตัวไปทางอื่น หมุนตัวไปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรียกว่าปัญญาโดยหลักธรรมชาติของผู้ปฏิบัติภาวนา เมื่อพอตัวแล้วก็หมุนตัวไปเรื่อยๆ ไปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ประสานงานซึ่งกันและกันโดยอัตโนมัติของปัญญา นี่ละปัญญานี้เป็นปัญญาที่ก้าวสู่มรรคสู่ผล ไม่มีใครบอกก็ตาม ใครจะปฏิเสธว่ามรรคผลนิพพานไม่มีก็ตาม สิ่งที่หยั่งทราบประจักษ์ใจๆ หากซึมซาบกันอยู่เช่นนั้น ดูดดื่มกันอยู่เช่นนั้น หมุนตัวไปอยู่เช่นนั้น
    นี่เรียกว่าอจลศรัทธา เป็นผู้รู้ผู้เห็นในอรรถในธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ ตั้งแต่พื้นๆ จนกระทั่งหลุดพ้น จะเป็นธรรมชาติซึมซาบภายในจิตโดยลำดับ ไม่ไปหวังฟังจากผู้หนึ่งผู้ใด เขาบอกว่ามีหรือไม่มีมรรคผลนิพพาน ว่ามีก็ตามไม่มีก็ตาม ไม่สนใจยิ่งกว่าความจริงที่รู้อยู่เห็นอยู่ระหว่างกิเลสกับธรรมฟัดกันอยู่ภายในใจ สมุทัยเป็นยังไง มรรคเป็นยังไง เข้าแก้กันอยู่ภายในจิตใจ ใจเป็นสนามรบ เพราะกิเลสกับธรรมอยู่บนหัวใจ ใจเป็นเวทีฟัดกันอยู่ตรงนั้น ดูดดื่มอยู่ตรงนั้น หมุนติ้วๆ อยู่ตรงนั้น นี่ท่านเรียกว่าภาวนามยปัญญาของผู้ปฏิบัติ ให้มันเป็นในหัวใจของเจ้าของเองแล้วจะสว่างจ้าขึ้นเลย

    พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปกี่หมื่นกี่แสนกี่ล้านๆ พระองค์หาที่สงสัยไม่ได้ เพราะจุดอริยสัจนี้แลเป็นที่อุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดถึงพระสาวกทั้งหลายจะพ้นจากอริยสัจนี้ไปไม่ได้แม้พระองค์เดียว นี่คือเป็นสถานที่ผลิตหรืออุบัติของพระพุทธเจ้า ของท่านผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายอุบัติขึ้นที่ตรงนี้ เราก็จ่อจิตของเราไปตรงนั้น เหมือนไฟได้เชื้อเผากันอยู่ตรงนั้น เห็นกันอยู่ตรงนั้น แก้กันอยู่ตรงนั้น กิเลสออกมาฉากใดมุมใด สติปัญญาหลบฉากหลบมุมกันแก้กันอยู่นั้น เหมือนนักมวยต่อยกันบนเวที
    นี่เป็นเรื่องที่เพลินมากสำหรับผู้ปฏิบัติในปัญญาขั้นนี้แล้ว ลืมวันลืมคืนลืมปีลืมเดือน ลืมหิวลืมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าลืมหลับลืมนอน หมุนติ้ว เพราะฉะนั้นท่านถึงสอนให้เข้าพักสมาธิ เมื่อได้ออกรบได้แก่การพิจารณาทางด้านปัญญานี้มันจะเลยเถิด แล้วให้เข้าพักในสมาธิพักผ่อนหย่อนจิต คือไม่ใช้กิริยา เพราะเรื่องของปัญญาก็เป็นกิริยาแห่งการทำงานอันหนึ่ง เรียกว่างานของปัญญางานของจิต เราพักอย่างนั้นเสีย ให้จิตเข้ามาสู่สมาธิพักแรงพักเอากำลัง เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ไม่ต้องไปยุ่งกับเรื่องปัญญาขั้นใดก็ตามในเวลานั้น ให้หมุนตัวเข้าสู่สมาธิสงบแน่วอยู่เพียงเท่านั้นเพื่อเอากำลัง
    จะพักจิตกี่ชั่วโมงก็ให้อยู่ จนกระทั่งจิตอิ่มตัวแล้วจิตถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วทีนี้ไม่ต้องห่วงสมาธิ คือไม่ต้องห่วงการพักผ่อนอีกต่อไปแล้ว ก้าวเข้าสู่ปัญญาหมุนติ้วบนเวที นี่คือผู้ปฏิบัติเพื่อทรงมรรคทรงผลท่านปฏิบัติอย่างนั้น ในสมัยปัจจุบันนี้ก็เป็นอย่างนั้นเพราะอริยสัจเป็นอันเดียวกัน กิเลสเป็นอันเดียวกัน ทุกข์ สมุทัยเป็นอันเดียวกัน มรรค นิโรธ เป็นอันเดียวกัน แก้กิเลสได้อย่างเดียวกัน จึงเรียกว่าสวากขาตธรรม ตรัสไว้ชอบแล้วๆ ผู้ปฏิบัติพิจารณาย่อมเห็นได้ชัดภายในตัวเอง นี่อธิบายถึงเรื่องภาวนามยปัญญา
    พอก้าวจากภาวนามยปัญญานี้แล้วเข้าสู่มหาสติมหาปัญญา หาความเผลอตัวไม่ได้เลย เผลอได้ยังไงกิเลสจะต่อยเอาๆ เมื่อความเห็นโทษถึงขนาดคอขาดบาดตายกันแล้วนั้นจะเผลอกันไม่ได้ นั่นละมหาสติมหาปัญญาตั้งตัวแบบนั้นเอง เพราะตั้งตัวแบบสละตาย ถ้าเผลอเมื่อไรก็ตายเหมือนกับนักมวยต่อยกัน นี่ระหว่างจิตกับกิเลส กิเลสเข้าถึงขั้นละเอียดละเอียดมาก แล้วสติปัญญาก็ตามต้อนกันให้ทันกันนั้น ฆ่าไปเรื่อยทันไปเรื่อย ฆ่าไปเรื่อย สุดท้ายก็วิมุตติหลุดพ้น กิเลสขาดสะบั้นลงไปจากหัวใจ นั้นเรียกว่าสมุทัยม้วนเสื่อ
    สมุทัยคืออะไร อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นั้นแลคือยอดของสมุทัย ในบรรดากิเลสทั้งหลายขึ้น อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา รวมตัวไปอยู่ในจิตนั้นหมด กระแสของมันถูกสกัดลัดต้อนหมด ออกไปทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกาย สกัดลัดต้อนออกด้วยอำนาจของธรรมที่กล่าวมาเบื้องต้นมี อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อสุภะอสุภังเป็นต้น ตีต้อนเข้ามาๆ จนกระทั่งถึงจิต
    อวิชชาไม่มีทางเดิน เครื่องมือหรือทางเดินถูกตัดหมดแล้วหมุนตัวเข้าไปสู่จิต นี่ละเรียกว่ายอดสมุทัยเข้าสู่จิตแล้วจิตจะมีความสว่างกระจ่างแจ้ง มีความสว่างไสว มีความอัศจรรย์ นี่ก็คือกลอุบาย คือโล่ของอวิชชาที่หลอกสัตว์ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติจึงต้องติด อะไรละเอียดก็ตามไม่ละเอียดเหมือนอวิชชา อวิชชานี้แม้แต่มหาสติมหาปัญญายังหลงกลมันได้ แต่หลงก็หลงเพื่อจะฆ่า ไม่ใช่หลงเพื่อจะหลงไปเลยเหมือนความหลงทั้งหลาย หลงหมัดของมันหรือว่ามันต่อยมาหลบฉากไม่ทันถูกต่อยเอาก็มี แต่ยังไงก็ตามจะต้องม้วนเสื่อแน่นอน พอเข้าถึงจุดนี้แล้วมหาสติมหาปัญญานั้นหมายความว่ายังไง ไม่ต้องถามรู้กันเองๆ ในวงปฏิบัติบนเวทีของหัวใจผู้ปฏิบัตินั้นแล
    เมื่ออวิชชาได้ม้วนเสื่อลงไปแล้ว คำว่ามหาสติมหาปัญญาก็หมดปัญหาไปในทันทีทันใดโดยไม่ต้องบังคับบัญชา นี่เรียกว่าพอเหมาะพอดีกันทุกอย่าง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ขาดสะบั้นจากกันไปแล้ว เหลือแต่ความวิมุตติหลุดพ้นโผล่ขึ้นมาตรงกลางนั้น นี่ละพระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ตรงนี้ พระสาวกอรหัตอรหันต์ทั้งหลายตรัสรู้หรือบรรลุธรรมขึ้นที่ตรงนี้ เราจะตรัสรู้ที่ไหน เราผู้ปฏิบัติเราต้องรู้ที่ตรงนี้จึงสามารถพูดอันนี้ออกมาเป็นเครื่องยืนยันได้ นั่น นี่ละที่ว่าธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องยืนยันโลก เวลานี้ก็มีอยู่อย่างนั้น

    ปฏิบัติให้ถูกพ้นทุกข์ได้ (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) | OpenBase.in.th
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2010
  6. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,917
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021
    ไม่ผิดหรอกครับ เเต่จะให้ดียิ่งขึ้น ถ้าคุณป้าอยากพัฒนาสมาธิของเราให้มากขึ้น ตอนที่เราหายใจ ให้จิตเรารู้ว่าเราหายใจเข้าออกอยู่ด้วยครับ คือพอหายใจเข้า เราก็รู้ว่าลมหายใจวิ่งลงไปที่ท้อง หายใจออก ลมหายใจก็ค่อยๆขึ้นมาเเล้วออกมาทางจมูก ผมปฏิบัติอย่างนี้เเล้วลมหายใจเราจะช้าลง ละเอียดขึ้นเยอะครับ สมาธิก็จะทรงตัวได้เร็วมากๆครับ อ้อ ตอนนั้น คุณป้าจะนอนพุทโธหลับไปทุกวันด้วยยิ่งดีครับ ถ้าเราทําถึงขั้น ตอนที่เราหลับนั้นจะถือได้ว่า เราอยู่ในณานจนกระทั่งเราลืมตาตื่นนอนครับ อ้อ เเต่อยากให้คุณป้าทําเเบบพอดีๆนะครับ อย่าครํ่าเคร่งมากไปเดี๋ยวจะเครียดได้ ถ้าเครียดเเล้ว อันนี้ไ่ม่ดีกับเราเเน่ครับ ถ้าบางครั้งทําเเล้วรู้สึกเหมือนเรากําลังฝืนอยู่ก็ให้หยุดพักครับ ถ้าทําเเล้วไม่รู้สึกว่าฝืนก็ทําต่อไปได้ครับ อนุโมทนาครับ

    ปล ขอฝากสองกระทู้ให้คุณป้ามาอ่านนะครับ อ่านเเล้วนําไปปฏิบัติตามได้ครับ ถ้าปฏิบัติตามอย่างในกระทู้สอน รับรองไม่มีวันเดินทางผิดครับ

    วิธีนั่งสมาธิขั้นเบื้องต้นของหลวงพ่อฤาษีลิงดํา
    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=420
    อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ
    http://www.buddhism-online.org/board/index.php?topic=891.0
     
  7. อยู่เย็น

    อยู่เย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +137
    ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบ ป้าเก็บข้อมูลทุกคำตอบไว้พิจารณาแล้ว โดยปกติหลังจากเสร็จภารกิจประจำวันป้าจะออกไปเดินรอบๆบ้าน (บ้านพัก เงิยบและสงบมากมีแต่ธรรมชาติกับป่าเขา) เวลาเดินป้าจะกำหนดพุทโธทุกครั้งที่ก้าวเท้า (เดินประมาณ 1 ชั่วโมง) ป้าว่ามันผ่อนคลายความเครียดได้ดีเลิกคิดอะไรที่วุ่นวายได้และทำให้ใจเย็นลง จึงทำให้ติดว่าเวลาก้าวเท้าเดินปุ๊บความคิดจะบอกพุทโธเอง แต่ถ้าเวลาทำงานมากภารกิจเยอะๆ แล้วไม่เดินตอนเย็นเพื่อรวบรวมสมาธิใหม่ คำว่าพุทโธที่เคยมีก็ไม่ค่อยลื่นไหลโดยอัตโนมัติเหมือนการปฏิบัติทุกวัน เวลาจะนอนก็จะท่องพุทโธท่องไปนานๆก็หยุดท่องพุทโธ ดูแต่ลมหายใจที่เข้ากับออก ป้าก็หาวิธีที่เหมาะสำหรับตัวเอง จุดมุ่งหมายตอนนี้คือ อยากคลายเครียด อยากปล่อยวางกับปัญหาต่างๆ บ้าง แต่ก็ถือว่าทำใจยอมรับกับเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวันที่วุ่นวายได้เยอะขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมาย ขอบคุณทุกคนอีกครั้ง /จากป้า ชาวดอย
     
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    [​IMG]
    กราบอนุโมทนาค่ะคุณป้า สาธุๆ
     
  9. อยู่เย็น

    อยู่เย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +137
    ป้าได้ศึกษาที่คุณ K.Kwan ตอบไว้ ดีมากจริงๆ เมื่อคืนก่อน นั่งภาวนาโดยใช้วิธีลองนับเลขแทนพุทโธบ้าง นับได้สัก สี่ ห้าร้อย จิตป้าก็สงบ นิ่งมาก แล้วที่นับเลขก็หายไป ลมหายใจที่ดูอยู่ก็หายไป ตัวเบา สบาย นั่งดูตรงกลางใจ รู้แต่ว่าใจเต้น รู้สึกถึงจังหวะของหัวใจที่เต้นแต่เบามาก ตอนนี้ก็เริ่มติดใจการนั่งภาวนาซะแล้ว ป้าเคยพยายามหาวิธีภาวนามา20กว่าปีเพิ่งรู้สึกว่าดีขึ้นก็สักเดือนกว่า ๆ ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจเป็นเพราะ อายุมากขึ้น ภาระน้อยลงมีโอกาสทำบุญใส่บาตรกับพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ(พระวัดป่าเคร่งมาก)ที่มาโปรดทุกเช้าพยายามรักษา ศีล 5 ให้ได้ พูดให้น้อยลง คิดก่อนพูด ฟังมากกว่าพูด ก็เริ่มภาวนาดีขึ้น ( ก็ดีกว่าแก่แล้วไม่พัฒนาตัวเองใช่ไหม )
     
  10. ดีต้องทำ

    ดีต้องทำ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +16
    ครูบาอาจารย์ท่านเคยบอกไว้ว่าการปฏิบตินั้นไม่มีผิดไม่มีถูกหรอกคะป้าขอเพียงแค่ป้าทำแล้วสบายใจมีสติรู้ทันอยู่ตลอดก็พอแล้วคะ ขออนุโมทนาด้วยนะคะ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,049
    ไม่เป็นไรครับ.ในขั้นนี้..เป็นพื้นฐาน..เค้าเรียกว่าการเจริญสติอย่างต่อเนื่องครับ. อีกไม่นาน.จะสามารถแยกนามธรรมกับรูปธรรมได้คับ..แล้วมาเดินปัญญาต่อเพื่อละกิเลสหยาบและละเอียดต่อไป....ดีแล้วครับ
    อนุโมทนาสาธุครับ..
     
  13. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    พุทธ  โธ   เป็น องค์ภาวนาเพื่อให้จิตเราสงบ เมื่อจิตเราสงบดีแล้ว
    ก็ต้องวาง พุทธ   โธ  เพื่อจะใช้สติตามจิตให้ทัน อารมณ์ของวิปัสสนา
    เปรียบ เหมือน คุณป้า ถือบันใด อยู่ เพื่อที่จะข้ามแม่น้ำ และคุณป้า ได้ใช้
    บันใดนั้น ข้าม แม่น้ำนั้น  เมื่อข้ามแม่น้ำเสร็จแล้ว  คุณป้ายังถือบันใดอยู่ ครับ
     
  14. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ติดพุทโธ เลิศแล้วค่ะ หนึ่งในอนุสสติ ๑๐
    ผู้ที่มีศรัทธาจริต เหมาะเป็นกรรมฐานคู่ใจเลย
    ลองตรวจสอบจริตได้จาก จริต ๖ เพื่อพระกรรมฐานที่เหมาะสม

    กระทู้ เรียนกสิณ และโหราศาสตร์
    http://board.plungjai.com/index.php?topic=1798.0
    กระทู้ เรียนกสิณอย่างเดียว
    http://palungjit.org/threads/ขอเชิญท่านที่สนใจ-ฝึกกสิณ-ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ-ระดับต้น-เรียนฟรี-
    340651.html
    กระทู้ สอบถามจริต ๖ เพื่อฝึกกรรมฐานที่เหมาะสม
    http://palungjit.org/threads/จริต-๖-เพื่อฝึกกรรมฐานที่เหมาะสม.310598/
    กระทู้ กสิณดินน้ำลมไฟ
    http://board.plungjai.com/index.php?board=12.0
     
  15. Allymcbe222

    Allymcbe222 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ดีใจจริงๆ ที่ไม่มีคนเข้ามาตอบว่า "ผิดทาง" เพราะมัวแต่เกรงว่าจะเป็นการ "ติดสมถะ" จนปัญญาไม่เกิด

    บางท่านมัวแต่กลัวจะติดสมถะ จนถึงกับห้ามจงใจภาวนา เพราะเป็นสติตัวปลอม เป็นมิจฉาสมาธิ
    ต้องไว้รู้ตัวตอนเผลอๆ แบบนั้นแหละสติตัวจริง ปัญญาจึงจะเกิด
    แหม อยากเกิดปัญญาแต่ปฏิเสธสมาธิ หวังจะเด็ดกินใบไม้อ่อนบนยอดต้นไม้ โดยไม่คิดจะปีนลำต้น
    น่ากลัวจะพลัดหล่นตุ๊บเดียวลงนรกไปเลย

    อนุโมทนากับคุณป้านะครับ ถูกทางแล้วครับ อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...