เรื่องเด่น สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 26 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า196<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    และมีอินทรีย์ 5 เป็นพละกำลังที่สนับสนุนอยู่คือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1. ความศรัทธาเชื่อมั่นเลื่อมใส <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. ความขยันหมั่นเพียรอย่างสม่ำเสมอ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. ความระลึกได้ที่มีสติคอยควบคุมอยู่ทุกเมื่อ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. ความตั้งจิตให้มั่นในอารมณ์สมาธิที่รวมเป็นหนึ่ง <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. ความรู้ชัดแจ้งด้วยปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า197<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปฐมฌานประกอบด้วยองค์หรืออารมณ์ 5 ประการคือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.วิตก (ใช้เวลาช่วงสั้น ) คือการตรึกหรือการครุ่นคิดระลึกอยู่ (ไม่ใช่วิตกกังวล ) เป็นสภาวะที่จิตกำลังนึกคิดสัมผัสกับนิมิต เห็นได้ด้วยใจอยู่ จิตจะไม่พรากจากนิมิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. วิจาร (ใช้เวลาช่วงยาว ) การตรองใคร่ครวญทบทวนพิจารณาตรวจสอบนิมิต เพื่อหาข้อเท็จจริงในอารมณ์ภาวนา กำหนดรู้ด้วยใจกับภาวะนิมิตคงอยู่ในสภาพอย่างไร เป็นการผูกจิตวนเวียนกับอารมณ์ที่กำลังนึกถึงอยู่นั้นคอยระมัดระวังไม่ให้สติเกิดการกวัดแกว่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. ปีติ คือ ความรู้สึกยินดีอิ่มเอิบ เบิกบาน ปลาบปลื้มใจจากการที่จิตได้นิมิตแห่งความสงบ สันติ สันโดษ (มีอารมณ์คล้าย ดีใจ ที่ได้ดื่มน้ำหวาน )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. สุข คือความรู้สึกที่เสวยอารมณ์ชุมชื่นสุขสำราญเพลิดเพลินสบายใจที่ได้ประสบในสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (มีอารมณ์ คล้าย ดื่มน้ำหวานแล้วรู้สึกอร่อยชื่นใจ )<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า198<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. เอกัคตา คือ อารมณ์จิตดำเนินรวมเข้าอยู่ในอารมณ์เดียวที่ตั้งมั่นรวมเป็นหนึ่งแน่วแน่ ซึ่งปรากฏในนิมิตเป็นดวงแก้วที่แวววาวกว่ามุก และมีความแข็งแกร่งแน่นหนาเหล็กกล้า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาวะแห่งการที่จิตฝึกจนนิ่งสงบได้แน่วแน่ ทำให้จิตใจมีสมาธิแข็งแกร่งแน่วแน่ดีนี้เมื่อจิตนิ่งพักอยู่ได้นานพอสมควรแล้ว ควรจะใช้กำลังปัญญาไตร่ตรองพิจารณาสภาวะธรรมให้เห็นธรรม ก็จะเกิดเป็นกำลังในการเพิ่มพูนสติปัญญาและความคิดมากขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในขณะที่นั่งปฏิบัติจิตอยู่ จะพบว่าที่มีความสุขที่สุดก็คือ ตอนที่ไม่มีตัวตน ไม่มีอารมณ์แห่ง โลภ โกรธ หลง และยิ่งตอนที่รู้สึกเหมือนไม่มีลมหายใจแล้ว ยิ่งพบว่า ความสุขที่แท้จริง คือ เมื่อเราสามารถปรับปรุงตัวเอง ให้เกิดเป็นบุคคลที่ว่าง เปล่าพ้นจากสรรพสิ่งนั้นคือ “ ความสุข ” ไม่ใช่ ความสุขจากการยึดวัตถุที่เป็นความสุขจอมปลอมที่ไม่เที่ยงแท้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า199<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ซึ่งในขณะที่คลายออกจากการปฏิบัติจิต ขอให้ท่านมีหิริโอตัปปะคือ ความเกรงกลัวละอายต่อบาป แล้วท่านจะพบว่า จิตใจท่านมีสติสัมปชัญญะรวมเป็นหนึ่งอยู่เสมอ รู้ทันอายตนะของกิเลส โลภ โกรธ หลง อยู่ตลอดเวลา ท่านจะสามารถมีความสุขอย่างแท้จริง เมื่อท่านพบความจริงว่า ท่านสามารถยืนอยู่เหนือความทุกข์แห่งกิเลส โลภ โกรธ หลง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในขณะเดียวกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้ามีอารมณ์กิเลสจากการยุแหย่ ภายนอกเข้ามาทดสอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอให้ท่านเข้าใจว่า นั่นคือข้อสอบที่มาทดสอบภาวะจิตของเราว่าสมาธิจิตเรานี้ แข็งแกร่งควบคุมอารมณ์ที่เป็นหนึ่งในเอกะได้หรือไม่ จากการที่เราสามารถรวบรวมจิตใจให้เป็นสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แล้วใช้อารมณ์แห่งความนิ่งที่เรียกว่า <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ อารมณ์ธรรม ” พิจารณาสภาวะธรรม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยไม่หลงกิเลส “โลภ โกรธ หลง ” <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ก็แสดงว่าสมาธิเราดีพอไปได้แล้ว<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า200<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในเวลาเดียวกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าท่านยังมีเผลอพลั้งตกอยู่ในอารมณ์ โลภ โกรธ หลง จะมากหรือน้อยก็ตาม แสดงว่า ท่านยังไม่ได้สอบผ่านบทเรียนบทที่ 4 นี้ ขอให้ท่านกลับไปเริ่มต้นเรียนใหม่ได้ เพราะคนที่มีสมาธิดี ไม่ใช่มีสติเฉพาะตอนที่นั่งหลับตาเท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ใครว่าใครทำผิดศีลหลงเข้าไปในกิเลส “ โลภ โกรธ หลง ” แล้วอ้างว่า “ ตัวไม่รู้ว่าตัวผิดที่หลงไปตกในความโลภ โกรธ หลง ” นั้น ขอเรียนให้ทราบว่า “ท่านไม่มีหิริโอตัปปะ ความเกรงกลัวละอายต่อบาป ” ดังนั้น ถ้าท่านหมั่นคิดคำนึงว่า “ คนเราเกิดมาเพื่อพัฒนาตัวเองให้เบาบางจากกิเลส ” “ โลภ โกรธ หลง ” แล้วท่านจะต้องมี “ หิริโอตัปปะ ความเกรงกลัวละอายต่อบาปทุกวินาทีแห่งการมีชีวิตอยู่แล้ว ท่านจะพบทางสงบสุขสันติธรรมอย่างแน่นอน ” <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า201<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พระธรรมดูดุจแก้ว จินดา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ให้เกิดเชาว์ปัญญา เลิศด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ให้ตระกูลยศถา ใหญ่ยิ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เกิดสวัสดิ์เท่าม้วย มุ่งฟ้าเสวยสวรรค์ ฯ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (สำนวนเก่า) <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากประชุมโคลงโลกนิติ<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า202<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะทำความดีทั่วไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทำดีไป่เลือกเว้น ผู้ใด ใดเอย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แผ่ผูกไมตรีไป รอบข้าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทำคุณอุดหนุนใน การชอบ ธรรมนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไร้ศัตรูปองมล้าง กลับซ้องสรรเสริญ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (พระราชนิพนธ์พระพุทธเจ้าหลวง)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า203<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ฝึกหาความชำนาญ(วสี)ในฌาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ฝึกสมาธิจนได้บรรลุปฐมฌานแล้ว ควรศึกษาวสี ความชำนาญในฌาน 5 ประการ ดังนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1. อาวัชชนวสี ชำนาญในการนึกหน่วงถึงนิมิต คือ เมื่อตั้งใจนึกถึงนิมิต นิมิตก็จะปรากฏทันที<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้าฌาน คือ พอนึกถึงนิมิตของฌาน จิตก็เข้าอยู่ในฌานนั้นทันที<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. อธิฎฐานวสี ชำนาญในการยับยั้งไว้ให้อยู่ในฌาน คือ เมื่ออธิษฐานตั้งใจให้อยู่ในฌานนานเท่าไรก็ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. วุฏฐานวสี ชำนาญในการออกจากฌาน คือ สามารถออกจากภาวะที่อยู่ในฌานได้ทันทีที่อยากจะออก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. ปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการพิจารณา(ทบทวน) คือ มีสติปัญญาอันแหลมคมสามารถมองเห็นเหตุที่เป็นอุปสรรคและเหตุที่จะส่งเสริมให้จิตสำเร็จบรรลุฌาน<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า204<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไม่ได้พูดร้ายต่อใครเลย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เหินห่างโมหะร้อน ริษยา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สละส่อเสียดมารสา ใส่ร้าย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำหยาบจาบจ้วงอา ฆาต ขู่เข็นแฮ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไม่หมิ่นนินทา ป้าย โทษให้ผู้ใด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (พระราชนิพนธ์พระพุทธเจ้าหลวง)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า205<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โทษของอุปกิเลสจากนิมิตและวิธีแก้ไข<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ฝึกสมาธิบรรลุขั้นตอนมาตลอดนั้น จิตใจอาจจะหลงใหลยึดเหนี่ยวข้องอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นภาวะกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดอุปสรรคขัดขวางกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าเจริญต่อไปถึงฌานที่สูงขึ้น เพราะจิตเกิดหลงเข้าใจผิดว่า ตนบรรลุมรรคผลแล้ว จิตจึงยึดแน่นติดอยู่กับอารมณ์นั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในขณะที่จิตนิ่งชั่วขณะหนึ่งเห็นเป็นสีแสงต่างๆ หรืออาจจะเป็นภาพก็ได้ อย่าเพิ่งไปสนใจและปักใจว่าต้องเป็นของเที่ยงแท้ เพราะภาวะนี้ จิตยังไม่ได้บรรลุฌานญาณปัญญาโดยแท้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. ปีติ ความรู้สึกยินดีอิ่มเอิบเบิกบานใจ จนลืมตัว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. ปัสสัทธิ ความสงบสบายระงับจากอารมณ์ภายนอก ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จิตก็ปรุงแต่งหลงนึกว่าถึงนิพพาน<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า206<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. สุข ความรู้สึกที่เสวยความชุ่มชื่นสุขสำราญเพลิดเพลินใจ ซึ่งเป็นผลจากการฝึกสมาธิก็อย่าหลงยึดไว้เพราะเป็นของไม่เที่ยงแท้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. อธิโมกข์ ความปลงใจเชื่อด้วยศรัทธาอันแก่กล้าโดยไม่มีเหตุผล จะทำให้กิเลสทั้งหลายกำเริบหลงมากยิ่งขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6. ปัคคาหะ ความขยันหมั่นเพียรที่ไม่ย่อหย่อนท้อท้อย ก็อย่าหลงเข้าใจผิดว่าภาวะนี้เป็นภาวะได้สำเร็จมรรคผล<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    7. ญาณ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลพลอยได้จากการฝึกสมาธิ ซึงเป็นโลกียญาณยังเป็นของไม่เที่ยง ก็อย่าหลงว่าได้บรรลุความรู้แจ้ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    8. อุปัฏฐาน สติเข้าไปตั้งมั่นแก่กล้าอยู่เฉพาะอารมณ์นั้นเกิดภาวะจิตสงบเยือกเย็น ทำให้หลงว่าได้บรรลุนิพพาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    9. นิกกันติ ความยินดีพอใจจนเกิดการติดใจ ในผลแห่งการปฏิบัติจิต จึงทำให้จิตข้องอยู่ในขั้นนั้น ไม่ก้าวหน้าต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    10. อุเบกขา ความมีจิตเป็นกลาง ด้วยการวางเฉยที่เป็น อารมณ์หนึ่งจากการฝึกสมาธิโดยเข้าใจผิดว่า ภาวะนี้ บรรลุนิพพาน ไม่ต้องทำอะไรต่อไปอีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พึ่งเข้าใจว่ากิเลสเหล่านี้ เกิดขึ้นในภาวะการฝึกสมาธิให้เกิดฌาน ซึ่งยังอยู่ในภาวะระดับโลกียะที่อยู่ในสามัญลักษณะที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร ทนอยู่ในสภาพไม่ได้และต้องแตกดับไปในที่สุด จึงไม่น่ายึดมั่นถือมั่นจนหลงตนยึดตนว่าเป็นผู้วิเศษ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อันเป็นเหตุทำให้สติวิปลาสคือบ้าได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีแก้ไข<o:p></o:p>
    1. ระหว่างที่ฝึกสมาธินั้น ต้องมีสติสัมปชัญญะ คือ จิตตั้งมั่นคงอยู่รู้ตัวอยู่เสมอที่ไม่เผลอตัว ไปหลงใหลคลั่งไคล้กับความรู้สึกในสภาวะนั้น จนเกิดการยึดมั่นถือมั่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. ถ้ารู้สึกว่า ตนเองเริ่มสนใจหลงเข้าไปยึดกับสภาวะนั้นแล้ว ก็พยายามหาเหตุผลมาลบล้างด้วยการปฏิบัติตามอริยสัจ 4 พิจารณา ว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้นที่ทนอยู่ในสภาพไม่ได้ ด้วยเหตุที่เราเข้าไปยึดจึงทำให้เราเป็นทุกข์ จึงต้องหาวิธีปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์นี้ ด้วยมรรควิธี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า208<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. พอรู้ตัวว่า ตนเอง ยึดติดกับอารมณ์เหล่านี้อย่างเหนียวแน่นจนถอนตัวไม่ขึ้นแล้ว ก็ต้องถอนตัวคลายออกจากสมาธิไม่ฝึกสมาธิด้วยการหลับตาอีก เพื่อไม่ให้จิตสงบรวมเข้าสู่ภวังค์หลงเข้าไปในอารมณ์นั้นอีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เปลี่ยนการบำเพ็ญใหม่ ด้วยการทำงานให้มากให้หนักจนจิตเป็นสมาธิวุ่นอยู่กับงานเพื่อให้ลืมอารมณ์ต่างๆที่ปรากฏ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หมายเหตุ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนเหล่านี้ที่หลงติดอยู่ในอารมณ์เหล่านี้ ส่วนมากจะลืมตัว จึงจำเป็นต้องการผู้อยู่ใกล้คอยเตือนสติ หรือ มีครูอาจารย์คอยแนะนำให้ตั้งสติให้ดี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การฝึกสมาธินั้น จะต้องไม่มีอุปาทาน ที่เข้าไปยึดมั่นในอารมณ์ที่ได้ขณะนั้นโดยนึกเอาเองว่าจะต้องเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะผู้ฝึกจิตโดยแท้ล้วนต้องการ " ละ " ทิ้งจากการยึดมั่นถือมั่นกิเลสเหล่านั้น เพราะเข้าใจดีว่า นิมิตหมายเหล่านั้นเป็นเพียงทางผ่านไปสู่โลกแห่งการมีชีวิตอันประเสริฐบริสุทธิ์ จึงตั้งสติพร้อมพิจารณาสละสลัดกิเลสเหล่านี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า209<o:p></o:p>
    คิดเสียก่อนจึงพูด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พาทีมีสติรั้ง รอคิด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    รอบคอบชอบแลผิด ก่อนพร้อม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำพูดพลางลิขิต เขียนร่าง เรียนแฮ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ฟังเพราะเสนาะต้อง โสตร์ทั้งห่างภัย<o:p></o:p>
    (พระราชนิพนธ์พระพุทธเจ้าหลวง)<o:p></o:p>
    จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า210<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถามฟังความก่อนตัดสิน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยินคดีมีเรื่องน้อย ใหญ่ไฉน ก็ดี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยังบ่ลงเห็นไป เด็ดด่วน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ฟังตอบสอบคำไข คิดใคร่ ครวญนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ห่อนตัดสินห้วนห้วน เหตุด้วยเบาความ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (พระราชนิพนธ์พระพุทธเจ้าหลวง)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า211<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีแก้เหตุที่ทำให้จิตไม่สงบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การฝึกสมาธิอาจจะเป็นของใหม่ สำหรับชีวิตของท่านก็ได้ จึงยังไม่เกิดความคุ้นเคยจนเกิดเป็นความเคยชินขึ้นในนิสัยสันดานของท่าน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอให้เข้าใจว่า “ การมุ่งหวังทำความดีต้องใช้ความอดทน ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องแนะนำเพิ่มเติมวิธีแก้เหตุที่ทำให้จิตไม่สงบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1. สวดมนต์ภาวนา ด้วยน้อมตามเสียงและความหมายของบทสวด จนจิตใจค่อยๆ สงบลงมาแล้วจึงเข้าสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หรืออาจจะใช้วิธีภาวนา “ พุท ” “ โธ ” อยู่เนื่องๆในทุกโอกาสที่อำนวยจนสืบเนื่องติดเป็นนิสัย แม้ปากหยุดการภาวนา ใจก็ยังคงภาวนา ก็จะทำให้ใจไปยึดเหนี่ยวกับ “ พุท ” “ โธ ” สงบได้อีกแบบหนึ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. ถ้าท่านมีจิตยังยึดตัวยึดตนว่าเป็นอัตราตัวตนอยู่ ขอให้ท่านปลงอสุภะด้วยการอ่านบทปลงอสุภะ<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า212<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อย่างช้าๆ อัดลงในม้วนเทปบันทึกเสียง (คนที่ไม่มีเครื่องบันทึกเสียงให้หาคนมานั่งอ่านให้ฟัง) แล้วนั่งหลับตาฟังสร้างภาพจินตนาการตามไปเรื่อยๆใคร่ครวญพิจารณาทบทวนเช่นนี้หลายๆครั้ง แล้วจะพาให้จิตใจท่านสยบสงบลงมาอย่างได้ผล เพราะคนเราสิ้นสุดทุกอย่างตรงที่สิ้นสุดคือ “ ตาย ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. ท่านที่มีความกำหนัดหมกหมุ่นติดอกติดใจในกาม ก็ให้ปลงอสุภะตามข้อที่ 2 ถ้าเป็นฆราวาสให้บ่มเพียงอาทิตย์ละครั้งก็พอ ก็จะช่วยลดความกำหนัดให้เบาบางลง แต่ถ้าท่านที่มุ่งหวังโลกุตรธรรมแล้ว ท่านต้องบ่มเช้าเย็นวันละสองครั้ง หรือทุกครั้งที่มองเห็นเพศตรงข้ามแล้วเกิดอารมณ์หลงใหลในรูปแห่งความสวยงามและรสแห่งการสัมผัสแล้ว ให้ปลงให้เห็นแจ้งรู้ชัดว่า รูปที่เราหลงนั้นก็เหมือนรูปที่เราเคยปลงในบทปลงอสุภะ คือ เห็นตัวเองได้ตายแล้ว ร่างกายกำลังละลายผุพังเน่าเปื่อย น้ำเหลืองเยิ้ม เนื้อเละๆ ตาโบ๋ กลิ่นเน่าเหม็นฟุ้ง เป็นต้น และคนที่เราเห็นก็อยู่ในลักษณะเช่นนี้ซึ่งขณะนั้นมองเห็นตัวเราและฝ่ายตรงกันข้าม มีลักษณะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า213<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เช่นนี้แล้วตัวเราคงหมดแรงที่จะรัก ทำให้รักคนนั้นไม่ลงเป็นการทวนกระแสความอยาก ไม่ให้ไปติดไปเกาะเกี่ยวจิตจึงปล่อยวางได้โดยลำดับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านปฏิบัติเช่นนี้สม่ำเสมอทุกวินาที แห่งการมีลมหายใจอยู่ จะเป็นอุบายถ่ายถอนความกำหนัดไม่ให้รุมล้อมจิตใจ ท่านก็จะมีอารมณ์กามตายด้าน ไม่สนใจในเรื่องเพศสัมพันธ์อีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. ท่านที่จิตใจโมโหร้าย ผูกโกรธที่จะจองล้างจองผลาญ ทั้งนี้ เพราะท่านมีพื้นเพนิสัยใจคอคับแคบ จึงรู้สึกอารมณ์ต่างๆล้วนไม่ถูกใจไปหมด ไม่ว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็เก็บขึ้นมาปรุงแต่ง ให้รู้สึกอึดอัดน่าโมโหที่จะต้องโกรธแค้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น ท่านจึงต้องหัดนิสัยใหม่ข่มใจเอาชนะตนเองให้ได้ด้วยการแผ่เมตตาจนเกิดความซาบซึ้งดัดนิสัยให้ใจกว้างโอบอ้อมอารีเกื้อกูลช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่เห็นแก่ตัว แล้วก็ให้บ่มปลงอสุภะด้วยการปฏิบัติตามข้อ 2 รับรองว่า ท่านจะลดความโมโหร้ายลงได้ เพราะคนเรานั้น ถ้าอยู่ในอารมณ์แห่งการเห็นสังขารไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืนจีรังบ่อยๆแล้ว ใจก็เกิดสังเวชอ่อนโยนลงมาก<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า214<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. ท่านที่ถือชั้นวรรณะ ชอบเอาความรู้ความสามารถความมั่งมีและยศฐาบรรดาศักดิ์ ไปข่มเหงผู้อื่นให้เจ็บใจ และไม่รู้จักพอกิน พอใช้ พออยู่ “ สมองคิดแต่วิธีหาเงินหาเกียรติเพื่อบำเรอสนองตัณหา ” ก็ขอให้บ่มจิตตามบทปลงอสุภะตามข้อที่ 2 แล้วท่านจงคิดถึงมรณังสติ คือ “ ความตาย ” ว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนหนีไม่พ้นไม่ว่าใหญ่โตแค่ไหน มั่งมีรวยมหาศาล ล้วนต้องตาย ท่านก็จะหยุด “ โลภ ” มากทันที โลภมากก็แบกทุกสิ่งที่เป็นรูปธรรมกลับไปปรภพไม่ได้ เพราะว่า ท่านอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ มีเพียงความชั่ว ความดีที่เป็นนามธรรมติดตามไปเท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยที่โลงศพมีไว้ใส่ศพคนตาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไม่ใช่มีไว้ใส่เฉพาะคนแก่เท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า215<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะอดพูดในเวลาโกรธได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สามารถอาจห้ามงด วาจา ตนเอย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปางเมื่อยังโกรธา ขุ่นแค้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หยุดคิดพิจารณา แพ้ชนะ ก่อนนอ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ชอบผิดคิดเห็นแม้น ไม่ยั้งเสียความ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (พระราชนิพนธ์พระพุทธเจ้าหลวง)<o:p></o:p>
    จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า216<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะได้กรุณาต่อคนที่ถึงอับจน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กรุณานรชาติ พ้องภัย พิบัติเอย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ช่วยรอดปลอดความขษัย สว่างร้อน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผลจักเพิ่มพูนใน อนาคต กาลเฮย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ชนจักชูชื่นช้อน ป่างเบื้อง ปัจจุบัน<o:p></o:p>
    (พระราชนิพนธ์พระพุทธเจ้าหลวง)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า217<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อท่านได้ฝึกปฐมฌานจนคล่องแคล่วแล้ว ก็จะรู้ว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ ปฐมฌาน ” ยังอยู่ใกล้กับนิวรณธรรมอันจะมีโอกาสทำให้ฌานเปลี่ยนแปลงเสื่อมได้ง่าย จึงจำเป็นต้องพยายามฝึกจิตต่อไปให้สูงขึ้นโดยลำดับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปฐมฌานยังเป็นฌานที่ประกอบด้วยองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา จิตขณะนั้นยังมีวิตก วิจารณ์การตรึกตรองนึกคิดพิจารณาพอใจน่ารักใคร่อยู่กับปฐมฌาน ซึ่งเป็นอารมณ์ฟุ้งซ่านที่เป็นธรรมยังหยาบอยู่ก็จะลอยขึ้นมาก่อน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อจิตใจเพ่งพินิจไปที่นิมิตด้วยอุเบกขาเฝ้าสังเกต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อาการตรึกตรองมีรูปร่างและอาการที่เกิดขึ้นกับจิตใจอย่างไร โดยไม่เข้าไปรับรู้อารมณ์นั้น จิตใจท่านก็ค่อยๆประณีตละเอียดยิ่งขึ้น ปล่อยวางความพอใจในปฐมฌานเข้าสู่ “ ทุติยฌาน ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทุติยฌานประกอบด้วยองค์ 3 ปิติ สุข เอกัคตา คือเครื่องยังใจให้ผ่องใส<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า218<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยไม่ถูกวิตก วิจาร เข้าครอบงำ ปิติเด่นชัดกว่าระดับปฐมฌาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อได้ทุติยฌานแล้วต้องเจริญตามวสีความชำนาญ 5 ประการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจนช่ำชอง ก็จะเห็นโทษว่า ทุติยฌานยังอยู่ใกล้กับวิตก วิจารณ์ซึ่งเป็นข้าศึกขององค์ฌานระดับนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตใจเพ่งพินิจต่อไปนี้อีกด้วยอุเบกขาจึงเกิดความสงบระงับยิ่งขึ้นอีกหน่อย ก็จะได้เห็นด้วยปัญญาว่า “ ปีติ ” ความดีใจนี้ก็ไม่เที่ยงแท้ต้องสลายไปในที่สุด จึงเกิดความไม่ยินดีปิติในทุติยฌาน ปิติที่เป็นธรรมหยาบกว่าเพื่อนก็ลอยขึ้นและดับสูญไป จิตก็จะเข้าสู่ตติยฌาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตติยฌานประกอบด้วยองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา คือ ผู้วางเฉยมีสติสัมปชัญญะเสวยสุขอยู่ ซึ่งภาวะนี้ จิตใจและร่างกายจะมีความสุขกาย สบายใจมากที่ต้องควบคุมด้วยสติสัมปชัญญะไม่ให้หลงระเริงดีใจ มิฉะนั้น จิตก็จะตกลงไปสู่ทุติยฌาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อสติควบคุมจิตใจได้แล้ว จิตก็เพ่งพินิจต่อไปอีกด้วยอุเบกขาความวางเฉยได้จิตก็ได้สติสงบระงับยิ่งขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า219<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พิจารณามองเห็นว่า “ สุข ” นี้ก็ไม่เที่ยงแท้ ต้องสลายไปในที่สุดและถ้าตราบใดจิตยังยึดติดในสุข ก็ยังต้องมาเกิดอีก เมื่อเห็นโทษของ “ สุข ” แล้ว “ สุข ” จึงไม่เป็นเครื่องดึงเหนี่ยวจิตให้ติดข้องอยู่ในตติยฌาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น จิตจึงละ “ สุข ” ได้เข้าสู่จตุตถฌาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จตุตถฌาน ประกอบด้วยอารมณ์ 2 ประการ คือ อุเบกขา และเอกัคตา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือ ความบริสุทธิ์ของจิตใจที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ไม่เสียใจ ไม่ดีใจ ไม่รู้สึกยินดีไม่รู้สึกยินร้ายเมื่อเห็นรูป เป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เอกัคคตา คือ สมาธิสงบมาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อุเบกขา คือ จิตใจวางเฉยตั้งมั่นอยู่กับที่ พินิจดูสภาพจิตของตนในขณะนั้นด้วยอารมณ์สงบ เหมือนแมลงมุมทำรังเสร็จแล้วนั่งอยู่ตรงกลางรัง แม้มีอะไรเกิดขึ้นก็เพ่งพิจารณาดูว่าเป็นอะไร ทำไม รับรู้แล้วไม่นำเหตุการณ์เหล่านั้นมาปรุงแต่งที่จะทำให้จิตใจเกิดสะเทือนอารมณ์
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า220<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คล้ายกับอุเบกขาในพรหมวิหาร 4 คือ เคราะห์กรรมอันใดซึ่งสุดวิสัยที่เราจะช่วยได้ อันเกิดกับคนรัก เราก็ไม่เศร้าโศกเสียใจ แม้เกิดกับศัตรู เราก็ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติมเพราะพิจารณาได้ว่า ทุกคนมีกรรมของตนเป็นที่ตั้ง ผู้ใดก่อกรรมอันใด กรรมย่อมสนองผู้นั้น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ได้ฝึกบำเพ็ญจนบรรลุฌานต่างๆตามลำดับแล้ว พึงเจริญอยู่เนื่องๆ ฌานจะได้ไม่เสื่อมถอย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า221<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อดกลั้นต่อผู้อื่นได้ทุกคน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขันติมีมากหมั้น สันดาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ใครเกะกะระราน อดกลั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไป่ฉุนเฉียบเฉกพาล พาเดือด ร้อนพ่อ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้ประพฤติดั่งนั้น จัดได้ใจเย็น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (พระราชนิพนธ์พระพุทธเจ้าหลวง)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า222<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะขอโทษที่ได้ทำผิดทั้งหมด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ใดกิจผิดพลาดแล้ว ไป่ล่ะ ลืมเอย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ห่อนทิฐิมานะ อ่อนน้อม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอโทษเพื่อคารวะ วายบาดหมางแฮ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดีกว่าปดอ้อมค้อม คิดแก้โดยโกง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (พระราชนิพนธ์พระพุทธเจ้าหลวง)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า223<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บทส่งท้ายภาคโลกีย์วิสัย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สาธุชนผู้มุ่งหวังความก้าวหน้าของจิตที่ต้องการหลุดพ้นจากกิเลส จะไม่หลงยึดกับภาวะที่จิตรู้สึกปลอดโปร่ง ปลื้มปีติที่เป็นความสุขเล็กน้อยอันได้จากการปฏิบัติฝึกจิตได้บรรลุ “ อำนาจฌาน ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะว่า การฝึกสมาธิจนได้บรรลุ “ อำนาจฌาน ” เหมือนได้ก้อนหินก้อนใหญ่นำไปทับหญ้า ทับกิเลสเป็นการระงับการเจริญเติบโต และการกำเริบของกิเลสได้ชั่วคราวเท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วันใดที่สมาธิอ่อนแรงลง เหมือนก้อนหินได้ถูกยกขึ้น หญ้าก็จะงอกออกจากใต้ก้อนหิน กิเลสก็งอกงามขึ้นมาใหม่อีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ลำพัง “ อำนาจฌาน ” เพียงอย่างเดียวยังไม่เที่ยงแท้ ยังไม่จีรังยั่งยืน ยังไม่สามารถฝึกจิตให้หลุดพ้นได้ เพราะอำนาจฌานเป็นเพียงพละกำลังที่ใช้ควบคุมให้นิ่งสงบเท่านั้น<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า224<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านต้องตั้งมั่นที่จะเดินไปสู่ชีวิตที่บริสุทธิ์ด้วยการปฏิบัติตามหลักวิปัสสนา ที่ฝึกจิตให้เกิด “ ญาณปัญญา ” เกิดปฏิภาณเห็นแจ้งในสภาวะธรรมเพื่อการประพฤติปฏิบัติตนให้หลุดพ้นจากกิเลส โลภ โกรธ หลง มุ่งสู่แดนนิพพานอันเป็นแดนแห่งการมีชีวิตบริสุทธิ์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะไม่เชื่อคำเล่าลือหรือบอกเล่าเป็นข่าวร้าย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อีกอนึ่งไป่เชื่อถ้อย คำคน ลือเอย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บอกเล่าข่าวเหตุผล เรื่องร้าย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สืบสวนประกอบจน แจ่มเท็จ จริงนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยังบด่วนยักย้าย ตื่นเต้นก่อนกาล<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (พระราชนิพนธ์พระพุทธเจ้าหลวง)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากสุภาษิตและคำพังเพยของไทย<o:p></o:p>
    หน้า226<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ชาติ เกิดรูปพร้อม อาการ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ชรา ร่างสาธารณ เหี่ยวแห้ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พยาธิ บันดาล ต่างต่าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มรณะ กาแร้ง แย่งยื้อกันกินฯ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (สำนวนเก่า)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (จากประชุมโคลงโลกนิติ)<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า227<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พุทธศาสนา เป็นศาสนาสอนให้เชื่อในกฏแห่งกรรมว่า “ ทุกคนมีกรรมของตนเป็นที่ตั้ง มีกรรมของตนเป็นเผ่าพันธุ์ ใครทำดีก็ได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว กรรมย่อมตามสนองไปทุกภพทุกชาติ ซึ่งมีทั้งกุศลและอกุศลหนุนเนื่องให้ชีวิตรุ่งเรืองหรือตกอับ ทั้งนี้ กรรมเหล่านี้ย่อมวิบากในเวลาใดเวลาหนึ่ง ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในขณะเดียวกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ไม่บังคับให้ใครเข้านับถือ ศาสนิกชนแห่งชาวพุทธต้องเชื่อในสิ่งที่เขาสามารถพิสูจน์โดยอาศัยการสังเกตอย่างถี่ถ้วนในสภาพลักษณะ และศึกษาให้เข้าใจในทฤษฎีแล้วนำมาปฏิบัติเค้นคว้าสืบสวนจากมูลเหตุไปหาผลจนรู้แจ้งเห็นจริงตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถ่องแท้เพราะความจริงที่ได้ประจักษ์กับตนเอง ย่อมเป็นความคิดที่แจ่มใสฉายรัศมีให้จิตกระจ่างแจ้งเป็นการอบรมบ่มจิตให้เกิดปัญญาที่สามารถชำระล้างจิตที่โง่เขลาให้สะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่อง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า228<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สำคัญมากกว่า ในการเชื่อมั่นด้วยจิตใจที่สวามิภักดิ์ต่อศาสนาตามความจริงที่คนอื่นค้นพบโดยสืบเนื่องจากความศรัทธาในตำราที่ได้เล่าเรียนมา โดยเชื้อชาติ โดยสัญชาติ โดยวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาที่ตนกำเนิดมาในสิ่งแวดล้อมนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะการเชื่อแบบนี้ เป็นไปในลักษณะเชื่อโดยปฏิบัติตามๆกันไปที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนในศาสนานั้นอย่างจริงจังจริงใจเป็นการมองไม่เห็น ประโยชน์และความสำคัญของศาสนา ภาวะเช่นนี้ ย่อมเป็นการสร้างภาวะอันตรายที่จะทำลายตนเองและศาสนาที่ตนนับถืออยู่อย่างจงใจหรือทำโดยแกล้งไม่รู้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น ท่านที่ฝึกต่อเนื่องอย่างจริงจังมาทุกบทแล้ว ย่อมเป็นข้อพิสูจน์กับตนเองว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ สมาธิ ” มีประโยชน์มากมาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สำหรับคนที่โรคภัยไข้เจ็บ ก็สามารถจะรักษาโรคให้เบาบางหรือหายขาดได้<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า229<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สำหรับคนที่ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ ก็ได้ผลคือ จิตใจได้พบ “ ทางสงบ ” ไว้ควบคุมอารมณ์ต่างๆแห่งการเป็นฆราวาสวิสัยที่มี “ อารมณ์แห่งโลภ โกรธ หลง ” นั้นไม่ให้อารมณ์เหล่านี้ซู่ซ่ามากเกินควรแห่งการที่เรียกว่า “ สัตว์ประเสริฐ ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มิฉะนั้นแล้วท่านจะถูกเรียกว่า มีอารมณ์รุนแรงยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ สัตว์ป่า ” ประเภทที่มีความอาฆาตมาดร้าย ดุดันโมโหจัดเป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนที่ฝึกสมาธิพบทางสงบนานๆเข้า จะมีอารมณ์ใจเย็น ไม่สะเทือนต่อคำด่า สรรเสริญ นินทา ไม่รีบเร่งจนเครียด ดำเนินชีวิตไปแบบเรื่อยๆ ที่มีพร้อมด้วยความคิดที่วิวัฒนาการดีแล้วที่ไม่เจือปนไปด้วยความทะยานอยากได้อย่างเห็นแก่ตัวที่จะก่อให้คนอื่นเดือดร้อนและเกลียดชังตนจนคนบางพวกบางเหล่าว่า “ ท่านมีวิสัยฟั่นเฟือนผิดจากปรกติ ” ก็ขอให้ท่านทำจิตใจให้เข้มแข็งดำเนินต่อไป แต่ขอให้ปฏิบัติภาระกิจการต่างๆโดยให้รู้จักหน้าที่ของตนตามฆราวาสวิสัยแล้วปฏิบัติตามหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ อย่าพึ่งทำเป็น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า230<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปฏิบัติซึ้งทางธรรมจะรีบทิ้งทางโลกียะ ภรรยาก็อยากจะบวชชี สามีก็อยากจะบวชพระ ท่านควรสังวรว่ายังไม่ถึงเวลา อารมณ์แห่งความนิ่งนี้เป็นเพียงอารมณ์แห่งความนิ่งชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ในฐานะที่ท่านยังอยู่ในโลกียะวิสัยขอให้ท่านดำเนินตามสายกลางรักษาน้ำใจและใช้อารมณ์ธรรมแห่ง “ ทางสงบ ” ควบคุมการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันก็พอ ถ้าท่านไม่เชื่อตามคำแนะนำนี้แล้ว อนาคตแห่งชีวิตของท่านจะไม่มีความสงบสุข เพราะว่า ท่านไม่รู้จักคำว่า “ สายกลาง ” คนที่ไม่ตั้งสติประมวลชีวิตตัดสินอนาคตให้ดีว่า จะเตรียมตัวเดินทางไหนแล้วจะทำให้บุคคลนั้นเสียใจตลอดชาติ “ โลกก็ไม่ได้ดี ธรรมก็ไม่ได้ดี ” เลยตกสภาพเป็นบุคคลที่ไม่มีหลักให้กับจิตใจ อนาคตเลยต้องเคว้งคว้างอยู่กลางอุปสรรค์นานาประการอย่างแน่นอน เพราะจิตใจหาที่ยึดเหนี่ยวเป็นสรณะไม่ได้ คนที่อยู่ทางโลกียะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านควรจะต้องมุ่งหวังลาภ เกียรติยศ สรรเสริญ ให้อยู่ในขั้นเอาตัวรอดได้และใช้อารมณ์ธรรม ประกอบควบคุมจิตให้รู้จักจุดอิ่มตัว คือ “ พอกิน พอใช้ พออยู่ ” ท่านที่มุ่งหวังยังคงอยู่ทางโลกียะก็ขอจบบทเรียนเพียงเท่านี้<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า231<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ตัดสินที่จะมุ่งหวังปฏิบัติจิตปฏิบัติตนมุ่งสู่โลกุตระแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านจะต้องเข้าใจว่า ทางสายนี้ให้ “ ละ ” จนถึงที่สุดแห่งการพ้นจากการลุ่มหลงกิเลส “ โลภ โกรธ หลง ” โดยทุกๆนาทีแห่งการมีชีวิตอยู่มีค่าสำหรับการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เริ่มต้นด้วยการให้คำมั่นสัญญาตั้งเป้าหมายให้กับตนเองเป็นการปฏิญาณให้สัจจะแล้วค่อยๆเดิน โดยบ่มนิสัยในระหว่างการเป็นฆราวาสนั้นให้อยู่ในภาวะแห่งการตื่นรู้แจ้งตามทันอายตนะของตนในกิเลส โลภ โกรธ หลง และบ่มให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าชีวิตนี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน และเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสลายทุกขณะ แล้วรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์อย่างน้อย 5 ปี แล้วจึงค่อยไต่ไปปฏิบัติรักษาศีล 8 จนถึงศีล 10 ศีล 227 เป็นต้น เมื่อนั้น ศีล สมาธิ ปัญญาย่อมเปิดทางพาท่านสู่นิพพานแน่นอน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เชิญท่านเดินตามหลัก การวิปัสสนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า232<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มนุษย์เกิดมาประเสริฐแท้โดยชาติกำเนิด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตสำนึกสูงกว่าสัตว์ทุกเหล่าเดรัจฉาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เปิดโอกาสอันดีเลิศให้บำเพ็ญลดกิเลส<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพื่อจะได้หลุดพ้นทุกข์ภัยวัฏฏะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มนุษย์เอยจึงได้ชื่อ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ สัตว์ประเสริฐ ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สังคมธรรมจะไม่มั่วหลงอยู่กับ กาม เกียรติ ลาภ ยศ สรรเสริญ นินทา อาฆาต พยาบาท ใส่ร้ายอิจฉาริษยาผู้อื่น<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า233<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาคโลกุตรวิสัย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้มุ่งเดินไปสู่โลกุตระคือ ผู้ที่เกิดความเบื่อหน่ายในการเคล้าคลุกคลีจมปลักอยู่กับโลกียวิสัย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จึงได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะปลดเปลื้องจิตให้พ้นจากการยึดเหนี่ยวกับกิเลสแห่ง โลภ โกรธ หลง <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปณิธานอันแน่วแน่เด็ดขาดนี้ได้กระชับจิตให้มั่นคง แน่ใจว่า การมุ่งสู่จุดหมายที่ดี ย่อมนำพาให้หลุดพ้นจากทุกข์ที่จะต้องมาเกิดอีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะรู้ว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น และมองเห็นภัยแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จึงพยายามลดละกิเลสโดยเลิกล้มความต้องการที่จะพอกพูนกิเลสตามคนที่อยู่ในโลกียวิสัย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความนึกคิดริเริ่มที่ดีนี้ เป็นอุดมคติที่สำคัญที่สุดของผู้ปฏิบัติธรรม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า234<o:p></o:p>
    สุขใดไป่สุขเถ้า นฤพาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พ้นจากเก่งกันดาร สี่ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือชาติชราพยาธิกาล มรณะ ทุกข์แฮ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สร้างกุศลใดให้ มุ่งแม้นเมืองเขษมฯ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (สำนวนเก่า)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากประชุมโคลงโลกนิติ<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    หน้า235<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลักวิปัสสนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิปัสสนา คือ การปฏิบัติฝึกอบรมจิตให้ปัญญาเจริญพิจารณาจิตใจตัวเราเองที่เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ ค้นตัวสัจจะแห่งพุทธะ จนเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดตามความเป็นจริงในแก่นแท้ของชีวิต รู้เท่าทันต่อความเป็นไปในการเกิดดับของกิเลสในภาวะปัจจุบันล้วนไม่เที่ยงแท้ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีแก่นสารอัตราตัวตนให้หลงใหลยึดมั่นถือมั่น เป็นการกำจัดต้นเหตุแห่งทุกข์ที่ทำให้จิตใจเศร้าโศกขุ่นมัวเร่าร้อนอย่างเด็ดขาด แล้วตั้งจิตมุ่งหมายสู่ชีวิตอันบริสุทธิ์ในแดนนิพพาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า236<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดำเนินเรื่องตามหลักวิปัสสนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อท่านฝึกต่อเนื่องมา 4 บทแล้ว เป็นการฝึกสมาธิจนไดฌาน ย่อมสามารถควบคุมจิตให้แน่วแน่สร้างสติปัญญาอันหลักแหลมสอดส่องแสวงหาทางดับทุกข์ที่นำไปสู่การปฏิบัติตนให้หลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร มุ่งสู่แดนนิพพาน โดยศึกษาปฏิบัติตามหลักวิปัสสนาง่ายๆที่เป็นไปตามหลักธรรมชาติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เริ่มแรกแนะนำให้รู้จัก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่รวมแล้วมีเพียงรูปกับนามเท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเข้าสู่ บทปลงอสุภะ ด้วยการ ถอดจิต ก็จะพบว่าวิญญาณมีจริง โลกหน้ามีจริง กฏแห่งกรรมมีจริง เมื่อปลงอสุภะแล้ว จะได้พิจารณาเห็นว่ารูปกับนามล้วนอยู่ในสภาพสามัญลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่เป็นอัตราตัวตนที่จะให้ยึดมั่นถือมั่น เป็นการตัดต้นเหตุแห่ง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...