ไฟล์ที่สิบหก อุปสมานุสติ-จงกรม-มโนฯ (25 - มค - 47)

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 19 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    [MUSIC]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2067[/MUSIC]
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    คราวนี้การปฏิบัติความดีของพวกเรา กำลังใจมันไม่ทรงตัวอย่างแท้จริง ถ้าทำไปทำไปทำไป ระยะหนึ่ง มันมีเหมือนกับตัน ไปไม่ถูก ไปไม่เป็น อันนั้นมันอาจจะเกิดจากความซ้ำซากจำเจ สถานที่ เรื่องของการปฏิบัติของเราเอง ทำให้มันไม่ก้าวหน้า การที่เราปฏิบัตินั้น ตัวสมถะ คือการภาวนาให้กำลังใจมันสงบลง กับตัววิปัสสนา คือการพิจารณาเพื่อให้ปัญญามันเกิด ยอมรับสภาพความเป็นจริงของร่างกาย ทั้งสองอย่างนี้ มันต้องไปด้วยกัน มันถึงจะเจริญ มันถึงจะมีความก้าวหน้า สมถะกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน มันเหมือนกับคนที่ผูกเชือก ผูกขาติดกัน มันก้าวข้างใดข้างหนึ่งไปถึงจุดสุดแล้ว มันจะก้าวต่อไม่ได้ เพราะถ้าก้าวต่อแล้วมันจะกระตุกกลับมาที่เดิม มันต้องก้าวอีกข้างหนึ่งมันถึงจะไปได้ ดังนั้นการภาวนาของเรา ถ้ารู้สึกว่าอารมณ์ใจของเรามันไปถึงที่สุดแล้ว มันก็จะถึงที่ตัน ไปต่อไม่ได้ มันจะถอยหลังออกมาก เมื่อมันถอยหลังออกมา ถ้าเราไม่หาเรื่องดีดีให้มันคิด มันก็จะคิดฟุ้งซ่านในรัก โลภ โกรธหลง ไปตามความถนัด ไปตามความชำนาญของมัน การพิจารณาในเรื่องของวิปัสสนาญานนั้น เราพิจารณาได้หลายแนว จะดูตามแนวของอริยสัจ คือดูสาเหตุของทุกข์ให้เจอ เลิกสร้างเหตุนั้นความทุกข์ก็ไม่เกิด หรือว่าดูในเรื่องของไตรลักษณ์ ลักษณะความเป็นจริงของทุกสิ่ง ประกอบไปด้วยความไม่เที่ยง เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลางสลายไปในที่สุด มีแต่ความทุกข์ ถ้าไปยึดถือมั่นหมายมันไม่ได้อย่างใจก็ทุกข์ และไม่มีอะไรทรงตัวได้ ทุกอย่างต้องเสี่อมสลายตายพังไปในที่สุดแม้กระทั่งตัวเรา หรือจะพิจารณาตามแบบของวิปัสสนาญาน 9 อย่างอุปยพยานุปัสสนาญาน พิจารณาเห็นความเกิดและความดับเป็นปกติของทุกสิ่งทุกอยาง อังคานุปัสสนาญาน พิจารณาว่าทุกอย่างต้องพัง ต้องดับ ต้องสลายไปหมด พยตูตถานญาน พิจารณาให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์เป็นภัยเป็นของน่ากลัว เหล่านี้เป็นต้น จนไปจบลงที่สังฆฤเศรษฐาญาน คือการปล่อยวางเพราะรู้จริงเห็นจริงแล้ว เมื่อเราพิจารณาในลักษณะนี้ไป อารมณ์ใจมันก็จะค่อย ๆ ทรงตัวจนกลายเป็นการภาวนาไปโดยอัตโนมัติ เราก็ภาวนาต่อ เมื่อภาวนาไปเรื่อย ๆ อารมณ์ใจมันขึ้นถึงที่สุด มันไปถึงจุดที่มันเคยตันอยู่ มันก็จะถอยหลังออกมา เราก็พิจารณาใหม่ สลับกันไปสลับกันมา เหมือนกับผลัดกันก้าวเท้าเดิน มันถึงจะก้าวหน้า
    กำลังของวิปัสสนาญานนั้น ได้เปรียบอยู่อย่างหนึ่งว่าถ้าเราพิจารณาไปเรื่อยๆ มันจะกลายเป็นภาวนาเอง โดยอัตโนมัติ เพราะอารมณ์จิตมันดิ่งมันลึกลงไปตามลำดับของการภาวนา มันจะเป็นของมันเอง แต่ว่าขั้นต้นของวิปัสสนาญานนั้น ถ้าเราไม่มีพื้นฐานของการภาวนา อารมณ์ใจกว่าจะทรงตัวมันยากมาก ส่วนอารมณ์ของสมถะภาวนานั้น ถ้าหากว่ามันทรงตัวแล้ว ไปถึงที่สุดของมันแล้ว เราพิจารณาไม่เป็น เมื่ออารมณ์ใจมันถอยหลังออกมามันจะฟุ้งซ่านไปยังรัก โลภ โกรธ หลง เอง ดังนั้นทั้งสองอย่างจึงต้องไปด้วยกัน ผลัดกันก้าว ผลัดกันเดิน สมถะกรรมฐานเป็นการเพาะกำลังให้แข็งแรง วิปัสสนากรรมฐานเหมือนกับอาวุธที่คมกล้า เมื่อมีกำลังมีอาวุธแล้ว การจะตัดกิเลสก็เป็นเรื่องง่าย ในเมื่อเรารู้ว่าทั้งสองอย่างต้องทำสลับกันไป แต่บางทีมันก็ยังไม่ไหว มันก็ยังรู้สึกว่าไปได้ไม่ดี ไม่คล่องตัว มันก็อาจจะเกิดจากอิริยาบถของเราที่มันซ้ำ ๆ อยู่กับที่ ไม่ใช่ว่านั่งก็นั่งมันอย่างเดียวไปตลอด ยืนก็ยืนมันอย่างเดียวไปตลอด เดินก็เดินมันอย่างเดียวไปตลอด นอนก็นอนมันอย่างเดียวไปตลอด มีน้อยคนที่ทำอิริยาบถอย่างเดียวแล้วอารมณ์ใจจะตั้งมั่น ให้เราเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนอิริยาบถ เมื่อเราเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนอิริยาบท มีสิ่งที่แปลกใหม่เข้ามา สภาพจิตก็จะไม่เบื่อหน่าย ก็จะเริ่มปฏิบ้ติในอิริยาบทใหม่ หรือว่าเริ่มปฏิบัติในสถานที่ใหม่ เพื่อที่จะได้กำลังใจทรงตัวเท่ากับที่เราเคยทำมา หรือว่าอาจจะดีขึ้นกว่าเดิมก็ได้ เพราะว่ามันไม่ซ้ำซากจำเจแล้ว

    คราวนี้ การภาวนาในอิริรยาบถอื่นจากที่เคยลองมา อิริยาบถยืนก็คล้ายกับการนั่งแต่เพียงแต่ว่าอารมณ์ใจของเรานั้นมันต้องทรงตัวจริง ๆ ไม่อย่างนั้นมันจะรู้สึกว่าตัวโยก ๆ อยู่หน่อยหนึ่ง และถ้ายืนไปนาน ๆ ก็เหมือนกับสภาพของการนั่ง คือว่าขาแข็ง ถ้าอารมณ์ใจไม่ก้าวเข้าไปถึงความเป็นฌาน ยังไปเกาะอยู่กับร่างกาย เราก็จะรู้สึกเมื่อยจนทนไม่ไหวเช่นกัน อิริยาบถนอนนั้น ถ้าจิตมันหยาบ สติมันขาด มันจะะตัดหลับไปเลย จะมีอยู่ก็คืออิริยาบถเดิน การเดินแล้วภาวนาไปด้วย หรือว่าเดินแล้วพิจารณาไปด้วย ในลักษณะที่เรียกว่าจงกรมนั้น มันทำให้การปฏิบัติก้าวหน้าได้ง่าย แล้วถ้าทำได้ อารมณ์ใจก็ทรงตัวได้ง่าย การเดินจงกรมนั้นก็เริ่มตั้งแต่การกำหนดสถานที่ที่จะเดิน แนวทางจงกรม ถ้าหากว่าจะเอาให้เหมาะสม ก็คือแนวเหนือใต้ เส้นหนึ่ง แนวตะวันออกเฉียงเหนือตะวันตกเฉียงใต้เส้นหนึ่ง แนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้เส้นหนึ่ง แนวตะวันออกตะวันตก จงกรมเขาไม่นิยมกัน เพราะว่าถ้าหากอยู่ในที่โล่ง บางวาระ บางเวลา แสงแดดมันเจอหน้าพอดี สร้างความรำคาญ ทำให้เดินจงกรมไม่สะดวก ระยะทางการเดินจงกรม ถ้าหากว่าพื้นที่มีเหลือเฟือ เราจะกำหนดใกล้ไกลแค่ไหนก็ได้ แต่ถ้าหากจะเอาให้พอเหมาะพอดี จากการที่เคยลองมา ระยะประมาณ 25-39 เป็นระยะที่กำลังเหมาะ แต่ในสถานที่ที่จำกัด อย่างสมัยที่บวชใหม่อยู่ที่วัดท่าซุง กุฏิมันเล็กมาก กว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 2เมตรครึ่งเท่านั้น ก็ใช้วิธีเดินเป็นรูปเลข 8 อารบิก เวลาเราเดินวนเป็นรูปเลข 8 ระยะทางมันได้เพิ่มขึ้น ก็หมายความว่าระยะทางจะใกล้จะไกล จะยาวจะสั้นทำได้ทั้งนั้น แต่จากการที่เคยทำมา คือระยะที่เหมาะสม คือระยะประมาณ 25-39 เมื่อเราเดินไปสุดทางแล้ว เราก็วนกลับ การเดินนั้นให้กำหนดใจ กำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างหนึ่ง อันนี้จะเป็นอิริยาบถและสัมปชัญญะในมหาสติปัณฐาน4 คือดูว่าตอนนี้ก้าวเท้าซ้าย ตอนนี้ก้าวเท้าขวา ตอนนี้แขนมันแกว่างไปข้างหน้า ตอนนี้แขนมันแกว่งไปข้างหลัง ไม่ต้องไปค่อย ๆ ยกย่างเหยียบอย่างที่ส่วนใหญ่เขาสอนกัน อันนั้นมันเด็กหัดใหม่ หัดเดินเลย อิริยาบถของเราให้ เป็นไปตามปกติ ก้าวเดินไปตามปกติ เพียงแต่กำหนดสติรู้ตามไปด้วย ว่าตอนนี้ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ตอนนี้เท้ามันวางลงแตะพื้น ตอนนี้ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ตอนนี้เท้ามันวางลงแตะพื้น เหล่านี้เป็นต้น ถ้าอารมณ์จิตมันค่อย ๆ ละเอียดขึ้น ทรงตัวมากขึ้น มันจะรู้ทั่วทั้งร่างกาย รู้แม้กระทั่งลมหายใจที่หายใจอยู่ รู้แม้กระทั่งว่าว่ามีอากาศมากระทบร่างกายส่วนใหน แล้วทำให้ขนของร่างกายของเรามีการเคลื่อนไหวอย่างไร
    มันจะรู้ละเอียดขนาดนั้น

    อีกวิธีหนึ่ง คือเดินไปภาวนาไป ลักษณะนี้แรก ๆ จะมีปัญหาคือว่าถ้าเราจับลม 3 ฐานเมื่อไหร่เราจะก้าวไม่ออก เพราะว่าลม 3 ฐานคือ หายใจเข้าผ่านจมูกผ่านกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้อง หายใจออก จากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก อันนี้เป็นกำลังของปฐมฌาน จิตที่เริ่มเข้าสู่ระดับของปฐมฌานนั้นมันเริ่มแยกออกจากประสาทของเร่ร่างกาย ก็เลยจะบังคับร่างกายไม่ได้ บางคนพอรู้ลม 3 ฐานปุ๊บ มันก้าวไม่ออกติดอยู่แค่นั้น ให้ค่อย ๆ ทำผ่อนหนักผ่อนเบาประคับประคองไปเรื่อย ก้าวเดินพร้อมกับบังคับลมหายใจไม่ได้ ถ้าหากว่าท่านทำได้ มันก็จะเป็นสภาพของการทรงฌานใช้งาน คืออิริบาบถของต่าง ๆ ของเราทำไปตามปกติ ขณะเดียวกันก็ยังทรงฌานได้ตามปกติ

    อีกวิธีหนึ่งก็คือเดินไป พร้อมกับกำหนดหัวข้อธรรมข้อใดข้อหนึ่ง ที่เรายังไม่รู้จริง ยังไม่เห็นแจ้ง กำหนดขึ้นมาแล้วคิดพิจารณาไป ดูมันให้ละเอียด แยกแยะมันออกมา ไม่ว่าจะพิจารณาว่าร่างกายนี้เป็นธาตุ 4 ก็ดี ร่างกายนี้ยังไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราอย่างไรก็ดี มันมีแต่ความทุกข์อย่างไรก็ดี หรือว่าพิจารณาตามแบบของปตุจสมุตา คือดูว่าอวิชชา ความเขลาเป็นเหตุให้ไม่รู้จริงนั้น มันทำให้เราเกิดขึ้นอย่างไร การเดินจงกรมนั้นมีอานิสงค์มาก อันดับแรกถ้าเราเดินจนเคยชิน การเดินทางไกล จะเหนื่อยช้า เหนื่อยยาก ครูบาอาจารย์บางท่านเดินจงกรม เช้ายันค่ำ ค่ำยันเช้า จากการที่เคยทำมา มันเป็นการทรงฌานเดินไปในตัว แต่ว่าขณะเดียวกัน ถ้าเราจะพิจารณา ก็พิจารณาได้ ในขณะที่เราเดิน เช้ายันค่ำ ค่ำยันเช้า ทรงฌานเดินอยู่นั้น กำลังใจของเราจะไม่ฟุ้งซ่านไปยังอารมณ์อื่น กิเลสไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้

    อานิสงค์ข้อต่อไป ก็คือว่า ทำให้ท้องไม่ผูก อาหารที่ฉันเข้าไปนั้นมันย่อยได้ดี เลือดลมจะคล่องตัว ท้องไม่ผูก ถ่ายได้สะดวก อานิสงค์ข้อต่อไปก็คือว่าเมื่อเลือดลมดี ไม่มีเศษอาหารตกค้างในร่างกาย การเจ็บไข้ได้ป่วยก็น้อยลง และข้อที่สำคัญที่สุดคือว่า สมถะภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี ที่เราทำได้ในขณะจงกรมนั้น จะทรงตัวและเสื่อมยาก ส่วนใหญ่แล้วอย่างที่เรานั่งอยู่ พออารมณ์ใจทรงตัว เมื่อเราเคลื่อนไหว มันมักจะเสื่อมไป หลุดไป ถอยไป แต่ถ้าเราชินกับการเคลื่อนไหวในลักษณะเดินจงกรมแล้ว อารมณ์ที่ทรงตัวนั้น จะคลายตัวได้ยาก เพราะว่ามันชินกับอิริยาบถอื่นแล้ว สิ่งเหล่านี้คืออานิสงค์ของการเดินจงกรม คืออานิสงค์ของการเปลี่ยนอิริยาบถร่างกาย ในการปฏิบัติภาวนาของเรา ทำให้สิ่งที่มันไม่ก้าวหน้ามันก็ก้าวหน้า สิ่งที่เคยทำไม่ได้ มันก็ทำได้ง่ายขึ้น หรือว่าบางท่านอาจจะใช้วิธี เดินไปท่องหนังสือไป หรือเดินไปท่องมนต์ไป มันก็จะจำได้ง่ายด้วย

    สำหรับวันนี้ก็จะมาพูดถึง อุปัสสมานุสสติกรรมฐาน ถ้าว่ากันตามศัพท์อุปปัสสมานุสสติ คือการ ระลึกถึงความสงบ ระงับ อันนี้หมายถึง สงบจากกิเลสทั้งปวง อย่างที่หลวงพ่อฤษีลิงดำ ท่านสรุปว่า เป็นการระลึกถึงพระนิพพานนั่นเอง การระลึกถึงพระนิพพานนั้น ถ้ากำลังใจของเรา เข้าไม่ถึงโคตรภูมิของพระโสดาปฏิมะขึ้นไป เราจะไม่เข้าใจว่ากำลังใจที่เกาะพระนิพพาน ที่รักพระนิพพาน ที่เข้าถึงพระนิพพานจริง ๆ เป็นอย่างไร เราก็ระลึกไม่ได้ ก็ให้ใช้วิธีง่าย ๆคือภาวนาจับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าหายใจออกใช้คำภาวนาที่หลวงพ่อท่านเคยใช้หรือจะใช้ว่า นิมิตจิตตะ นิมิตจิตตา นิพานจิตติ นิพานจิตตาก็ได้ หรือจะใช้นิพานสุขขังก็ได้ แล้วแต่เราถนัด แต่ถ้าบุคคลที่อารมณ์ใจเข้าถึงโคตรภูมิของพระโสดาบัน อารมณ์ท่านจะเข้าถึงกระแส พระนิพพานที่แท้จริง ก็จะรู้ว่าความเยือกเย็น ความสงบระงับของกิเลสที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร ท่านเหล่านี้จะเกาะอุปัสสมานุสสติได้ง่าย เพราะว่าเข้าถึงจริง ๆแล้ว อีกประเภทหนึ่งคือท่านที่ได้มโนยิทธิ คือมีฤทธิ์ทางใจ สามารถถอดจิตไปยังภพภูมิต่าง ๆได้ ถ้าอย่างนั้นก็สะดวกที่สุด สบายที่สุด คือส่งกำลังใจขึ้นไปกราบพระบนพระนิพพานเลย ถ้าหากว่าส่งกำลังใจขึ้นไปในลักษณะอย่างนั้น เป็นอุปมานุสสติกรรมฐานอย่างแท้จริง เพราะว่าจิตของเราอยู่บนพระนิพพานแล้ว สภาพรัก โลภ โกรธหลง มันเกิดขึ้นไม่ได้ รัก โลภ โกรธ หลงเป็นสมบัติของร่างกาย ถ้าไม่มีจิตไปคอยปรุง คอยแต่งกับมัน มันก็ไม่สามารถทรงตัวได้ มันก็สลายตัวของมันไปเอง เมื่อรัก โลภ โกรธ หลง สลายตัวไป เราก็เข้าถึงอุปัสสมานุสสติที่แท้จริง นี่คือมโนยิทธิที่หลวงพ่อท่านต้องการ มโนยิทธิที่แท้จริงนั้น เหมาะสำหรับคนฉลาด ถ้ามีความเขลาแทรกอยู่แม้แต่นิดเดียวก็ไม่อาจหลุดพ้นได้ มโนยิทธิที่แท้จริงคือ เรารู้จักพระนิพพาน เราไปพระนิพพานได้ เอาใจตั้งไว้ที่พระนิพพานได้ ถ้าเราเอาใจเกาะที่พระนิพพานเป็นปกติทุกวัน ๆ กำลังใจทรงตัวเคยชินกับความปราศจากรัก โลภ โกรธ หลง ถ้าทำไปนาน ๆ อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลงมันจะสลายตัวไปของมันเอง มโนยิทธิไม่ได้จำเป็นต้องรู้อดีต อดีตทุกชาติเราเกิดมา ไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์ ไม่จำเป็นต้องรู้ปัจจุบัน เพราะปัจจุบันนี้ชีวิตเราเกิดอยู่ มีขันต์5 อยู่ก็ทุกข์ตลอด ไม่จำเป็นต้องรู้อนาคต เพราะว่าอนาคตถ้าเกิดอีกก็ทุกข์อีก ไม่จำเป็นต้องระลึกชาติ เพราะว่าไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์ ไม่จำเป็นต้องรู้ใจคนอื่น เพราะว่าแค่ระวังใจของเราให้พ้นจากกิเลสก็ระวังไม่หวาดไม่ไหวแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคนและสัตว์ ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน ถ้าเรามั่นใจในสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเราว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปดูมัน มโนยิทธิที่สำคัญที่สุดคือเกาะพระนิพพานให้ได้ ใช้ในอุปสมานุสสติกรรมฐานให้ได้ ส่วนใหญ่ ที่เห็นใช้กัน คือไประลึกชาติ ไปย้อนอดีต ฉันเป็นอย่างนั้นกับเธอ ฉันเป็นอย่างนี้กับเธอ แล้วแทนที่จะเก็บ จะรู้จักละ กลับไปยึดมัน ฟื้นความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ แทนที่จะสะลัดบ่วงของสังฆโยชน์ที่มันคล้องเราสอยู่ ก็กลายเป็นคล้องติดมากขึ้น จะว่าไม่มีคุณประโยชน์เสียทีเดียวก็ไม่ใช่ เพราะว่าถ้าเราใช้มโนยิทธิจนคล่องคือเราทรงฌานอยู่ตลอดเวลา ถ้าตายเราก็เกิดเป็นพรหมได้ แต่ว่าโอกาสจะหลุดพ้นมันก็ช้าลง ถึงได้กล่าวว่ามโนยิทธิเป็นเรื่องของคนฉลาดเท่านั้น คือใช้มโนยิทธิ ไปในเรื่องของอุปสมานุสสติกรรมฐาน คือใช้กำลังของมโนยิทธิ เกาะพระนิพพานไว้ ใหม่ๆ ก็เกาะไม่ทรงตัว เผลอนิดเดียวมันก็ลงมาแล้ว จากที่เคยทำอยู่แรก ๆ วินาทีสองวินาทีมันก็ลงมาแล้ว เพราะอารมณ์ของพระนิพพานเป็นอารมณ์ที่ละเอียดมาก เกาะไม่ได้ ทรงไม่อยู่เราต้องหางานให้มันทำ เนื่องจากว่าเคยสวดมนต์ได้มาก ก็เลยกำหนดใจขึ้นไปกราบพระบนพระนิพพาน ตั้งใจสวดมนต์ทุกบท ที่เคยสวดได้ ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เมื่อจิตมีงานทำ มันรู้ว่างานยังไม่หมด มันก็จะอยู่กับงานนั้น จิตก็จะค่อย ๆ ชินกับอารมณ์พระนิพพาน เพราะรู้ว่าถ้างานยังไม่หมด มันก็จะไม่เคลื่อนลงมา พอมันอยู่บ่อยเข้า บ่อยเข้า เคยชินกับสภาพความละเอียด ของอารมณ์พระนิพพานมากเข้า มันก็เกาะได้นานขึ้น ถ้าทำบ่อย ๆ ทำให้เป็นปกติ ในที่สุดอารมณ์พระนิพพานก็จะทรงตัว ถ้าทำได้ในระยะเวลาที่ยาวนานพอ โดยไม่เผลอทิ้งกำลังใจจากจุดนั้น กิเลสจะค่อย ๆ หมดไปโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาไปตัด ไม่ต้องเสียเวลาไปคิด ไปพิจารณา เพราะว่ารัก โลภ โกรธ หลงเป็นสมบัติของร่างกาย เราส่งใจไปพระนิพพานเสียแล้ว ไม่มีใจอยู่กับร่างกายเสียแล้ว รัก โลภ โกรธ หลงก็เกิดไม่ได้ ในเมื่อมันเกิดไม่ได้ มันไม่มีใครเลี้ยงดูมัน
    คือไม่ได้ไปปรุงไปแต่ง ไปสร้าง ไปเสริมมัน มันก็จะค่อย ๆ สลายตัวหมดสภาพของมันไปเอง อุปสมานุสสติกรรมฐานที่แท้จริง จึงควรที่จะทรงมโนยิทธิได้ ถ้าหากว่าทรงมโนยิทธิไม่ได้ ถ้าหากว่าทรงมโนยิทธิไม่ได้ให้ตั้งใจจับในพุทธานุสสติกรรมฐาน คือจับภาพพระองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ที่เรารักเราชอบมากที่สุด จะเป็นพระพุทธรูปในลักษณะของพระสงฆ์ก็ดี ในลักษณะของพระพุทธปางไหนก็ดีที่เราชอบ หรือในลักษณะของพระวิสุทธิเทพ ตั้งใจว่านั่นคือองค์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ตรงไหน นอกจากพระนิพพาน จำไว้ให้แม่น ถ้าเราเจอพระพุทธเจ้าที่อื่น นั่นเป็นฉพรังสีของพระองค์ท่านที่ส่งไปปรากฏต่อหน้าเรา ลักษณะเหมือนท่านทุกประการ แต่ว่ากายที่แท้จริงของพระองค์ท่านนั้นอยู่พระนิพพาน ได้กล่าวย้ำอยู่เสมอว่าพระองค์ท่านไม่อยู่ที่ไหนไหน นอกจากพระนิพพาน เราเห็นที่อื่นคือฉพรังสีเท่านั้น แต่ว่าจะใช้คำว่าเท่านั้นก็ไม่ได้ เพราะว่าโอกาสที่จะได้พบท่าน แม้ในลักษณะของฉพรังสีนั้นยากเหลือเกิน ยากกว่าถูกรางวัลที่หนึ่งเยอะ มีโอกาสได้พบได้เห็นถือเป็นบุญของตนอย่างยิ่ง ในเมื่อเราจับภาพพระ แล้วกำหนดว่า พระองค์ท่านไม่อยู่ที่ไหน นอกจากบนพระนิพพาน เราเห็นท่านคืออยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน กำหนดใจง่าย ๆ สบาย ๆ อย่างนี้ ก็จัดเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐานอีกแบบหนึ่ง เรื่องของมโนยิทธินั้นที่แท้จริงแล้วง่ายมาก คือคิดได้ก็ทำได้ เพียงแต่ว่าเราไม่เคยชิน และไม่ได้ซักซ้อมให้เกิดความคล่องตัว เราก็ขาดความมั่นใจ มโนยิทธิแค่คิดก็ถึงแล้ว ไม่ได้จำกัดด้วยระยะทาง ไม่ได้จำกัดด้วยสถานที่ ไม่ได้จำกัดด้วยเวลา เพียงแต่ว่าเราต้องมีความมั่นใจในตนเอง มีการซักซ้อมบ่อย ๆ เมื่อทำมากเข้า ๆ ประสบการณ์มากขึ้น อารมณ์ใจทรงตัวดีขึ้น เราก็จะเกิดความมั่นใจขึ้นมาเอง ส่วนใหญที่พบ ก็คือทำได้เฉพาะต่อหน้าครูบาอาจารย์ ลับหลังแล้วไม่สามารถทำได้ ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย

    จึงขอสรุปว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน คือการระลึกถึงความสงบระงับที่แท้จริง หมายถึงอารมณ์ของพระนิพพานนั้น ถ้าหากว่าไม่ใช่โคตรภูมิของพระโสดาบันขึ้นไป เราใช้คำภาวนา ก็เข้าถึงได้แค่ผิวเผิน ถ้าหากว่าจะจับภาพพระกำหนดว่าท่านอยู่บนพระนิพพาน ก็ยังไม่มั่นคงจริง ๆ ถ้าจะให้มั่นคงจริง ๆ ต้องทำในมโนยิทธให้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องขวานขวาย ต้องสร้างเสริมตัวเองให้มันยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อที่จะได้พ้นทุกข์ หมดสิ้นกิเลสอย่างแท้จริง

    สำหรับตอนนี้เวลาก็ไม่เพียงพอ ก็ขอให้ทุกคน วางกำลังใจโดยการจับภาพพระให้ทรงตัวเอาไว้ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งอยู่กับภาพพระเสมอ กำหนดใจว่านั่นคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนพระนิพพาน ถ้าหากว่ามันตายลงไปเมื่อไหร่เราขอไปอยู่กับพระองค์ท่านที่นั่น ทีพระนิพพานแห่งเดียว กำหนดเอาไว้แบบนี้ให้ทรงตัวอยู่ตลอด ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถไหนก็ตาม ภาพพระหายไปเมื่อไหร่โปรดทราบว่า เรามีโอกาสพลาดลงไปสู่อบายภูมิแล้ว ให้รีบกำหนดภาพขึ้นมาใหม่ในทันที ถ้าใครได้มโนยิทธิ ก็ส่งใจไปกราบพระบนพระนิพพาน เพื่อที่จะได้เป็นอุปสมานุสสติอย่างแท้จริง อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องการ วันนี้ก็ให้วางกำลังใจอยู่ตรงจุดนั้น ขณะเดียวกันก็ให้เตรียมตัวเพื่อทำวัตรสวดมนต์ของเราไปด้วย

    ** จบไฟล์เสียงที่สิบหก**
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    คราวนี้การปฏิบัติความดีของพวกเรา กำลังใจมันไม่ทรงตัวอย่างแท้จริง ถ้าทำไปทำไปทำไป ระยะหนึ่ง มันมีเหมือนกับตัน ไปไม่ถูก ไปไม่เป็น อันนั้นมันอาจจะเกิดจากความซ้ำซากจำเจ สถานที่ เรื่องของการปฏิบัติของเราเอง ทำให้มันไม่ก้าวหน้า

    การที่เราปฏิบัตินั้น ตัวสมถะ คือการภาวนาให้กำลังใจมันสงบลง กับ ตัววิปัสสนา คือการพิจารณาเพื่อให้ปัญญามันเกิด ยอมรับสภาพความเป็นจริงของร่างกาย ทั้งสองอย่างนี้ มันต้องไปด้วยกัน มันถึงจะเจริญ มันถึงจะมีความก้าวหน้า

    สมถะกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน มันเหมือนกับคนที่ผูกเชือก ผูกขาติดกัน มันก้าวข้างใดข้างหนึ่งไปถึงจุดสุดแล้ว มันจะก้าวต่อไม่ได้ เพราะถ้าก้าวต่อแล้วมันจะกระตุกกลับมาที่เดิม มันต้องก้าวอีกข้างหนึ่งมันถึงจะไปได้

    ดังนั้น การภาวนาของเรา ถ้ารู้สึกว่าอารมณ์ใจของเรามันไปถึงที่สุดแล้ว มันก็จะถึงที่ตัน ไปต่อไม่ได้ มันจะถอยหลังออกมาก เมื่อมันถอยหลังออกมา ถ้าเราไม่หาเรื่องดีดีให้มันคิด มันก็จะคิดฟุ้งซ่านในรัก โลภ โกรธหลง ไปตามความถนัด ไปตามความชำนาญของมัน

    การพิจารณาในเรื่องของวิปัสสนาญานนั้น เราพิจารณาได้หลายแนว จะดูตามแนวของอริยสัจ คือดูสาเหตุของทุกข์ให้เจอ เลิกสร้างเหตุนั้นความทุกข์ก็ไม่เกิด หรือว่าดูในเรื่องของไตรลักษณ์ ลักษณะความเป็นจริงของทุกสิ่ง ประกอบไปด้วยความไม่เที่ยง เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลางสลายไปในที่สุด มีแต่ความทุกข์ ถ้าไปยึดถือมั่นหมายมันไม่ได้อย่างใจก็ทุกข์ และไม่มีอะไรทรงตัวได้ ทุกอย่างต้องเสี่อมสลายตายพังไปในที่สุดแม้กระทั่งตัวเรา หรือจะพิจารณาตามแบบของวิปัสสนาญาน 9 อย่าง
    ~อุปยพยานุปัสสนาญาน พิจารณาเห็นความเกิดและความดับเป็นปกติของทุกสิ่งทุกอยาง ~อังคานุปัสสนาญาน พิจารณาว่าทุกอย่างต้องพัง ต้องดับ ต้องสลายไปหมด
    ~พยตูตถานญาน พิจารณาให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์เป็นภัยเป็นของน่ากลัว เหล่านี้เป็นต้น จนไปจบลงที
    ~่สังฆฤเศรษฐาญาน คือการปล่อยวางเพราะรู้จริงเห็นจริงแล้ว

    เมื่อเราพิจารณาในลักษณะนี้ไป อารมณ์ใจมันก็จะค่อย ๆ ทรงตัวจนกลายเป็นการภาวนาไปโดยอัตโนมัติ เราก็ภาวนาต่อ เมื่อภาวนาไปเรื่อย ๆ อารมณ์ใจมันขึ้นถึงที่สุด มันไปถึงจุดที่มันเคยตันอยู่ มันก็จะถอยหลังออกมา เราก็พิจารณาใหม่ สลับกันไปสลับกันมา เหมือนกับผลัดกันก้าวเท้าเดิน มันถึงจะก้าวหน้า
    กำลังของวิปัสสนาญานนั้น ได้เปรียบอยู่อย่างหนึ่งว่าถ้าเราพิจารณาไปเรื่อยๆ มันจะกลายเป็นภาวนาเอง โดยอัตโนมัติ เพราะอารมณ์จิตมันดิ่งมันลึกลงไปตามลำดับของการภาวนา มันจะเป็นของมันเอง

    แต่ว่าขั้นต้นของวิปัสสนาญานนั้น ถ้าเราไม่มีพื้นฐานของการภาวนา อารมณ์ใจกว่าจะทรงตัวมันยากมาก
    ส่วนอารมณ์ของสมถะภาวนานั้น ถ้าหากว่ามันทรงตัวแล้ว ไปถึงที่สุดของมันแล้ว เราพิจารณาไม่เป็น เมื่ออารมณ์ใจมันถอยหลังออกมามันจะฟุ้งซ่านไปยังรัก โลภ โกรธ หลง เอง ดังนั้นทั้งสองอย่างจึงต้องไปด้วยกัน ผลัดกันก้าว ผลัดกันเดิน *สมถะกรรมฐานเป็นการเพาะกำลังให้แข็งแรง *วิปัสสนากรรมฐานเหมือนกับอาวุธที่คมกล้า เมื่อมีกำลังมีอาวุธแล้ว การจะตัดกิเลสก็เป็นเรื่องง่าย ในเมื่อเรารู้ว่าทั้งสองอย่างต้องทำสลับกันไป แต่บางทีมันก็ยังไม่ไหว มันก็ยังรู้สึกว่าไปได้ไม่ดี ไม่คล่องตัว มันก็อาจจะเกิดจากอิริยาบถของเราที่มันซ้ำ ๆ อยู่กับที่ ไม่ใช่ว่านั่งก็นั่งมันอย่างเดียวไปตลอด ยืนก็ยืนมันอย่างเดียวไปตลอด เดินก็เดินมันอย่างเดียวไปตลอด นอนก็นอนมันอย่างเดียวไปตลอด มีน้อยคนที่ทำอิริยาบถอย่างเดียวแล้วอารมณ์ใจจะตั้งมั่น ให้เราเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนอิริยาบถ เมื่อเราเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนอิริยาบท มีสิ่งที่แปลกใหม่เข้ามา สภาพจิตก็จะไม่เบื่อหน่าย ก็จะเริ่มปฏิบ้ติในอิริยาบทใหม่ หรือว่าเริ่มปฏิบัติในสถานที่ใหม่ เพื่อที่จะได้กำลังใจทรงตัวเท่ากับที่เราเคยทำมา หรือว่าอาจจะดีขึ้นกว่าเดิมก็ได้ เพราะว่ามันไม่ซ้ำซากจำเจแล้ว

    คราวนี้ การภาวนาในอิริยาบถอื่นจากที่เคยลองมา อิริยาบถยืนก็คล้ายกับการนั่งแต่เพียงแต่ว่าอารมณ์ใจของเรานั้นมันต้องทรงตัวจริง ๆ ไม่อย่างนั้นมันจะรู้สึกว่าตัวโยก ๆ อยู่หน่อยหนึ่ง และถ้ายืนไปนาน ๆ ก็เหมือนกับสภาพของการนั่ง คือว่าขาแข็ง ถ้าอารมณ์ใจไม่ก้าวเข้าไปถึงความเป็นฌาน ยังไปเกาะอยู่กับร่างกาย เราก็จะรู้สึกเมื่อยจนทนไม่ไหวเช่นกัน
    อิริยาบถนอนนั้น ถ้าจิตมันหยาบ สติมันขาด มันจะะตัดหลับไปเลย จะมีอยู่ก็คือ
    อิริยาบถเดิน การเดินแล้วภาวนาไปด้วย หรือว่าเดินแล้วพิจารณาไปด้วย ในลักษณะที่เรียกว่าจงกรมนั้น มันทำให้การปฏิบัติก้าวหน้าได้ง่าย แล้วถ้าทำได้ อารมณ์ใจก็ทรงตัวได้ง่าย

    การเดินจงกรมนั้นก็เริ่มตั้งแต่การกำหนดสถานที่ที่จะเดิน แนวทางจงกรม ถ้าหากว่าจะเอาให้เหมาะสม ก็คือแนวเหนือใต้ เส้นหนึ่ง แนวตะวันออกเฉียงเหนือตะวันตกเฉียงใต้เส้นหนึ่ง แนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้เส้นหนึ่ง แนวตะวันออกตะวันตก จงกรมเขาไม่นิยมกัน เพราะว่าถ้าหากอยู่ในที่โล่ง บางวาระ บางเวลา แสงแดดมันเจอหน้าพอดี สร้างความรำคาญ ทำให้เดินจงกรมไม่สะดวก ระยะทางการเดินจงกรม ถ้าหากว่าพื้นที่มีเหลือเฟือ เราจะกำหนดใกล้ไกลแค่ไหนก็ได้ แต่ถ้าหากจะเอาให้พอเหมาะพอดี จากการที่เคยลองมา ระยะประมาณ 25-39 เป็นระยะที่กำลังเหมาะ แต่ในสถานที่ที่จำกัด อย่างสมัยที่บวชใหม่อยู่ที่วัดท่าซุง กุฏิมันเล็กมาก กว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 2เมตรครึ่งเท่านั้น ก็ใช้วิธีเดินเป็นรูปเลข 8 อารบิก เวลาเราเดินวนเป็นรูปเลข 8 ระยะทางมันได้เพิ่มขึ้น ก็หมายความว่าระยะทางจะใกล้จะไกล จะยาวจะสั้นทำได้ทั้งนั้น แต่จากการที่เคยทำมา คือระยะที่เหมาะสม คือระยะประมาณ 25-39 เมื่อเราเดินไปสุดทางแล้ว เราก็วนกลับ การเดินนั้นให้กำหนดใจ กำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างหนึ่ง

    อันนี้จะเป็นอิริยาบถและสัมปชัญญะในมหาสติปัณฐาน4 คือดูว่าตอนนี้ก้าวเท้าซ้าย ตอนนี้ก้าวเท้าขวา ตอนนี้แขนมันแกว่างไปข้างหน้า ตอนนี้แขนมันแกว่งไปข้างหลัง ไม่ต้องไปค่อย ๆ ยกย่างเหยียบอย่างที่ส่วนใหญ่เขาสอนกัน อันนั้นมันเด็กหัดใหม่ หัดเดินเลย อิริยาบถของเราให้ เป็นไปตามปกติ ก้าวเดินไปตามปกติ เพียงแต่กำหนดสติรู้ตามไปด้วย ว่าตอนนี้ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ตอนนี้เท้ามันวางลงแตะพื้น ตอนนี้ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ตอนนี้เท้ามันวางลงแตะพื้น เหล่านี้เป็นต้น ถ้าอารมณ์จิตมันค่อย ๆ ละเอียดขึ้น ทรงตัวมากขึ้น มันจะรู้ทั่วทั้งร่างกาย รู้แม้กระทั่งลมหายใจที่หายใจอยู่ รู้แม้กระทั่งว่าว่ามีอากาศมากระทบร่างกายส่วนใหน แล้วทำให้ขนของร่างกายของเรามีการเคลื่อนไหวอย่างไร
    มันจะรู้ละเอียดขนาดนั้น

    อีกวิธีหนึ่ง คือเดินไปภาวนาไป ลักษณะนี้แรก ๆ จะมีปัญหาคือว่าถ้าเราจับลม 3 ฐานเมื่อไหร่เราจะก้าวไม่ออก เพราะว่าลม 3 ฐานคือ หายใจเข้าผ่านจมูกผ่านกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้อง หายใจออก จากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก อันนี้เป็นกำลังของปฐมฌาน จิตที่เริ่มเข้าสู่ระดับของปฐมฌานนั้นมันเริ่มแยกออกจากประสาทของเร่ร่างกาย ก็เลยจะบังคับร่างกายไม่ได้ บางคนพอรู้ลม 3 ฐานปุ๊บ มันก้าวไม่ออกติดอยู่แค่นั้น ให้ค่อย ๆ ทำผ่อนหนักผ่อนเบาประคับประคองไปเรื่อย ก้าวเดินพร้อมกับบังคับลมหายใจไม่ได้ ถ้าหากว่าท่านทำได้ มันก็จะเป็นสภาพของการทรงฌานใช้งาน คืออิริบาบถของต่าง ๆ ของเราทำไปตามปกติ ขณะเดียวกันก็ยังทรงฌานได้ตามปกติ

    อีกวิธีหนึ่งก็คือเดินไปพร้อมกับกำหนดหัวข้อธรรมข้อใดข้อหนึ่ง ที่เรายังไม่รู้จริง ยังไม่เห็นแจ้ง กำหนดขึ้นมาแล้วคิดพิจารณาไป ดูมันให้ละเอียด แยกแยะมันออกมา ไม่ว่าจะพิจารณาว่าร่างกายนี้เป็นธาตุ 4 ก็ดี ร่างกายนี้ยังไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราอย่างไรก็ดี มันมีแต่ความทุกข์อย่างไรก็ดี หรือว่าพิจารณาตามแบบของปตุจสมุตา คือดูว่าอวิชชา ความเขลาเป็นเหตุให้ไม่รู้จริงนั้น มันทำให้เราเกิดขึ้นอย่างไร

    การเดินจงกรมนั้นมีอานิสงค์มาก อันดับแรกถ้าเราเดินจนเคยชิน การเดินทางไกล จะเหนื่อยช้า เหนื่อยยาก ครูบาอาจารย์บางท่านเดินจงกรม เช้ายันค่ำ ค่ำยันเช้า จากการที่เคยทำมา มันเป็นการทรงฌานเดินไปในตัว แต่ว่าขณะเดียวกัน ถ้าเราจะพิจารณา ก็พิจารณาได้ ในขณะที่เราเดิน เช้ายันค่ำ ค่ำยันเช้า ทรงฌานเดินอยู่นั้น กำลังใจของเราจะไม่ฟุ้งซ่านไปยังอารมณ์อื่น กิเลสไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้

    อานิสงค์ข้อต่อไป ก็คือว่า ทำให้ท้องไม่ผูก อาหารที่ฉันเข้าไปนั้นมันย่อยได้ดี เลือดลมจะคล่องตัว ท้องไม่ผูก ถ่ายได้สะดวก

    อานิสงค์ข้อต่อไปก็คือว่าเมื่อเลือดลมดี ไม่มีเศษอาหารตกค้างในร่างกาย การเจ็บไข้ได้ป่วยก็น้อยลง และ

    ข้อที่สำคัญที่สุดคือว่า สมถะภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี ที่เราทำได้ในขณะจงกรมนั้น จะทรงตัวและเสื่อมยาก ส่วนใหญ่แล้วอย่างที่เรานั่งอยู่ พออารมณ์ใจทรงตัว เมื่อเราเคลื่อนไหว มันมักจะเสื่อมไป หลุดไป ถอยไป แต่ถ้าเราชินกับการเคลื่อนไหวในลักษณะเดินจงกรมแล้ว อารมณ์ที่ทรงตัวนั้น จะคลายตัวได้ยาก เพราะว่ามันชินกับอิริยาบถอื่นแล้ว

    สิ่งเหล่านี้คือ *อานิสงค์ของการเดินจงกรม คืออานิสงค์ของการเปลี่ยนอิริยาบถร่างกาย ในการปฏิบัติภาวนาของเรา ทำให้สิ่งที่มันไม่ก้าวหน้ามันก็ก้าวหน้า สิ่งที่เคยทำไม่ได้ มันก็ทำได้ง่ายขึ้น หรือว่าบางท่านอาจจะใช้วิธี เดินไปท่องหนังสือไป หรือเดินไปท่องมนต์ไป มันก็จะจำได้ง่ายด้วย

    สำหรับวันนี้ก็จะมาพูดถึง อุปัสสมานุสสติกรรมฐาน ถ้าว่ากันตามศัพท์อุปปัสสมานุสสติ คือการ ระลึกถึงความสงบ ระงับ อันนี้หมายถึง สงบจากกิเลสทั้งปวง อย่างที่หลวงพ่อฤษีลิงดำ ท่านสรุปว่า เป็นการระลึกถึงพระนิพพานนั่นเอง

    การระลึกถึงพระนิพพานนั้น ถ้ากำลังใจของเรา เข้าไม่ถึงโคตรภูมิของพระโสดาปฏิมะขึ้นไป เราจะไม่เข้าใจว่ากำลังใจที่เกาะพระนิพพาน ที่รักพระนิพพาน ที่เข้าถึงพระนิพพานจริง ๆ เป็นอย่างไร เราก็ระลึกไม่ได้ ก็ให้ใช้วิธีง่าย ๆคือภาวนาจับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าหายใจออกใช้คำภาวนาที่หลวงพ่อท่านเคยใช้หรือจะใช้ว่า นิมิตจิตตะ นิมิตจิตตา นิพานจิตติ นิพานจิตตา ก็ได้ หรือจะใช้นิพานสุขขังก็ได้ แล้วแต่เราถนัด

    แต่ถ้าบุคคลที่อารมณ์ใจเข้าถึงโคตรภูมิของพระโสดาบัน อารมณ์ท่านจะเข้าถึงกระแส พระนิพพานที่แท้จริง ก็จะรู้ว่าความเยือกเย็น ความสงบระงับของกิเลสที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร ท่านเหล่านี้จะเกาะอุปัสสมานุสสติได้ง่าย เพราะว่าเข้าถึงจริง ๆแล้ว

    อีกประเภทหนึ่งคือท่านที่ได้มโนยิทธิ คือมีฤทธิ์ทางใจ สามารถถอดจิตไปยังภพภูมิต่าง ๆได้ ถ้าอย่างนั้นก็สะดวกที่สุด สบายที่สุด คือส่งกำลังใจขึ้นไปกราบพระบนพระนิพพานเลย ถ้าหากว่าส่งกำลังใจขึ้นไปในลักษณะอย่างนั้น เป็นอุปมานุสสติกรรมฐานอย่างแท้จริง เพราะว่าจิตของเราอยู่บนพระนิพพานแล้ว สภาพรัก โลภ โกรธหลง มันเกิดขึ้นไม่ได้ รัก โลภ โกรธ หลงเป็นสมบัติของร่างกาย ถ้าไม่มีจิตไปคอยปรุง คอยแต่งกับมัน มันก็ไม่สามารถทรงตัวได้ มันก็สลายตัวของมันไปเอง เมื่อรัก โลภ โกรธ หลง สลายตัวไป เราก็เข้าถึงอุปัสสมานุสสติที่แท้จริง นี่คือมโนยิทธิที่หลวงพ่อท่านต้องการ มโนยิทธิที่แท้จริงนั้น เหมาะสำหรับคนฉลาด

    ถ้ามีความเขลาแทรกอยู่แม้แต่นิดเดียวก็ไม่อาจหลุดพ้นได้ มโนยิทธิที่แท้จริงคือ เรารู้จักพระนิพพาน เราไปพระนิพพานได้ เอาใจตั้งไว้ที่พระนิพพานได้ ถ้าเราเอาใจเกาะที่พระนิพพานเป็นปกติทุกวัน ๆ กำลังใจทรงตัวเคยชินกับความปราศจากรัก โลภ โกรธ หลง ถ้าทำไปนาน ๆ อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลงมันจะสลายตัวไปของมันเอง มโนยิทธิไม่ได้จำเป็นต้องรู้อดีต อดีตทุกชาติเราเกิดมา ไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์ ไม่จำเป็นต้องรู้ปัจจุบัน เพราะปัจจุบันนี้ชีวิตเราเกิดอยู่ มีขันต์5 อยู่ก็ทุกข์ตลอด ไม่จำเป็นต้องรู้อนาคต เพราะว่าอนาคตถ้าเกิดอีกก็ทุกข์อีก ไม่จำเป็นต้องระลึกชาติ เพราะว่าไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์ ไม่จำเป็นต้องรู้ใจคนอื่น เพราะว่าแค่ระวังใจของเราให้พ้นจากกิเลสก็ระวังไม่หวาดไม่ไหวแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคนและสัตว์ ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน

    ถ้าเรามั่นใจในสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเราว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปดูมัน มโนยิทธิที่สำคัญที่สุดคือเกาะพระนิพพานให้ได้ ใช้ในอุปสมานุสสติกรรมฐานให้ได้ ส่วนใหญ่ ที่เห็นใช้กัน คือไประลึกชาติ ไปย้อนอดีต ฉันเป็นอย่างนั้นกับเธอ ฉันเป็นอย่างนี้กับเธอ แล้วแทนที่จะเก็บ จะรู้จักละ กลับไปยึดมัน ฟื้นความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ แทนที่จะสะลัดบ่วงของสังฆโยชน์ที่มันคล้องเราสอยู่ ก็กลายเป็นคล้องติดมากขึ้น จะว่าไม่มีคุณประโยชน์เสียทีเดียวก็ไม่ใช่ เพราะว่าถ้าเราใช้มโนยิทธิจนคล่องคือเราทรงฌานอยู่ตลอดเวลา ถ้าตายเราก็เกิดเป็นพรหมได้ แต่ว่าโอกาสจะหลุดพ้นมันก็ช้าลง

    ถึงได้กล่าวว่ามโนยิทธิเป็นเรื่องของคนฉลาดเท่านั้น คือใช้มโนยิทธิ ไปในเรื่องของอุปสมานุสสติกรรมฐาน คือใช้กำลังของมโนยิทธิ เกาะพระนิพพานไว้ ใหม่ๆ ก็เกาะไม่ทรงตัว เผลอนิดเดียวมันก็ลงมาแล้ว จากที่เคยทำอยู่แรก ๆ วินาทีสองวินาทีมันก็ลงมาแล้ว เพราะอารมณ์ของพระนิพพานเป็นอารมณ์ที่ละเอียดมาก เกาะไม่ได้ ทรงไม่อยู่เราต้องหางานให้มันทำ

    เนื่องจากว่าเคยสวดมนต์ได้มาก ก็เลยกำหนดใจขึ้นไปกราบพระบนพระนิพพาน ตั้งใจสวดมนต์ทุกบท ที่เคยสวดได้ ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เมื่อจิตมีงานทำ มันรู้ว่างานยังไม่หมด มันก็จะอยู่กับงานนั้น จิตก็จะค่อย ๆ ชินกับอารมณ์พระนิพพาน เพราะรู้ว่าถ้างานยังไม่หมด มันก็จะไม่เคลื่อนลงมา พอมันอยู่บ่อยเข้า บ่อยเข้า เคยชินกับสภาพความละเอียด ของอารมณ์พระนิพพานมากเข้า มันก็เกาะได้นานขึ้น ถ้าทำบ่อย ๆ ทำให้เป็นปกติ ในที่สุดอารมณ์พระนิพพานก็จะทรงตัว ถ้าทำได้ในระยะเวลาที่ยาวนานพอ โดยไม่เผลอทิ้งกำลังใจจากจุดนั้น กิเลสจะค่อย ๆ หมดไปโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาไปตัด ไม่ต้องเสียเวลาไปคิด ไปพิจารณา เพราะว่ารัก โลภ โกรธ หลงเป็นสมบัติของร่างกาย

    เราส่งใจไปพระนิพพานเสียแล้ว ไม่มีใจอยู่กับร่างกายเสียแล้ว รัก โลภ โกรธ หลงก็เกิดไม่ได้ ในเมื่อมันเกิดไม่ได้ มันไม่มีใครเลี้ยงดูมัน
    คือไม่ได้ไปปรุงไปแต่ง ไปสร้าง ไปเสริมมัน มันก็จะค่อย ๆ สลายตัวหมดสภาพของมันไปเอง

    อุปสมานุสสติกรรมฐานที่แท้จริง จึงควรที่จะทรงมโนยิทธิได้ ถ้าหากว่าทรงมโนยิทธิไม่ได้ถ้าหากว่าทรงมโนยิทธิไม่ได้ให้ตั้งใจจับในพุทธานุสสติกรรมฐาน คือจับภาพพระองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ที่เรารักเราชอบมากที่สุด จะเป็นพระพุทธรูปในลักษณะของพระสงฆ์ก็ดี ในลักษณะของพระพุทธปางไหนก็ดีที่เราชอบ หรือในลักษณะของพระวิสุทธิเทพ ตั้งใจว่านั่นคือองค์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ตรงไหน นอกจากพระนิพพาน จำไว้ให้แม่น ถ้าเราเจอพระพุทธเจ้าที่อื่น นั่นเป็นฉพรังสีของพระองค์ท่านที่ส่งไปปรากฏต่อหน้าเรา ลักษณะเหมือนท่านทุกประการ แต่ว่ากายที่แท้จริงของพระองค์ท่านนั้นอยู่พระนิพพาน ได้กล่าวย้ำอยู่เสมอว่าพระองค์ท่านไม่อยู่ที่ไหนไหน นอกจากพระนิพพาน เราเห็นที่อื่นคือฉพรังสีเท่านั้น แต่ว่าจะใช้คำว่าเท่านั้นก็ไม่ได้ เพราะว่าโอกาสที่จะได้พบท่าน แม้ในลักษณะของฉพรังสีนั้นยากเหลือเกิน ยากกว่าถูกรางวัลที่หนึ่งเยอะ มีโอกาสได้พบได้เห็นถือเป็นบุญของตนอย่างยิ่ง

    ในเมื่อเราจับภาพพระ แล้วกำหนดว่า พระองค์ท่านไม่อยู่ที่ไหน นอกจากบนพระนิพพาน เราเห็นท่านคืออยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน กำหนดใจง่าย ๆ สบาย ๆ อย่างนี้ ก็จัดเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐานอีกแบบหนึ่ง

    เรื่องของมโนยิทธินั้นที่แท้จริงแล้วง่ายมาก คือคิดได้ก็ทำได้ เพียงแต่ว่าเราไม่เคยชิน และไม่ได้ซักซ้อมให้เกิดความคล่องตัว เราก็ขาดความมั่นใจ มโนยิทธิแค่คิดก็ถึงแล้ว ไม่ได้จำกัดด้วยระยะทาง ไม่ได้จำกัดด้วยสถานที่ ไม่ได้จำกัดด้วยเวลา เพียงแต่ว่าเราต้องมีความมั่นใจในตนเอง มีการซักซ้อมบ่อย ๆ เมื่อทำมากเข้า ๆ ประสบการณ์มากขึ้น อารมณ์ใจทรงตัวดีขึ้น เราก็จะเกิดความมั่นใจขึ้นมาเอง ส่วนใหญที่พบ ก็คือทำได้เฉพาะต่อหน้าครูบาอาจารย์ ลับหลังแล้วไม่สามารถทำได้ ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย

    จึงขอสรุปว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน คือการระลึกถึงความสงบระงับที่แท้จริง หมายถึงอารมณ์ของพระนิพพานนั้น ถ้าหากว่าไม่ใช่โคตรภูมิของพระโสดาบันขึ้นไป เราใช้คำภาวนา ก็เข้าถึงได้แค่ผิวเผิน

    ถ้าหากว่าจะจับภาพพระกำหนดว่าท่านอยู่บนพระนิพพาน ก็ยังไม่มั่นคงจริง ๆ ถ้าจะให้มั่นคงจริง ๆ ต้องทำในมโนยิทธให้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องขวานขวาย ต้องสร้างเสริมตัวเองให้มันยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อที่จะได้พ้นทุกข์ หมดสิ้นกิเลสอย่างแท้จริง

    สำหรับตอนนี้เวลาก็ไม่เพียงพอ ก็ขอให้ทุกคน วางกำลังใจโดยการจับภาพพระให้ทรงตัวเอาไว้ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งอยู่กับภาพพระเสมอ กำหนดใจว่านั่นคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนพระนิพพาน ถ้าหากว่ามันตายลงไปเมื่อไหร่เราขอไปอยู่กับพระองค์ท่านที่นั่น ทีพระนิพพานแห่งเดียว กำหนดเอาไว้แบบนี้ให้ทรงตัวอยู่ตลอด ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถไหนก็ตาม ภาพพระหายไปเมื่อไหร่โปรดทราบว่า เรามีโอกาสพลาดลงไปสู่อบายภูมิแล้ว ให้รีบกำหนดภาพขึ้นมาใหม่ในทันที ถ้าใครได้มโนยิทธิ ก็ส่งใจไปกราบพระบนพระนิพพาน เพื่อที่จะได้เป็นอุปสมานุสสติอย่างแท้จริง อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องการ วันนี้ก็ให้วางกำลังใจอยู่ตรงจุดนั้น

    ขณะเดียวกันก็ให้เตรียมตัวเพื่อทำวัตรสวดมนต์ของเราไปด้วย

    ** จบไฟล์เสียงที่สิบหก**
     
  4. thongchat

    thongchat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    482
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ขอโมทนาผลบุญของทุกท่านทีได้สละแรงกาย และเวลาอย่างอุตสาหะ เพื่อให้เป็นธรรมทาน และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยงต่อไป อนิสงค์ใดๆ ที่ท่านได้รับ ขอให้ข้าพเจ้าได้รับผลตามนั้นด้วยเทอญ สาธุ ๆ
     
  5. batman.nop

    batman.nop ตายไปก็เท่านั้น ก่อนตายทำอะไรรู้อยู่แก่ใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +667
    อนุโมทนาด้วยคับ
    ไฟล์เสียฟังไม่ได้ (หรือเป็นที่ผมเองหว่า)
     

แชร์หน้านี้

Loading...